สำหรับแผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ในด้านภูมิศาสตร์ได้แยกออกจาส่วนอื่นของทวีปเอเชีย โดยมีทิวเขายาวเหยีดพากกั้นจากเทือกเขาหิมาลัยไปทางตะวันออกจนถึงตอนใต้ของจีน ทงด้านใต้ของเทือกเขานี้เป็นทิวเขาที่ค่อนข้างเรียบของแผ่นดินใหญ่เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในทิศทางจากเหนือลงใต้ ต่างกับเทือกเขาในหมู่เกาะที่พาดจากตะวันตกไปตะวันออกเทือกเขาที่พาดจากเหนือลงใต้ในแผ่นดินใหญ่นั้นจะเห็นได้ชัดจากเส้นทางของแม่น้ำสายยาวๆ ต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น สาละวิน เจ้าพระยา แม่โขง อิระวะดี ซึ่งไหลเป็นแนวขนานกันลงมา แม่น้ำเหล่านี้มีปริมาณน้ำ และตะกอนดินทรายมาก ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเพาระปลูกของแผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนหใหญ่ตั้งอยุ่ระหว่างเส้นทรอปิกออฟเเคนเซอร์ และเส้นรุ้งที่ 12 องศา ทำให้มีฝนตกชุก และเมื่อประกอบกับอุณหภูมิเฉลี่ย 80 องศาฟาเรนไฮซ์ บริเวณส่วนใหญ่จึงเป็นป่าทึบ สภาพของป่าทึบนี้เป็นเหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่ปลักดันทำให้ประชากรตั้งถ่ินฐานตามแนวแม่น้ำต่างๆ มาแต่อดีต จนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งเป็นได้ว่าแม่น้ำยังเป็นเส้นทางคมนาคมและติต่อที่สำคัญอยู่
ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ แม่น้ำเป็นเสมือนเส้นทางที่ประชากรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้ในการอพยพลงใต้ หลังจากการอพยพของชนเผ่าดั้งเดิมคือพวกออสเตรลอยด์และนิกริโต ซึ่งยังมีหลงเหลืออยู่บ้างในออสเตรเลีย และบางส่วนของฟิลิปปินส์-อินโดนีเซีย-มาเลเซีย เผ่าที่มีอารยธรรมสูงกว่าอันได้แก่ อินโดนีเซียนหรืออสโตรนีเซียน ก็ได้เริ่มอพยพเคลื่อนย้ายอย่างช้าๆ ลงมาทางใต้-จากภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนเมืองประมาณสองสามพันปีก่อนคริสต์วรรษ สันนิษฐานกันว่า เผ่าอินโดนีเซียนนี้แยกออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มโปรโต-มาเลย์ และกลุ่มดอยเตอโร-มาเลย์ กลุ่มแรกยังมีร่อยรอยของพวกมองโกลอยด์อยู่มาก คือ กลุ่มพงกจาคุน ในมลายู พวกโตราจาน์ในสุลาเวซี่ พวกคยัคในบอร์เนียว และพวกบาตัดในสุมาตรา ส่วนกลุ่มที่สองนั้นคือ พวกสายดอยเตอโร-มาเลย์ ซึ่งไม่ใคร่จะคล้ายคลึงกันนัก จะพบในพวกชาวมลายู ในสุมาตรา และมาเลเซีย พวกชว่า พวกซุนดา พวกบาหลี พวกมาดุรา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในอินโดนเซีย และก็ยังมีพวกบิสายัน ตาการล็อก อิโลคาโน บิโคล ปันปางัน ซึ่งอยู่ในฟิลิปปินส์
ระยะเวลาระหว่างแลหลังจากที่ประชกรเผ่าอินโดนีเซีนได้อพยพโยกย้ายอยู่ทางใ้ทั่วไปแล้ว กลุ่มมอญออสโตร-เอเชียติก ก็ได้อพยพจากกลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าไปอยู่แถบบริเวณชายฝั่งทะเลตอนล่างของพม่า และพวกเขมรซึ่งเกี่ยวดองกันก็ได้เข้าไปอยู่ในลุ่มแม่น้ำโขง ส่วนพวกเวยดนามซึ่งมีเชื้อสายเกี่วพันกัน เมื่อหนึ่งพันปีแรกแห่งคริสกาลได้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางการเมืองและวัฒนธรรมของจีน ก็ไดอพยพลงมาทางใต้ของจีนสู่ลุ่มแม่น้ำแดง และได้ปะปนอยู่ในตอนบนของฝั่งทะเลอันนัมกับพวกจามปาซึ่งเป็นคนเผ่ามาเลโย-โปลีนีเซียน นอกจากนั้นพวกพยู และพม่า เชื้อสายแรกๆ ก็ได้เข้าไปตั้งรกรากในตอนกลางของลุ่มแม่น้ำอิระวะดีในตอนต้นๆ คริสต์ศตวรรษ และท้ายที่สุดคือพวกฉาน หรือไทยซึ่งเคยอยู่ทางตอนบนของแม่น้ำโขลและแม่น้ำแดง ก็ค่อยๆ เคลื่อนเข้าไปอยู่กระจัดกระจายระหว่างอัสสัมทางทิศตะวันตกจนถึงตังเกี๋ย และพรมแดนของกัมพุชาทางด้านตะวันออก
