วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Nationalism : Malayu

           การปกครองของอังกฤษในมลายูมีหลายรูปแบบ ต่างจากการปกครองพม่าและอินเดีย เนื่องจากอาณานิคมนี้ได้มาจากการเจรจาตกลงแบ่งเขตอิทธิพลกับฮอลันดา ด้วยการทำสนธิสัญญากับไทย อังกฤษได้สร้างความเจริญให้แก่มลายู ในด้านการปกครอง สังคมและเศรษฐกิจ ทำให้ชาวมลายู่ได้รับความสะดวกสบาย และสงบสุขมากกว่าเดิม ขบวนการชาตินิยมในมลายูจึงเกิดขึ้นช้ากว่าในดินแดอื่นๆ แต่ก็ยังมีขบวนการชาตินิยม ทำสงครามกองโจรต่อต้านอังกฤษ ทำให้เกิความไใาสงบขึ้นในประเทศ เนื่องจากมีพลเมืองประกอบด้วยชนชาติ และนับถือศาสนาที่แตกต่างกัน ทำให้อังกฤษต้องใช้วิะีการปกครองและใช้กำลังเข้าควบคุม ให้ประชาชนอยู่ในความสบล กระทรั่งในที่สุดอังกฤษได้แบ่งการปกครองออกเป็น 3 รูปแบบคือ
           - สเตรท เซทเทิลแมนท์ มีข้าหลวงปกครองโดยตรง ได้แก่ ปีนัง มะละกา สิงคโปร์ โปรวินส์และเวสลีย์
           - สหพันธรัฐ ประกอบด้วย เประ ปะหัง สลังงอ และเนกรีเซมบิลัน ซึ่งมีสุลตานเป็นประมุข มีข้าหลวงอังกฤษเป็นที่ปรึกษางานของรัฐบาล
           - รัฐนอกสหพันธ์ ได้แก่ ไทรบุรี เคดะห์ กลันตัน ตรังกานู ปะลิส และยะโฮร์ อยู่ในฐานะรัฐในอารักขาของอังกฤษ
          ขบวนการชาตินิยมในมลายูนั้นเกิดขึ้นอย่างล่าช้ากว่าแห่งอื่น และเกิดขึ้นอย่างมีวิวัฒนาการ ทั้งนี้มลายูไม่มีปัญหาด้านการปกครอง และเศรษฐกิจ อย่างประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอาจเป็นเพราะคนมลายู่ส่วนใหย๋พอใจกับระบบการปกครองของอังกฤษ อังกฤษมีนโยบายที่ผ่อนผัน และยือหยุนสำหรับการปครองในมาเลย์ ดินแดนใดที่ตกเป็นของอังกฤษด้วยความเต็มใจ ดดยอังกฤษ เช่าหรือซื้อ อังกฤษก็ทำการปกครองทางตรง ตินแดนใดที่ชักชวยให้อังฏษเข้าแทรกแซง จนอังกฤษได้เป็นกรรมสิทธิ์อังกฤษก็ปกครองทางอ้อม โดยมีเจ้าหน้าที่อังกฤาเข้าควบคุมนดยบายต่างๆ ส่วนดินแดนใดที่ไม่เต็มใจ การปกครองกันเอง อังกฤษไม่เข้าไปยุ่งมากนอกจากนั้นนโยบายการปกครองของตัวเอง ที่ทำให้ขบวนการชาตินิยมที่ต่อต้านอังกฤษเกิดขึ้นช้าคือ
            การปรับปรุงทางการเมือง เป็ดโอกาสให้ลูกหลานชั้นสูงชาวมาเลย์ได้รับการศึกษและฝึกฝนการเข้ารับราชการในหน่วยบริหารท้องถิ่น ของสหพันธ์รัฐมลายูและนอกสหพันธ์รัฐมลายู แม้ว่ากลุ่มผ้นำชาวมาเล จะรับราชการในตำแหน่งที่ด้อยกว่าอังกฤษ ก็ยังมีประโยชน์ในด้านการฝึกฝนการปกครองตนเอง และมีโอกาสดีกว่าชาวจีน ชาวอินเดีย
