วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Nationalism : Sukarno

         ภายหลังสงครามนโปเลียนดัทช์ได้เข้ามาปกครองอินโดนีเซียอย่างเข้มงวดกว่าเดิม เพื่อต้งการที่ะรื้อฟื้นอำนาจ และเพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาลฮอลันดา ดัทช์ได้ตกลงทำสัญญาแบ่งเขตอิทธิพลในหมู่เกาะอินโดเนียเซีย ภายหลัง ค.ศ. 1824 ดัทช์จึงได้ใช้กำลังทหาเข้าปราบปรามดินแดนในปมุ่เกาะที่ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจของดัทช์จนปลายศตวรรษที่ 19 จึงปราบอะเจห์รัฐสุดท้ายได้อย่างราบคาบ และรวมอินแดนในหมู่เกาะนี้เขาด้วยกันเรีกว่า อินโดนีเซีย มีศุนย์กลางการปกครองอยู่ที่ปัตตาเวีย และแต่งตั้งผุ้ปกครองชาวดัทช์เข้าประจำตามเมืองต่างๆ ทั่วหมู่เกาะการต่อต้านดัทช์ของชาวพื้นเมืองเกิดขึ้นเนื่องจาก
       - ดัทช์เข้ามาปกครองอินโดนีเซีย โดยมิได้ถือว่่าเป็นส่วนหนึ่งเนเธอร์แลนด์ทั้งกฎหมายที่ใช้ปกครองก็เป็นกฎหมายที่ดัทช์ร่างขึ้น เพื่อปกครองอินโดนีเซียโดยเฉพาะ ดัทช์พยายามแยกตัวจากคนพื้นเมืองโดยถือว่าคนละชนชั้นกัน ไม่สนใจที่ยกระดับฐานะทางสังคม และความเป้ฯอยู่ให้เท่าเทียมกับชาวฮอลันดา
       - ไม่สนใจที่จะสงเสริมการศึกษาของคนพื้นเมือง เพราะถือว่าจะทำให้ปกครองยากระบบการศึกษาที่จักตั้งขึ้นก็จำกัดเฉพาะคนยุโรป ชาวดัทช์และพวกชาวอินโดนีเซียชั้นสูง คนพื้นเมืองและคนจีนต้องแสวงหาความรู้เอาเอง ชาวจีนยังดีกว่าวชาวพื้นเมืองที่มีการจัดตั้งโรงเรียนสอบภาษาจีนของตน พวกชาวอินโดนีเซียกลุ่มน้อยที่ได้รับแนวคิแบบตะวันตก ไม่มีโฮกาสจะศึกษาหาควารู้เพ่ิมเติมหนรือเข้ารับราชการ เพราะดัทช์ไม่เปิดโอกาสให้คนพื้นเมืองมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง
         - การที่ดัทช์นำนโยบายมาใช้ดดยบังคับคนพื้นเมืองผ่านสุลต่านทำให้คนพืนเมืองไม่พอใจ และนำนโยบายจริยธรรมมาใช้เพื่อแก้ไขสภาพสังคม และความเป็นอยุ่ของประชาชนให้ดีขึ้น ดัทช์ทำได้เฉพาะในเกาะชวาเท่านั้นบริเวณเกาะนอกๆ ออกไป ประชาชนยังมความเป็นอยู่เหมือนเดิม
          - การที่ดัทช์ได้เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ป่าไม้ และเหมืองแร่ พัฒนาการคมนาคม สร้างทางรถไฟ โทรเลข และโทรศัพท์ติดต่อกันอย่างทั่วถึงในหมู่เกาะทำให้ประชาชนรวมตัวกันได้มากกว่าแต่ก่อนทั้งทางด้านข่าวาร และการขนส่ง
          - การปกครองอาณานิคมของอังกฤษ ในแหลมมลายู อังกฤษให้ความคุ้มครองสิทธิของชาวมาเลย์ และดำรงรักษาขยบธรรมเนียมของมาเลย์ แต่ดัทช์กลับส่งพวกมิชชันนารีเข้าไปในดินแดนภายในหมู่เกาะ กีดกันพวกมุสลิม นอกจากนั้นการพิจารณาคอีในศาล ดัทช์ไม่ยอมรับเอากฎหมายดั้งเดิมของอินโดนีเซียมาใช้ ซึ่งบางครั้งกฎหมายของคัทช์ก็ขัดกับหลักธรรมของมุสลิม
          - อิทธิพลจากภายนอกประเทศความคิดเรื่องเสรีนิยม และสังคมนิยมแพร่หลายอยู่นยุโรปเวลานั้น ชาวฮอลันดาและชาวยุโรปได้นำเอาแนวความคิดนี้มาเผยแพร่ให้กับคนพื้นเมือง
             ลักษณะขบวนการชาตินิยม และการก่อตั้งพรรคคอมมูนิสต์ ขบวนการชาตินิยมกลุ่มแรก คือ Boedi Utomo เกิดขึ้นในชวาในปี 1980 เป็นการรวมกลุ่มของนักศึกษา, ข้าราชการ, ผุ้ดีเก่าและชาวนา ตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการศึกษาวัฒนธรรม และเศรษฐกิจของคนพื้นเมือง โดยไม่ยุ่งเกี่ยวทางด้านการเมือง ทำให้ไม่ได้รับความสนใจจากประชาชนเท่าที่ควร
            ขบวนการชาตินิยมต่อมาคคือ ซาเรแคท อิสลาม ในระยะแรกจัดตั้งขึ้นเพื่อจุดประสงค์ทางการค้าและศาสนา ดดยการค้าขายผ้าโสร่งของชวา ซึ่งพวกพ่อค้าชาวจีนและพ่อค้าต่างชาติเข้ามาปย่งทำการค้า ได้ปรับปรุงนโยบายให้มีจุดมุ่งหมายแน่นอนทางการเมืองมากขึ้น ผุ้จัดตั้งขบวนการนี้ส่วนใหย๋เป็นชนชั้นสุง และเป็นปัญญาชนผุ้ได้รับการศึกษาแบบตะวันตก ทำให้ได้รับความนิยมจากประชาชนอย่างหว้างขวาง ศูนย์กลางของขบวนการนี้อยู่ที่เมืองสุรบายา มีสาขาแยกย้ายไปตามเกาะต่างๆ ในฐานะที่เป็นองค์การทางศาสนาอิสลาม จึงมีหัวหน้าศาสนาในแต่ละท้องถ่ินเป็นผุ้แทน ทำให้ขอบเขตของขบวนการนี้แผ่ไปอย่างกว้างขวาง อุดมการณ์ยังไม่แน่นอนทางการเมือง เพราะมีจุดประสงค์ต่อต้านชนชั้นสูง แต่ก็มีหัวหน้าเป็นขุนนางและต้องปิดบังฮอลันดา ซึ่งห้ามการชุมนุมทางการเมือง แต่ก็ได้ดำเนินการเรียกร้องให้รัฐบาลฮอลันดาปฏิรูปการปกครอง ทำให้รัฐบาลฮอลันดาไม่พอใจ และพยายามทำลายความสามัคคีของบุคคลในกลุ่ม ยุให้แก่งแย่งกันเป็นผุ้นำ ซึ่งตามความจริงแล้วบรรดาผุ้นำในกลุ่ม ต่อมาขบวนการนี้ไ้แตกแยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือพวกต่อต้านคอมมูนิสต์และพวกนิยมคอมมูนิสต์ทั้งนี้เพราะการบริหารงานเปนไปอย่างหละหลวม ศูนย์กลางไม่มีการควบคุมสาขา แต่ละสาขาดำเนินงานเป็นเอกเทศ นอกจากนั้นผุ้ที่เป็นสมาชิกนั้น เป็นสมาชิกของพรรคอื่นได้ทำให้องค์การสีงคมนิยมและพวกคอมมูนิสต์ใช้ขบวนกานนี้เป็นเครื่องมือเผยแพร่อุดมการณ์ของตน และยุแหย่ให้เกิดการโจมตีสูนย์กลายที่เมืองสุรบายาด้วย  ขบวนการ ซาเรแคท อิสลาม จึงดำเนินงานไม่ได้ผล
           การจัดตั้งพรรคคอมมูนิสต์อินโดจีน ในปี ค.ศ. 1917 รัสเซียเกิดปฏิวัติ ลัทธิมาณ์คซิส ได้แพร่หล่ายเข้าไปในยุโรปและอินโดนีเซีย ในขณะนั้นกำลังรวมกันเรียกร้องให้รับฐาลฮอลันดาปฏิรูปสังคม ความคิดเรื่องสังคมนิยมก็ได้แพร่หลายเข้ามาในอินโดนีเซีย โดยนักสังคมนิยมชาวฮอลันดา เขาเป็นนักหนังสือพิมพ์ชาวฮอลันดา และเป็นสมาชิกพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยในฮอลันดาเดินทางเข้ามาทำงานหนังสือพิมพ์ในชวาภาคตะวันออก และได้จัดตั้งพรรคสังคมนิยมขึ้นเรียกว่า The Indische Social Democratische Vereening ISDV เพื่อเผยแพร่ลัทธิมาร์คในอินโดนีเซีย เพราะเชื่อว่าจะทำให้เกิดความเสมอภาคทงสังคมในการที่จะทำให้งานของเขาได้ผล เขาได้ใช้ ซาเรคาท อิสลาม เป็นเครื่องมือเพื่อจะได้มีสมาชิกเป็นอินโดนีเวียเพิ่มขึ้น สนีฟลิท ได้เผยแพร่ความคิดเรื่องสังคมนิยม ควบคู่ไปกับการกรุ้นให้คนตื่นตัวเรื่องชาตินิยมไปด้วย มีผุ้นำชาวอินโดนีเซียเลือมใสในอุดมการณืมาร์คซิส ที่เมืองซามารัง ซึ่งเมืองนี้เป็นเมืองที่มีการทำอุตสาหกรรม เป็นหัวหน้ากรรมกรอยู่ที่นี้ เขาได้เผยแพร่หลักการสังคมในหมู่กรรมกร ทำให้กรรมกรเลื่อมในมาก ต่อมา ซามวนและพวกเห็นว่า ISDV ควรจะพัฒนาขึ้น จึงเปลี่ยน ISDV เป็นพรรคคอมมิวนิสต์แห่งหมู่เกาะอินเดียตะวันออก Persikantan Kommunist India PKI ปัญหาใหญ่ คือศาสนา เพราะP.K.I. มีนโยบายที่ต่อต้านศาสนาอิสลาม พรรคคอมมิวนิสต์ทำงานไม่ได้ผลเพราะรัฐบาลฮอลนดามีกำลังเข้มแข็งกว่าตลอดจนไม่ได้รับการสนับสนุนจากชาวนาชาวไร่ ผุ้เคร่งในศาสนาอิสลาม จะได้รับการสนับสนุนเฉพาะพวกรรมการ ซึ่งก็มีจำนวนน้อย ทำให้บทบาทของพวกคอมมูนิสต์ซบเซาลง
            เกิดพรรคชาตินิยมใหม่ๆ ขึ้น ที่มีบทบาทมากขึ้นมาคือ พรรคชาตินิยมอินโดนีเซีย PNI Partai Nasional Indonesia ในปี 1927 ภายใต้การนำของซูการ์โน จะประสงค์ต้องการเอกราชอันสมบูรณ์ของชาวอินโดนเซีย และรวมชาวอินโดนีเซียทุกศาสนาและทุกเชื้อชาติเข้าด้วยกัน PNI ได้สนับสนุนให้มีการจัดตั้งธนาคาร สหกรณ์ สมาคมเยาวชน สมาคมสตรี สมาคมเกษตร ฯลฯ เป็นการรวมกลุ่มชาตินิยมกลุ่มต่างๆ เข้าด้วยกัน และมีกาตจัดตั้งโรงเรียนเอกชนขึ้น ทำให้ดัทช์ต้องขยายการศึกษาเพื่อสนองความต้องการของชาวอินโดนีเซีย และจัดตั้งมหาวิทยาลัยปัตตาเวียในปี 1941 ได้รับการสนับสนุนจากประชาชมาก เพราะมีการโจมตีรัฐบาลฮอลันดาควบคู่ไปกับการดำเนินงานจ่างๆ ดังนั้นในเดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 1929 ดัทช์จึงสั่งจับซูการ์โน และยุพรรค ทำให้PNI แตกแยกออกเป็นกลุ่มต่างๆ ขบวนการชาตินิยมในระยะสงครามโลกครั้งที่สองซึ่งแตกแยกออกเป็นหลายกลุ่มของพวกคอมมูนิสต์ PKI ซึ่งมีบทบาทขึ้นมาใหม่
            ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ล ฮาร์เบอร์ อันเป็นเหตุให้สหรัฐฯประกาศสงครามกับญี่ปุ่น ตลอดจนโจมตีอาณานิคมของอังกฤษ และฮอลันดาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระยะต้นของสงครามญี่ปุ่น ได้โฆษณาแผนการมหาเอเชียบุรพา ซึ่งมีคำขวัญว่า "เอเซียเพี่อชาวเอเชีย" โดยมีญี่ปุ่นเป็นผุ้นำประกาศให้ทุกชาติในภูมิภาคแถบนี้ร่วมมือกันทางเศรษฐกิจและเพื่อจะได้รับการร่วมมือจากชาวอินโดนีเซีย ญี่ปุ่นจึงเข้ามาสนับสนุนพวกชาตินิยม ตลอดจนมีการสนับสนนุพวกอิสลามโดยตั้งสมาคมของพวกอิสลามออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปเมืองเมกกะ แก่พวกผุ้นำของศาสนาอิสลามในแต่ละท้องถิ่น โดยที่่ญี่ปุ่นมีจุดมุ่งหมายที่จะใช้องค์กรทางศาสนาต่อต้านกับอำนาจตะวันตก
           อินโนนีเซียภายใต้การปกครองของญีปุ่นเป็นสมัยที่ความคิดชาตินิยม ตื่นตัวเป็นอย่งมากอันเป็นผลมาจากการส่งเสริมเร่งเร้าของญี่ปุ่นที่สนับสนุนความคิดที่จะต่อต้านตะวันตก และสัญญาจะให้เอกราชแก่อินโดนีเซีย โดยญี่ปุ่นก็ได้เสนอโครงการสงครามที่เรียกว่า องค์การโฮโฮ รวบรวมกรรมกรอินโดนีเซียทั้งชายหญิง ญี่ปุ่นนำมาฝึกอาวุธให้เป็นอาสาสมัครป้องกนประเทศและจัดตั้งกลุ่มเยาวชนในหมู่บ้านเพื่อใช้เป็นเครื่องมือต่อต้านตะวันตก ซึ่งต่อมากลับกลายเป็นเครื่องมือตอต้านญีปุ่นเอง เพราะว่า
          - การที่ญี่ปุ่นยืนยันที่จะให้จักรพรรดิของญีปุ่่นอยุ่ในฐานะเป็นผุ้สืบต่อของอัลล่าห์ในศาสนาอิสลาม ทำให้ชาวอินโดนีเซยผุ้นับถือพระอัลล่าห์เป็นพระเจ้าองค์เดียวไม่ยอมรับจึงปฏิเสธที่จะสนับสนุนญีปุ่่น
          - การที่ญีปุ่่นต้องการให้คนอินโดนีเซีย จงรักภักดีต่อญี่ปุ่นและจักรพรรดิญีปุ่นโดยยอมรับวัฒนธรรมญีปุ่น
          - ชาวอินโดนีเซีย ไม่พอใจที่ญี่ปุ่นพยายามจะยอเลิกใช้ตัวอักษรอารบิคและหันมาใช้อักษรญีปุ่่นแทน
          - บังคับใช้แรงงานประชาชน และความต้องการข้าวจากอินโดนีเซีย ในการสนับสนนุสงคราม
           ดังนั้น ปลายปี 1943 เมื่อมีการรวมตัวกันต่อต้านญี่ปุ่นก็มีกลุ่มอิสลาม กลุ่มมาร์คซิส และกลุ่มชาตินิยมหัวรุนแรงได้ดำเนินการใต้ดินต่อต้านญี่ปุ่น และต่อสุ้เพื่อความเป็นเอกราชของอินโดนีเซีย โดย ซูการ์โน ได้ประกาศหลักปัญจศีล เพื่อเป็นพื้นฐานการปกครองของอินโดนีเซียเมื่อได้เอกราช
          ชาตินิยม ซุาการ์โนประกาศว่า ชาวอินโดนีเซียทุกหมู่ทุกเหล่าไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของประเทศต้องแต่เกาะซาบัง ถึง นิวกีนีตะวันตกเป็นชาติเดียวกันมีความเป็นอันหนึ่งเดียวกัน และพร้อมใจที่จะอยุร่วมเป็นชาติเดียวกัน นานาชาตินิยม ต้องยอมรับในชาติอืนและการคงอยู่ของแต่ละชาติ การปกครองโดยทางผุ้แทน ชาวอนิโดนีเซียทุกคนไม่ว่ายากจนหรือร่ำรวย ย่อมมีสทิธิเท่ากันในการเลือผุ้แทนเข้าไปทำหน้าที่แทนตนและความเสมอภาคทางสังคม ระบอบประชาธิปไตยที่จะใช้ในอินโดนีเซียในระยะเวลาต่อมา ซูกาณ์โนบอกว่า ต้องเป็นประชาธิปไตยแบบมีผุ้นำ เชื่อมั่นในพระเจ้า ชาติอินโดนีเซีย จะไม่มีการกีดกนการนับถือศาสนแต่อย่างใดหลักปัจศีลนี้เป้นอุดมการ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดในอินโดนีเซีย และได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญของอินโดนีเซีย
           ในเดือนสิงหาคม 1945 ญีปุ่นได้ยินยอมให้มีกาจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อเกราชขึ้นมีซูกาณ์โน เป็นประธานและฮัตตา เป็นรองประธานจากการประชุมที่ไซ่ง่อน ญี่ปุ่นห้คำสัญญาแก่ซูการ์โน และฮัตตาว่าจะประกาศเอกราชของอินโดนีเซียแต่ทางขบวนการชาตินิยมของอินโดนีเซียสืบทราบว่า ญี่ปุ่นจะแพ้สงครามจึงรีบประกาศเอกราชให้กับอินโดนีเซีย ในวันที่ 18 สิงหาคม 1945 ตั้งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย มีซูการ์โนเป็นประธานาธิบดีและฮัตตาเป็นรองประธานาธิบดี แต่การต่อสุเื่อเอกราชของอินโดนีเซียยังไม่สิ้นสุด เนื่องจากภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ฮอลนดาประกาศกลับมายึดครองอินโดนีเซียตามเดิม และได้เจรจาสงบศึกในสัญญาลิงกัตจาตี ตกลงใหสาธารณรัฐอินโดนีเซียมีอำนาจเต็มในชวา และสุมาตรา แต่ฮอลันดาละเมิดข้อตกลงรุกรานอินโดนีเซียต่อไปอีก ต่อมาสหรัฐอเมริกาและสหประชาาติได้จัดประชุมที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยเชิญผุ้แทนของฮอลแลนอ์และอินโดนีเซีย ผลของการประชุม ฮอลันดายอมมองเอกราชให้อินโดนีเซียอย่างสมบูรณ์ในปี ค.ศ.1949


             - "ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกโดยสังเขป" ผศ.ศิวพร ชัยประสิทธิกุล,2543.