แม้ว่าชนดั้งเดิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความแตกต่างกันทางด้านเชื้อชาติ แต่ก็มีรูปแบบวัฒนธรรมคล้ายคลึงกัน ดังนั้น วัฒนธรรมยุคหินกลาง ซึ่งมีเครื่องมือหินกะเทาะปลายคมแบบสิ่วขัดเกลาบ้างเล็กน้อยตามแบบแบคโซเนียน ที่พบในตังเกี๋ย และช้ินส่วนของประดิษฐกรรมดังกล่าวที่ค้นพบในไทย มลายู สุมาตรา ได้เริ่มเปลี่ยนแปลงเป็นเครื่องมือหินขึดเรียบรูปขวานของยุคหินใหม่ ซึ่งเป็นช่วงสมัยหลังจากที่คนเผ่าอินโดนีเซียนได้อพยพลงใต้สู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในระหว่างสามถึงสองพันปีก่อนคริสต์ศักรช หม้อไหของยุคหินใหม่มีอยู่ทั่วไป และต่างก็มีลักษณะและรูปแบบดคึล้ายคลึงกัน ซ่งแสดงว่าชนเหล่านี้มีวัฒนธรรมร่วมกันเป็นเวลานานมาแล้ว และสืบเนื่องมจนสมัยใกล้คิรสต์ศตวรรษซึ่งจะเป็นยุคโลหะ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าวัฒนธรรมดองซอน ลักษณะที่เด่นของวัฒนธรรมนี้คือกลองมโหระทึกขนาดใหญ่ ซึ่งได้รับอิทะิพลจากจีน และพบอยุ่ทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในบางครั้งลวดลายศิลปะทางด้านการตกแต่งใหม่ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในหมุ่คนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในแถบอื่นๆ โดยเฉพาะบริเวณที่ติดกับจีนจะพบศิลปะแบบดองชอนที่แท้จริงมากกว่า
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มิได้ใช้โลหะเป็นเครื่องมือในการเพาะปลูกจนกระทั่งสมัยหลังและเมื่อมีกรเร่ิมใช้ขึ้นก็ถือได้ว่าเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาทางเศรษฐกิจของดินแดนแถบนี้ การเศรษบกิจเริ่มแรกของเอเชียตะวันออกเแียงใต้นั้นเป็ฯแบบเลี้ยงตนเองโดยสิ้นเชิง โดยยึดการล่าสัตว์และการจับปลาเป็นหลัก แต่ได้ขยายออกอย่างช้าๆ ด้วยการใช้วิธีการเพาะปลูกแบบดั้งเดิมโดยการโยกย้ายที่เพาะปลูกจากแหล่งที่ขอดความอุดมสมบุรณ์ไปถางป่าใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ในปัจจุบันการเพาะหลูกแบบนี้ยังคงมีพบอยู่โดยทั่วไปในเอเลียตะวันออกเฉียงใต้ แตในระยะต่อมาก็ได้หันไปทำการเพาะหลูกแบบนาดำ คือมีการกักน้ำไว้ในนา ซึ่งจะเห็นได้จากชวาตอนกลางเป้นต้นเครื่องมือสำคญตอนี้ได้แก่ คันไถและสัตว์เลี้ยง การตั้งหลักแหล่งอย่างถาวรและการเพ่ิมผลผลิตทางการเพาะปลูกนี้ทำให้การเศรษฐกิจที่ชะงักงันขยายตัวอก โดยการแบ่งงานกันทำอย่างง่ายๆ ในการผลิตผ้าแพรและโลหะที่ใช้ในท้องถ่ิน ในดินแดนที่มีการเพาะปลูกแบบนาดำได้จัดให้มีการควบคุมงานทดน้ำ ซึ่งยังผลให้เกิดความสามัคคีสังคม และความเป็นระเบียบทางการเมือง อย่างไรก็ตาม วิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงอย่างเบ็ดเสร็จของสงคมถือเป็นการเปลี่ยนแปลงจากระดับของสังคมและวัฒนธรรมหนึ่งไปสู่อีกระดับหนึ่งจึงยากต่อการอธิบายให้เป็นพอใจในลักษณะปัจจัยโดดๆ ได้ สังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เปลี่ยนแปลงไป และในการเปลี่ยนแปลงนั้นแนวทางที่จะปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย
ลักษณะเด่นทางวัตถุที่เห้นได้ชัดของอารยธรรเอเชียตะวันออก ในช่วงก่อนได้รับอิทธิพลจากภายนอกโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอินเดีย ส่วนลักษณะเด่นทางจิตใจที่เห็นได้ชัดคือการการบไหว้บูชาบรรพบุรุษ การตั้งที่เคารพบูชาไว้ในที่สูงๆ ความเชื่อต่างๆ เกี่ยวกับผีสาง หรือการถือลัทธิว่ามีอำนาจร่วกันในจักรวาล คือ ภูเขาและทะเล และสิ่งที่เป้นคู่อื่นๆ อีกมากซึ่งเกี่ยวโยงกับเวทนนตร์คาถา ถึงแม้ว่าลักษณะหล่านี้จะแตกต่างกันบ้างตามท้องถิ่นต่างๆ และรับอิทธิพลของฮินดุ พุทธ อิสลาม คริสต์ เข้ามาแทรกแต่ลัษณะทั่วไปของวัฒนธรรมแบนี้ก็ยังคงมีอยุ่ให้เห็นทั่วไป และในปัจจุบันนี้เป็นลหลักฐานที่สำคัญในการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเนื้อแท้ของอินแดนแถบนี้ ไม่ใช่เพียงแต่เป็นส่วนหนึ่งของจีนหรืออินเดีย เป็นที่ยอมรับกันมากขึ้นว่า กระบวนการกระจายอิทธิพลอินเดีย ไม่ใช่การถ่ายทอดอารยธรรมอินเดียเข้าแทนวัฒนธรรมท้องถ่ินโดยนส้ินเชิง แต่เป็นกระบวนการที่ซับซ้อนเกี่ยวเนื่องกับการผสมปนเประหว่างวัฒนธรรมต่างผระเทศกับวัฒนธรรมท้องถ่ินจนเป็นลักษณะพิเศษเฉพาะของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไป
มหาอำนาจตะวันตกซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วย โปรตุเกสอังกฤษ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ สเปน และสหรัฐอเมริกา โปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกที่เข้ามาในภูมิภาคนี้เป็นชาติแรก อังกฤษ มีอาณานิดคมประกอบด้วย พม่า มาเลเซีย สิงค์โปร ฝรั่งเศสมีเป็นเจ้าอาณานิคมของอินโดจีน หรือเรียกว่าอินโดจีนของฝรั่งเศส ประกอบด้วย เวียดนาม กัมพุชาและลาว เนเธอร์แลนด์เป็นเจ้าอาณานิคมอินโดนีเซีย สเปนเข้ามาครอบครองฟิลิปปินส์ก่อนที่พ่ายแพ้และยกฟิลิปปินส์ให้แก่สหรัฐอเมริกา
มหาอำนาจตะวันออกได้แก่ญี่ปุ่น เข้าครอบครองดินแดนและปลดปล่อยชาวพื้นเมืองในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้จากอำนาจของตะวันตก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่เมือญีปุ่นพ่ายแพ้สงคราม ประเทศตะวันตกที่เคยเป็นเจ้าอาณานิคมก็กลับเข้าครอบครองดินแดนอีกตามเดิม
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในสี่ประเทศทั่วโลกที่ไม่ตกเป็นอาณานิคมของมหาอำนาจยุโรป ประเทศไทยจึงเป็นประเทศที่ได้รับความกระทบกระเทือนน้อยที่สุดจากการครอบงำของตะวันตก และป็นเพียงประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่แถบจะไม่ได้รับผลร้ายแรงจากสงครามโลก ฝ่ายทหารยอมให้อำนาจแก่ฝ่ายพลเรือนหลังจากการปฏิวัติ ค.