วันศุกร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2560

Nationalism : South East Asia

            เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นคำใหม่ที่มีความหมายรวมถึงดินแดนจากทางใต้และทางตะวันออกของเขตแดนระหว่างอินเดีย และจีน ไปถึงเวียดนามเหนือและใต้ กัมพูชา ลาว ไทย พท่า มาเลิซีย สิงคโปร์ บรูไน อินโดนีเซีย ติมอร์ของโปรตุเกส และฟิลิปปินส์ ประเทศเหล่านี้มีเนื้อที่รวมกันถึง 1.5 ล้านตารางไมล์ และมีประชากรกว่า 220 ล้านคน เกือบครึ่งหนึ่งของประชากรอาศยอยู่ตามเกาะต่างๆ 3,000 เกาะของอินโดนีเซีย นักเขียนชาวฮอลันดาในศตวรรษที่สิบเก้าได้เขียนเปรีบเทียบหมู่เกาะอินโดนีเซียรวมทั้งหมู่เกาะอี 7,000 เกาะของฟิลิปปินส์ และรัฐบอร์เหนียวในมาเลเซยว่าเป็นเสมือนสายมรกภพาดรอบเส้นศูนย์สูตร หมู่เกาะต่างๆ เหล่านี้เป็นโลกอันกว้างใหญ่ที่แยกจากแผ่นดินใหญ่จากจุดที่ใกล้ที่สุด คือ ช่องแคบมะละกาและสิงคโปร์ และจุดที่ไกลที่สุดคือทะเลจีนใต้อันกว่างใหญ่
            สำหรับแผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ในด้านภูมิศาสตร์ได้แยกออกจาส่วนอื่นของทวีปเอเชีย โดยมีทิวเขายาวเหยีดพากกั้นจากเทือกเขาหิมาลัยไปทางตะวันออกจนถึงตอนใต้ของจีน ทงด้านใต้ของเทือกเขานี้เป็นทิวเขาที่ค่อนข้างเรียบของแผ่นดินใหญ่เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในทิศทางจากเหนือลงใต้ ต่างกับเทือกเขาในหมู่เกาะที่พาดจากตะวันตกไปตะวันออกเทือกเขาที่พาดจากเหนือลงใต้ในแผ่นดินใหญ่นั้นจะเห็นได้ชัดจากเส้นทางของแม่น้ำสายยาวๆ ต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น สาละวิน เจ้าพระยา แม่โขง อิระวะดี ซึ่งไหลเป็นแนวขนานกันลงมา แม่น้ำเหล่านี้มีปริมาณน้ำ และตะกอนดินทรายมาก ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเพาระปลูกของแผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

         
          เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนหใหญ่ตั้งอยุ่ระหว่างเส้นทรอปิกออฟเเคนเซอร์ และเส้นรุ้งที่ 12 องศา ทำให้มีฝนตกชุก และเมื่อประกอบกับอุณหภูมิเฉลี่ย 80 องศาฟาเรนไฮซ์ บริเวณส่วนใหญ่จึงเป็นป่าทึบ สภาพของป่าทึบนี้เป็นเหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่ปลักดันทำให้ประชากรตั้งถ่ินฐานตามแนวแม่น้ำต่างๆ มาแต่อดีต จนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งเป็นได้ว่าแม่น้ำยังเป็นเส้นทางคมนาคมและติต่อที่สำคัญอยู่
          ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ แม่น้ำเป็นเสมือนเส้นทางที่ประชากรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้ในการอพยพลงใต้ หลังจากการอพยพของชนเผ่าดั้งเดิมคือพวกออสเตรลอยด์และนิกริโต ซึ่งยังมีหลงเหลืออยู่บ้างในออสเตรเลีย และบางส่วนของฟิลิปปินส์-อินโดนีเซีย-มาเลเซีย เผ่าที่มีอารยธรรมสูงกว่าอันได้แก่ อินโดนีเซียนหรืออสโตรนีเซียน ก็ได้เริ่มอพยพเคลื่อนย้ายอย่างช้าๆ ลงมาทางใต้-จากภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนเมืองประมาณสองสามพันปีก่อนคริสต์วรรษ สันนิษฐานกันว่า เผ่าอินโดนีเซียนนี้แยกออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มโปรโต-มาเลย์ และกลุ่มดอยเตอโร-มาเลย์ กลุ่มแรกยังมีร่อยรอยของพวกมองโกลอยด์อยู่มาก คือ กลุ่มพงกจาคุน ในมลายู พวกโตราจาน์ในสุลาเวซี่ พวกคยัคในบอร์เนียว และพวกบาตัดในสุมาตรา ส่วนกลุ่มที่สองนั้นคือ พวกสายดอยเตอโร-มาเลย์ ซึ่งไม่ใคร่จะคล้ายคลึงกันนัก จะพบในพวกชาวมลายู ในสุมาตรา และมาเลเซีย พวกชว่า พวกซุนดา พวกบาหลี พวกมาดุรา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในอินโดนเซีย และก็ยังมีพวกบิสายัน  ตาการล็อก อิโลคาโน บิโคล ปันปางัน ซึ่งอยู่ในฟิลิปปินส์
          ระยะเวลาระหว่างแลหลังจากที่ประชกรเผ่าอินโดนีเซีนได้อพยพโยกย้ายอยู่ทางใ้ทั่วไปแล้ว กลุ่มมอญออสโตร-เอเชียติก ก็ได้อพยพจากกลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าไปอยู่แถบบริเวณชายฝั่งทะเลตอนล่างของพม่า และพวกเขมรซึ่งเกี่ยวดองกันก็ได้เข้าไปอยู่ในลุ่มแม่น้ำโขง ส่วนพวกเวยดนามซึ่งมีเชื้อสายเกี่วพันกัน เมื่อหนึ่งพันปีแรกแห่งคริสกาลได้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางการเมืองและวัฒนธรรมของจีน ก็ไดอพยพลงมาทางใต้ของจีนสู่ลุ่มแม่น้ำแดง และได้ปะปนอยู่ในตอนบนของฝั่งทะเลอันนัมกับพวกจามปาซึ่งเป็นคนเผ่ามาเลโย-โปลีนีเซียน นอกจากนั้นพวกพยู และพม่า เชื้อสายแรกๆ ก็ได้เข้าไปตั้งรกรากในตอนกลางของลุ่มแม่น้ำอิระวะดีในตอนต้นๆ คริสต์ศตวรรษ และท้ายที่สุดคือพวกฉาน หรือไทยซึ่งเคยอยู่ทางตอนบนของแม่น้ำโขลและแม่น้ำแดง ก็ค่อยๆ เคลื่อนเข้าไปอยู่กระจัดกระจายระหว่างอัสสัมทางทิศตะวันตกจนถึงตังเกี๋ย และพรมแดนของกัมพุชาทางด้านตะวันออก
         แม้ว่าชนดั้งเดิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความแตกต่างกันทางด้านเชื้อชาติ แต่ก็มีรูปแบบวัฒนธรรมคล้ายคลึงกัน ดังนั้น วัฒนธรรมยุคหินกลาง ซึ่งมีเครื่องมือหินกะเทาะปลายคมแบบสิ่วขัดเกลาบ้างเล็กน้อยตามแบบแบคโซเนียน  ที่พบในตังเกี๋ย และช้ินส่วนของประดิษฐกรรมดังกล่าวที่ค้นพบในไทย มลายู สุมาตรา ได้เริ่มเปลี่ยนแปลงเป็นเครื่องมือหินขึดเรียบรูปขวานของยุคหินใหม่ ซึ่งเป็นช่วงสมัยหลังจากที่คนเผ่าอินโดนีเซียนได้อพยพลงใต้สู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในระหว่างสามถึงสองพันปีก่อนคริสต์ศักรช หม้อไหของยุคหินใหม่มีอยู่ทั่วไป และต่างก็มีลักษณะและรูปแบบดคึล้ายคลึงกัน ซ่งแสดงว่าชนเหล่านี้มีวัฒนธรรมร่วมกันเป็นเวลานานมาแล้ว และสืบเนื่องมจนสมัยใกล้คิรสต์ศตวรรษซึ่งจะเป็นยุคโลหะ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าวัฒนธรรมดองซอน ลักษณะที่เด่นของวัฒนธรรมนี้คือกลองมโหระทึกขนาดใหญ่ ซึ่งได้รับอิทะิพลจากจีน และพบอยุ่ทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในบางครั้งลวดลายศิลปะทางด้านการตกแต่งใหม่ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในหมุ่คนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในแถบอื่นๆ โดยเฉพาะบริเวณที่ติดกับจีนจะพบศิลปะแบบดองชอนที่แท้จริงมากกว่า
        เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มิได้ใช้โลหะเป็นเครื่องมือในการเพาะปลูกจนกระทั่งสมัยหลังและเมื่อมีกรเร่ิมใช้ขึ้นก็ถือได้ว่าเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาทางเศรษฐกิจของดินแดนแถบนี้ การเศรษบกิจเริ่มแรกของเอเชียตะวันออกเแียงใต้นั้นเป็ฯแบบเลี้ยงตนเองโดยสิ้นเชิง โดยยึดการล่าสัตว์และการจับปลาเป็นหลัก แต่ได้ขยายออกอย่างช้าๆ ด้วยการใช้วิธีการเพาะปลูกแบบดั้งเดิมโดยการโยกย้ายที่เพาะปลูกจากแหล่งที่ขอดความอุดมสมบุรณ์ไปถางป่าใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ในปัจจุบันการเพาะหลูกแบบนี้ยังคงมีพบอยู่โดยทั่วไปในเอเลียตะวันออกเฉียงใต้ แตในระยะต่อมาก็ได้หันไปทำการเพาะหลูกแบบนาดำ คือมีการกักน้ำไว้ในนา ซึ่งจะเห็นได้จากชวาตอนกลางเป้นต้นเครื่องมือสำคญตอนี้ได้แก่ คันไถและสัตว์เลี้ยง การตั้งหลักแหล่งอย่างถาวรและการเพ่ิมผลผลิตทางการเพาะปลูกนี้ทำให้การเศรษฐกิจที่ชะงักงันขยายตัวอก โดยการแบ่งงานกันทำอย่างง่ายๆ ในการผลิตผ้าแพรและโลหะที่ใช้ในท้องถ่ิน ในดินแดนที่มีการเพาะปลูกแบบนาดำได้จัดให้มีการควบคุมงานทดน้ำ ซึ่งยังผลให้เกิดความสามัคคีสังคม และความเป็นระเบียบทางการเมือง อย่างไรก็ตาม วิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงอย่างเบ็ดเสร็จของสงคมถือเป็นการเปลี่ยนแปลงจากระดับของสังคมและวัฒนธรรมหนึ่งไปสู่อีกระดับหนึ่งจึงยากต่อการอธิบายให้เป็นพอใจในลักษณะปัจจัยโดดๆ ได้ สังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เปลี่ยนแปลงไป และในการเปลี่ยนแปลงนั้นแนวทางที่จะปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย
              ลักษณะเด่นทางวัตถุที่เห้นได้ชัดของอารยธรรเอเชียตะวันออก ในช่วงก่อนได้รับอิทธิพลจากภายนอกโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอินเดีย ส่วนลักษณะเด่นทางจิตใจที่เห็นได้ชัดคือการการบไหว้บูชาบรรพบุรุษ การตั้งที่เคารพบูชาไว้ในที่สูงๆ ความเชื่อต่างๆ เกี่ยวกับผีสาง หรือการถือลัทธิว่ามีอำนาจร่วกันในจักรวาล คือ ภูเขาและทะเล และสิ่งที่เป้นคู่อื่นๆ อีกมากซึ่งเกี่ยวโยงกับเวทนนตร์คาถา ถึงแม้ว่าลักษณะหล่านี้จะแตกต่างกันบ้างตามท้องถิ่นต่างๆ และรับอิทธิพลของฮินดุ พุทธ อิสลาม คริสต์ เข้ามาแทรกแต่ลัษณะทั่วไปของวัฒนธรรมแบนี้ก็ยังคงมีอยุ่ให้เห็นทั่วไป และในปัจจุบันนี้เป็นลหลักฐานที่สำคัญในการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเนื้อแท้ของอินแดนแถบนี้ ไม่ใช่เพียงแต่เป็นส่วนหนึ่งของจีนหรืออินเดีย เป็นที่ยอมรับกันมากขึ้นว่า กระบวนการกระจายอิทธิพลอินเดีย ไม่ใช่การถ่ายทอดอารยธรรมอินเดียเข้าแทนวัฒนธรรมท้องถ่ินโดยนส้ินเชิง แต่เป็นกระบวนการที่ซับซ้อนเกี่ยวเนื่องกับการผสมปนเประหว่างวัฒนธรรมต่างผระเทศกับวัฒนธรรมท้องถ่ินจนเป็นลักษณะพิเศษเฉพาะของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไป
             มหาอำนาจตะวันตกซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วย โปรตุเกสอังกฤษ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ สเปน และสหรัฐอเมริกา โปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกที่เข้ามาในภูมิภาคนี้เป็นชาติแรก อังกฤษ มีอาณานิดคมประกอบด้วย พม่า มาเลเซีย สิงค์โปร ฝรั่งเศสมีเป็นเจ้าอาณานิคมของอินโดจีน หรือเรียกว่าอินโดจีนของฝรั่งเศส ประกอบด้วย เวียดนาม กัมพุชาและลาว เนเธอร์แลนด์เป็นเจ้าอาณานิคมอินโดนีเซีย สเปนเข้ามาครอบครองฟิลิปปินส์ก่อนที่พ่ายแพ้และยกฟิลิปปินส์ให้แก่สหรัฐอเมริกา
             มหาอำนาจตะวันออกได้แก่ญี่ปุ่น เข้าครอบครองดินแดนและปลดปล่อยชาวพื้นเมืองในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้จากอำนาจของตะวันตก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่เมือญีปุ่นพ่ายแพ้สงคราม ประเทศตะวันตกที่เคยเป็นเจ้าอาณานิคมก็กลับเข้าครอบครองดินแดนอีกตามเดิม
              ประเทศไทยเป็นหนึ่งในสี่ประเทศทั่วโลกที่ไม่ตกเป็นอาณานิคมของมหาอำนาจยุโรป ประเทศไทยจึงเป็นประเทศที่ได้รับความกระทบกระเทือนน้อยที่สุดจากการครอบงำของตะวันตก และป็นเพียงประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่แถบจะไม่ได้รับผลร้ายแรงจากสงครามโลก ฝ่ายทหารยอมให้อำนาจแก่ฝ่ายพลเรือนหลังจากการปฏิวัติ ค.ศ.1932 เมื่อความสัมพันธ์ญีปุ่นไทยสิ้นสุดลงในระยะปลายสงครามแปซิฟิก เรื่องนี้พิสูจน์ได้ว่าเป็นเพียงการปรับตัวในระยะหัวเลี้ยวหัว่อให้เข้ากับความจำเป็นในการเสนอให้รัฐบาลเป็นที่ยอมรับของฝ่ายสัมพันธมิตรที่ได้ชัยชนะ ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1947 คณะรัฐมนตรีพลเรือนมีนายปรีดีเป็นหัวหน้าถูกโค่นอำนาจลง และนายกรัฐมนตรีสมัยสงคราม คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เข้ายึดอำนาจ ภายหลังจอมพล ป. ถูกขับไล่ออกนอกประเทศ และมีนายทหารครอื่นๆ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไมา ฉะนั้นการที่ทหารกลับเข้ามามีอำนาจนี้ ไม่เพียงแต่จะแสดงให้เก็นว่าการเข้ามาครองตำแหน่งของพวกผุ้นำหลังปี 1932 นั้น สามารถเข้ยึดครองอำนาจทางการเมืองได้อย่างมั่นคงเท่านนั้น แต่ยังแสดงให้เห็นถึงความสามารถในทางปฏิบัติของประเทศไทยต่อสถานการณ์ระหว่างประเทศอีกด้วย
           