Nationalism : Malayu

           การปกครองของอังกฤษในมลายูมีหลายรูปแบบ ต่างจากการปกครองพม่าและอินเดีย เนื่องจากอาณานิคมนี้ได้มาจากการเจรจาตกลงแบ่งเขตอิทธิพลกับฮอลันดา ด้วยการทำสนธิสัญญากับไทย อังกฤษได้สร้างความเจริญให้แก่มลายู ในด้านการปกครอง สังคมและเศรษฐกิจ ทำให้ชาวมลายู่ได้รับความสะดวกสบาย และสงบสุขมากกว่าเดิม ขบวนการชาตินิยมในมลายูจึงเกิดขึ้นช้ากว่าในดินแดอื่นๆ แต่ก็ยังมีขบวนการชาตินิยม ทำสงครามกองโจรต่อต้านอังกฤษ ทำให้เกิความไใาสงบขึ้นในประเทศ เนื่องจากมีพลเมืองประกอบด้วยชนชาติ และนับถือศาสนาที่แตกต่างกัน ทำให้อังกฤษต้องใช้วิะีการปกครองและใช้กำลังเข้าควบคุม ให้ประชาชนอยู่ในความสบล กระทรั่งในที่สุดอังกฤษได้แบ่งการปกครองออกเป็น 3 รูปแบบคือ
           - สเตรท เซทเทิลแมนท์ มีข้าหลวงปกครองโดยตรง ได้แก่ ปีนัง มะละกา สิงคโปร์ โปรวินส์และเวสลีย์
           - สหพันธรัฐ ประกอบด้วย เประ ปะหัง สลังงอ และเนกรีเซมบิลัน ซึ่งมีสุลตานเป็นประมุข มีข้าหลวงอังกฤษเป็นที่ปรึกษางานของรัฐบาล
           - รัฐนอกสหพันธ์ ได้แก่ ไทรบุรี เคดะห์ กลันตัน ตรังกานู ปะลิส และยะโฮร์ อยู่ในฐานะรัฐในอารักขาของอังกฤษ
          ขบวนการชาตินิยมในมลายูนั้นเกิดขึ้นอย่างล่าช้ากว่าแห่งอื่น และเกิดขึ้นอย่างมีวิวัฒนาการ ทั้งนี้มลายูไม่มีปัญหาด้านการปกครอง และเศรษฐกิจ อย่างประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอาจเป็นเพราะคนมลายู่ส่วนใหย๋พอใจกับระบบการปกครองของอังกฤษ อังกฤษมีนโยบายที่ผ่อนผัน และยือหยุนสำหรับการปครองในมาเลย์ ดินแดนใดที่ตกเป็นของอังกฤษด้วยความเต็มใจ ดดยอังกฤษ เช่าหรือซื้อ อังกฤษก็ทำการปกครองทางตรง ตินแดนใดที่ชักชวยให้อังฏษเข้าแทรกแซง จนอังกฤษได้เป็นกรรมสิทธิ์อังกฤษก็ปกครองทางอ้อม โดยมีเจ้าหน้าที่อังกฤาเข้าควบคุมนดยบายต่างๆ ส่วนดินแดนใดที่ไม่เต็มใจ การปกครองกันเอง อังกฤษไม่เข้าไปยุ่งมากนอกจากนั้นนโยบายการปกครองของตัวเอง ที่ทำให้ขบวนการชาตินิยมที่ต่อต้านอังกฤษเกิดขึ้นช้าคือ
            การปรับปรุงทางการเมือง เป็ดโอกาสให้ลูกหลานชั้นสูงชาวมาเลย์ได้รับการศึกษและฝึกฝนการเข้ารับราชการในหน่วยบริหารท้องถิ่น ของสหพันธ์รัฐมลายูและนอกสหพันธ์รัฐมลายู แม้ว่ากลุ่มผ้นำชาวมาเล จะรับราชการในตำแหน่งที่ด้อยกว่าอังกฤษ ก็ยังมีประโยชน์ในด้านการฝึกฝนการปกครองตนเอง และมีโอกาสดีกว่าชาวจีน ชาวอินเดีย
           การปรับปรุงทางเศรษฐกิจ อังกฤษปรับปรุงทั้งทางด้านคมนาคมและสาธารณสุขคือสร้างถนน, สร้างทางรถไฟ,ดรงพยาบาล ส่งเสริมการลงทุนในมลายมากขึ้น บางรัฐของมลายูมีกรพัฒนาทางเศรษฐกิจสุง คือ ยะโฮร์ อังกฤษได้มาลงทุนทางด้านการทำเหมืองแร่ดีบุก ตั้งเครื่องจักรถลุงแร่ ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางการถลุงดีบุกของโลก นอกจากนั้นยังส่งเสริมการปลูกยาง ทำใ้ห้คนเพื้นเมืองชาวจีนและชาวอินเดียมีรายได้เพื่อมขึ้น
          นโยายด้านรักษาสทิธิของคนมาเลย์ การที่อังกฤษมีนโยบายการค้าเสร ละปรับปรุงด้านเศรษฐกิจของมลายู จึงทำให้คนจีนอพยพเข้ามาอยู่ในมลายูมากขึ้น ประกบกับชาวจีนเป็นผู้เก่งทางการค้า และการใช้แรงงาน ช่างฝีมือ จึงทำให้ชาวจีนประสบผลสำเร็จทางด้านการค้าและกุมเศรษฐกิจของมลายู และเข้ามาอยู่ในมลายูมีจำนวนมากขึ้นทุกที จนกระทั้งสภาบริหารของแต่ละรัฐ ต้องมีผุ้แทนชาวจีนขึ้นประจำอยู่ 2 คน อังกฤษจึงได้ดำเนินนโยบายที่จะสงวนการเข้ารับราชการและอำนาจในการบริหารให้กับชาวมลายูเท่านั้น ตลอดจนการที่ชาวมลายูค้าขายแข่งสูชาวจีนไม่ได้ ต้องเป็นหนี้ชาวจีน ขายที่ดินและจำนองที่ดิน อังกฤษก็ได้ตั้งสหกรณ์ช่วยเหลือและห้ามชาวมลายูขายที่ดินให้กับคนต่างชาติ ต้องขายให้กับชาวมลายูเท่านั้น
         อังกฤษไม่ทำลายประเพณีและศาสนาของชาวมาเลย์ และไม่เข้ายุ่งเกี่ยวกับอำนาจหนาที่ของสุลต่าน ในเรื่องเกี่ยวกับประเพณีและศาสนา
          ความรู้สึกของชาวมาเลย์นั้นไม่ต่อต้านอังกฤษ แต่เกลียดชังชาวจีน เพราะมีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากกว่าชาวมาเลย์ ชาวมาเลย์ถือว่าตนเปนเจ้าของประเทศ มีความรู้สึกรังเกียจชาวจีน มไ่ยอมให้ชาวจีนเข้ามามีอำนาจในการบริหาร ชาวจีนเองก็ไม่สนใจการเมือง สนใจทางการค้าอย่งเดี่ยว เพราะมีความรู้สึกว่ามลายูไม่ใช่บ้านเกิดของตน สนใจที่จะส่งเงินทองกลับประเทศมากกว่า การอยู่ร่วมกนของชาวมลายูและชาวจีน ในระยะก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งยังไม่เกิดปัญหาอะไร ต่างคนต่างอยู่จะเกิดปัญหาขึ้นในระยะสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะมีชาวจีนที่เกิดในมลายูมาก พวกนี้จะยึดมลายูเป็นย้านเกิดของตน และอยากจะมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศบ้าง ทำให้เกิดการขัดแย้งกันขึ้นระหว่างชาวจีน และชาวอินเดีย จะเห็นได้จากการตั้งขบวนการชาตินิยมอันแรกเกิดขึ้นในปี 1916 มีการตั้งสมาคมชาวมาเบย์แห่งปาหัง จุดประสงค์เพื่อปรับปรุงสภาพสงคมของมลายู ให้สอดคล้องกับการปกครองของอังกฤษ เพื่อป้องกันผลประโยชน์ของตน และมีบทบาททางการเมือง ตลอดจนร่วมกันต่อต้านชาวจีนและชาวอินเดีย
          ในระยะสงครามดลกครั้งที่ 2 ญีปุ่นได้เข้าขึดครองคาบสทุรมลายู ล้าระบบการปกครองทัง 3 แบบ ของอังกฤษ ในเดือนธันว่าคม 1941 รวมเอาอินโดนีเซียและมลายูเข้าด้วยกันเป็นดินแดนในอาณานิคม สำหรับชาวมลายูนั้น ญี่ปุ่นปฏิบัติอย่างดี เช่น ให้มีส่วนร่วมในการปกครอง ให้มีตำแหน่งสำคัญในการบริหารประเทศ ส่วนชาวอินเดียก็ไดรับการสนับสนุนให้มีกลุ่มชาตินิยมสำหรับชาวจีน ญี่ปุ่นได้ทำการกดขี่ ในฐานะที่ชาวจีนเป็นผุ้กุมเศรษฐกิจของมลายา ซึ่งอาจใช้กำลังทางเศรษฐกิจที่มีอยุ่ในมือ ก่อวินาศกรรมให้แก่กำลังทัพของญี่ปุนได้เพราะฉะนั้นญี่ปุ่นจึงต้องบีบบังคับคนจีนใหปฏิบัติตามสิ่งที่ญี่ปุ่นต้องการ แต่ต้องการรักษาความเป็นจีนและตั้งตัวเป็นปฏิปักษ์ต่อญี่ปุ่น กลุ่มชาวจีนนี้ได้มีพวกคอมมูนิสต์ มลายูรวมอยู่ด้วย ทำให้ขบวนการชาตินิยมต่อต้าน ญี่ปุ่นนี้เข้มแข็ง โดยได้รับการสนับสนุนจากอังกฤฤ และฝ่ายพันธมิตร ในกาต่อต้านญี่ปุ่น กองทัพประชาชนมลายูต่ดต้านญี่ปุ่นมีผุ้นำชื่อ ชิน เพ้ง
            เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ชิน เพ้ง หวังจะได้รับการยอย่องจากอังกฤษแต่ผิดพลาด อังกฤษกลับไปยกยองตนกูอับดุลราห์มาน ขึ้นเป็นผุ้แทนของชาวมลายูทำหให้ ชิน เพ้ง นำพวกเข้าไปเป็นกองโจรคอมมูนิสต์ อังกฤษก็กลับเข้ามาครอบครองมลายูตามเดิมและเห็นว่านโยบายเดิมของตนนี้ให้ชาวมลายูเป็นข้าราชการชนชั้นปกครองเป็นเจ้าของที่นาและให้ชาวจน ชาวอินเดีย แะรกอบอาชีพค้าขาย และกิการอื่นๆ คุมเศรษบกิจของมลายูนั้นสักวันหนึ่งจะต้องมีการปะทะกันขึ้นระหว่างเชื้อชาติมลายูร่วมกันเสีย โดยประกาศรวมรัฐมาเลย์ 9 รัฐ กับปีนังและมะละกา เข้าด้วยกัน เรียกว่า สหภาพมลายัน ส่วนสิงคโปร์ ซึ่งมีชาวจีนอยุ่มาก จะให้แยกต่างหาก และอยู่ในการปกครองของอังกฤษต่อไป สุลต่านของรัฐมลายูทั้งหลายได้รับการแนะนำให้ยอมมอบอำนาจอธิปไตยที่เหลืออยู่ให้แก่กษัตริย์อังกฤษ หมายึวามว่าอังกฤษจะทำอะไรก็ได้โดยไม่ต้องปรึกษาสุลต่าน และให้บุคคลทุกคนที่เกิดในรฐต่างๆ ของคาบสมุรมลายู หรือได้มาอยู่เป็นระยะเวลา 15 ปี ได้รับสัญชาติมลายู และพ้นจากข้อจกำัดต่างๆ ทางกฎหมายที่บังคับใช้ แก่คนที่ไม่ใข่สัญชาติมลายู รัฐบาลกลางขงอังกฤษจะมีอำนาจสุงสุด ส่วนรรัฐบาลของรัฐต่างๆ จะมีอำนาจน้อยมาก
          ทันที่ที่อังกฤษ ประกาศจัดตั้งสหภาพมลายูขึ้น ก็มีการต่อต้านอย่างเปิดเผย เช่น ของชาวมลายูที่รัฐยะโฮร์ ได้รับจัดตั้งองค์การสหสชาติมาเลย์ขึ้น ต่อต้านแผนการของอังกฤษในการจัดตั้งสหภาพมลายูนอกจาชาวมลายูจะไม่พอใจแล้ว บรรดาข้าราชการชาวอังกฤษหลายคนก็มไ่สนใจการเมืองในมลายูมากกว่าสนใจในสถานการณ์บ้านเกิดของตน ทำให้พวกมลายูอ้างต่ออังกฤษได้ว่าแผนกาจัดตั้งสหภาพมลายูนั้นไม่มีใคราเห็นด้วย และการให้ชาวอินเพีย มีสทิธิเท่าเี่ยมกับคนมลายุนั้นจะทำให้คนมลายูขาดควมคุ้มครองในผลประดยชน์ของตนและดินแดนของตนที่ตังรกรากอยู่มาก่อนจะทำลายดุลยภาพอันละเอียดด่อนระหว่างกลุ่มเชื้อชาติต่างๆ ที่ประกอบเป็นประชากรมลายู
         การจัดตั้งสหภาพมลายาต้องล้มเลิกไป แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลของมลายูจะต้องมีรากฐานมาจากลักษณะของชุมชนทางเชื้อชาติของสังคม เพราะฉะนั้นเอกราชต้องมาจากผุ้ปกครองดั้งเดิมของมลายู และจะต้องมีรุปแบบสหพันธ์รัฐมลายูที่มีเสถียรภาพ ดังนั้นอังกฤศจึงได้เสนอรุปแบบการปกครองแบบสหพันธ์รัฐ โดยกำหนดหลักเกณฑ์ของบุคคลที่จะได้สัญชาตเป็นพลเมืองของสหพันะ์รัฐมลายา มากกว่าที่กำหนดไว้ในสหภาพมลายา เพื่อรักษาไว้ซึ่งสทิะิของคนมาเลย์โดยกำหนดไว้ในธรรมนูญของสหพันธ์และรัฐบาลกลางของสหพันะ์ก็ยังยอมรับอำนาจบางประการของสุลต่าน ในระดับรัฐ สุลต่านยังมีอำนาในการบริหารเกี่ยวกับเรื่องที่ดิน การศึกษาศาสนาและประเพณีของรัฐแต่จะต้องปรึกษาข้าหลวงใหญ่ในเรื่องนโยบลายของรัฐ การตั้งสหพันธ์รัฐนี้ส่วนใหญ่ไม่มีการคัดค้านเพราะชาวมลายูพึงพอใจที่อังกฤษยังสงวนสิทธิต่างๆ สำหรับคนมลายู มีบางพวกที่คัดค้านแต่ก็ไม่มีผลอะไร
           ปฏิกิริยาในหมู่ชาวมาเลย์ซึ่งลัทธิชาตินิยมซค่งเคยสงบเงียบมาเป็นเวลานานได้กิดมการร่วมกันเป็นเอกฉันท์โดยทันที่เพื่อต่อต้านการคุกคามผลประโยชน์ของชาวมาเลย์ ก่อนสงครามการก่อกวนของพวกชาตินิยมจำกัดวงกระทำกันอยู่ในหมู่พวกปัญญาชนหัวรุนแรงรุ่นใหม๋ที่จะใช่มาเป็นพวกชนชั้นสูง แต่พอถึงขณะนี้จะเห็นว่าเป็นพวกตัวแทนและผุ้นำที่เเข็งขันซึ่งเป็นชนชั้นสูงและได้รับการศึกษาจากอังกฤษ ที่สำคัญก็คือการก่อตั้งองคก์การสหพันธ์มาเลย์แห่งชาติ United Malays Natiional Organization UMNO ขึ้นใน ค.ศ. 1946 เป็นผลงานของจาฟาร์ จากยะโฮร์ ซึ่งเป็นรัฐอิสระแลเเลี้ยงตัวเองได้ดีที่สุดของกลุ่มรัฐที่ไม่เข้าร่วมสหพันธ์แต่ก่อน การเคลื่อนไหวอย่างใหม่นี้ทำให้การเช่อมโยงทางการเมืองที่ใกล้ชิดระหว่างผุ้ปกครองและประชาชนประสบความสำเร็จอย่างไม่เคยมีมาแก่ก่อนเลย การเคบื่อนไหวนี้กระตุ้นชาวมาเลย์ รวมทั้งผุ้ได้ผลประโยชน์ชาวอินเดีย และจีนของสหพันะ์มลายัง ที่มีความเฉื่อยชากับเรื่องการเมือง ให้แสดงมติมหาชนซึ่งทำให้อังกฤษต้องเลิกแผนการรวมแบบสหพันธ์ที่รุนแรงนันเสีย
          สหพันธ์รัฐมลายูเกิดขึ้นในอีก 2 ปีต่อมา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงชัยชนะที่แท้จริงสำหรับผลประโยชน์ของชาวมาเลย์ การจัดรุปการปกคอรงแบบใหม่ส่วนใหญ่หันกลับไปสุ่รูปแบบเดิมของการปกครองระบอบอาณานิคมก่อนสงคราม วางรูปอย่างยุติธรรมตามความสำคัญของรับมาเลย์แต่ละรัฐ (ทำรัฐเข้ารวมอยู่ในสหพันะ์ รวมทั้งสเตรทเซทเทิลเมนท์ ทั้ง 2 ยกเว้นสิงคโปร์) มีการคุ้มครองสิทธิของชาวมาเลย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่สำคัญๆ เช่น สิทธิการเป็นเจ้าของที่ดิน การเป็นพลเมือง การเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมทั้งเรื่องภาษาประจำชาติศาสนาด้วย (ศาสนาอิสลามได้รับการยกย่อว่าเป็นศาสนาประจำชาติ แต่ศาสนาอื่นๆ ก็ได้รับการรับรองให้มีเสรีภาพในการนับถือด้วย) สุลต่านแลผุ้ครองแค้วนแต่เดิมยังคงมีอำนาจพิเศษอยู่ ผุ้สืบราชสมบัติต่ิมาที่ได้รับการศึกษาแบบอังกฤษเข้ารับตำแหน่งต่างๆ ของการปกครองที่ศูนย์กลาง ซึ่งการปกครองระบอบอาณานิคมค่อยๆ สลายตัวไป ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1957 สหพันธรัฐมลายู ซึ่งเป็นเมืองขึ้นที่สำคัญประเทศสุดท้ายของตะวนตกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ได้รับอิสรภาพอย่างสมบูรณ์ ด้วยการส่งมอบอำนาจการปกครองโดยสันติ
         สหพันธรัฐมลายูมีระบอบการปกครองแบบพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นรูปแบที่ใช้ตามอังกฤษ โดยมีผุ้ครองแค้วนต่างๆ หมุนเวียนกันไปตามการเลือกตั้งในหมู่พวกผุ้ปกครอง้ด้วยกันเองในตำแหน่งสุงสุด คือยังดี เปอตวน อากง มีคณะรัฐมนตรีตามแบบอังกฤษเช่นกัน ดูแบรับผิดชอบสภาสามัญที่สมาชิกได้รับเลือกเข้ามาทั้งหมดตามองค์นิติบัญญติที่มี 2 สภา สภาสูงนั้นสมาชิกครึ่งหนึงได้รับาการแต่งตั้ง ลักษณะการปกครองแบบนี้เป็นของมลายูโดยเฉพาะ ที่การบริหารแบบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญเป็นไปได้เรียบร้อยในประเทศที่มีชนชาติต่างๆ ผสมปนเปกัน แม้ว่าสทิธิของชาวมาเลย์ยังคงได้รับการับรองต่อไประยะหนึ่งก็ตาม แต่พลเมืองที่เป็นชาวจีนและอินเดียยก็ได้เข้าไปร่วมในวิถีทางการเมือง
         การประนีประนอมอันสำคัญที่ทำให้สามารถแก้ปัญหาเช่นั้นได้ ขึ้นอยุ่กับพวกผุ้นำของชุมชนที่สำคัญ 2 ชุมชนด้วยกัน ตวนกู อับดุ ราห์มาน ซึ่งเป็นรัฐมนตรีคนสำคัญก่อนได้รับอิสรภาพ และเป็นนายกรัฐมนตรีหลังจากได้รับอิสรภาพแล้ว เป็นเชื้อพระวงศ์แห่งราชวงศ์เกดะห์ และเป็นนักกฎหมายที่ได้รับการอบรมจากอังกฤษ (เขาได้รับตำแหน่งประธานของ UMNO สืบต่อจาก ดะโต๊ะ อน และ ตัน เชง ล้อก ผุ้ก่อตั้งสมาคมจีน-มลายู ทั้ง 2 ท่านเป็ฯผู้วางรากฐานของพรรคพันธมิตร ซึ่งเป็นรัฐบาลผสม 3 พรรค โดยมีสภาอินเดียนมลายัน เข้าร่วมด้วย พรรคพันธมิตรนี้เป็นพรรคสำคัญในการปกครองนับตั้งแต่ทศวรรษ 1950เป็นต้นมา ผุ้นำของพรรคเป็นตัวแทนพวกจารีตนิยมอันแท้จริงของทั้ง 2 ชุมชนใหญ่ พวกชนชั้นสุงมาเลย์และชนชั้นกลางจีนที่ทำการค้าเป้นพวกที่ได้รับผลประโยชน์จากการปกครองแบบอังกฤษในแหลมมลายู คือพวกชนชั้นสุงมาเลย์ได้ทางการปกครอง ส่วนคนจีนได้ทางการเศรษฐกิจ การที่ยังคงมีความผุกพันอย่างใกล้ชิดกับอังกฤษและกับประเทศในเครือจักรภพอยู และกาเปิดให้มีการลงทุนของชาวต่างชาิตเหล่านี้เป็นส่วนที่ช่วยให้มีการสลายตัวของระบอบอาณานิคมขึ้นในมลายู
           ตนกู อับดุล ราห์มาน เป็นผุ้นำการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ และเป็นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศเกิดที่รัฐเคดาห์ เป็นบุครของเจ้าพระยาไทรบุรี สุลต่านองค์ที่ 25  แห่งรัฐเคดาหื กับมารดชาวไทย และในวัยเยาว์ เพียง 10 ขวบถูกส่งตัวมาศึกษาที่ประเทศไทย ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์ และไปสำเร็จการศึกษาด้านกฎหมายที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ จึงได้กลับไปรับราชการในรัฐเคดาห์ และตำปห่งหน้าที่ราชการสูงสุดคือประธานศาล ในช่วงเวลานั้นได้มีกลุ่มลัทธิชาตินิยมในาเลย์ ในการต่อต้านสหภาพมาลายาของอังกฤษ นำโดย ดาโต๊ะ อนจาฟาร์ นักการเมืองของมาเลเซียที่เป็นผุ้นำขององค์การประชาชาติมาเลเซียหรือเป็นหัวหร้าสาขาของพรรคอัมโนในรัฐเคดาหื์ ต่อมาได้รับเลือกให้เป็นประธานพรรคแนวร่วมแห่งสหพันะ์มาลาย คนใหม่ และดำรงตำแหน่งเป็นเวลานานถึง 20 ปีแต่อมาเป็นตัวแทนคณะผุ้แทนเจรจาขอเอกราชมาเลเซียคืนจาสหรัชอาณาจักร เมื่อมีการเลือกตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1955 พรรคของเขาได้รับชัยชนะแบบถล่มทลาย เขาจึงได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศมาเลเซีย แม้ยังอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ซึ่งเขาก็ยังคงรณรงค์ต่อสู้เรียกร้องเอกราชอย่างต่อเนื่อง จนประสบความสำเร็จและได้รับอิสรภาพคือนจากอังกฤษในวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 และต่อมา ในปี 1963 จึงได้มีการรวมรัฐซาบาห์ ซาราวัก และสิงคโปร์เขาด้วยกันเป็นประเทศมาเลเซียอย่างสมบูรณ์ นับเป็นนายกรัฐมนตรีทที่อยู่ในตำแหน่งต่อเนื่องเป็นเวลานานถึง 13 ปี