ศ.1932 เมื่อความสัมพันธ์ญีปุ่นไทยสิ้นสุดลงในระยะปลายสงครามแปซิฟิก เรื่องนี้พิสูจน์ได้ว่าเป็นเพียงการปรับตัวในระยะหัวเลี้ยวหัว่อให้เข้ากับความจำเป็นในการเสนอให้รัฐบาลเป็นที่ยอมรับของฝ่ายสัมพันธมิตรที่ได้ชัยชนะ ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1947 คณะรัฐมนตรีพลเรือนมีนายปรีดีเป็นหัวหน้าถูกโค่นอำนาจลง และนายกรัฐมนตรีสมัยสงคราม คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เข้ายึดอำนาจ ภายหลังจอมพล ป. ถูกขับไล่ออกนอกประเทศ และมีนายทหารครอื่นๆ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไมา ฉะนั้นการที่ทหารกลับเข้ามามีอำนาจนี้ ไม่เพียงแต่จะแสดงให้เก็นว่าการเข้ามาครองตำแหน่งของพวกผุ้นำหลังปี 1932 นั้น สามารถเข้ยึดครองอำนาจทางการเมืองได้อย่างมั่นคงเท่านนั้น แต่ยังแสดงให้เห็นถึงความสามารถในทางปฏิบัติของประเทศไทยต่อสถานการณ์ระหว่างประเทศอีกด้วย
ทันที่โปรตุเกสตะวันตกชาติแรกที่เข้ามา ทำลายความยิ่งใหญ่ของมะละกาลงได้ บรูไนจึงสามารถสร้างอำนาจให้กับอาณาจักของตนเองได้ในทันที ทำหใ้โปรตุเกสเป้นประเทศหนึ่งที่เป้นมิตรกับบรูไน จนสมารถสร้างความเข้มแข็งให้กับอาณาจักรของตนได้ จากการขยายอำนาจของบรูไนจึงใทำหใ้เกิดความขัดแย้งกับมหาอำนาจตะวันตกประเทศหนึ่งคือ สเปน เพราะขัดอย้งในเรื่องการแข่งขันกันขยายอำนาจเหนือฟิลิปปินส์ แต่บุรไนสามารถรักษาอาณาจักรของตนไวได้
เนื่องจากปัญหาภายในและการเข้ายึดครองอำนาจของพวกดัชท์แทนโปรตุเกส มีการบังคับผุกขาดการผลิตและการค้า เศรษฐกิจและการค้าแถวหมู่เกาะต้องปยุดชะงักรวมทั้งบรูไนด้วย บรูไนจึงกลายเป้นรัฐเล็กๆ ที่ไม่สามารถต่อต้านอำนาจของพวกสลัด จนกลายเป้นศูนย์กลางการเลแกเปลี่ยนสินค้าที่ปล้นมาของพวกสลัดแทน
และเมื่ออังกฤษเข้ามา และเป็นอีกมหาอไนาจหนึ่งที่มุ่งเข้ามเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ในภุมิภาค อังกฤษให้ความสำคัญทำการค้ากับจีนมาก จึงพยายามที่จะเข้ายึดครองแถบตะวันตกเฉียงเหนือของบอร์เหนียวเพื่อใช้เป็นเส้นทางไปค้าขายกับจีน และการยึดครองของอังกฤษบริเวณบอร์เนียวก็ปะสบผลสำเร็จ จนในที่สุดแล้วบรูไนทำสัญญาให้การยอมรับการเป็นรัฐอารักขาของอังกฤษ และได้รับเอกราชในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527
ประเทศสิงคโปร์ เดิมทีสิงคโปร์เป็นเมืองที่ตั้งอบุ่ปลายสุดแหลมมลายู เป็นสถานพักสินค้าของพ่อค้าทั่วโลก เดิมชื่อว่า เทมาเส็ก (ทุมาสิค)มีกษัตริย์ปกครอง เมื่อโปรตุเกสเข้ายุึดมะละกาเป็นเมืองขึ้น สิงคโปร์ก็กลายเป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกสด้วยและฮอลันาเข้ามายึดจากโปรตุเกส ซึ่งชาวดัตท์มีอิทธิพลอยุ่ในมะละกาช่วงศตวรรษที่ 17 อังกฤษเริ่มสนใจสิงคโปร์เมื่อเข้ามามีอิทธิพลในแหลมมลายู อังกฤษเล็งเห็นถึงความสำคัญของ "จุดแวะพัก"ทางยุธศษสตร์ สำหรับซ่อม เติมเสบียง และคุ้มกันกองทัพเรือของอาณาจักรที่เติบโตของตน รวมถึงเพื่อขัดขวางการรุกคืบของชาวฮาลแลนด์ในภมิภาคนี้ อังกฤษแช่งขชันกับดัตช์ในเรื่องอาณานิคม อังกฤษส่งเซอร์ โทมัส แสตมฟอร์ด บิงก์เลย์ รฟเฟิลส์ มาสำรวจดินแดนแถบสิงคโปร์ ซึ่งมีสุลต่านปกครองอยู่ แรฟเฟิลส์ตกลงกับสุลต่านว่า จะตั้งสถานีการค้าของอังกฤษที่นี่ แต่สุดท้ายอังกฤษก็ยึดสิงคโปร์ไว้เป็นเมืองขึ้นได้สำเร็จ ในปี 1819 อังกฤษได้ขอเช่าเกาะสิงคโปร์จากจักรวรรดิยะโฮร์ซึ่งอยุ่ภายใต้การปกครองของฮอลันดาราฟเฟิลส์ มองเห็ฯถึงทำเลที่ตั้งที่หมาะสมจง ได้พยายามย้ายศูนย์กลางของเครือข่ายการค้าของอังกฤษมาอยุ่ที่สิงคโปร์ และทำให้เกาะแห่งนี้มีการต้าแบบเสรี
