วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Nationalism : The Red Prince

            ลาวขึ้นมาจากความไม่มีชื่อเสียงในฐานะประเทศอาณานิคมมาสู่สายตาของคนทั้งหลายจากเรื่องการขัดแย้งระหว่างชาติในทศวรรษที่ 1950 นั้น กรณีของลาวแสดงให้เห็นว่าการปกครองแบบอาณานิคมทางอ้อมก็ดี หรือความสสงบในทองถ่ินก็ดีไม่ได้ทำให้เกิดเสถียรภาพขึ้นได้ในปลายศตวรรษที่สิบเก้า ฝรั่งเศสได้ตัดอาณานิคมลาวตามอำเภอใจ ลาวในสมัยปัจุจบันมีอยู่ตามสภาพทางภูมิศาตร์มากกว่าทางด้านการเมือง ไม่เหมือนกับกัมพุชาและเวียดนาม ลาวเป็นประเทศที่ 5 ของอินโดจีนของฝรั่งเศสสมัยก่อน ทำให้ขาดการรวมกันเป็นกลุ่มก้อนทางประวัติศาสตร์และขาดความรู้สึกในการวมกันเป็นชาติ การอยู่ในอารักขาของฝรั่งเศส ทำให้การบาดหมางระหว่างราชตระกูหรือระหว่างบุคคลสงบลงได้ แม้จะมไ่หมดสิ้นไป สิ่งทสำคัญที่ทัดเทียมกันอีกอย่างหนึ่งคื พวกลาวที่อยู่ในที่ลุ่มเป็นเพียงชนกลุ่มน้อยของประเทศ (พวกลาวส่วนใหญ่ที่จริงแล้วอยู่ในประเทศไทย) ส่วนพวกชาวเขาเผ่าต่างๆ ได่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับการปกครองของราชอาณาจักรที่ฝรั่งเศสก่อตั้งขึ้นมาเลย
           แม้ก่อนหน้าที่ฝรัง่เศสจะปล่อยให้ลาวเป็นอิสระใน ค.ศ.1954 ประเทศเพื่อบ้านของลาว คือ เวียดนามและไทย เริ่มหาประโยชน์อย่างลับๆ จากการชิงดีกันในหมู่ชนชั้นนำในประเทศการที่อเมริกาข้ามาในแถบนี้ิ่งทำให้การแข่งขันเหล่านี้ยุงยากและรุนแรงยิ่งขึ้น ตั้งแต่ได้รับอิสรภาพเป็นจ้รมา กษัตริย์ลาวเองมีบทบาทเพียงเล็กน้อย พระอนุชา 3 ประองค์เป็นบุคคลสำคัญทางการเมืองของลาว องค์หนึ่งพึ่งอเมริกัน-ไทย อีกองค์หนึ่งได้รับการสนับสนุนจากเวียดนามเหนือ ส่วนองค์ที่ 3 คือเจ้าสุวรรณภูมา นายกรัฐมนตรีในทศวรรษที่ 1950 และ 1960 แสวงหาทางสายกลางระหว่าง "ขวา"และ "ซ้าย" ซึ่งเสียงอัจตราย ฉากการเมืองยิ่งยุ่งยากมากขึ้นเนื่องจากการชิงดีกันในระหว่างหลายก๊กหลายเหล่าในกองทัพ
            ในระยะ 2-3 ปีที่รัฐบาลผสมประกอบด้วยพวกใหญ่ ๆ 3 พวกด้วยกัน แต่แนวลาวรักาชาติ Neo Lou Hak Xat-Patriotic Front ซึ่งมีคอมมิวนิสต์เป็นผู้นำ และมีฐานปฏิบัติการทางทหารและเขตแดนที่มั่นคงอยู่ทางเหนือ ปรากฎว่าเป็นกลุ่มที่มีระเบียบการปกครองดีที่สุดใน 3 กลุ่ม พวกคอมมิวนิสต์ได้รับแรงสนับสนุนจากเวยดนามเหนือ สามารถดึงดูดความสนใจจากชนกลุ่มน้อยได้ ลาวซึ่งได้รับการยืนยันในความเป็นกลางจากการประชุมเจนีวาครั้งที่ 2 ในค.ศ. 1962 เป็นประเทศที่ถูกแบ่งแยก อิทธิพลอเมริกาแข็งแกร่งอยู่ทางใต้ ส่วนคอมมิวนิสต์อยู่ทางเหนือ ความเป็นจริงข้อนี้บดบังวิถีทางการเมืองที่มีมาแต่เดิมึ่งพัฒนาไปอย่างช้าๆ เช่นเดียวกับปัญหาอื่นๆ