                       - www.fpps.or.th/.."วีรชนคนอาเซียน : ตนกู อับดุล รามานห์ แห่งมาเลเซีย
                       - "ประวัติศาสตร์เอเชยตะวันออกเฉียงใต้สมัยใหม่ ลัทะิอาณานิคม ลัทธิชาตินยมและการสลายตัวของลัทธิอาณานิคม" จอห์น แบสติน แฮรี่ เจ.เบ็นดา, ผู้แต่ง ชื่นจิตต์ อำไพพรรณ, ภรณี กาญจนัษฐิติ ผุ้แปล,สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2529.
                       - "ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยสังเขป" ผศ.ศิวพร ชัยประสิทธิกุล ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์ ม.รามคำแหง, 2531.

วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Nationalism : King Norodom Sihanouk II

           สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา เป็นรัฐบาลที่จัดตั้งในกัมพูชา โดยแนวร่วมสมาัคคีประชาชาติกู้ชาติกัมพูชา ซึ่งเป็นกลุ่มของกัมพูชาฝ่ายซ้ายที่อยู่ตรงข้ามกับกลุ่มของเขมรแดง ล้มล้างรัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตยของ พล พต โดยร่วมมือกับกองทัพของเวียดนาม ทกให้เกิดการรุกรานเวียดนามของกัมพุชา เพื่อผลักดันกองทัพเขมรแดงออกไปจากพนมเปญ มีเวียดนามและสหภาพโซเวียตเป็นพันธมิตรที่สำคัญ
          เนื่องจากความขัดแย้งเรื่องพรมแดน เวียดนามส่งกองทัพบุก กัมพูชา โดยส่งกำลังเข้าช่วยเพื่อการปลดปล่อยประชาชาติ ที่ก่อตั้งขึ้นโดยเฮง สัมริน เพื่อต่อต้านรัฐบาลเขมรแดง เวียนามเข้ามาแมรกแซงในกัมพูชา มีการจัดตั้งรัฐบาล เฮง สัมริน เป็นหุ่นเชิดให้กับทางเวียดนาม พอล พต ต้องลงจากอำนาจและกลุ่มเขมรแดงถ่อยล่น และกระจัดระจาย เกิดรัฐบาลร่วมสามฝ่าย รู้จักกันในนามเขมรสามฝ่าย เพื่อต่อต้าน เฮง สัมริน ในช่วงเวลาที่เฮง สัมรินครองอำนาจนี้ ชาเวียดนามอพยพมาอยู่ในกัมพูชามากขึ้น เกิดกลุ่มต่อต้านเวียดนาม ซึ่งแบ่งออกเป็น กลุ่มเขมรเสรี ซึ่งมีนาย ซอน ซาน เป็นผู้นำ และกลุ่มที่สนับสนุนและยังจงรักภักดีกับเจ้านโรดม สีหนุ หรือกลุ่มมูลินากา ทั้ง 2 กลุ่มได้ร่วมมือกับ เขมรแดง ต่อสู้กับเวียดนาม เกิดการจัดตั้งรัฐบาลผสมเรียกว่า "รัฐบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตย"
          ในวันที่ 10 มกราคม 1979 กองทัพเขมรแดงเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และกองทัพเวียดนามเข้ายึดครองพนมเปญ แนวร่วมปลดปล่อยฯ ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา ซึ่งเป็นการปกครองที่นิยมโซเวยตได้รับการสนับสนุจากองทัพและที่แรึกษาพลเรือนจาเวียดนาม การฆ่าล้างเป่าพันู์ในกัมพูชายุติลง แต่จีนที่สนับสนุเขมรแดงและสหรัฐ ต้องการให้ขับไล่เวยนามออกไปจากกัมพุชา ทำให้เกิดปัญหากัมพูชาขึ้น
          สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาเป็นรัฐคอมมิวนิสต์ ซึ่งสืบต่อการปฏิวัติสังคมนิยมโดยเขมรแดง เพียงแค่เขมรแดงใช้นโยบายแบบลัทธิเหมา และใช้ความรุนแรง แต่สาธารณรัฐประชาชกัมพุชาใช้การปฏิวัติสังคมนิยมตามแบบของสหภาพโซเวียตและโคเมคอน สหภาพโซเวียตได้จัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาเป็นประเทศสังคมนิยมที่ยังไม่พัฒนา 1 ใน 6 ประเทศ สาะารณรับประชาชกัมพูชาได้ยอมรับความหลากหลายของสังคมกัมพูชา ทั้งชาวไทย ชาวจาม ชาเวียดนามและชนเผ่าทางตะวันออกเฉียงเหนื อชาวจีนในกัมพูชาถูกมองว่าเป็นกลุ่มของศัตรูแลอยู่ใสความควบคุม ความรุนแรงยังคงมีอยุ่ในสาธารณรับประชาชนกัมพูชา..      
          ชาวกัมพูชามากกว่า หกแสนคน ต้องอพยพออกจากเมืองในยุคเขมรแดง หลังการรุกรานของเวียดนา ชาวกัมพุชาที่เคยถูกกวาดต้นมาอยู่ในคอมมูนเป็นอิสระและกลับไปสู่บ้านเดิม..การเริ่มต้นใหม่ของกัมพูชาเป็นไปอย่างยากลำบาก ไม่มีตำรวจ ไม่มีหนังสือพิมพ์ ไม่มีโรงพยาบาล ฯลฯ ความช่วยเหลือส่วนใหญ่มาจากโลกคอมมูลนิสต์ ความช่วเหลือจากนานชาติมุ่งตรงมายังผุ้อพยพตามแนวชายแดนไทย
         จากการล่มสลายของชาติและปฏิเสธการช่วยเหลือในกสร้างชาติใม่ และถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของเวียดนาม ที่เป็นพันธมิตรกับสหภาพโซเวียต การไม่ได้เป็นสมาชิกสหประชาชาติ ทำให้มีผุ้อพยพเพี่มมากขึ้นตามแนวชายแดนไทยซึ่งเป็นที่ที่มีคามช่วยเลหือจารนานาชาติโดยเฉพาะจากสหรัฐ ในจุดหนึ่งมีชาวกัมพูชาอยู่มากกว่ 500,000 คน ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และมีอกี กว่าแสนคนในศูนย์อพยพภายในประเทศไทย ความช่วยเหลือจากยูนิเซฟและโปรแกรมอาหารโลกมีถึง 400 ฃล้านดอลล่าร์สหรัญ ซึ่งเป็นกลยุทธหนึ่งของสหรัฐระหว่าง"สงครามเย็น"เพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ในเวียดนามคิดเป็นเงนิเกือบ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
          ในขณะที่อกงทัพเขมรแดงของ พล พต ได้จัดตั้งกลุ่มขึ้นใหม่และได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากจีน รวมทั้งมีความสัมพันะ์ที่ดีกับกองทัพไทย เขมรแดงได้ประกาศต่อต้านสาธารณรัฐประชาชนกัมพุชา โดยอาศัยฐานกำลังจากค่ายผุ้อพยพและจากกองทหารที่ซ่อนตัวตามแนวชายแดนไทย แม้่ากองกำลังของเขมรแดงจะมีความโดดเด่นขึ้นมา แต่มีกลุ่มต่อต้านที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์เกิดขึ้นด้วย แต่การต่อต้านของฝ่ายที่ไม่ใช่คอมมิวสิสต์ไม่เคยมีประสิทธิภาพ ดังนั้นในสงครามกลางเมืองช่วงที่เหลือต่อไปนี้จึงเป็นการสู้รบระหว่างฝ่ายเขมรแดงกับฝ่ายรัฐบาลเป็นส่วนใหญ่
         กลุ่มผู้ลี้ภัยชาวกัมพุชาจำนวนมากที่อำเภออรัญประเทศถูกผลักดันให้กลับประเทศ และส่งนใหญ่ต้องเข้าไปอยู่ในเขตควบคุมของเขมรแดง กระบวนการนี้เกิดขึ้นโดยกลุ่มที่นิยมกัมพุชาประชาธิปไตยแต่เข้ามาปรากฎตัวในฐานะอาศาสมัคร รวมทั้งการที่สหรัฐต่อต้านระบอบของเวียดนามนอกจากนั้น ประเทศต่างๆ เช่น ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ยังสนับสนุให้มีการผลักดันประชาชนให้กลับไปต่อสู้

อย่างไรก็ตามเวียดนามเวยดนามประสบความสำเร็จในการโจมตีฐานที่มั่นของเขมรแดงให้ถอยร่นเข้าสู่แนวชายแดนไทย รัฐบาล เฮง สัมรินทีความสำเร็จเพียงน้อยในการจัดตั้งระบอบสาธารณรัฐประชาชนกัมพุชา แต่ได้รับความช่วยเหลือจาก เวียดนาม. โซเวียตและคิวบา เนื่องจากสงครามกลางเมืองยังไม่ยุติ การคมนาคมมักถูกโจมตี การปรากฎตัวของทหารเวียดนามเป็นการเติมเชื้อไฟให้กับการต่อต้านเวียดนาม ในปี 1986 ฮานอยได้กล่าวอ้างว่าจะเริ่มถอนทหารเวียดนามออกมา ในขณะเดียวกัยเวียดนามเร่งสร้างความเข้มแข็งใหกับสาธารณรัฐประชาชนกัมพุชาและกองทัพปฏิวัติประชาชนกัมพูชา การถอนทหารยังคงต่อเนืองไปอีก 2 ปี แผนการทหารถูกกอดันมาขึ้น เพราะสหรัฐและจีนเข้ามากดดันมากขึ้น และสหภาพโซเวียดงดให้ความช่วยเหลือ ในปี 1989 รัฐบาลฮานอยและปนมเปญออกมาประกาศว่าการถอนทหารจะสิ้นสุดภายใน กันยายน ปีนี้
          เฮง สัมรินเสียชีวิตในปี 1984 ในวันที่ 29-30 เมษายน 1989 สภาแห่งชาติของสาธารณรัฐประชาชนกัมพุชาภายใต้การนำของ ฮุน เซนได้จัดประชุมสมัยวิสามัญโดยมีการแก้ไขชื่อประเทศจากสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชามาเป็นรัฐกัมพูชา มีการนำสีน้ำเงินกลับมาใช้ในธงชาติเปลี่ยนตราแผ่นดินและตรากองทัพ กองทัพปฏิวัติประชาชนกัมพูชาเปลียนเป็น กองทัพปรชาชนกัมพูชา พุทธศาสนากลายเป็นศาสนาประจำชาติ ทางด้านเศรษฐกิจได้ออกกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิการถือครองทรัพย์สินและตลอดเสรี พรรครัฐบาลประกาศจะเจรจากับฝ่ายค้านทุกกลุ่ม
         รัฐกัมพูชา ดำรงอยู่ในช่วงที่มีการเปลี่ยนผ่านอย่างช้าๆ ซึ่งเป็นผลจากการล่มสลายของสหภาพโซเวีตและรัฐคอมมูนนิสต์ในยุโรปตะวันออก การลดความช่วยเหลือของโซเวียตต่อเวียดนามทำให้เวียดนามต้องถอนทหารออกไป ชาวเวียดนามส่วนใหญ่อพยพกลับสู่เวียดนาม เพราะไม่มั่นใจความสามารถของรัฐกัมพูชาในการควบคุมสภานการณ์เมื่อไม่มีทหารเวียดนาม
         