แรฟเฟิลใช้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลายการต้ของอังกฤษกับซีกโลกตะวันออกให้เป็นสถานีการค้า นโยบายการค้าเสรีดึงดุดพ่อค้าจากทั่วทุกส่วนของเอเชียและจากที่ห่างไกลออกไป เช่น สหรัฐอเมริกาและตะวันออกกลาง อังกฤษมีสิทธิครอบครองสิงคโปร์ตามข้อตกลงที่ทำกับฮอลันดา เพียงแค่ห้าปีหลังจากนั้น ประชากรเพีิ่มขึ้นจาก 150 คนกลายเป็น 10,000 คน สิงคโปร์กลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษ สิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางรัฐบาลของถ่ินฐานข่องแคบปีนัง มะละกา และสิงคโปร์ การเปิดทำการของคลองสุเอซ สิงคโปร์ก็เปลียนแปลงไป เป็นท่าเรือนานาชาติที่สำคัญ ประกอบกับการเข้ามาของเครื่องโทรเลขและเรือกลไฟทำให้ความสำคัญของสิงคโปร์เพ่ิมขึ้นจนกลายเป็นศูน์กลางการค้าที่กำลังขยายตัวระหว่างโลกตะวันตกและตะวันออก อังกฤษยกสิงคโปร์เป็นอาณานิคม ปกครองภายใต้ระบบสเตรดส์เซ็ตเติลเมนท์ ควบคุมโดย บริษัท อินเดีย
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง อังกฤษเข้ามาครอบครองสิงคโปร์ตามเดิม ญี่ปุ่นแพ้สงคราม ปกครองสิงคโปร์ในฐานะที่เป็นอาณานิคมแบบเอกเทศ สิงค์โปร์มีอำนาจปกครองกิจการภายในของตนเองแต่ไม่มีอำนาจดุลกิจการทหารและการต่างประเทศ และยังมีผุ้วาราชการจากอังกฤษมา ปกครองอู่ ในสภานิติบัญญัตินั้น อังกฤษเปิดโอกาสให้ประชาชนเลือกตั้งสมาชิกบางส่วน อังกฤษให้ชาวสิงคโปร์มีอำนาจและมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองมากขึ้นในช่วง 10 ปี ก่อนที่สิงคโปร์จะประกาศเป็นสาธารณะรัฐนั้น สิงคโปร์จึงอยุ่ภายใจ้กาารปกครองของรัฐบาล 3 ชุด คือ และหลังจากรัฐบาลของนาย ลี กวน ยู สิงคโปร์ได้รับอำนาจในการปกครองตนเองอย่างสมบูรณ์และนายลีได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงค์โปร์
ช่วงที่ได้รับเอกราชจากอังกฤษและสิงคโปร์รวมอยู่เป็นรฐหนึ่งของมาเลเซีย จกาการมี่สิงคโปร์เห้นมาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษ สิงคโปร์จึงรีบขอรวมชาติเข้ากับมายา ทันที่ เพื่อจะได้ไม่เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ และอยู่ได้เพียง 2 ปี หลังจากการรวมอยุ่กับมาเลเซียไม่นาน เกิความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองขึ้นหลายครั้งประกบอกับภัยคุกคามที่เกิดจากลัทธิคิมมิวนิสต์และความสัมพันธ์ระหว่งสิงคโปร์และมลายาที่ไม่ดี โดยเฉพาะการที่สิงคโปร์ก็ไม่พอใจกับมาเลิซียมากนักในเรื่องกการเหยียดชนชาติ ในมาเลเซียคนเชื่อสายมาเย์เป็นกลุ่มใหญ่และมีอภิสทิธิ์ แต่ในสิงคโปร์ชนกลุ่มใหญ่คือคนเชื้อสายจีน ทำให้พรรคกิจประชาชน ของสิงคโปร์ประกาศให้สิงคโปร์เป็นเอกรชและแยกตัวออกจากมลายา ตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1965 ตั้งแต่บัดนั้นมาจนก่อร่างสร้าตัวเป็นรัฐบาลและชาติที่มีเอกราชในท้ายที่สุด