            การเปลี่ยนแปลงเป็นเครื่องหมายของการสลายตัวของลัทธิอาณานิคมในพม่า อินโดนีเซีย และเวียดนาม เนื่องจากประเทศทั้งสามตกอยู่ภายใต้การปกครองอาณานิคมโดยตรง ดังนั้นระบบการเืองที่เคยมีมาแต่เก่าก่อนถูกทำลายไป นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1930 บรรดผู้นำใหม่ๆ และพวกปัญญาชนที่มีพลังความสามารถได้เริ่มปรากฎขึ้นมาอยู่ในระดับแนวหน้า แต่ในช่วงระยะระหว่างสงครามดลกครั้งที่สองเท่านั้นที่บุคคลเหล่านี้ได้เข้ามีตำแหน่งเป็นผุ้นำประชาชนอย่างเป็นทางการในพม่าและอินโดนีเซีย แม้ว่าจะตกอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นอย่างใกล้ชิดก็ตามในเวียดนามบุคคลชั้นนำเหล่านี้ได้ปรากฎตัวขึ้นหลังจากการยอมจำนนของญี่ปุ่นที่มีต่อกลุ่มศาสนาต่างๆ เหล่านี้ ในหลายๆ บริเวณที่ส่วนช่วยร่นระยะเวลาให้แนวคิดนั้นสำเร็จเร็วขึ้น ข้อสำคัญประการสุดท้าย การที่ฝ่ายตะวันตกเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในด้านเศรษฐกิจอย่งกว้างขวางทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญๆ ในหมู่ชาวนาพม่า อินโดนีเซย (โดยเฉพาะในชวา และสุมาตรา) และเวียดนาม คงจำกันได้ว่าสถานการณ์ของขาวนาในประเทศทั้งสมนั้นได้เลวลงไปมากในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
         ...การยอมจำนนของญี่ปุ่นในเดือนสิงหสคม 1954 ทำให้พลังและควมทะเยอทะยาที่ซ่อนเร้นอยู่ของพวกผุ้นำทางการเมืองและการศาสนาได้ปรากฎออกมา เป็นชนวนทำให้ชาวนาเกิดความหวังที่จะได้รับการปลดปล่อยจากภาระอันหนักอึ้งในระหว่างสงคราม การสู้รบอย่างเปิดเผยเริ่มจากการบุกเข้าไปในพม่าอีกครั้งหนึ่งของอังกฤษในปี 2944 ในขณะที่กองทหารฝรั่งเศสและฮอลันดาพยายามที่จะให้ได้บัยชนะเหนืออาณานิคมอีกครั้งหนึ่งในอินโดนีเซียและเวียดนามทั้นที่ที่สิ้นสุดสงคราม ดังนั้นการต่อสู้เพื่อสิทธิเสรภาพจึงจุดประกายของความรุนแรงที่หวังจะทำการปฏิวัติอย่างเร่าร้อน ตราบใดที่การต่อสู้นี้ยังคงมีอยู่ พวกผุ้นำชั้นยอดและมวลชนในชนบทจะมีความสามัคคีกันเนืองจากมีเป้าหมายร่วมกัน ถึงกระนั้นก็ตาม การจะให้ได้มาซึ่งเสรีภาพทั้งในพม่าและอินโดนีเซีย ได้ไม่ได้อะไรมากไปกว่าเป็นแต่เพียงลมปากเท่านั้น ซึ่งในไม่ช้าก็เกิดการจลาจลติดตามมา เวียดนามเองก็แทบจะไม่มีเวลาชื่นชมกับความสงบสุขภายในเลยสังชัวระยะเดียว
           ในประเทศใหม่ๆ เหล่านี้ การผลัดเปลี่ยนกันขึ้นมามีอำนาจของพวกผู้นำของชาติเป็นลักษณะที่เด่นชัดที่สุด ทั้งนี้ไม่นับเวียดนามเหนือซึ่งกลุ่มผุ้ปกครองคอมมอิวนิสต์มีอำนาจอยู่เต็มเปี่ยมบริบูรณ์ ไม่มีผุ้นำคนใดเลยที่ได้นเสรภาพมาให้แล้วจะยังคงอยู่ในอำนาจได้ถึงช่วงทศวรรษที่ 1960 การปลกดพลกผุ้นำเหล่านี้ซึ่งเป็นบุคคลที่มีภูมิความรู้และมีความสามารถพิศษไม่ได้เป็นเรื่องส่วนบุคคล แต่เป็นเครื่องหมายของการเปลี่ยนแปลงขั้นต่อไปในรูปแบบการปกครองชั้นผุ้นำ ปัจเจกชนระดับสุงจะมีความสำคัญเพียงไรก็ตามในการชุมนุมชาวชนบทให้ต่อสู้เพื่อเอกราช แต่เขาก็ได้พิสูจน์ให้เห็นว่ายังไม่มีกำลังพอในการที่จะแบกภาระงาน "สร้างชาติ" เอาไว้ ความเข้าใจอันดีเกี่ยวกับบรรดาผู้นำเปล่านั้นมีแนวโน้มทีจะทำให้กลุ่มปัญญาชนทางการเมืองซึ่งตนก้าวออกมานั้นเสียเกียรติไปได้ กลุ่มบุคคลที่เข้ายึดอำนาจในทศวรรษที่สองของการสลายตัวของลัทธิอาณานิคมส่วนใหญ่เป็นพวกกุล่มทหารที่มีฐานอำนาจมั่นคงซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างสงคราม พวกนี้มิใช่แต่จะเป็นตัวแทนของพวกรุ่นเด็กว่าเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวแทนของพวกที่มีการศึกษาน้อยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย  

                           
