วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2560

Nationalism : Filipine

                                   
                                                    บทกวีที่โฮเซ่ ริซาลเขียนขึ้นในค่ำคือก่อนถูกประหาร
                                                          "คำอำลาสุดท้าย"(ถอดความจากภาษาเสน)

ลาก่อน แผ่นดินที่รักยิ่งของฉัน อินแดนแห่งดวงตะวันอันอบอุ่น
ไย่มุกแข่งทะเลบูรพา สวนอีเดนของพวกเรา
ด้วยความปิติ ฉันของมอบชีวิตที่แสนเศร้าและหมองมัวของฉันให้กับเธอ
และขอให้มันเจิดสรัสยิ่งขึ้น มีชีวิตชีวายิ่งขึ้นมากที่สุดเท่าที่มันจะมีได้
และเพื่อที่ฉันจะมอบมันหใ้กับเธอ เพื่อเธอจะได้มีความผาสุขชั่วกัปกัลป์
ในสนามรบท่ามกลางความรุนแรงของการต่อสู้
ผุ้คนมอบชีวิตให้กับเธอ โดยปราศจากความลังเลและความเจ็บปวด
ณ หนใด ไม่สำคัญ แท่นแห่งเกียรติยศ สถานที่อันศักดิสิทธิ
แดนประหาร ทุ่งร้าง เขตปรกปักษ์ หรือทัฒฑสถาน
มันไม่มีความแตกต่างกันเลย หากว่าเป็นความต้องการของมาตุภูมิ
ความตายของฉันเปรียบเสมือนแสงแรกแห่งอรุณ
และแสงเรื่องรองสุดท้ายของวารวัน ที่ส่องสว่างหลังจากค่ำคือนอันมือมน
ถ้าเธอต้องการสีเพื่อย้อมอรุณรุ่ง
รินเลือดของฉันแล้ว ระบายลงให้ทั่ว
จากนั้นจึงสาดส่องด้วยแสงแรกของแผ่นดิน
ความฝันของฉัน เมื่อแรกเติบใหญ่จากวัยเยาว์
ความฝันของฉันเมืองครั้งวัยแรกรุ่น เต็มเปี่ยมไปด้วยพลังที่จะค้นหา
เพื่อที่จะได้พบกับเธอ อัญมณีแห่งทะเลบูรพา
ดวงตาที่ดำขลับ คิ้วที่รับกับหน้าผาก ปราศจากรอยขมวด
ใบหน้าที่เรียบลื่น และผุผ่องไร้รอยราคี
ชีวิตของฉันเต็มไปด้วยจินตนาการ ความเร่าร้อนของฉัน เปี่ยมไปด้วนแรงปรารถนา
มาเถิด! มันช่างแสนหวานที่จะได้เติมเต็มในสิ่งที่เธอต้องการ
ตายเพื่อกำเนิดชีวิตให้กับเธอ อยู่ใต้ฟ้าของเธอจนลมหายใจสุดท้าย
และอยู่ใต้ผืนดินที่มีมนต์ขลังของเธอ เพื่อหลับไปชัวนิรันดร์
หากวันใดเธอเห็นสายลมพัดอยู่เหนือหลุ่มศพของฉัน
สายลมที่ผ่านพัดดอกไม้ที่เอนลู่ท่ามกลางพงหญ้าที่รกร้าง
ขอเธอนำมันมาเคียงริมผีปาก และโปรดจุมพิตดวงจิตของฉัน
ใต้หลุมศพที่หนาวเย็น ฉันจะรับรู้ได้ผ่านสายลม
ลมหายใจที่อบอุ่นของเธอ สัมผัสแห่งความรักและอาทร
ขอให้ดวงจันทร์ทอแสงนวลใยโอบไล้ฉัน