           การปรับปรุงทางเศรษฐกิจ อังกฤษปรับปรุงทั้งทางด้านคมนาคมและสาธารณสุขคือสร้างถนน, สร้างทางรถไฟ,ดรงพยาบาล ส่งเสริมการลงทุนในมลายมากขึ้น บางรัฐของมลายูมีกรพัฒนาทางเศรษฐกิจสุง คือ ยะโฮร์ อังกฤษได้มาลงทุนทางด้านการทำเหมืองแร่ดีบุก ตั้งเครื่องจักรถลุงแร่ ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางการถลุงดีบุกของโลก นอกจากนั้นยังส่งเสริมการปลูกยาง ทำใ้ห้คนเพื้นเมืองชาวจีนและชาวอินเดียมีรายได้เพื่อมขึ้น
          นโยายด้านรักษาสทิธิของคนมาเลย์ การที่อังกฤษมีนโยบายการค้าเสร ละปรับปรุงด้านเศรษฐกิจของมลายู จึงทำให้คนจีนอพยพเข้ามาอยู่ในมลายูมากขึ้น ประกบกับชาวจีนเป็นผู้เก่งทางการค้า และการใช้แรงงาน ช่างฝีมือ จึงทำให้ชาวจีนประสบผลสำเร็จทางด้านการค้าและกุมเศรษฐกิจของมลายู และเข้ามาอยู่ในมลายูมีจำนวนมากขึ้นทุกที จนกระทั้งสภาบริหารของแต่ละรัฐ ต้องมีผุ้แทนชาวจีนขึ้นประจำอยู่ 2 คน อังกฤษจึงได้ดำเนินนโยบายที่จะสงวนการเข้ารับราชการและอำนาจในการบริหารให้กับชาวมลายูเท่านั้น ตลอดจนการที่ชาวมลายูค้าขายแข่งสูชาวจีนไม่ได้ ต้องเป็นหนี้ชาวจีน ขายที่ดินและจำนองที่ดิน อังกฤษก็ได้ตั้งสหกรณ์ช่วยเหลือและห้ามชาวมลายูขายที่ดินให้กับคนต่างชาติ ต้องขายให้กับชาวมลายูเท่านั้น
         อังกฤษไม่ทำลายประเพณีและศาสนาของชาวมาเลย์ และไม่เข้ายุ่งเกี่ยวกับอำนาจหนาที่ของสุลต่าน ในเรื่องเกี่ยวกับประเพณีและศาสนา
          ความรู้สึกของชาวมาเลย์นั้นไม่ต่อต้านอังกฤษ แต่เกลียดชังชาวจีน เพราะมีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากกว่าชาวมาเลย์ ชาวมาเลย์ถือว่าตนเปนเจ้าของประเทศ มีความรู้สึกรังเกียจชาวจีน มไ่ยอมให้ชาวจีนเข้ามามีอำนาจในการบริหาร ชาวจีนเองก็ไม่สนใจการเมือง สนใจทางการค้าอย่งเดี่ยว เพราะมีความรู้สึกว่ามลายูไม่ใช่บ้านเกิดของตน สนใจที่จะส่งเงินทองกลับประเทศมากกว่า การอยู่ร่วมกนของชาวมลายูและชาวจีน ในระยะก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งยังไม่เกิดปัญหาอะไร ต่างคนต่างอยู่จะเกิดปัญหาขึ้นในระยะสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะมีชาวจีนที่เกิดในมลายูมาก พวกนี้จะยึดมลายูเป็นย้านเกิดของตน และอยากจะมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศบ้าง ทำให้เกิดการขัดแย้งกันขึ้นระหว่างชาวจีน และชาวอินเดีย จะเห็นได้จากการตั้งขบวนการชาตินิยมอันแรกเกิดขึ้นในปี 1916 มีการตั้งสมาคมชาวมาเบย์แห่งปาหัง จุดประสงค์เพื่อปรับปรุงสภาพสงคมของมลายู ให้สอดคล้องกับการปกครองของอังกฤษ เพื่อป้องกันผลประโยชน์ของตน และมีบทบาททางการเมือง ตลอดจนร่วมกันต่อต้านชาวจีนและชาวอินเดีย