การเปลี่ยนแปลงระบบการปกคอรงจาฝ่ายพลเรือนมาเป็นฝ่ายทหารนั้น มีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญตามมาด้วย ถึงจะมีความพยายามต่อต้านฝ่ายตะวันตกอย่างเข้มแข็งอยู่ในแนวความคิดแบบชาตินิยมของตนก็ตาม แต่พวกผุ้นำซึ่งเป็นปัญญาชนส่วนใหญ่ก็ยังผูกพันอยู่กับแบบการปกครองแบบตะวันตก ยกเว้นพวกคอมมิวนิสต์วึ่งยึดอยู่ลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างเดียวเท่านั้นลัทะิประชาธิปไตยแบบตะวันตกเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าเป็นลัทธิการปกครองที่สมัยใหม่ที่สุดสำหรับ ทุกประเทศ และหลังจากที่ฝ่ายพันธมิตรได้ชัยชนะในสงครามโลกครั้งท่สองแล้ว ก็เป็นกลุ่มประเทศที่ประสบความสำเร็จมากที่สุ เพราะฉะนันจึงไม่เป็นที่ประหลาดใจเลยที่ทังพม่าและอินโดนีเซีย (และแม้แต่เวียดนามในระดับหนึ่ง) หลังจากที่ได้เอกราชแล้ว ได้รับเอารัฐธรรมนูญตามแบบอย่างของฝ่ายตะวันตก ยังเป็นที่สงสัยกันอยู่ว่าระบบการปกครองแบบเสรีประชาธิปไตยนั้นจะใช้ได้เป็นผลสำเร็จหรือไม่ในประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้สภาพที่คิดว่าดีที่สุดแล้ว ถึงจะมีการเลือกตั้งอย่างขาวสะอาดพอใช้ในพม่าและอินโดนีิเซีย (แต่ไม่มีในเวียดนามทั้งสอง) แต่ก็ทำให้เกิดการแตกแยกกันในทางเชื้อชาติและความคิดเห็นทางเมืองและอื่นๆ มากกว่างจะเป็นการส่งสเริมให้เกิดเแกภาพของประเทศ เมื่อเป็นเช่นนั้นฝ่ายทหารโดยส่วนใหญ่จึงไม่ชอบลัทะิประชาธิปไตยแบบรัฐสภา และเมื่อตนได้มีอำนาจฝ่ายทหารก็ได้นำเอาระบบอำนาจนิยม มาใช้แทน ในขณะเดียวกันก็คงไว้ซึ่งศิลปะการจูงใจในกรปฏิวัติและแม้กระทั่งการปฏิวัติเืพ่อไปสู่ลัทะิสังคมนิยมด้วย
               การที่ทหารขึ้มามีอำนาจในการปกครองนั้นไม่ใช่สิงที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญในประวัติศาสตร์ของประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศที่ถูกปกครองโดยตรงทหารเป็นกลุ่มที่รวมตัวกันและมีความสามัคคี มีระเบียบวินัยที่ดีเยี่ยม (เช่นเดียวกบพรรคคอมมิวนิสต์ที่มีองค์ประกอบเป็นกลุ่มที่มีโครงสร้างอย่างเหนียวแนนในเวียดนามเหนือ) ยิ่งกว่านั้นอำนาจของทหารที่มช้บังคับกันตามลำดับชั้น โดยทางปฏิบัติแล้วยังเป็นหลักประกันถึงความยิ่งใหญ่ในการดำเนินงานของพวกทหาร เมื่อเทียบกับฝ่ายตรงข้ามที่เป็นพลเรือน ตัวอย่างของไทยได้แสดงให้เห็นชัดถึงความยิ่งใหญ่ที่ว่านี้อยู่ถึง 30 ปีเศษ การยึดครองของพวกทหารกระทำได้สำเร็จอย่างว่ายดาย เนื่องจากพวกนักการเมืองพลเรือนไม่มีรากฐานทางการเมืองที่มั่นคง และไม่มีกำลังในการจัดการต่างๆ
              อย่างไรก็ตาม วิวัตฒนาการทางด้านการเมืองระหวางประเทศเหล่านี้ก็ถึงจุดหยุดชะงักลงชั่วคราวสาเหตุหนึ่ง คือ ทหารเหล่านี้เป็นพวกทหารหนุ่มๆ ซึ่งเกิดมาเพื่อทำการปฏิวัติ และทำสงครามต่ต้านลัทธิอาณานิคมมากกว่าที่จะเกิดมาเป็นทหารอาชีพ มีระเบียบวินัยตามแบบทหาร บรรดานายทหารและลูกน้องจึงสะท้อนให้เห็นถึงความตึงเครียดและการบาดหมางกัน ทั้งทางด้านการเมืองและสังคมเช่นเดียวกับที่มีในหมู่เพื่อร่วมชาติพลเรือนของตน อีกสาเหตุหนึ่งพยกทหาไม่มีความรู้ความชำนาญ และไม่มีประสบการณ์ทั้งทางด้านการปกครอง เศรษฐกิจ และการเมือง
