วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Nationalism : Sukarno

         ภายหลังสงครามนโปเลียนดัทช์ได้เข้ามาปกครองอินโดนีเซียอย่างเข้มงวดกว่าเดิม เพื่อต้งการที่ะรื้อฟื้นอำนาจ และเพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาลฮอลันดา ดัทช์ได้ตกลงทำสัญญาแบ่งเขตอิทธิพลในหมู่เกาะอินโดเนียเซีย ภายหลัง ค.ศ. 1824 ดัทช์จึงได้ใช้กำลังทหาเข้าปราบปรามดินแดนในปมุ่เกาะที่ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจของดัทช์จนปลายศตวรรษที่ 19 จึงปราบอะเจห์รัฐสุดท้ายได้อย่างราบคาบ และรวมอินแดนในหมู่เกาะนี้เขาด้วยกันเรีกว่า อินโดนีเซีย มีศุนย์กลางการปกครองอยู่ที่ปัตตาเวีย และแต่งตั้งผุ้ปกครองชาวดัทช์เข้าประจำตามเมืองต่างๆ ทั่วหมู่เกาะการต่อต้านดัทช์ของชาวพื้นเมืองเกิดขึ้นเนื่องจาก
       - ดัทช์เข้ามาปกครองอินโดนีเซีย โดยมิได้ถือว่่าเป็นส่วนหนึ่งเนเธอร์แลนด์ทั้งกฎหมายที่ใช้ปกครองก็เป็นกฎหมายที่ดัทช์ร่างขึ้น เพื่อปกครองอินโดนีเซียโดยเฉพาะ ดัทช์พยายามแยกตัวจากคนพื้นเมืองโดยถือว่าคนละชนชั้นกัน ไม่สนใจที่ยกระดับฐานะทางสังคม และความเป้ฯอยู่ให้เท่าเทียมกับชาวฮอลันดา
       - ไม่สนใจที่จะสงเสริมการศึกษาของคนพื้นเมือง เพราะถือว่าจะทำให้ปกครองยากระบบการศึกษาที่จักตั้งขึ้นก็จำกัดเฉพาะคนยุโรป ชาวดัทช์และพวกชาวอินโดนีเซียชั้นสูง คนพื้นเมืองและคนจีนต้องแสวงหาความรู้เอาเอง ชาวจีนยังดีกว่าวชาวพื้นเมืองที่มีการจัดตั้งโรงเรียนสอบภาษาจีนของตน พวกชาวอินโดนีเซียกลุ่มน้อยที่ได้รับแนวคิแบบตะวันตก ไม่มีโฮกาสจะศึกษาหาควารู้เพ่ิมเติมหนรือเข้ารับราชการ เพราะดัทช์ไม่เปิดโอกาสให้คนพื้นเมืองมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง
         - การที่ดัทช์นำนโยบายมาใช้ดดยบังคับคนพื้นเมืองผ่านสุลต่านทำให้คนพืนเมืองไม่พอใจ และนำนโยบายจริยธรรมมาใช้เพื่อแก้ไขสภาพสังคม และความเป็นอยุ่ของประชาชนให้ดีขึ้น ดัทช์ทำได้เฉพาะในเกาะชวาเท่านั้นบริเวณเกาะนอกๆ ออกไป ประชาชนยังมความเป็นอยู่เหมือนเดิม
          - การที่ดัทช์ได้เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ป่าไม้ และเหมืองแร่ พัฒนาการคมนาคม สร้างทางรถไฟ โทรเลข และโทรศัพท์ติดต่อกันอย่างทั่วถึงในหมู่เกาะทำให้ประชาชนรวมตัวกันได้มากกว่าแต่ก่อนทั้งทางด้านข่าวาร และการขนส่ง