ขอให้อรุณฉายทาทางแันด้วยแสงทองของวันใหม่
ขอให้สายลมผ่านพัดเสียงครวญคร่ำ
และถ้าจะมีนกมาเกาะที่ไม่กางเขนที่เหนือหลุมศพ
ขอให้มันขับขานเพลงแห่งสันตุสุขแด่เถ้ากระดูกของฉัน
ขอให้ดวงตะวันแผดเผาไอหมอกให้ลอยขึ้นสู่ฟ้า
และด้วยเสียงตระดกนไล่หลังของฉัน จะทำให้ท้องฟ้าแจ่มใส
ขอให้เพื่อหลังน้ำตาให้กับเป้าหมายในชีิวตของฉัน
และในตอนบ่ายที่เงียบสงบเมื่อใครสักคนหนึ่งสวดภาวนา
ฉันจะภาวนาไปพร้อมกัน โอ มาตุภูมิของฉัน ขอให้ฉันได้พำนักอยู่กับพระผุ้เป็นเจ้า
และโปรดภาวนาให้กับผุ้เคราะห์ร้ายที่ได้พรากจาก
ให้กับผุ้ที่ได้รับความทุกข์ยากจากความอยุติธรรม
ให้กับเหล่าแม่ขอเราที่ต้องร้องให้ด้วยความขมขื่น
ให้กับเหล่ากำพร้าและแม่หม้าย ให้กับผุ้ที่ถูกจับไปทัฒฑ์ทรมาน
ฉันจะภาวนาพร้อมกับเธอ เพื่อให้เธอได้รับการชำระบาปจากพระองค์
และเมื่อรัตติกาลที่มือมิดปกคลุมไปทั่วสุสาน
และมีเพียงผุ้ที่ตายจาก ทอดร่างอย่างสงบอยู่ ณ ที่แห่งนี้
อย่ารบกวนการพักผ่อนของพวกเขา อย่ารบกวนความสงบสุขขดชองพวกเขา
ถ้าเธอได้ยินเสียดีดสีธเธอร์หรือเสียงพิณดังแว่วมา
นั่นคือฉันเอง แผ่นดินที่รัก ฉันกำลังบรรเลงกลุ่มเธอ
และในวันที่หลุมศพของฉันถูกลืมเลือน
ปราศจากไมกางเขนหรือป้ายบอกชื่อเป็นที่สังเกตอีกต่อไป
ขอให้มันถูกกวาดถูกขุดรื้อทิ้งไป
และขอให้เุถ้ากระดูกของฉันผุพังสูญสลาย
กลายเป็นธุลีกลับคืนสู่ผืนแผ่นดิน
ไม่เป็นไรหรอกถ้าเธอจะลืมเลือนแันไป
ในอากาศในท้องฟ้า ในหุบเขา รอบตัวเธอ ฉันจะข้ามผ่าน
ฉันจะเป็นเสียงพิสุทธิ์สำหรับเธอ
กลิ่นที่หอม แสงสว่าง สีสันอันงดงาม เสียงกระซิบ บทเพลง เสียกรน
จะคอยย้ำแก่นแท้ของศรัทธาของฉันตลอดไป
มาตุภูมิที่รักยิ่งของฉัน ผุ้ซึ่งเสียใจกับควารมทุกข์ที่ฉันได้รับ
ฟิลิปปินส์ที่รัก โปรดได้ฟังการอำลาเป็นครั้งสุดท้ายจากฉัน
ฉันต้องจากทุกคนไปแล้ว พ่อ แม่ และเธอ ที่รักของฉัน
ฉันจะไปยังสภานที่ ที่ซึ่งไม่มีใครต้องเป็นทาส ไม่มีทรราชผุ้กดขี่
ทีซึ่งศรัทะาจะไม่ถูกทำลายและที่ซึ่งปกครองดดยพระผุ้เป็นเจ้า
ลาก่อนครับพ่อ ลาก่อนครับแม่ ลาก่อนพี่น้องที่รักทุกคน
เพื่อนสมัยยังเด็ก เพื่อในที่คุทขัง
ขอบคุณที่ฉันจะได้พ้นจากวันที่น่าเบื่อหน่าย
ลาก่อน ทุกคนที่ฉันผ่านพบ เพื่อนผุ้ซึ่งทำให้ชีวิตของฉันสดใสทุกคน
ลาก่อน ผุ้เป็นที่รักของฉันทุกคน