 นอกจากการประกาศอย่างแข็งกร้าวของ ฮุน เซน รัฐกัมพูชาอยู่ในฐานะที่จะกลับมาเป็นเพียงพรรคหนึ่งในการครองอำนาจ โดครงสร้างผุ้นำและการบริหารเป็นปบบเดียวกับสาธารณรับประชาชนกัมพุชา โดยมีพรรคเป็นผุ้กุมอำนาจสูงสุด รัฐกัมพุชาไม่สมารถฟื้นฟูราชวงศ์ในกัมพุชาแม้จะเริ่มนำสัญลักษณ์ของราขวงศ์มาใช้ สีหนุเข้าร่วมกับแนวร่วมเขมรสามฝ่าย และทั้งแรงกดดันจาในและนอกประเทศ รัฐกัมพูชาจึงต้องทำข้อตกลงในการยอมรับพระนโรดม สีหนุเป็นประมุขรัฐ ปลายปี 1994 สีหนุเดินทางกลับกัมพูชาอย่างเป็นทางการ ทั้งฮุน เซน และเจียซิมได้จัดงานเลี้ยงรับรองอย่างเป็นทางการ..
           รัฎฐาภิบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตย หรือ เขมรสามฝ่าย เป็นการรวมตัวของกลุ่มการเมืองในกัมพุชา ได้แก่ เขมรแดง ภายการนำของ เขียว สัมพันและ พล พต, แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติประชาชน ของ ซอน ซาน และพรรคฟุนซินเปกของ สมเด็จพระนโรดม สีหนุ เพื่อจัดตั้งรัฐบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตย ในปี 1982  โดยการผลักดันของกระทรวงการต่างประเทศของไทยสหรัฐและจีน โดยมีสมเด็จพระนโรดม สีหนุ เป็นผู้นำอย่างเป็นทางการ รัฎฐาภิบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตยเป็นตัวแทนของกัมพูชาในสหประชาชาติ ตั้งแต่ปี 1982-1992 ทั้งนี้ เขมรแดงที่ยุบพรรคคิมมิวนิสต์กัมพุชาไปตั้งแต่ พ.ศ. 1981
            พลเอกชาติชายชุณหะวัณ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีประเทศไทย ได้ดำเนินโยบายเปลี่ยนสนามรบให้เป็ฯสนามการค้า ทำให้นำไปสู่การเจรจากับเวียดนามจนเวียดนามถอนทหารออกจากัมพุชาจนหมดในปี 1989 ต่อมา เมื่อเกิดการเจรจาสันติภาพกัมพูชา เขมรแดงเกิดความหวาดระแวงว่าการเข้าร่วมในข้อตกลงปารีสอาจเป็นกลลวงให้วางอาวุธเพือจับตัวไปดำเนินคดีฆ่าล้างผ่าพันธุ์ เขมรแดงจึงถอนตัวออกจากการเจรจาสันติภาพ และไม่เข้าร่วมการเลือกตั้งไม่ยอมปลดอาวุธและไม่ยอมให้ประชาชนในเขตของตนลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมการเลือกตั้งในปี 1993 ทำให้สหประชาชาติคว่ำบาตรเขมรแดง รัฎฐาภิบาลปสมกัมพูชาประชาธิปไตยจึงยุตุลง
            โดยสรุป การล่มสลายของกัมพุชาประชาธิปไตย หรือเขมรแดง กัมพูชาตกอยู่ภายใต้การรุกรานของเวียดนาม และรัฐบาลที่นิยมฮานอยซึ่งก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชกัมพุชา สงครามกลางเมืองหลัง ปี 1980 เป็นการสู้รบระหว่งกองทัพประชาชนปฏิวัติกัมพูชาของรัฐบาลกับแนวร่วมเขมรสามฝ่ายซึ่งถือเป็นรับบาลพลัดถิ่นของกลุ่มต่างสามกลุ่ม หรือเขมรสามฝ่าย และหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตมีการถอนทหารเวียดนามออกจากกัมพูชาในปี 1989และนำไปสุ่การประชุมสันติภาพที่ปารีสเพื่อสงบศึกในปี 1991 ในที่สุดมีการจัดการเลือกตั้งโดยสหประชาชาติใน ปี 1993 เพื่อเริ่มต้นฟื้นฟุประเทศ
           สภาพการเมืองในกัมพุชาปัจจุบันมีเสถียรภาพ พรรคการเมืองสองพรรคหลักซึ่งประกอบขั้นเป็นรัฐบาลกัมพุชา คือ พรรคประชาชนกัมพูชา ของ ฮุน เซน และพรรคฟุนซิเปค ของ นโรดม รณฤทธิ์ สามารถร่วมือกันได้อย่างราบรื่น ทั้งในด้านบริหารและด้านนิติบัญญัติ รวมั้งมีท่าที่ที่สดอคล้องกันเป็นส่วนใหญ่ในประเด็นทางการเมืองสำคัญๆ ของประเทศ อาทิ การนำตัวอดีตผุ้นำเขมรแดงมาพิพากษา
         
 กลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามไม่มีความเข้มแข็งพอ และคงสามารถทำได้เพียงแต่สร้างผลกระทบทางลบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล ดดยในทางการเมือง พรรคสม รังสี พรรคการเมืองฝ่ายค้านหนึ่งเดียวในสภาแห่งชาติกัมพุชา ได้เคลื่อนไหวตรวจสอบอย่างแข็งขัน
          การสืบราชสันตติวงศ์ ระบบกษัตริย์ของกัมพูชาไม่เหมือนกับระบบกษัตริย์ส่วนใหญ่ในประเทศอื่นๆ ที่ราชบัลลังก์จะตกไปสู่ผุ้มีลำดัการสืบราชสันตติวงศ์ลำดับถัดไป และพระมหากษัตริย์ ไม่สามารถเลือกผุ้ที่จะมาสืบราชสันตติวงศ์ได้ด้วยตัวเอง แต่ผุ้มีสิทธิ์ในการเลือกพระมหากษัตริย์องค์ใหม่คือ กรมปรึกษาราชบัลลังก์ ซึ่งจะจัดการประชุมในสัปดาห์ที่พระมหากษัตริย์สวรรคตหรือไม่สามาถปฏิบัติพระราชกรณียกิจได้ต่อไป และเลือกพระมหากษัตริย์องค์ใหม่จากรายชื่อผุ้มีสิทธิ์สืบราชสันตติวงศ์ และเป็นสมาชิกราชวงศ์


                      (www.th.wikipedia/../สาธารณะรัฐประชาชนกัมพูชา.,รัฎฐาภิบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตย.,ประเทศกัมพูชา.)
                      - baanjomyut.com., ประวัติศาสตร์ประเทศกัมพูชา
         

วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Nationalism :King Norodom Sihanouk I

              แม้ฝรั่งเศสจะเข้าควบคุมทางการทหาร การบิหาร และการเมืองทั้งหมด กีดกันกษัตริย์ที่ได้รับอิทธิพลอินเดียออกไปจากการมอำนาจที่แท้จริงโดยสิ้นเชิง แต่ฝรั่งเศสก็ช่วยป้องกันกัมพูชาให้พ้นจากความต้องการแลการบีบที่ีอยู่ตอดเวลาจากประเทศที่มีอำนาจมากกว่า คือ เวียดนามและไทย ดังนั้นการคคุ้มครองของฝรั่งเศสทำให้การสืบสันตติวงศ์คงมีอยู่ต่อไป และมีความสงบสุขภายในประเทศ การเปลี่ยนแปลงจากประเทศในอาณานิคมไปเป็นรัฐอิสระจึงเป็นไปอย่างราบรื่น ยิ่งกว่านั้นการเศรษฐกิจแบบชนบทของกัมพูชาไม่ได้ดึงดูดใจนักลงทุนชาวฝรั่งเศ ดังนั้นชาวชนบทจึงไม่ต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ดังที่พม่าและเวียดนามได้ประสบ กัมพูชากอ่รูปแบบ "การปกครองทางอ้อม" ขึ้นโดยมีวัฒนธรรมสมัยใหม่เข้าไปเพียงเล็กน้อย การศึกษาแบบฝรั่งเศสให้ประโยชน์แก่สมาชิกแต่เพียงจำนวนน้อยทีเลือกสรรแล้วจากราชสำักและพวกขุนาง ความจริงแล้ว การศึกาาระดับสูงกว่ามีให้เพียงในเวียดนาม แต่ไม่มีในกัมพูชาเอง ชาวต่างชาติคือชาวจีนและชาวเวียดนาม มากว่าจะเป็นคนพื้นเมือง ที่เป็นผุ้ให้บริการทางด้านการบริหารและการเศรษฐกิจที่เป็นแบบสมัยใหม่
             การหมดอำนาจลงอย่างกะทันหันของฝรั่งเศสเมื่อตกอยุ่ในกำมือของญี่ปุ่นในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1945 ไม่ได้ทำให้กัมพูชากระทบกระเทือนมากนัก แม้ว่าญี่ปุ่นได้ทำการเหลี้ยกล่อมกษัตริย์หนุมคือ เจ้านโรดมสีหนุให้ประกาศอิสรภาพของกัมพูชา สมัยหลังสงครามใหม่ ๆ ได้มีการต่อสู้กันทางการเมืองในเมืองหลวงโดยมีฝ่ายตรงข้ามปลุกปั่นและได้รับการสนับสนุนจากไทยหรือคอมมิวนิสต์เวียดนาม แต่สีหนุสามารถเอาชนะในเชิงเล่ห์เหลี่ยนมไปได้ด้วยการใช้นโยบายทางการทูตที่ฉลาดมีเล่ห์เหลี่ยมและอดทน พระองค์สามารถป้องกันรักษาอิสรภาพของกัมพูชาจากฝรั่งเศสไว้ได้ และในเวลาเดียวกัน จากการต่อรองที่่ื้ดื้อดึง กัมพูชาสามารถทำให้กลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ยอมรับความเป็นหลางของกัมพูชาในการประชุมที่เจนีวา กัมพูชาสามารถทำให้กลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ยอมรัับความเป็นหลางของกัมพูชาในการประชุมที่เจนีวา อำนาจทางการทหารของอเมริกันได้เจริญงอกงามขึ้นอย่างรวดเร็วในภูมิภาคแถบนี้โดยเฉพาะการอุปถัมภ์ของอเมริกันต่อประเทศคู่แข่งโบราณของกัมพูชา คือ ไทยและเวียดนาม ซึ่งในสายตา
ของสีหนุรู้ว่า เป็ฯอัจตรายอย่างร้ายแรงต่อความเป็นกลางของกัมพูชา หลังจากที่ได้ยอมรับการช่วยเหลือทั้งจากจีนและอเมริกาอยู่หลายปี ในที่สุดเจ้าสหนุตัดความสัมพันะ์ทางการทูตกับสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้มิใช่จะปิดประตูตายตัดการติดต่อกับตะวันตก ความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสยงคงเป้นไปอย่างมีไมตรีจิต ความผุกพันทางด้านวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศกลับมั่นคงยิงขึ้นในขณะนี้ยิ่งกว่าแต่ก่อน จำนวนนักศึกษาของกัมพูชาที่ไปศึกษาต่อในประเทศฝรังเศสยิ่งเพิ่มมากขึ้น แม้ทางการทุตสีหนุต้องพึ่งการสนับสนุนจากฝรั่งเศสอยู่มาในทศวรรษที่ 1960
             หลักสำคัญของนโยบายทางการเมืองภายในของกัมพูชาก็คือการอยู่รอดและความมั่นคงของประเพณีต่างๆ เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีพระในพุทธศาสนาเป็นผุ้ค้ำจุน และพุทะศาสนาเองก็ผูกพันและขึ้นอยู่กับกษัตริย์ด้วยเช่นกัน เป็นเรื่องผิดธรรมดาอยู่ที่สีหนุสละราชสมยัริในฐานะกษัตริย์เพื่อที่จะเป็นผุ้นำทางการเมืองอย่างแท้จริงของประเทศ แต่เป็นด้วยบุญบารมีของความเป็นกษัตริย์แต่เก่าก่อนผสมกบอำนาจดึงดูดของสีหนุเอง และความมีฝีมือได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเป็นที่ยึดเหนี่ยวที่แข็.แรงของกัมพูชาอิสระได้
              หลังจากการทดลองระยะสั้นในแบบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญได้อัปปางลงด้วยการต่อสู้ทางการเมืองหลายฝ่าย สีหนุจึงได้ก่อตั้งแนวหน้าแห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรก คือ "ชุมชนสังคมนิยมของประชาชน" และหลังจากนั้นไม่นาม สีหนุได้เริ่มต้นรูปแบบรัฐบาลที่เป็นปบบเฉพาะตัวยิ่งขึ้น มีการพัฒนาทางการเมืองในระดับต่ำ การครองอำนาจเด็ดขาดและสมบูรณ์โดยแท้ของอดีตกษัตริย์เผชิญกับการต่อต้านน้อยมาก ถึงกระนั้นจำนวนคนหนุ่มสาวกัมพูชาที่กลับจากศึกษาในฝรั่งเศสทวีจำนวนมากขึ้น พวกนีไม่ได้ถูกกีดกันจากชนชั้นที่มสิทธิ์มีเสียงที่สุดของประเทศอีกต่อไปแล้ว แต่ได้เกิดมีความแตกร้าวตึงเครียดระหว่างวัยขึ้น เป็นที่รู้กันในส่วนอื่นๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ตาม อาจเป็นระยะหนึ่งก่อนที่พวกคนหนุ่มเหล่านี้สามารถท้าทายสีหนุและพรรคพวกใกล้ชิดได้สำเร็จ..
             ฝรั่งเศสมีปัจจัยในการเลือกพระองค์ขึ้นครองราช อันเนื่องมรจากพระองค์ได้สืบเชื้อสายจากสองราชสกุล คือ นโรดมจากพระบิดา และสีสุวัตถิ์จากพระมารดา เมื่อเลือกพระองค์เป็นกษัตริย์ถือเป็นการประนีประนอมแก่ทั้งสองราชสกุล และพระองค์ก็ใช้เหตุผลนี้อ้างเช่นกัน แจ่ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริงเพราะมีเชื้อพระวงศ์อีกหลายพระองค์ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากทั้งสองราชสกุล และอยู่กล้การสืบสันตติวงศ์มากกว่าพระองค์ด้วยซ้ำ
              ในช่วงฝรังเศสอ่อนแอหลังจขากความพ่ายแพ้ต่อเยอรัมน และการที่ฝรั่งเศสยอมโอนอ่อนให้ญี่ปุ่นเข้ามตั้งกองทหารในอาณานิคมอินโดจีนปลายปีเดียวกย ตามด้วยการไกล่เกลี่ยสงครามฝรั่งเศสกับไทยช่วงต้นปี ซึ่งลงเอยด้วยการเสียดินแดน และการยอมให้ทหารญี่ปุ่นเข้ามาตั้งในกัมพูชา แม้ฝรั่งเศสจะประนีประนอมกับกัมพูชา แต่กระนั้นก็มิได้ลดความเข้มงวดลงนักโดยเฉพาะสถาบันพระมหากษัตริย์ เนื่องจากฝรั่งเศสต้องการใช้สถาบันกษัตริย์เพื่อเป็นเครื่องมือต่อการธำรงอำนาจของจนต่อไป
              หลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มนีวงศ์ ฝรั่งเศสจึงส่งราชสมบัติไปยัง นักองราชวงศ์ นโรดม สีหนุ เชื้อพระวงศ์หนุ่มที่กำลังศึกษาอยู่ในลีเซ ไซ่ง่อน นักองคราชวงศ์นโรดม สีหนุ จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติครั้งแรกเมือเดือนกันยายน 1941 ทำให้การสืบราชสันตติวงศ์ของกัมพุชากลังมายังสายของพระบาทสมเด็จพระนโรดม พรหมบริรักษ์ หรือนักองตาชาวดีอีกครั้งหนึ่ง ด้วยฝรั่งเศสมั่นใจอย่างยิ่งยวอว่าจะสามารถคุมสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ได้
             ในชวงที่พระงอค์ครองราชย์นั้นเป็นช่วงที่มีการต่อต้านฝรั่งเศสและเกิดกระแสชาตินิยม แต่ฝรั่งเศสก็ยังมีความสามารถที่จะปกป้องระบบการปกครองของตนดังเมื่อเกิดการประท้วงในเดือนกรกฎาคม 1942 เนืองจากการที่ฝรั่งเศส จับกุมพระภิษุรูปหนึ่งในข้อหาวางแผนรัฐประหารโดยมิให้ลาสักขา ฝรั่งจึงใช้กำลังสลายกลุ่มผุ้ชุมนุมกว่าพันคนอย่างรวดเร็ว ต่อมามีการชุมนุมเรียกร้องเอกราชที่พระตะบอง นำโดย ปก คุณ และรัฐบาลไทยในช่วง ค.ศ. 1940-1948 ต่างสนับสนุนทุน, ฐาน และอื่นไ แก่เขมรอิสระ จึงมีการติดอาวุธต่อส้กับฝรั่งเศสแถบชายแดนไทยอยู่เนืองๆ แต่ภายหลังเมือรัฐบาไทยยุติการสนับสนุเขมรอิสระจึงแตกเป็นหลายกลุ่ม เช่น ฝ่ายซ้ายเข้ากับเวียดมินห์ ส่วนฝ่ายวาก็ทำการต่อต้านฝรั่งเศสและสีหนุ เป็นอาทิ
            ปี 1945 กองทหารญีุ่ปุ่นที่ยึดครองอินโดจีนของฝรั่งเศสอย่างหลวมๆ ได้เข้าปลดอาวุธฝรั่งเศสทั่วอินโดจีน และให้เจ้าหน้าที่ชาวฝรั่งเศสลาออกจาตำแหน่งการปกครอง รวมทั้งมีการติดอาวุธให้แก่ชาวกัมพูชา และปลุกกระแสชาตินิยมต่อต้านฝรั่งเศสมาใช้เพื่อทานการรุกของฝ่ายสัมพันธมิตรที่าดว่าจะเกิดในปีนั้น ดยพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุทรงออกมาประกาศเอกราชและยกเลิกสนธิสัญญาและพันธะกรณีทั้งปวงที่มีต่อฝรั่งเศส และสร้างข้อตกลงกับญี่ปุ่นแทน
           สิงหาคม 1945 มีการรัฐประหารต่อต้านกษัตริย์ซึ่งเป็นพวกของเซิง งอกทัญขณะที่เซิง งอกทัญ ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในเดือนเดียวกัน หลังจากการรัฐประหารที่คลุมเครือ และไม่กีวันต่อมาญี่ปุ่นก็ยอมแพ้แก่สัมพันธมิตรให้หยั่งเสียงการสนับสนุนเอกราช ซึ่งเป็นไปอย่างท่วมท้น แต่ภายหลงนายกเซิง งอกทัญ ก็ถูกปลดออก และฝรั่งเศสก็กลับมามีอำนาจแทนที่
           ทรงสละราชสมับัติ เพื่อทรงดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นนายกรัฐมนตรีของปรเทศกัมพูชา เมื่อทรงเวนราชสมบัติ ทรงดำรงฐานันดรศักดิ์ที่พระมหาอุปยุวราชในพระนามสมเด็จพระนโรดมสีหนุ เมื่อพระราชบิดาเสด็จสุรคต ก็ได้มีคณะผุ้สำเร็จราชการแผ่นดิแทนพระองค์พระมหากษัตริย์ขึ้น มีสมเด็นกรมพระสีัสุวัตถิ์มนีเรศเป็นองค์ประธาน ต่อมา สมเด็จพระนโรดม สีหนุตัดสินพระทัยให้มีตำแหน่งประมุขของรัฐขึ้นมาแทนที่พระมหากษัตริย์ โยพระองค์ได้ทรงดำรงตำแหน่งนั้น แต่สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ยังคงอยู่โดยมีพระราชชนนีของพระองค์เองเป็นพระนิมิตรูปหรือสัญลักษณ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์
            สมเด็จพระนโรมดม สีหนุได้ตัังพรรคการเมืองสังคมราษฎร์นิยม ขึ้นมาเพื่อเลือกตั้งและทรงชนะการเลือกตั้ง ได้ทรงบรหารดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีบ้าง ประมุขแห่งรัฐบ้างไปอีกถึง 15 ปี
             ปี 1970 สมาชิกสภาแห่งชาติลงมติปลดสมเด็จพระนโรดม สีหนุออกจากตำแหน่งประมุขรัฐขณะเสด็จเยือนต่างประเทศ แผนการรัฐประหารครั้งนี้นำโดยนักองค์ราชวงศ์สีสุวัตถิ์ สิริมตะ และมี ลอน นอล เป็นผู้ลงนามประกาศสนับสนุนการปลดพระองค์ในสภาแห่งชาติ และมีการสถาปนาสาธรณรับเขมรขึ้นมา
            สาธารณรัฐเขมร ได้มีการประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐเขมรอย่างเป็นทางการ โดยกลุ่มฝ่ายขวาที่นิยมสหรัฐอเมริกา นำโดย ลน พล และนักองค์ราชวงศ์สีสุวัตถิ์ สิริมตะ ซึ่งได้อำนาจมาจากการรัฐประหาร ล้มล้างรัฐบาลราชอาณาจักรกัมพูชาของสมเด็จพระนโรดม สีหนุ สาเหตุจากการที่สมเด็จพระ นโรดม สีหนุ หันไปสนับสนุนกิจกรรมของเวียดนามเหนือตามแนวชายแดนกัมพูชา ยอมให้มีการขนส่งอาวุธหนึกของฝ่ายคอมมิวนิสต์ฝ่านพ้นที่กัมพูชาตะวันออก และเศรษฐกิจของกัมพูชาได้รับผลกรทบจานโยบายของสีหนุที่ประกาศเป็นกลางและต่อต้านสหรัฐอเมริกา
            เมื่อสมเด็จพระนโรดม สีหนุ พ้นจากอำนาจ การปกครองของกัมพูชาจึงเปลี่ยนจากราชอาณาจักรมาเป็นสาธารณรัฐ แม้ว่าราชบัลังก์จะว่างมาหลายปี ลักษระของระบอบใหม่เป็นชาตินิยมฝ่ายขวา เป็นการสิ้นสุดความร่วมมือกับเวียดนามเหนือและเวียดกงในยุคสมเด็จพระนโรดม สีหนุกับเวยดนามหนือ และเวีดกง ในยุคสมเด็จพระนโรดม สีหนุและเป็ฯพันธมิตรกับเวียดนามทใต้ในสงครามอินโดจีนที่กำลังดำเนินอยู่ สาธารณรับเขมรได้ประกาศเป็นฝ่ายตรงข้ามกับแนวร่วมสหภาพแห่งชาติเขมร ซึ่งเป็นพันธมิตรในแนวชายแดนระหว่างฝ่ายของสมเด็จพระนโรดม สีหนุ กับพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา ฝ่ายทหารขององค์กรดังกล่าวคือ กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติประชาชนกัมพูชา ซึ่งได้รับการสรับสนุนจากกองทัพประชาชนเวียดนามและแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้หรือเวียดกง ซึ่งเข้ามาใช้พื้นที่ของกัมพุชาเพื่อเข้ายึดครองเวียดนใต้
           