          - การปกครองอาณานิคมของอังกฤษ ในแหลมมลายู อังกฤษให้ความคุ้มครองสิทธิของชาวมาเลย์ และดำรงรักษาขยบธรรมเนียมของมาเลย์ แต่ดัทช์กลับส่งพวกมิชชันนารีเข้าไปในดินแดนภายในหมู่เกาะ กีดกันพวกมุสลิม นอกจากนั้นการพิจารณาคอีในศาล ดัทช์ไม่ยอมรับเอากฎหมายดั้งเดิมของอินโดนีเซียมาใช้ ซึ่งบางครั้งกฎหมายของคัทช์ก็ขัดกับหลักธรรมของมุสลิม
          - อิทธิพลจากภายนอกประเทศความคิดเรื่องเสรีนิยม และสังคมนิยมแพร่หลายอยู่นยุโรปเวลานั้น ชาวฮอลันดาและชาวยุโรปได้นำเอาแนวความคิดนี้มาเผยแพร่ให้กับคนพื้นเมือง
             ลักษณะขบวนการชาตินิยม และการก่อตั้งพรรคคอมมูนิสต์ ขบวนการชาตินิยมกลุ่มแรก คือ Boedi Utomo เกิดขึ้นในชวาในปี 1980 เป็นการรวมกลุ่มของนักศึกษา, ข้าราชการ, ผุ้ดีเก่าและชาวนา ตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการศึกษาวัฒนธรรม และเศรษฐกิจของคนพื้นเมือง โดยไม่ยุ่งเกี่ยวทางด้านการเมือง ทำให้ไม่ได้รับความสนใจจากประชาชนเท่าที่ควร
            ขบวนการชาตินิยมต่อมาคคือ ซาเรแคท อิสลาม ในระยะแรกจัดตั้งขึ้นเพื่อจุดประสงค์ทางการค้าและศาสนา ดดยการค้าขายผ้าโสร่งของชวา ซึ่งพวกพ่อค้าชาวจีนและพ่อค้าต่างชาติเข้ามาปย่งทำการค้า ได้ปรับปรุงนโยบายให้มีจุดมุ่งหมายแน่นอนทางการเมืองมากขึ้น ผุ้จัดตั้งขบวนการนี้ส่วนใหย๋เป็นชนชั้นสุง และเป็นปัญญาชนผุ้ได้รับการศึกษาแบบตะวันตก ทำให้ได้รับความนิยมจากประชาชนอย่างหว้างขวาง ศูนย์กลางของขบวนการนี้อยู่ที่เมืองสุรบายา มีสาขาแยกย้ายไปตามเกาะต่างๆ ในฐานะที่เป็นองค์การทางศาสนาอิสลาม จึงมีหัวหน้าศาสนาในแต่ละท้องถ่ินเป็นผุ้แทน ทำให้ขอบเขตของขบวนการนี้แผ่ไปอย่างกว้างขวาง อุดมการณ์ยังไม่แน่นอนทางการเมือง เพราะมีจุดประสงค์ต่อต้านชนชั้นสูง แต่ก็มีหัวหน้าเป็นขุนนางและต้องปิดบังฮอลันดา ซึ่งห้ามการชุมนุมทางการเมือง แต่ก็ได้ดำเนินการเรียกร้องให้รัฐบาลฮอลันดาปฏิรูปการปกครอง ทำให้รัฐบาลฮอลันดาไม่พอใจ และพยายามทำลายความสามัคคีของบุคคลในกลุ่ม ยุให้แก่งแย่งกันเป็นผุ้นำ ซึ่งตามความจริงแล้วบรรดาผุ้นำในกลุ่ม ต่อมาขบวนการนี้ไ้แตกแยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือพวกต่อต้านคอมมูนิสต์และพวกนิยมคอมมูนิสต์ทั้งนี้เพราะการบริหารงานเปนไปอย่างหละหลวม ศูนย์กลางไม่มีการควบคุมสาขา แต่ละสาขาดำเนินงานเป็นเอกเทศ นอกจากนั้นผุ้ที่เป็นสมาชิกนั้น เป็นสมาชิกของพรรคอื่นได้ทำให้องค์การสีงคมนิยมและพวกคอมมูนิสต์ใช้ขบวนกานนี้เป็นเครื่องมือเผยแพร่อุดมการณ์ของตน และยุแหย่ให้เกิดการโจมตีสูนย์กลายที่เมืองสุรบายาด้วย  ขบวนการ ซาเรแคท อิสลาม จึงดำเนินงานไม่ได้ผล