ประเทศบรูไน ในสมันเร่ิมแรกก่อนการเข้ามาของชาวตะวันตก เคยมีความยิ่งใหญ่ในฐานะของชาติทีเป็นมหาอำนาจมาครั้งหนึ่งในสมัยคริสตศตวรรษที่ 16 แต่จากการที่บรูไนเป็นเพียงรัฐเล็กๆ ที่ไม่มีอำนาจทางการเมืองมากเพียงพอจึงทำให้บรูไนต้องให้การยอมรับอำนาจทางการเมืองของมหาอำนาจต่างๆ ที่ผลัดเปลี่ยนแันเข้ามาครองอำนาจในภุมิภาค นับตั้งตแ่อาณาจักรศรีวิชัย ต่อมาก็อาณาจักรมัชปาหิต และสมัยของมะละกา ในฐานะรัฐเล็กๆ ที่ต้องส่งบรรณาการให้กับมหาอำไนาจเหล่านั้นตลอดมา บรูไนมีความสัมพันธ์อันดีกับจีนโดยเฉพาะทางด้านการค้า บรูไนมีการต้าขายที่เนริญรุ่งเรืองมากกับจีน และในฐานะของเมืองที่เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนสินค้าด้วยโดยเฉพาะสมัยที่อาณาจักรมะละกาเรืองอำนาจ บรูไนประสบกับความรุ่งเรืองทางการต้ามากขึ้น ในฐานะเป็นรัฐมุสลิมแบบเดียวกับมะละกา จึงนำมาซึ่งความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดมากเป็นพิเศษกับมะละกา จนทำให้บรูไนสามารถสร้างคามเข้มแข็งได้ทั้งทางด้านการเมืองและเศรษฐฏิจ
           ทันที่โปรตุเกสตะวันตกชาติแรกที่เข้ามา ทำลายความยิ่งใหญ่ของมะละกาลงได้ บรูไนจึงสามารถสร้างอำนาจให้กับอาณาจักของตนเองได้ในทันที ทำหใ้โปรตุเกสเป้นประเทศหนึ่งที่เป้นมิตรกับบรูไน จนสมารถสร้างความเข้มแข็งให้กับอาณาจักรของตนได้ จากการขยายอำนาจของบรูไนจึงใทำหใ้เกิดความขัดแย้งกับมหาอำนาจตะวันตกประเทศหนึ่งคือ สเปน เพราะขัดอย้งในเรื่องการแข่งขันกันขยายอำนาจเหนือฟิลิปปินส์ แต่บุรไนสามารถรักษาอาณาจักรของตนไวได้
           เนื่องจากปัญหาภายในและการเข้ายึดครองอำนาจของพวกดัชท์แทนโปรตุเกส มีการบังคับผุกขาดการผลิตและการค้า เศรษฐกิจและการค้าแถวหมู่เกาะต้องปยุดชะงักรวมทั้งบรูไนด้วย บรูไนจึงกลายเป้นรัฐเล็กๆ ที่ไม่สามารถต่อต้านอำนาจของพวกสลัด จนกลายเป้นศูนย์กลางการเลแกเปลี่ยนสินค้าที่ปล้นมาของพวกสลัดแทน
            และเมื่ออังกฤษเข้ามา และเป็นอีกมหาอไนาจหนึ่งที่มุ่งเข้ามเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ในภุมิภาค อังกฤษให้ความสำคัญทำการค้ากับจีนมาก จึงพยายามที่จะเข้ายึดครองแถบตะวันตกเฉียงเหนือของบอร์เหนียวเพื่อใช้เป็นเส้นทางไปค้าขายกับจีน และการยึดครองของอังกฤษบริเวณบอร์เนียวก็ปะสบผลสำเร็จ จนในที่สุดแล้วบรูไนทำสัญญาให้การยอมรับการเป็นรัฐอารักขาของอังกฤษ และได้รับเอกราชในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527
            ประเทศสิงคโปร์ เดิมทีสิงคโปร์เป็นเมืองที่ตั้งอบุ่ปลายสุดแหลมมลายู เป็นสถานพักสินค้าของพ่อค้าทั่วโลก เดิมชื่อว่า เทมาเส็ก (ทุมาสิค)มีกษัตริย์ปกครอง เมื่อโปรตุเกสเข้ายุึดมะละกาเป็นเมืองขึ้น สิงคโปร์ก็กลายเป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกสด้วยและฮอลันาเข้ามายึดจากโปรตุเกส ซึ่งชาวดัตท์มีอิทธิพลอยุ่ในมะละกาช่วงศตวรรษที่ 17 อังกฤษเริ่มสนใจสิงคโปร์เมื่อเข้ามามีอิทธิพลในแหลมมลายู อังกฤษเล็งเห็นถึงความสำคัญของ "จุดแวะพัก"ทางยุธศษสตร์ สำหรับซ่อม เติมเสบียง และคุ้มกันกองทัพเรือของอาณาจักรที่เติบโตของตน รวมถึงเพื่อขัดขวางการรุกคืบของชาวฮาลแลนด์ในภมิภาคนี้ อังกฤษแช่งขชันกับดัตช์ในเรื่องอาณานิคม อังกฤษส่งเซอร์ โทมัส แสตมฟอร์ด บิงก์เลย์ รฟเฟิลส์ มาสำรวจดินแดนแถบสิงคโปร์ ซึ่งมีสุลต่านปกครองอยู่ แรฟเฟิลส์ตกลงกับสุลต่านว่า จะตั้งสถานีการค้าของอังกฤษที่นี่ แต่สุดท้ายอังกฤษก็ยึดสิงคโปร์ไว้เป็นเมืองขึ้นได้สำเร็จ ในปี 1819 อังกฤษได้ขอเช่าเกาะสิงคโปร์จากจักรวรรดิยะโฮร์ซึ่งอยุ่ภายใต้การปกครองของฮอลันดาราฟเฟิลส์ มองเห็ฯถึงทำเลที่ตั้งที่หมาะสมจง ได้พยายามย้ายศูนย์กลางของเครือข่ายการค้าของอังกฤษมาอยุ่ที่สิงคโปร์ และทำให้เกาะแห่งนี้มีการต้าแบบเสรี
            แรฟเฟิลใช้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลายการต้ของอังกฤษกับซีกโลกตะวันออกให้เป็นสถานีการค้า นโยบายการค้าเสรีดึงดุดพ่อค้าจากทั่วทุกส่วนของเอเชียและจากที่ห่างไกลออกไป เช่น สหรัฐอเมริกาและตะวันออกกลาง อังกฤษมีสิทธิครอบครองสิงคโปร์ตามข้อตกลงที่ทำกับฮอลันดา เพียงแค่ห้าปีหลังจากนั้น ประชากรเพีิ่มขึ้นจาก 150 คนกลายเป็น 10,000 คน สิงคโปร์กลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษ สิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางรัฐบาลของถ่ินฐานข่องแคบปีนัง มะละกา และสิงคโปร์ การเปิดทำการของคลองสุเอซ สิงคโปร์ก็เปลียนแปลงไป เป็นท่าเรือนานาชาติที่สำคัญ ประกอบกับการเข้ามาของเครื่องโทรเลขและเรือกลไฟทำให้ความสำคัญของสิงคโปร์เพ่ิมขึ้นจนกลายเป็นศูน์กลางการค้าที่กำลังขยายตัวระหว่างโลกตะวันตกและตะวันออก อังกฤษยกสิงคโปร์เป็นอาณานิคม ปกครองภายใต้ระบบสเตรดส์เซ็ตเติลเมนท์ ควบคุมโดย บริษัท อินเดีย
ตะวันออกของอังกฤษ รวมถึงเกาะปีนัง (เกาะหมาก) และมะละกาด้วย
           หลังสงครามโลกครั้งที่สอง อังกฤษเข้ามาครอบครองสิงคโปร์ตามเดิม ญี่ปุ่นแพ้สงคราม ปกครองสิงคโปร์ในฐานะที่เป็นอาณานิคมแบบเอกเทศ สิงค์โปร์มีอำนาจปกครองกิจการภายในของตนเองแต่ไม่มีอำนาจดุลกิจการทหารและการต่างประเทศ และยังมีผุ้วาราชการจากอังกฤษมา ปกครองอู่ ในสภานิติบัญญัตินั้น อังกฤษเปิดโอกาสให้ประชาชนเลือกตั้งสมาชิกบางส่วน อังกฤษให้ชาวสิงคโปร์มีอำนาจและมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองมากขึ้นในช่วง 10 ปี ก่อนที่สิงคโปร์จะประกาศเป็นสาธารณะรัฐนั้น สิงคโปร์จึงอยุ่ภายใจ้กาารปกครองของรัฐบาล 3 ชุด คือ และหลังจากรัฐบาลของนาย ลี กวน ยู สิงคโปร์ได้รับอำนาจในการปกครองตนเองอย่างสมบูรณ์และนายลีได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงค์โปร์
 ช่วงที่ได้รับเอกราชจากอังกฤษและสิงคโปร์รวมอยู่เป็นรฐหนึ่งของมาเลเซีย จกาการมี่สิงคโปร์เห้นมาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษ สิงคโปร์จึงรีบขอรวมชาติเข้ากับมายา ทันที่ เพื่อจะได้ไม่เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ และอยู่ได้เพียง 2 ปี หลังจากการรวมอยุ่กับมาเลเซียไม่นาน เกิความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองขึ้นหลายครั้งประกบอกับภัยคุกคามที่เกิดจากลัทธิคิมมิวนิสต์และความสัมพันธ์ระหว่งสิงคโปร์และมลายาที่ไม่ดี โดยเฉพาะการที่สิงคโปร์ก็ไม่พอใจกับมาเลิซียมากนักในเรื่องกการเหยียดชนชาติ ในมาเลเซียคนเชื่อสายมาเย์เป็นกลุ่มใหญ่และมีอภิสทิธิ์ แต่ในสิงคโปร์ชนกลุ่มใหญ่คือคนเชื้อสายจีน ทำให้พรรคกิจประชาชน ของสิงคโปร์ประกาศให้สิงคโปร์เป็นเอกรชและแยกตัวออกจากมลายา ตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1965 ตั้งแต่บัดนั้นมาจนก่อร่างสร้าตัวเป็นรัฐบาลและชาติที่มีเอกราชในท้ายที่สุด
           มาเลเซีย เจีย บุน เคงอธิบายถึงการที่ความเป็นชาติของมาเลเซียก่อตัวและวิวัฒน์ขึ้นในทางปฏิบัติอย่างไร โดยเน้นการศึกษาไปที่การเมืองในระบบเลือกตั้ง บทบาทของนายกรัฐมนตรีที่ผท่นมา และนโยบายระดับประเทศ เจีย วิเคราะห์มาเลเซียผ่านมุมมองของ "การรับและการให้" โยศึกษาความตึงเครียดที่ดำรงอยุ่ ระหว่างแนวคิดชาตินิยมเชิงชาติพันธุ์ของชนเช้อสายมาเลย์ กับแนวคิดชาตินิยมมาเลเซีย ประเด็นข้อถกเถียงหลักที่เจียเสนอ คือ นายกรํบมนตรีที่ผท่ามาทั้ง 4 คน ล้วน "เร่ิมต้นจากการเป็นนักชาตินิยมมาเลย์ที่กีอกันคนเชื่อสายอื่นออกไป แต่ในที่สุดก็กลับหลายมาเป็นนักชาตินิยมมาเลเซียที่รวมกลุ่มชาติพันธ์ุอืนๆ เข้าไว้ด้วยกัน การที่เป็นเช่นนี้ถึงสี่ครั้งในประวัติศาสตร์ของชาติ ย่อมแสดงให้เห็นว่า รัฐชาติมาเลเซียได้พัฒนาตรรกะของตนเองขึ้น ดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่า เกตัวนัม เมลายู หรือการครอบงำทางการเมืองของกลุ่มชาติพันธ์ุมาเลย์นั้น จะยังดำรงอยุ่ตลอดไป แต่จะถูกจำกัดด้วยตรรกะดังกล่าวหนังสือของเจียเสนอความจริงด้านหนึ่งของมาเลเซีย ที่มีควมหลากหลายและความอดกลั้นทางวํมนธรรม
            สาธารณรัฐเมียนม่าร์ ขบวนการชาตินิยมในเมียนม่าร์ในระยะเริ่มแรกยังไม่ก่อตั้งขึ้นเป็นสมาคมหรือองค์กรซึ่งมีรูปแบบการจัดตั้งที่ดีพอ ในแง่การรวมกลุ่มมีสมาชิกเข้าร่วมดำเนินงานและมีนโยบายแผนงาน เป้าหมายในการเคลื่อนไหวที่สำคัคือยังมิได้มีท่าทีต้องการก่อกระแสปลุกเร้าสร้างจิตสำนึกทางการเมืองขึ้นมาร่วมกันอย่างมีน้ำหนักของความเป็นเหตุเป็นผล เพื่อให้คนส่วนใหญ่ยอมรับและสนับสนุนการเคลื่อนไหวในแต่ละครั้งแต่อันที่จริงแล้ว แม้ว่าขบวนการชาตินิยมในยะะแรกจะมิได้มีแบบแผน วิธีการเคลื่อนไหวอย่างมีจุดประสงค์ชัดเจนทางการเมือง
            ขบวนการชาตินิยมของพม่าเริ่มเกิดขึ้นเป็นทางการที่มีกาจัดตั้งและดำเนินงานอย่างได้ผลคือ สมาคม YMBA สมาคมยุวพุทธ แต่ก็ถูกจำกัดอยู่ในขอบเขตที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองโดยตรง อย่างไรก็ตามเมือสมาคมยุวพุทธเริ่มเป็นที่ยอมรับมากขึ้นเพราะมีความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมเพื่อต่อต้านเจ้าอาณานิคม โดยเฉพาะในเรื่องศาสนา จึงต้องการขยายบทบาทไปสู่กิจกรรมทางการเมืองโดยตรง ดังนันจึงมีการจัดตั้งสมาคมขึ้นใหม่ มีชื่อว่า สภาใกญ่ของสมาคมชาวพม่า GCBA การเปลีวยนแปลงสมาคม YMBA มาเป็น GCBA ต้องการต่อสู้เพื่อเอกราชของพม่า แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในด้านที่ผุ้นำของสมาคมในการต่อสุ้ยังเป็นพระสงฆ์อยู่มากเช่นเดิม ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สมาชิกมีความขัดแย้งกันเกี่ยวกับบทบาทของสงฆ์ที่มายุ่งเกี่ยวกับการเมืองเป็นการขัดวินัยสงฆ์ จึงมีผลกระทบต่อการขยายบทบาทของทางสมาคม ต่อมาบทบาทผุ้นำชาตินิยมเปลี่ยนมาเป็ฯกลุ่มผุ้นำนักศึกษาในมหาวิทยาลัยย่างกุ้งที่ตั้งขึ้นใหม่ พร้อมๆ กับการปรากฎตัวของขบวนการนักศึกษาที่เรียกว่าตัวเองว่า "ตะขิ่น" ได้กลายมาเป็นผุ้นำที่สำคัญของขบงนการชาตินิยมในเมียนม่าร์ กระทั่งสามารถดำเนินงานทางการเมืองในการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษได้สำเร็จ
           เวียดนาม ชาตินิยมในเวียดนามเป็นชาตินิยมที่มีพัฒนาการอย่างยาวนาน อันเกิดจากการค้นหาแนวทางการต่อต้านแบบใหม่ๆ หลังจากความล้มเหลวของขบวนการต่อต้านรุปแบบเก่า ดังจะเห็นว่าแรกเร่ิมนั้นศุนย์กลางชขาตินิยมของเวียดนามถูกผุกติดอยู่ราชสำนักอันเกิดขึ้นจากความไม่พอใจของขุนนางขงจื้อบางส่วนที่ถุดลดทอนบทบามและอำนาจที่เคยมี  แต่ชาติยินมลักษณะนี้มิได้เกิดจากการรวมตัวและสร้างฐานในหมู่ประชาชนมากเท่าที่ควรทั้งนี้เนื่องจากสำนึกของประชาชนต่อสังคมักดินาแบบก่อน
อาณานิคมไม่ได้ทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะชาวนาที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น จึงทำให้พลังการต่อต้านในระยะแรกนี้มีไม่มากเท่าที่ควร ส่งผลให้ชาตินิยเวียดนามในระยะแรกไม่ประสบความสำเร็จและได้ก่อเกิดการต่อต้านในรูปแบบใหม่ขึ้น พยายามเปลี่ยนแปลงการต่อต้านในรูปแบบใหม่คือพยายามสร้างฐานในปมุ่ประชาชน แต่ก็ยังไม่สามารถที่จะตัดความสำคัญของกษัตริย์ในฐานะสัญลักษณ์ของการต่อต้านได้ทั้งหมด ทั้งนี้เพราะยังคงต้องการกษัตริย์ที่จะชักจูงมวบชนและราชสำนักให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการต่อต้านได้ แต่ทว่าก็ยังไม่ามารถสร้างประชคมใหม่ในจินตนาการของประชาชนได้เท่าที่ควร อีกทั้งการต่อต้านนั้นมีลักษณะกระจายเป็นหย่อมๆ ไม่สามารถรวมตัวกันได้อย่างมีประสิทะิภาพทำให้การดำเนินการชาตินิยมในระยะนี้ขาดเอกภาพ  กระทั่งเมื่อพรรคอมมิวนิสต์อินโดจีนเกิดข้นใน ค.ศ. 1930 ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงเชิงรูปแบบชองขบวนการต่อต้าน เมื่อพรรคคอมมูนิสต์ใช้ปรัชญาตามแนวทางลัทะิมาร์กซิสต์ที่ให้ความสำคัญกับประชาช ดยเฉพาะอย่างยิ่งกับชาวนาและชนชั้นกรรมาชีพ ที่เป็นประชกรหลักของประเทศในการจัดตั้งปรชาคมใหม่ของเวียดนามเข้ามาเป็นตัวสร้างชาตินิยมให้เกิดขึ้น อันสามารถสร้างชาตินิยมในหมู่ประชาชนได้อย่างกว้าง ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคมใหม่ที่มีประชาชนเป็นตัวแสดงแทนการต่อต้านทุกรูปแบบ เกิดการเป็นการต่อสู้ของประชาชนเพื่อประชาชนของเวียดนาม จนในที่สุดนำปสู่ชัยชนะแห่งการปลกแอกตัวเองออกาจากระบอบนิคมฝรั่งเศส
             ลาว ในช่วงสงครามดลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้รุกเข้ามาในลาวและดินแดนอินโดจีนฝรั่งเศสอื่นๆ เมื่อญีุ่ป่นใกล้แพ้สงคราม ขบวนการลาวอิสระซึ่งเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อกู้เอกราชลาวในเวลานั้นประกาศเอกราชให้ประเทศลาวเป็นประเทศราชอาณาจักรลาวหลังี่ปุ่นแพ้สงคราม ฝรั่งเศสก็กลับเข้ามามีอำนาจในอินโดจีนอีกครั้งหนึ่ง แต่เนื่องจากการที่เวียดมินห์ปลดปล่อยเวียดนามได้ จึงเป็นหารสั่นคลอนอำนาจฝรั่งเศสจนยอมให้ลาวประกาศเอกราชบางส่วน และได้เอกราชสมบุรณ์ในปี 1953 ภายหลังฝรั่งเศสแพ้เวียดนามที่เดียเบียนฟู ผุ้ที่มีบทบาทในการประกาศเอกราชคือ เจ้าสุวณณภูม เจ้าเพชรราช และเจ้าสภานุวงศ์ โดยมีเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้ามหาชีวิต จากอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบางเดิมและได้รวมทั้ง 3 อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง ล้านช้างเวียงจันทน์ และล้านช้างจำปาศึกดิ์ เข้าด้วยกันเป็นราชอาณาจักรลาว ลาวอิดสะระ เป็นขบวนการต่อต้ารฝรั่งเศสเน้นชาตินิยมและไม่นิยมคอมมิวนิสต์