             ความไม่มั่นคงของพวกผู้นำฝ่ายทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางด้านเศรษฐกิจผสมผสานกันอย่างดีกับการพลิกแพลงทางด้านการเมืองและสังคมในพม่า อินโดนีเซย และเวียดนามใต้ การปราบปรามองค์การพลเรือนต่างๆ พวกผุ้นำฝ่ายตรงข้ามที่สงบเงียบ พวกนักศึกษามหาวิทยาลัยและเตรียมอุดมที่หมดความอดทนและทำการเรียกร้อง และข้อสุดท้ายสวัสดิการในชนบทที่เลวลงทุกทีรวมกับอัตราการเกิดที่สูง ทั้งหมดนี้เป็นเครื่องชี้ให้เก็นถึงเสถียรภาพที่ไม่มั่นคงที่แอบแฝงอยู่มากกว่าจะเป็นระบอบการปกครองปบบใหม่ที่กึ่งภาวร แลจะต้องไม่ลืมวา เช่นเดียวกับประเทเอเชียตะวันออกเแียงใต้อ่น พวกจัต้า juntas หรือฝ่ายทหารในประเทศเหล่านีมีปัญหารุล้มอยุ่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ส่วนน้อยที่มีอยู่ ความจริงที่ว่าพม่าและอินโดนีเซียได้มีมตรการที่รุนแรงที่สุดสำหรับจัดการกับพวกินเดียและจีนที่อาศัยอยุ่ใม่าและอินโดนีเซียนั้นเป็นเคร่้องชี้ให้เห็นถึงความผิดฟวังที่รัฐบาลกับพวกอินเดียและจีนที่อาศัียอยุ่ในพม่าและอินโดนีเซียนั้นเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงความผิดหวังที่รัฐบาลใหม่ได้รประสบนับแต่ได้เข้ามามีอำนาจในการปกครอง
             ประเทดลาว เป็นชื่อของขบวนการปฏิวัติลาวที่เป็ฯพันธมิตรกับพรรคคอมมิวนิสต์เวยดนามในสมาคมอินโดจีน ช่วงแรก กลุ่มนี้มีความสัมพันธ์กับพรรคคิมมิวนิสต์เวยดนามตั้งแต่ พงศ. 2487 กำเนิดของกลุ่มนี้เริ่มจากการที่เจ้า "สุพานุวง" ได้ต่อต้านการฟื้นฟูลัทธิจักรวรรดินิยมของฝรั่งเซส จนต้องเข้ามาลี้ภัยในไทยและออกไปเวียดนาม เมื่อมีการประนีประนอมระหว่างกลุ่มชาตินิยมลาวกับฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2493 เจ้าสุพานุวงจึงจัดตั้งสมัชชาต่อต้านขึ้นที่แนวชายแดนเวยดนาม และตั้งกลุ่มต่อต้านรัฐบาลแห่งชาติที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อประเทศลาว
            กลุ่มประเทดลาวถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าร่วมการประชุมเพื่อทำข้อตกลงเจนีวาว่าด้วยอินโดจีน หลังจากนั้นกลุ่มนี้ได้ก่อตั้งแนวลาวฮักชาดเป็นแนวร่วมของพรรคปฏิวัติประชาชนลาวหรือพรรคคอมมิวนิสต์ และยังเป็นชื่อเรียกของชบวนการปฏิวัติยึดอำนาจได้เด็ดขาเมื่อเดือนธันว่าคม พ.ศ. 2518
           ฝรั่งเศสได้จัดตั้งรัฐบาลลาวขึ้น อยู่ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีหลายท่านที่เป็นพวกอนุรักษนิยม ไดแก่เจ้าสุวรรณราช และเจ้าสุวรรณภูมา ส่วนพระองค์นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์จนได้สมญานามว่า "เจ้าชายแดง"