มาเลเซีย เจีย บุน เคงอธิบายถึงการที่ความเป็นชาติของมาเลเซียก่อตัวและวิวัฒน์ขึ้นในทางปฏิบัติอย่างไร โดยเน้นการศึกษาไปที่การเมืองในระบบเลือกตั้ง บทบาทของนายกรัฐมนตรีที่ผท่นมา และนโยบายระดับประเทศ เจีย วิเคราะห์มาเลเซียผ่านมุมมองของ "การรับและการให้" โยศึกษาความตึงเครียดที่ดำรงอยุ่ ระหว่างแนวคิดชาตินิยมเชิงชาติพันธุ์ของชนเช้อสายมาเลย์ กับแนวคิดชาตินิยมมาเลเซีย ประเด็นข้อถกเถียงหลักที่เจียเสนอ คือ นายกรํบมนตรีที่ผท่ามาทั้ง 4 คน ล้วน "เร่ิมต้นจากการเป็นนักชาตินิยมมาเลย์ที่กีอกันคนเชื่อสายอื่นออกไป แต่ในที่สุดก็กลับหลายมาเป็นนักชาตินิยมมาเลเซียที่รวมกลุ่มชาติพันธ์ุอืนๆ เข้าไว้ด้วยกัน การที่เป็นเช่นนี้ถึงสี่ครั้งในประวัติศาสตร์ของชาติ ย่อมแสดงให้เห็นว่า รัฐชาติมาเลเซียได้พัฒนาตรรกะของตนเองขึ้น ดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่า เกตัวนัม เมลายู หรือการครอบงำทางการเมืองของกลุ่มชาติพันธ์ุมาเลย์นั้น จะยังดำรงอยุ่ตลอดไป แต่จะถูกจำกัดด้วยตรรกะดังกล่าวหนังสือของเจียเสนอความจริงด้านหนึ่งของมาเลเซีย ที่มีควมหลากหลายและความอดกลั้นทางวํมนธรรม
สาธารณรัฐเมียนม่าร์ ขบวนการชาตินิยมในเมียนม่าร์ในระยะเริ่มแรกยังไม่ก่อตั้งขึ้นเป็นสมาคมหรือองค์กรซึ่งมีรูปแบบการจัดตั้งที่ดีพอ ในแง่การรวมกลุ่มมีสมาชิกเข้าร่วมดำเนินงานและมีนโยบายแผนงาน เป้าหมายในการเคลื่อนไหวที่สำคัคือยังมิได้มีท่าทีต้องการก่อกระแสปลุกเร้าสร้างจิตสำนึกทางการเมืองขึ้นมาร่วมกันอย่างมีน้ำหนักของความเป็นเหตุเป็นผล เพื่อให้คนส่วนใหญ่ยอมรับและสนับสนุนการเคลื่อนไหวในแต่ละครั้งแต่อันที่จริงแล้ว แม้ว่าขบวนการชาตินิยมในยะะแรกจะมิได้มีแบบแผน วิธีการเคลื่อนไหวอย่างมีจุดประสงค์ชัดเจนทางการเมือง
ขบวนการชาตินิยมของพม่าเริ่มเกิดขึ้นเป็นทางการที่มีกาจัดตั้งและดำเนินงานอย่างได้ผลคือ สมาคม YMBA สมาคมยุวพุทธ แต่ก็ถูกจำกัดอยู่ในขอบเขตที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองโดยตรง อย่างไรก็ตามเมือสมาคมยุวพุทธเริ่มเป็นที่ยอมรับมากขึ้นเพราะมีความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมเพื่อต่อต้านเจ้าอาณานิคม โดยเฉพาะในเรื่องศาสนา จึงต้องการขยายบทบาทไปสู่กิจกรรมทางการเมืองโดยตรง ดังนันจึงมีการจัดตั้งสมาคมขึ้นใหม่ มีชื่อว่า สภาใกญ่ของสมาคมชาวพม่า GCBA การเปลีวยนแปลงสมาคม YMBA มาเป็น GCBA ต้องการต่อสู้เพื่อเอกราชของพม่า แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในด้านที่ผุ้นำของสมาคมในการต่อสุ้ยังเป็นพระสงฆ์อยู่มากเช่นเดิม ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สมาชิกมีความขัดแย้งกันเกี่ยวกับบทบาทของสงฆ์ที่มายุ่งเกี่ยวกับการเมืองเป็นการขัดวินัยสงฆ์ จึงมีผลกระทบต่อการขยายบทบาทของทางสมาคม ต่อมาบทบาทผุ้นำชาตินิยมเปลี่ยนมาเป็ฯกลุ่มผุ้นำนักศึกษาในมหาวิทยาลัยย่างกุ้งที่ตั้งขึ้นใหม่ พร้อมๆ กับการปรากฎตัวของขบวนการนักศึกษาที่เรียกว่าตัวเองว่า "ตะขิ่น" ได้กลายมาเป็นผุ้นำที่สำคัญของขบงนการชาตินิยมในเมียนม่าร์ กระทั่งสามารถดำเนินงานทางการเมืองในการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษได้สำเร็จ