            กัมพูชา เขมรอิสระ เป็นกลุ่มต่อต้านฝรั่งเศสและกลุ่มชาตินิยมเขมร ก่อตั้งเมื่อพ.ศ. 2488 โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยจุดประสงค์เพื่อต่อต้านการเป็ฯอาณานิคมของฝรั่งเศสและจัดตั้งรัฐเขมรที่เป็นเอกราชอย่างไรก็ตาม ภายในกลุ่มมีความแตกแยกทางความคิดมาก สุดท้ายทำให้สมาชิกแยกตัวออกไปสมาชิกของกลุ่มหลายคนมีบทบามสำคัญในสงครามกลางเมืองกัมพูชา
            อินโดนีเซีย ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น ญี่ปุ่นอนุญาติให้ก่อตั้งศุนย์อำนาจของประชาชน ญี่ปุ่นตระหนักได้ว่างานจะสำเร็จได้จะต้องทำงานผ่านผุ้นำของคนพื้นเมือง กลุ่มผุ้นำชาตินิยม เป็ฯองค์การที่รวมนักชาตินิยมทั้งหมดไว้ ผุ้นคือ คฯต้นใบสามแฉก สีใบ คือพวกชาติยิยมชั้นนำ ได้แก่ ซุการ์โน, มุฮัมหมัด ฮัตตา, ฮัดยาร์ เทวัญ โตโร และผุ้แทนของความคิดแบบมุสลิมคือ กีอายี เอช เอ็ม มันซูร์ โดยองค์กรนี้ไดรับความเชื่อถืออย่างกว้างขวางที่จะนำไปสู่การเป็นชาติยนิยมอย่างแม้จริง
            ต่อมาญี่ปุ่นรู้ว่าตนเป็นรองในสงครามท่าทีของญี่ปุ่นที่มีต่อขบวนการชาตินิยมเริ่มเปลีี่ยนไป ญี่ปุ่นสัญญาว่าจะให้เอกราชแก่ชาวอินโดนีเซีย ซุการ์โน ร่างกฎ 5 ข้อ ซึ่งญีปุ่นก็ไม่มีท่าที่ต่อต้านใดๆ
            ในวันที่ 8 สิงหาคม 1945 หลังจากที่สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมณุครั้งแรกที่ฮิโรชิมา ซุการ์โน และฮัตตาบินไปยังศูนย์บัญชาการของญี่ปุ่นที่ไซง่อน วันที่ 11 ญี่ปุ่นยอมรับการยอมแพ้สงคราม และสัญญาว่าจะคืนเอกราชให้ในวันที่ 14 สิงหาคม  เมื่อซุการ์โน และฮัตตาหลับจากไซ่ง่อน ได้ไม่กี่วันความหวาดหวั่นว่ากลุ่มต่างๆ ในหมู่ชนชั้นสูงอาจจะกีดกันความพยยามของกันและกัน ในขณะนั้นซุการ์ไนเป็ฯผุ้นำชาตินิยมที่มีผุ้รู้จักมากที่สุดและทรงอิทธิพลมากที่สุด มีควาสำคัญต่อการปรกาศเอกราชในขณะนั้น แต่ทว่าซุการ์โนยังรีรอ กระทั่งวันที่ 17 สิงหาคม จึงได้มีการประการเอกราช "เราประชาชนอินโดนีเซีย ขอประกาศเอกราชของประเทศอินโดนีเซีย ณ บัดนี้ เกรื่องเกี่ยวกับการโอนอำนาจและเรื่องอื่นๆ จะจัดการไปเป็นลำดับและให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้"
             ฟิลิปปินส์ ขบวนการชาตินิยมในฟิลิปปินส์แบ่งออกเป็นสามระยะ ซึ่งในการจัดตั้งขบวนการชาตินิยมเองก็มีความขัดแย้ง คือ มีกลุ่มชาตินิยมปัญญาชนและกลุ่มชาตินิยมด้อยโอกาส การถึงแก่มรณกรรมของ โฮเซ่ ริชา เป็นมูลเหตุและแรงจูงใจอย่างมากต่อขบวนการชาตินิยมในฟิลิปปินส์



           - www.satrit.up.ac.th/..,ประวัติศาสตร์สิงคโปร์
           - "ประวัติเอเซึยตะวันออกเฉียงใต้โดยสังเขป"
           -  www.kyotoreview.org, ทำความเข้าใจความเป็น "มาเลเซีย"
           - digi.library.tu.ac.th/..,บทที่ 3 ขบวนการชาตินิยมของพม่า
           - www.midnighttuniv.org พัฒนาการชาตินิยมเวียดนาม
           - sites.google.com/..,ขบวนการลาวอิสระและเส้นทางสุ่เอกราชของลาว
           - www.th.wikipedia.org.., เขมรอิสระ
           - www.sac.or.th/..,อินโดนีเซีย-ประวัติศาสตร์
           - www.gotoknow.org/..,ฟิลิปปินส์ : ขบวนการชาตินิยมของชาวฟิลิปปินส์
           - "ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยใหม่ ลัทธิอาณานิคม ลัทธิชาตินิยมและการสลายตัวของลัทธิอาณานิคม"จอห์น แบสติน,แฮรี่ เจ.เบ็นดา

วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2560

Nationalism : Filipine

                                   
                                                    บทกวีที่โฮเซ่ ริซาลเขียนขึ้นในค่ำคือก่อนถูกประหาร
                                                          "คำอำลาสุดท้าย"(ถอดความจากภาษาเสน)

ลาก่อน แผ่นดินที่รักยิ่งของฉัน อินแดนแห่งดวงตะวันอันอบอุ่น
ไย่มุกแข่งทะเลบูรพา สวนอีเดนของพวกเรา
ด้วยความปิติ ฉันของมอบชีวิตที่แสนเศร้าและหมองมัวของฉันให้กับเธอ
และขอให้มันเจิดสรัสยิ่งขึ้น มีชีวิตชีวายิ่งขึ้นมากที่สุดเท่าที่มันจะมีได้
และเพื่อที่ฉันจะมอบมันหใ้กับเธอ เพื่อเธอจะได้มีความผาสุขชั่วกัปกัลป์
ในสนามรบท่ามกลางความรุนแรงของการต่อสู้
ผุ้คนมอบชีวิตให้กับเธอ โดยปราศจากความลังเลและความเจ็บปวด
ณ หนใด ไม่สำคัญ แท่นแห่งเกียรติยศ สถานที่อันศักดิสิทธิ
แดนประหาร ทุ่งร้าง เขตปรกปักษ์ หรือทัฒฑสถาน
มันไม่มีความแตกต่างกันเลย หากว่าเป็นความต้องการของมาตุภูมิ
ความตายของฉันเปรียบเสมือนแสงแรกแห่งอรุณ
และแสงเรื่องรองสุดท้ายของวารวัน ที่ส่องสว่างหลังจากค่ำคือนอันมือมน
ถ้าเธอต้องการสีเพื่อย้อมอรุณรุ่ง
รินเลือดของฉันแล้ว ระบายลงให้ทั่ว
จากนั้นจึงสาดส่องด้วยแสงแรกของแผ่นดิน
ความฝันของฉัน เมื่อแรกเติบใหญ่จากวัยเยาว์
ความฝันของฉันเมืองครั้งวัยแรกรุ่น เต็มเปี่ยมไปด้วยพลังที่จะค้นหา
เพื่อที่จะได้พบกับเธอ อัญมณีแห่งทะเลบูรพา
ดวงตาที่ดำขลับ คิ้วที่รับกับหน้าผาก ปราศจากรอยขมวด
ใบหน้าที่เรียบลื่น และผุผ่องไร้รอยราคี
ชีวิตของฉันเต็มไปด้วยจินตนาการ ความเร่าร้อนของฉัน เปี่ยมไปด้วนแรงปรารถนา
มาเถิด! มันช่างแสนหวานที่จะได้เติมเต็มในสิ่งที่เธอต้องการ
ตายเพื่อกำเนิดชีวิตให้กับเธอ อยู่ใต้ฟ้าของเธอจนลมหายใจสุดท้าย
และอยู่ใต้ผืนดินที่มีมนต์ขลังของเธอ เพื่อหลับไปชัวนิรันดร์
หากวันใดเธอเห็นสายลมพัดอยู่เหนือหลุ่มศพของฉัน
สายลมที่ผ่านพัดดอกไม้ที่เอนลู่ท่ามกลางพงหญ้าที่รกร้าง
ขอเธอนำมันมาเคียงริมผีปาก และโปรดจุมพิตดวงจิตของฉัน
ใต้หลุมศพที่หนาวเย็น ฉันจะรับรู้ได้ผ่านสายลม
ลมหายใจที่อบอุ่นของเธอ สัมผัสแห่งความรักและอาทร
ขอให้ดวงจันทร์ทอแสงนวลใยโอบไล้ฉัน
ขอให้อรุณฉายทาทางแันด้วยแสงทองของวันใหม่
ขอให้สายลมผ่านพัดเสียงครวญคร่ำ
และถ้าจะมีนกมาเกาะที่ไม่กางเขนที่เหนือหลุมศพ
ขอให้มันขับขานเพลงแห่งสันตุสุขแด่เถ้ากระดูกของฉัน
ขอให้ดวงตะวันแผดเผาไอหมอกให้ลอยขึ้นสู่ฟ้า
และด้วยเสียงตระดกนไล่หลังของฉัน จะทำให้ท้องฟ้าแจ่มใส
ขอให้เพื่อหลังน้ำตาให้กับเป้าหมายในชีิวตของฉัน
และในตอนบ่ายที่เงียบสงบเมื่อใครสักคนหนึ่งสวดภาวนา
ฉันจะภาวนาไปพร้อมกัน โอ มาตุภูมิของฉัน ขอให้ฉันได้พำนักอยู่กับพระผุ้เป็นเจ้า
และโปรดภาวนาให้กับผุ้เคราะห์ร้ายที่ได้พรากจาก
ให้กับผุ้ที่ได้รับความทุกข์ยากจากความอยุติธรรม
ให้กับเหล่าแม่ขอเราที่ต้องร้องให้ด้วยความขมขื่น
ให้กับเหล่ากำพร้าและแม่หม้าย ให้กับผุ้ที่ถูกจับไปทัฒฑ์ทรมาน
ฉันจะภาวนาพร้อมกับเธอ เพื่อให้เธอได้รับการชำระบาปจากพระองค์
และเมื่อรัตติกาลที่มือมิดปกคลุมไปทั่วสุสาน
และมีเพียงผุ้ที่ตายจาก ทอดร่างอย่างสงบอยู่ ณ ที่แห่งนี้
อย่ารบกวนการพักผ่อนของพวกเขา อย่ารบกวนความสงบสุขขดชองพวกเขา
ถ้าเธอได้ยินเสียดีดสีธเธอร์หรือเสียงพิณดังแว่วมา
นั่นคือฉันเอง แผ่นดินที่รัก ฉันกำลังบรรเลงกลุ่มเธอ
และในวันที่หลุมศพของฉันถูกลืมเลือน
ปราศจากไมกางเขนหรือป้ายบอกชื่อเป็นที่สังเกตอีกต่อไป
ขอให้มันถูกกวาดถูกขุดรื้อทิ้งไป
และขอให้เุถ้ากระดูกของฉันผุพังสูญสลาย
กลายเป็นธุลีกลับคืนสู่ผืนแผ่นดิน
ไม่เป็นไรหรอกถ้าเธอจะลืมเลือนแันไป
ในอากาศในท้องฟ้า ในหุบเขา รอบตัวเธอ ฉันจะข้ามผ่าน
ฉันจะเป็นเสียงพิสุทธิ์สำหรับเธอ
กลิ่นที่หอม แสงสว่าง สีสันอันงดงาม เสียงกระซิบ บทเพลง เสียกรน
จะคอยย้ำแก่นแท้ของศรัทธาของฉันตลอดไป
มาตุภูมิที่รักยิ่งของฉัน ผุ้ซึ่งเสียใจกับควารมทุกข์ที่ฉันได้รับ
ฟิลิปปินส์ที่รัก โปรดได้ฟังการอำลาเป็นครั้งสุดท้ายจากฉัน
ฉันต้องจากทุกคนไปแล้ว พ่อ แม่ และเธอ ที่รักของฉัน
ฉันจะไปยังสภานที่ ที่ซึ่งไม่มีใครต้องเป็นทาส ไม่มีทรราชผุ้กดขี่
ทีซึ่งศรัทะาจะไม่ถูกทำลายและที่ซึ่งปกครองดดยพระผุ้เป็นเจ้า
ลาก่อนครับพ่อ ลาก่อนครับแม่ ลาก่อนพี่น้องที่รักทุกคน
เพื่อนสมัยยังเด็ก เพื่อในที่คุทขัง
ขอบคุณที่ฉันจะได้พ้นจากวันที่น่าเบื่อหน่าย
ลาก่อน ทุกคนที่ฉันผ่านพบ เพื่อนผุ้ซึ่งทำให้ชีวิตของฉันสดใสทุกคน
ลาก่อน ผุ้เป็นที่รักของฉันทุกคน
การตายคือการพักผ่อนนิจนิรันดร์


