วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2560

ฺBureaucracy : Philippines

           ฟิลิปปินส์ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในรูปแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาช อยุ่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี ดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิดน 1 วาระวุฒิสภามีสมาชิก 24 คน มาจากการเลือกตั้งจากผุ้มีสิทธิออกเสียงทั่วประเทศ มีาระ 6 ปี และรัฐบาลจะจัดให้มีการเลือกตั้งวุฒิสภาจำนวนครึ่งหนึ่ง 12 คน ทุก 3 ปี ฟิลิปปินส์แบงเขตการปกครองออกเป็น 17 เขต 80 จังหวัด และ 120 เมือง โดยแบ่งการปกครองย่อยออกเป็น 1,499 เทศบาล  และ 41,969 บารังไก ซึ่งเที่ยงบท่าตำบลหรือหมู่บ้าน ฟิลิปปินส์จัดการเลือกตั้งประธานาธิบดี วุฒิสภา สภาผุ้แทนราษฎร และสภาผุ้แทรท้องถิ่นทั่วประเทศ รวม 17.996 ตำแหน่งในคราวเดียวกัน เมื่อปี พ.ศ. 2553 มีผู้ลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 50.7 ล้านคน ในจำนวนนี้ มีผุ้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งประมาณ 38 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 75 ของผุ้ลงทะเบียนทั้งหมด โดยนายเบนิกโน เอส อาคีโน ที่สาม ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี และนายเจโจมา บิโน อีดตนยกเทศมนตรีเมืองมากาติได้รบเลือกตั้งเป็ฯรองประธานาธิบดี
           รัฐบาลภายใต้การบริหารงานของประธานาธิบดี อาคีดน ที่สาม มุ่งให้ความสำคัญกับการปกิรูประบบริหารประเทศเพื่อปราบปรามการฉ้อราษฎร์บังหลวงและขจัดความยากจน จึงได้รับความนิยม จากประชาชนและมีสภานะความมั่นคงทางการเมืองสูง ทั้งนี้ รัฐบาลมีมาตรการเร่งด่วน ได้แก่ การส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ การสร้างมาตรฐานกฎระเบียบด้านวบประมาณ การปรับปรุงระบบข้าราชการพลเรือน และการปรับปรุงระบบการศึกษา ส่วนประเด็นด้านความสัมพันะ์ระหว่างระเทศรัฐบาลฟิลิปปินส์เน้นการ่งเสริมความร่วมมือในหัวข้อท้าทายต่างๆ เช่น การก่อการร้ายอาชญากรรมข้ามชาติ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การระบาดของโรคติดต่อ การฟื้นฟูสภาพเศรษฐิจ และการสร้างพลังประชคมระหว่างประเทศในทุกภาคส่วนเพื่อบรรลุเป้ามหายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ
          หลังจากฟิลิปปินส์ได้รับอิสรภาพจากสหรัฐอเมริกา ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่างๆ มากมาย ในส่วนของระบบราชการเองก็เช่นกันในช่วงปี พ.ศ. 2515 ฟิลิปปินส์ได้มีการปฏิรูประบบราชการที่สำคัญครั้งใหญ่ โดยมีสาระสำคัญในการปฏิรูป ดังนี้

DEPARTMENT OF THE INTERIOR AND LOCAL GOVERNMENT ORGANIZATIONAL STRUCTURE

            - ปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการในสำนักงานประธานาธิบดี มีจุดมุ่งหมายเพื่อลอหน่วยงานที่สังกัดสำจักงานประธานาธิบดี โดยกำหนดหลักเกณฑ์ให้แก่หน่วยงานที่สังกัดสำนักงานประธานาธิบดี ดังนี้
                      1) ส่วนราชการหรือองค์กรที่ทำหน้าทีให้คำปรึกษาแก่ฝ่ายบริหารในเรื่องที่มีคามสำคัญต่อการบริหารราชการเท่านั้น
                      2) ส่วนราชการหรือองค์กรที่ทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ หรือด้านอำนวยการแก่ผุ้บริหารโดยตรง
                      3) ส่วนราชการหรือองค์กรที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับหลายส่วนราชการ
                      4) ส่วนราชการ หรือองค์กรที่ผุ้บริหารประเทศต้องดูแลอย่างใกล้ชิด
          - กำหนดรูปแบบโครงสร้างส่วนราชการภายในกระทรวง โดยให้ทุกกระทรวงแบ่งส่วนราชการที่ทำหน้าที่อำนายการและวิชาการ ออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ งานวางแผน, งานคลังและการจัดการ, งานบริหารทั่วไปและงานวิชาการ
           ด้านงานหลักหรือด้านการปฏิบัติการ จะแบ่งออกเป็นกรม และสำนักงานเขต กระทั่งปี  พ.ศ. 2529 ได้มีการปฏิรูประบบราชการอีกครั้ง ดดยมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นหนึ่งชุด และได้มีการปรับปรุงสวนราชการและการบริหาร เพื่อเน้นด้านการริหารการพัฒนา และสอดรับกักบการให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารประเทศ ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ในสมัยของประธานาธิบดีฟิเดล รามอส ได้มีการปฏิรูประบบราชการอีกครั้งหนึ่ง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อความมีประสทิธิภาพและประสิทธิผลของระบบราชการ ปรับเปลี่ยนภาคราชการให้เกิดความเข้มแข็ง และให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยการกระจายงานระหว่างหน่วยงานของรัฐในระดับต่างๆ ให้เหมาะสม และขจัดการปฏิบัติงานที่ไม่จำเป็นออกไป
          ในการปฏิรูประบบราชการในแต่ละครั้ง จะต้องมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อนำเสนอนโยบาย หลักการ แนวทาง มาตรการ และแผนการดำเนินงาน เสนอต่อประธานาธิบดี จากนั้นคณะกรรมการชุดดังกล่าวจะถูกยุบตัวลง และมีกระทรวงงบประมาณและการจัดการ เข้ามทำหน้าที่เป้นฝ่ายเลขานะการของคณะกรรมการและรับผิดชอบในการศึกษา วิเคราะห์และจัดทำรายงานสรุปข้อเสนอเกี่ยวกับนโยบาย แนวทาง มาตรการและแผนการดำเนินการตามมติของคณะกรรมการ เพื่อเสนอประธานาธิบดีพิจารณาสั่งการให้กระทรวงต่างๆ ไปดำเนินการต่อ ตลอดจนมีหน้าที่ให้คำปรึกษา แนะนำ ติดตาม เร่งรัดให้กระทรวงต่างๆ ตำเนินการตามนโยบาย หลักการ มาตรการ และแผนการดำเนินการตามที่ประธา่นาธิบดีเห็นชอบ และมีคำสั่งให้กระทรวงต่างๆ ดำเนินการ
            ระบบอุปถัมภ์ สังคมฟิลิปปินส์เป้นสังคมเหครือญาติ มีการอบรมสั่งสอนในครอบครัวให้ช่วยเหลือกันและกันระหว่างเครือญาติ พี่น้อง เพื่อนฝูง และให้สำนึกบุญคุณผุ้ที่ช่วยเหลือตน เกิดเป็นค่านิยมที่ติดในเรื่องการเป็นหนี้บุญคุณ รวมทั้งการกล่อมเกลบาทางสังคม ดดยมีค่านิยมทางศษสนาตั้งแต่ยุคสเปน คือ พ่อ แม่ อุปถมภ์ที่คอยช่วยเหลือเกื้อกูลกันในทุกวิ๔ีทาง โดยมีเงินและอำนาจเป็นปัจจัยสนับสนุน ทำให้ความช่วยเหลือไม่จำกัดขอบเขตและเวลา ทั้งการตอบแทนบุญุนที่ไม่จำแนกว่าเหมาะสมหรือไม่แระการใด จึงกลายเป็นระบบอุปถัมภ์ที่ทำให้เกิดการติดสินบนการทุจริตในทุกวงการ
          ในยุคสมัยก่อนสเปนเข้ามาปกครอง ญานะของสตรีฟิลิปปินส์มีสิทธิเท่าเทียมชาย สตรีสามารถมีสมบัติเป็นของตัวเองและรับมรดกที่เป้ฯทรัพย์สิน ทั้งสามารภทำการค้าขายด้วยตัวเอง รวมถึงการสืบทอดตำแหน่งหัวหน้าเผ่าจากบิดาได้ อีกท้งมารดามีสิทธิที่ตั้งชื่อให้ลูกด้วยตนเอง และจากการศึกษาของสีดา สอนสี พบสถานภาพของสตรีฟิลิปปินส์เป้นที่ยอมรับจากสังคมมากว่าประเทศใดๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่สมัยสเปนเข้ามาครอบครอง สตรีก็มีอำนาจและบทลาทในการควบคุมการเงินในครอบครัว เมื่อสหรัฐอเมริกาเข้าครอบครองการยอมรับสตรีก็มีสูงมากขึ้นทั้งในวงกาเมืองและการศึกษาในปี  พ.ศ. 2443 มีสตรีเป็ฯผุ้รู้หนังสือสูงกว่าบุรุษในฟิลิปปินส์ และสตรีสามารถก้าวเข้าสู่ตำแหน่งปรธานาธิบดี วุฒิสมาชิก พิพากษาศาลฎีกา ประธานคณะกรรมการเลือกตั้ง ฯลฯ และหากเกิดปัญหากับสตรีก็มีองค์กรสตรีที่เข้มแข็งและรัฐยอมรับ

วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560

ฺBureaucracy : Indonesia

          ภายใต้การปกครองระบบซุฮาร์โต 31 ปีตั้งแต่ปี พ.ศ.2509 ปะรเทศอินโดนีเซียได้ผ่านการปกครองยุคเผด็จการที่ชาญฉลาดในการครองอำนาจโดยการนำระบบทหารเข้ามามีบทบาทเหนือข้าราชการพลเรือนที่เรียกว่า ระบเกการ์ยา ที่นำทหารเข้าไปดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ ตั้งแต่ระดับอธิบดีตามกรมต่างๆ ร้อยละ 78 เลขานถการรัฐมนตรีร้อยละ 84 ตำแหน่งนายอำเภอรอยละ 56 ของตำแหน่งทั้งหมด และที่เห็นได้ชัดในปี พ.ศ. 2513 คือ การตั้งผุว่าราชการมณฑลที่เป้ฯทหารจากกองทัพ 20 คน จากผุ้ว่ามณฑลทั้งหมด 26 คน จนถึงปี พ.ศ. 2540 การตั้งผู้ว่าราชการมณฑลที่เป็นทหารยังครองตำแหน่งผุ้ว่าราชการมณฑลเป็นส่วนมากถึง 14 จากผุ้ว่ามณฑลทั้งหมด 27 คน
          เมื่อสิ้นอำนาจของประธานาธิบดีซูฮาร์โต จึงเกิดกฎหมายปฏิรูปในปี พ.ศ. 2549 ที่การกระจายอำนาจตามตำแหน่งผุ้ว่าราชการมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ในส่วนราชการอื่นก็ได้เกิดการปฏิรู)ป จึงนับว่าเป็นปฏิรูปราชการครั้งแรกของอินโดนีเซียก็ว่าได้
          สาธารณะรัฐอินโดนีเซียดำเนินการปฏิรูประบบราชการตามประกาศประธานาธิบดีในปี พ.ศ. 2553 เพื่อมุ่งสู่การเป็นรัฐบาลที่มีมาตรฐานระดับโลกภายในปี พ.ศ. 2568 และจากนโยบายการปฏิรูประบบราชการดังกล่าว องค์การข้าราชการแห่งชาติ ก็ได้ดำเนินการโครงการเร่งด่วนตามยุทธศาสตร์ 9 โครงการ เพื่อให้การปฏิรูประบบรชการพลเรือนสอดรับกันนโยบายดังกล่าวในประเด็นต่อไปนี้
         - การปรับปรุงโครงสร้างระบบราชการพลเรือน
         - การสร้างเสถียรภาพให้แก่จำนวนข้าราชการพลเรือน เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน
         - การปรับปรุงระบบสรรหาและคัดเลือก และระบบการแต่งตั้งข้าราชการพละรือน
         - การพัฒนาข้าราชการพลเรือนให้มีความเป็นมืออาชีพ
         - การพัฒนาระบบรัฐบาลอิเล็ทอรนิกส์
         - การอำนวยความสะดวกด้านการจดทะเบียธุรกิจและการดำเนินการด้านธุรกรรมของภาคเอกชน
         - การดำเนินการด้านความโปร่งใสในเรื่องการรายงานทรัพย์สินของข้าราชการ
         - การปรับปรุงระบบสวัสดิการของข้าราชการพลเรือน
         - การสร้างประสิทธิภาพในเรื่องการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวนความสะดวกแก่ข้าราชการ
              เมื่อประธานาธิบดี ซูฮาร์โตได้อำนาจในการบริหารประเทศ สิ่งที่ได้ทำ คือ การใช้กฎหมายบังคับให้ข้าราชการเป็นสมาชิกถาวรของสมาคมขาาชการแต่ละอาชีพที่รวมตัวกันจัดตั้งเป้นสำนักงานข้าราชการพลเรือนที่มีรูปแบบการจัดตั้งในลักษณะบรรษัท ที่มีชื่เอเต็มเรียกว่า "คอร์ปส์ เปกาวาอี เนเกรี" สำนักงานที่เป้ฯตัวแทนรักษาผลประโยชน์ของข้าราชการพลเรือนแตะละสาขา ที่มิใช่จะต้องรับผิดชอบต่อหน่วยงานราชการที่ตนเองสังกัดอยู่เท่านั้น แต่จะต้องทำตัวเป็นลูกจ้างที่ดีของรัฐบาลโดยถูกกฎหมายและวินัยข้าราชการบังคับให้เป้นสมาชิกของพรรคโกลคาร์ในเวลาเดียวกันด้วย เพราะโกลคาร์คอือ งอค์การทางการเมืองถูกกฎหมายเพียงองค์การเดียวทีคอร์ปต้องเป็นสมาชิกถาวร
             ระบบราชการของอินโดนีเซียตั้งแต่ได้รับเอกราชก็ไม่ต่างกับประเทศที่ได้รับเอกราชใหม่ๆ ที่ต้องการปรับตัว ปรับกำลังคน แต่มาถูกจำกัดให้เป็ฯระบบที่ถูกกำหนดโดยพรรคการเมืองที่ขึ้นตรงต่อประธานาธิบดี ซูฮาร์โต ซึ่งเป็ฯระบบที่ทำเพื่อบุคคล ไม่ใช่เพื่อประทเศชาติ ข้าราชการยุคนี้จึงเป็นยุคที่ทำงานช้า ขาดความโปร่งใส ขาดความรับผิดชอบและขาดการริเริ่ม บางคร้งมีการคอรัปชั่น จึงจำเป็นต้องปฏิรูปอย่างมาก
             หลังยุคของประธานาธิบดี ซุฮาร์โต จึงเกิดการเคลื่อไหวปฏิรูป และการะจายอำนาจภายในยุคระเบียบใหม่ ของรัฐบาลในปี 1988 และรัฐบาลได้ผ่านกฎหมายการกระจายอำนาจสู่ส่วนภูมิภาค และกฎหมายการบริหารข้อาราชการเปิดให้มีการปฏิรูปการบริการภาครัฐในอินโดนีเซียอย่างจริงจัง นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยอินโดนีเซียท่านหนึ่งมองว่า กฎหมายทั้งสองฉบับ เป็นการก้าวย่างที่ถูกต้ง อต่ยังขาดการเป็นผุ้นำที่เข้มแข็ง มุ่งมั่น เพื่อนำทางสู่บทสรุปตามตรรกของการปฏิรูปที่เพิ่มสมรรถนะของข้าราชการทำให้ข้าราชการมีศักยภาพในการดูแล ช่วยสนับสนุนให้การปกครองสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายของประเทศ และเป้ฯการยกระดับมาตรฐานคุณาพชีวิตของประชาชน รวมทั้งต้องการปฏิรูประบบราชการทั้งในกรอบของความคิดเชิงสถาบัน และในส่วนของประเด็นตางๆ ทางจริยธรรม ซึ่งต้องปรับตัวให้เข้ากับยุคโลกาภิวัตน์ที่รัฐบาลอินโดนีเซียต้องตระหนัก และจำเป็นต้องปรับโครงสร้างระบบราชการโดยยกระดับ คุณภาพของข้าราชการและการพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพทันสมัย
            จากสภาพความซับซ้อนในสังคมที่มีประชากรกว่า 247 ล้านคน และกระจายกันอยู่ แม้ว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีการปฏิรูปในอินโดนีเซียแต่อย่างไรก็ตามน้ำหนักของการปฏิรูปยังคงต้องผ่านกับอดีตของอินโดนีเซียจนถึงที่หมายของความสำเร็จ การมีผุ้นำที่เข้มแข็งและกล้าตัดสินใจชี้นำการปฏิรูปเป็นเรื่องสำคัญมาก และหลายสิ่งที่ดำรงอยู่ในอินโดนีเซียยังคงเป้นคำถามใหญ่ และไม่มีใรสามารถทำนายเมื่อความซื่อสัตย์ การก่อให้เกิดผล การสร้างสรรค์ ความรับผิดชอบ และข้าราชกรที่ชำนาญการแบบมืออาชีพจะปรากฎในอินโดนีเซียเหมือนกับมุสลิมที่ดีทั้งหลายในอินโดนีเซียพูดในครั้งหนึ่งว่า "เป็นเจตนาของพระฮัลลอฮฺ"