           การจัดตั้งพรรคคอมมูนิสต์อินโดจีน ในปี ค.ศ. 1917 รัสเซียเกิดปฏิวัติ ลัทธิมาณ์คซิส ได้แพร่หล่ายเข้าไปในยุโรปและอินโดนีเซีย ในขณะนั้นกำลังรวมกันเรียกร้องให้รับฐาลฮอลันดาปฏิรูปสังคม ความคิดเรื่องสังคมนิยมก็ได้แพร่หลายเข้ามาในอินโดนีเซีย โดยนักสังคมนิยมชาวฮอลันดา เขาเป็นนักหนังสือพิมพ์ชาวฮอลันดา และเป็นสมาชิกพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยในฮอลันดาเดินทางเข้ามาทำงานหนังสือพิมพ์ในชวาภาคตะวันออก และได้จัดตั้งพรรคสังคมนิยมขึ้นเรียกว่า The Indische Social Democratische Vereening ISDV เพื่อเผยแพร่ลัทธิมาร์คในอินโดนีเซีย เพราะเชื่อว่าจะทำให้เกิดความเสมอภาคทงสังคมในการที่จะทำให้งานของเขาได้ผล เขาได้ใช้ ซาเรคาท อิสลาม เป็นเครื่องมือเพื่อจะได้มีสมาชิกเป็นอินโดนีเวียเพิ่มขึ้น สนีฟลิท ได้เผยแพร่ความคิดเรื่องสังคมนิยม ควบคู่ไปกับการกรุ้นให้คนตื่นตัวเรื่องชาตินิยมไปด้วย มีผุ้นำชาวอินโดนีเซียเลือมใสในอุดมการณืมาร์คซิส ที่เมืองซามารัง ซึ่งเมืองนี้เป็นเมืองที่มีการทำอุตสาหกรรม เป็นหัวหน้ากรรมกรอยู่ที่นี้ เขาได้เผยแพร่หลักการสังคมในหมู่กรรมกร ทำให้กรรมกรเลื่อมในมาก ต่อมา ซามวนและพวกเห็นว่า ISDV ควรจะพัฒนาขึ้น จึงเปลี่ยน ISDV เป็นพรรคคอมมิวนิสต์แห่งหมู่เกาะอินเดียตะวันออก Persikantan Kommunist India PKI ปัญหาใหญ่ คือศาสนา เพราะP.K.I. มีนโยบายที่ต่อต้านศาสนาอิสลาม พรรคคอมมิวนิสต์ทำงานไม่ได้ผลเพราะรัฐบาลฮอลนดามีกำลังเข้มแข็งกว่าตลอดจนไม่ได้รับการสนับสนุนจากชาวนาชาวไร่ ผุ้เคร่งในศาสนาอิสลาม จะได้รับการสนับสนุนเฉพาะพวกรรมการ ซึ่งก็มีจำนวนน้อย ทำให้บทบาทของพวกคอมมูนิสต์ซบเซาลง
            เกิดพรรคชาตินิยมใหม่ๆ ขึ้น ที่มีบทบาทมากขึ้นมาคือ พรรคชาตินิยมอินโดนีเซีย PNI Partai Nasional Indonesia ในปี 1927 ภายใต้การนำของซูการ์โน จะประสงค์ต้องการเอกราชอันสมบูรณ์ของชาวอินโดนเซีย และรวมชาวอินโดนีเซียทุกศาสนาและทุกเชื้อชาติเข้าด้วยกัน PNI ได้สนับสนุนให้มีการจัดตั้งธนาคาร สหกรณ์ สมาคมเยาวชน สมาคมสตรี สมาคมเกษตร ฯลฯ เป็นการรวมกลุ่มชาตินิยมกลุ่มต่างๆ เข้าด้วยกัน และมีกาตจัดตั้งโรงเรียนเอกชนขึ้น ทำให้ดัทช์ต้องขยายการศึกษาเพื่อสนองความต้องการของชาวอินโดนีเซีย และจัดตั้งมหาวิทยาลัยปัตตาเวียในปี 1941 ได้รับการสนับสนุนจากประชาชมาก เพราะมีการโจมตีรัฐบาลฮอลันดาควบคู่ไปกับการดำเนินงานจ่างๆ ดังนั้นในเดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 1929 ดัทช์จึงสั่งจับซูการ์โน และยุพรรค ทำให้PNI แตกแยกออกเป็นกลุ่มต่างๆ ขบวนการชาตินิยมในระยะสงครามโลกครั้งที่สองซึ่งแตกแยกออกเป็นหลายกลุ่มของพวกคอมมูนิสต์ PKI ซึ่งมีบทบาทขึ้นมาใหม่
            ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ล ฮาร์เบอร์ อันเป็นเหตุให้สหรัฐฯประกาศสงครามกับญี่ปุ่น ตลอดจนโจมตีอาณานิคมของอังกฤษ และฮอลันดาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระยะต้นของสงครามญี่ปุ่น ได้โฆษณาแผนการมหาเอเชียบุรพา ซึ่งมีคำขวัญว่า "เอเซียเพี่อชาวเอเชีย" โดยมีญี่ปุ่นเป็นผุ้นำประกาศให้ทุกชาติในภูมิภาคแถบนี้ร่วมมือกันทางเศรษฐกิจและเพื่อจะได้รับการร่วมมือจากชาวอินโดนีเซีย ญี่ปุ่นจึงเข้ามาสนับสนุนพวกชาตินิยม ตลอดจนมีการสนับสนนุพวกอิสลามโดยตั้งสมาคมของพวกอิสลามออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปเมืองเมกกะ แก่พวกผุ้นำของศาสนาอิสลามในแต่ละท้องถิ่น โดยที่่ญี่ปุ่นมีจุดมุ่งหมายที่จะใช้องค์กรทางศาสนาต่อต้านกับอำนาจตะวันตก
           อินโนนีเซียภายใต้การปกครองของญีปุ่นเป็นสมัยที่ความคิดชาตินิยม ตื่นตัวเป็นอย่งมากอันเป็นผลมาจากการส่งเสริมเร่งเร้าของญี่ปุ่นที่สนับสนุนความคิดที่จะต่อต้านตะวันตก และสัญญาจะให้เอกราชแก่อินโดนีเซีย โดยญี่ปุ่นก็ได้เสนอโครงการสงครามที่เรียกว่า องค์การโฮโฮ รวบรวมกรรมกรอินโดนีเซียทั้งชายหญิง ญี่ปุ่นนำมาฝึกอาวุธให้เป็นอาสาสมัครป้องกนประเทศและจัดตั้งกลุ่มเยาวชนในหมู่บ้านเพื่อใช้เป็นเครื่องมือต่อต้านตะวันตก ซึ่งต่อมากลับกลายเป็นเครื่องมือตอต้านญีปุ่นเอง เพราะว่า
          - การที่ญี่ปุ่นยืนยันที่จะให้จักรพรรดิของญีปุ่่นอยุ่ในฐานะเป็นผุ้สืบต่อของอัลล่าห์ในศาสนาอิสลาม ทำให้ชาวอินโดนีเซยผุ้นับถือพระอัลล่าห์เป็นพระเจ้าองค์เดียวไม่ยอมรับจึงปฏิเสธที่จะสนับสนุนญีปุ่่น
          - การที่ญีปุ่่นต้องการให้คนอินโดนีเซีย จงรักภักดีต่อญี่ปุ่นและจักรพรรดิญีปุ่นโดยยอมรับวัฒนธรรมญีปุ่น
          - ชาวอินโดนีเซีย ไม่พอใจที่ญี่ปุ่นพยายามจะยอเลิกใช้ตัวอักษรอารบิคและหันมาใช้อักษรญีปุ่่นแทน
          - บังคับใช้แรงงานประชาชน และความต้องการข้าวจากอินโดนีเซีย ในการสนับสนนุสงคราม
           ดังนั้น ปลายปี 1943 เมื่อมีการรวมตัวกันต่อต้านญี่ปุ่นก็มีกลุ่มอิสลาม กลุ่มมาร์คซิส และกลุ่มชาตินิยมหัวรุนแรงได้ดำเนินการใต้ดินต่อต้านญี่ปุ่น และต่อสุ้เพื่อความเป็นเอกราชของอินโดนีเซีย โดย ซูการ์โน ได้ประกาศหลักปัญจศีล เพื่อเป็นพื้นฐานการปกครองของอินโดนีเซียเมื่อได้เอกราช