แม้ว่ารัฐบาลของสาธารณรัฐเขมรจะเป็นรัฐบาลทหารและได้รับการสนับสนุนทางทหารและการเงินจากสหรัฐอเมริกา แต่กองทัพของรัฐบาลนี้กลับอ่อนแอ ไม่ได้รับการฝึกฝนที่พอเียง ทำให้พ่ายแพ้ต่อกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติประชาชนกัมพุชา กองทัพประชาชนเวียดนาม และเวียกง สาธารณรัฐเขมรจึงล่มสลาย...
               ในช่วง ปี 1975 กองกำลังเขมรแดงได้ยกเข้ามาล้อมพนมเปญไว้ มีผุ้อพยพเข้าในเมืองหลวงมากขึ้น ลน นล ได้สั่งให้ส่งเฮลิคอบเตอร์ไปคุ้มกันประชาชนเหล่านั้น การได้รับการสนับสนุนจากจีนทำให้ฝ่ายเขมรแดงมีความเข้มแข้.มากว่า การพยายามเจรจาสันติภาพล้มเหลวเพราะสีหนุปฏิเสธที่จะเจรากับ ลน นล โดยตรง แผนสันติภาพที่ฝรังเศสเสนอต่อจีนใหสีหนุกลับไปเป็นประมุขของสาธารณรัฐเขมรล้มเหลวเช่นกัน
               เมษายน ปีเดียวกัน ลน นล ได้ประกาศลาออกและลี้ภัยออกนอกประเทศ กองทัพฝ่ายสาธาณรัฐสลายตัวไป เจ้าสิริมตุ, ลอ ฌบเรต, ลน นน และนักการเมืองอื่นๆ ยังคงอยู่ในเมืองหลวงเพื่อจะพยายามเจรจาสงบศึกกับฝ่ายเขมรแดง จนกระทั่งเมืองพนมเปญแตกในวันที่ที่ 17 ฝ่ายเขมรแดงได้ประหารชีวิตนัการเมือง ในระบอบเก่าทั้งหมด สาธารณรัฐเขชมรจึงล่มสลายลง บริวเณสุดท้ายที่อยู่ภาภยมต้อำนาจของฝ่ายสาธาณรัฐเขมรคือบริเวณปราสามเขาพระวิหาร บนเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งกองทัพฝ่ายสาธารณรัฐสามรถยึดครองไว้ได้ในปลายเดือนเมษายน และฝ่ายเขมรแองแย่งชิงมาในเดือนพฤษภาคม
               กัมพูชาประชาธิปไตย ด้วยการสนับสนุนของชาวกัมพูชาในชนบท เขมรแดงจึงสามารถเข้าสู่กรุงพนมเปญ และให้พระนโรดม สีหนุ เป็นผุ้นำปรเทศจึงถึง เมษายน 1976 หลังจากนั้น สีหนุถูกกัก
บริเวณในพนมเปญ จนกระทั่งเกิดสงครามกับเวียดนาม พระองค์จึงลี้ภัยไปจีน อำนาจที่แท้จริงเเป็นของคณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์และเจ้าหน้าที่ระดับสุงของรัฐและนายกรัฐมนตรี พล พต รองเลขาธิการพรรคือ นวน เจีย และคนอื่นๆ อีก 7 คน สำนักงานต้ั้งอยู่ที่กรุงพนมเปญ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในขณะนั้นว่า ศูนย์กลาง, องค์กรหรืออังการ์ เขมรแดงทำลายระบบกฎหมายและระบบศาลของสาธารณรับเขมร ไม่มีศาล ผุ้พิพากษาหรือกฎหมายใดๆ ในกัมพูชาประชาธิปไตย
               ทันทีที่พนมเปญแตก เขมรแดงสั่งให้อพยพประชาชจำนวนมากออกจากเมืองโดยกล่าวอ้างว่าสหรัฐฯมาทิ้งระเบิด การอพยพประชาชนเช่นนั้เกิดขึ้นในอีกหลายเมือง แขมรแดงจัดให้ประชาชนเหล่านี้ออกมาอยู่ในนิคมในชนบท ให้อาหารแต่เพียงพอรับประทาน ไม่มีการขนส่ง บังคับให้ประชาชนทำการเกษตรเพื่อผลิตอาหารให้เพียงพอ เขมรแดงต้องการเปลี่ยนประเทศไปสู่ความบริสุทธิ์ที่ไม่มีการฉ้อราษฎร์บังหลวงและปรสิตในสังคมเมือง นิคมที่สร้างขึ้นบังคับให้ทั้งชายหญิงและเด็กออกไปอำงานในทุ่งนา ทำลายชีวิตครอบครัวดั้งเดิมซึ่งเขมรแดงกล่าวว่าเป็นการปลดแอกผู้หญิง
             
หลังจากได้ชัยชนะในสงครามกลางเมืองไม่นาน เกิดการปะทะระหว่างเวียดนามกับทหารเขมรแดง พล พต และ เอียง ซารี เดินทางไปฮานอย ทำให้ความขัอแย้งสงบลงในขณะที่เขมรแดงครองอำนาจในกัมพูชา ผุ้นำเวียดนามตัดสินใจสนับสนุนกลุ่มค่อต้าน พล พต ในกัมพูชาเมื่อต้นปี 1978 ทำให้กัมพูชาตะวันออกเป็นเขตที่ได้รับการสนับสนุจากเวียดนาม เดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน เกิดการลุฮือในกัมพูชาตะวันออก มีการฆ่าชาวเวียดนามในกัมพูชาตะวันออกเป็นจำนวนมาก และยังแสดงความต้องการจะยึดดินแดนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงมาเป็ฯของกัมพูชา ในเดือนพฤศจิการยนปีเดียวกัน วอน เว็ต ก่อรัฐประหารแต่ล้มเหลว ชาวเวียดนามและชาวกัมพูชานับหมืนคนอพยพเข้าสู่เวียดนาม ธันวาคมปีเดียวกัน วิทยุฮานอยประกาศจัดตั้งแนวร่วมสามัคคีประชาชาติกู้ชาติกัมพูชา ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของกลุ่มต่อต้านพล พต ทั้งที่นิยมและไม่นิยมคอมมิวนิสต์ โดยมีกองทัพเวียดนามหนุนหลัง เวยดนามเร่ิมรุกรามกัมพูชาเพื่อโค่นล้มเขมรแดงและสามารถเข้าสู่กรุงพนมเปญขับไล่เขมรแดงไปได้ในเดือนธันวาคม ปีต่อมา จัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนกัมพุชา


                     - (www.th.wikipedia.org/..,พระบาทสมเด็จพระนโรดม_สีหนุ, สาธารณรัฐเขมร, กัมพูชาประชาธิปไตย, ประเทศกัมพูชา)
                   

วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Nationalism : The Red Prince

            ลาวขึ้นมาจากความไม่มีชื่อเสียงในฐานะประเทศอาณานิคมมาสู่สายตาของคนทั้งหลายจากเรื่องการขัดแย้งระหว่างชาติในทศวรรษที่ 1950 นั้น กรณีของลาวแสดงให้เห็นว่าการปกครองแบบอาณานิคมทางอ้อมก็ดี หรือความสสงบในทองถ่ินก็ดีไม่ได้ทำให้เกิดเสถียรภาพขึ้นได้ในปลายศตวรรษที่สิบเก้า ฝรั่งเศสได้ตัดอาณานิคมลาวตามอำเภอใจ ลาวในสมัยปัจุจบันมีอยู่ตามสภาพทางภูมิศาตร์มากกว่าทางด้านการเมือง ไม่เหมือนกับกัมพุชาและเวียดนาม ลาวเป็นประเทศที่ 5 ของอินโดจีนของฝรั่งเศสสมัยก่อน ทำให้ขาดการรวมกันเป็นกลุ่มก้อนทางประวัติศาสตร์และขาดความรู้สึกในการวมกันเป็นชาติ การอยู่ในอารักขาของฝรั่งเศส ทำให้การบาดหมางระหว่างราชตระกูหรือระหว่างบุคคลสงบลงได้ แม้จะมไ่หมดสิ้นไป สิ่งทสำคัญที่ทัดเทียมกันอีกอย่างหนึ่งคื พวกลาวที่อยู่ในที่ลุ่มเป็นเพียงชนกลุ่มน้อยของประเทศ (พวกลาวส่วนใหญ่ที่จริงแล้วอยู่ในประเทศไทย) ส่วนพวกชาวเขาเผ่าต่างๆ ได่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับการปกครองของราชอาณาจักรที่ฝรั่งเศสก่อตั้งขึ้นมาเลย
           แม้ก่อนหน้าที่ฝรัง่เศสจะปล่อยให้ลาวเป็นอิสระใน ค.ศ.1954 ประเทศเพื่อบ้านของลาว คือ เวียดนามและไทย เริ่มหาประโยชน์อย่างลับๆ จากการชิงดีกันในหมู่ชนชั้นนำในประเทศการที่อเมริกาข้ามาในแถบนี้ิ่งทำให้การแข่งขันเหล่านี้ยุงยากและรุนแรงยิ่งขึ้น ตั้งแต่ได้รับอิสรภาพเป็นจ้รมา กษัตริย์ลาวเองมีบทบาทเพียงเล็กน้อย พระอนุชา 3 ประองค์เป็นบุคคลสำคัญทางการเมืองของลาว องค์หนึ่งพึ่งอเมริกัน-ไทย อีกองค์หนึ่งได้รับการสนับสนุนจากเวียดนามเหนือ ส่วนองค์ที่ 3 คือเจ้าสุวรรณภูมา นายกรัฐมนตรีในทศวรรษที่ 1950 และ 1960 แสวงหาทางสายกลางระหว่าง "ขวา"และ "ซ้าย" ซึ่งเสียงอัจตราย ฉากการเมืองยิ่งยุ่งยากมากขึ้นเนื่องจากการชิงดีกันในระหว่างหลายก๊กหลายเหล่าในกองทัพ
            ในระยะ 2-3 ปีที่รัฐบาลผสมประกอบด้วยพวกใหญ่ ๆ 3 พวกด้วยกัน แต่แนวลาวรักาชาติ Neo Lou Hak Xat-Patriotic Front ซึ่งมีคอมมิวนิสต์เป็นผู้นำ และมีฐานปฏิบัติการทางทหารและเขตแดนที่มั่นคงอยู่ทางเหนือ ปรากฎว่าเป็นกลุ่มที่มีระเบียบการปกครองดีที่สุดใน 3 กลุ่ม พวกคอมมิวนิสต์ได้รับแรงสนับสนุนจากเวยดนามเหนือ สามารถดึงดูดความสนใจจากชนกลุ่มน้อยได้ ลาวซึ่งได้รับการยืนยันในความเป็นกลางจากการประชุมเจนีวาครั้งที่ 2 ในค.ศ. 1962 เป็นประเทศที่ถูกแบ่งแยก อิทธิพลอเมริกาแข็งแกร่งอยู่ทางใต้ ส่วนคอมมิวนิสต์อยู่ทางเหนือ ความเป็นจริงข้อนี้บดบังวิถีทางการเมืองที่มีมาแต่เดิมึ่งพัฒนาไปอย่างช้าๆ เช่นเดียวกับปัญหาอื่นๆ
            การเปลี่ยนแปลงเป็นเครื่องหมายของการสลายตัวของลัทธิอาณานิคมในพม่า อินโดนีเซีย และเวียดนาม เนื่องจากประเทศทั้งสามตกอยู่ภายใต้การปกครองอาณานิคมโดยตรง ดังนั้นระบบการเืองที่เคยมีมาแต่เก่าก่อนถูกทำลายไป นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1930 บรรดผู้นำใหม่ๆ และพวกปัญญาชนที่มีพลังความสามารถได้เริ่มปรากฎขึ้นมาอยู่ในระดับแนวหน้า แต่ในช่วงระยะระหว่างสงครามดลกครั้งที่สองเท่านั้นที่บุคคลเหล่านี้ได้เข้ามีตำแหน่งเป็นผุ้นำประชาชนอย่างเป็นทางการในพม่าและอินโดนีเซีย แม้ว่าจะตกอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นอย่างใกล้ชิดก็ตามในเวียดนามบุคคลชั้นนำเหล่านี้ได้ปรากฎตัวขึ้นหลังจากการยอมจำนนของญี่ปุ่นที่มีต่อกลุ่มศาสนาต่างๆ เหล่านี้ ในหลายๆ บริเวณที่ส่วนช่วยร่นระยะเวลาให้แนวคิดนั้นสำเร็จเร็วขึ้น ข้อสำคัญประการสุดท้าย การที่ฝ่ายตะวันตกเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในด้านเศรษฐกิจอย่งกว้างขวางทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญๆ ในหมู่ชาวนาพม่า อินโดนีเซย (โดยเฉพาะในชวา และสุมาตรา) และเวียดนาม คงจำกันได้ว่าสถานการณ์ของขาวนาในประเทศทั้งสมนั้นได้เลวลงไปมากในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
         ...การยอมจำนนของญี่ปุ่นในเดือนสิงหสคม 1954 ทำให้พลังและควมทะเยอทะยาที่ซ่อนเร้นอยู่ของพวกผุ้นำทางการเมืองและการศาสนาได้ปรากฎออกมา เป็นชนวนทำให้ชาวนาเกิดความหวังที่จะได้รับการปลดปล่อยจากภาระอันหนักอึ้งในระหว่างสงคราม การสู้รบอย่างเปิดเผยเริ่มจากการบุกเข้าไปในพม่าอีกครั้งหนึ่งของอังกฤษในปี 2944 ในขณะที่กองทหารฝรั่งเศสและฮอลันดาพยายามที่จะให้ได้บัยชนะเหนืออาณานิคมอีกครั้งหนึ่งในอินโดนีเซียและเวียดนามทั้นที่ที่สิ้นสุดสงคราม ดังนั้นการต่อสู้เพื่อสิทธิเสรภาพจึงจุดประกายของความรุนแรงที่หวังจะทำการปฏิวัติอย่างเร่าร้อน ตราบใดที่การต่อสู้นี้ยังคงมีอยู่ พวกผุ้นำชั้นยอดและมวลชนในชนบทจะมีความสามัคคีกันเนืองจากมีเป้าหมายร่วมกัน ถึงกระนั้นก็ตาม การจะให้ได้มาซึ่งเสรีภาพทั้งในพม่าและอินโดนีเซีย ได้ไม่ได้อะไรมากไปกว่าเป็นแต่เพียงลมปากเท่านั้น ซึ่งในไม่ช้าก็เกิดการจลาจลติดตามมา เวียดนามเองก็แทบจะไม่มีเวลาชื่นชมกับความสงบสุขภายในเลยสังชัวระยะเดียว
           ในประเทศใหม่ๆ เหล่านี้ การผลัดเปลี่ยนกันขึ้นมามีอำนาจของพวกผู้นำของชาติเป็นลักษณะที่เด่นชัดที่สุด ทั้งนี้ไม่นับเวียดนามเหนือซึ่งกลุ่มผุ้ปกครองคอมมอิวนิสต์มีอำนาจอยู่เต็มเปี่ยมบริบูรณ์ ไม่มีผุ้นำคนใดเลยที่ได้นเสรภาพมาให้แล้วจะยังคงอยู่ในอำนาจได้ถึงช่วงทศวรรษที่ 1960 การปลกดพลกผุ้นำเหล่านี้ซึ่งเป็นบุคคลที่มีภูมิความรู้และมีความสามารถพิศษไม่ได้เป็นเรื่องส่วนบุคคล แต่เป็นเครื่องหมายของการเปลี่ยนแปลงขั้นต่อไปในรูปแบบการปกครองชั้นผุ้นำ ปัจเจกชนระดับสุงจะมีความสำคัญเพียงไรก็ตามในการชุมนุมชาวชนบทให้ต่อสู้เพื่อเอกราช แต่เขาก็ได้พิสูจน์ให้เห็นว่ายังไม่มีกำลังพอในการที่จะแบกภาระงาน "สร้างชาติ" เอาไว้ ความเข้าใจอันดีเกี่ยวกับบรรดาผู้นำเปล่านั้นมีแนวโน้มทีจะทำให้กลุ่มปัญญาชนทางการเมืองซึ่งตนก้าวออกมานั้นเสียเกียรติไปได้ กลุ่มบุคคลที่เข้ายึดอำนาจในทศวรรษที่สองของการสลายตัวของลัทธิอาณานิคมส่วนใหญ่เป็นพวกกุล่มทหารที่มีฐานอำนาจมั่นคงซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างสงคราม พวกนี้มิใช่แต่จะเป็นตัวแทนของพวกรุ่นเด็กว่าเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวแทนของพวกที่มีการศึกษาน้อยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย  

