วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Nationalism : Thakin

               กลุ่มนักศึกษาและปัญญาชนชาวพม่าที่ได้รับกาศึกษาแบบตะวันตก และพวกที่ไปศึกษาในอังกฤษได้เห็นระบบการปครองของยุโรปกลับมาเปียบเทียบกับการปกครองของอังกฤษในพม่า ซึ่งอังกฤษไม่ค่อยเปิดโอกาสให้ชาวพม่ามีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง จะเปิอโอกาสให้บ้างแต่ก็เป็นเพรียงตำแหน่งข้าราชการเล็กๆ ซึ่งไม่ความำคัญอะไร นอกจากนั้นพวกปัญญาชนที่จบจากมหาวิทยาลัยร่างกุ้งหางานทำใไม่ได้ จึงทำให้เกิดการรวมกลุ่มกันต่อต้านอังกฤษ ประกอบกับในระยะสงครามโลกครั้ง ที่ 1 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ข้าวขายไม่ออก ชาวนามีหนี้สินมาก ขณะที่นายทุนชาวอินเดียและพวกอังกฤษไม่เกิดความเดือนร้อน นอกจากนั้นก็ยังได้เห็นตัวอย่างการต่อสู้ของมหาตมะคานธีในอิเดีย ทำให้พม่ามีกำลังใจที่จะต่อสู้เพื่อเอกราช โดยได้รับการกระตุ้นจากพวกนัการเมืองอินเดียหัวรุนแรง ที่องักฤษเนรเทศเข้ามาอยู่ในพม่า
            ปลายปี 1930 พวกนักศึกษาในมหาวิทยาลัยร่างกุ้งได้จัตกลุ่มตะขิ่น ขึ้นมา คำว่า ตะขิ่น มีความหมายว่านาย ซึ่งอังกฤษให้ชาวพม่าเรียกอังกฤษ่า ตะขิ่น เพราะฉะนั้น จึงใช้คำว่าตะขิ่นนำหน้าชื่อ เพื่อแสดงให้เห็นว่า คนพม่าเท่าเทียมกับอังกฤษ ผุ้นำของตะขิ่นที่สำคัญมี 2 คือ อูนุ U-nu และอองซาน U-Aung San พวกตะขิ่นได้ชักจูงให้ชาวพม่า เป็นจำนวนมากเข้าร่วมสนับสนุนบทบาททางการเมืองของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยร่างกุ้ง นักศึกษาก็ได้รับความนิยมจากประชาชน ในฐานะที่เป็นนักชาตินิยม ไม่ต้องการเป็นนักการเมืองและข้าราชการซึ่งทั้งสองพวกนี้ให้ความร่วมมือกับอังกฤษ มีการคอรัปชั่นและไม่มีอุดมการณ์ทางการเมือง ทำให้ประชาชนไม่ชอบ พวกตะขิ่มีความสนใจในลัทะิมาร์คในแง่ที่นำมาใช้กับการก่อให้เกิดความรู้สึกชาตินิยมในคนหมู่มาก เพื่อจะขับไล่อังกฤษและอินเดียออกไป ไม่สนใจเรื่องคอมมูนิสต์อย่างจริงจัง พวกนี้ถือว่าพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่คู่กับชาวพม่า แต่ก็ไม่ชอบให้พระมายุ่งกับการเมือง
            ในปี ค.ศ. 1936 พรรคตะขิ่นได้รับเลือกเข้าไปอยู่ในคณะกรรมการทุกที่นั่งของสโมสรนักศึกษา มีอูนุเป็นายกสโมสนนักศึกษา อองซานเป็นบรรณาธิการนักศึกษา และได้ออกวารสารโจมตีผุ้บิรหารมหาวิทยาลัย ทำให้ถูกพักการเรียนและบรรดานิสิตนักศึกษาได้ทำการประท้วงดร.บามอ ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ทำการสอบสวนแต่ไม่เป็นที่พอใจของนักศึกษา และเกิดการประท้วงทั่วไป เกิดการปะทะกันระหว่างนักศึกษาและตำรวจ เกิดอุบัติเหตุนักศึกษาตาย และบาดเจ็บทำให้การเจรจรระหว่างนักศึกษากับรัฐบาลตกลงกันไม่ได้ ซึ่งเหตุการณ์นั้กว่าจะสงบได้กินเวลาถึงปี ค.ศ. 1939 โดยรัฐบาลออกพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยใหม่ และยกเลิการไล่อูนุออกพวกตะขิ่นก็เลยขยายอิทธิพลออกไปอีก คือ เข้าไปรวมกลุ่มกรรมกรให้เป็นสหภาพแรงงาน ยุยงให้มีการนัดหยุดงาน ประท้วงค่าจ้างแรงงาน ตลอดจนไปจัดตั้งองค์การชาวนา และให้พวกนี้เข้ามาอบรมทางการเมือง
