Nationalism : King Norodom Sihanouk II

           สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา เป็นรัฐบาลที่จัดตั้งในกัมพูชา โดยแนวร่วมสมาัคคีประชาชาติกู้ชาติกัมพูชา ซึ่งเป็นกลุ่มของกัมพูชาฝ่ายซ้ายที่อยู่ตรงข้ามกับกลุ่มของเขมรแดง ล้มล้างรัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตยของ พล พต โดยร่วมมือกับกองทัพของเวียดนาม ทกให้เกิดการรุกรานเวียดนามของกัมพุชา เพื่อผลักดันกองทัพเขมรแดงออกไปจากพนมเปญ มีเวียดนามและสหภาพโซเวียตเป็นพันธมิตรที่สำคัญ
          เนื่องจากความขัดแย้งเรื่องพรมแดน เวียดนามส่งกองทัพบุก กัมพูชา โดยส่งกำลังเข้าช่วยเพื่อการปลดปล่อยประชาชาติ ที่ก่อตั้งขึ้นโดยเฮง สัมริน เพื่อต่อต้านรัฐบาลเขมรแดง เวียนามเข้ามาแมรกแซงในกัมพูชา มีการจัดตั้งรัฐบาล เฮง สัมริน เป็นหุ่นเชิดให้กับทางเวียดนาม พอล พต ต้องลงจากอำนาจและกลุ่มเขมรแดงถ่อยล่น และกระจัดระจาย เกิดรัฐบาลร่วมสามฝ่าย รู้จักกันในนามเขมรสามฝ่าย เพื่อต่อต้าน เฮง สัมริน ในช่วงเวลาที่เฮง สัมรินครองอำนาจนี้ ชาเวียดนามอพยพมาอยู่ในกัมพูชามากขึ้น เกิดกลุ่มต่อต้านเวียดนาม ซึ่งแบ่งออกเป็น กลุ่มเขมรเสรี ซึ่งมีนาย ซอน ซาน เป็นผู้นำ และกลุ่มที่สนับสนุนและยังจงรักภักดีกับเจ้านโรดม สีหนุ หรือกลุ่มมูลินากา ทั้ง 2 กลุ่มได้ร่วมมือกับ เขมรแดง ต่อสู้กับเวียดนาม เกิดการจัดตั้งรัฐบาลผสมเรียกว่า "รัฐบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตย"
          ในวันที่ 10 มกราคม 1979 กองทัพเขมรแดงเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และกองทัพเวียดนามเข้ายึดครองพนมเปญ แนวร่วมปลดปล่อยฯ ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา ซึ่งเป็นการปกครองที่นิยมโซเวยตได้รับการสนับสนุจากองทัพและที่แรึกษาพลเรือนจาเวียดนาม การฆ่าล้างเป่าพันู์ในกัมพูชายุติลง แต่จีนที่สนับสนุเขมรแดงและสหรัฐ ต้องการให้ขับไล่เวยนามออกไปจากกัมพุชา ทำให้เกิดปัญหากัมพูชาขึ้น
          สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาเป็นรัฐคอมมิวนิสต์ ซึ่งสืบต่อการปฏิวัติสังคมนิยมโดยเขมรแดง เพียงแค่เขมรแดงใช้นโยบายแบบลัทธิเหมา และใช้ความรุนแรง แต่สาธารณรัฐประชาชกัมพุชาใช้การปฏิวัติสังคมนิยมตามแบบของสหภาพโซเวียตและโคเมคอน สหภาพโซเวียตได้จัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาเป็นประเทศสังคมนิยมที่ยังไม่พัฒนา 1 ใน 6 ประเทศ สาะารณรับประชาชกัมพูชาได้ยอมรับความหลากหลายของสังคมกัมพูชา ทั้งชาวไทย ชาวจาม ชาเวียดนามและชนเผ่าทางตะวันออกเฉียงเหนื อชาวจีนในกัมพูชาถูกมองว่าเป็นกลุ่มของศัตรูแลอยู่ใสความควบคุม ความรุนแรงยังคงมีอยุ่ในสาธารณรับประชาชนกัมพูชา..      