          ในระยะสงครามดลกครั้งที่ 2 ญีปุ่นได้เข้าขึดครองคาบสทุรมลายู ล้าระบบการปกครองทัง 3 แบบ ของอังกฤษ ในเดือนธันว่าคม 1941 รวมเอาอินโดนีเซียและมลายูเข้าด้วยกันเป็นดินแดนในอาณานิคม สำหรับชาวมลายูนั้น ญี่ปุ่นปฏิบัติอย่างดี เช่น ให้มีส่วนร่วมในการปกครอง ให้มีตำแหน่งสำคัญในการบริหารประเทศ ส่วนชาวอินเดียก็ไดรับการสนับสนุนให้มีกลุ่มชาตินิยมสำหรับชาวจีน ญี่ปุ่นได้ทำการกดขี่ ในฐานะที่ชาวจีนเป็นผุ้กุมเศรษฐกิจของมลายา ซึ่งอาจใช้กำลังทางเศรษฐกิจที่มีอยุ่ในมือ ก่อวินาศกรรมให้แก่กำลังทัพของญี่ปุนได้เพราะฉะนั้นญี่ปุ่นจึงต้องบีบบังคับคนจีนใหปฏิบัติตามสิ่งที่ญี่ปุ่นต้องการ แต่ต้องการรักษาความเป็นจีนและตั้งตัวเป็นปฏิปักษ์ต่อญี่ปุ่น กลุ่มชาวจีนนี้ได้มีพวกคอมมูนิสต์ มลายูรวมอยู่ด้วย ทำให้ขบวนการชาตินิยมต่อต้าน ญี่ปุ่นนี้เข้มแข็ง โดยได้รับการสนับสนุนจากอังกฤฤ และฝ่ายพันธมิตร ในกาต่อต้านญี่ปุ่น กองทัพประชาชนมลายูต่ดต้านญี่ปุ่นมีผุ้นำชื่อ ชิน เพ้ง
            เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ชิน เพ้ง หวังจะได้รับการยอย่องจากอังกฤษแต่ผิดพลาด อังกฤษกลับไปยกยองตนกูอับดุลราห์มาน ขึ้นเป็นผุ้แทนของชาวมลายูทำหให้ ชิน เพ้ง นำพวกเข้าไปเป็นกองโจรคอมมูนิสต์ อังกฤษก็กลับเข้ามาครอบครองมลายูตามเดิมและเห็นว่านโยบายเดิมของตนนี้ให้ชาวมลายูเป็นข้าราชการชนชั้นปกครองเป็นเจ้าของที่นาและให้ชาวจน ชาวอินเดีย แะรกอบอาชีพค้าขาย และกิการอื่นๆ คุมเศรษบกิจของมลายูนั้นสักวันหนึ่งจะต้องมีการปะทะกันขึ้นระหว่างเชื้อชาติมลายูร่วมกันเสีย โดยประกาศรวมรัฐมาเลย์ 9 รัฐ กับปีนังและมะละกา เข้าด้วยกัน เรียกว่า สหภาพมลายัน ส่วนสิงคโปร์ ซึ่งมีชาวจีนอยุ่มาก จะให้แยกต่างหาก และอยู่ในการปกครองของอังกฤษต่อไป สุลต่านของรัฐมลายูทั้งหลายได้รับการแนะนำให้ยอมมอบอำนาจอธิปไตยที่เหลืออยู่ให้แก่กษัตริย์อังกฤษ หมายึวามว่าอังกฤษจะทำอะไรก็ได้โดยไม่ต้องปรึกษาสุลต่าน และให้บุคคลทุกคนที่เกิดในรฐต่างๆ ของคาบสมุรมลายู หรือได้มาอยู่เป็นระยะเวลา 15 ปี ได้รับสัญชาติมลายู และพ้นจากข้อจกำัดต่างๆ ทางกฎหมายที่บังคับใช้ แก่คนที่ไม่ใข่สัญชาติมลายู รัฐบาลกลางขงอังกฤษจะมีอำนาจสุงสุด ส่วนรรัฐบาลของรัฐต่างๆ จะมีอำนาจน้อยมาก
          ทันที่ที่อังกฤษ ประกาศจัดตั้งสหภาพมลายูขึ้น ก็มีการต่อต้านอย่างเปิดเผย เช่น ของชาวมลายูที่รัฐยะโฮร์ ได้รับจัดตั้งองค์การสหสชาติมาเลย์ขึ้น ต่อต้านแผนการของอังกฤษในการจัดตั้งสหภาพมลายูนอกจาชาวมลายูจะไม่พอใจแล้ว บรรดาข้าราชการชาวอังกฤษหลายคนก็มไ่สนใจการเมืองในมลายูมากกว่าสนใจในสถานการณ์บ้านเกิดของตน ทำให้พวกมลายูอ้างต่ออังกฤษได้ว่าแผนกาจัดตั้งสหภาพมลายูนั้นไม่มีใคราเห็นด้วย และการให้ชาวอินเพีย มีสทิธิเท่าเี่ยมกับคนมลายุนั้นจะทำให้คนมลายูขาดควมคุ้มครองในผลประดยชน์ของตนและดินแดนของตนที่ตังรกรากอยู่มาก่อนจะทำลายดุลยภาพอันละเอียดด่อนระหว่างกลุ่มเชื้อชาติต่างๆ ที่ประกอบเป็นประชากรมลายู