การตายคือการพักผ่อนนิจนิรันดร์


          ปลายศตวรรษที่ 18 สเปนได้เปิดมะนิลาให้พ่อค้าชาวต่างชาติเข้ามาค้าขายไม่มช่เฉพาะชาวจีน ชาวสเปน และชาวละตินอเมริกา เหมือนเมื่อก่อน เปิดโอกาสให้อังกฤษ ฝรั่งเศสและดัทช์ เข้ามาทำให้หมู่เกาะฟิลิปปินส์ได้รับอิทธิพลจากภายนอกและรู้ความเป็นไปของชาติตะวันตกต่างๆ มกขึ้นกว่าแต่ก่อน การค้าขยายตัวเจริญมากขึ้น พื่อค้าชาวฟื้นเมืองบางคนร่ำรวยขึ้น มีโอกาสส่งบุตรธิดาของตนเข้าไปศึกษาในยุดรป เมื่อมีคการเปิดคลองสุเอช ระยะเวลาการเดินทางระหว่างยุดรปกับฟิลิปปินส์สั้นลง การเดินทางสะดวกขึ้น
        ชาวนาไม่มีสทิะิเป็นเจ้าของที่ดิน ที่ดินส่วนใหญ่เป็นของชนชั้นสูงและพวกพระเพราะกฎหมายสเปนห้ามชาวนาเป็นเจ้าของที่ดิน พระเสปนมีอภิสิทธิ์เหนือพระพื้นเมืองในการเลื่อนตำแหน่ง การกดดันทางการศึกษา เก็บค่าเล่าเรียนแพง
        เม็กซิกแยกตัวจากสเปน และการปฏิวัติในสเปน
        ที่กล่าวมานี้คือสาเหตุของการเกิดขบวนการชาตินิยมในฟิลิปปินส์ บรรดานักศึุกษาที่ไปพบเห็นระบบการปกครองในยุโรป เห็นว่าสเปนปกครองคนแตกต่างงไปจากระบบการปกครองในยุโรป ประชาชนไม่มีสทิธิและเสรีภาพ ทำให้กลุ่มนักศึกษาเร่ิมมีบทบาทในการเรียกร้องให้รัฐบาลสเปนปรับปรุงระบบการปกครองในฟิลิปปินส์ปรับปรุงสวัสดิการของคนให้ดีขึ้น
         การต่อต้านการปกครองของสเปนแบ่งเป็น 3 ระยะ
         - การกบฎและการต่ต้านระดับท้องถิ่นเกิดขึ้นอย่างประปรายยังไม่มีการรวมตัว
         - ขบวนการโฆษณาหาเสียง มุ่งที่จะให้เกิดการปรับปรุง และการปฏิรูประหว่างปี ค.ศ. 1872-1892
         - การปฏิวัติ 1892-1896
           ระยะการกบฎ เนื่องจากประชาชนไม่พอใจในระบบการปกครองของสเปนที่ปกครองอย่างกดขี่ อยุติธรรมและคนพื้นเมืองต้องเสียภาษีหนัก และถูกเกณฑ์แรงงานโดยได้รับค่าตอบแทนน้อยจึงได้รวมตัวกันเฉพาะบางแห่งก่อกบฎต่าต้าน ยังไม่มีการรวมตัวกันอย่างจริงจังเป็นขบวนการชาตินิยม ระยะของการกบฎนี้เกิดขึ้นอย่างประปรายตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ซึ่งไม่ค่อยได้ผลเท่าไรนักเพราะขาดการรวมตัวที่ดีและถูกสเปนปราบอย่างรุนแรง