เวียดนาม ชาตินิยมในเวียดนามเป็นชาตินิยมที่มีพัฒนาการอย่างยาวนาน อันเกิดจากการค้นหาแนวทางการต่อต้านแบบใหม่ๆ หลังจากความล้มเหลวของขบวนการต่อต้านรุปแบบเก่า ดังจะเห็นว่าแรกเร่ิมนั้นศุนย์กลางชขาตินิยมของเวียดนามถูกผุกติดอยู่ราชสำนักอันเกิดขึ้นจากความไม่พอใจของขุนนางขงจื้อบางส่วนที่ถุดลดทอนบทบามและอำนาจที่เคยมี แต่ชาติยินมลักษณะนี้มิได้เกิดจากการรวมตัวและสร้างฐานในหมู่ประชาชนมากเท่าที่ควรทั้งนี้เนื่องจากสำนึกของประชาชนต่อสังคมักดินาแบบก่อน
อาณานิคมไม่ได้ทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะชาวนาที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น จึงทำให้พลังการต่อต้านในระยะแรกนี้มีไม่มากเท่าที่ควร ส่งผลให้ชาตินิยเวียดนามในระยะแรกไม่ประสบความสำเร็จและได้ก่อเกิดการต่อต้านในรูปแบบใหม่ขึ้น พยายามเปลี่ยนแปลงการต่อต้านในรูปแบบใหม่คือพยายามสร้างฐานในปมุ่ประชาชน แต่ก็ยังไม่สามารถที่จะตัดความสำคัญของกษัตริย์ในฐานะสัญลักษณ์ของการต่อต้านได้ทั้งหมด ทั้งนี้เพราะยังคงต้องการกษัตริย์ที่จะชักจูงมวบชนและราชสำนักให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการต่อต้านได้ แต่ทว่าก็ยังไม่ามารถสร้างประชคมใหม่ในจินตนาการของประชาชนได้เท่าที่ควร อีกทั้งการต่อต้านนั้นมีลักษณะกระจายเป็นหย่อมๆ ไม่สามารถรวมตัวกันได้อย่างมีประสิทะิภาพทำให้การดำเนินการชาตินิยมในระยะนี้ขาดเอกภาพ กระทั่งเมื่อพรรคอมมิวนิสต์อินโดจีนเกิดข้นใน ค.ศ. 1930 ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงเชิงรูปแบบชองขบวนการต่อต้าน เมื่อพรรคคอมมูนิสต์ใช้ปรัชญาตามแนวทางลัทะิมาร์กซิสต์ที่ให้ความสำคัญกับประชาช ดยเฉพาะอย่างยิ่งกับชาวนาและชนชั้นกรรมาชีพ ที่เป็นประชกรหลักของประเทศในการจัดตั้งปรชาคมใหม่ของเวียดนามเข้ามาเป็นตัวสร้างชาตินิยมให้เกิดขึ้น อันสามารถสร้างชาตินิยมในหมู่ประชาชนได้อย่างกว้าง ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคมใหม่ที่มีประชาชนเป็นตัวแสดงแทนการต่อต้านทุกรูปแบบ เกิดการเป็นการต่อสู้ของประชาชนเพื่อประชาชนของเวียดนาม จนในที่สุดนำปสู่ชัยชนะแห่งการปลกแอกตัวเองออกาจากระบอบนิคมฝรั่งเศส
ลาว ในช่วงสงครามดลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้รุกเข้ามาในลาวและดินแดนอินโดจีนฝรั่งเศสอื่นๆ เมื่อญีุ่ป่นใกล้แพ้สงคราม ขบวนการลาวอิสระซึ่งเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อกู้เอกราชลาวในเวลานั้นประกาศเอกราชให้ประเทศลาวเป็นประเทศราชอาณาจักรลาวหลังี่ปุ่นแพ้สงคราม ฝรั่งเศสก็กลับเข้ามามีอำนาจในอินโดจีนอีกครั้งหนึ่ง แต่เนื่องจากการที่เวียดมินห์ปลดปล่อยเวียดนามได้ จึงเป็นหารสั่นคลอนอำนาจฝรั่งเศสจนยอมให้ลาวประกาศเอกราชบางส่วน และได้เอกราชสมบุรณ์ในปี 1953 ภายหลังฝรั่งเศสแพ้เวียดนามที่เดียเบียนฟู ผุ้ที่มีบทบาทในการประกาศเอกราชคือ เจ้าสุวณณภูม เจ้าเพชรราช และเจ้าสภานุวงศ์ โดยมีเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้ามหาชีวิต จากอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบางเดิมและได้รวมทั้ง 3 อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง ล้านช้างเวียงจันทน์ และล้านช้างจำปาศึกดิ์ เข้าด้วยกันเป็นราชอาณาจักรลาว ลาวอิดสะระ เป็นขบวนการต่อต้ารฝรั่งเศสเน้นชาตินิยมและไม่นิยมคอมมิวนิสต์