           รัฐบาลอินโดนีเซียในยุคปัจจุบันอยู่ภายใต้การนำของประธานาธิบดี ดร.ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน ดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่ 2 ซึ่งดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี และโดยการปกครองระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย นั้น ดร. ซุซิโล บัมบัง ยูโดโยโน จึงเป้ฯทั้งประธานาธิบดี ประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร โดยมีรัฐมนตรีร่วมคณะ 35 คน
           การเป็นรัฐบาลสมัยที่ 2 ต้องปรับคณะรัฐมนตีเป้นครั้งแรกในช่วง 2 ปีในวาระที่สองของประธานาธิบดี เนื่องจากปัญหา การฉ้อราษฎร์บังหลวง,ประสิทธิภาพการทำงานของพรรคร่วมรัฐบาล, พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและประเด็นส่วนตัวของรัฐมนตรี, การแตกความสามัคคีระหว่งพรรคร่วมรัฐบาล..แม้สภานการณ์การเมืองในอินโดนีเซียยังคงมีเสถียรภาพ แต่ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อพรรครัฐบาล PD ลดลง เนื่องจากกรณีการทุจริตของนายนาซารุดดิน เหรัญญิกพรรค PD ในโครงการก่อสร้างสถานที่แข่งขันกีฬาซีเกมส์ ในขณะที่ประธานาธิบดียังคงได้รับความนิยม และรัฐบาลยังคงดำเนินการบริหารประเทศตามวิสัยทัศน์ พ.ศ. 2568 ที่ให้ความสำคัญใน 3 สาขาหลัก คือ การพึ่งพาตนเอง, ความสามารถในการแข่งขัน, มีอารยธรรมที่สูงส่ง โดยยังคงให้ความสำคัญกับการปฏิรูปและการพัฒนาประเทศการส่งเสริมบทบาท และผลประโยชน์ของอินโดนีเียอย่างต่อเนื่องซึ่งดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจ รัฐบาลยังคงมุ่งเน้นการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศและการลงทุนจากต่างประเทศ ทั้งจัดการการดำเนินการพัฒนาประเทศตามแผนแม่บท เพื่อการพัฒนาเศราฐกิจปี พ.ศ. 2554-2568 ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาแห่งชาติระยะกลาง และระยะยาว เพื่อเพิ่มและชยายการพัฒนาเศรษบกิจอินโดนีเซยให้สามารถพึงพาตนเองได้ และมีความก้าวหน้ารวมทัี้งนโยบายการกระจายตลาดไปสู่ภูมิภาคต่างๆ การส่งเสริมการส่งออกการบริโภคภายในปะเทศ การส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ เพื่อสนับสนุนแผน MP3EI โดยการแก้ไขกฎระเบียบด้านการลงทุน การออกมาตรการภาษีเพื่อเอื้อและจูงใจนักลงทุนต่างชาติ และการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมการผลิตภายในเพื่อทดแทนการนำเข้า โดยการกำหนดสาขชาเป้าหมายที่ให้ความสำคัญและให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม รวมทังให้ความสำคัฐกัลการส่งเสริมความมั่นคงด้านอาหาร ด้านพลังงาน และส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยอินโดนีเซยตั้งเป้าหมายที่จะก้าวเป้ฯผุ้นำทางเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นลำดับ ที่ 1 ใน 10 ของโลกในปี พ.ศ. 2568 และเป็นลำดับที่ 1 ใน ปี พ.ศ. 2593
            การจัดตั้งนโยบายทางความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร ในสังคมชนบท(โกตองโรยอง) ความคิดเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร หรือ CSR นั้น เป้รเรื่องใหม่ที่พูดกันในกระแสของโลกาภิวัตน์ที่ต้องการให้องค์กรทางธุรกิจเข้าไปมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคม ในขณะเดียวกันองค์กรภาครัฐก็ต้องเอื้ออำนวยให้เกิดการพัฒนาไปพร้อมๆ กัน ซึ่งการจัดตั้งนโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและส่ิงแวดล้อมขององค์กร ในสังคมชนบทของอินโดนีเซียที่ได้จัดทำนั้น ต้องวางนโยบายให้สอดคล้องกับข้อกำหนดทางกฎหมายประเพณีในสังคมตามความเชื่อในศาสนา ที่ยังต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและสืบทอดกันมานานแล้ว โดยมีสาระสำคัญ คือ ควาผูกพันระหว่างสามีกับภรรยา พ่อแม่กับลูก และพลเเมืองต่อสังคม คื อการช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกันในงานด้านต่างๆ  เช่น การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว การแต่งงาน และการสร้างบ้านที่อยู่อาศัย


                         

วันอังคารที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2560

ฺBureaucracy : Thailand

          ระบบราชการไทยได้มีการปฏิรูปสำคัญๆ มาหลายครั้ง ตั้งแต่ยุครัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูประบบราชการแผ่นดินอีกครั้งใน พ.ศ. 2435 โดยได้ปฏิรูปโครงสร้างระบบราชการและจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินขึ้นใหม่ ซึ่งประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ
         1 การปฏิรูปการบริหาราชการส่วนกลาง เช่น การยกเลิกจตุสดมภ์และการจัดการปกครองแบบมณฑล
         2 การปฏิรูปการบริหาราชการส่วนภูมิภาค เช่น การจัดการปกครองแบบมณฑล
         3 การปฏิรูประบบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เช่น การจัดการปกครองแบบเทศาภิบาล (เทศบาล)
         ยุครัชกาลที่ 7 แม้การปกครองประเทศจะมีความพลิผันมากมายและเป้ฯช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่ก็ได้มีการนำระบบคุณธรรม ซึ่งประกอบด้วย หลักความสามารถ หลักความเสมอภาค หลักความมั่นคง หลักความเป็นกลางทางการเมือง เข้ามาเป็ฯกรอบแนวทางการวางระบบข้าราชการพลเรือนสมัยใหม่ในระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471 จากยุค พ.ศ. 2475 -พ.ศ. 2540 มีการพูถึงการปฏิรูปหลายครั้ง แต่ในทางปฏิบัติยังติดอยุ่ในกรอบดังนี้
       - เน้นการแบ่งส่วนราชการ และการจัดอัตรากำลังข้าราชการ
       - ปฏิรูประบบราชการด้วยการปรับปรุงการให้บริการประชาชน
       - ส่งเสริมการมอบอำนาจ และแบ่งอำนาจการบริหาราชไปยังส่วนภูมิภาค
       - การกำหนดชื่อ และความหมายของหน่วยงานระดับต่างๆ โดยเฉพาะหน่วยงานที่มีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่น เช่น สำนัก สำนักงาน สำนักเลขาธิการ สถาบัน ศูนย์ ศูนย์บริการ สถานี สถานีทดลอง เป็นต้น เพื่อให้กระทรวง กรมต่างๆ ถือเป็นแบบปฏิบัติเดียวกัน