           ในปี พ.ศ. 2517 พระองค์เสด็จคืนเวียงจันทน์ ทรงดำรงตำแหน่งปรธานสภาาที่ปรึกษาแห่งชาติอยู่ 18 เดือนจนสถาปนาประเทศเป็น "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว" พระองค์ได้รับเลือกเป็นประธานประเทศและประธานสภาประชาชนสูงสุดคนแรก พร้อมกนนั้น พระองค์ได้สลาะฐานันดรศักดิ์ทั้งปวงในสมัยระบอบเก่า เจ้าสุภานุวงศเป็นที่รักของประชาชนชาวลาว จนเรียกขานกันว่า "ลุงประธาน"
          ..จากการประชุมที่เจนีวา ชื่อขบวนการประเทดลาว ได้กำเนิดขึ้นเพราะแนวลาวอิดสะละได้เขียนคำว่า "ประเทดลาว" ไว้ที่หัวกระดาษของเอกสารและจดหมายเพื่อชี้ให้เห็นว่าคือประเทศลาวที่เป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศอินโดจีน ทำให้ชื่อ กลุ่มประเทดลาว กลายเป็นชื่อเรียกในทางสากลแทน แนวลาวอิดสะละ แต่สำหรับการเคลื่อนไหวในประเทศลาวก็ยังคงใช้ชื่อว่าแนวลาวอิดสละ กระทั้งภายหลังรัฐบาลของกระต่าย โดนสะสอลิด เตรียมจัดการเลือกตั้งแนวลาวอิสะละได้เปลี่ยนชื่อเป็น แนวลาวฮักชาด ส่วนหนึ่งเพื่อให้ รัฐบาลลาว วางใจว่ากลุ่มแนว ลาวอักซาดไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มคอมมิวนิสต์จนรัฐบาลลาว ยินยอมให้เข้าร่วมรัฐบาลผสมและลงเลือกตั้งในนาม พรรรค
           แม้ว่าเจ้าเพ็ดซะราดจะประกาศไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองหลังจากการแตกแยกของขบวนการลาวอิดสะละ แต่สมาชิกของแนวลาวอิดสะละโดยเฉพาะ เจ้าสุพานุวง และพูมี วงวิจิด ก็ยังใหความเคารพพระองค์และยังปรึกษาพ่ระองค์เกี่ยวกับการดำเนินการเคลื่อนไหวต่อต้านฝรั่งเศสอยู่บ่อยครั้งส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเจ้าสุพานุวงเชื่อว่า แนวลาวอิสะละ เป็นการสืบทอดอุดมการณ์ของรัฐบาลลาวอิสะละ ดังจะเห็นได้จาก เจ้าสถพานุวงเกิฐธงสามสีที่เป็นสัญลักษณ์ของรัฐบาลลาวอิดสะละไว้และยังนำธงผืนนี้มาใช้เป็นสัญลักษณ์การเคลื่อนไหวของแนวลาว ฮักซาดตลอดจนธงดังกล่าวยังเป็ฯธงขาติลาวในปัจจุบนด้วย
          สงครามแย่งชิงประชาชนระหว่างรัฐบาลลาวกับแนวลาวฮักซาด สมาชิกของกลุ่มลาวอิสะละเลือกเส้นทางเดินตามแต่แนวคิดทางการเมืองที่แตกต่างซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ แลุ่มแรกเชื่อมั่นในเส้นทางเสรีประชาธอปไตยแม้จะต้องอยู่ภายใต้อิทธิพลของฝรั่งเศสหรือสหรัฐฯ ส่วนกลุ่มที่สอง แม้จะเลือกเส้นทางเดียวกับเวียดนาม คือ เส้นทางสังคมนิยม แต่ในขณะน้นอาจจะต้องกล่าวว่าพวกเขาสนใจเพียงแต่ว่าเส้นทางใดจะทำให้ขับไล่ศตรูที่รุกรานแผ่นดินลาวออกไปได้ ด้วยเหตุนี้เ พมือ่พิจารณราแนวทางการต่อสู้แย่งชิงประชาชนระหว่างฝ่าย รัฐบาลลาว และกลุ่มแนวลาวฮักซาดจะเห็นได้ว่า ทั้งสองใช้สถาบันพุทธศาสนาและสถาบันกษัตริย์ เป็นสิ่งจูงใจให้ประชชนเข้าร่วมกลุ่ม เพียงแต่การอธิบายลักษณะสังคมที่ประชาชนต้องการ ฝ่ายแนวลาวฮักชาอกลับทำใได้ดีกว่าเพราะเป็นแนวทางที่เป็ฯระบบและให้ความสนใจต่อชนกลุ่มน้อยซึ่งเป็นปชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ผนวกกับภาพลักษณ์ของรัฐบาลลาว ที่ไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากความขัดแน้งทางการเมืองภายในรัฐบาลลาวเอง และปัญหาการคอรัปชั่น ทำให้ภายหลัง ประชาชนจำนวนหนึ่งให้การสนับสนุนและเข้าร่วมสนับสุนแนวลาวฮักซาด