                           
การเปลี่ยนแปลงระบบการปกคอรงจาฝ่ายพลเรือนมาเป็นฝ่ายทหารนั้น มีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญตามมาด้วย ถึงจะมีความพยายามต่อต้านฝ่ายตะวันตกอย่างเข้มแข็งอยู่ในแนวความคิดแบบชาตินิยมของตนก็ตาม แต่พวกผุ้นำซึ่งเป็นปัญญาชนส่วนใหญ่ก็ยังผูกพันอยู่กับแบบการปกครองแบบตะวันตก ยกเว้นพวกคอมมิวนิสต์วึ่งยึดอยู่ลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างเดียวเท่านั้นลัทะิประชาธิปไตยแบบตะวันตกเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าเป็นลัทธิการปกครองที่สมัยใหม่ที่สุดสำหรับ ทุกประเทศ และหลังจากที่ฝ่ายพันธมิตรได้ชัยชนะในสงครามโลกครั้งท่สองแล้ว ก็เป็นกลุ่มประเทศที่ประสบความสำเร็จมากที่สุ เพราะฉะนันจึงไม่เป็นที่ประหลาดใจเลยที่ทังพม่าและอินโดนีเซีย (และแม้แต่เวียดนามในระดับหนึ่ง) หลังจากที่ได้เอกราชแล้ว ได้รับเอารัฐธรรมนูญตามแบบอย่างของฝ่ายตะวันตก ยังเป็นที่สงสัยกันอยู่ว่าระบบการปกครองแบบเสรีประชาธิปไตยนั้นจะใช้ได้เป็นผลสำเร็จหรือไม่ในประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้สภาพที่คิดว่าดีที่สุดแล้ว ถึงจะมีการเลือกตั้งอย่างขาวสะอาดพอใช้ในพม่าและอินโดนีิเซีย (แต่ไม่มีในเวียดนามทั้งสอง) แต่ก็ทำให้เกิดการแตกแยกกันในทางเชื้อชาติและความคิดเห็นทางเมืองและอื่นๆ มากกว่างจะเป็นการส่งสเริมให้เกิดเแกภาพของประเทศ เมื่อเป็นเช่นนั้นฝ่ายทหารโดยส่วนใหญ่จึงไม่ชอบลัทะิประชาธิปไตยแบบรัฐสภา และเมื่อตนได้มีอำนาจฝ่ายทหารก็ได้นำเอาระบบอำนาจนิยม มาใช้แทน ในขณะเดียวกันก็คงไว้ซึ่งศิลปะการจูงใจในกรปฏิวัติและแม้กระทั่งการปฏิวัติเืพ่อไปสู่ลัทะิสังคมนิยมด้วย
               การที่ทหารขึ้มามีอำนาจในการปกครองนั้นไม่ใช่สิงที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญในประวัติศาสตร์ของประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศที่ถูกปกครองโดยตรงทหารเป็นกลุ่มที่รวมตัวกันและมีความสามัคคี มีระเบียบวินัยที่ดีเยี่ยม (เช่นเดียวกบพรรคคอมมิวนิสต์ที่มีองค์ประกอบเป็นกลุ่มที่มีโครงสร้างอย่างเหนียวแนนในเวียดนามเหนือ) ยิ่งกว่านั้นอำนาจของทหารที่มช้บังคับกันตามลำดับชั้น โดยทางปฏิบัติแล้วยังเป็นหลักประกันถึงความยิ่งใหญ่ในการดำเนินงานของพวกทหาร เมื่อเทียบกับฝ่ายตรงข้ามที่เป็นพลเรือน ตัวอย่างของไทยได้แสดงให้เห็นชัดถึงความยิ่งใหญ่ที่ว่านี้อยู่ถึง 30 ปีเศษ การยึดครองของพวกทหารกระทำได้สำเร็จอย่างว่ายดาย เนื่องจากพวกนักการเมืองพลเรือนไม่มีรากฐานทางการเมืองที่มั่นคง และไม่มีกำลังในการจัดการต่างๆ
              อย่างไรก็ตาม วิวัตฒนาการทางด้านการเมืองระหวางประเทศเหล่านี้ก็ถึงจุดหยุดชะงักลงชั่วคราวสาเหตุหนึ่ง คือ ทหารเหล่านี้เป็นพวกทหารหนุ่มๆ ซึ่งเกิดมาเพื่อทำการปฏิวัติ และทำสงครามต่ต้านลัทธิอาณานิคมมากกว่าที่จะเกิดมาเป็นทหารอาชีพ มีระเบียบวินัยตามแบบทหาร บรรดานายทหารและลูกน้องจึงสะท้อนให้เห็นถึงความตึงเครียดและการบาดหมางกัน ทั้งทางด้านการเมืองและสังคมเช่นเดียวกับที่มีในหมู่เพื่อร่วมชาติพลเรือนของตน อีกสาเหตุหนึ่งพยกทหาไม่มีความรู้ความชำนาญ และไม่มีประสบการณ์ทั้งทางด้านการปกครอง เศรษฐกิจ และการเมือง
             ความไม่มั่นคงของพวกผู้นำฝ่ายทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางด้านเศรษฐกิจผสมผสานกันอย่างดีกับการพลิกแพลงทางด้านการเมืองและสังคมในพม่า อินโดนีเซย และเวียดนามใต้ การปราบปรามองค์การพลเรือนต่างๆ พวกผุ้นำฝ่ายตรงข้ามที่สงบเงียบ พวกนักศึกษามหาวิทยาลัยและเตรียมอุดมที่หมดความอดทนและทำการเรียกร้อง และข้อสุดท้ายสวัสดิการในชนบทที่เลวลงทุกทีรวมกับอัตราการเกิดที่สูง ทั้งหมดนี้เป็นเครื่องชี้ให้เก็นถึงเสถียรภาพที่ไม่มั่นคงที่แอบแฝงอยู่มากกว่าจะเป็นระบอบการปกครองปบบใหม่ที่กึ่งภาวร แลจะต้องไม่ลืมวา เช่นเดียวกับประเทเอเชียตะวันออกเแียงใต้อ่น พวกจัต้า juntas หรือฝ่ายทหารในประเทศเหล่านีมีปัญหารุล้มอยุ่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ส่วนน้อยที่มีอยู่ ความจริงที่ว่าพม่าและอินโดนีเซียได้มีมตรการที่รุนแรงที่สุดสำหรับจัดการกับพวกินเดียและจีนที่อาศัยอยุ่ใม่าและอินโดนีเซียนั้นเป็นเคร่้องชี้ให้เห็นถึงความผิดฟวังที่รัฐบาลกับพวกอินเดียและจีนที่อาศัียอยุ่ในพม่าและอินโดนีเซียนั้นเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงความผิดหวังที่รัฐบาลใหม่ได้รประสบนับแต่ได้เข้ามามีอำนาจในการปกครอง
             ประเทดลาว เป็นชื่อของขบวนการปฏิวัติลาวที่เป็ฯพันธมิตรกับพรรคคอมมิวนิสต์เวยดนามในสมาคมอินโดจีน ช่วงแรก กลุ่มนี้มีความสัมพันธ์กับพรรคคิมมิวนิสต์เวยดนามตั้งแต่ พงศ. 2487 กำเนิดของกลุ่มนี้เริ่มจากการที่เจ้า "สุพานุวง" ได้ต่อต้านการฟื้นฟูลัทธิจักรวรรดินิยมของฝรั่งเซส จนต้องเข้ามาลี้ภัยในไทยและออกไปเวียดนาม เมื่อมีการประนีประนอมระหว่างกลุ่มชาตินิยมลาวกับฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2493 เจ้าสุพานุวงจึงจัดตั้งสมัชชาต่อต้านขึ้นที่แนวชายแดนเวยดนาม และตั้งกลุ่มต่อต้านรัฐบาลแห่งชาติที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อประเทศลาว
            กลุ่มประเทดลาวถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าร่วมการประชุมเพื่อทำข้อตกลงเจนีวาว่าด้วยอินโดจีน หลังจากนั้นกลุ่มนี้ได้ก่อตั้งแนวลาวฮักชาดเป็นแนวร่วมของพรรคปฏิวัติประชาชนลาวหรือพรรคคอมมิวนิสต์ และยังเป็นชื่อเรียกของชบวนการปฏิวัติยึดอำนาจได้เด็ดขาเมื่อเดือนธันว่าคม พ.ศ. 2518
           ฝรั่งเศสได้จัดตั้งรัฐบาลลาวขึ้น อยู่ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีหลายท่านที่เป็นพวกอนุรักษนิยม ไดแก่เจ้าสุวรรณราช และเจ้าสุวรรณภูมา ส่วนพระองค์นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์จนได้สมญานามว่า "เจ้าชายแดง"
           ในปี พ.ศ. 2517 พระองค์เสด็จคืนเวียงจันทน์ ทรงดำรงตำแหน่งปรธานสภาาที่ปรึกษาแห่งชาติอยู่ 18 เดือนจนสถาปนาประเทศเป็น "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว" พระองค์ได้รับเลือกเป็นประธานประเทศและประธานสภาประชาชนสูงสุดคนแรก พร้อมกนนั้น พระองค์ได้สลาะฐานันดรศักดิ์ทั้งปวงในสมัยระบอบเก่า เจ้าสุภานุวงศเป็นที่รักของประชาชนชาวลาว จนเรียกขานกันว่า "ลุงประธาน"
          ..จากการประชุมที่เจนีวา ชื่อขบวนการประเทดลาว ได้กำเนิดขึ้นเพราะแนวลาวอิดสะละได้เขียนคำว่า "ประเทดลาว" ไว้ที่หัวกระดาษของเอกสารและจดหมายเพื่อชี้ให้เห็นว่าคือประเทศลาวที่เป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศอินโดจีน ทำให้ชื่อ กลุ่มประเทดลาว กลายเป็นชื่อเรียกในทางสากลแทน แนวลาวอิดสะละ แต่สำหรับการเคลื่อนไหวในประเทศลาวก็ยังคงใช้ชื่อว่าแนวลาวอิดสละ กระทั้งภายหลังรัฐบาลของกระต่าย โดนสะสอลิด เตรียมจัดการเลือกตั้งแนวลาวอิสะละได้เปลี่ยนชื่อเป็น แนวลาวฮักชาด ส่วนหนึ่งเพื่อให้ รัฐบาลลาว วางใจว่ากลุ่มแนว ลาวอักซาดไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มคอมมิวนิสต์จนรัฐบาลลาว ยินยอมให้เข้าร่วมรัฐบาลผสมและลงเลือกตั้งในนาม พรรรค
           แม้ว่าเจ้าเพ็ดซะราดจะประกาศไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองหลังจากการแตกแยกของขบวนการลาวอิดสะละ แต่สมาชิกของแนวลาวอิดสะละโดยเฉพาะ เจ้าสุพานุวง และพูมี วงวิจิด ก็ยังใหความเคารพพระองค์และยังปรึกษาพ่ระองค์เกี่ยวกับการดำเนินการเคลื่อนไหวต่อต้านฝรั่งเศสอยู่บ่อยครั้งส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเจ้าสุพานุวงเชื่อว่า แนวลาวอิสะละ เป็นการสืบทอดอุดมการณ์ของรัฐบาลลาวอิสะละ ดังจะเห็นได้จาก เจ้าสถพานุวงเกิฐธงสามสีที่เป็นสัญลักษณ์ของรัฐบาลลาวอิดสะละไว้และยังนำธงผืนนี้มาใช้เป็นสัญลักษณ์การเคลื่อนไหวของแนวลาว ฮักซาดตลอดจนธงดังกล่าวยังเป็ฯธงขาติลาวในปัจจุบนด้วย
          สงครามแย่งชิงประชาชนระหว่างรัฐบาลลาวกับแนวลาวฮักซาด สมาชิกของกลุ่มลาวอิสะละเลือกเส้นทางเดินตามแต่แนวคิดทางการเมืองที่แตกต่างซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ แลุ่มแรกเชื่อมั่นในเส้นทางเสรีประชาธอปไตยแม้จะต้องอยู่ภายใต้อิทธิพลของฝรั่งเศสหรือสหรัฐฯ ส่วนกลุ่มที่สอง แม้จะเลือกเส้นทางเดียวกับเวียดนาม คือ เส้นทางสังคมนิยม แต่ในขณะน้นอาจจะต้องกล่าวว่าพวกเขาสนใจเพียงแต่ว่าเส้นทางใดจะทำให้ขับไล่ศตรูที่รุกรานแผ่นดินลาวออกไปได้ ด้วยเหตุนี้เ พมือ่พิจารณราแนวทางการต่อสู้แย่งชิงประชาชนระหว่างฝ่าย รัฐบาลลาว และกลุ่มแนวลาวฮักซาดจะเห็นได้ว่า ทั้งสองใช้สถาบันพุทธศาสนาและสถาบันกษัตริย์ เป็นสิ่งจูงใจให้ประชชนเข้าร่วมกลุ่ม เพียงแต่การอธิบายลักษณะสังคมที่ประชาชนต้องการ ฝ่ายแนวลาวฮักชาอกลับทำใได้ดีกว่าเพราะเป็นแนวทางที่เป็ฯระบบและให้ความสนใจต่อชนกลุ่มน้อยซึ่งเป็นปชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ผนวกกับภาพลักษณ์ของรัฐบาลลาว ที่ไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากความขัดแน้งทางการเมืองภายในรัฐบาลลาวเอง และปัญหาการคอรัปชั่น ทำให้ภายหลัง ประชาชนจำนวนหนึ่งให้การสนับสนุนและเข้าร่วมสนับสุนแนวลาวฮักซาด
         ชัยชนะของแนวลาวฮักซาด
         สถานะการณ์ทางการเมืองโลก กระตุ้นให้ผู้นำลาว เช่น กะต่างโดนสะสอลิดตัดสินใจเป็นฝ่ายเสรีนิยมและเศรษฐกิจกลบกลายเป็นการเื้อผลประโยชน์ให้กับนัการเมือง, ทหารบางกลุ่ม, เจ้าหน้าที่ลาว และพ่อค้าด้วยเหตุนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวจะเห็นความร่ำรวยของกลุ่มคนเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น เช่นบ้านหลีังใหญ่, รถยนต์ราคาแพง, ลูกหลานไปเรียนเมืองนอก และตัวอย่างทางการเมืองที่เห็นได้ชัดเจนคือการใช้อำนาจและเงินซึ่งส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนของสหรัฐฯ ของนายพลพูมี หน่อสะหวันโกงการเลือกตั้ง หรือภาพลัษณ์นัการเมืองธุรกิจของเจ้าบุนอุ้ม ณ จำปาสัก ซึ่งเป็นเจ้าของกิจการต่างๆ มากมายไม่ว่าจะเป็นบ่อนคาสิโนในเมืองปากเซและสะหวันนะเขต, สายการบินลาว, การลักลอบขนไม่เถื่อน รวมทั้ง ตระกูลซะนะนิกอนตระกูลนักการเมืองซึ่งใช้ความสัมพันธ์กับกนักการเมืองและข้าราชการระดับสูงช่วยให้บริษัทของตระกูลได้รับสิทธิพิเศษ เช่น การสัมปทานบริษัทยาสูฐ 555 และการยกเว้นภาษี
           นอกจากนั้น ยิ่ง "สงครามลับ" ของสหรัฐฯ ในลาวทวีความรุนแรงขึ้นมากเท่าไร ประชาชนก็ยิ่งไม่พอใจมากขึ้น โดยเฉพาะใช่วงต้นปี ค.ศ. 1968 เมื่อขบวนการเวียดมินห์โจมตีเวียดนามใต้ได้ใน "การโจมตีวันตรุษญวน" และฝ่ายสหรัฐฯตอบโต้ด้วยการโจมตีพื้นที่ของกลุ่มเวียดมินห์และกลุ่มประเทดลาวทางตอนเหนือของลาวมากขึ้น ทำให้พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นพื้นที่สงครามเต็มตัวโดยเฉพาะบริเวณทุ่งไหหิน ซึ่งในขณะนั้น สหรัฐฯ ส่งเครื่องบิน B52 ทิ้งระเบิดที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงเพื่อมากจากเดิม ในบริเวณทางภาคเหนือ
          ภาพลักษณ์ของนักการเมืองที่ร่ำรวยและผลลัพธ์จากสงครามเป็น้อด้อยที่ทำให้แนวลาวฮักซาดโจมตี รัฐบาลลาวและเริ่มเอนเอียงไปสนับสนุนแนวลาวฮักซาด ตัวอย่างเช่นสมพะวัน นักเขียนในวารสาร "มติตะสอน" กล่าวสนับสนุนการต่อต้านสหรัฐฯ สมพะวันยังชี้ให้เห็นว่า "สหรัฐฯ"เป็นภัยร้ายใกล้ตัวมากกว่าเวียดนามที่รัฐบาลลาว มัวแต่หวาดระแวงการคุกคามของเวียดนามเหนือรวมทั้ง ลมพะวันยังแสดงความห่วงใยต่อสงครามที่เกิดขึ้นในลาวในบทกลอนที่กล่าวถึงผู้เสียชีวิตในสงครามอย่างเศร้าสลด ในอีกแง่มุมหนึ่ง ผลลัพธ์ของสงครามมีผลกระทบต่อคนในพื้ที่เกิดสงครามโดยเฉพาะตามแนวชายแดนมากว่าประชาชนที่อยู่ในเวียงจัน หรือ พื้นที่ที่ไม่ไ้รับปลกระทบโดยตรง ฉะนั้ ปัญหาสงครามจึงเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับคนเหล่านี้แตคนในเมืองวิตกกังวลและสังสนมากกว่า คือ ความเปลี่ยนแปลงของสังคมและวัฒนธรรม ในทศวรรษที่ 1970 โดยเฉพาะปัญหาจริยธรรมและสังคมที่กำลังเสื่อมโทรมลงซึ่งปัฐหาเหล่านี้ถูกหยิยกมาวิพากษ์วิจารณ์อย่างไรก็ดี อฟเวนส์ ชี้ให้เห็นความเปลี่ยนแปลงและความสับสนของสังคมผ่านคนสองกลุ่มจากบทความในหนังสือพิมพ์ "เยียวยาหังใจที่แตกร้าว ซึ่งกล่าวถึง "รสนิยคาวบอย" ของกลุ่มวัยรุ่นในเวียจันว่าเป็นพวกนอกรีต..
                ความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาสังคมยังสะท้อนในวรรณกรรมต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะบอกเล่าเรื่องราวและปัญหาที่พบเห็นได้ในสัง เช่น การทรยศรัก, สามีนอกใจและการมีภรรยาน้อย หรือความแตกต่างระหว่างเมืองและชนบทก็สะท้อนให้เห็นใวรรณกรรมช่วงเวลาดังกล่าวเช่นกัน เช่น "พ่อยังไม่ตาย" หรือปัญหาโสเภณีที่คาดกันว่าในปี ค.ศ. 1970 จำนวนโสเภณีในเวียงจันมากว่า 1,000 คน ในเรื่องสั้นลูกสาวที่เสียไป อนึ่ง ทัศนะเหล่านี้ได้สะท้อนความจริงแห่งยุคสมัยของสังคมลาวได้อย่างชัดเจน ผุ้คนตั้งคำถามกับความเจริญที่เกิดขึ้นในเวียงจันและตระหนักถึงปัญหาความด้อยพัฒนาและทัศนคติอันล้าหลังของลาว ซึ่งความวิตกกังวลเหล่านี้เองที่กลายเป็นพลังสนับสนุนแนวลาวฮักซาดและเร่ิมต่อต้าน รัฐบาลลาว ที่กลุ่มนี้มองว่าเพิกเฉยต่อปัญหาที่เกิดขึ้นและยิ่งผนวกับภาพลักษณ์นัการเมืองที่ทุจริตและการสนับสนุนสหรัฐฯ ในการทำสงคราม ก็ยิ่งเป้ฯการทำลายตัวเองเร็วขึ้นและส่งผลใหประชาชนเข้าร่วมกับแนวลาวฮักซาดเพิ่มขึ้น
              นอกจากนั้น การดำเนินงานด้านการขยายมวลชนของแนวลาวฮักซาดก็มีลัษณะที่เป็นระบบและมีเอกภาพเดียวกัน แม้ว่าจะถูกโจมตีบ่อยครั้งว่าเป็นตัวแทนทของเวียดนามเข้ามากลืนชาติลว แต่แนวลาวฮักซาด ก็สามารถโต้กลับได้ว่าการเคลื่อนไหวของแนวลาวฮักซาดและกลุ่มเวียดมินห์มีลักษณะเป็นกลุ่มชาตินิยมที่ต่อต้านสหรัฐฯ ในฐานะของศัตรูรุกรานชาติลาวมอกกว่าศัตรูของฝ่ายคอมมิวนิสต์ อีกทั้งแนวลาวฮักซาด ยังมีดครงการทางการเมืองซึ่งกล่าวถึงการสนับสนุนศาสนาพุทธและยกย่องเจ้ามหาชีวิตเป็นผุ้นำเพื่อจูงใจให้ประชาชนในเขต รัฐบาลลาว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวลาวลุ่มเข้าร่วมด้วยได้..
           