         การจัดตั้งสหภาพมลายาต้องล้มเลิกไป แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลของมลายูจะต้องมีรากฐานมาจากลักษณะของชุมชนทางเชื้อชาติของสังคม เพราะฉะนั้นเอกราชต้องมาจากผุ้ปกครองดั้งเดิมของมลายู และจะต้องมีรุปแบบสหพันธ์รัฐมลายูที่มีเสถียรภาพ ดังนั้นอังกฤศจึงได้เสนอรุปแบบการปกครองแบบสหพันธ์รัฐ โดยกำหนดหลักเกณฑ์ของบุคคลที่จะได้สัญชาตเป็นพลเมืองของสหพันะ์รัฐมลายา มากกว่าที่กำหนดไว้ในสหภาพมลายา เพื่อรักษาไว้ซึ่งสทิะิของคนมาเลย์โดยกำหนดไว้ในธรรมนูญของสหพันธ์และรัฐบาลกลางของสหพันะ์ก็ยังยอมรับอำนาจบางประการของสุลต่าน ในระดับรัฐ สุลต่านยังมีอำนาในการบริหารเกี่ยวกับเรื่องที่ดิน การศึกษาศาสนาและประเพณีของรัฐแต่จะต้องปรึกษาข้าหลวงใหญ่ในเรื่องนโยบลายของรัฐ การตั้งสหพันธ์รัฐนี้ส่วนใหญ่ไม่มีการคัดค้านเพราะชาวมลายูพึงพอใจที่อังกฤษยังสงวนสิทธิต่างๆ สำหรับคนมลายู มีบางพวกที่คัดค้านแต่ก็ไม่มีผลอะไร
           ปฏิกิริยาในหมู่ชาวมาเลย์ซึ่งลัทธิชาตินิยมซค่งเคยสงบเงียบมาเป็นเวลานานได้กิดมการร่วมกันเป็นเอกฉันท์โดยทันที่เพื่อต่อต้านการคุกคามผลประโยชน์ของชาวมาเลย์ ก่อนสงครามการก่อกวนของพวกชาตินิยมจำกัดวงกระทำกันอยู่ในหมู่พวกปัญญาชนหัวรุนแรงรุ่นใหม๋ที่จะใช่มาเป็นพวกชนชั้นสูง แต่พอถึงขณะนี้จะเห็นว่าเป็นพวกตัวแทนและผุ้นำที่เเข็งขันซึ่งเป็นชนชั้นสูงและได้รับการศึกษาจากอังกฤษ ที่สำคัญก็คือการก่อตั้งองคก์การสหพันธ์มาเลย์แห่งชาติ United Malays Natiional Organization UMNO ขึ้นใน ค.ศ. 1946 เป็นผลงานของจาฟาร์ จากยะโฮร์ ซึ่งเป็นรัฐอิสระแลเเลี้ยงตัวเองได้ดีที่สุดของกลุ่มรัฐที่ไม่เข้าร่วมสหพันธ์แต่ก่อน การเคลื่อนไหวอย่างใหม่นี้ทำให้การเช่อมโยงทางการเมืองที่ใกล้ชิดระหว่างผุ้ปกครองและประชาชนประสบความสำเร็จอย่างไม่เคยมีมาแก่ก่อนเลย การเคบื่อนไหวนี้กระตุ้นชาวมาเลย์ รวมทั้งผุ้ได้ผลประโยชน์ชาวอินเดีย และจีนของสหพันะ์มลายัง ที่มีความเฉื่อยชากับเรื่องการเมือง ให้แสดงมติมหาชนซึ่งทำให้อังกฤษต้องเลิกแผนการรวมแบบสหพันธ์ที่รุนแรงนันเสีย
          สหพันธ์รัฐมลายูเกิดขึ้นในอีก 2 ปีต่อมา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงชัยชนะที่แท้จริงสำหรับผลประโยชน์ของชาวมาเลย์ การจัดรุปการปกคอรงแบบใหม่ส่วนใหญ่หันกลับไปสุ่รูปแบบเดิมของการปกครองระบอบอาณานิคมก่อนสงคราม วางรูปอย่างยุติธรรมตามความสำคัญของรับมาเลย์แต่ละรัฐ (ทำรัฐเข้ารวมอยู่ในสหพันะ์ รวมทั้งสเตรทเซทเทิลเมนท์ ทั้ง 2 