Nationalism : “Nusantara”

           “Nusantara”นูสันตารา หรือ "หมู่เกาะในภูมิภาคมลายู" ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่คาบสมุทรมลายู เกาะสุมาตรา กาลิมันตัน เรื่อยไปจนถึงปมู่เกาะทั้งหมดที่เป็นพื้นที่ของประเทศมาเลเซย บรูไน สิงคโปร์และอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และภาคใต้ของไทย
            แนวคิด นูสันตาราสะท้อนให้เห็นถึงความใกล้ชิดและการเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร คำว่า นูสันตารา เป็นคำที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรมัชปาหิต ซึ่งปรากฎอยุ่ในพงศาวดารชวา ซึ่งเป็นหนังสือที่ค้นพบที่เกาะบาหลี ในศตวรรษที่ 9 หนังสือเล่มเขียนในสมัยอาณาจักรมัชปาหิต มีความตอนหนึ่งได้กล่าวถึง กาจาห์ มาดา ผุ้นำทางทหารผุ้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นอัครมหาเสนาบดีโดยราชินีแห่งอาณาจักรมัชปาหิต กาจาห์มาคาได้ให้สัตยาบันต่อนหนึ่งไว้ว่า "ข้าจะงอเว้นความสุขทางโลกทั้งมวล จนว่าข้าจะทำให้ นูสันตาราเป็นหนึ่งเกี่ยวกัน และยังกล่วว่า "ถ้าสามารถเอาชนะหมู่เกาะฝั่งตรงข้ามได้แล้วข้จะพักผ่อน" กล่าวคือ เป็นเมืองต่างๆ ที่อยู่ล้อมรอบอาณาจักรมัชปาหิตและอาณาจักมัชปาหิตเป็นสูนย์กลางของอินแดนต่างๆ หล่านี้ ดังนั้น "นุสันตารา"ในสมัยอาณาจักมัชปาหิตจึงหมายถึงดินแดนต่างๆ หรือเกาะรอบนอกของเกาะชวานั่นเอง
           ในปี 1920 ดร.เซเทียบูดิ ได้เสนอชื่อของประเทศอินโดนีเซีย ชื่อที่เขาเสนแนั้นคือ นูสนตารา โดยได้กล่าว่าความหมายของคำว่า "นูสันตารา" ในสมัยมัชปาหิตเป็นการให้ความหมายแบบชาตินิยม แต่การให้ความหมายนี้เขากล่าวว่า "antara" มีความหมายในภาษามลายูว่า "ระหว่าง" ดังนั้นคำว่า "Nusantara"ในความหมายนี้จึงหมายถึง ดินแดนที่อยุ่ระหว่างสองทวีป สองมหาสมุทร ซึ่งจะทำให้เกาะชวาของอินโดนีเซียเป็นส่วนหนึ่งของอินแดนดังกล่าวด้วย
           ในช่วงขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชของอินโดนีเซียนี้เอง มีข้อเสนอให้มีการจัดตั้ง "มหาอาณาจักรอินโดนีเซีย"ซึ่งเหล่าบรรดานักชาตินิยมต่างๆ ได้วางโครงการประเทศอินโดนีเซียที่ประกบด้วยดินแดนมาเลเซียและดินแดนของประเทสอื่นๆ ถ้าเป็นไปได้ที่กล่าวมานี้ หมายถึง "นูสันตารา" หมู่เกาะอินโดนีเซียทั้งหมดในอดีต หรือ ดินแดนอินโดนีเซียสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งอินโดนีเซียเป็นทายาทอันชอบธรรมที่จะไ้รับอินแดนต่างๆ นอกจากนี้ ยังหมายถึงว่าอินโดนีเซียจะรวมดินแดนที่เคยอยู่ได้การยึดครองของเนเธอร์แลนด์ท้งหมดและรวมถึงรวมอินแดนของอังกฤษนมาลายาและบอร์เนียวเข้ด้วยกันกับอนิโดนีเซียอีกด้วย