          ปลายศตวรรษที่ 18 สเปนได้เปิดมะนิลาให้พ่อค้าชาวต่างชาติเข้ามาค้าขายไม่มช่เฉพาะชาวจีน ชาวสเปน และชาวละตินอเมริกา เหมือนเมื่อก่อน เปิดโอกาสให้อังกฤษ ฝรั่งเศสและดัทช์ เข้ามาทำให้หมู่เกาะฟิลิปปินส์ได้รับอิทธิพลจากภายนอกและรู้ความเป็นไปของชาติตะวันตกต่างๆ มกขึ้นกว่าแต่ก่อน การค้าขยายตัวเจริญมากขึ้น พื่อค้าชาวฟื้นเมืองบางคนร่ำรวยขึ้น มีโอกาสส่งบุตรธิดาของตนเข้าไปศึกษาในยุดรป เมื่อมีคการเปิดคลองสุเอช ระยะเวลาการเดินทางระหว่างยุดรปกับฟิลิปปินส์สั้นลง การเดินทางสะดวกขึ้น
        ชาวนาไม่มีสทิะิเป็นเจ้าของที่ดิน ที่ดินส่วนใหญ่เป็นของชนชั้นสูงและพวกพระเพราะกฎหมายสเปนห้ามชาวนาเป็นเจ้าของที่ดิน พระเสปนมีอภิสิทธิ์เหนือพระพื้นเมืองในการเลื่อนตำแหน่ง การกดดันทางการศึกษา เก็บค่าเล่าเรียนแพง
        เม็กซิกแยกตัวจากสเปน และการปฏิวัติในสเปน
        ที่กล่าวมานี้คือสาเหตุของการเกิดขบวนการชาตินิยมในฟิลิปปินส์ บรรดานักศึุกษาที่ไปพบเห็นระบบการปกครองในยุโรป เห็นว่าสเปนปกครองคนแตกต่างงไปจากระบบการปกครองในยุโรป ประชาชนไม่มีสทิธิและเสรีภาพ ทำให้กลุ่มนักศึกษาเร่ิมมีบทบาทในการเรียกร้องให้รัฐบาลสเปนปรับปรุงระบบการปกครองในฟิลิปปินส์ปรับปรุงสวัสดิการของคนให้ดีขึ้น
         การต่อต้านการปกครองของสเปนแบ่งเป็น 3 ระยะ
         - การกบฎและการต่ต้านระดับท้องถิ่นเกิดขึ้นอย่างประปรายยังไม่มีการรวมตัว
         - ขบวนการโฆษณาหาเสียง มุ่งที่จะให้เกิดการปรับปรุง และการปฏิรูประหว่างปี ค.ศ. 1872-1892
         - การปฏิวัติ 1892-1896
           ระยะการกบฎ เนื่องจากประชาชนไม่พอใจในระบบการปกครองของสเปนที่ปกครองอย่างกดขี่ อยุติธรรมและคนพื้นเมืองต้องเสียภาษีหนัก และถูกเกณฑ์แรงงานโดยได้รับค่าตอบแทนน้อยจึงได้รวมตัวกันเฉพาะบางแห่งก่อกบฎต่าต้าน ยังไม่มีการรวมตัวกันอย่างจริงจังเป็นขบวนการชาตินิยม ระยะของการกบฎนี้เกิดขึ้นอย่างประปรายตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ซึ่งไม่ค่อยได้ผลเท่าไรนักเพราะขาดการรวมตัวที่ดีและถูกสเปนปราบอย่างรุนแรง
          ระยะของขบวนการโฆษณาหาเสียง เนื่องจากการกบฎย่อยๆ บ่อยครั้งไม่ได้ผลเพราะขาดยุทธวิธีการรบที่ดี และขาดกำลังอาวุธทีทันสมัย และเนื่องมาจากการกบฎที่ คาวิท โดยทหารของขาวฟิลิปปินส์จำนวน 200 คนและคนงานประจำคลังสรรพาวุธไม่ได้ค่าจ้างตอบแทนโดยมีพวกพระให้ความร่วมมือด้วย เพราะมิได้รับความเสมอภาคในการแต่างตั้งตำแหน่งทางศาสนาและไม่มีเสรภาพในการแสดงความคิดเห็น กบฎครั้งนี้ถูกปราบปย่างราบคาบและถูกสเปนลงโทษอย่างรุนแรง มีทั้งจำคุก เนรเทศและประหารชีวิต ซึ่งในจำนวนผุ้ที่ถูกประหารชีวิตนี้มีพระชาวฟิลิปปินส์รวอยู่ด้วย ทำให้ประชาชนทั่วไปและกลุ่ม
ปัญญาชนเกิดความไม่พอใจ มพวกปัญญาชนที่รวมมือในการกบฎครั้งนี้หลบหนีออกนอกประเทศ ไปฮ่องกง,สิงคโปร์,ญี่ปุ่นและยุโรป ได้จัดตั้งขบวนการชาตินยิม Propanganda MovenmentW ขึ้นเป็นครั้งแรกของชาวฟิลิปปินส์ ขบวนการที่ได้ดำเนินการเรียกร้องให้สเปนปฏิรูปการปกครองและความเป็นอยู่ของชาวฟิลิปปินส์ใหดีขึ้น และได้เรียกร้องสิทธิเสมอภาค เสรภาพในกรพูด การเขียน การออกหนังสือพิมพ์ และการชุมนุมกัน นอกจากนั้นก็ให้เก็บภาษีอย่างเป็นธรรม เพราะสเปนกับคนพื้นเมืองแตกต่างกัน ขอให้ชาวฟิลิปปินส์ได้มที่นั่งในสภานิติบัญญัติของสเปน พอให้พระชาวฟิลิปปินส์ไดดำรงตำแหน่งทางสงฆ์ได้บ้าง ขบวนการนี้นอกจากจะเสนอข้อเรียกร้องต่างๆ ต่อสเปนแล้วยังสร้างความรู้สึกชาตินิยมให้กับคนพื้นเมืองอีกด้วย โดยเน้นความสำคัญของวรรณคดีและภาษาตากาล็อค ซึ่งเป็นภาษาพื้นเมืองของชาวฟิลิปปินส์ ตลอดจนพยายามสร้างความเป็ฯอันอนึ่งอันเดี่ยวกันของชาติขึ้นมา กลุ่มผุ้นำของขบวนการ นี้ประกอบด้วย ดร.ริซาล,  มาร์เซโล เดล ปิลาร์ และแกรซิโน โลเปซ แจน่า สำหรับ โฮ่เซ่ ริซล ซึ่งเป็นผุ้นำของขบวนการที่สำคัญที่สุด จบการศึกษาขึ้นต้นจากโรงเรียนของเยซูอิด ในมะนิลาและไปศึกษาต่อที่สเปน ได้รับปริญญาทางการแพทย์ เขามีความสามารถในการเขียนและมองเห็นปัญหาของชาวฟิลิปปินส์ ต้องการที่จะแก้ไขฐานะความเป็ฯอยู่ของชาวฟิลิปปินส์ งานเขียนของเขาที่เบอร์ลินบรรยายถึงความเดือดร้อยยากลำบากของชาวฟิลิปปินส์ ภายใต้การปกครองของสเปน และอีก 4 ปี ต่อมาเขาก็ได้เขียนงานออกมาอีก ซึ่งโจมตีกฎเกณฑ์ของสถาบันศาสนาสเปน
             งานเขียนของโฮเซ่ ริซาล ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางและทำให้มีการออกหนังสือพิมพ์ของขบวนการชาตินิยมขึ้นมา ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยกราเซียโอ โลเปซ เฮน่าแต่ก็ต้องปิดตัวลง โฮ่เซ่ ริซาล กลับมามะนิลาและพบว่าบทความแลการแสดงความคิดเห็นของเขามีผลกระทบกระเทือนต่อครอบครัว เขาจึงได้กลับไปยุโรป และได้เขียนบทความโจมตีสเปฯต่อไป ต่อมาพ่อแม่ของเขาถูกจับและขับออกนอกประเทศ เขากลับมะนิลาอีกครั้งปละจัดตั้งสันนิบาตฟิลิปปินส์น่าขึ้น รวมพวกกลุ่มชาตินิยมเข้าด้วยกันเรียกร้องให้รัฐบาลสเปนปฏิรูปการปกครอง โดยเฉพาะขอให้ชาวฟิลิปปินส์มีฐานะเท่าเทียมกับชาวสเปนในทางกฎหมาย ตลอดจนให้ปกครองฟิลิปปินส์ในฐานะที่เป็นมณฑลหนึ่งของสเปน ข้อเรียกร้องเหล่านี้ รัฐบาลสเปนไม่สนใจและเห็นว่า ไม่ถูกต้องจึงเนรเทศริซาล ไปอยู่ทีเกาะมินดาเนา โดยรัฐบาลสเปนมองเห็นว่าเขาเป็นพวกหัวรุนแรง เป็นผุ้บ่อนทำลายความสงบสุขของสังคม ซึ่งอันที่จริงแล้ว ริซาลมิได้เป็นคนหัวรุนแรงตามที่รัฐบาลกว่างหา ซึ่งเป้าหมายของเขาคือการแก้ไขฐานะความเป็นอยู่ของชาวฟิลิปปินส์
            การปฏิวัติ หลังจากริซาลถูกส่งตัวไปอยู่ ดาปิตันบนเกาะดามินเนาแล้ว บทบาททางการเมืองของเขาต้องหยุดลง ขบวนการชาตินิยมของเขาก็หยุดลงและกระบอกเสียงหรือหนังสือพิมพ์ต้องยุติลงไปด้วย นักชาตินิยมเริ่มมองเห็นว่าการเรียกร้องโดยสันติวิธีนั้นไม่ได้ผล เห็นว่าควรจะใช้การปฏิวัติแทนการเรียกร้องจะดีกว่า ดังนั้น จึงมีการจัดตั้งสมาคมลับขึ้นในมะนิลา เรียกว่าขบวนการ Katipunan แปลว่าชวนการที่เคารพสูงสุดของพวกฟิลิปปินส์มีเป้าหมายคือ เรียกร้องเอกราชโดยใช้กำลังและรวมชาวฟิลิปปินส์ให้เป็นอันเหนึ่งอนเดียวกัน โดยมีผุ้นำคือ บอนนิฟาซิโอ Andres Bonifacio เป็นเด็กกำพร้าและเรียนด้วยตัวเอง ทำงานเป็นเสมียนอยุ่ที่กรุงมะนิลา เขาต้องการที่จะรวมพวกกาติปูนัน ซึ่งเป็นชนชั้นผุ้น้อยด้อยการศึกษา ขาดทุนทรัพย์ และอิทธิพลเข้ากับพวก อิลบุสทราดอส ซึ่งเป็นพวกปัญญาชนชั้นสุง เพื่อรวมพลังของขบวนการชาตินิยมในฟิลิปปินส์อยู่แล้ว บอนนิฟาซิโอได้ของความเห็นและความร่วมมือจาก โฮเซ่ ริซาล ซึ่งริซาลไม่เห็นด้วยที่จะทำการปฏิวัต โดยชี้ให้เห็นว่ายังมีการเตียรมการไม่ดีพอ เช่น กำลังคนและอาวุธมีน้อย และริซาลเห็นว่าการปฏิวัติควรมาจากชนชั้นสุงที่เป็นปัญญาชน ในระหว่างนั้น รัฐบาลสเปนได้ทำการกวาดล้างจับกุมพวกขบวนการกาติปูนัน รวมทั้งตัวบอนนิฟาซิโอเองก็ถูกตามล่า  บอนนิฟาซิโอจึงไม่สามารถจะรอคอยต่อไปได้ และทำการปฏิวัติ การปฏิวัติลุกลามไปทั่ว ทางรัฐบาลสเปนได้จับ โฮเซ่ ริซาล ขณะเดินทางไปคิวบา โดยอ้างว่าเขาเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการปฏิวัติครั้งนี้ขึ้น เป็นการบ่อนทำลายการปกครองของสเปนในฟิลิปปินส์ แม้ริซาลจะปฏิเสธ แต่รัฐาลสเปนก็ไม่รับฟัง และทำการประหารเขาในปี 1896
            การตายของโฮเซ่ ริซาลทำให้กลุ่มปัญญาชนไม่อพใจและหันไปให้ความร่วมมือกับพวกกาติปูนัน ทำการต่ต้านสเปนอย่างรุนแรงมากขึ้น และได้ผุ้มีความสามารถทางการทหารมาเป็นผุ้นำในการปฏิวัติ คือ อากินาลโด Emilio Aguinado ทำให้ได้รับชัยชนะหลายครั้งและสามารถตั้งรัฐบาลขึ้นได้ที่ ทีจีรอส ในปี 1897 อากินาลโดได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี และเกิดการแตกแยกกับบอนนิฟาซิโอ ซึ่งแยกไปจัดตั้งรัฐบาลของตน แต่ถูกรัฐบาลปฏิวัติของอากินาลจับได้และประหารชีวิต ทำใหขบวนการชาตินิยมของฟิลิปปินส์แบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ กลุ่มปัญญาชน และกลุ่มชันชั้นผุ้น้อย การดำเนินการต่อต้านรัฐบาลสเปนจึงไม่ค่อยได้ผล ทางสเปนได้เปลี่ยตัวผุ้นำซึ่งเป็นผุ้ชอบการประนีประนอม และเกิดการปฏิวัติในคิวบาืสเปนจึงหันมาเจรจากับอากินาลโด และตกลงทำสัญญา แต่การทำสัญญาล้มเหลวเมื่อรัฐบาลสเปนไม่ทำตามสัญญา การต่อสู้จึงเริ่มขึ้นใหม่ในปี 1890 พวกปฏิวัติได้ผุ้ทางการทหารคนใหม่คือ พรายพล ฟรานซิโก้ มากาบูลาส และตั้งรรัฐบาลใหม่ขึ้นที่ลุซอน พอดีกับเกิดสงครามระหว่างสะเปนกำับสหรัฐอเมริกา มะนิลาถูกสหรัฐยึดได้ในวันที่ 1 พฤษภาคม 1898
           ฟิลิปปินส์ภายใต้การปกครองของสหรัฐอเมริกา ในขณะที่สเปนทำสงครามกับสหรัฐอเมริกา อเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือขบวนการชาตินิยมในฟิลิปปินส์ ทำให้อากินาลโดและพรรคพวกได้กลับเข้าฟิลิปปินส์อีกครั้ง และได้เเข้ารวมกับกลุ่มปัญญาชนเป็นผุ้นำจนสามารถจัดตั้งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ มาโลลอส เตรียมการจะประกาศเอกราชโดยหวังว่าสหรัญฯจะยินยอม ในระยะแรกอเมริกา ลังเลที่จะเข้าปกครองฟิลิปปินส์ ทางวอชิงตันส่งคณะกรรมมาธิการ 5 คน มาทำรายงานเกียวกับเรื่องนี้ และทำบันทึกเสนอต่อประธานาธิบดี แมคคินลีย์ว่า ประชาชนฟิลิปปินส์มีความต้องการจะได้เอกราช แต่ว่าประชาชนฟิลิปปินส์ยัวงไม่พร้อมที่จะปกครองตนเอง ดังนั้นสภาสูงของสหรัฐฯได้ตัดสินในให้สเปนยินยอมมอบฟิลิปปินส์ให้อยู่ภายใต้การปกครองของอเมริกาต่อไป และได้ลงนามกันในสนธิสัญญาปารีส
           การประกาศเข้าครอบครองฟิลิปปินส์ ของสหรัฐฯทำให้กลุ่มปฏิวัติและกลุ่มปัญญาชนประกาศสงครามต่อต้านสหรัฐอเมริกา แต่ก็ถูกสหรัฐฯปราบได้อย่างราบคาบ สหรัฐฯเปิดโอกาสให้ชาวฟิลิปปินส์ที่มีการศึกษาเข้ารับหน้าที่ต่างๆ แทนข้าราชการสเปนทำให้พวกปัญญาชนวางอาวุธเข้ากับสหรัฐฯ พวกด้อยการศึกษก็ถูกปราบได้ ขบวนการชาตินิยมของฟิลิปปินส์ในระยะที่สหรัฐอเมริกาเข้าปกครองได้คลายความรุนแรงลง
           สหรัฐฯวางรากฐานประชาธิไตยในฟิลิปปินส์ ปรับปรุงระบบการศึกษาภาคบังคับ ล้มศษสนจักรของสเปน และตั้งศาสนจักรใหม่ประจำชาติฟิลิปปินส์ขึ้น โดยวาติกันให้การรับรอง จัดตำแหน่งต่างๆ ทางศาสนาให้เป็นพระฟิลิปปินส์และวเนคือที่ดินของพระสเปนจัดสรรให้ประชาชน
           สงครามโลกครั้งที่ 2 ญ๊่ปุ่นเข้ายึดฟิลิปปินส์ ชาวฟิลิปปินส์ส่วนหนึ่งที่อยากได้เอกราชก็ให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่น รัฐบาลเครือจักรภพของฟิลิปปินส์หนีไปออกสเตรเลีย ต่อมาสหรัฐได้จัดตั้งรัฐบาลพลัดถ่ินให้ที่กรุงวอชิงตัน ระหว่างที่ญีุ่ปุ่น ยึดครองฟิลิปปินส์ได้มีกลุ่มชาวนาที่ไม่พอใจทำการต่อต้านญีปุ่นเป็นกองโจรฮุกบาลาฮับ ซึ่งมีพวกคอมมูนิสต์รวมอยู่ด้วย และสามารถตั้งกองบัญชาการในกาลางเกาะลูซิน.. นายพลแมคอาเธอร์ มีชัยชนะเหนือญี่ปุ่น ยกพลขึ้นบกที่เลเต้ และให้มีการเลื่อกตั้งทั่วไปในปี 1946 ฟิลิปปินส์ก็ได้เอกราช โดยมีนายมานูเอล โรซาส ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีครแรกของฟิลิปปินส์ โดยสหรับอเมริกาสัญญาว่าจะถอนทหารและฐานทัพเรือออกไป..


                    - spriezelo.blogspot.com "โฮเซ่ รีซัล วีรบุรษของชาวฟิลิปปินส์
                    - "ประวัติศาสตร์เอเซียตะวันออกเฉียงใต้โดยสังเขป", ผศ. ศิวพร ชัยประสิทธิกุล


                 -
       

วันพุธที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560

Nationalism : “Nusantara”