          ระยะของขบวนการโฆษณาหาเสียง เนื่องจากการกบฎย่อยๆ บ่อยครั้งไม่ได้ผลเพราะขาดยุทธวิธีการรบที่ดี และขาดกำลังอาวุธทีทันสมัย และเนื่องมาจากการกบฎที่ คาวิท โดยทหารของขาวฟิลิปปินส์จำนวน 200 คนและคนงานประจำคลังสรรพาวุธไม่ได้ค่าจ้างตอบแทนโดยมีพวกพระให้ความร่วมมือด้วย เพราะมิได้รับความเสมอภาคในการแต่างตั้งตำแหน่งทางศาสนาและไม่มีเสรภาพในการแสดงความคิดเห็น กบฎครั้งนี้ถูกปราบปย่างราบคาบและถูกสเปนลงโทษอย่างรุนแรง มีทั้งจำคุก เนรเทศและประหารชีวิต ซึ่งในจำนวนผุ้ที่ถูกประหารชีวิตนี้มีพระชาวฟิลิปปินส์รวอยู่ด้วย ทำให้ประชาชนทั่วไปและกลุ่ม
ปัญญาชนเกิดความไม่พอใจ มพวกปัญญาชนที่รวมมือในการกบฎครั้งนี้หลบหนีออกนอกประเทศ ไปฮ่องกง,สิงคโปร์,ญี่ปุ่นและยุโรป ได้จัดตั้งขบวนการชาตินยิม Propanganda MovenmentW ขึ้นเป็นครั้งแรกของชาวฟิลิปปินส์ ขบวนการที่ได้ดำเนินการเรียกร้องให้สเปนปฏิรูปการปกครองและความเป็นอยู่ของชาวฟิลิปปินส์ใหดีขึ้น และได้เรียกร้องสิทธิเสมอภาค เสรภาพในกรพูด การเขียน การออกหนังสือพิมพ์ และการชุมนุมกัน นอกจากนั้นก็ให้เก็บภาษีอย่างเป็นธรรม เพราะสเปนกับคนพื้นเมืองแตกต่างกัน ขอให้ชาวฟิลิปปินส์ได้มที่นั่งในสภานิติบัญญัติของสเปน พอให้พระชาวฟิลิปปินส์ไดดำรงตำแหน่งทางสงฆ์ได้บ้าง ขบวนการนี้นอกจากจะเสนอข้อเรียกร้องต่างๆ ต่อสเปนแล้วยังสร้างความรู้สึกชาตินิยมให้กับคนพื้นเมืองอีกด้วย โดยเน้นความสำคัญของวรรณคดีและภาษาตากาล็อค ซึ่งเป็นภาษาพื้นเมืองของชาวฟิลิปปินส์ ตลอดจนพยายามสร้างความเป็ฯอันอนึ่งอันเดี่ยวกันของชาติขึ้นมา กลุ่มผุ้นำของขบวนการ นี้ประกอบด้วย ดร.ริซาล,  มาร์เซโล เดล ปิลาร์ และแกรซิโน โลเปซ แจน่า สำหรับ โฮ่เซ่ ริซล ซึ่งเป็นผุ้นำของขบวนการที่สำคัญที่สุด จบการศึกษาขึ้นต้นจากโรงเรียนของเยซูอิด ในมะนิลาและไปศึกษาต่อที่สเปน ได้รับปริญญาทางการแพทย์ เขามีความสามารถในการเขียนและมองเห็นปัญหาของชาวฟิลิปปินส์ ต้องการที่จะแก้ไขฐานะความเป็ฯอยู่ของชาวฟิลิปปินส์ งานเขียนของเขาที่เบอร์ลินบรรยายถึงความเดือดร้อยยากลำบากของชาวฟิลิปปินส์ ภายใต้การปกครองของสเปน และอีก 4 ปี ต่อมาเขาก็ได้เขียนงานออกมาอีก ซึ่งโจมตีกฎเกณฑ์ของสถาบันศาสนาสเปน