          ชาวกัมพูชามากกว่า หกแสนคน ต้องอพยพออกจากเมืองในยุคเขมรแดง หลังการรุกรานของเวียดนา ชาวกัมพุชาที่เคยถูกกวาดต้นมาอยู่ในคอมมูนเป็นอิสระและกลับไปสู่บ้านเดิม..การเริ่มต้นใหม่ของกัมพูชาเป็นไปอย่างยากลำบาก ไม่มีตำรวจ ไม่มีหนังสือพิมพ์ ไม่มีโรงพยาบาล ฯลฯ ความช่วยเหลือส่วนใหญ่มาจากโลกคอมมูลนิสต์ ความช่วเหลือจากนานชาติมุ่งตรงมายังผุ้อพยพตามแนวชายแดนไทย
         จากการล่มสลายของชาติและปฏิเสธการช่วยเหลือในกสร้างชาติใม่ และถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของเวียดนาม ที่เป็นพันธมิตรกับสหภาพโซเวียต การไม่ได้เป็นสมาชิกสหประชาชาติ ทำให้มีผุ้อพยพเพี่มมากขึ้นตามแนวชายแดนไทยซึ่งเป็นที่ที่มีคามช่วยเลหือจารนานาชาติโดยเฉพาะจากสหรัฐ ในจุดหนึ่งมีชาวกัมพูชาอยู่มากกว่ 500,000 คน ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และมีอกี กว่าแสนคนในศูนย์อพยพภายในประเทศไทย ความช่วยเหลือจากยูนิเซฟและโปรแกรมอาหารโลกมีถึง 400 ฃล้านดอลล่าร์สหรัญ ซึ่งเป็นกลยุทธหนึ่งของสหรัฐระหว่าง"สงครามเย็น"เพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ในเวียดนามคิดเป็นเงนิเกือบ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
          ในขณะที่อกงทัพเขมรแดงของ พล พต ได้จัดตั้งกลุ่มขึ้นใหม่และได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากจีน รวมทั้งมีความสัมพันะ์ที่ดีกับกองทัพไทย เขมรแดงได้ประกาศต่อต้านสาธารณรัฐประชาชนกัมพุชา โดยอาศัยฐานกำลังจากค่ายผุ้อพยพและจากกองทหารที่ซ่อนตัวตามแนวชายแดนไทย แม้่ากองกำลังของเขมรแดงจะมีความโดดเด่นขึ้นมา แต่มีกลุ่มต่อต้านที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์เกิดขึ้นด้วย แต่การต่อต้านของฝ่ายที่ไม่ใช่คอมมิวสิสต์ไม่เคยมีประสิทธิภาพ ดังนั้นในสงครามกลางเมืองช่วงที่เหลือต่อไปนี้จึงเป็นการสู้รบระหว่างฝ่ายเขมรแดงกับฝ่ายรัฐบาลเป็นส่วนใหญ่
         กลุ่มผู้ลี้ภัยชาวกัมพุชาจำนวนมากที่อำเภออรัญประเทศถูกผลักดันให้กลับประเทศ และส่งนใหญ่ต้องเข้าไปอยู่ในเขตควบคุมของเขมรแดง กระบวนการนี้เกิดขึ้นโดยกลุ่มที่นิยมกัมพุชาประชาธิปไตยแต่เข้ามาปรากฎตัวในฐานะอาศาสมัคร รวมทั้งการที่สหรัฐต่อต้านระบอบของเวียดนามนอกจากนั้น ประเทศต่างๆ เช่น ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ยังสนับสนุให้มีการผลักดันประชาชนให้กลับไปต่อสู้