            นอกจากกลุ่มนักศึกษาแล้ว ก็ยังมีกลุ่มของพระที่มายุ่งเกียวกับการเมือง มีอูซอ U-saw  เป็ฯผุ้นำ ไม่มีบทบาทในการต่อต้านชาวอินเดีย และก่อจลาจลทำร้ายชาวอินเดีย ทำให้รัฐบาลอังกฤษและรัฐบาลพม่าร่วมกนหาสาเหตุของการจลาจล และการประท้วงต่างๆ ที่เกิดขึ้นว่าเป็นเพราะสภาพเศรษฐกิจของพม่าที่ตกอยู่ในมือของชาวอินเดีย แต่อังกฤษก็ยังไม่ได้จักการแก้ไขอย่างไร พอดีเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อน
           ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นไ้เข้ายึดครองอำาจ และของความร่วมมือจากพวกตะขิ่น โดยสัญญาว่าจะให้เอกราชแก่พม่า ญี่ปุ่นได้เอาพวกตะขิ่น 30 คนไปฝึกอาวุธที่เกาะไหหลำเพื่อตั้งกองทัพ BIA Burma Independence Army มีบุคคลชั้นนำของตะขิ่นหลายคน เช่น อองซาน เนวิน กลุ่มนี้ได้ตั้งกองทพม่าอิสระขึ้น เพื่อขัไล่อังกฟษ แต่พวกตะขิ่นเองียงซ้ายไม่สนใจ เพราะไม่ไว้ใจญี่ปุ่น ในเดือนสิงหาคม 1943 ญี่ปุ่นได้ให้เอกราชจอมปลอมแก่พม่า คือ ญี่ปุ่นคุมกิจการทุกอย่าง แต่การให้เอกราชแก่พม่านี เป้ฯการทำให้พวกตะขิ่นเข้ามาีบทบาทางการเมืองเพิ่มขึ้น อองซานได้ตั้งกองทัพพม่าแห่งชาติขึ้น BIA เมื่อญีปุ่นแสดงตนว่า ต้องการผลประดยชน์ทางเศรษฐกิจของพม่าและใช้พม่าเป็นปจจันใการขยายอำนาจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้นผุ้นำของ BIA และกลุ่มชาตินิยมต่างๆ ได้รวมกันจัดตั้งขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นขึ้น Anti Fascist People's Freedom League AFPFL จุดประสงค์คือขับไล่ญี่ปุ่น และต่อสุ้เพื่อเอกราชของพม่า
           ในขณะที่ญี่ปุ่นยึดครอง อังกฤษก็ได้ให้ข้าหลวง กลับไปคัดเลือข้าราชการพม่าที่ฝักใฝ่กับอังกฤษไปตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นที่เมืองสิมะลา และให้สัญญากับชาวพม่าในการที่จะฟื้นฟูพม่าหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นแพ้สงคราม อังกฤษกลับมาปกครองตามเดิม และพยายามรื้อฟื้นอำนาจของอังกฤษ โดยการฟื้นฟูเศรษฐกิจของพม่าหลังสงคราม แต่ไม่ได้ผลนักเพราะเศรษฐกิจพม่าภายหลังสงครามเสียหายอย่างหนัก นอกจากนั้นอังกฤษยังนำระบบการปกครองแบบ Dyaarchy มาใช้ต่อไปโดยไม่กำหนเวลา และให้ข้าหลวงอังกฤษเข้ามปกครองโดยตรง AFPFL ได้ประกาศต่อต้านการกลับมาของอังกฤษ ดังนั้นอังกฤษจึงเตรีมการที่จะให้เอกราชแก่พม่า ในปี ค.ศ. 1946 อังกฤษยินยอมให้ชาวพม่าเข้ามาปกครองทั่วไปได้ โดย AFPFL ได้กุมเสียงข้ามากในรัฐบาล และอองซานได้เป็นประธานสภาฝ่ายบริหาร สามารถเจรจาตกลงกับอังกฤษได้ในการเตรียมการร่างรัฐธรรมนูญ ในเดือนเมษายน 1947 มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้รวมผุ้แทนของชนหมู่น้อยด้วย AFPFL ชนะการเลือกตั้งและมีกาประชุมสภาพร่างรัฐธรรมนูญเพื่อวางรากฐานของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่...