ยกเว้นสิงคโปร์) มีการคุ้มครองสิทธิของชาวมาเลย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่สำคัญๆ เช่น สิทธิการเป็นเจ้าของที่ดิน การเป็นพลเมือง การเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมทั้งเรื่องภาษาประจำชาติศาสนาด้วย (ศาสนาอิสลามได้รับการยกย่อว่าเป็นศาสนาประจำชาติ แต่ศาสนาอื่นๆ ก็ได้รับการรับรองให้มีเสรีภาพในการนับถือด้วย) สุลต่านแลผุ้ครองแค้วนแต่เดิมยังคงมีอำนาจพิเศษอยู่ ผุ้สืบราชสมบัติต่ิมาที่ได้รับการศึกษาแบบอังกฤษเข้ารับตำแหน่งต่างๆ ของการปกครองที่ศูนย์กลาง ซึ่งการปกครองระบอบอาณานิคมค่อยๆ สลายตัวไป ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1957 สหพันธรัฐมลายู ซึ่งเป็นเมืองขึ้นที่สำคัญประเทศสุดท้ายของตะวนตกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ได้รับอิสรภาพอย่างสมบูรณ์ ด้วยการส่งมอบอำนาจการปกครองโดยสันติ
         สหพันธรัฐมลายูมีระบอบการปกครองแบบพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นรูปแบที่ใช้ตามอังกฤษ โดยมีผุ้ครองแค้วนต่างๆ หมุนเวียนกันไปตามการเลือกตั้งในหมู่พวกผุ้ปกครอง้ด้วยกันเองในตำแหน่งสุงสุด คือยังดี เปอตวน อากง มีคณะรัฐมนตรีตามแบบอังกฤษเช่นกัน ดูแบรับผิดชอบสภาสามัญที่สมาชิกได้รับเลือกเข้ามาทั้งหมดตามองค์นิติบัญญติที่มี 2 สภา สภาสูงนั้นสมาชิกครึ่งหนึงได้รับาการแต่งตั้ง ลักษณะการปกครองแบบนี้เป็นของมลายูโดยเฉพาะ ที่การบริหารแบบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญเป็นไปได้เรียบร้อยในประเทศที่มีชนชาติต่างๆ ผสมปนเปกัน แม้ว่าสทิธิของชาวมาเลย์ยังคงได้รับการับรองต่อไประยะหนึ่งก็ตาม แต่พลเมืองที่เป็นชาวจีนและอินเดียยก็ได้เข้าไปร่วมในวิถีทางการเมือง
         การประนีประนอมอันสำคัญที่ทำให้สามารถแก้ปัญหาเช่นั้นได้ ขึ้นอยุ่กับพวกผุ้นำของชุมชนที่สำคัญ 2 ชุมชนด้วยกัน ตวนกู อับดุ ราห์มาน ซึ่งเป็นรัฐมนตรีคนสำคัญก่อนได้รับอิสรภาพ และเป็นนายกรัฐมนตรีหลังจากได้รับอิสรภาพแล้ว เป็นเชื้อพระวงศ์แห่งราชวงศ์เกดะห์ และเป็นนักกฎหมายที่ได้รับการอบรมจากอังกฤษ (เขาได้รับตำแหน่งประธานของ UMNO สืบต่อจาก ดะโต๊ะ อน และ ตัน เชง ล้อก ผุ้ก่อตั้งสมาคมจีน-มลายู ทั้ง 2 ท่านเป็ฯผู้วางรากฐานของพรรคพันธมิตร ซึ่งเป็นรัฐบาลผสม 3 พรรค โดยมีสภาอินเดียนมลายัน เข้าร่วมด้วย พรรคพันธมิตรนี้เป็นพรรคสำคัญในการปกครองนับตั้งแต่ทศวรรษ 1950เป็นต้นมา ผุ้นำของพรรคเป็นตัวแทนพวกจารีตนิยมอันแท้จริงของทั้ง 2 ชุมชนใหญ่ พวกชนชั้นสุงมาเลย์และชนชั้นกลางจีนที่ทำการค้าเป้นพวกที่ได้รับผลประโยชน์จากการปกครองแบบอังกฤษในแหลมมลายู คือพวกชนชั้นสุงมาเลย์ได้ทางการปกครอง ส่วนคนจีนได้ทางการเศรษฐกิจ การที่ยังคงมีความผุกพันอย่างใกล้ชิดกับอังกฤษและกับประเทศในเครือจักรภพอยู และกาเปิดให้มีการลงทุนของชาวต่างชาิตเหล่านี้เป็นส่วนที่ช่วยให้มีการสลายตัวของระบอบอาณานิคมขึ้นในมลายู