             งานเขียนของโฮเซ่ ริซาล ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางและทำให้มีการออกหนังสือพิมพ์ของขบวนการชาตินิยมขึ้นมา ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยกราเซียโอ โลเปซ เฮน่าแต่ก็ต้องปิดตัวลง โฮ่เซ่ ริซาล กลับมามะนิลาและพบว่าบทความแลการแสดงความคิดเห็นของเขามีผลกระทบกระเทือนต่อครอบครัว เขาจึงได้กลับไปยุโรป และได้เขียนบทความโจมตีสเปฯต่อไป ต่อมาพ่อแม่ของเขาถูกจับและขับออกนอกประเทศ เขากลับมะนิลาอีกครั้งปละจัดตั้งสันนิบาตฟิลิปปินส์น่าขึ้น รวมพวกกลุ่มชาตินิยมเข้าด้วยกันเรียกร้องให้รัฐบาลสเปนปฏิรูปการปกครอง โดยเฉพาะขอให้ชาวฟิลิปปินส์มีฐานะเท่าเทียมกับชาวสเปนในทางกฎหมาย ตลอดจนให้ปกครองฟิลิปปินส์ในฐานะที่เป็นมณฑลหนึ่งของสเปน ข้อเรียกร้องเหล่านี้ รัฐบาลสเปนไม่สนใจและเห็นว่า ไม่ถูกต้องจึงเนรเทศริซาล ไปอยู่ทีเกาะมินดาเนา โดยรัฐบาลสเปนมองเห็นว่าเขาเป็นพวกหัวรุนแรง เป็นผุ้บ่อนทำลายความสงบสุขของสังคม ซึ่งอันที่จริงแล้ว ริซาลมิได้เป็นคนหัวรุนแรงตามที่รัฐบาลกว่างหา ซึ่งเป้าหมายของเขาคือการแก้ไขฐานะความเป็นอยู่ของชาวฟิลิปปินส์
            การปฏิวัติ หลังจากริซาลถูกส่งตัวไปอยู่ ดาปิตันบนเกาะดามินเนาแล้ว บทบาททางการเมืองของเขาต้องหยุดลง ขบวนการชาตินิยมของเขาก็หยุดลงและกระบอกเสียงหรือหนังสือพิมพ์ต้องยุติลงไปด้วย นักชาตินิยมเริ่มมองเห็นว่าการเรียกร้องโดยสันติวิธีนั้นไม่ได้ผล เห็นว่าควรจะใช้การปฏิวัติแทนการเรียกร้องจะดีกว่า ดังนั้น จึงมีการจัดตั้งสมาคมลับขึ้นในมะนิลา เรียกว่าขบวนการ Katipunan แปลว่าชวนการที่เคารพสูงสุดของพวกฟิลิปปินส์มีเป้าหมายคือ เรียกร้องเอกราชโดยใช้กำลังและรวมชาวฟิลิปปินส์ให้เป็นอันเหนึ่งอนเดียวกัน โดยมีผุ้นำคือ บอนนิฟาซิโอ Andres Bonifacio เป็นเด็กกำพร้าและเรียนด้วยตัวเอง ทำงานเป็นเสมียนอยุ่ที่กรุงมะนิลา เขาต้องการที่จะรวมพวกกาติปูนัน ซึ่งเป็นชนชั้นผุ้น้อยด้อยการศึกษา ขาดทุนทรัพย์ และอิทธิพลเข้ากับพวก อิลบุสทราดอส ซึ่งเป็นพวกปัญญาชนชั้นสุง เพื่อรวมพลังของขบวนการชาตินิยมในฟิลิปปินส์อยู่แล้ว บอนนิฟาซิโอได้ของความเห็นและความร่วมมือจาก โฮเซ่ ริซาล ซึ่งริซาลไม่เห็นด้วยที่จะทำการปฏิวัต โดยชี้ให้เห็นว่ายังมีการเตียรมการไม่ดีพอ เช่น กำลังคนและอาวุธมีน้อย และริซาลเห็นว่าการปฏิวัติควรมาจากชนชั้นสุงที่เป็นปัญญาชน ในระหว่างนั้น รัฐบาลสเปนได้ทำการกวาดล้างจับกุมพวกขบวนการกาติปูนัน