           “Nusantara”นูสันตารา หรือ "หมู่เกาะในภูมิภาคมลายู" ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่คาบสมุทรมลายู เกาะสุมาตรา กาลิมันตัน เรื่อยไปจนถึงปมู่เกาะทั้งหมดที่เป็นพื้นที่ของประเทศมาเลเซย บรูไน สิงคโปร์และอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และภาคใต้ของไทย
            แนวคิด นูสันตาราสะท้อนให้เห็นถึงความใกล้ชิดและการเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร คำว่า นูสันตารา เป็นคำที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรมัชปาหิต ซึ่งปรากฎอยุ่ในพงศาวดารชวา ซึ่งเป็นหนังสือที่ค้นพบที่เกาะบาหลี ในศตวรรษที่ 9 หนังสือเล่มเขียนในสมัยอาณาจักรมัชปาหิต มีความตอนหนึ่งได้กล่าวถึง กาจาห์ มาดา ผุ้นำทางทหารผุ้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นอัครมหาเสนาบดีโดยราชินีแห่งอาณาจักรมัชปาหิต กาจาห์มาคาได้ให้สัตยาบันต่อนหนึ่งไว้ว่า "ข้าจะงอเว้นความสุขทางโลกทั้งมวล จนว่าข้าจะทำให้ นูสันตาราเป็นหนึ่งเกี่ยวกัน และยังกล่วว่า "ถ้าสามารถเอาชนะหมู่เกาะฝั่งตรงข้ามได้แล้วข้จะพักผ่อน" กล่าวคือ เป็นเมืองต่างๆ ที่อยู่ล้อมรอบอาณาจักรมัชปาหิตและอาณาจักมัชปาหิตเป็นสูนย์กลางของอินแดนต่างๆ หล่านี้ ดังนั้น "นุสันตารา"ในสมัยอาณาจักมัชปาหิตจึงหมายถึงดินแดนต่างๆ หรือเกาะรอบนอกของเกาะชวานั่นเอง
           ในปี 1920 ดร.เซเทียบูดิ ได้เสนอชื่อของประเทศอินโดนีเซีย ชื่อที่เขาเสนแนั้นคือ นูสนตารา โดยได้กล่าว่าความหมายของคำว่า "นูสันตารา" ในสมัยมัชปาหิตเป็นการให้ความหมายแบบชาตินิยม แต่การให้ความหมายนี้เขากล่าวว่า "antara" มีความหมายในภาษามลายูว่า "ระหว่าง" ดังนั้นคำว่า "Nusantara"ในความหมายนี้จึงหมายถึง ดินแดนที่อยุ่ระหว่างสองทวีป สองมหาสมุทร ซึ่งจะทำให้เกาะชวาของอินโดนีเซียเป็นส่วนหนึ่งของอินแดนดังกล่าวด้วย
           ในช่วงขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชของอินโดนีเซียนี้เอง มีข้อเสนอให้มีการจัดตั้ง "มหาอาณาจักรอินโดนีเซีย"ซึ่งเหล่าบรรดานักชาตินิยมต่างๆ ได้วางโครงการประเทศอินโดนีเซียที่ประกบด้วยดินแดนมาเลเซียและดินแดนของประเทสอื่นๆ ถ้าเป็นไปได้ที่กล่าวมานี้ หมายถึง "นูสันตารา" หมู่เกาะอินโดนีเซียทั้งหมดในอดีต หรือ ดินแดนอินโดนีเซียสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งอินโดนีเซียเป็นทายาทอันชอบธรรมที่จะไ้รับอินแดนต่างๆ นอกจากนี้ ยังหมายถึงว่าอินโดนีเซียจะรวมดินแดนที่เคยอยู่ได้การยึดครองของเนเธอร์แลนด์ท้งหมดและรวมถึงรวมอินแดนของอังกฤษนมาลายาและบอร์เนียวเข้ด้วยกันกับอนิโดนีเซียอีกด้วย
           นอกจากนั้นแ้วยังได้มีการอธิบายคำว่า "นูสันตารา"ในพื้ที่ทางประวัติศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับกระแสอิสลามนิยมนั่นก็คือ ดินแดนของผุ้คนที่นับถือศาสนาอิสลามที่ครอบคลุมพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับการะแสอิสลามนิยมนั่นก็คือ ดินแดนของผุ้คนที่นับถือศสนาอิสลามที่ครอบคลุมพื้นทีทุกประเทศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทรรวมไปถึงบรรดาผุ้นำศาสนาที่มีบทบาทในการต่อสู้ปกป้องชุมชนมุสลิมบนดินแดนภาคพื้นสมุทรจากการรุกรานของอาณานิคมตะวันตก เช่นปาไซ มะละกา ชวาและที่อื่นๆ บุคคลเหล่านั้นได้รับการอธิบายว่าเป็นวีรบุรุษของ "นูสันตารา" ในฐานะผุ้ปกป้องศาสนาอิสลาม เช่นในกรณีของหะยีสุหลง อับดุล กาเอร์ ผุ้นำมลายูผุ้เรยกร้องสิทธิให้กับชาวปัตตานีจากสยาม ชื่อของ อัจญี สุหลง อับดุล กาเดร์ ก็ยังคงได้รับการเคารพและยอมรับไม่ใช่แค่ในหมู่คนในปัตตานีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกลุ่มอิสลามนิยมในคาบสมุทรมลายูและสุมาตราอีกด้วย อิทธิพลของศาสนาอิสลามทำให้ความปลากหลายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทรลดลง มีแบบแผนบางประการร่วมกนเกิดขึ้น และยังเป็นพลังขับเคลื่อนทางวัฒนธรรมในรูปแบบอื่นๆ อีกด้วย
           "นูสันตารา" ในความหมายที่กล่าวมาข้างต้นนั้นไม่ว่าจะป็นความหมายใด ก็ไม่อาจจะกำหนดขอบเขตที่แน่นอนในทางภูมิศาสตร์ ไม่มีเส้นแบ่งเขตอำนาจอธิปไตยอย่างชัดเจน และมีอาณาเขตที่กว้างไกลกว่าอาณาเขตของรัฐชาติต่างๆ ของภาคพื้นสมุทรในปัจจุบัน ซึ่งสิ่งดังกล่าวเหล่านี้สามารถที่จะทำให้มองเห็นภาพของความเป้นอันหนึ่งอันเดียวกันในพื้นที่บริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นการตอกย้ำแนวความคิดการเป็นเจ้าของในรัฐภาคพืนสมุทรของอินโดนีเซียและมาเลเซียได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
           แน่นอนว่าความเข้าใจ เรื่อง "นูสันตารา" ของทังสองประเทศจึงอยู่ในสภาพที่มีความทับซ้อนกันอยู่มาก เราจะพบว่าภายหลังจากได้รับเอกราชแล้ว "นูสันตารา" ได้กลายมาเป็นเครื่องมือทางการะมืองของเหล่าบรรดานักชาตินิยมในการปลุกกระแสชาตินิยม เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ให้กับประเทศ และยังถูกใช้แสดงอำนาจความเป็นเจ้าของเหนือดินแดนและวัฒนธรรมต่างๆ อยู่เสมอ
         ความเข้าใจเรื่อง "นูสันตารา" นำมาสู่สำนึกความเป็นเจ้าของเหนือดินแดนของทั้งสองประเทศรวมทั้งฟิลิปปินส์ด้วย และได้นำมาสู่การประจันหน้ากันระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซียภายหลงจากการที่มีความพยายามที่จะสร้างสหพันธ์มาเลเซียขึ้นมาดดยดึงเอาซาบาห์และซาราวักเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง
            ความขัดแย้งในการอ้างสิทธิความเป็นเจ้าของเหนือดินแดนทั้งทางบกและทางทะเลระหว่างมังสองประเทศก็มีอยู่บ่อยครั้ง เช่น กรณีพิพาทในบริเวณหมู่เกาะชีปาดัน และลีกีตัน ที่เป็ฯปัญหาชายแดและอธิปไตยของประเทศ ซึ่งทั้งสองประเทศต่างอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนดังกล่าว ทางอินโดนีเซียได้อ้างถึงข้อตกลงเส้นเขตแดนระหว่งอังกฤษกับดัตช์ ว่าด้วยการแบ่งสรรดินแดนบริเวณเกาะกาลิมันตัน .ึ่งหากยึดข้อตกลงตามนั้นเมือลากเส้นพรมแดนระหว่างสองประเทศที่เกาะเซบาติกและลีกีตันจะอยู่ใฝั่งเนเธอร์แลนด์และควรที่จะเป็นของอินโดนีเซียเมื่อได้รับเอกราช ส่วนพื้นที่ทางตอนเหนือของเกาะเซบาติกจะเป็นของอังกฤษ ส่วนพื้นที่ทางมาเลเซียนั้นอ้างว่าเกาะทั้งสองควรเป็นของมาเลเซียมากกว่าเนื่องจากเกาะทั้งสองเป็นมรดกตกทอดมาแต่สมัยสุชต่านซูลู หลังจากนั้นก็ตกทอดไปสู่มือสเปน และอังกฤษก็ได้เข้าครอบครองในที่สุด อย่างไรก็ดี จากปัญหาของพิพาทดังกล่าวหากใช้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์จะพบว่าดินแดนของเกาะทั้งสองนี้เป็นของประเทศมาเลเซีย
            ปัญหาความทับซ้อนระหว่างมาเลเซียอินโดนีเซียนั้นยังได้ลุกลามบานปลายไปจนถึงเรื่องวัฒนธรรม เนื่องจากภายหลังจากยุคอาณานิคมแล้วรัฐชาติที่เกิดขึ้นทังสองนี้เป็นการเกิดขึ้นโดยการสร้างพรมแดนทางการเมืองซึ่งเพิ่งเกิดใหม่ทับลงพบพรมแดนทางสังคม และงฒนธรรมที่มีอยุ่ร่วมกัน ในกรณีของ "วัฒนธรรมมลายู" การทับซ้อนของวัฒนธรรมจะโดเด่นเป็นพิเศษ เนื่องจากวัฒนธรรมมลายูเป็นรุปแบบของวัฒนธรรมที่ปรกกฎอยู่ในทังสองประเทศมีรูปแบบทางวัฒธรรมที่คบ้ายคลึงกันและมีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ร่วกัน และหากพูดถึงวัฒนธรรมมลายูนั่นไม่สามารถกล่าวได้ว่าเป็นวัฒนธรรมของประเทศใด เพราะหากนำเอาความเป็นชาติพันธหรือรากของภาษาเป็นตัวตั้งแล้วนั้นขอบเขตของโลกมลายูจะมีขอบเขตที่กว้างขวางขยายไปทั่วลบริเวณคาบสมุทรและกลุ่มเกาะรวมถึงตอนใต้ของไทยด้วยเนื่องจากพื้นที่ทางการเมืองกบพื้นที่ทางด้านวัฒนธรรมมันแยกออกจากกัน
            จึงเป็นการขึดเส้นเขตแดนทางการเมืองลงบนเขตแดนทางวัฒนธรรมที่ผุ้คนเดคยเดินทางข้ามไปข้ามาได้หรือ มีการเคลื่อนย้ายผุ้คนระหว่างกันอยู่ตลอดเวลา จนในที่สุดความทับซ้อนดักลาวได้กลายเป็นปัญหาชนชาตินิยมแบ่งเขา เบ่งเรา เพือที่จะได้รับช่องทางในการเข้าถึงทรัพยากรทางการเมือง สังคม และวัตถุต่างๆ ดังนั้น อัตลักษณ์ทางชาติพันธ์หรือการรวมกลุ่มทางชาติพันะ์จึงถุกนำมาใช้เพื่อทำให้ตนและกลุ่มตนบรรลุความต้องการในเรื่องผลประดยชน์และก่อให้เกิดสำนึกแห่งกรรมสิทธิ์การเป็นเจ้าของทางด้านวัฒนธรรมในหมู่ผุ้คนของทั้งสองประเทศเฉกเช่นเดี่ยวกับปัญหาการอ้างสิทธิเหนืดินแดนต่างๆ
            การอ้างสิทธิกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศนั้นเกิดขึ้นในหลายกรณี เช่น กรณีพิพาทเรื่องเพลง ราซา ซาแยง ที่กระทรวงการท่องเที่ยวของมาเลเซียนั้นได้นำเสนอในการโปรโมทการท่องเที่ยวของประเทศ รัฐมนตรีการท่องเที่ยวของมาเลเซียได้กล่าวว่าเป็นเพลงของคาบสมุทรมลายุ ในขณะที่ผุ้ว่าการจังหวัดมาลูกูของอินโดนีเซียได้กล่าวว่า เป็นเพลงของชาวโมลุกูของอินโดนีเซียและอินโดนีเซียจะรอบรวมหลักฐานมาเพื่อเป็นการยืนยันการเป็นเจ้าของ ซึ่งจริงแล้วนั้น เพลงนี้เป็นเพลงพื้นเมืองอันเก่าแก่ของชาวมลายูดังจึงไม่แปลกที่ต่างฝ่ายต่างอ้างเหตุผลต่างๆ เพื่อแสดงถึงความเป็นเจ้าของบทเพลงนี้
           ผ้าบาติก ซึ่งเป็นความทับซ้อนทางวัฒนธรรมระหว่างสองประเทศ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่มีร่วมกันมาอย่างยาวนานของผุ้คนครอบคลุมพื้นที่หลายๆ ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทรซึ่งวัฒนธรรมการผลิตผ้าบาติกนี้ได้ถูกอธิบายโดยศาสตรจารย์ไมเคิล ฮิทช์ค๊อด แห่งมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ว่าการผลิตผ้าบาติกที่เป็นวัมนธรรมของชาวพื้นเมืองดั้งเดิมนั้นจำแนกออกเป็น 2 สายใหญ่ของโลก สายหนึ่งมาจากหมู่เกาะชวา และอีกสายหนึ่งมาจากหมู่เกาะสุมาตรา มาเลเซีย และรอบๆ ชายแดนของมาเลเซีย ซึ่งก็ยากที่จะตัดสินว่าส่วนใดที่มีอายุเก่าแก่หว่ากัน จะเห็นได้ว่าทั้งสองประเทศมีความใกล้ชิดกันทางวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก
           จะเห็นได้ว่ามาเลเซียกับอินโดนีเซียเป็นประเทศเพื่อบ้านที่มีความกล้ชิดกนทางด้านูมิศาสตร์และวัฒนธรรมแต่ความใกล้ชิดแฝงไปด้วยความขัดยแย้งระหว่างกัน นับต้งแต่พัฒนาเป็นรัฐสมัยใหม่ขึ้นมา โดยเฉพาะประเด็นปัญหาเรื่องพื้นที่ทับซ้อน ข้อพิพาทเรื่องการอ้างสิทธิเหนือดินแดนและยังลุกลามไปจนถึงปัญหาความขัดแย้งทางวัฒนธรรม
           ความตึงเครียดในความสัมพันธ์ระหว่งมาเลเซียและอินโดนีเซียเกิดขึ้นเนื่องจากเรื่องของนโยบายและผลประโยชน์แห่งชาติ ซึ่งเป็นเรื่องที่แต่ละรัฐต่างต้องนิยามกันเอง เพราะแต่ละรัฐนั้นมีสภาวะและองค์ประกอบยบ่อยที่มีความแตกต่างกน ดังนั้นรัฐแต่ละรัฐบ่อมต้องพยายามทุกวิธีเพื่อที่จะดำรงรักษาผลประโยชน์ของชาติตนตามที่ไดนิยามวไว้ให้ได้
          ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในทางภูมิศาสตร์ การมีจุดร่วมกันในทางเชื้อชาตแ ศาสนา ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมในโลกมลายู เป็ฯสาเหตุหนึ่งที่ก่อความขัดแย้ง ส่วนหนึ่งมีสาเหตุจากความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดรเรื่องพื้นที่และาณาบริเวณ หรือ "นูสันตารา" ที่มีร่วมกันของผุ้คนที่อยุ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทรได้นำมาสู่สำนึกแ่งกรรมสิทธิ์การเป็นเจ้าของในหมู่ผู้คนของทั้งสองประเทศท้ายที่สุดก็ก่อให้เกิดปัญหาข้อพิพาท ทั้งประเด็นปัญหาการอ้างสิทธิเหนือดินแดนต่างๆ และยังลุกลามไปจนถึงเรื่องของวัฒนธรรม
          ความเข้าใจ เรื่อง "นูสันตารา" ของทั้งสองประเทศจึงอยู่ในภาพที่มีความทับซ้อนกันอยู่มาก จนกระทั่งภายหลังจากได้รับเอกราช เป็นการเกิดขึ้นจากการสร้างพรมแดนทางการเมืองซึ่งเพิ่งเกิดใหม่ทับลงบนพรมแดนทางสังคม และวัฒนธรรมที่มีอยู่ร่วมกันนั่นคือ "วัฒนธรรมมลายู" ซึ่งมีของเขตที่กว้างขวางขยายไปทั่วบริเวณคาบสมุทรและกลุ่มเกาะรวมถึงตอนใต้ของไทย เมื่องเกิดพรมแดนรัฐชาติชึ่งมันเกิดที่หลัง มันเกิดการขีดเส้นแบ่งพื้นที่และแน่นอนว่าการสร้างตัวตน หรือ อัตลักษณ์ของรัฐชาติที่เกิดขึ้นใหม่นี้ย่อมเกิดผ่านการสร้างสำนึกทางประวัติศาสตร์ที่มีความเหลื่อมล้ำทับซ้อนกันอยุ่ ทั้งทางด้านภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมจนในที่สุดความทับซ้อนดังกล่าวได้กาลายเป็นปัญหาชนชาตินิยม แบ่งเค้า แบ่งเรา การแย่งชิงเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติของตน ดังนั้นเราจะพบว่าต่อมาความเข้าใจในเรื่อง "นูสันตารา" ได้กลายเป็นเครื่องมือในทางการเมืองของเหล่าบรรดานักชาตินิยมในการปลุกกระแสชาตินิยมเพื่อแสวงหาผลประดยชน์ให้กับประเทศและยังถุกใช้แสดงอำนาจความเป็นเจ้าของเหนือดินแดนและวัฒนธรรมต่างๆ อยู่เสมอ

วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Nationalism : Sukarno

         ภายหลังสงครามนโปเลียนดัทช์ได้เข้ามาปกครองอินโดนีเซียอย่างเข้มงวดกว่าเดิม เพื่อต้งการที่ะรื้อฟื้นอำนาจ และเพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาลฮอลันดา ดัทช์ได้ตกลงทำสัญญาแบ่งเขตอิทธิพลในหมู่เกาะอินโดเนียเซีย ภายหลัง ค.ศ. 1824 ดัทช์จึงได้ใช้กำลังทหาเข้าปราบปรามดินแดนในปมุ่เกาะที่ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจของดัทช์จนปลายศตวรรษที่ 19 จึงปราบอะเจห์รัฐสุดท้ายได้อย่างราบคาบ และรวมอินแดนในหมู่เกาะนี้เขาด้วยกันเรีกว่า อินโดนีเซีย มีศุนย์กลางการปกครองอยู่ที่ปัตตาเวีย และแต่งตั้งผุ้ปกครองชาวดัทช์เข้าประจำตามเมืองต่างๆ ทั่วหมู่เกาะการต่อต้านดัทช์ของชาวพื้นเมืองเกิดขึ้นเนื่องจาก
       - ดัทช์เข้ามาปกครองอินโดนีเซีย โดยมิได้ถือว่่าเป็นส่วนหนึ่งเนเธอร์แลนด์ทั้งกฎหมายที่ใช้ปกครองก็เป็นกฎหมายที่ดัทช์ร่างขึ้น เพื่อปกครองอินโดนีเซียโดยเฉพาะ ดัทช์พยายามแยกตัวจากคนพื้นเมืองโดยถือว่าคนละชนชั้นกัน ไม่สนใจที่ยกระดับฐานะทางสังคม และความเป้ฯอยู่ให้เท่าเทียมกับชาวฮอลันดา
       - ไม่สนใจที่จะสงเสริมการศึกษาของคนพื้นเมือง เพราะถือว่าจะทำให้ปกครองยากระบบการศึกษาที่จักตั้งขึ้นก็จำกัดเฉพาะคนยุโรป ชาวดัทช์และพวกชาวอินโดนีเซียชั้นสูง คนพื้นเมืองและคนจีนต้องแสวงหาความรู้เอาเอง ชาวจีนยังดีกว่าวชาวพื้นเมืองที่มีการจัดตั้งโรงเรียนสอบภาษาจีนของตน พวกชาวอินโดนีเซียกลุ่มน้อยที่ได้รับแนวคิแบบตะวันตก ไม่มีโฮกาสจะศึกษาหาควารู้เพ่ิมเติมหนรือเข้ารับราชการ เพราะดัทช์ไม่เปิดโอกาสให้คนพื้นเมืองมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง
         - การที่ดัทช์นำนโยบายมาใช้ดดยบังคับคนพื้นเมืองผ่านสุลต่านทำให้คนพืนเมืองไม่พอใจ และนำนโยบายจริยธรรมมาใช้เพื่อแก้ไขสภาพสังคม และความเป็นอยุ่ของประชาชนให้ดีขึ้น ดัทช์ทำได้เฉพาะในเกาะชวาเท่านั้นบริเวณเกาะนอกๆ ออกไป ประชาชนยังมความเป็นอยู่เหมือนเดิม
          - การที่ดัทช์ได้เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ป่าไม้ และเหมืองแร่ พัฒนาการคมนาคม สร้างทางรถไฟ โทรเลข และโทรศัพท์ติดต่อกันอย่างทั่วถึงในหมู่เกาะทำให้ประชาชนรวมตัวกันได้มากกว่าแต่ก่อนทั้งทางด้านข่าวาร และการขนส่ง
          - การปกครองอาณานิคมของอังกฤษ ในแหลมมลายู อังกฤษให้ความคุ้มครองสิทธิของชาวมาเลย์ และดำรงรักษาขยบธรรมเนียมของมาเลย์ แต่ดัทช์กลับส่งพวกมิชชันนารีเข้าไปในดินแดนภายในหมู่เกาะ กีดกันพวกมุสลิม นอกจากนั้นการพิจารณาคอีในศาล ดัทช์ไม่ยอมรับเอากฎหมายดั้งเดิมของอินโดนีเซียมาใช้ ซึ่งบางครั้งกฎหมายของคัทช์ก็ขัดกับหลักธรรมของมุสลิม
          - อิทธิพลจากภายนอกประเทศความคิดเรื่องเสรีนิยม และสังคมนิยมแพร่หลายอยู่นยุโรปเวลานั้น ชาวฮอลันดาและชาวยุโรปได้นำเอาแนวความคิดนี้มาเผยแพร่ให้กับคนพื้นเมือง
             ลักษณะขบวนการชาตินิยม และการก่อตั้งพรรคคอมมูนิสต์ ขบวนการชาตินิยมกลุ่มแรก คือ Boedi Utomo เกิดขึ้นในชวาในปี 1980 เป็นการรวมกลุ่มของนักศึกษา, ข้าราชการ, ผุ้ดีเก่าและชาวนา ตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการศึกษาวัฒนธรรม และเศรษฐกิจของคนพื้นเมือง โดยไม่ยุ่งเกี่ยวทางด้านการเมือง ทำให้ไม่ได้รับความสนใจจากประชาชนเท่าที่ควร
            ขบวนการชาตินิยมต่อมาคคือ ซาเรแคท อิสลาม ในระยะแรกจัดตั้งขึ้นเพื่อจุดประสงค์ทางการค้าและศาสนา ดดยการค้าขายผ้าโสร่งของชวา ซึ่งพวกพ่อค้าชาวจีนและพ่อค้าต่างชาติเข้ามาปย่งทำการค้า ได้ปรับปรุงนโยบายให้มีจุดมุ่งหมายแน่นอนทางการเมืองมากขึ้น ผุ้จัดตั้งขบวนการนี้ส่วนใหย๋เป็นชนชั้นสุง และเป็นปัญญาชนผุ้ได้รับการศึกษาแบบตะวันตก ทำให้ได้รับความนิยมจากประชาชนอย่างหว้างขวาง ศูนย์กลางของขบวนการนี้อยู่ที่เมืองสุรบายา มีสาขาแยกย้ายไปตามเกาะต่างๆ ในฐานะที่เป็นองค์การทางศาสนาอิสลาม จึงมีหัวหน้าศาสนาในแต่ละท้องถ่ินเป็นผุ้แทน ทำให้ขอบเขตของขบวนการนี้แผ่ไปอย่างกว้างขวาง อุดมการณ์ยังไม่แน่นอนทางการเมือง เพราะมีจุดประสงค์ต่อต้านชนชั้นสูง แต่ก็มีหัวหน้าเป็นขุนนางและต้องปิดบังฮอลันดา ซึ่งห้ามการชุมนุมทางการเมือง แต่ก็ได้ดำเนินการเรียกร้องให้รัฐบาลฮอลันดาปฏิรูปการปกครอง ทำให้รัฐบาลฮอลันดาไม่พอใจ และพยายามทำลายความสามัคคีของบุคคลในกลุ่ม ยุให้แก่งแย่งกันเป็นผุ้นำ ซึ่งตามความจริงแล้วบรรดาผุ้นำในกลุ่ม ต่อมาขบวนการนี้ไ้แตกแยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือพวกต่อต้านคอมมูนิสต์และพวกนิยมคอมมูนิสต์ทั้งนี้เพราะการบริหารงานเปนไปอย่างหละหลวม ศูนย์กลางไม่มีการควบคุมสาขา แต่ละสาขาดำเนินงานเป็นเอกเทศ นอกจากนั้นผุ้ที่เป็นสมาชิกนั้น เป็นสมาชิกของพรรคอื่นได้ทำให้องค์การสีงคมนิยมและพวกคอมมูนิสต์ใช้ขบวนกานนี้เป็นเครื่องมือเผยแพร่อุดมการณ์ของตน และยุแหย่ให้เกิดการโจมตีสูนย์กลายที่เมืองสุรบายาด้วย  ขบวนการ ซาเรแคท อิสลาม จึงดำเนินงานไม่ได้ผล
           การจัดตั้งพรรคคอมมูนิสต์อินโดจีน ในปี ค.ศ. 1917 รัสเซียเกิดปฏิวัติ ลัทธิมาณ์คซิส ได้แพร่หล่ายเข้าไปในยุโรปและอินโดนีเซีย ในขณะนั้นกำลังรวมกันเรียกร้องให้รับฐาลฮอลันดาปฏิรูปสังคม ความคิดเรื่องสังคมนิยมก็ได้แพร่หลายเข้ามาในอินโดนีเซีย โดยนักสังคมนิยมชาวฮอลันดา เขาเป็นนักหนังสือพิมพ์ชาวฮอลันดา และเป็นสมาชิกพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยในฮอลันดาเดินทางเข้ามาทำงานหนังสือพิมพ์ในชวาภาคตะวันออก และได้จัดตั้งพรรคสังคมนิยมขึ้นเรียกว่า The Indische Social Democratische Vereening ISDV เพื่อเผยแพร่ลัทธิมาร์คในอินโดนีเซีย เพราะเชื่อว่าจะทำให้เกิดความเสมอภาคทงสังคมในการที่จะทำให้งานของเขาได้ผล เขาได้ใช้ ซาเรคาท อิสลาม เป็นเครื่องมือเพื่อจะได้มีสมาชิกเป็นอินโดนีเวียเพิ่มขึ้น สนีฟลิท ได้เผยแพร่ความคิดเรื่องสังคมนิยม ควบคู่ไปกับการกรุ้นให้คนตื่นตัวเรื่องชาตินิยมไปด้วย มีผุ้นำชาวอินโดนีเซียเลือมใสในอุดมการณืมาร์คซิส ที่เมืองซามารัง ซึ่งเมืองนี้เป็นเมืองที่มีการทำอุตสาหกรรม เป็นหัวหน้ากรรมกรอยู่ที่นี้ เขาได้เผยแพร่หลักการสังคมในหมู่กรรมกร ทำให้กรรมกรเลื่อมในมาก ต่อมา ซามวนและพวกเห็นว่า ISDV ควรจะพัฒนาขึ้น จึงเปลี่ยน ISDV เป็นพรรคคอมมิวนิสต์แห่งหมู่เกาะอินเดียตะวันออก Persikantan Kommunist India PKI ปัญหาใหญ่ คือศาสนา เพราะP.K.I. มีนโยบายที่ต่อต้านศาสนาอิสลาม พรรคคอมมิวนิสต์ทำงานไม่ได้ผลเพราะรัฐบาลฮอลนดามีกำลังเข้มแข็งกว่าตลอดจนไม่ได้รับการสนับสนุนจากชาวนาชาวไร่ ผุ้เคร่งในศาสนาอิสลาม จะได้รับการสนับสนุนเฉพาะพวกรรมการ ซึ่งก็มีจำนวนน้อย ทำให้บทบาทของพวกคอมมูนิสต์ซบเซาลง
            เกิดพรรคชาตินิยมใหม่ๆ ขึ้น ที่มีบทบาทมากขึ้นมาคือ พรรคชาตินิยมอินโดนีเซีย PNI Partai Nasional Indonesia ในปี 1927 ภายใต้การนำของซูการ์โน จะประสงค์ต้องการเอกราชอันสมบูรณ์ของชาวอินโดนเซีย และรวมชาวอินโดนีเซียทุกศาสนาและทุกเชื้อชาติเข้าด้วยกัน PNI ได้สนับสนุนให้มีการจัดตั้งธนาคาร สหกรณ์ สมาคมเยาวชน สมาคมสตรี สมาคมเกษตร ฯลฯ เป็นการรวมกลุ่มชาตินิยมกลุ่มต่างๆ เข้าด้วยกัน และมีกาตจัดตั้งโรงเรียนเอกชนขึ้น ทำให้ดัทช์ต้องขยายการศึกษาเพื่อสนองความต้องการของชาวอินโดนีเซีย และจัดตั้งมหาวิทยาลัยปัตตาเวียในปี 1941 ได้รับการสนับสนุนจากประชาชมาก เพราะมีการโจมตีรัฐบาลฮอลันดาควบคู่ไปกับการดำเนินงานจ่างๆ ดังนั้นในเดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 1929 ดัทช์จึงสั่งจับซูการ์โน และยุพรรค ทำให้PNI แตกแยกออกเป็นกลุ่มต่างๆ ขบวนการชาตินิยมในระยะสงครามโลกครั้งที่สองซึ่งแตกแยกออกเป็นหลายกลุ่มของพวกคอมมูนิสต์ PKI ซึ่งมีบทบาทขึ้นมาใหม่
            ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ล ฮาร์เบอร์ อันเป็นเหตุให้สหรัฐฯประกาศสงครามกับญี่ปุ่น ตลอดจนโจมตีอาณานิคมของอังกฤษ และฮอลันดาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระยะต้นของสงครามญี่ปุ่น ได้โฆษณาแผนการมหาเอเชียบุรพา ซึ่งมีคำขวัญว่า "เอเซียเพี่อชาวเอเชีย" โดยมีญี่ปุ่นเป็นผุ้นำประกาศให้ทุกชาติในภูมิภาคแถบนี้ร่วมมือกันทางเศรษฐกิจและเพื่อจะได้รับการร่วมมือจากชาวอินโดนีเซีย ญี่ปุ่นจึงเข้ามาสนับสนุนพวกชาตินิยม ตลอดจนมีการสนับสนนุพวกอิสลามโดยตั้งสมาคมของพวกอิสลามออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปเมืองเมกกะ แก่พวกผุ้นำของศาสนาอิสลามในแต่ละท้องถิ่น โดยที่่ญี่ปุ่นมีจุดมุ่งหมายที่จะใช้องค์กรทางศาสนาต่อต้านกับอำนาจตะวันตก
           อินโนนีเซียภายใต้การปกครองของญีปุ่นเป็นสมัยที่ความคิดชาตินิยม ตื่นตัวเป็นอย่งมากอันเป็นผลมาจากการส่งเสริมเร่งเร้าของญี่ปุ่นที่สนับสนุนความคิดที่จะต่อต้านตะวันตก และสัญญาจะให้เอกราชแก่อินโดนีเซีย โดยญี่ปุ่นก็ได้เสนอโครงการสงครามที่เรียกว่า องค์การโฮโฮ รวบรวมกรรมกรอินโดนีเซียทั้งชายหญิง ญี่ปุ่นนำมาฝึกอาวุธให้เป็นอาสาสมัครป้องกนประเทศและจัดตั้งกลุ่มเยาวชนในหมู่บ้านเพื่อใช้เป็นเครื่องมือต่อต้านตะวันตก ซึ่งต่อมากลับกลายเป็นเครื่องมือตอต้านญีปุ่นเอง เพราะว่า
          - การที่ญี่ปุ่นยืนยันที่จะให้จักรพรรดิของญีปุ่่นอยุ่ในฐานะเป็นผุ้สืบต่อของอัลล่าห์ในศาสนาอิสลาม ทำให้ชาวอินโดนีเซยผุ้นับถือพระอัลล่าห์เป็นพระเจ้าองค์เดียวไม่ยอมรับจึงปฏิเสธที่จะสนับสนุนญีปุ่่น
          - การที่ญีปุ่่นต้องการให้คนอินโดนีเซีย จงรักภักดีต่อญี่ปุ่นและจักรพรรดิญีปุ่นโดยยอมรับวัฒนธรรมญีปุ่น
          - ชาวอินโดนีเซีย ไม่พอใจที่ญี่ปุ่นพยายามจะยอเลิกใช้ตัวอักษรอารบิคและหันมาใช้อักษรญีปุ่่นแทน
          - บังคับใช้แรงงานประชาชน และความต้องการข้าวจากอินโดนีเซีย ในการสนับสนนุสงคราม
           ดังนั้น ปลายปี 1943 เมื่อมีการรวมตัวกันต่อต้านญี่ปุ่นก็มีกลุ่มอิสลาม กลุ่มมาร์คซิส และกลุ่มชาตินิยมหัวรุนแรงได้ดำเนินการใต้ดินต่อต้านญี่ปุ่น และต่อสุ้เพื่อความเป็นเอกราชของอินโดนีเซีย โดย ซูการ์โน ได้ประกาศหลักปัญจศีล เพื่อเป็นพื้นฐานการปกครองของอินโดนีเซียเมื่อได้เอกราช
          ชาตินิยม ซุาการ์โนประกาศว่า ชาวอินโดนีเซียทุกหมู่ทุกเหล่าไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของประเทศต้องแต่เกาะซาบัง ถึง นิวกีนีตะวันตกเป็นชาติเดียวกันมีความเป็นอันหนึ่งเดียวกัน และพร้อมใจที่จะอยุร่วมเป็นชาติเดียวกัน นานาชาตินิยม ต้องยอมรับในชาติอืนและการคงอยู่ของแต่ละชาติ การปกครองโดยทางผุ้แทน ชาวอนิโดนีเซียทุกคนไม่ว่ายากจนหรือร่ำรวย ย่อมมีสทิธิเท่ากันในการเลือผุ้แทนเข้าไปทำหน้าที่แทนตนและความเสมอภาคทางสังคม ระบอบประชาธิปไตยที่จะใช้ในอินโดนีเซียในระยะเวลาต่อมา ซูกาณ์โนบอกว่า ต้องเป็นประชาธิปไตยแบบมีผุ้นำ เชื่อมั่นในพระเจ้า ชาติอินโดนีเซีย จะไม่มีการกีดกนการนับถือศาสนแต่อย่างใดหลักปัจศีลนี้เป้นอุดมการ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดในอินโดนีเซีย และได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญของอินโดนีเซีย
           ในเดือนสิงหาคม 1945 ญีปุ่นได้ยินยอมให้มีกาจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อเกราชขึ้นมีซูกาณ์โน เป็นประธานและฮัตตา เป็นรองประธานจากการประชุมที่ไซ่ง่อน ญี่ปุ่นห้คำสัญญาแก่ซูการ์โน และฮัตตาว่าจะประกาศเอกราชของอินโดนีเซียแต่ทางขบวนการชาตินิยมของอินโดนีเซียสืบทราบว่า ญี่ปุ่นจะแพ้สงครามจึงรีบประกาศเอกราชให้กับอินโดนีเซีย ในวันที่ 18 สิงหาคม 1945 ตั้งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย มีซูการ์โนเป็นประธานาธิบดีและฮัตตาเป็นรองประธานาธิบดี แต่การต่อสุเื่อเอกราชของอินโดนีเซียยังไม่สิ้นสุด เนื่องจากภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ฮอลนดาประกาศกลับมายึดครองอินโดนีเซียตามเดิม และได้เจรจาสงบศึกในสัญญาลิงกัตจาตี ตกลงใหสาธารณรัฐอินโดนีเซียมีอำนาจเต็มในชวา และสุมาตรา แต่ฮอลันดาละเมิดข้อตกลงรุกรานอินโดนีเซียต่อไปอีก ต่อมาสหรัฐอเมริกาและสหประชาาติได้จัดประชุมที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยเชิญผุ้แทนของฮอลแลนอ์และอินโดนีเซีย ผลของการประชุม ฮอลันดายอมมองเอกราชให้อินโดนีเซียอย่างสมบูรณ์ในปี ค.ศ.1949


             - "ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกโดยสังเขป" ผศ.ศิวพร ชัยประสิทธิกุล,2543.