       - มีการตั้งหน่วยงานใหม่ เช่น การจัดตั้งศาลปกครอง
       - การเสนอกฎหมายใหม่ และการปรับปรุงกฎหมาย เช่น กฎหมายว่าด้วยข้อมูลและข่าวสารของทางราชการ การปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการระเบียบสำนักรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพ่อแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ การพัฒนาการบริการสาธารณะ การปรับปรุงประสทิะภาพกรมตำรวจ การปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการข้าราชการอัยการ ฯลฯ
        ในพ.ศ. 2540 มีการออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิรูประบบราชการเป็นครั้งแรก มีการจัดทำแผนแม่บทการปฏิรูปราชการ ซึ่งนับว่าเป็นแผนแม่บทการปฏิรูประบบราชการฉบับแรก โดยกำหนดหลักการ 2 หลักการ คือ
        - การปรับบทบาท ภารกิจ และขนาดของหน่วยงานรัฐ
        - การปรับปรุงระบบการทำงานของหน่วยงานรัฐ
        ประเทศไทยเมื่อครั้งเชื่อมต่อเศรษฐกิจของไทยเข้ากับเศรษฐกิจโลกในการเปิดเสรีทางการเงิน ในเวลาไม่นานธุรกิจอุตสาหกรรมของไทยก็ล้มละลายต้องขายกิจการกันอย่างมโหฬาร ซึ่งความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจนั้น ภาครัฐไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบได้ ประกอบกับการเรียร้องของประชาชนทำให้เกิดกระแสปฏิรูปใหม่ และมีการเสนอรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540
        การปฏิรูประบบราชการไทยได้มีการนำเครื่องมือทางการบริหารใหม่ๆ มาใช้อย่างแพร่หลาย และปรากฎเป็นรูปธรรมเมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญัติและระเบียบบริหารราชการแผ่นดินเมื่อ ตุลาคม 2545 ซึ่งทำให้มีการปรับโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการใหม่จาก 14 กระทรวง 1 ทบวง มาเป็ฯ 20 กระทรวง และได้กำหนดให้มีคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) โดยให้เป็ฯหน่วยงานขับเคลื่อนการปฏิรูประบบราชการ การปฏิรูประบบราชการในยุคนี้จึงเรียกว่า "การพัฒนาระบบราชการ" เครื่องมือที่สำคัญคือ
        - แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2546-2550)
        - พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ซึ่งออกตามมาตรา 3/1 และมาตรา 71/10 (5) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5 ) พ.ศ. 2545
        - ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2546
        - โครงการพัฒนาผุ้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้จากการปฏิบัติ เพื่อพัฒนาผู้ว่าราชการจังหวัด และผุ้บริหารของพระทรวงนำร่องในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ตามหลักการ และแนวทางในการพัฒนาระบบราชการ
         โครงสร้างราชการไทย ปัจจุบันโครงสร้างข้าราชการไทยมีลักษณะซับซ้อน แม้จะมีความพยายามในการลดจำนวนข้อราชการลงโดยวิธีการต่างๆ เช่น การเกษียณก่อนอายุ การยุบหน่วยงานบางหน่วยงานเข้าด้วยกัน อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถลดจำนวนข้าราชการลงได้ตามจำนวนที่ต้องการ นอกจากนั้นโครงกสร้างหน่วยงานกลับมีการขยายมากขึ้น ทำให้จำนวนบุคลากรที่ปฏิบัติงานในระบบราชการมีลักษณะเป็นลูกจ้างตามสัญญาจ้างมากขึ้น จึงไม่สะท้อนภาพที่แท้จริงของโครงสร้างข้าราชการ
          ด้านระบบการทำงาน ปัจจุบันระบบราชการไทยเน้นการปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบ โดยจำแนกบุคลากรตามโครงสร้างองค์กร เพื่อให้สามารถมอบหมายงานเฉพาะได้ ทำให้ระบบการทำงานที่เป็นอยุ่ ยึดติดกฎระเบียบและสายการบังคับบัญชา จึงไม่สอดคล้องกับสภาพลักษณะงานจริงที่ต้องมีลักษณะเป็นพลวัต ระบบราชการจึงไม่รองรับการเปลี่ยนแปลงจากสภาพแวดล้อมภายนอกได้อย่างทันท่วงที


                                - "ระบบบริาหรราชการของราชอาณาจักรไทย", สำนักงาน ก.พ.
       

ฺBureaucracy : Malaysia

           ระบบข้าราชการพลเรือนมาเลเซีย รู้จักอย่างเป็ฯทางการในชื่อ ข้าราชการพลเรือนมลายู ถือว่าเป็นกุญแจสำคัญในด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาทางสังคมของประเทศการบริหารสาธารณะในประเทศมาเลเซียนี้มีบันทึกที่น่าสนใจ ซึ่งถูกตีกรอบโดยประวัติศาสตร์การพัฒนาของประเทศและสถาบันทางสงคมและการเมืองในช่วงก่อนจะเป็นเอกราชอังกฤษได้นำโครงสร้างและการปฏิบัติที่จะช่วยให้การบริการขั้นพื้นฐานต่างๆ แก่ประชาชน เพื่อรักษากฎหมายและระเีบียบที่สอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจแปละการเมืองโครงสร้างและการปฏิวัติเหล่านั้นเป็นพื้นฐาของราชการพลเรือนมลายู ระบบข้าราชการพลเรือนของมาเลเซียจึงได้สืบทอมาจากการบริการสาธารณะของอังกฤษที่มีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ในช่วง 50 ปีที่ผ่่านมาจากประวัติศาสตร์การบริหารระบบราชกำร ของมาเลเซีย เร่ิมก่อตั้งเมื่อปลฃาย พงศ. 2243 โดยบริษัท อินเียตะวันออก ได้มาที่ปีนังในช่วงเวลานั้ และมีการดึงดูดนักวิชาการที่ดีที่สุดและฉลาดที่สุดจากประเทศอังกฤษเพื่อแต่างตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ
       