          ชาตินิยม ซุาการ์โนประกาศว่า ชาวอินโดนีเซียทุกหมู่ทุกเหล่าไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของประเทศต้องแต่เกาะซาบัง ถึง นิวกีนีตะวันตกเป็นชาติเดียวกันมีความเป็นอันหนึ่งเดียวกัน และพร้อมใจที่จะอยุร่วมเป็นชาติเดียวกัน นานาชาตินิยม ต้องยอมรับในชาติอืนและการคงอยู่ของแต่ละชาติ การปกครองโดยทางผุ้แทน ชาวอนิโดนีเซียทุกคนไม่ว่ายากจนหรือร่ำรวย ย่อมมีสทิธิเท่ากันในการเลือผุ้แทนเข้าไปทำหน้าที่แทนตนและความเสมอภาคทางสังคม ระบอบประชาธิปไตยที่จะใช้ในอินโดนีเซียในระยะเวลาต่อมา ซูกาณ์โนบอกว่า ต้องเป็นประชาธิปไตยแบบมีผุ้นำ เชื่อมั่นในพระเจ้า ชาติอินโดนีเซีย จะไม่มีการกีดกนการนับถือศาสนแต่อย่างใดหลักปัจศีลนี้เป้นอุดมการ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดในอินโดนีเซีย และได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญของอินโดนีเซีย
           ในเดือนสิงหาคม 1945 ญีปุ่นได้ยินยอมให้มีกาจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อเกราชขึ้นมีซูกาณ์โน เป็นประธานและฮัตตา เป็นรองประธานจากการประชุมที่ไซ่ง่อน ญี่ปุ่นห้คำสัญญาแก่ซูการ์โน และฮัตตาว่าจะประกาศเอกราชของอินโดนีเซียแต่ทางขบวนการชาตินิยมของอินโดนีเซียสืบทราบว่า ญี่ปุ่นจะแพ้สงครามจึงรีบประกาศเอกราชให้กับอินโดนีเซีย ในวันที่ 18 สิงหาคม 1945 ตั้งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย มีซูการ์โนเป็นประธานาธิบดีและฮัตตาเป็นรองประธานาธิบดี แต่การต่อสุเื่อเอกราชของอินโดนีเซียยังไม่สิ้นสุด เนื่องจากภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ฮอลนดาประกาศกลับมายึดครองอินโดนีเซียตามเดิม และได้เจรจาสงบศึกในสัญญาลิงกัตจาตี ตกลงใหสาธารณรัฐอินโดนีเซียมีอำนาจเต็มในชวา และสุมาตรา แต่ฮอลันดาละเมิดข้อตกลงรุกรานอินโดนีเซียต่อไปอีก ต่อมาสหรัฐอเมริกาและสหประชาาติได้จัดประชุมที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยเชิญผุ้แทนของฮอลแลนอ์และอินโดนีเซีย ผลของการประชุม ฮอลันดายอมมองเอกราชให้อินโดนีเซียอย่างสมบูรณ์ในปี ค.ศ.1949


             - "ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกโดยสังเขป" ผศ.ศิวพร ชัยประสิทธิกุล,2543.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...