         
.. ฉะนั้นการได้เอกราชครั้งนี้เป็นไปอย่างราบรื่นและปราศจากการนองเลือด และสหภาพพม่าใหม่ก็ได้ถือกำเนินขึ้นตอนต้น ปี 1948 แต่ก่อนที่สหภาพพม่าจะอุบัติขึ้น ประเทศพม่าก็ต้องเผชิญกับโศกนาฎกรรมครั้งยิ่งใหญ่ คือการลอบสังหารอองซานอย่างโหดร้ายทารุณที่สุดอองซานนักศึกษาที่กลายมาเป้นวีรบุรุษของชาติ เป็นผู้ก่อตั้งและผู้นำของ AFPFL เป็นผุ้บัญชากการกองทพัพทา และอองซานในฐานะนายกรัฐมนตรีได้เปิดการเจรจาหลายครั้งกับทางลอนดอนจวนจะประสบความสำเร็จ (แผนการลอฆ่านี้ อูซอ เป็นผุ้วางแผน อูซอเป็นนัการเมืองพม่าสมัยก่อนสงครามที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่ง การฆาตกรรมเกิดขึ้นในห้องประชุมคณะรัฐมนตรีรัฐมนตรีอื่นๆ อีก 9 คนถูกฆ่าด้วยในขณะเดียวกัน
              การประกาศอิสรภาพยังไม่ทันจะเสร็จสิ้นดี การวิวาทในเรื่องส่วนตัวและอุดมการณ์เมืองก็เริ่มเกิดขึ้น มีการแบ่งแยกกันเป็นหลายก๊กหลายเหล่า พวกที่นิยมคอมมิวนิสต์ก็แยกตัวออกจาก AFPFL กลุ่มหนึ่งดำเนินการแบบใต้ดินและทำสงครามกับรัฐบาลผสมที่อ่นนแด กลุ่มที่มีอาวุธก็เกิดขึ้นราวกับดอกเห็ด บางกลุ่มเป็นพวกกะเหรี่ยง บางกลุ่มเป็นพวกทหารผ่านศึกษถูกปลดประจำการแล้ว และบางพวกก็เป็นพวกโจรที่ฉวยโอกาสจกการสับสนอลหม่านที่แผ่กระจายไปทั่วประเทศ นับตั้งแต่อองซานตาย รัฐบาลซึ่งนำโดยเพื่อของอองซาน คือ อูนุ ต้องใช้เวลาหลายปีในการฟื้นฟูความสบงเรียบร้อย และหันกลับไปมีชีวิตใหม่แบบรัฐบาลพลเรือน องค์การสันนิบาต AFPFLเริ่มต้นโครงสร้างการสวัสดิการอันสุงส่งตามแบบนโยบายของฝ่ายซ้าย แต่นอกเหนือจากการโอนกิจการที่มีต่างชาติเป็นเจ้าของเข้าเป็นของรัฐแล้ว องค์การนี้ก็ไม่ได้ทำให้สังคมและเศรษฐกิจเจริญก้าวหน้าขึ้นเท่าไรเลย
              ถึงแม้กฎหมายและระเบียบปฏิบัติต่างๆ จะดีขึ้น การฉ้อรษฎร์บังหลวงก็ได้ทำให้ราษฎรหมดความเชื่อมันในรัฐบาล หมดความอดทนต่อสันนิบาต AFPFL และต่อรัฐบาลระบอบรัฐธรรมนูญ สิ่งที่เกิดขึ้นคือความไม่สามัคคีกันภายใน AFPFL ซึ่งมีโครงสร้างอย่างหลวมๆ และมีพรรคสังคมนิยมเล็กๆ เป็นกลุ่มนำมาจนกระทั่งถึงปลายทศวรรษที่ 1950 สันนิบาต AFPFL ได้เป็นผู้คอรบครองวิถีการเมืองอย่างแท้จริง มีขอบข่ายของงานแผ่กระจายไปตามสาขาต่างๆ ในชนบท เช่นเดียวกับตามสมาคมต่างๆ ของพวกเยาชน ชาวนา และกรรมกร แต่เมื่อได้รับเอกราชแล้ว และการไม่ลงรอยกันที่สำคัญจนถึงขั้นก่อการวุ่นวายก็สงบลงได้ หรือไม่ก็สามารถปรองดองกันได้แล้ว บรระดาผู้นำของรัฐบาลปสมก็ไม่สามารถปิดบังการเป็นปรกปักษ์กันเป็นส่วนตัวไว้จากประชาชนได้อีกต่อไป ในปี 1958 เมื่อรอยแตกร้าวได้ค่อยๆ กร่อนลงจนกลายเป็นการแตกแยกอย่างกว้างขวาง AFPFL ก็แตกออกเป็น 2 กลุ่มที่ทำสงครามกัน