จากรายงานนอร์ธโคต-เทรเวลยาน ใน พ.ศ. 2388 ได้มีการวางลักษณะของการบริการสาธารณะ โดยเน้นย้ำว่า
          - ข้าราชการพลเรือนที่เป็ฯกลางทางการเมือง หมายถึง ความจงรักภักดี ที่สมบุรณ์ต่อรัฐบาล โดยไม่คำนึงถึงมุมองทางการเมือง
          - การบริการสาธารณะระดับสูง ควรมีความเป้ฯธรรมและคำแนะนำที่เหมาะสม ทุ่มเทให้กับผลประดยชน์ของประชาชน และเชื่อฟังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงและคณะรัฐมนตรี
          - บริการสาธารณะควรให้ความมั่นคงอย่างต่อเนื่องมีการเปลี่ยนแปลงในรัฐบาล ต่อมาได้มีการจัดรูปแบบโครงสร้างการบริหารราชกรแผ่นดิน ออกเป็น  3 แบบดังนี้
                      อาณานิคมในช่องแคบ หมายถึง ช่องแคบมะละกามีดินแดนอยู่ 3 ส่วน คือ เกาะปีนัง เกาะสิงคโปร์ และมะละกาซึ่งตั้งอยุ่บนคาบสมุทรมลายู มีการจัดการปกครองด้วยระบบหน่วยบริหารการปกครอง หน่วยเดียว รัฐบาลอังกฤษได้จัดส่งข้าหลวงใหญ่มาปกครองโดยตรง ถือว่าเป็นอาณานิคมซึ่งขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ของอังกฤษ การบริหารงานโดยมีข้าหลวง สภาพบริหาร สภานิติบัญญัติ ซึ่งล้วนแต่เป้ฯชาวอังกฤษทั้งสิ้นที่ได้รับการแต่งตั้งทำหน้าที่ดดยมีข้าหลวงใหญ่เป็นหัวหน้า
                      ดินแดนรัฐสหพันธ์มาเลย ได้แก่ ดินแดน 4 รัฐ ที่อยุ่บนคาบสมุทรมลายุ ได้แก่ เปรัค สลังวอร์ ปาหัง และรัฐเนกรีเซมบิลัน ซึ่งรัฐเหล่านี้อังกฤษได้ให้สุลต่าานปกครองต่อไป โดยที่อังกฤษได้ส่งที่ปรึกษาด้านถิ่นที่อยุ่มาประจำในแต่ละรัฐ โดยมีอำนาจเหนือสุลต่าน ที่รปรึกษาขึ้นตรงต่อข้าหลวงใหญ่ที่ประจำอยู่สิงคโปร์ และมีศูนย์ประสานงานควบคุมรูปแบบการปกครองอยู่ที่รัฐสลังงอร์
                     ดินแดนที่ไม่อยู่ในสหพันธรัฐ ได้แก่ ดินแดนที่เหลืออยู่บนคาบสมุทรมลายูอีก 5 รัฐ ซึ่ง 4 รัฐได้เคยอยู่ กับอาณาจักรสยามมาก่อน และได้ตกเป็ฯของอังกฤษเพื่อแลกกับ ความเป้ฯเอกราชของไทย ได้แก่ ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส ่วนหน่ง รัฐที่เหลือ คือ ยะโฮร์ โดยอังกฤษได้ให้สุลต่านปกครองต่อไป แต่ให้ที่ปรึกษาควบคุมดูแลอยู่อีกที่หนึ่ง จะปล่อยให้มีอิสระในการปกครอง ค่อนข้างสุงหว่าการปกครองในรูปแบบสหพันธรัฐ
            โครงสร้างพื้นฐานนี้เป้ฯการตั้งรูปแบบของข้าราชการพลเรือนมลายู นช่วง 50 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่ได้รับเอกราชในขณธที่ปลาย พ.ศ. 2343 ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเป็นแบบที่เรียกว่าข้าราชการพลเรือน สหพันธรัฐมลายู ซึ่งเป็นรูปแบบที่ให้อำนาจบริหารส่วนกลางในการสรรหาและแต่งตั้งและนำไปใช้กับรัฐต่างๆ ของมาเลย์ด้วย การาวบอำนาจเข้าสุ่ศูนย์กลางนี้ ขั้นตอนการสรรหาได้รับการปรับปรุงให้มีความน่าสนใจ และดุงดูดผุ้สมัคร ที่มีคุณสมบัติเข้ามาในองค์การ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดการที่ดีและมีประสิทธิภาพของข้าราชการพลเรือน
            ข้าราชการพลเรือนสหพันธรัฐมลายู ได้เร่ิมมีการปรับเปลี่นแะขยายตัว เพื่อสร้างระบบราชการในสังกัดภายใต้ชื่อ กาบริการทางการปกครองของมาเลย โดยปี พ.ศ. 2446 ข้าราชกาพลเรือน มีชาวมลายูถึง 332 คน จากเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 6,607 คน ในการให้บริการของภาครัฐ นาย ราชาชูลัน บี อับดุลลา ผุ้ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เคยเข้าร่วมการบริหารราชการของภาครัฐในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งต้งในเมืองเปรัค กลายมาเป้นเจ้าหน้าที่มาเลย์ท้องถิ่นคนแรกในเมืองเปรัค ตคอนเหนือจากการรับตำแหน่งดังกล่าวถือเป็ฯการยับย้งการควบคุม จากชาวยุโรปในการบริการราชการแผ่นดิน ภายใต้การขยายตัวของระบบข้าราชการพลเรือนสหพันธรัฐมลายู และการบริกาทางการปกครองของมาเลย์ รวมั้งกาปฏิรูปด้านการปกครองต่างๆ จำนวนมากถูกนำมาใช้เพื่อยกระดับและปรับปรุงการบริการ ในหลุ่มอื่นๆ ของคณะกรรมการเตรียมการจัดวาระการประชุมและ เงินเดือนของคณะทำงาน อีกทั้งการจำแนกคณะกรรมาธิการบัคนิล เพื่อกำหนและปรับหลักการให้บริการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบการจ่ายค่าตอบแทน การลาออก บำเหน็จบำนาญ แลเะงื่อนไขอื่นๆ ของการให้บริการ เมื่ออังกฤษได้ออกจากแหลมมลายู ระหว่งการยึดครองของญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2484 ถือว่าเป็นอีกหนึ่งบททดสอบ ที่สำคัญของการบริาหราชการแผ่นดินมาเลเซีย ด้วยความกล้าหาญ ของเจ้าหน้าที่มลายูทั้ง 85 คน ที่มีบทบาทสำคัญในการบริหาร ระบบราชการของประเทศในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งบริหารจัดการประเทศ ได้เป็นอย่างดี ตลดอจนเป็ฯกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นเอกราชของประเทศ
            การก่อตั้งระบบการบริาหราชการแบบครบวงจรได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อมีการรวมการบริหารด้าต่างๆ เช่น การแพทย์ การศึกษา กฎหมาย ตำรวจ ถูกรวมกนเพื่อจัดตั้งการบริการด้านการบริหารอาณานิคม ซึ่งมีข้าราชการพลเรือนมลายูเป็นส่วนประกอบ
           ต่อมาข้าราชการพลเรือนมลายู ได้รวมตัวกับภาคส่วนที่รู้จักกันในนาม การให้บริการด้านการปกครองและการทูต บริการชั้นนำที่มีการเปลี่ยนบทบาทจากเป็ฯภาคส่วนที่จัดการเรื่องการพัฒนา เป็นภาคส่วนที่จะอำนวยความสะดวก และขณะนั้นในฐานะผุ้ริเริ่ม หน่วยงานได้รับการคาดหวังว่าจะเป็นเครื่องมือในการผลักดันประเทศไปข้างหน้า เพื่อให้บรรลุการปกครองทางเศรษฐกิจ การเสริมสร้างการพัฒนาทุนมนุษย์ที่อยู่บนพื้นฐานความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจและสังคม รวมไปถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนและคุณภาพชีวิต อีกทั้งการสร้างความเข้มแข็งในสถาบันการศึกษา และความสามารถในการดำเนินการ การให้บริการด้านการปกครองและการทูต ได้รับการระบุโดยทั่วไปว่าเป็นหน่วยงานที่ทรงเกี่ยรติ ซึ่ง ADS มีทั้งเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโสในระดับรัฐบาลกลางและระดับรัฐ ลักษณะขององค์การ คือ เจ้าหน้าที่จะให้บริการและทำงานในฐานะผู้บริหาร และผุ้พัฒนานโยบายหน่วยงานภาครัฐหรือกระทรวงต่างๆ ซึ่งมีมุมมอง วัตถุประสงค์ และบทบาทที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ทั้งมีบทบาทเป็ฯที่รปึกษาในการดำรงตำแหน่งในกระทรวงที่เกี่ยวข้อง
          ข้าราชการพลเรือนมลายู มีรากฐานในระบบการบริหารราชการของอาณานิคมซึ่งก่อตั้งดดยอังกฤษ ดังนั้นมาเลเซียจึง "สืบทอด" ระบบข้าราขชการพลเรือนที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยไปกว่าระบบที่ชาวต่างชาติที่อยุ่ในมาเลเซียวางไว้ให้ สำหรับสิ่งที่มีความแตกต่างกับระบบอาณานิคมอื่นๆ ตรงที่อังกฤษคงไว้ซึ่งโครงสร้างทางสังคมแบบดั้งเดิม และสถาบันทางการเมืองที่มีการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง แม้ก่อนจะเป็นเอกราช อังกฤษทำให้มั่นจได้ว่าขุนนางมาเลย์และชนชั้นสูงทางการเมืองจะได้รับการดูแลเป็นอย่างดีสำหรับบทบาทในระบบการบริหารอาณานิคม การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในช่วงที่ไดรับเอกราช คือ "นโยบายการบริหารการให้บริการสาธารณะของมาเลเซีย" สิงนี้ถือว่าเป้ฯวาระสำคัญของพันธ์มิตรรัฐบาลในการที่จะทำให้เป็นระบบบริหารราชการแผ่นดินมาเลเซียอย่างสมบุรณ์
          สิงหาคม พ.ศ. 2511 การจัดตั้งสำนักงานสหพันธ์รัฐได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "หน่วยงานข้าราชการพลเรือน โดยมีเป้าหมายหลักคือ การคิดริเริ่ม พัฒนาตลอดจนปรับเปลี่ยนโครงสร้างของระบบข้าราชการพลเรือนมาเลเซียเพื่อตอบสนองวาระการพัฒนาประเทศ หน่วยงานข้าราชการพลเรือน ยังคงมีบทบาทสำคัญในปีทีผ่านมาต่อไปนี้ ตามที่ เมอเดก้า ได้กล่าวไว้ว่า "มาเลเซยได้ผ่านความยากลำบากต่อไปในช่วงปีแรกหลังจากที่เป็ฯเอกราช เช่น ปัญหาฉุกเฉินในปี พ.ศ. 2512 จะเป็นประเด็นความหลากหลายทางเชื้อชาติของประชากร อีกทั้เงระบบการบริการสาธารณะที่ได้รับการวางแผนอย่างต่อเนื่อง แนวทางการบำรุงรักษาและการดำเนินนโยบายของรัฐบาลและโปรแกรม ที่จะมุ่งไปที่การประสบความสำเร็จในการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และทุนทางสังคมในการเดินหน้าของประเทศที่มีต่อแารพัฒนาและก้าวไปสู่าภาวะทันสมัย
     