         ชัยชนะของแนวลาวฮักซาด
         สถานะการณ์ทางการเมืองโลก กระตุ้นให้ผู้นำลาว เช่น กะต่างโดนสะสอลิดตัดสินใจเป็นฝ่ายเสรีนิยมและเศรษฐกิจกลบกลายเป็นการเื้อผลประโยชน์ให้กับนัการเมือง, ทหารบางกลุ่ม, เจ้าหน้าที่ลาว และพ่อค้าด้วยเหตุนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวจะเห็นความร่ำรวยของกลุ่มคนเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น เช่นบ้านหลีังใหญ่, รถยนต์ราคาแพง, ลูกหลานไปเรียนเมืองนอก และตัวอย่างทางการเมืองที่เห็นได้ชัดเจนคือการใช้อำนาจและเงินซึ่งส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนของสหรัฐฯ ของนายพลพูมี หน่อสะหวันโกงการเลือกตั้ง หรือภาพลัษณ์นัการเมืองธุรกิจของเจ้าบุนอุ้ม ณ จำปาสัก ซึ่งเป็นเจ้าของกิจการต่างๆ มากมายไม่ว่าจะเป็นบ่อนคาสิโนในเมืองปากเซและสะหวันนะเขต, สายการบินลาว, การลักลอบขนไม่เถื่อน รวมทั้ง ตระกูลซะนะนิกอนตระกูลนักการเมืองซึ่งใช้ความสัมพันธ์กับกนักการเมืองและข้าราชการระดับสูงช่วยให้บริษัทของตระกูลได้รับสิทธิพิเศษ เช่น การสัมปทานบริษัทยาสูฐ 555 และการยกเว้นภาษี
           นอกจากนั้น ยิ่ง "สงครามลับ" ของสหรัฐฯ ในลาวทวีความรุนแรงขึ้นมากเท่าไร ประชาชนก็ยิ่งไม่พอใจมากขึ้น โดยเฉพาะใช่วงต้นปี ค.ศ. 1968 เมื่อขบวนการเวียดมินห์โจมตีเวียดนามใต้ได้ใน "การโจมตีวันตรุษญวน" และฝ่ายสหรัฐฯตอบโต้ด้วยการโจมตีพื้นที่ของกลุ่มเวียดมินห์และกลุ่มประเทดลาวทางตอนเหนือของลาวมากขึ้น ทำให้พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นพื้นที่สงครามเต็มตัวโดยเฉพาะบริเวณทุ่งไหหิน ซึ่งในขณะนั้น สหรัฐฯ ส่งเครื่องบิน B52 ทิ้งระเบิดที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงเพื่อมากจากเดิม ในบริเวณทางภาคเหนือ
          ภาพลักษณ์ของนักการเมืองที่ร่ำรวยและผลลัพธ์จากสงครามเป็น้อด้อยที่ทำให้แนวลาวฮักซาดโจมตี รัฐบาลลาวและเริ่มเอนเอียงไปสนับสนุนแนวลาวฮักซาด ตัวอย่างเช่นสมพะวัน นักเขียนในวารสาร "มติตะสอน" กล่าวสนับสนุนการต่อต้านสหรัฐฯ สมพะวันยังชี้ให้เห็นว่า "สหรัฐฯ"เป็นภัยร้ายใกล้ตัวมากกว่าเวียดนามที่รัฐบาลลาว มัวแต่หวาดระแวงการคุกคามของเวียดนามเหนือรวมทั้ง ลมพะวันยังแสดงความห่วงใยต่อสงครามที่เกิดขึ้นในลาวในบทกลอนที่กล่าวถึงผู้เสียชีวิตในสงครามอย่างเศร้าสลด ในอีกแง่มุมหนึ่ง ผลลัพธ์ของสงครามมีผลกระทบต่อคนในพื้ที่เกิดสงครามโดยเฉพาะตามแนวชายแดนมากว่าประชาชนที่อยู่ในเวียงจัน หรือ พื้นที่ที่ไม่ไ้รับปลกระทบโดยตรง ฉะนั้ ปัญหาสงครามจึงเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับคนเหล่านี้แตคนในเมืองวิตกกังวลและสังสนมากกว่า คือ ความเปลี่ยนแปลงของสังคมและวัฒนธรรม ในทศวรรษที่ 1970 โดยเฉพาะปัญหาจริยธรรมและสังคมที่กำลังเสื่อมโทรมลงซึ่งปัฐหาเหล่านี้ถูกหยิยกมาวิพากษ์วิจารณ์อย่างไรก็ดี อฟเวนส์ ชี้ให้เห็นความเปลี่ยนแปลงและความสับสนของสังคมผ่านคนสองกลุ่มจากบทความในหนังสือพิมพ์ "เยียวยาหังใจที่แตกร้าว ซึ่งกล่าวถึง "รสนิยคาวบอย" ของกลุ่มวัยรุ่นในเวียจันว่าเป็นพวกนอกรีต..
                ความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาสังคมยังสะท้อนในวรรณกรรมต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะบอกเล่าเรื่องราวและปัญหาที่พบเห็นได้ในสัง เช่น การทรยศรัก, สามีนอกใจและการมีภรรยาน้อย หรือความแตกต่างระหว่างเมืองและชนบทก็สะท้อนให้เห็นใวรรณกรรมช่วงเวลาดังกล่าวเช่นกัน เช่น "พ่อยังไม่ตาย" หรือปัญหาโสเภณีที่คาดกันว่าในปี ค.ศ. 1970 จำนวนโสเภณีในเวียงจันมากว่า 1,000 คน ในเรื่องสั้นลูกสาวที่เสียไป อนึ่ง ทัศนะเหล่านี้ได้สะท้อนความจริงแห่งยุคสมัยของสังคมลาวได้อย่างชัดเจน ผุ้คนตั้งคำถามกับความเจริญที่เกิดขึ้นในเวียงจันและตระหนักถึงปัญหาความด้อยพัฒนาและทัศนคติอันล้าหลังของลาว ซึ่งความวิตกกังวลเหล่านี้เองที่กลายเป็นพลังสนับสนุนแนวลาวฮักซาดและเร่ิมต่อต้าน รัฐบาลลาว ที่กลุ่มนี้มองว่าเพิกเฉยต่อปัญหาที่เกิดขึ้นและยิ่งผนวกับภาพลักษณ์นัการเมืองที่ทุจริตและการสนับสนุนสหรัฐฯ ในการทำสงคราม ก็ยิ่งเป้ฯการทำลายตัวเองเร็วขึ้นและส่งผลใหประชาชนเข้าร่วมกับแนวลาวฮักซาดเพิ่มขึ้น
              นอกจากนั้น การดำเนินงานด้านการขยายมวลชนของแนวลาวฮักซาดก็มีลัษณะที่เป็นระบบและมีเอกภาพเดียวกัน แม้ว่าจะถูกโจมตีบ่อยครั้งว่าเป็นตัวแทนทของเวียดนามเข้ามากลืนชาติลว แต่แนวลาวฮักซาด ก็สามารถโต้กลับได้ว่าการเคลื่อนไหวของแนวลาวฮักซาดและกลุ่มเวียดมินห์มีลักษณะเป็นกลุ่มชาตินิยมที่ต่อต้านสหรัฐฯ ในฐานะของศัตรูรุกรานชาติลาวมอกกว่าศัตรูของฝ่ายคอมมิวนิสต์ อีกทั้งแนวลาวฮักซาด ยังมีดครงการทางการเมืองซึ่งกล่าวถึงการสนับสนุนศาสนาพุทธและยกย่องเจ้ามหาชีวิตเป็นผุ้นำเพื่อจูงใจให้ประชาชนในเขต รัฐบาลลาว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวลาวลุ่มเข้าร่วมด้วยได้..
           
"สาธุเจ้าชายอุดทอง สุภานุวงศ์" หรือ เจ้าสุภานุวงศ์ หรือ ประธานสุภานุวงศ์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2452 ที่เมืองหลวงพระบาง เป็นเชื้อพระวงศ์ราชวงส์ล้านช้างหลวงพระบาง เป็นประธานประเทศ (ประธานาธิบดี) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คนแรกหลังจากลาวเปลี่ยนแปลงการปกครองจากราชอาณาจักมาเป็นสาธารณรัฐเมื่อปี พ.ศ. 2518 ทั่วโลกรู้จักในสมญานาม "เจ้าชายแดง" หรือ "The Red Prince"
           พระองค์ทรงเข้าร่วมขบวนการต่อต้านฝรั่งเศสเพื่อเอกราช จนได้รับาดเจ็บในการต่อสู้กับฝรั่งเศสที่เมืองท่าเเขก ระหว่างหนีข้ามแม่น้ำโขงเข้ามายังฝั่งไทย ทรงก่อตั้งกองทัพปลดปล่อยประชาชนลาวในพื้ที่ซำเหนือ ภายใต้การสนับสนุนของโอจิมินห์ ซึ่งต่อมาเป็นขบวนการคอมมิวนิสต์ประเทศลาว ต่อมาอีกสองปี ขบวนการประเทศลาวก็สามารถครองพื้นที่ 1  ใน 3 ของประเทศได้ และต้งฐานที่มั่นที่ยากแก่การทำลายในถ้ำหินปูนที่แขวงหัวพันกับพงสาลี
            ทั่วโลกรู้จักเจ้าสุภานุวง์ในสมญานาม "เจ้าชายแดง"เนืองจากเป็นเจ้าผุ้ยอมเสยลสละแยกตัวเองออกจากชนชั้นศักดินามาร่วมก่อตั้งขบวนการปฏิวัติลาว ซึ่งจากการที่ ราชตระกูลหันมาเป็นนักปฏิวัตินี่เอง ที่ทำให้นักวิลาการทางด้านมานุษยวิทยาชาวต่างชาติคนหนึ่งที่ทำการศกษาเรื่องประเทศลาวมาอย่างยาวนาน มีความเห็นว่าเจ้าสุภานุวงศ์ถือเป็นบุคคลชนชั้นนำที่มีสถานะกำกวมยากแก่การทำความเข้าใจมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสรต์การเมืองลาวสมัยใหม่ กล่าวคื อแม้ภายหลงการปฏิวัติลาวในปี พ.ศ. 2518 รัฐบาลลาจะพยายามปราบปรามบุคคลที่อยู่ฝ่ายกษัตริย์นิยมอย่างหนัก ทว่าหนึ่งในผุ้นำการปฏิวัติอย่างเจ้าสุภานุวงศ์เอง กลับมีฐานะเป็นผู้ธำรงรักษาลักษณะอันสูงส่งบางด้านของราชวงศ์ลาวในอดีตให้คงอยู่ต่อไป