              กองทหารภายใต้การนำของนายพันโทเนวิน (ต่อมาได้เป็นนายพล)ได้เข้าแทรกแซงในเรื่องกิจการการเมือง ถึงแม้วานายทหารส่วนใหญ่ซึ่งแต่เดิมเป็นสมาชิกของกลุ่มปัญญาชนยะขิ่นยังคงมีความคิดร่วมกันกับนัการเมืองพลเรือนในเรื่องของนโยบายการปกครองแต่กองทัพบกโดยส่วรวมก็ได้แยกตัวเองออกไป การรังเกียจเพื่อร่วมงานที่ไม่ใช่ทหารมีมากขึ้นทุกที และความอดทนที่มีต่อพวกนี้ก็น้อยลงทุกที แต่พวกทหารก็ยังไม่เต็มใจที่จะให้มีการแตกแยกกันถึงที่สุดซึ่งมีขึ้นในปี 1960 หลังจากที่ได้มีการปรึกษาหารือกับพวกผู้นำทางการเมืองแล้วฝ่ายทหารก็จัดให้มีรัฐบาลรักษาการณ์ชั่วคราวขึ้น ความจริงแล้วพวกนายทหารได้รักษาสัญญาของพวกเขาในอันที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ขึ้น การเลือกตั้งได้จักให้มีขึ้นตามกำหนดเวลาในปี 1960 ซึ่งกลุ่มที่แตกมาจาก AFPFL ของอูนุได้ชัยชนะอย่างท่วมท้น เป็นอภนันทนาการจากการที่ผุ้นำของกลุ่มเป็นบุคคลที่มีผู้นิยมอย่างกว้างขวาง
             แต่อย่างไรก็ตาม การฟื้นฟู้รัฐบาลตามวิถีทางแห่งรัฐธรรมนูญก้ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นได้เพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ  2 ปีต่อมาเนวินและพรรคพวกของเขาก็ได้ล้มรัฐบาล คราวนี้ไม่มีการให้สัญญาหรือให้ความหวังใดๆ ในอันที่จะคืนอำนาจให้แก่ฝ่ายพลเรือนอีกต่อไป นักการเมืองจำนวนมากรวมทั้งอูนุด้วยถูกกักตัวอยู่ในค่านกัดกัน ในขณะที่บรรดานายทหารได้เข้าดำรงตำแหน่งต่างๆ ทั้งทางด้านการบริหารและการปกครอง มีการห้ามการตั้งพรรคการเมือง ฝ่ายทหารได้จัดให้มีแนวร่วมแห่งชาติเพียงอย่างเดียวภายใต้การปกครองอย่างเข้มงวดของรัฐบาลขึ้นแทนที่พรรคการเมืองต่างๆ สภาการปฏิวัติเป็นผุ้ดำเนินการปกครองประเทศโดยมีเนวินเป็นประธานสภา คำขวัญของสภาที่ว่า ไทางของพม่าที่จะพาไปสู่ลัทธิสังคมนิย" เป็นนโยบายทางการเมืองที่ยอมรับกันเป็นทางการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม การขับไล่คนอินเดียส่วนน้อยที่มีอยู่ในพม่าเป็นผลงานที่สำคัญของรัฐบาลใหม่ และผลที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งคือทำให้การผลิตทางเกษตรกรรมลดน้อยลง ในขณะเดียวกันการปกครองที่เข้มงวดของรัฐบาลก็ไม่ได้ทำให้ภาวะเงินเฟ้อหรือการคอรับลันยุติลงเลย