ระบบการบริหารสาธารณะมีบทบาทที่แข็งแกร่งในภาคอุตสาหกรรม การเกษตร และสังคม ผ่านแผน 5 ปี และนโยบายเศรษฐกิจใมห่ ของปี พ.ศ. 2513 ซึ่งจะช่วยรักษาความสมดุลระหว่างการพัฒนาชนบทและอุตาสาหกรรมให้เกิดแรงกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจต่อไปขณะที่การจัดการผลกระทบทางสังคมของประทเศที่มีความหลากหลายด้านเชื้อชาติ ตลอหลายปีที่ผ่านมาระบบการบริการสาธารณะมีการพัฒนาและได้พบกับความท้าทายที่ต้องเผชิญกับประเทศที่มีการปรับตัวการเปลี่ยนแปลง การปรับสภาพแวดล้อมเข้าหากันทั้งในด้านการเมืองเศรษฐกิจ และสังคม ที่มีส่วนทำให้เป้นหนึ่งประเทศในภูมิภาคที่ทันมัยและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง..
         ในปัจจุบันมาเลซียที่เคยไ้รับอิทธิพลของโครงสร้างทางการเมืองการปกครองของประเทศอังกฤษตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น คือ การปกครองด้วยดครงสร้างของระบบรัฐสภา ยกเวนระบบรัฐบาล ที่มีทั้งระบบรัฐบาลกลางหรือสหพันธ์ และรัฐบาลแห่งรัฐ ึ่งการจัดระบบราชการต่างรองรับโครงสร้างข้างต้นในส่วนกลางมีกระทรวงต่างๆ ทั้งหมด 24 กระทรวง ในระดับสหพันธรัฐจะส่งตัวแทนของตนเข้าไปอยู่ประจำรัฐต่างๆ เพราะโครงสร้างการบริหารงานในแต่ละรัฐจะมีกระทรวงที่เลี่ยนแบบโครงสร้างการปกครองระดับชาติ ทั้งนี้เพื่อให้ตวแทนจากสหพันธ์คอยให้คำปรึกษาแนะนำ เป็นสื่อกลางระหว่งรัฐบาล มลนรัฐ และรัฐบาลแห่งสหพันธ์การมีโครงสร้างในการแบ่งกระทรวงที่ถอดแบบมาจากส่วนกลางนี้เป็นเครื่องมือในการควบคุมการดำเนินงานให้เป้นไปตามนโยบายของรฐบาลแห่งสหพันธ์ โครงสร้างข้าราชการั้งแต่ระดดับปลัดกระทรวง อธิบดีกรม ผุ้อำนวยการกอง ฯลฯ ทั้งในระดับสหพันธรัฐหรือระดับรัฐต่างถูกกำหนดบทบาทที่จะสนองนดยบายรัฐบาลในฐานะผุ้ปฏิบัติงานทั้งสิ้น
        นอกจากนี้การบริหารสวนกลางได้สั่งการและมอบนโยบายการปฏิบัติงาน ให้การบริการส่วนภูมิภาค ที่ข้าราชการได้รับการแต่งตั้งจากสวนกลางไปบริหารตั้งแต่ระดับอำเภอ ระดับตำบล และระดับหมู่บ้าน ซึ่งจะเห็นได้ว่าโครงสร้างระบบราชการของประเทศมาเลเซียเข้มแข็.และมีอิทิพลถึงระดับชุมชน
        การปฏิรูประบบราชการในระดับโครงสร้างที่สำคัญ คือ การจัดตั้งกระทรวงพัฒนาแห่งชาติและชนบท เพื่อทำหน้าที่ในการประสานงานและพัฒนา รวมทั้งผลักดันและเร่งรัดพัฒนา ตลอดจนจัดทำ "สมุดปกแดง"อันเป็นที่มาของแผนพัฒนาประเทศ
         ยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการปฏิรูประบบราชการในช่วงเริ่มแรกก็คือการพัฒนาและอบรมเจ้าหน้าที่ให้สอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนาประเทศ เพื่อมีข้าราชการพลเรือนที่ก้าวหน้า,มีประสิทธิภาพ มีความสามารถ, และประหยัดพัฒนนาข้าราชการให้มีความชำนาญ และมีความสามารถที่ยั่งยืนทันกับควมก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ วิชาชีพ และวิชาการ ตลอดจนความก้ายหน้าด้านการจัดการทั้งภายในและภายนอกราชการ มีกาเข้าออกของเจ้าหน้าที่น้อยที่สุด มีการบริหารการฝึกอบรมที่เป้นแบบเดี่ยวกันทั้งระบบ โดยให้สอดคล้องกับนดยบายของรัฐบาล มีการปฏิบัติต่อข้าราชการพลเรือนอย่างยุติธรรมและสม่ำเสมอในเรื่องการฝึกอบรม..
            ในปี พ.ศ. 2523 รัฐบาลได้ปรับนโยบายโดยการผลักดันให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนามากยิ่งขึ้น ดดยอดีตนายกรัฐมนตรีมหาธีร์ มูฮัมหมัด ได้แระกาศแนวคิดที่จะให้มีการร่วมมือกันในรูปของ "บริษัทมาเลเซีย" เพื่อเร่งรัดการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
            ในปี พ.ศ. 2539 ประเทศมาเลเซียได้มีการปฏิรูปราชการอีกครั้ง นโยบายแห่งขาตินี้จะเน้นการปฏิรูปภาคราชการในเรื่องการปฏิรูปการจัดระบบการบริหารและการจัดการภาคราชการ และเรื่องการปฏิรูปการจัดการระบบการให้บริการแก่ประชาชน จุดมุ่งหมายในการปฏิรูปภาคราชการครั้งนี้ เพื่อที่จะเผชิญความท้าทายกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
            รัฐบาลปัจจุบันที่นำโดย นายกรัฐมนตรี นาจิบ ราซัค ได้ำเนินนโยบายสานต่อวิสัยทัศน์ อย่างต่อเนื่อง เืพ่อให้มาเลเซียเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วในปี พ.ศ. 2563 ให้สำเร็จ

                 - ระบบการบริาหราชการของ สหพันธรัฐ มาเลเซีย, สภาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ.