           ตนกู อับดุล ราห์มาน เป็นผุ้นำการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ และเป็นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศเกิดที่รัฐเคดาห์ เป็นบุครของเจ้าพระยาไทรบุรี สุลต่านองค์ที่ 25  แห่งรัฐเคดาหื กับมารดชาวไทย และในวัยเยาว์ เพียง 10 ขวบถูกส่งตัวมาศึกษาที่ประเทศไทย ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์ และไปสำเร็จการศึกษาด้านกฎหมายที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ จึงได้กลับไปรับราชการในรัฐเคดาห์ และตำปห่งหน้าที่ราชการสูงสุดคือประธานศาล ในช่วงเวลานั้นได้มีกลุ่มลัทธิชาตินิยมในาเลย์ ในการต่อต้านสหภาพมาลายาของอังกฤษ นำโดย ดาโต๊ะ อนจาฟาร์ นักการเมืองของมาเลเซียที่เป็นผุ้นำขององค์การประชาชาติมาเลเซียหรือเป็นหัวหร้าสาขาของพรรคอัมโนในรัฐเคดาหื์ ต่อมาได้รับเลือกให้เป็นประธานพรรคแนวร่วมแห่งสหพันะ์มาลาย คนใหม่ และดำรงตำแหน่งเป็นเวลานานถึง 20 ปีแต่อมาเป็นตัวแทนคณะผุ้แทนเจรจาขอเอกราชมาเลเซียคืนจาสหรัชอาณาจักร เมื่อมีการเลือกตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1955 พรรคของเขาได้รับชัยชนะแบบถล่มทลาย เขาจึงได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศมาเลเซีย แม้ยังอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ซึ่งเขาก็ยังคงรณรงค์ต่อสู้เรียกร้องเอกราชอย่างต่อเนื่อง จนประสบความสำเร็จและได้รับอิสรภาพคือนจากอังกฤษในวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 และต่อมา ในปี 1963 จึงได้มีการรวมรัฐซาบาห์ ซาราวัก และสิงคโปร์เขาด้วยกันเป็นประเทศมาเลเซียอย่างสมบูรณ์ นับเป็นนายกรัฐมนตรีทที่อยู่ในตำแหน่งต่อเนื่องเป็นเวลานานถึง 13 ปี


                       - www.fpps.or.th/.."วีรชนคนอาเซียน : ตนกู อับดุล รามานห์ แห่งมาเลเซีย
                       - "ประวัติศาสตร์เอเชยตะวันออกเฉียงใต้สมัยใหม่ ลัทะิอาณานิคม ลัทธิชาตินยมและการสลายตัวของลัทธิอาณานิคม" จอห์น แบสติน แฮรี่ เจ.เบ็นดา, ผู้แต่ง ชื่นจิตต์ อำไพพรรณ, ภรณี กาญจนัษฐิติ ผุ้แปล,สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2529.
                       - "ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยสังเขป" ผศ.ศิวพร ชัยประสิทธิกุล ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์ ม.รามคำแหง, 2531.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...