รวมทั้งตัวบอนนิฟาซิโอเองก็ถูกตามล่า  บอนนิฟาซิโอจึงไม่สามารถจะรอคอยต่อไปได้ และทำการปฏิวัติ การปฏิวัติลุกลามไปทั่ว ทางรัฐบาลสเปนได้จับ โฮเซ่ ริซาล ขณะเดินทางไปคิวบา โดยอ้างว่าเขาเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการปฏิวัติครั้งนี้ขึ้น เป็นการบ่อนทำลายการปกครองของสเปนในฟิลิปปินส์ แม้ริซาลจะปฏิเสธ แต่รัฐาลสเปนก็ไม่รับฟัง และทำการประหารเขาในปี 1896
            การตายของโฮเซ่ ริซาลทำให้กลุ่มปัญญาชนไม่อพใจและหันไปให้ความร่วมมือกับพวกกาติปูนัน ทำการต่ต้านสเปนอย่างรุนแรงมากขึ้น และได้ผุ้มีความสามารถทางการทหารมาเป็นผุ้นำในการปฏิวัติ คือ อากินาลโด Emilio Aguinado ทำให้ได้รับชัยชนะหลายครั้งและสามารถตั้งรัฐบาลขึ้นได้ที่ ทีจีรอส ในปี 1897 อากินาลโดได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี และเกิดการแตกแยกกับบอนนิฟาซิโอ ซึ่งแยกไปจัดตั้งรัฐบาลของตน แต่ถูกรัฐบาลปฏิวัติของอากินาลจับได้และประหารชีวิต ทำใหขบวนการชาตินิยมของฟิลิปปินส์แบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ กลุ่มปัญญาชน และกลุ่มชันชั้นผุ้น้อย การดำเนินการต่อต้านรัฐบาลสเปนจึงไม่ค่อยได้ผล ทางสเปนได้เปลี่ยตัวผุ้นำซึ่งเป็นผุ้ชอบการประนีประนอม และเกิดการปฏิวัติในคิวบาืสเปนจึงหันมาเจรจากับอากินาลโด และตกลงทำสัญญา แต่การทำสัญญาล้มเหลวเมื่อรัฐบาลสเปนไม่ทำตามสัญญา การต่อสู้จึงเริ่มขึ้นใหม่ในปี 1890 พวกปฏิวัติได้ผุ้ทางการทหารคนใหม่คือ พรายพล ฟรานซิโก้ มากาบูลาส และตั้งรรัฐบาลใหม่ขึ้นที่ลุซอน พอดีกับเกิดสงครามระหว่างสะเปนกำับสหรัฐอเมริกา มะนิลาถูกสหรัฐยึดได้ในวันที่ 1 พฤษภาคม 1898
           ฟิลิปปินส์ภายใต้การปกครองของสหรัฐอเมริกา ในขณะที่สเปนทำสงครามกับสหรัฐอเมริกา อเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือขบวนการชาตินิยมในฟิลิปปินส์ ทำให้อากินาลโดและพรรคพวกได้กลับเข้าฟิลิปปินส์อีกครั้ง และได้เเข้ารวมกับกลุ่มปัญญาชนเป็นผุ้นำจนสามารถจัดตั้งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ มาโลลอส เตรียมการจะประกาศเอกราชโดยหวังว่าสหรัญฯจะยินยอม ในระยะแรกอเมริกา ลังเลที่จะเข้าปกครองฟิลิปปินส์ ทางวอชิงตันส่งคณะกรรมมาธิการ 