วันจันทร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2560

ฺBureaucracy : Brunei

          บรูไนในอดีตเป็นเพียงรัฐเล็กๆ ที่มีอิสระในการปกครองตนเอง แต่เพื่อความอยุ่รอ บรูไนต้องยอมอยุ่ใต้การอารักขาของอังกฤษจนสาามารถสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและบรูไนก็ยังคงรักษษสถานภาพทางการเมืองไว้ได้เป็นอย่างดี  เพราะผุ้ปกครองหรือสุลต่านของบรูไนพยายามเหลีกเลี่ยง ไม่ยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งของรัฐต่างๆ
          ปัจจุบันประเทศบรุไนยังคงเป็นประเทศที่มีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งเป็นประเทศเดียวในประชาคมอาเซียนที่ปกครองด้วยระบบสุลต่่าน โดยองค์สุลต่าน จะมีอำนาจเด็ดขาดเพียงผุ้เดี่ยว มีฐานะเป็นสมเด็จพระราชาธิบดี  ปละเป็ฯประมุขสูงสุดของประเทศ  การปกครองของประเทศบูรไน เป็นการปกครองในรูปแบบรํฐเดี่ยวแต่เป็นรัฐเกี่ยวแบบรวมศูนย์อำนาจ ในด้านการบริหารราชการแผ่นดิน บรูไน ไม่มีการกระจายอำนาจทางกรเมืองไปยังหน่วยการปกครองในระดับล่าง การบริกหารราชการแผ่นดินจึงเป้นการสั่งการตามสายบังคับบัญชา หรือเป็นลำดับชั้นจากสุลต่านและสมเด็จพระราชาธิปบดีลงมาที่กระทรวง หรือหน่วยงานของรัฐ ต่อไปยังเขตการปกครอง และต่อไปยังตำบล และหมู่บ้าน ซึ่งเป้นหน่วยการปกครองระดับล่างสุด และเมื่อหมู่บ้านต้องการดำเนเนการใดก็จะเสนอเรื่องไปยังตำบล ซค่งจะส่งต่อไปยังเขตปกครอง
         โครงสร้างการปกครอง บุรไน ประกอบด้วย
             - เขตการปกครอง หรือ Daerah ในภาษามาเลย์ เป็นหน่วยงานาการปกครองระดับล่างจากกระทรวงแบ่งเป็น 4 เขตการปกครอง ประกอบด้วย เขตการปกครองบรูไน - มูอารา เบอไลต์ เต็มบุรง และตูตง
            - เทศบาล อยุ่ในระดับชั้นเดี่ยงกับเขชตการปกครอง เป็นหน่วยการปกครองท้งถิ่นที่เป็นเมืองหรือชุมชนเมือง การบริหารงานขึ้นต่อกระทรวงมหาดไทย
            - ตำบล เป็นหน่วยการปกคอรองระดับล่างต่อจากเขตเขตการปกครอง มีกำนันในภาษามาเลย์เรียกว่า Penghulu Mukim เป็นผู้นำ
           - หมู่บ้าน เป็นหน่วยการปกครองระดับล่างสุด ในภาษามาเลย์เรียกว่า  Kumpung หรือ Village ในภาษาอังกฤษ และผุ้ใหญ่บ้านในภาษามาเลย์ เรียกว่า Ketua Kampung
           บรูไนมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาของระบบราชการอันยาวนานอย่างน้อย 600 ปีมาแล้ว
ก่อนจะมีข้อตกลงเพิ่มเติมระหวางบรูไนและสหราชอาณาจักรในปี พงศ. 2449 ระบบราชการของบรูไนได้รับการกล่าวถึงตั้งแต่สมัยสุลต่านฮันซันที่ 9 ที่เรียกวว่า สุลต่านฮัสซันแคนนอน" หลังจากที่สถาบันกษัตริย์ขึ้นถึงจุดสูงสุดของอำนาจในศตวรรษที่สิบหกก็ตามด้วยจุดถอถอยลง และต่อมาในศตวรรษที่สิบเก้าอาณาเขตของบรูไนก็ลดน้อยลง เนื่องจากอิทธิพลของตระกูลเจ้าผุ้ครองซาราวัก การปฏิวัติบรูไน พ.ศ. 2505 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะที่รัฐสุลต่านบรูไนยังอยู่ภายใต้การอารักขาของอังกฤษ สมาชิกพรรคประชาชนบรูไนซึ่งเป็ฯพรรคฝ่ายต้านในบรูไน มี เอ เอ็ม อาซาฮารี เป็นหัวหน้าพรรค พรรคนี้ได้เสียงข้างมากในการเลือกตั้งเมื่อเดอนสิงหาคม พ.ศ. 2505 โดยมีนโยบายต่อต้านการรวมบรูไนเข้ากับมาเลิซีย อาซาฮารี ได้เรียกร้องให้มีการตั้งรัฐบอร์เนียวเหนือ โดยรวมบรูไน ซาราวัก และซาลาห์เข้าด้วยกัน แต่เมื่อสภานิติบัญญัติไม่จัดการประชุมตามที่พรรคเรียกร้อง กองทัพแห่งชาติบอร์เหนียวเหนือซึ่งเป็นกองทัพใต้ดินที่พรรคประชาชนบรูไนก่อตั้งจึงลุกฮือขึ้นก่อกบฎ สุลต่านได้ขอความช่วยเหลือไปยังอังกฤษ อังกฤษจึงส่งกองทหารจากสิงคโปร์มาปราบกบฎได้สำเร็จและทำให้สุลต่านเซอร์โอมาร์ อาลี ไซผุดดิน ตัดสินใจไม่เข้าร่วมกับสหพันธรัฐมาเลเซียในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2506
              การเข้ามาของอังกฤษมีส่วนช่วยรักษาสถาบันกษัตริย์ของยรูไน และเปิดโดอาสให้สถาบันกษัตริย์ปรับตัว จนกลายมาเป็นระบบการปกครองแบบรวมอำนาจ การนำเสนอการปกครองรูปแบบใหม่ที่ให้อำนาาจในการปกครองด้วยตัวเองแก่บรูไนมีส่วนในการฟื้นอำนาจทางการเมืองของสุลต่าน จึงทำให้ระบบราชการของบรูไนเริ่มมีขึ้นตั้งแต่เวลานี้ ประเทศบรูไนซึ่งใช้ระบบสมบุรณาญาสิทธิราชย์อย่างแท้จริง การปกครองของยรูไนจากอดีตมาสู่ปัจจุบันเป็ฯระบบการปกครองที่เน้นศาสนาอิสลามเป้นบรรทัดฐานสำคัญในการใช้พระราชอำนาจของพระราชาธิบดีหรือสุลต่าน ผ่านระบบราชการที่เป็นตัวสร้างความเชื่อมโยงระหว่างรัฐและประชาชนภายใต้ "แนวคิดรัฐอิสลาม" คือ รัฐที่ถุกปกครองตามบทบัญญัติของอิสลามเป็นบรรทัดฐานสำคัญในการใช้พระราชอำนาจของพระราชาธิบดีหรือสุลต่าน ผ่านระบบราชการที่เป็นตัวสร้างความเช่อมโยงระหว่างรัฐและประชาชนภายใต้ "ปนวคิดรัฐอิสลาม" คือ รัฐที่ถูกปกครองตามบทบัญญัติของอิามโดยสมบูรณ์ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการสร้างคามมั่นคงของรัฐและความรุ่งเรื่องของประเทศ และรูไนได้ลงนามข้อตกลงกับอังกฤษภายใต้ข้อตกลง ในปี พ.ศ. 2449 ทั้งนี้อังกฤษยังดำเนินการเกี่ยวกับข้าราชการพลเรือน ยกเว้น ในกิจการที่เกที่ยวข้องกับศาสนา นี้คือจุดเริ่มต้นของข้าราชการพลเรือนบรูไนสมัยใหม่ที่เป็นที่รู้จักกันในปัจจุบัน
          ประเทศบรูไนใช้ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในการบริหารราชการอย่างแม้จริง ประเทศบรูไนเป็นประเทศที่เล้กมาก และปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่บรูไนไม่ได้มีสภาวะความกดดันทางการเมือง ความอึออัดของสังคม หรือมีสภาพเศรษฐกิจแร้นแค้นเหมือนที่เห็นในบางประเทศ บรูไนเป็นรัฐขนาดเล็กแต่เป็นรัฐที่เข้มแข็งมั่นคง เพราะความโชคดีที่มีทรัพยากรธรรมชาติสำคัญ คือ น้ำมันและก็าซธรรมชาติที่ส่งออกได้จำนวนมาก และสร้างรายได้มหาศาลในบรูไนประกอบกับการตัดสินใจที่จะไม่รวมประเทศกับมาเลเซียในอดีต ทำให้ไม่ต้องแบ่งเรื่องผลประโยชน์ บวกกับมีจำนวนประชากรไม่มาก ทำให้สถานะประเทศง่ายต่อการบริหาร จึงนำรายได้มาพัฒนาดัชนีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จนติดอันดับที่ดีที่สุดในโลกร่วมกับประเทศในตะวันตก คือ อยุ่ในอันดับที่ 30 จากทั่วโลก คุณภาพชีวิตของประชาชนของบรูไนค่อข้างดี แม้ว่าจะไม่ได้มีการปกครองประเทศแบบประชาธิปไตย
          อย่างไรก็ตาม การบริหารประเทศบรูไนมีลักษณะรวมศูนย์อำนาจการสั่งการ และการตัดสินใจไว้ที่ส่วนกลาง ก่อนที่จะกระจายอำนาจ วบประมาณ การบริการ และทรัพยากรลงสุ่องค์การและหน่วยงานต่างๆ ในลักษณะรัฐสวัสดิการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งทำให้เห็นถึงระบบราชการที่เข้มแข็ง คือ มีการจัดสายบังคับบัญชาแบบบนลงบ่างโดยสมบุรณ์แบบ แต่แย่างไรก็ตามโจทก์สำคัญของรัฐบาลบรูไน คือ "ประชาชน" บนหลักคิดของศาสนาอิสลามที่ทุกคนเท่าเทียมกัน รักกันฉันท์พี่น้อง แม้กระทั่งสุลต่านเองเมื่อเข้าสุ่มัสยิดก็ต้องนั่งประกอบพิธีที่พื้นเช่นเดี่ยวกับประชาชน การปกครองของบรูไนจากอดีตมาสุ่ปัจจุบันเป็ฯระบบการปกครองที่เน้นศาสนาอิสลามเป็นบรรทัดฐานสำคัญในการใช้พระราชอำนาจของพระราชาธิบดีหรือสุลต่าน ผ่านระบบราชการที่เป้นตัวสร้างความเชื่อมโยงระหว่างรัฐและประชาชน ภายใต้แนวคิดรัฐอิสลาม คือ รัฐที่ถูกปกครองตามบทบัญญัติของอิสลามโดยสมบูรณ์ ซึ่เป็นแนวทางหนึ่งในการสร้าางความมั่นคงของรัฐและความรุ่งเรืองของประเทส
         ระบบการบริหารราชการแผ่นดินของบรูไนเป็นแบบสายบังคับบัญชาตามลำดับชั้นจากบนลงล่าง การดำเนินงานส่วนหนึ่งเป็นการสั่งการตามลำดับชั้นลงมา อีกส่วนหนึ่งเป็นการริเริ่มของท้องถิ่นเอง แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากลำดับชั้นที่สูงขึ้นไป ความสัมพันธ์ระหว่างราชการส่วนกลางและท้องถิ่น คือ การกำกับดุแลและการควบคุม
         รัฐบาลมีหน่วยงาน 3 หน่วยงาน อยุ่ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวช้องกับการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ ได้แก่
         - คณะกรรมการข้าราชกาพลเรือน ทำหน้าที่กำกับดุแลกาแต่างตั้งตำแหน่งข้าราชการ และวินัยขาราชการ เมื่อข้าราชการมีการกระทำผิดกฎระเบียบข้าราชการ หน่วยงานนี้จะเข้ามตรวจสอบ รวมมั้งตรวจสอบตามคำร้องเรียนจากประชาชนถึงความประพฟติของเจ้าหน้าที่รัฐ
         - สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ทำหนาทที่ในการรับคำร้องและตรวจสอบการใช้วบประมาณที่ไม่ถูกต้องตามระเบยบราชการ หรือมีการใช้วบปะมาณที่ไม่เหมาะสม และไม่มีประสิทธิภาพของหน่วยงานราชการต่างๆ
         - สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริต ทำหน้าที่ตรวจสอบพฤติกรรมอันมิชอบต่อการบริหารงานของหน่วยงานราชการ มีหน้าที่หาแนวทางป้องกันมิหใ้เกิการคอรัปชันตวมมทั้งส่งเสิรม กระตุ้น และสร้างจิตสำนึกในการต่อต้านการคอรัปชั่นในพื้นที่ต่างๆ
          ข้าราชการพลเรือนบรูไนทั้งประเทศมีประมาณ 48,761 คน ส่วนใหญ่มีการศึกษาสูง และสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดีรัฐบาลมีนโยบายที่จะให้ข้าราชการพลเรือนไดรับการพัฒนาไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมงต่อปี มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ซึ่งข้ารชการต้องทำหน้าที่ในการให้บริากรกับประชกรในประเทศ ตามหน่วยงานภาครัฐที่ถุกแบ่งออกเป็น 12 กระทรวง 113แผนก ในช่วงระยะหลังมีการบริหารงานในหน่วยงานภาครัฐหลากหลายแบบ และนำระบบการบริหารจัดการเข้ามาช่วยในการบริหารงานราชการ มีการนำหลักการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ กระบวนการคิด ทัศนคติ และวัฒนธรรมในการทำงานมาสร้างให้เกิดความโปร่งใส ความกรตือรือรน ความตื่นตัว ความรับผิดชอบ ให้เกิดประสิทธิผลแก่หน่วยงานราชการ สร้างจริยธรรมให้เกิดแก่ข้าราชการ ควบคู่ไปกับกาบิริหารราชการที่มีประสิทธิผล และพัฒนาทักษะขีดความสามารถของข้าราชการในการส่งมอบสินค้า และบริการที่สร้างความพึงพอใจให้กับประชกรบรูไนที่มารับบริการ
          ข้าราชการบรูไน แบ่งออกเป็น 5 ระดับดังนี้
          - ระดับ 1 จะเป็ฯระดับของข้าราชการที่เป้ฯผุ้บริหารสุงสุด ได้แก่ ปลัดกระทรวง รองปลัอกระทรวง ผุ้อำนวยการ รองผุ้อำนวยการ ผู้ช่วยผุ้อำนวยการ ฯลฯ
           - ระดับ 2 จะเป็นผู้บริหารระดับกลาง ได้แก่ ผุ้จัดการอาวุโส วิศวกร ผุ้เชี่ยวชาญ บุคลากรทางการศึกษา ฯลฯ
           - ระดับ 3 เป็นผู้บริหารระดับล่าง ได้แก่ผุ้บริหารระดับกลาง หัวหน้า ผุ้เชี่ยวชาญทางเทคนิคฯลฯ
           - ระดับ 4 เป็นพนักงานระดับปฏิบัติการ ได้แก่ พนักงานเสมอียน ช่างเทคนิค ฯลฯ
           - ระดับ 5 ผุ้ช่วยระดับปฏิบัติการ ได้แก่ ผุ้ช่วยสำนักงาน คนขับรถ นักการ ฯลฯ        