กัมพูชา เขมรอิสระ เป็นกลุ่มต่อต้านฝรั่งเศสและกลุ่มชาตินิยมเขมร ก่อตั้งเมื่อพ.ศ. 2488 โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยจุดประสงค์เพื่อต่อต้านการเป็ฯอาณานิคมของฝรั่งเศสและจัดตั้งรัฐเขมรที่เป็นเอกราชอย่างไรก็ตาม ภายในกลุ่มมีความแตกแยกทางความคิดมาก สุดท้ายทำให้สมาชิกแยกตัวออกไปสมาชิกของกลุ่มหลายคนมีบทบามสำคัญในสงครามกลางเมืองกัมพูชา
อินโดนีเซีย ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น ญี่ปุ่นอนุญาติให้ก่อตั้งศุนย์อำนาจของประชาชน ญี่ปุ่นตระหนักได้ว่างานจะสำเร็จได้จะต้องทำงานผ่านผุ้นำของคนพื้นเมือง กลุ่มผุ้นำชาตินิยม เป็ฯองค์การที่รวมนักชาตินิยมทั้งหมดไว้ ผุ้นคือ คฯต้นใบสามแฉก สีใบ คือพวกชาติยิยมชั้นนำ ได้แก่ ซุการ์โน, มุฮัมหมัด ฮัตตา, ฮัดยาร์ เทวัญ โตโร และผุ้แทนของความคิดแบบมุสลิมคือ กีอายี เอช เอ็ม มันซูร์ โดยองค์กรนี้ไดรับความเชื่อถืออย่างกว้างขวางที่จะนำไปสู่การเป็นชาติยนิยมอย่างแม้จริง
ต่อมาญี่ปุ่นรู้ว่าตนเป็นรองในสงครามท่าทีของญี่ปุ่นที่มีต่อขบวนการชาตินิยมเริ่มเปลีี่ยนไป ญี่ปุ่นสัญญาว่าจะให้เอกราชแก่ชาวอินโดนีเซีย ซุการ์โน ร่างกฎ 5 ข้อ ซึ่งญีปุ่นก็ไม่มีท่าที่ต่อต้านใดๆ
ในวันที่ 8 สิงหาคม 1945 หลังจากที่สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมณุครั้งแรกที่ฮิโรชิมา ซุการ์โน และฮัตตาบินไปยังศูนย์บัญชาการของญี่ปุ่นที่ไซง่อน วันที่ 11 ญี่ปุ่นยอมรับการยอมแพ้สงคราม และสัญญาว่าจะคืนเอกราชให้ในวันที่ 14 สิงหาคม เมื่อซุการ์โน และฮัตตาหลับจากไซ่ง่อน ได้ไม่กี่วันความหวาดหวั่นว่ากลุ่มต่างๆ ในหมู่ชนชั้นสูงอาจจะกีดกันความพยยามของกันและกัน ในขณะนั้นซุการ์ไนเป็ฯผุ้นำชาตินิยมที่มีผุ้รู้จักมากที่สุดและทรงอิทธิพลมากที่สุด มีควาสำคัญต่อการปรกาศเอกราชในขณะนั้น แต่ทว่าซุการ์โนยังรีรอ กระทั่งวันที่ 17 สิงหาคม จึงได้มีการประการเอกราช "เราประชาชนอินโดนีเซีย ขอประกาศเอกราชของประเทศอินโดนีเซีย ณ บัดนี้ เกรื่องเกี่ยวกับการโอนอำนาจและเรื่องอื่นๆ จะจัดการไปเป็นลำดับและให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้"
ฟิลิปปินส์ ขบวนการชาตินิยมในฟิลิปปินส์แบ่งออกเป็นสามระยะ ซึ่งในการจัดตั้งขบวนการชาตินิยมเองก็มีความขัดแย้ง คือ มีกลุ่มชาตินิยมปัญญาชนและกลุ่มชาตินิยมด้อยโอกาส การถึงแก่มรณกรรมของ โฮเซ่ ริชา เป็นมูลเหตุและแรงจูงใจอย่างมากต่อขบวนการชาตินิยมในฟิลิปปินส์
- www.satrit.up.ac.th/..,ประวัติศาสตร์สิงคโปร์
- "ประวัติเอเซึยตะวันออกเฉียงใต้โดยสังเขป"
- www.kyotoreview.org, ทำความเข้าใจความเป็น "มาเลเซีย"
- digi.library.tu.ac.th/..,บทที่ 3 ขบวนการชาตินิยมของพม่า
- www.midnighttuniv.org พัฒนาการชาตินิยมเวียดนาม
- sites.google.com/..,ขบวนการลาวอิสระและเส้นทางสุ่เอกราชของลาว
- www.th.wikipedia.org.., เขมรอิสระ
- www.sac.or.th/..,อินโดนีเซีย-ประวัติศาสตร์
- www.gotoknow.org/..,ฟิลิปปินส์ : ขบวนการชาตินิยมของชาวฟิลิปปินส์
- "ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยใหม่ ลัทธิอาณานิคม ลัทธิชาตินิยมและการสลายตัวของลัทธิอาณานิคม"จอห์น แบสติน,แฮรี่ เจ.เบ็นดา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น