5 คน มาทำรายงานเกียวกับเรื่องนี้ และทำบันทึกเสนอต่อประธานาธิบดี แมคคินลีย์ว่า ประชาชนฟิลิปปินส์มีความต้องการจะได้เอกราช แต่ว่าประชาชนฟิลิปปินส์ยัวงไม่พร้อมที่จะปกครองตนเอง ดังนั้นสภาสูงของสหรัฐฯได้ตัดสินในให้สเปนยินยอมมอบฟิลิปปินส์ให้อยู่ภายใต้การปกครองของอเมริกาต่อไป และได้ลงนามกันในสนธิสัญญาปารีส
           การประกาศเข้าครอบครองฟิลิปปินส์ ของสหรัฐฯทำให้กลุ่มปฏิวัติและกลุ่มปัญญาชนประกาศสงครามต่อต้านสหรัฐอเมริกา แต่ก็ถูกสหรัฐฯปราบได้อย่างราบคาบ สหรัฐฯเปิดโอกาสให้ชาวฟิลิปปินส์ที่มีการศึกษาเข้ารับหน้าที่ต่างๆ แทนข้าราชการสเปนทำให้พวกปัญญาชนวางอาวุธเข้ากับสหรัฐฯ พวกด้อยการศึกษก็ถูกปราบได้ ขบวนการชาตินิยมของฟิลิปปินส์ในระยะที่สหรัฐอเมริกาเข้าปกครองได้คลายความรุนแรงลง
           สหรัฐฯวางรากฐานประชาธิไตยในฟิลิปปินส์ ปรับปรุงระบบการศึกษาภาคบังคับ ล้มศษสนจักรของสเปน และตั้งศาสนจักรใหม่ประจำชาติฟิลิปปินส์ขึ้น โดยวาติกันให้การรับรอง จัดตำแหน่งต่างๆ ทางศาสนาให้เป็นพระฟิลิปปินส์และวเนคือที่ดินของพระสเปนจัดสรรให้ประชาชน
           สงครามโลกครั้งที่ 2 ญ๊่ปุ่นเข้ายึดฟิลิปปินส์ ชาวฟิลิปปินส์ส่วนหนึ่งที่อยากได้เอกราชก็ให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่น รัฐบาลเครือจักรภพของฟิลิปปินส์หนีไปออกสเตรเลีย ต่อมาสหรัฐได้จัดตั้งรัฐบาลพลัดถ่ินให้ที่กรุงวอชิงตัน ระหว่างที่ญีุ่ปุ่น ยึดครองฟิลิปปินส์ได้มีกลุ่มชาวนาที่ไม่พอใจทำการต่อต้านญีปุ่นเป็นกองโจรฮุกบาลาฮับ ซึ่งมีพวกคอมมูนิสต์รวมอยู่ด้วย และสามารถตั้งกองบัญชาการในกาลางเกาะลูซิน.. นายพลแมคอาเธอร์ มีชัยชนะเหนือญี่ปุ่น ยกพลขึ้นบกที่เลเต้ และให้มีการเลื่อกตั้งทั่วไปในปี 1946 ฟิลิปปินส์ก็ได้เอกราช โดยมีนายมานูเอล โรซาส ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีครแรกของฟิลิปปินส์ โดยสหรับอเมริกาสัญญาว่าจะถอนทหารและฐานทัพเรือออกไป..


                    - spriezelo.blogspot.com "โฮเซ่ รีซัล วีรบุรษของชาวฟิลิปปินส์
                    - "ประวัติศาสตร์เอเซียตะวันออกเฉียงใต้โดยสังเขป", ผศ. ศิวพร ชัยประสิทธิกุล


                 -
       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...