           นอกจากนั้นแ้วยังได้มีการอธิบายคำว่า "นูสันตารา"ในพื้ที่ทางประวัติศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับกระแสอิสลามนิยมนั่นก็คือ ดินแดนของผุ้คนที่นับถือศาสนาอิสลามที่ครอบคลุมพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับการะแสอิสลามนิยมนั่นก็คือ ดินแดนของผุ้คนที่นับถือศสนาอิสลามที่ครอบคลุมพื้นทีทุกประเทศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทรรวมไปถึงบรรดาผุ้นำศาสนาที่มีบทบาทในการต่อสู้ปกป้องชุมชนมุสลิมบนดินแดนภาคพื้นสมุทรจากการรุกรานของอาณานิคมตะวันตก เช่นปาไซ มะละกา ชวาและที่อื่นๆ บุคคลเหล่านั้นได้รับการอธิบายว่าเป็นวีรบุรุษของ "นูสันตารา" ในฐานะผุ้ปกป้องศาสนาอิสลาม เช่นในกรณีของหะยีสุหลง อับดุล กาเอร์ ผุ้นำมลายูผุ้เรยกร้องสิทธิให้กับชาวปัตตานีจากสยาม ชื่อของ อัจญี สุหลง อับดุล กาเดร์ ก็ยังคงได้รับการเคารพและยอมรับไม่ใช่แค่ในหมู่คนในปัตตานีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกลุ่มอิสลามนิยมในคาบสมุทรมลายูและสุมาตราอีกด้วย อิทธิพลของศาสนาอิสลามทำให้ความปลากหลายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทรลดลง มีแบบแผนบางประการร่วมกนเกิดขึ้น และยังเป็นพลังขับเคลื่อนทางวัฒนธรรมในรูปแบบอื่นๆ อีกด้วย
           "นูสันตารา" ในความหมายที่กล่าวมาข้างต้นนั้นไม่ว่าจะป็นความหมายใด ก็ไม่อาจจะกำหนดขอบเขตที่แน่นอนในทางภูมิศาสตร์ ไม่มีเส้นแบ่งเขตอำนาจอธิปไตยอย่างชัดเจน และมีอาณาเขตที่กว้างไกลกว่าอาณาเขตของรัฐชาติต่างๆ ของภาคพื้นสมุทรในปัจจุบัน ซึ่งสิ่งดังกล่าวเหล่านี้สามารถที่จะทำให้มองเห็นภาพของความเป้นอันหนึ่งอันเดียวกันในพื้นที่บริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นการตอกย้ำแนวความคิดการเป็นเจ้าของในรัฐภาคพืนสมุทรของอินโดนีเซียและมาเลเซียได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
           แน่นอนว่าความเข้าใจ เรื่อง "นูสันตารา" ของทังสองประเทศจึงอยู่ในสภาพที่มีความทับซ้อนกันอยู่มาก เราจะพบว่าภายหลังจากได้รับเอกราชแล้ว "นูสันตารา" ได้กลายมาเป็นเครื่องมือทางการะมืองของเหล่าบรรดานักชาตินิยมในการปลุกกระแสชาตินิยม เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ให้กับประเทศ และยังถูกใช้แสดงอำนาจความเป็นเจ้าของเหนือดินแดนและวัฒนธรรมต่างๆ อยู่เสมอ
         ความเข้าใจเรื่อง "นูสันตารา" นำมาสู่สำนึกความเป็นเจ้าของเหนือดินแดนของทั้งสองประเทศรวมทั้งฟิลิปปินส์ด้วย และได้นำมาสู่การประจันหน้ากันระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซียภายหลงจากการที่มีความพยายามที่จะสร้างสหพันธ์มาเลเซียขึ้นมาดดยดึงเอาซาบาห์และซาราวักเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง
            ความขัดแย้งในการอ้างสิทธิความเป็นเจ้าของเหนือดินแดนทั้งทางบกและทางทะเลระหว่างมังสองประเทศก็มีอยู่บ่อยครั้ง เช่น กรณีพิพาทในบริเวณหมู่เกาะชีปาดัน และลีกีตัน ที่เป็ฯปัญหาชายแดและอธิปไตยของประเทศ ซึ่งทั้งสองประเทศต่างอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนดังกล่าว ทางอินโดนีเซียได้อ้างถึงข้อตกลงเส้นเขตแดนระหว่งอังกฤษกับดัตช์ ว่าด้วยการแบ่งสรรดินแดนบริเวณเกาะกาลิมันตัน .ึ่งหากยึดข้อตกลงตามนั้นเมือลากเส้นพรมแดนระหว่างสองประเทศที่เกาะเซบาติกและลีกีตันจะอยู่ใฝั่งเนเธอร์แลนด์และควรที่จะเป็นของอินโดนีเซียเมื่อได้รับเอกราช ส่วนพื้นที่ทางตอนเหนือของเกาะเซบาติกจะเป็นของอังกฤษ ส่วนพื้นที่ทางมาเลเซียนั้นอ้างว่าเกาะทั้งสองควรเป็นของมาเลเซียมากกว่าเนื่องจากเกาะทั้งสองเป็นมรดกตกทอดมาแต่สมัยสุชต่านซูลู หลังจากนั้นก็ตกทอดไปสู่มือสเปน และอังกฤษก็ได้เข้าครอบครองในที่สุด อย่างไรก็ดี จากปัญหาของพิพาทดังกล่าวหากใช้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์จะพบว่าดินแดนของเกาะทั้งสองนี้เป็นของประเทศมาเลเซีย