"สาธุเจ้าชายอุดทอง สุภานุวงศ์" หรือ เจ้าสุภานุวงศ์ หรือ ประธานสุภานุวงศ์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2452 ที่เมืองหลวงพระบาง เป็นเชื้อพระวงศ์ราชวงส์ล้านช้างหลวงพระบาง เป็นประธานประเทศ (ประธานาธิบดี) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คนแรกหลังจากลาวเปลี่ยนแปลงการปกครองจากราชอาณาจักมาเป็นสาธารณรัฐเมื่อปี พ.ศ. 2518 ทั่วโลกรู้จักในสมญานาม "เจ้าชายแดง" หรือ "The Red Prince"
           พระองค์ทรงเข้าร่วมขบวนการต่อต้านฝรั่งเศสเพื่อเอกราช จนได้รับาดเจ็บในการต่อสู้กับฝรั่งเศสที่เมืองท่าเเขก ระหว่างหนีข้ามแม่น้ำโขงเข้ามายังฝั่งไทย ทรงก่อตั้งกองทัพปลดปล่อยประชาชนลาวในพื้ที่ซำเหนือ ภายใต้การสนับสนุนของโอจิมินห์ ซึ่งต่อมาเป็นขบวนการคอมมิวนิสต์ประเทศลาว ต่อมาอีกสองปี ขบวนการประเทศลาวก็สามารถครองพื้นที่ 1  ใน 3 ของประเทศได้ และต้งฐานที่มั่นที่ยากแก่การทำลายในถ้ำหินปูนที่แขวงหัวพันกับพงสาลี
            ทั่วโลกรู้จักเจ้าสุภานุวง์ในสมญานาม "เจ้าชายแดง"เนืองจากเป็นเจ้าผุ้ยอมเสยลสละแยกตัวเองออกจากชนชั้นศักดินามาร่วมก่อตั้งขบวนการปฏิวัติลาว ซึ่งจากการที่ ราชตระกูลหันมาเป็นนักปฏิวัตินี่เอง ที่ทำให้นักวิลาการทางด้านมานุษยวิทยาชาวต่างชาติคนหนึ่งที่ทำการศกษาเรื่องประเทศลาวมาอย่างยาวนาน มีความเห็นว่าเจ้าสุภานุวงศ์ถือเป็นบุคคลชนชั้นนำที่มีสถานะกำกวมยากแก่การทำความเข้าใจมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสรต์การเมืองลาวสมัยใหม่ กล่าวคื อแม้ภายหลงการปฏิวัติลาวในปี พ.ศ. 2518 รัฐบาลลาจะพยายามปราบปรามบุคคลที่อยู่ฝ่ายกษัตริย์นิยมอย่างหนัก ทว่าหนึ่งในผุ้นำการปฏิวัติอย่างเจ้าสุภานุวงศ์เอง กลับมีฐานะเป็นผู้ธำรงรักษาลักษณะอันสูงส่งบางด้านของราชวงศ์ลาวในอดีตให้คงอยู่ต่อไป
              และให้ทัศนะว่า เจ้าสุภานุวงศ์ถือเป็นสัญลักษณ์ที่มีัพลังอำนาจสูงมากเนื่องจากผุ้นำของลาวคนนี้เป็นตัวแทนที่แสดงให้เห็นถึง "ภาวะอันสอดคล้องต้องกันของคู่ตรงข้ามที่มีความหมายยขัดแย้งกันอย่างตึงเครียด" กล่าวคือ เขามีสถานะเป็นทั้งตัวแทนของราชวงศ์ลาวที่เลือนหายแลกลุ่มผุ้ยึดกุมอำนาจรัฐใหม่อย่างพรรคประชาชนปฏิวัติลาว
              ด้วยสถานะที่ยึดโยงกับราชวงศ์ลาวในอดีตอย่างเด่นชัด เมื่อเจ้าสุภานุวงศ์เสียชีวิตลง จึงมีผุ้คาดหมายว่า ภาวะโหยหาอดีตถึงราชวงศ์ลาวที่ไม่ไ้ดำรงอยู่จะหลังไหลเข้ามาอย่างเอ่อล้นในพิธีศพขอผู้นำลาวคนนี้ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลลาวได้เข้ามาควบคุมพิธีศพดังกล่าวอย่างเข้มงวด กล่าวคือ แม้จะมีการคาดการณ์ว่าพิธีศพของเจ้าสุภานุวงศ์อาจถูกจัดขึ้นที่เมืองหลวงพระบางหรือเถ้ากระดูกของเขาอาจถูกส่งกลบไปยังเมืองดังกล่าว แต่พิธีการทั้งหมดกลับถูกจัดขึ้นที่นครเวียงจันทรน์ และเถ้ากระดูกของเจ้าสุภานุวงศ์ก็ถูกบรรจุอยู่ในสถูปที่ธาตุหลวงในนครเวียงจันทน์เช่นกัน โดยมีคครอบครัวของเขา ประธานประเทศลาวในยุคนั้น คือ นายหนูฮัก พูมสะหวัน และบรรดาผุ้นำพรรคประชาชนปฏิวัติลาว ร่วมเป็นสักขีพยานทั้งนี้เพราะหากมีการจัดพิธีศพของเจ้าสุภานุวงศ์ขึ้นที่เมืองหลวงพระบางก็อาจจะเป็นการตอกย้ำถึงสถานะความเป็นศูนย์กลางแห่งราชวงศ์ล้านช้างหลวงพระบางและพิธีกรรมดั้งเดิมอันเก่าแก่ของเมืองดังกล่าว
             ดังนั้น การบรรจุเถ้ากระดูกของเจ้าสุภานุวงศ์ไว้ในบริเวณเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์ประจำ"ชาติ" (ในยุคหลังการปฏิวัติ) คือธาตุหลวง ณ นครเวียงจันทน์ จึงเปรียบเสมือนการพยายามบดบังรัศมีของระบอบราชาธิปไตยแบบพุทธที่เคยดำรงอยุ่ในลาวและมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองหลวงพระบาง โยการเมืองทางโลกย์ของพรรคประชาชนปฏิวัติลาวที่มีฐานที่ันอยู่ในนคราเวียงจันททน์ ทว่าในทางประวัติศาสตร์แล้ว ธาตุหลวงก็ถูกสร้างขึนโดยกษัตริย์องค์หนึ่งของลาวเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ สถนะแก่งควาาลักลั่นกำกวมยาแก่การทำความเข้าใจ หนรือสถานะที่เป็นทั้งตัวแทนของการ "อนุรักษ์" และ "ปฎิวัติ" จึงยังคงดำรงอยู่ในตัวตนของเจ้าสุภานุวงศ์ แม้เจ้าชายแดงผุ้นำการปฏิวัติลาวคนนี้จะเสียชีวิตไปแล้วก็ตาม

                 - (www.matichon.co.th, เจ้าสุภานุวงศ์ : นักปฏิวัติและสัญลักษณ์แห่งความกำกวมลักลั่น)
                 - "ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยใหม่ ลัทธิอาณานิคม ลัทธิชาตินิยม และการสลายตัวของลัทธิอาณานิคม", จอห์น แบสติน แฮรี่ เจ.เบ็นดา.
                 - ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยสังเขป, ผศ.สิวพร ชัยประสิทธิกุล, พ.ศ. 2531