Nationalism : Malayu

           การปกครองของอังกฤษในมลายูมีหลายรูปแบบ ต่างจากการปกครองพม่าและอินเดีย เนื่องจากอาณานิคมนี้ได้มาจากการเจรจาตกลงแบ่งเขตอิทธิพลกับฮอลันดา ด้วยการทำสนธิสัญญากับไทย อังกฤษได้สร้างความเจริญให้แก่มลายู ในด้านการปกครอง สังคมและเศรษฐกิจ ทำให้ชาวมลายู่ได้รับความสะดวกสบาย และสงบสุขมากกว่าเดิม ขบวนการชาตินิยมในมลายูจึงเกิดขึ้นช้ากว่าในดินแดอื่นๆ แต่ก็ยังมีขบวนการชาตินิยม ทำสงครามกองโจรต่อต้านอังกฤษ ทำให้เกิความไใาสงบขึ้นในประเทศ เนื่องจากมีพลเมืองประกอบด้วยชนชาติ และนับถือศาสนาที่แตกต่างกัน ทำให้อังกฤษต้องใช้วิะีการปกครองและใช้กำลังเข้าควบคุม ให้ประชาชนอยู่ในความสบล กระทรั่งในที่สุดอังกฤษได้แบ่งการปกครองออกเป็น 3 รูปแบบคือ
           - สเตรท เซทเทิลแมนท์ มีข้าหลวงปกครองโดยตรง ได้แก่ ปีนัง มะละกา สิงคโปร์ โปรวินส์และเวสลีย์
           - สหพันธรัฐ ประกอบด้วย เประ ปะหัง สลังงอ และเนกรีเซมบิลัน ซึ่งมีสุลตานเป็นประมุข มีข้าหลวงอังกฤษเป็นที่ปรึกษางานของรัฐบาล
           - รัฐนอกสหพันธ์ ได้แก่ ไทรบุรี เคดะห์ กลันตัน ตรังกานู ปะลิส และยะโฮร์ อยู่ในฐานะรัฐในอารักขาของอังกฤษ
          ขบวนการชาตินิยมในมลายูนั้นเกิดขึ้นอย่างล่าช้ากว่าแห่งอื่น และเกิดขึ้นอย่างมีวิวัฒนาการ ทั้งนี้มลายูไม่มีปัญหาด้านการปกครอง และเศรษฐกิจ อย่างประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอาจเป็นเพราะคนมลายู่ส่วนใหย๋พอใจกับระบบการปกครองของอังกฤษ อังกฤษมีนโยบายที่ผ่อนผัน และยือหยุนสำหรับการปครองในมาเลย์ ดินแดนใดที่ตกเป็นของอังกฤษด้วยความเต็มใจ ดดยอังกฤษ เช่าหรือซื้อ อังกฤษก็ทำการปกครองทางตรง ตินแดนใดที่ชักชวยให้อังฏษเข้าแทรกแซง จนอังกฤษได้เป็นกรรมสิทธิ์อังกฤษก็ปกครองทางอ้อม โดยมีเจ้าหน้าที่อังกฤาเข้าควบคุมนดยบายต่างๆ ส่วนดินแดนใดที่ไม่เต็มใจ การปกครองกันเอง อังกฤษไม่เข้าไปยุ่งมากนอกจากนั้นนโยบายการปกครองของตัวเอง ที่ทำให้ขบวนการชาตินิยมที่ต่อต้านอังกฤษเกิดขึ้นช้าคือ
            การปรับปรุงทางการเมือง เป็ดโอกาสให้ลูกหลานชั้นสูงชาวมาเลย์ได้รับการศึกษและฝึกฝนการเข้ารับราชการในหน่วยบริหารท้องถิ่น ของสหพันธ์รัฐมลายูและนอกสหพันธ์รัฐมลายู แม้ว่ากลุ่มผ้นำชาวมาเล จะรับราชการในตำแหน่งที่ด้อยกว่าอังกฤษ ก็ยังมีประโยชน์ในด้านการฝึกฝนการปกครองตนเอง และมีโอกาสดีกว่าชาวจีน ชาวอินเดีย
           การปรับปรุงทางเศรษฐกิจ อังกฤษปรับปรุงทั้งทางด้านคมนาคมและสาธารณสุขคือสร้างถนน, สร้างทางรถไฟ,ดรงพยาบาล ส่งเสริมการลงทุนในมลายมากขึ้น บางรัฐของมลายูมีกรพัฒนาทางเศรษฐกิจสุง คือ ยะโฮร์ อังกฤษได้มาลงทุนทางด้านการทำเหมืองแร่ดีบุก ตั้งเครื่องจักรถลุงแร่ ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางการถลุงดีบุกของโลก นอกจากนั้นยังส่งเสริมการปลูกยาง ทำใ้ห้คนเพื้นเมืองชาวจีนและชาวอินเดียมีรายได้เพื่อมขึ้น
          นโยายด้านรักษาสทิธิของคนมาเลย์ การที่อังกฤษมีนโยบายการค้าเสร ละปรับปรุงด้านเศรษฐกิจของมลายู จึงทำให้คนจีนอพยพเข้ามาอยู่ในมลายูมากขึ้น ประกบกับชาวจีนเป็นผู้เก่งทางการค้า และการใช้แรงงาน ช่างฝีมือ จึงทำให้ชาวจีนประสบผลสำเร็จทางด้านการค้าและกุมเศรษฐกิจของมลายู และเข้ามาอยู่ในมลายูมีจำนวนมากขึ้นทุกที จนกระทั้งสภาบริหารของแต่ละรัฐ ต้องมีผุ้แทนชาวจีนขึ้นประจำอยู่ 2 คน อังกฤษจึงได้ดำเนินนโยบายที่จะสงวนการเข้ารับราชการและอำนาจในการบริหารให้กับชาวมลายูเท่านั้น ตลอดจนการที่ชาวมลายูค้าขายแข่งสูชาวจีนไม่ได้ ต้องเป็นหนี้ชาวจีน ขายที่ดินและจำนองที่ดิน อังกฤษก็ได้ตั้งสหกรณ์ช่วยเหลือและห้ามชาวมลายูขายที่ดินให้กับคนต่างชาติ ต้องขายให้กับชาวมลายูเท่านั้น
         อังกฤษไม่ทำลายประเพณีและศาสนาของชาวมาเลย์ และไม่เข้ายุ่งเกี่ยวกับอำนาจหนาที่ของสุลต่าน ในเรื่องเกี่ยวกับประเพณีและศาสนา
          ความรู้สึกของชาวมาเลย์นั้นไม่ต่อต้านอังกฤษ แต่เกลียดชังชาวจีน เพราะมีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากกว่าชาวมาเลย์ ชาวมาเลย์ถือว่าตนเปนเจ้าของประเทศ มีความรู้สึกรังเกียจชาวจีน มไ่ยอมให้ชาวจีนเข้ามามีอำนาจในการบริหาร ชาวจีนเองก็ไม่สนใจการเมือง สนใจทางการค้าอย่งเดี่ยว เพราะมีความรู้สึกว่ามลายูไม่ใช่บ้านเกิดของตน สนใจที่จะส่งเงินทองกลับประเทศมากกว่า การอยู่ร่วมกนของชาวมลายูและชาวจีน ในระยะก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งยังไม่เกิดปัญหาอะไร ต่างคนต่างอยู่จะเกิดปัญหาขึ้นในระยะสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะมีชาวจีนที่เกิดในมลายูมาก พวกนี้จะยึดมลายูเป็นย้านเกิดของตน และอยากจะมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศบ้าง ทำให้เกิดการขัดแย้งกันขึ้นระหว่างชาวจีน และชาวอินเดีย จะเห็นได้จากการตั้งขบวนการชาตินิยมอันแรกเกิดขึ้นในปี 1916 มีการตั้งสมาคมชาวมาเบย์แห่งปาหัง จุดประสงค์เพื่อปรับปรุงสภาพสงคมของมลายู ให้สอดคล้องกับการปกครองของอังกฤษ เพื่อป้องกันผลประโยชน์ของตน และมีบทบาททางการเมือง ตลอดจนร่วมกันต่อต้านชาวจีนและชาวอินเดีย
          ในระยะสงครามดลกครั้งที่ 2 ญีปุ่นได้เข้าขึดครองคาบสทุรมลายู ล้าระบบการปกครองทัง 3 แบบ ของอังกฤษ ในเดือนธันว่าคม 1941 รวมเอาอินโดนีเซียและมลายูเข้าด้วยกันเป็นดินแดนในอาณานิคม สำหรับชาวมลายูนั้น ญี่ปุ่นปฏิบัติอย่างดี เช่น ให้มีส่วนร่วมในการปกครอง ให้มีตำแหน่งสำคัญในการบริหารประเทศ ส่วนชาวอินเดียก็ไดรับการสนับสนุนให้มีกลุ่มชาตินิยมสำหรับชาวจีน ญี่ปุ่นได้ทำการกดขี่ ในฐานะที่ชาวจีนเป็นผุ้กุมเศรษฐกิจของมลายา ซึ่งอาจใช้กำลังทางเศรษฐกิจที่มีอยุ่ในมือ ก่อวินาศกรรมให้แก่กำลังทัพของญี่ปุนได้เพราะฉะนั้นญี่ปุ่นจึงต้องบีบบังคับคนจีนใหปฏิบัติตามสิ่งที่ญี่ปุ่นต้องการ แต่ต้องการรักษาความเป็นจีนและตั้งตัวเป็นปฏิปักษ์ต่อญี่ปุ่น กลุ่มชาวจีนนี้ได้มีพวกคอมมูนิสต์ มลายูรวมอยู่ด้วย ทำให้ขบวนการชาตินิยมต่อต้าน ญี่ปุ่นนี้เข้มแข็ง โดยได้รับการสนับสนุนจากอังกฤฤ และฝ่ายพันธมิตร ในกาต่อต้านญี่ปุ่น กองทัพประชาชนมลายูต่ดต้านญี่ปุ่นมีผุ้นำชื่อ ชิน เพ้ง
            เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ชิน เพ้ง หวังจะได้รับการยอย่องจากอังกฤษแต่ผิดพลาด อังกฤษกลับไปยกยองตนกูอับดุลราห์มาน ขึ้นเป็นผุ้แทนของชาวมลายูทำหให้ ชิน เพ้ง นำพวกเข้าไปเป็นกองโจรคอมมูนิสต์ อังกฤษก็กลับเข้ามาครอบครองมลายูตามเดิมและเห็นว่านโยบายเดิมของตนนี้ให้ชาวมลายูเป็นข้าราชการชนชั้นปกครองเป็นเจ้าของที่นาและให้ชาวจน ชาวอินเดีย แะรกอบอาชีพค้าขาย และกิการอื่นๆ คุมเศรษบกิจของมลายูนั้นสักวันหนึ่งจะต้องมีการปะทะกันขึ้นระหว่างเชื้อชาติมลายูร่วมกันเสีย โดยประกาศรวมรัฐมาเลย์ 9 รัฐ กับปีนังและมะละกา เข้าด้วยกัน เรียกว่า สหภาพมลายัน ส่วนสิงคโปร์ ซึ่งมีชาวจีนอยุ่มาก จะให้แยกต่างหาก และอยู่ในการปกครองของอังกฤษต่อไป สุลต่านของรัฐมลายูทั้งหลายได้รับการแนะนำให้ยอมมอบอำนาจอธิปไตยที่เหลืออยู่ให้แก่กษัตริย์อังกฤษ หมายึวามว่าอังกฤษจะทำอะไรก็ได้โดยไม่ต้องปรึกษาสุลต่าน และให้บุคคลทุกคนที่เกิดในรฐต่างๆ ของคาบสมุรมลายู หรือได้มาอยู่เป็นระยะเวลา 15 ปี ได้รับสัญชาติมลายู และพ้นจากข้อจกำัดต่างๆ ทางกฎหมายที่บังคับใช้ แก่คนที่ไม่ใข่สัญชาติมลายู รัฐบาลกลางขงอังกฤษจะมีอำนาจสุงสุด ส่วนรรัฐบาลของรัฐต่างๆ จะมีอำนาจน้อยมาก
          ทันที่ที่อังกฤษ ประกาศจัดตั้งสหภาพมลายูขึ้น ก็มีการต่อต้านอย่างเปิดเผย เช่น ของชาวมลายูที่รัฐยะโฮร์ ได้รับจัดตั้งองค์การสหสชาติมาเลย์ขึ้น ต่อต้านแผนการของอังกฤษในการจัดตั้งสหภาพมลายูนอกจาชาวมลายูจะไม่พอใจแล้ว บรรดาข้าราชการชาวอังกฤษหลายคนก็มไ่สนใจการเมืองในมลายูมากกว่าสนใจในสถานการณ์บ้านเกิดของตน ทำให้พวกมลายูอ้างต่ออังกฤษได้ว่าแผนกาจัดตั้งสหภาพมลายูนั้นไม่มีใคราเห็นด้วย และการให้ชาวอินเพีย มีสทิธิเท่าเี่ยมกับคนมลายุนั้นจะทำให้คนมลายูขาดควมคุ้มครองในผลประดยชน์ของตนและดินแดนของตนที่ตังรกรากอยู่มาก่อนจะทำลายดุลยภาพอันละเอียดด่อนระหว่างกลุ่มเชื้อชาติต่างๆ ที่ประกอบเป็นประชากรมลายู
         การจัดตั้งสหภาพมลายาต้องล้มเลิกไป แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลของมลายูจะต้องมีรากฐานมาจากลักษณะของชุมชนทางเชื้อชาติของสังคม เพราะฉะนั้นเอกราชต้องมาจากผุ้ปกครองดั้งเดิมของมลายู และจะต้องมีรุปแบบสหพันธ์รัฐมลายูที่มีเสถียรภาพ ดังนั้นอังกฤศจึงได้เสนอรุปแบบการปกครองแบบสหพันธ์รัฐ โดยกำหนดหลักเกณฑ์ของบุคคลที่จะได้สัญชาตเป็นพลเมืองของสหพันะ์รัฐมลายา มากกว่าที่กำหนดไว้ในสหภาพมลายา เพื่อรักษาไว้ซึ่งสทิะิของคนมาเลย์โดยกำหนดไว้ในธรรมนูญของสหพันธ์และรัฐบาลกลางของสหพันะ์ก็ยังยอมรับอำนาจบางประการของสุลต่าน ในระดับรัฐ สุลต่านยังมีอำนาในการบริหารเกี่ยวกับเรื่องที่ดิน การศึกษาศาสนาและประเพณีของรัฐแต่จะต้องปรึกษาข้าหลวงใหญ่ในเรื่องนโยบลายของรัฐ การตั้งสหพันธ์รัฐนี้ส่วนใหญ่ไม่มีการคัดค้านเพราะชาวมลายูพึงพอใจที่อังกฤษยังสงวนสิทธิต่างๆ สำหรับคนมลายู มีบางพวกที่คัดค้านแต่ก็ไม่มีผลอะไร
           ปฏิกิริยาในหมู่ชาวมาเลย์ซึ่งลัทธิชาตินิยมซค่งเคยสงบเงียบมาเป็นเวลานานได้กิดมการร่วมกันเป็นเอกฉันท์โดยทันที่เพื่อต่อต้านการคุกคามผลประโยชน์ของชาวมาเลย์ ก่อนสงครามการก่อกวนของพวกชาตินิยมจำกัดวงกระทำกันอยู่ในหมู่พวกปัญญาชนหัวรุนแรงรุ่นใหม๋ที่จะใช่มาเป็นพวกชนชั้นสูง แต่พอถึงขณะนี้จะเห็นว่าเป็นพวกตัวแทนและผุ้นำที่เเข็งขันซึ่งเป็นชนชั้นสูงและได้รับการศึกษาจากอังกฤษ ที่สำคัญก็คือการก่อตั้งองคก์การสหพันธ์มาเลย์แห่งชาติ United Malays Natiional Organization UMNO ขึ้นใน ค.ศ. 1946 เป็นผลงานของจาฟาร์ จากยะโฮร์ ซึ่งเป็นรัฐอิสระแลเเลี้ยงตัวเองได้ดีที่สุดของกลุ่มรัฐที่ไม่เข้าร่วมสหพันธ์แต่ก่อน การเคลื่อนไหวอย่างใหม่นี้ทำให้การเช่อมโยงทางการเมืองที่ใกล้ชิดระหว่างผุ้ปกครองและประชาชนประสบความสำเร็จอย่างไม่เคยมีมาแก่ก่อนเลย การเคบื่อนไหวนี้กระตุ้นชาวมาเลย์ รวมทั้งผุ้ได้ผลประโยชน์ชาวอินเดีย และจีนของสหพันะ์มลายัง ที่มีความเฉื่อยชากับเรื่องการเมือง ให้แสดงมติมหาชนซึ่งทำให้อังกฤษต้องเลิกแผนการรวมแบบสหพันธ์ที่รุนแรงนันเสีย
          สหพันธ์รัฐมลายูเกิดขึ้นในอีก 2 ปีต่อมา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงชัยชนะที่แท้จริงสำหรับผลประโยชน์ของชาวมาเลย์ การจัดรุปการปกคอรงแบบใหม่ส่วนใหญ่หันกลับไปสุ่รูปแบบเดิมของการปกครองระบอบอาณานิคมก่อนสงคราม วางรูปอย่างยุติธรรมตามความสำคัญของรับมาเลย์แต่ละรัฐ (ทำรัฐเข้ารวมอยู่ในสหพันะ์ รวมทั้งสเตรทเซทเทิลเมนท์ ทั้ง 2 ยกเว้นสิงคโปร์) มีการคุ้มครองสิทธิของชาวมาเลย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่สำคัญๆ เช่น สิทธิการเป็นเจ้าของที่ดิน การเป็นพลเมือง การเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมทั้งเรื่องภาษาประจำชาติศาสนาด้วย (ศาสนาอิสลามได้รับการยกย่อว่าเป็นศาสนาประจำชาติ แต่ศาสนาอื่นๆ ก็ได้รับการรับรองให้มีเสรีภาพในการนับถือด้วย) สุลต่านแลผุ้ครองแค้วนแต่เดิมยังคงมีอำนาจพิเศษอยู่ ผุ้สืบราชสมบัติต่ิมาที่ได้รับการศึกษาแบบอังกฤษเข้ารับตำแหน่งต่างๆ ของการปกครองที่ศูนย์กลาง ซึ่งการปกครองระบอบอาณานิคมค่อยๆ สลายตัวไป ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1957 สหพันธรัฐมลายู ซึ่งเป็นเมืองขึ้นที่สำคัญประเทศสุดท้ายของตะวนตกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ได้รับอิสรภาพอย่างสมบูรณ์ ด้วยการส่งมอบอำนาจการปกครองโดยสันติ
         สหพันธรัฐมลายูมีระบอบการปกครองแบบพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นรูปแบที่ใช้ตามอังกฤษ โดยมีผุ้ครองแค้วนต่างๆ หมุนเวียนกันไปตามการเลือกตั้งในหมู่พวกผุ้ปกครอง้ด้วยกันเองในตำแหน่งสุงสุด คือยังดี เปอตวน อากง มีคณะรัฐมนตรีตามแบบอังกฤษเช่นกัน ดูแบรับผิดชอบสภาสามัญที่สมาชิกได้รับเลือกเข้ามาทั้งหมดตามองค์นิติบัญญติที่มี 2 สภา สภาสูงนั้นสมาชิกครึ่งหนึงได้รับาการแต่งตั้ง ลักษณะการปกครองแบบนี้เป็นของมลายูโดยเฉพาะ ที่การบริหารแบบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญเป็นไปได้เรียบร้อยในประเทศที่มีชนชาติต่างๆ ผสมปนเปกัน แม้ว่าสทิธิของชาวมาเลย์ยังคงได้รับการับรองต่อไประยะหนึ่งก็ตาม แต่พลเมืองที่เป็นชาวจีนและอินเดียยก็ได้เข้าไปร่วมในวิถีทางการเมือง
         การประนีประนอมอันสำคัญที่ทำให้สามารถแก้ปัญหาเช่นั้นได้ ขึ้นอยุ่กับพวกผุ้นำของชุมชนที่สำคัญ 2 ชุมชนด้วยกัน ตวนกู อับดุ ราห์มาน ซึ่งเป็นรัฐมนตรีคนสำคัญก่อนได้รับอิสรภาพ และเป็นนายกรัฐมนตรีหลังจากได้รับอิสรภาพแล้ว เป็นเชื้อพระวงศ์แห่งราชวงศ์เกดะห์ และเป็นนักกฎหมายที่ได้รับการอบรมจากอังกฤษ (เขาได้รับตำแหน่งประธานของ UMNO สืบต่อจาก ดะโต๊ะ อน และ ตัน เชง ล้อก ผุ้ก่อตั้งสมาคมจีน-มลายู ทั้ง 2 ท่านเป็ฯผู้วางรากฐานของพรรคพันธมิตร ซึ่งเป็นรัฐบาลผสม 3 พรรค โดยมีสภาอินเดียนมลายัน เข้าร่วมด้วย พรรคพันธมิตรนี้เป็นพรรคสำคัญในการปกครองนับตั้งแต่ทศวรรษ 1950เป็นต้นมา ผุ้นำของพรรคเป็นตัวแทนพวกจารีตนิยมอันแท้จริงของทั้ง 2 ชุมชนใหญ่ พวกชนชั้นสุงมาเลย์และชนชั้นกลางจีนที่ทำการค้าเป้นพวกที่ได้รับผลประโยชน์จากการปกครองแบบอังกฤษในแหลมมลายู คือพวกชนชั้นสุงมาเลย์ได้ทางการปกครอง ส่วนคนจีนได้ทางการเศรษฐกิจ การที่ยังคงมีความผุกพันอย่างใกล้ชิดกับอังกฤษและกับประเทศในเครือจักรภพอยู และกาเปิดให้มีการลงทุนของชาวต่างชาิตเหล่านี้เป็นส่วนที่ช่วยให้มีการสลายตัวของระบอบอาณานิคมขึ้นในมลายู
           ตนกู อับดุล ราห์มาน เป็นผุ้นำการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ และเป็นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศเกิดที่รัฐเคดาห์ เป็นบุครของเจ้าพระยาไทรบุรี สุลต่านองค์ที่ 25  แห่งรัฐเคดาหื กับมารดชาวไทย และในวัยเยาว์ เพียง 10 ขวบถูกส่งตัวมาศึกษาที่ประเทศไทย ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์ และไปสำเร็จการศึกษาด้านกฎหมายที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ จึงได้กลับไปรับราชการในรัฐเคดาห์ และตำปห่งหน้าที่ราชการสูงสุดคือประธานศาล ในช่วงเวลานั้นได้มีกลุ่มลัทธิชาตินิยมในาเลย์ ในการต่อต้านสหภาพมาลายาของอังกฤษ นำโดย ดาโต๊ะ อนจาฟาร์ นักการเมืองของมาเลเซียที่เป็นผุ้นำขององค์การประชาชาติมาเลเซียหรือเป็นหัวหร้าสาขาของพรรคอัมโนในรัฐเคดาหื์ ต่อมาได้รับเลือกให้เป็นประธานพรรคแนวร่วมแห่งสหพันะ์มาลาย คนใหม่ และดำรงตำแหน่งเป็นเวลานานถึง 20 ปีแต่อมาเป็นตัวแทนคณะผุ้แทนเจรจาขอเอกราชมาเลเซียคืนจาสหรัชอาณาจักร เมื่อมีการเลือกตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1955 พรรคของเขาได้รับชัยชนะแบบถล่มทลาย เขาจึงได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศมาเลเซีย แม้ยังอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ซึ่งเขาก็ยังคงรณรงค์ต่อสู้เรียกร้องเอกราชอย่างต่อเนื่อง จนประสบความสำเร็จและได้รับอิสรภาพคือนจากอังกฤษในวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 และต่อมา ในปี 1963 จึงได้มีการรวมรัฐซาบาห์ ซาราวัก และสิงคโปร์เขาด้วยกันเป็นประเทศมาเลเซียอย่างสมบูรณ์ นับเป็นนายกรัฐมนตรีทที่อยู่ในตำแหน่งต่อเนื่องเป็นเวลานานถึง 13 ปี


                       - www.fpps.or.th/.."วีรชนคนอาเซียน : ตนกู อับดุล รามานห์ แห่งมาเลเซีย
                       - "ประวัติศาสตร์เอเชยตะวันออกเฉียงใต้สมัยใหม่ ลัทะิอาณานิคม ลัทธิชาตินยมและการสลายตัวของลัทธิอาณานิคม" จอห์น แบสติน แฮรี่ เจ.เบ็นดา, ผู้แต่ง ชื่นจิตต์ อำไพพรรณ, ภรณี กาญจนัษฐิติ ผุ้แปล,สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2529.
                       - "ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยสังเขป" ผศ.ศิวพร ชัยประสิทธิกุล ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์ ม.รามคำแหง, 2531.

วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Nationalism : King Norodom Sihanouk II

           สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา เป็นรัฐบาลที่จัดตั้งในกัมพูชา โดยแนวร่วมสมาัคคีประชาชาติกู้ชาติกัมพูชา ซึ่งเป็นกลุ่มของกัมพูชาฝ่ายซ้ายที่อยู่ตรงข้ามกับกลุ่มของเขมรแดง ล้มล้างรัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตยของ พล พต โดยร่วมมือกับกองทัพของเวียดนาม ทกให้เกิดการรุกรานเวียดนามของกัมพุชา เพื่อผลักดันกองทัพเขมรแดงออกไปจากพนมเปญ มีเวียดนามและสหภาพโซเวียตเป็นพันธมิตรที่สำคัญ
          เนื่องจากความขัดแย้งเรื่องพรมแดน เวียดนามส่งกองทัพบุก กัมพูชา โดยส่งกำลังเข้าช่วยเพื่อการปลดปล่อยประชาชาติ ที่ก่อตั้งขึ้นโดยเฮง สัมริน เพื่อต่อต้านรัฐบาลเขมรแดง เวียนามเข้ามาแมรกแซงในกัมพูชา มีการจัดตั้งรัฐบาล เฮง สัมริน เป็นหุ่นเชิดให้กับทางเวียดนาม พอล พต ต้องลงจากอำนาจและกลุ่มเขมรแดงถ่อยล่น และกระจัดระจาย เกิดรัฐบาลร่วมสามฝ่าย รู้จักกันในนามเขมรสามฝ่าย เพื่อต่อต้าน เฮง สัมริน ในช่วงเวลาที่เฮง สัมรินครองอำนาจนี้ ชาเวียดนามอพยพมาอยู่ในกัมพูชามากขึ้น เกิดกลุ่มต่อต้านเวียดนาม ซึ่งแบ่งออกเป็น กลุ่มเขมรเสรี ซึ่งมีนาย ซอน ซาน เป็นผู้นำ และกลุ่มที่สนับสนุนและยังจงรักภักดีกับเจ้านโรดม สีหนุ หรือกลุ่มมูลินากา ทั้ง 2 กลุ่มได้ร่วมมือกับ เขมรแดง ต่อสู้กับเวียดนาม เกิดการจัดตั้งรัฐบาลผสมเรียกว่า "รัฐบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตย"
          ในวันที่ 10 มกราคม 1979 กองทัพเขมรแดงเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และกองทัพเวียดนามเข้ายึดครองพนมเปญ แนวร่วมปลดปล่อยฯ ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา ซึ่งเป็นการปกครองที่นิยมโซเวยตได้รับการสนับสนุจากองทัพและที่แรึกษาพลเรือนจาเวียดนาม การฆ่าล้างเป่าพันู์ในกัมพูชายุติลง แต่จีนที่สนับสนุเขมรแดงและสหรัฐ ต้องการให้ขับไล่เวยนามออกไปจากกัมพุชา ทำให้เกิดปัญหากัมพูชาขึ้น
          สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาเป็นรัฐคอมมิวนิสต์ ซึ่งสืบต่อการปฏิวัติสังคมนิยมโดยเขมรแดง เพียงแค่เขมรแดงใช้นโยบายแบบลัทธิเหมา และใช้ความรุนแรง แต่สาธารณรัฐประชาชกัมพุชาใช้การปฏิวัติสังคมนิยมตามแบบของสหภาพโซเวียตและโคเมคอน สหภาพโซเวียตได้จัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาเป็นประเทศสังคมนิยมที่ยังไม่พัฒนา 1 ใน 6 ประเทศ สาะารณรับประชาชกัมพูชาได้ยอมรับความหลากหลายของสังคมกัมพูชา ทั้งชาวไทย ชาวจาม ชาเวียดนามและชนเผ่าทางตะวันออกเฉียงเหนื อชาวจีนในกัมพูชาถูกมองว่าเป็นกลุ่มของศัตรูแลอยู่ใสความควบคุม ความรุนแรงยังคงมีอยุ่ในสาธารณรับประชาชนกัมพูชา..      
          ชาวกัมพูชามากกว่า หกแสนคน ต้องอพยพออกจากเมืองในยุคเขมรแดง หลังการรุกรานของเวียดนา ชาวกัมพุชาที่เคยถูกกวาดต้นมาอยู่ในคอมมูนเป็นอิสระและกลับไปสู่บ้านเดิม..การเริ่มต้นใหม่ของกัมพูชาเป็นไปอย่างยากลำบาก ไม่มีตำรวจ ไม่มีหนังสือพิมพ์ ไม่มีโรงพยาบาล ฯลฯ ความช่วยเหลือส่วนใหญ่มาจากโลกคอมมูลนิสต์ ความช่วเหลือจากนานชาติมุ่งตรงมายังผุ้อพยพตามแนวชายแดนไทย
         จากการล่มสลายของชาติและปฏิเสธการช่วยเหลือในกสร้างชาติใม่ และถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของเวียดนาม ที่เป็นพันธมิตรกับสหภาพโซเวียต การไม่ได้เป็นสมาชิกสหประชาชาติ ทำให้มีผุ้อพยพเพี่มมากขึ้นตามแนวชายแดนไทยซึ่งเป็นที่ที่มีคามช่วยเลหือจารนานาชาติโดยเฉพาะจากสหรัฐ ในจุดหนึ่งมีชาวกัมพูชาอยู่มากกว่ 500,000 คน ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และมีอกี กว่าแสนคนในศูนย์อพยพภายในประเทศไทย ความช่วยเหลือจากยูนิเซฟและโปรแกรมอาหารโลกมีถึง 400 ฃล้านดอลล่าร์สหรัญ ซึ่งเป็นกลยุทธหนึ่งของสหรัฐระหว่าง"สงครามเย็น"เพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ในเวียดนามคิดเป็นเงนิเกือบ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
          ในขณะที่อกงทัพเขมรแดงของ พล พต ได้จัดตั้งกลุ่มขึ้นใหม่และได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากจีน รวมทั้งมีความสัมพันะ์ที่ดีกับกองทัพไทย เขมรแดงได้ประกาศต่อต้านสาธารณรัฐประชาชนกัมพุชา โดยอาศัยฐานกำลังจากค่ายผุ้อพยพและจากกองทหารที่ซ่อนตัวตามแนวชายแดนไทย แม้่ากองกำลังของเขมรแดงจะมีความโดดเด่นขึ้นมา แต่มีกลุ่มต่อต้านที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์เกิดขึ้นด้วย แต่การต่อต้านของฝ่ายที่ไม่ใช่คอมมิวสิสต์ไม่เคยมีประสิทธิภาพ ดังนั้นในสงครามกลางเมืองช่วงที่เหลือต่อไปนี้จึงเป็นการสู้รบระหว่างฝ่ายเขมรแดงกับฝ่ายรัฐบาลเป็นส่วนใหญ่
         กลุ่มผู้ลี้ภัยชาวกัมพุชาจำนวนมากที่อำเภออรัญประเทศถูกผลักดันให้กลับประเทศ และส่งนใหญ่ต้องเข้าไปอยู่ในเขตควบคุมของเขมรแดง กระบวนการนี้เกิดขึ้นโดยกลุ่มที่นิยมกัมพุชาประชาธิปไตยแต่เข้ามาปรากฎตัวในฐานะอาศาสมัคร รวมทั้งการที่สหรัฐต่อต้านระบอบของเวียดนามนอกจากนั้น ประเทศต่างๆ เช่น ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ยังสนับสนุให้มีการผลักดันประชาชนให้กลับไปต่อสู้

อย่างไรก็ตามเวียดนามเวยดนามประสบความสำเร็จในการโจมตีฐานที่มั่นของเขมรแดงให้ถอยร่นเข้าสู่แนวชายแดนไทย รัฐบาล เฮง สัมรินทีความสำเร็จเพียงน้อยในการจัดตั้งระบอบสาธารณรัฐประชาชนกัมพุชา แต่ได้รับความช่วยเหลือจาก เวียดนาม. โซเวียตและคิวบา เนื่องจากสงครามกลางเมืองยังไม่ยุติ การคมนาคมมักถูกโจมตี การปรากฎตัวของทหารเวียดนามเป็นการเติมเชื้อไฟให้กับการต่อต้านเวียดนาม ในปี 1986 ฮานอยได้กล่าวอ้างว่าจะเริ่มถอนทหารเวียดนามออกมา ในขณะเดียวกัยเวียดนามเร่งสร้างความเข้มแข็งใหกับสาธารณรัฐประชาชนกัมพุชาและกองทัพปฏิวัติประชาชนกัมพูชา การถอนทหารยังคงต่อเนืองไปอีก 2 ปี แผนการทหารถูกกอดันมาขึ้น เพราะสหรัฐและจีนเข้ามากดดันมากขึ้น และสหภาพโซเวียดงดให้ความช่วยเหลือ ในปี 1989 รัฐบาลฮานอยและปนมเปญออกมาประกาศว่าการถอนทหารจะสิ้นสุดภายใน กันยายน ปีนี้
          เฮง สัมรินเสียชีวิตในปี 1984 ในวันที่ 29-30 เมษายน 1989 สภาแห่งชาติของสาธารณรัฐประชาชนกัมพุชาภายใต้การนำของ ฮุน เซนได้จัดประชุมสมัยวิสามัญโดยมีการแก้ไขชื่อประเทศจากสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชามาเป็นรัฐกัมพูชา มีการนำสีน้ำเงินกลับมาใช้ในธงชาติเปลี่ยนตราแผ่นดินและตรากองทัพ กองทัพปฏิวัติประชาชนกัมพูชาเปลียนเป็น กองทัพปรชาชนกัมพูชา พุทธศาสนากลายเป็นศาสนาประจำชาติ ทางด้านเศรษฐกิจได้ออกกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิการถือครองทรัพย์สินและตลอดเสรี พรรครัฐบาลประกาศจะเจรจากับฝ่ายค้านทุกกลุ่ม
         รัฐกัมพูชา ดำรงอยู่ในช่วงที่มีการเปลี่ยนผ่านอย่างช้าๆ ซึ่งเป็นผลจากการล่มสลายของสหภาพโซเวีตและรัฐคอมมูนนิสต์ในยุโรปตะวันออก การลดความช่วยเหลือของโซเวียตต่อเวียดนามทำให้เวียดนามต้องถอนทหารออกไป ชาวเวียดนามส่วนใหญ่อพยพกลับสู่เวียดนาม เพราะไม่มั่นใจความสามารถของรัฐกัมพูชาในการควบคุมสภานการณ์เมื่อไม่มีทหารเวียดนาม
         
 นอกจากการประกาศอย่างแข็งกร้าวของ ฮุน เซน รัฐกัมพูชาอยู่ในฐานะที่จะกลับมาเป็นเพียงพรรคหนึ่งในการครองอำนาจ โดครงสร้างผุ้นำและการบริหารเป็นปบบเดียวกับสาธารณรับประชาชนกัมพุชา โดยมีพรรคเป็นผุ้กุมอำนาจสูงสุด รัฐกัมพุชาไม่สมารถฟื้นฟูราชวงศ์ในกัมพุชาแม้จะเริ่มนำสัญลักษณ์ของราขวงศ์มาใช้ สีหนุเข้าร่วมกับแนวร่วมเขมรสามฝ่าย และทั้งแรงกดดันจาในและนอกประเทศ รัฐกัมพูชาจึงต้องทำข้อตกลงในการยอมรับพระนโรดม สีหนุเป็นประมุขรัฐ ปลายปี 1994 สีหนุเดินทางกลับกัมพูชาอย่างเป็นทางการ ทั้งฮุน เซน และเจียซิมได้จัดงานเลี้ยงรับรองอย่างเป็นทางการ..
           รัฎฐาภิบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตย หรือ เขมรสามฝ่าย เป็นการรวมตัวของกลุ่มการเมืองในกัมพุชา ได้แก่ เขมรแดง ภายการนำของ เขียว สัมพันและ พล พต, แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติประชาชน ของ ซอน ซาน และพรรคฟุนซินเปกของ สมเด็จพระนโรดม สีหนุ เพื่อจัดตั้งรัฐบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตย ในปี 1982  โดยการผลักดันของกระทรวงการต่างประเทศของไทยสหรัฐและจีน โดยมีสมเด็จพระนโรดม สีหนุ เป็นผู้นำอย่างเป็นทางการ รัฎฐาภิบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตยเป็นตัวแทนของกัมพูชาในสหประชาชาติ ตั้งแต่ปี 1982-1992 ทั้งนี้ เขมรแดงที่ยุบพรรคคิมมิวนิสต์กัมพุชาไปตั้งแต่ พ.ศ. 1981
            พลเอกชาติชายชุณหะวัณ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีประเทศไทย ได้ดำเนินโยบายเปลี่ยนสนามรบให้เป็ฯสนามการค้า ทำให้นำไปสู่การเจรจากับเวียดนามจนเวียดนามถอนทหารออกจากัมพุชาจนหมดในปี 1989 ต่อมา เมื่อเกิดการเจรจาสันติภาพกัมพูชา เขมรแดงเกิดความหวาดระแวงว่าการเข้าร่วมในข้อตกลงปารีสอาจเป็นกลลวงให้วางอาวุธเพือจับตัวไปดำเนินคดีฆ่าล้างผ่าพันธุ์ เขมรแดงจึงถอนตัวออกจากการเจรจาสันติภาพ และไม่เข้าร่วมการเลือกตั้งไม่ยอมปลดอาวุธและไม่ยอมให้ประชาชนในเขตของตนลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมการเลือกตั้งในปี 1993 ทำให้สหประชาชาติคว่ำบาตรเขมรแดง รัฎฐาภิบาลปสมกัมพูชาประชาธิปไตยจึงยุตุลง
            โดยสรุป การล่มสลายของกัมพุชาประชาธิปไตย หรือเขมรแดง กัมพูชาตกอยู่ภายใต้การรุกรานของเวียดนาม และรัฐบาลที่นิยมฮานอยซึ่งก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชกัมพุชา สงครามกลางเมืองหลัง ปี 1980 เป็นการสู้รบระหว่งกองทัพประชาชนปฏิวัติกัมพูชาของรัฐบาลกับแนวร่วมเขมรสามฝ่ายซึ่งถือเป็นรับบาลพลัดถิ่นของกลุ่มต่างสามกลุ่ม หรือเขมรสามฝ่าย และหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตมีการถอนทหารเวียดนามออกจากกัมพูชาในปี 1989และนำไปสุ่การประชุมสันติภาพที่ปารีสเพื่อสงบศึกในปี 1991 ในที่สุดมีการจัดการเลือกตั้งโดยสหประชาชาติใน ปี 1993 เพื่อเริ่มต้นฟื้นฟุประเทศ
           สภาพการเมืองในกัมพุชาปัจจุบันมีเสถียรภาพ พรรคการเมืองสองพรรคหลักซึ่งประกอบขั้นเป็นรัฐบาลกัมพุชา คือ พรรคประชาชนกัมพูชา ของ ฮุน เซน และพรรคฟุนซิเปค ของ นโรดม รณฤทธิ์ สามารถร่วมือกันได้อย่างราบรื่น ทั้งในด้านบริหารและด้านนิติบัญญัติ รวมั้งมีท่าที่ที่สดอคล้องกันเป็นส่วนใหญ่ในประเด็นทางการเมืองสำคัญๆ ของประเทศ อาทิ การนำตัวอดีตผุ้นำเขมรแดงมาพิพากษา
         
 กลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามไม่มีความเข้มแข็งพอ และคงสามารถทำได้เพียงแต่สร้างผลกระทบทางลบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล ดดยในทางการเมือง พรรคสม รังสี พรรคการเมืองฝ่ายค้านหนึ่งเดียวในสภาแห่งชาติกัมพุชา ได้เคลื่อนไหวตรวจสอบอย่างแข็งขัน
          การสืบราชสันตติวงศ์ ระบบกษัตริย์ของกัมพูชาไม่เหมือนกับระบบกษัตริย์ส่วนใหญ่ในประเทศอื่นๆ ที่ราชบัลลังก์จะตกไปสู่ผุ้มีลำดัการสืบราชสันตติวงศ์ลำดับถัดไป และพระมหากษัตริย์ ไม่สามารถเลือกผุ้ที่จะมาสืบราชสันตติวงศ์ได้ด้วยตัวเอง แต่ผุ้มีสิทธิ์ในการเลือกพระมหากษัตริย์องค์ใหม่คือ กรมปรึกษาราชบัลลังก์ ซึ่งจะจัดการประชุมในสัปดาห์ที่พระมหากษัตริย์สวรรคตหรือไม่สามาถปฏิบัติพระราชกรณียกิจได้ต่อไป และเลือกพระมหากษัตริย์องค์ใหม่จากรายชื่อผุ้มีสิทธิ์สืบราชสันตติวงศ์ และเป็นสมาชิกราชวงศ์


                      (www.th.wikipedia/../สาธารณะรัฐประชาชนกัมพูชา.,รัฎฐาภิบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตย.,ประเทศกัมพูชา.)
                      - baanjomyut.com., ประวัติศาสตร์ประเทศกัมพูชา
         

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...