อย่างไรก็ตามเวียดนามเวยดนามประสบความสำเร็จในการโจมตีฐานที่มั่นของเขมรแดงให้ถอยร่นเข้าสู่แนวชายแดนไทย รัฐบาล เฮง สัมรินทีความสำเร็จเพียงน้อยในการจัดตั้งระบอบสาธารณรัฐประชาชนกัมพุชา แต่ได้รับความช่วยเหลือจาก เวียดนาม. โซเวียตและคิวบา เนื่องจากสงครามกลางเมืองยังไม่ยุติ การคมนาคมมักถูกโจมตี การปรากฎตัวของทหารเวียดนามเป็นการเติมเชื้อไฟให้กับการต่อต้านเวียดนาม ในปี 1986 ฮานอยได้กล่าวอ้างว่าจะเริ่มถอนทหารเวียดนามออกมา ในขณะเดียวกัยเวียดนามเร่งสร้างความเข้มแข็งใหกับสาธารณรัฐประชาชนกัมพุชาและกองทัพปฏิวัติประชาชนกัมพูชา การถอนทหารยังคงต่อเนืองไปอีก 2 ปี แผนการทหารถูกกอดันมาขึ้น เพราะสหรัฐและจีนเข้ามากดดันมากขึ้น และสหภาพโซเวียดงดให้ความช่วยเหลือ ในปี 1989 รัฐบาลฮานอยและปนมเปญออกมาประกาศว่าการถอนทหารจะสิ้นสุดภายใน กันยายน ปีนี้
          เฮง สัมรินเสียชีวิตในปี 1984 ในวันที่ 29-30 เมษายน 1989 สภาแห่งชาติของสาธารณรัฐประชาชนกัมพุชาภายใต้การนำของ ฮุน เซนได้จัดประชุมสมัยวิสามัญโดยมีการแก้ไขชื่อประเทศจากสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชามาเป็นรัฐกัมพูชา มีการนำสีน้ำเงินกลับมาใช้ในธงชาติเปลี่ยนตราแผ่นดินและตรากองทัพ กองทัพปฏิวัติประชาชนกัมพูชาเปลียนเป็น กองทัพปรชาชนกัมพูชา พุทธศาสนากลายเป็นศาสนาประจำชาติ ทางด้านเศรษฐกิจได้ออกกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิการถือครองทรัพย์สินและตลอดเสรี พรรครัฐบาลประกาศจะเจรจากับฝ่ายค้านทุกกลุ่ม
         รัฐกัมพูชา ดำรงอยู่ในช่วงที่มีการเปลี่ยนผ่านอย่างช้าๆ ซึ่งเป็นผลจากการล่มสลายของสหภาพโซเวีตและรัฐคอมมูนนิสต์ในยุโรปตะวันออก การลดความช่วยเหลือของโซเวียตต่อเวียดนามทำให้เวียดนามต้องถอนทหารออกไป ชาวเวียดนามส่วนใหญ่อพยพกลับสู่เวียดนาม เพราะไม่มั่นใจความสามารถของรัฐกัมพูชาในการควบคุมสภานการณ์เมื่อไม่มีทหารเวียดนาม
         
 นอกจากการประกาศอย่างแข็งกร้าวของ ฮุน เซน รัฐกัมพูชาอยู่ในฐานะที่จะกลับมาเป็นเพียงพรรคหนึ่งในการครองอำนาจ โดครงสร้างผุ้นำและการบริหารเป็นปบบเดียวกับสาธารณรับประชาชนกัมพุชา โดยมีพรรคเป็นผุ้กุมอำนาจสูงสุด รัฐกัมพุชาไม่สมารถฟื้นฟูราชวงศ์ในกัมพุชาแม้จะเริ่มนำสัญลักษณ์ของราขวงศ์มาใช้ สีหนุเข้าร่วมกับแนวร่วมเขมรสามฝ่าย และทั้งแรงกดดันจาในและนอกประเทศ รัฐกัมพูชาจึงต้องทำข้อตกลงในการยอมรับพระนโรดม สีหนุเป็นประมุขรัฐ ปลายปี 1994 สีหนุเดินทางกลับกัมพูชาอย่างเป็นทางการ ทั้งฮุน เซน และเจียซิมได้จัดงานเลี้ยงรับรองอย่างเป็นทางการ..
           รัฎฐาภิบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตย หรือ เขมรสามฝ่าย เป็นการรวมตัวของกลุ่มการเมืองในกัมพุชา ได้แก่ เขมรแดง ภายการนำของ เขียว สัมพันและ พล พต, แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติประชาชน ของ ซอน ซาน และพรรคฟุนซินเปกของ สมเด็จพระนโรดม สีหนุ เพื่อจัดตั้งรัฐบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตย ในปี 1982  โดยการผลักดันของกระทรวงการต่างประเทศของไทยสหรัฐและจีน โดยมีสมเด็จพระนโรดม สีหนุ เป็นผู้นำอย่างเป็นทางการ รัฎฐาภิบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตยเป็นตัวแทนของกัมพูชาในสหประชาชาติ ตั้งแต่ปี 1982-1992 ทั้งนี้ เขมรแดงที่ยุบพรรคคิมมิวนิสต์กัมพุชาไปตั้งแต่ พ.ศ. 1981
            พลเอกชาติชายชุณหะวัณ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีประเทศไทย ได้ดำเนินโยบายเปลี่ยนสนามรบให้เป็ฯสนามการค้า ทำให้นำไปสู่การเจรจากับเวียดนามจนเวียดนามถอนทหารออกจากัมพุชาจนหมดในปี 1989 ต่อมา เมื่อเกิดการเจรจาสันติภาพกัมพูชา เขมรแดงเกิดความหวาดระแวงว่าการเข้าร่วมในข้อตกลงปารีสอาจเป็นกลลวงให้วางอาวุธเพือจับตัวไปดำเนินคดีฆ่าล้างผ่าพันธุ์ เขมรแดงจึงถอนตัวออกจากการเจรจาสันติภาพ และไม่เข้าร่วมการเลือกตั้งไม่ยอมปลดอาวุธและไม่ยอมให้ประชาชนในเขตของตนลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมการเลือกตั้งในปี 1993 ทำให้สหประชาชาติคว่ำบาตรเขมรแดง รัฎฐาภิบาลปสมกัมพูชาประชาธิปไตยจึงยุตุลง
            โดยสรุป การล่มสลายของกัมพุชาประชาธิปไตย หรือเขมรแดง กัมพูชาตกอยู่ภายใต้การรุกรานของเวียดนาม และรัฐบาลที่นิยมฮานอยซึ่งก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชกัมพุชา สงครามกลางเมืองหลัง ปี 1980 เป็นการสู้รบระหว่งกองทัพประชาชนปฏิวัติกัมพูชาของรัฐบาลกับแนวร่วมเขมรสามฝ่ายซึ่งถือเป็นรับบาลพลัดถิ่นของกลุ่มต่างสามกลุ่ม หรือเขมรสามฝ่าย และหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตมีการถอนทหารเวียดนามออกจากกัมพูชาในปี 1989และนำไปสุ่การประชุมสันติภาพที่ปารีสเพื่อสงบศึกในปี 1991 ในที่สุดมีการจัดการเลือกตั้งโดยสหประชาชาติใน ปี 1993 เพื่อเริ่มต้นฟื้นฟุประเทศ
           สภาพการเมืองในกัมพุชาปัจจุบันมีเสถียรภาพ พรรคการเมืองสองพรรคหลักซึ่งประกอบขั้นเป็นรัฐบาลกัมพุชา คือ พรรคประชาชนกัมพูชา ของ ฮุน เซน และพรรคฟุนซิเปค ของ นโรดม รณฤทธิ์ สามารถร่วมือกันได้อย่างราบรื่น ทั้งในด้านบริหารและด้านนิติบัญญัติ รวมั้งมีท่าที่ที่สดอคล้องกันเป็นส่วนใหญ่ในประเด็นทางการเมืองสำคัญๆ ของประเทศ อาทิ การนำตัวอดีตผุ้นำเขมรแดงมาพิพากษา
         
 กลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามไม่มีความเข้มแข็งพอ และคงสามารถทำได้เพียงแต่สร้างผลกระทบทางลบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล ดดยในทางการเมือง พรรคสม รังสี พรรคการเมืองฝ่ายค้านหนึ่งเดียวในสภาแห่งชาติกัมพุชา ได้เคลื่อนไหวตรวจสอบอย่างแข็งขัน
          การสืบราชสันตติวงศ์ ระบบกษัตริย์ของกัมพูชาไม่เหมือนกับระบบกษัตริย์ส่วนใหญ่ในประเทศอื่นๆ ที่ราชบัลลังก์จะตกไปสู่ผุ้มีลำดัการสืบราชสันตติวงศ์ลำดับถัดไป และพระมหากษัตริย์ ไม่สามารถเลือกผุ้ที่จะมาสืบราชสันตติวงศ์ได้ด้วยตัวเอง แต่ผุ้มีสิทธิ์ในการเลือกพระมหากษัตริย์องค์ใหม่คือ กรมปรึกษาราชบัลลังก์ ซึ่งจะจัดการประชุมในสัปดาห์ที่พระมหากษัตริย์สวรรคตหรือไม่สามาถปฏิบัติพระราชกรณียกิจได้ต่อไป และเลือกพระมหากษัตริย์องค์ใหม่จากรายชื่อผุ้มีสิทธิ์สืบราชสันตติวงศ์ และเป็นสมาชิกราชวงศ์


                      (www.th.wikipedia/../สาธารณะรัฐประชาชนกัมพูชา.,รัฎฐาภิบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตย.,ประเทศกัมพูชา.)
                      - baanjomyut.com., ประวัติศาสตร์ประเทศกัมพูชา
         

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)