Nationalism : Thakin

               กลุ่มนักศึกษาและปัญญาชนชาวพม่าที่ได้รับกาศึกษาแบบตะวันตก และพวกที่ไปศึกษาในอังกฤษได้เห็นระบบการปครองของยุโรปกลับมาเปียบเทียบกับการปกครองของอังกฤษในพม่า ซึ่งอังกฤษไม่ค่อยเปิดโอกาสให้ชาวพม่ามีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง จะเปิอโอกาสให้บ้างแต่ก็เป็นเพรียงตำแหน่งข้าราชการเล็กๆ ซึ่งไม่ความำคัญอะไร นอกจากนั้นพวกปัญญาชนที่จบจากมหาวิทยาลัยร่างกุ้งหางานทำใไม่ได้ จึงทำให้เกิดการรวมกลุ่มกันต่อต้านอังกฤษ ประกอบกับในระยะสงครามโลกครั้ง ที่ 1 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ข้าวขายไม่ออก ชาวนามีหนี้สินมาก ขณะที่นายทุนชาวอินเดียและพวกอังกฤษไม่เกิดความเดือนร้อน นอกจากนั้นก็ยังได้เห็นตัวอย่างการต่อสู้ของมหาตมะคานธีในอิเดีย ทำให้พม่ามีกำลังใจที่จะต่อสู้เพื่อเอกราช โดยได้รับการกระตุ้นจากพวกนัการเมืองอินเดียหัวรุนแรง ที่องักฤษเนรเทศเข้ามาอยู่ในพม่า
            ปลายปี 1930 พวกนักศึกษาในมหาวิทยาลัยร่างกุ้งได้จัตกลุ่มตะขิ่น ขึ้นมา คำว่า ตะขิ่น มีความหมายว่านาย ซึ่งอังกฤษให้ชาวพม่าเรียกอังกฤษ่า ตะขิ่น เพราะฉะนั้น จึงใช้คำว่าตะขิ่นนำหน้าชื่อ เพื่อแสดงให้เห็นว่า คนพม่าเท่าเทียมกับอังกฤษ ผุ้นำของตะขิ่นที่สำคัญมี 2 คือ อูนุ U-nu และอองซาน U-Aung San พวกตะขิ่นได้ชักจูงให้ชาวพม่า เป็นจำนวนมากเข้าร่วมสนับสนุนบทบาททางการเมืองของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยร่างกุ้ง นักศึกษาก็ได้รับความนิยมจากประชาชน ในฐานะที่เป็นนักชาตินิยม ไม่ต้องการเป็นนักการเมืองและข้าราชการซึ่งทั้งสองพวกนี้ให้ความร่วมมือกับอังกฤษ มีการคอรัปชั่นและไม่มีอุดมการณ์ทางการเมือง ทำให้ประชาชนไม่ชอบ พวกตะขิ่มีความสนใจในลัทะิมาร์คในแง่ที่นำมาใช้กับการก่อให้เกิดความรู้สึกชาตินิยมในคนหมู่มาก เพื่อจะขับไล่อังกฤษและอินเดียออกไป ไม่สนใจเรื่องคอมมูนิสต์อย่างจริงจัง พวกนี้ถือว่าพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่คู่กับชาวพม่า แต่ก็ไม่ชอบให้พระมายุ่งกับการเมือง
            ในปี ค.ศ. 1936 พรรคตะขิ่นได้รับเลือกเข้าไปอยู่ในคณะกรรมการทุกที่นั่งของสโมสรนักศึกษา มีอูนุเป็นายกสโมสนนักศึกษา อองซานเป็นบรรณาธิการนักศึกษา และได้ออกวารสารโจมตีผุ้บิรหารมหาวิทยาลัย ทำให้ถูกพักการเรียนและบรรดานิสิตนักศึกษาได้ทำการประท้วงดร.บามอ ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ทำการสอบสวนแต่ไม่เป็นที่พอใจของนักศึกษา และเกิดการประท้วงทั่วไป เกิดการปะทะกันระหว่างนักศึกษาและตำรวจ เกิดอุบัติเหตุนักศึกษาตาย และบาดเจ็บทำให้การเจรจรระหว่างนักศึกษากับรัฐบาลตกลงกันไม่ได้ ซึ่งเหตุการณ์นั้กว่าจะสงบได้กินเวลาถึงปี ค.ศ. 1939 โดยรัฐบาลออกพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยใหม่ และยกเลิการไล่อูนุออกพวกตะขิ่นก็เลยขยายอิทธิพลออกไปอีก คือ เข้าไปรวมกลุ่มกรรมกรให้เป็นสหภาพแรงงาน ยุยงให้มีการนัดหยุดงาน ประท้วงค่าจ้างแรงงาน ตลอดจนไปจัดตั้งองค์การชาวนา และให้พวกนี้เข้ามาอบรมทางการเมือง
            นอกจากกลุ่มนักศึกษาแล้ว ก็ยังมีกลุ่มของพระที่มายุ่งเกียวกับการเมือง มีอูซอ U-saw  เป็ฯผุ้นำ ไม่มีบทบาทในการต่อต้านชาวอินเดีย และก่อจลาจลทำร้ายชาวอินเดีย ทำให้รัฐบาลอังกฤษและรัฐบาลพม่าร่วมกนหาสาเหตุของการจลาจล และการประท้วงต่างๆ ที่เกิดขึ้นว่าเป็นเพราะสภาพเศรษฐกิจของพม่าที่ตกอยู่ในมือของชาวอินเดีย แต่อังกฤษก็ยังไม่ได้จักการแก้ไขอย่างไร พอดีเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อน
           ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นไ้เข้ายึดครองอำาจ และของความร่วมมือจากพวกตะขิ่น โดยสัญญาว่าจะให้เอกราชแก่พม่า ญี่ปุ่นได้เอาพวกตะขิ่น 30 คนไปฝึกอาวุธที่เกาะไหหลำเพื่อตั้งกองทัพ BIA Burma Independence Army มีบุคคลชั้นนำของตะขิ่นหลายคน เช่น อองซาน เนวิน กลุ่มนี้ได้ตั้งกองทพม่าอิสระขึ้น เพื่อขัไล่อังกฟษ แต่พวกตะขิ่นเองียงซ้ายไม่สนใจ เพราะไม่ไว้ใจญี่ปุ่น ในเดือนสิงหาคม 1943 ญี่ปุ่นได้ให้เอกราชจอมปลอมแก่พม่า คือ ญี่ปุ่นคุมกิจการทุกอย่าง แต่การให้เอกราชแก่พม่านี เป้ฯการทำให้พวกตะขิ่นเข้ามาีบทบาทางการเมืองเพิ่มขึ้น อองซานได้ตั้งกองทัพพม่าแห่งชาติขึ้น BIA เมื่อญีปุ่นแสดงตนว่า ต้องการผลประดยชน์ทางเศรษฐกิจของพม่าและใช้พม่าเป็นปจจันใการขยายอำนาจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้นผุ้นำของ BIA และกลุ่มชาตินิยมต่างๆ ได้รวมกันจัดตั้งขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นขึ้น Anti Fascist People's Freedom League AFPFL จุดประสงค์คือขับไล่ญี่ปุ่น และต่อสุ้เพื่อเอกราชของพม่า
           ในขณะที่ญี่ปุ่นยึดครอง อังกฤษก็ได้ให้ข้าหลวง กลับไปคัดเลือข้าราชการพม่าที่ฝักใฝ่กับอังกฤษไปตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นที่เมืองสิมะลา และให้สัญญากับชาวพม่าในการที่จะฟื้นฟูพม่าหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นแพ้สงคราม อังกฤษกลับมาปกครองตามเดิม และพยายามรื้อฟื้นอำนาจของอังกฤษ โดยการฟื้นฟูเศรษฐกิจของพม่าหลังสงคราม แต่ไม่ได้ผลนักเพราะเศรษฐกิจพม่าภายหลังสงครามเสียหายอย่างหนัก นอกจากนั้นอังกฤษยังนำระบบการปกครองแบบ Dyaarchy มาใช้ต่อไปโดยไม่กำหนเวลา และให้ข้าหลวงอังกฤษเข้ามปกครองโดยตรง AFPFL ได้ประกาศต่อต้านการกลับมาของอังกฤษ ดังนั้นอังกฤษจึงเตรีมการที่จะให้เอกราชแก่พม่า ในปี ค.ศ. 1946 อังกฤษยินยอมให้ชาวพม่าเข้ามาปกครองทั่วไปได้ โดย AFPFL ได้กุมเสียงข้ามากในรัฐบาล และอองซานได้เป็นประธานสภาฝ่ายบริหาร สามารถเจรจาตกลงกับอังกฤษได้ในการเตรียมการร่างรัฐธรรมนูญ ในเดือนเมษายน 1947 มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้รวมผุ้แทนของชนหมู่น้อยด้วย AFPFL ชนะการเลือกตั้งและมีกาประชุมสภาพร่างรัฐธรรมนูญเพื่อวางรากฐานของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่...
         
.. ฉะนั้นการได้เอกราชครั้งนี้เป็นไปอย่างราบรื่นและปราศจากการนองเลือด และสหภาพพม่าใหม่ก็ได้ถือกำเนินขึ้นตอนต้น ปี 1948 แต่ก่อนที่สหภาพพม่าจะอุบัติขึ้น ประเทศพม่าก็ต้องเผชิญกับโศกนาฎกรรมครั้งยิ่งใหญ่ คือการลอบสังหารอองซานอย่างโหดร้ายทารุณที่สุดอองซานนักศึกษาที่กลายมาเป้นวีรบุรุษของชาติ เป็นผู้ก่อตั้งและผู้นำของ AFPFL เป็นผุ้บัญชากการกองทพัพทา และอองซานในฐานะนายกรัฐมนตรีได้เปิดการเจรจาหลายครั้งกับทางลอนดอนจวนจะประสบความสำเร็จ (แผนการลอฆ่านี้ อูซอ เป็นผุ้วางแผน อูซอเป็นนัการเมืองพม่าสมัยก่อนสงครามที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่ง การฆาตกรรมเกิดขึ้นในห้องประชุมคณะรัฐมนตรีรัฐมนตรีอื่นๆ อีก 9 คนถูกฆ่าด้วยในขณะเดียวกัน
              การประกาศอิสรภาพยังไม่ทันจะเสร็จสิ้นดี การวิวาทในเรื่องส่วนตัวและอุดมการณ์เมืองก็เริ่มเกิดขึ้น มีการแบ่งแยกกันเป็นหลายก๊กหลายเหล่า พวกที่นิยมคอมมิวนิสต์ก็แยกตัวออกจาก AFPFL กลุ่มหนึ่งดำเนินการแบบใต้ดินและทำสงครามกับรัฐบาลผสมที่อ่นนแด กลุ่มที่มีอาวุธก็เกิดขึ้นราวกับดอกเห็ด บางกลุ่มเป็นพวกกะเหรี่ยง บางกลุ่มเป็นพวกทหารผ่านศึกษถูกปลดประจำการแล้ว และบางพวกก็เป็นพวกโจรที่ฉวยโอกาสจกการสับสนอลหม่านที่แผ่กระจายไปทั่วประเทศ นับตั้งแต่อองซานตาย รัฐบาลซึ่งนำโดยเพื่อของอองซาน คือ อูนุ ต้องใช้เวลาหลายปีในการฟื้นฟูความสบงเรียบร้อย และหันกลับไปมีชีวิตใหม่แบบรัฐบาลพลเรือน องค์การสันนิบาต AFPFLเริ่มต้นโครงสร้างการสวัสดิการอันสุงส่งตามแบบนโยบายของฝ่ายซ้าย แต่นอกเหนือจากการโอนกิจการที่มีต่างชาติเป็นเจ้าของเข้าเป็นของรัฐแล้ว องค์การนี้ก็ไม่ได้ทำให้สังคมและเศรษฐกิจเจริญก้าวหน้าขึ้นเท่าไรเลย
              ถึงแม้กฎหมายและระเบียบปฏิบัติต่างๆ จะดีขึ้น การฉ้อรษฎร์บังหลวงก็ได้ทำให้ราษฎรหมดความเชื่อมันในรัฐบาล หมดความอดทนต่อสันนิบาต AFPFL และต่อรัฐบาลระบอบรัฐธรรมนูญ สิ่งที่เกิดขึ้นคือความไม่สามัคคีกันภายใน AFPFL ซึ่งมีโครงสร้างอย่างหลวมๆ และมีพรรคสังคมนิยมเล็กๆ เป็นกลุ่มนำมาจนกระทั่งถึงปลายทศวรรษที่ 1950 สันนิบาต AFPFL ได้เป็นผู้คอรบครองวิถีการเมืองอย่างแท้จริง มีขอบข่ายของงานแผ่กระจายไปตามสาขาต่างๆ ในชนบท เช่นเดียวกับตามสมาคมต่างๆ ของพวกเยาชน ชาวนา และกรรมกร แต่เมื่อได้รับเอกราชแล้ว และการไม่ลงรอยกันที่สำคัญจนถึงขั้นก่อการวุ่นวายก็สงบลงได้ หรือไม่ก็สามารถปรองดองกันได้แล้ว บรระดาผู้นำของรัฐบาลปสมก็ไม่สามารถปิดบังการเป็นปรกปักษ์กันเป็นส่วนตัวไว้จากประชาชนได้อีกต่อไป ในปี 1958 เมื่อรอยแตกร้าวได้ค่อยๆ กร่อนลงจนกลายเป็นการแตกแยกอย่างกว้างขวาง AFPFL ก็แตกออกเป็น 2 กลุ่มที่ทำสงครามกัน
              กองทหารภายใต้การนำของนายพันโทเนวิน (ต่อมาได้เป็นนายพล)ได้เข้าแทรกแซงในเรื่องกิจการการเมือง ถึงแม้วานายทหารส่วนใหญ่ซึ่งแต่เดิมเป็นสมาชิกของกลุ่มปัญญาชนยะขิ่นยังคงมีความคิดร่วมกันกับนัการเมืองพลเรือนในเรื่องของนโยบายการปกครองแต่กองทัพบกโดยส่วรวมก็ได้แยกตัวเองออกไป การรังเกียจเพื่อร่วมงานที่ไม่ใช่ทหารมีมากขึ้นทุกที และความอดทนที่มีต่อพวกนี้ก็น้อยลงทุกที แต่พวกทหารก็ยังไม่เต็มใจที่จะให้มีการแตกแยกกันถึงที่สุดซึ่งมีขึ้นในปี 1960 หลังจากที่ได้มีการปรึกษาหารือกับพวกผู้นำทางการเมืองแล้วฝ่ายทหารก็จัดให้มีรัฐบาลรักษาการณ์ชั่วคราวขึ้น ความจริงแล้วพวกนายทหารได้รักษาสัญญาของพวกเขาในอันที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ขึ้น การเลือกตั้งได้จักให้มีขึ้นตามกำหนดเวลาในปี 1960 ซึ่งกลุ่มที่แตกมาจาก AFPFL ของอูนุได้ชัยชนะอย่างท่วมท้น เป็นอภนันทนาการจากการที่ผุ้นำของกลุ่มเป็นบุคคลที่มีผู้นิยมอย่างกว้างขวาง
             แต่อย่างไรก็ตาม การฟื้นฟู้รัฐบาลตามวิถีทางแห่งรัฐธรรมนูญก้ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นได้เพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ  2 ปีต่อมาเนวินและพรรคพวกของเขาก็ได้ล้มรัฐบาล คราวนี้ไม่มีการให้สัญญาหรือให้ความหวังใดๆ ในอันที่จะคืนอำนาจให้แก่ฝ่ายพลเรือนอีกต่อไป นักการเมืองจำนวนมากรวมทั้งอูนุด้วยถูกกักตัวอยู่ในค่านกัดกัน ในขณะที่บรรดานายทหารได้เข้าดำรงตำแหน่งต่างๆ ทั้งทางด้านการบริหารและการปกครอง มีการห้ามการตั้งพรรคการเมือง ฝ่ายทหารได้จัดให้มีแนวร่วมแห่งชาติเพียงอย่างเดียวภายใต้การปกครองอย่างเข้มงวดของรัฐบาลขึ้นแทนที่พรรคการเมืองต่างๆ สภาการปฏิวัติเป็นผุ้ดำเนินการปกครองประเทศโดยมีเนวินเป็นประธานสภา คำขวัญของสภาที่ว่า ไทางของพม่าที่จะพาไปสู่ลัทธิสังคมนิย" เป็นนโยบายทางการเมืองที่ยอมรับกันเป็นทางการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม การขับไล่คนอินเดียส่วนน้อยที่มีอยู่ในพม่าเป็นผลงานที่สำคัญของรัฐบาลใหม่ และผลที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งคือทำให้การผลิตทางเกษตรกรรมลดน้อยลง ในขณะเดียวกันการปกครองที่เข้มงวดของรัฐบาลก็ไม่ได้ทำให้ภาวะเงินเฟ้อหรือการคอรับลันยุติลงเลย
 ถ้าประเทศพม่าภายใต้การปกครองของทหารซึ่งใช้วิธีปราบนักศึกษาซึ่งเป็นฝ่ายค้านด้วยวิธีรุนแรงนั้น ไม่ใตร่เจิรญรุ่งเรือเท่าไร ทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเมือง ก็เป็นเพราะว่าเนวินและพรรคพวกของเขาได้เข้าบริหารประทเศในขณะที่ประเทศพมาอยู่ห่างไกลจากความเจริญรุ่งเรืองและความเป็นระเบยบเรียบร้อย ถึงแม้ว่าอูนุจะมีนิสัยส่วนตัวและกาแสดงออกทางด้านประชธิปไตยของเขาอยู่เหนือข้อตำหนิติเตียนใดๆ แต่การกรทำในฐานะนายกรัฐมนตรีของเขาก็ได้ก่อให้เกิดความหวาดหวั่นระแวงสงสัยอย่างมาก การบริหารประเทศแบบไม่มีหลักเกณฑ์ ทำอะไรตามอำเภอใจ และไม่มีความอดทนต่อเรื่องละเอียดปลีกย่อยต่างๆ ของอูนุ ทำให้เกิดการบาดหมางกันขึ้น แม้ในหมู่สมัครพรรคพวกเพื่อสนิทของเขา การมีอคติต่อลัทธิศาสนาอื่นๆ มีมากขึ้นทุกที ในที่สุดอุนุก็ประกาศให้พุทธศาสราเป็นศาสนาประจำชาติซึ่งก่อให้เกิดความขุ่นเคืองใจแก่ชาวพม่าสวนหใญ๋ยิ่งกว่านั้นยังทำให้ความตึงเครียดระหว่างชาวพุทธส่วนใหญ่กับชนส่วนน้อยที่ไม่ใช่พุทธทวีความรุนแรงขึ้น
          ในขณะเดียวกัน อูนุยังเต็มใจให้สิทธิมากมายแก่ชนกลุ่มน้อยที่ตนพอใจโดยเฉพาะพวกฉานมากเสียจนกระทั่งความสามัคคีของประเทศโดยเฉพาะในหมู่ทหารตกอยู่ในอัตราย เศรษฐกิจก็เช่นเดียวกันต้องประสบความลำบากเพราะการปบริหารประเทศที่ไม่ดี เพื่อที่จะให้ได้รบเสียงสนับสนุนด้านความนิยมอูนุได้จัดให้มีการผันเงินออกไปสู่ชนบท ซึ่งทำให้เกิดการใช้เงินที่ผิดพลาดอย่างกว้างขวาง โดยไม่ได้มีการส่งเสริมให้มีการปลูกข้าวเพ่ิมขึ้นเลย การส่วข้าวออกจะช่วยให้ได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศที่จำเป็นเพื่อใช้ในการลงทุนด้านอื่นๆ เช่นที่ได้กระทำกันในประเทศไทยตั้งแต่ปี 1945 เป็นต้นมาอย่างไรก็ตาม เนวินก็ได้จัการแก้ปัญหาทางด้านความมั่นคง และด้านการเมองที่บีบรัดอยู่อย่างได้ผล ถึงแม้จะต้องใช้อำอำนาจบังคับก็ตาม เนวินได้พยายามใชชั้นเชิงรักษาความเป็นกลางของพม่าไว้ได้โดยการหันกลับไปสู่สมัยก่อนอาณานิคม คืออยู่อย่างสันโดษ มีความเกลียดกลัวคนต่างชาติ โดยขณะที่แผ่นดินใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในทศวรรษ 1960 ถูกห้อมล้อมด้วยการติดต่อพวพันอย่างใกล้ชิดกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก แต่อย่างไรก็ตามความพยายามของเนวินก็ถูกคุกคามที่จะทำให้เกิดการแตกแยกเนื่องจากตึงเครียดกับจีนแดง..


                      - "ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยใหม่ ลัทธิอาณานิคม ลัทธิชาตินิยม และการสลายตัวของลัทธิอาณานิคม", จอห์น แบติส แฮรี เจ.เบ็นดา, ชื่นจิตต์ อำไพพรรณ ภร๊ กาญจนัษนิติ ผุ้แปล.
                      - "ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยสังเขป" ผศ.สิวพร ชัยประสิทธิกุล.

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...