            ปัญหาความทับซ้อนระหว่างมาเลเซียอินโดนีเซียนั้นยังได้ลุกลามบานปลายไปจนถึงเรื่องวัฒนธรรม เนื่องจากภายหลังจากยุคอาณานิคมแล้วรัฐชาติที่เกิดขึ้นทังสองนี้เป็นการเกิดขึ้นโดยการสร้างพรมแดนทางการเมืองซึ่งเพิ่งเกิดใหม่ทับลงพบพรมแดนทางสังคม และงฒนธรรมที่มีอยุ่ร่วมกัน ในกรณีของ "วัฒนธรรมมลายู" การทับซ้อนของวัฒนธรรมจะโดเด่นเป็นพิเศษ เนื่องจากวัฒนธรรมมลายูเป็นรุปแบบของวัฒนธรรมที่ปรกกฎอยู่ในทังสองประเทศมีรูปแบบทางวัฒธรรมที่คบ้ายคลึงกันและมีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ร่วกัน และหากพูดถึงวัฒนธรรมมลายูนั่นไม่สามารถกล่าวได้ว่าเป็นวัฒนธรรมของประเทศใด เพราะหากนำเอาความเป็นชาติพันธหรือรากของภาษาเป็นตัวตั้งแล้วนั้นขอบเขตของโลกมลายูจะมีขอบเขตที่กว้างขวางขยายไปทั่วลบริเวณคาบสมุทรและกลุ่มเกาะรวมถึงตอนใต้ของไทยด้วยเนื่องจากพื้นที่ทางการเมืองกบพื้นที่ทางด้านวัฒนธรรมมันแยกออกจากกัน
            จึงเป็นการขึดเส้นเขตแดนทางการเมืองลงบนเขตแดนทางวัฒนธรรมที่ผุ้คนเดคยเดินทางข้ามไปข้ามาได้หรือ มีการเคลื่อนย้ายผุ้คนระหว่างกันอยู่ตลอดเวลา จนในที่สุดความทับซ้อนดักลาวได้กลายเป็นปัญหาชนชาตินิยมแบ่งเขา เบ่งเรา เพือที่จะได้รับช่องทางในการเข้าถึงทรัพยากรทางการเมือง สังคม และวัตถุต่างๆ ดังนั้น อัตลักษณ์ทางชาติพันธ์หรือการรวมกลุ่มทางชาติพันะ์จึงถุกนำมาใช้เพื่อทำให้ตนและกลุ่มตนบรรลุความต้องการในเรื่องผลประดยชน์และก่อให้เกิดสำนึกแห่งกรรมสิทธิ์การเป็นเจ้าของทางด้านวัฒนธรรมในหมู่ผุ้คนของทั้งสองประเทศเฉกเช่นเดี่ยวกับปัญหาการอ้างสิทธิเหนืดินแดนต่างๆ
            การอ้างสิทธิกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศนั้นเกิดขึ้นในหลายกรณี เช่น กรณีพิพาทเรื่องเพลง ราซา ซาแยง ที่กระทรวงการท่องเที่ยวของมาเลเซียนั้นได้นำเสนอในการโปรโมทการท่องเที่ยวของประเทศ รัฐมนตรีการท่องเที่ยวของมาเลเซียได้กล่าวว่าเป็นเพลงของคาบสมุทรมลายุ ในขณะที่ผุ้ว่าการจังหวัดมาลูกูของอินโดนีเซียได้กล่าวว่า เป็นเพลงของชาวโมลุกูของอินโดนีเซียและอินโดนีเซียจะรอบรวมหลักฐานมาเพื่อเป็นการยืนยันการเป็นเจ้าของ ซึ่งจริงแล้วนั้น เพลงนี้เป็นเพลงพื้นเมืองอันเก่าแก่ของชาวมลายูดังจึงไม่แปลกที่ต่างฝ่ายต่างอ้างเหตุผลต่างๆ เพื่อแสดงถึงความเป็นเจ้าของบทเพลงนี้
           ผ้าบาติก ซึ่งเป็นความทับซ้อนทางวัฒนธรรมระหว่างสองประเทศ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่มีร่วมกันมาอย่างยาวนานของผุ้คนครอบคลุมพื้นที่หลายๆ ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทรซึ่งวัฒนธรรมการผลิตผ้าบาติกนี้ได้ถูกอธิบายโดยศาสตรจารย์ไมเคิล ฮิทช์ค๊อด แห่งมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ว่าการผลิตผ้าบาติกที่เป็นวัมนธรรมของชาวพื้นเมืองดั้งเดิมนั้นจำแนกออกเป็น 2 สายใหญ่ของโลก สายหนึ่งมาจากหมู่เกาะชวา และอีกสายหนึ่งมาจากหมู่เกาะสุมาตรา มาเลเซีย และรอบๆ ชายแดนของมาเลเซีย ซึ่งก็ยากที่จะตัดสินว่าส่วนใดที่มีอายุเก่าแก่หว่ากัน จะเห็นได้ว่าทั้งสองประเทศมีความใกล้ชิดกันทางวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก
           จะเห็นได้ว่ามาเลเซียกับอินโดนีเซียเป็นประเทศเพื่อบ้านที่มีความกล้ชิดกนทางด้านูมิศาสตร์และวัฒนธรรมแต่ความใกล้ชิดแฝงไปด้วยความขัดยแย้งระหว่างกัน นับต้งแต่พัฒนาเป็นรัฐสมัยใหม่ขึ้นมา โดยเฉพาะประเด็นปัญหาเรื่องพื้นที่ทับซ้อน ข้อพิพาทเรื่องการอ้างสิทธิเหนือดินแดนและยังลุกลามไปจนถึงปัญหาความขัดแย้งทางวัฒนธรรม
           ความตึงเครียดในความสัมพันธ์ระหว่งมาเลเซียและอินโดนีเซียเกิดขึ้นเนื่องจากเรื่องของนโยบายและผลประโยชน์แห่งชาติ ซึ่งเป็นเรื่องที่แต่ละรัฐต่างต้องนิยามกันเอง เพราะแต่ละรัฐนั้นมีสภาวะและองค์ประกอบยบ่อยที่มีความแตกต่างกน ดังนั้นรัฐแต่ละรัฐบ่อมต้องพยายามทุกวิธีเพื่อที่จะดำรงรักษาผลประโยชน์ของชาติตนตามที่ไดนิยามวไว้ให้ได้
          ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในทางภูมิศาสตร์ การมีจุดร่วมกันในทางเชื้อชาตแ ศาสนา ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมในโลกมลายู เป็ฯสาเหตุหนึ่งที่ก่อความขัดแย้ง ส่วนหนึ่งมีสาเหตุจากความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดรเรื่องพื้นที่และาณาบริเวณ หรือ "นูสันตารา" ที่มีร่วมกันของผุ้คนที่อยุ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทรได้นำมาสู่สำนึกแ่งกรรมสิทธิ์การเป็นเจ้าของในหมู่ผู้คนของทั้งสองประเทศท้ายที่สุดก็ก่อให้เกิดปัญหาข้อพิพาท ทั้งประเด็นปัญหาการอ้างสิทธิเหนือดินแดนต่างๆ และยังลุกลามไปจนถึงเรื่องของวัฒนธรรม
          ความเข้าใจ เรื่อง "นูสันตารา" ของทั้งสองประเทศจึงอยู่ในภาพที่มีความทับซ้อนกันอยู่มาก จนกระทั่งภายหลังจากได้รับเอกราช เป็นการเกิดขึ้นจากการสร้างพรมแดนทางการเมืองซึ่งเพิ่งเกิดใหม่ทับลงบนพรมแดนทางสังคม และวัฒนธรรมที่มีอยู่ร่วมกันนั่นคือ "วัฒนธรรมมลายู" ซึ่งมีของเขตที่กว้างขวางขยายไปทั่วบริเวณคาบสมุทรและกลุ่มเกาะรวมถึงตอนใต้ของไทย เมื่องเกิดพรมแดนรัฐชาติชึ่งมันเกิดที่หลัง มันเกิดการขีดเส้นแบ่งพื้นที่และแน่นอนว่าการสร้างตัวตน หรือ อัตลักษณ์ของรัฐชาติที่เกิดขึ้นใหม่นี้ย่อมเกิดผ่านการสร้างสำนึกทางประวัติศาสตร์ที่มีความเหลื่อมล้ำทับซ้อนกันอยุ่ ทั้งทางด้านภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมจนในที่สุดความทับซ้อนดังกล่าวได้กาลายเป็นปัญหาชนชาตินิยม แบ่งเค้า แบ่งเรา การแย่งชิงเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติของตน ดังนั้นเราจะพบว่าต่อมาความเข้าใจในเรื่อง "นูสันตารา" ได้กลายเป็นเครื่องมือในทางการเมืองของเหล่าบรรดานักชาตินิยมในการปลุกกระแสชาตินิยมเพื่อแสวงหาผลประดยชน์ให้กับประเทศและยังถุกใช้แสดงอำนาจความเป็นเจ้าของเหนือดินแดนและวัฒนธรรมต่างๆ อยู่เสมอ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)