 ถ้าประเทศพม่าภายใต้การปกครองของทหารซึ่งใช้วิธีปราบนักศึกษาซึ่งเป็นฝ่ายค้านด้วยวิธีรุนแรงนั้น ไม่ใตร่เจิรญรุ่งเรือเท่าไร ทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเมือง ก็เป็นเพราะว่าเนวินและพรรคพวกของเขาได้เข้าบริหารประทเศในขณะที่ประเทศพมาอยู่ห่างไกลจากความเจริญรุ่งเรืองและความเป็นระเบยบเรียบร้อย ถึงแม้ว่าอูนุจะมีนิสัยส่วนตัวและกาแสดงออกทางด้านประชธิปไตยของเขาอยู่เหนือข้อตำหนิติเตียนใดๆ แต่การกรทำในฐานะนายกรัฐมนตรีของเขาก็ได้ก่อให้เกิดความหวาดหวั่นระแวงสงสัยอย่างมาก การบริหารประเทศแบบไม่มีหลักเกณฑ์ ทำอะไรตามอำเภอใจ และไม่มีความอดทนต่อเรื่องละเอียดปลีกย่อยต่างๆ ของอูนุ ทำให้เกิดการบาดหมางกันขึ้น แม้ในหมู่สมัครพรรคพวกเพื่อสนิทของเขา การมีอคติต่อลัทธิศาสนาอื่นๆ มีมากขึ้นทุกที ในที่สุดอุนุก็ประกาศให้พุทธศาสราเป็นศาสนาประจำชาติซึ่งก่อให้เกิดความขุ่นเคืองใจแก่ชาวพม่าสวนหใญ๋ยิ่งกว่านั้นยังทำให้ความตึงเครียดระหว่างชาวพุทธส่วนใหญ่กับชนส่วนน้อยที่ไม่ใช่พุทธทวีความรุนแรงขึ้น
          ในขณะเดียวกัน อูนุยังเต็มใจให้สิทธิมากมายแก่ชนกลุ่มน้อยที่ตนพอใจโดยเฉพาะพวกฉานมากเสียจนกระทั่งความสามัคคีของประเทศโดยเฉพาะในหมู่ทหารตกอยู่ในอัตราย เศรษฐกิจก็เช่นเดียวกันต้องประสบความลำบากเพราะการปบริหารประเทศที่ไม่ดี เพื่อที่จะให้ได้รบเสียงสนับสนุนด้านความนิยมอูนุได้จัดให้มีการผันเงินออกไปสู่ชนบท ซึ่งทำให้เกิดการใช้เงินที่ผิดพลาดอย่างกว้างขวาง โดยไม่ได้มีการส่งเสริมให้มีการปลูกข้าวเพ่ิมขึ้นเลย การส่วข้าวออกจะช่วยให้ได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศที่จำเป็นเพื่อใช้ในการลงทุนด้านอื่นๆ เช่นที่ได้กระทำกันในประเทศไทยตั้งแต่ปี 1945 เป็นต้นมาอย่างไรก็ตาม เนวินก็ได้จัการแก้ปัญหาทางด้านความมั่นคง และด้านการเมองที่บีบรัดอยู่อย่างได้ผล ถึงแม้จะต้องใช้อำอำนาจบังคับก็ตาม เนวินได้พยายามใชชั้นเชิงรักษาความเป็นกลางของพม่าไว้ได้โดยการหันกลับไปสู่สมัยก่อนอาณานิคม คืออยู่อย่างสันโดษ มีความเกลียดกลัวคนต่างชาติ โดยขณะที่แผ่นดินใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในทศวรรษ 1960 ถูกห้อมล้อมด้วยการติดต่อพวพันอย่างใกล้ชิดกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก แต่อย่างไรก็ตามความพยายามของเนวินก็ถูกคุกคามที่จะทำให้เกิดการแตกแยกเนื่องจากตึงเครียดกับจีนแดง..


                      - "ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยใหม่ ลัทธิอาณานิคม ลัทธิชาตินิยม และการสลายตัวของลัทธิอาณานิคม", จอห์น แบติส แฮรี เจ.เบ็นดา, ชื่นจิตต์ อำไพพรรณ ภร๊ กาญจนัษนิติ ผุ้แปล.
                      - "ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยสังเขป" ผศ.สิวพร ชัยประสิทธิกุล.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...