              และให้ทัศนะว่า เจ้าสุภานุวงศ์ถือเป็นสัญลักษณ์ที่มีัพลังอำนาจสูงมากเนื่องจากผุ้นำของลาวคนนี้เป็นตัวแทนที่แสดงให้เห็นถึง "ภาวะอันสอดคล้องต้องกันของคู่ตรงข้ามที่มีความหมายยขัดแย้งกันอย่างตึงเครียด" กล่าวคือ เขามีสถานะเป็นทั้งตัวแทนของราชวงศ์ลาวที่เลือนหายแลกลุ่มผุ้ยึดกุมอำนาจรัฐใหม่อย่างพรรคประชาชนปฏิวัติลาว
              ด้วยสถานะที่ยึดโยงกับราชวงศ์ลาวในอดีตอย่างเด่นชัด เมื่อเจ้าสุภานุวงศ์เสียชีวิตลง จึงมีผุ้คาดหมายว่า ภาวะโหยหาอดีตถึงราชวงศ์ลาวที่ไม่ไ้ดำรงอยู่จะหลังไหลเข้ามาอย่างเอ่อล้นในพิธีศพขอผู้นำลาวคนนี้ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลลาวได้เข้ามาควบคุมพิธีศพดังกล่าวอย่างเข้มงวด กล่าวคือ แม้จะมีการคาดการณ์ว่าพิธีศพของเจ้าสุภานุวงศ์อาจถูกจัดขึ้นที่เมืองหลวงพระบางหรือเถ้ากระดูกของเขาอาจถูกส่งกลบไปยังเมืองดังกล่าว แต่พิธีการทั้งหมดกลับถูกจัดขึ้นที่นครเวียงจันทรน์ และเถ้ากระดูกของเจ้าสุภานุวงศ์ก็ถูกบรรจุอยู่ในสถูปที่ธาตุหลวงในนครเวียงจันทน์เช่นกัน โดยมีคครอบครัวของเขา ประธานประเทศลาวในยุคนั้น คือ นายหนูฮัก พูมสะหวัน และบรรดาผุ้นำพรรคประชาชนปฏิวัติลาว ร่วมเป็นสักขีพยานทั้งนี้เพราะหากมีการจัดพิธีศพของเจ้าสุภานุวงศ์ขึ้นที่เมืองหลวงพระบางก็อาจจะเป็นการตอกย้ำถึงสถานะความเป็นศูนย์กลางแห่งราชวงศ์ล้านช้างหลวงพระบางและพิธีกรรมดั้งเดิมอันเก่าแก่ของเมืองดังกล่าว
             ดังนั้น การบรรจุเถ้ากระดูกของเจ้าสุภานุวงศ์ไว้ในบริเวณเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์ประจำ"ชาติ" (ในยุคหลังการปฏิวัติ) คือธาตุหลวง ณ นครเวียงจันทน์ จึงเปรียบเสมือนการพยายามบดบังรัศมีของระบอบราชาธิปไตยแบบพุทธที่เคยดำรงอยุ่ในลาวและมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองหลวงพระบาง โยการเมืองทางโลกย์ของพรรคประชาชนปฏิวัติลาวที่มีฐานที่ันอยู่ในนคราเวียงจันททน์ ทว่าในทางประวัติศาสตร์แล้ว ธาตุหลวงก็ถูกสร้างขึนโดยกษัตริย์องค์หนึ่งของลาวเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ สถนะแก่งควาาลักลั่นกำกวมยาแก่การทำความเข้าใจ หนรือสถานะที่เป็นทั้งตัวแทนของการ "อนุรักษ์" และ "ปฎิวัติ" จึงยังคงดำรงอยู่ในตัวตนของเจ้าสุภานุวงศ์ แม้เจ้าชายแดงผุ้นำการปฏิวัติลาวคนนี้จะเสียชีวิตไปแล้วก็ตาม

                 - (www.matichon.co.th, เจ้าสุภานุวงศ์ : นักปฏิวัติและสัญลักษณ์แห่งความกำกวมลักลั่น)
                 - "ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยใหม่ ลัทธิอาณานิคม ลัทธิชาตินิยม และการสลายตัวของลัทธิอาณานิคม", จอห์น แบสติน แฮรี่ เจ.เบ็นดา.
                 - ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยสังเขป, ผศ.สิวพร ชัยประสิทธิกุล, พ.ศ. 2531

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...