                                           - www.aseanthai.net/.., ข้อมูลการเมืองการปกครองประเทศบรูไน
                                           - "ระบบการบริหารราชการของ เนการา บรูไน ดารุศซาลาม", สภาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ.

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                   

วันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2560

ฺBureaucracy : Singgapore

             สิงคโปร์ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีรัฐธรรมนูยเป็นกฎหมายสูงสุด แบ่งอำนาจการปกครองเป็น 3 ส่วนดังนี้
             1 สภาบริหาร ประกอบด้วยประธานาธิบดีและคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีหน้าที่บริหาประเทศผ่านกระทรวงทบวงกรม และหน่วยงานในสังกัดราชการอื่นๆ ประธานาธิปบดีสิงคโปร์มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน มีวาระดำรงตำแหน่ง 6 ปี
             คณะรัฐมนตรีสิงคโปร์มาจากการเลือกตั้งทั่วไปทุก 5 ปี พรรคการเมืองสำคัญ 4 พรรค
             2 รัฐสภา มาจากการเลือกตั้งทั่วไป
             3 สภาตุลาการ แบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ศาลชั้นต้น และศาลฎีกา
             หลังจากได้รับเอกราชจาประเทศอังกฤษ จุเน้นในการปฏิรูประบบราชการของสิงคโปร์ คือ การสร้างข้าราชการเพื่อทดแทนเจ้าหน้าที่ของประเทศอังกฤษ และการออกแบบให้บริการสาธารณะ เพื่อตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของประชารชน ซึ่งเป้นกระบวนการที่เรียกว่า ความเป็นท้องถิ่นภิวัฒน์ และความเป้นประชภิวัฒน์ อย่างไรก็ตามในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา จุดมุ่งหมายในกาปฏิรูปได้เปลี่ยนไป เน้นที่การมีปฏิสัมพันธ์ในระดับนานาชาติ เพื่อตอบสนองต่อกระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งรวมถึงแนวคิดเสรีนิยม การลดกฎระเบียบและการควบคุมของรัฐ การแปรรูปกิจกรรมของรัฐ ทั้งนี้เพื่อให้ระบบราชการสามารถมีความร่วมมือกับตลาดต่างประเทศ นักลงทุนต่างประเทศบริษัทที่ปรึกษาจากต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
            David Seth Jones ได้กล่าวถึงมาตรการต่าง ๆในการปฏิรูประบบราชการสิงคโปร์ไว้ในหนังสือ Public Administration Continuity
             1 โครงสร้างองค์การ ในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่่านมา รัฐบาลสิงคโปร์ได้จัดทำโครงการใหม่ ๆ ขึ้นภายในบริบทของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ตั้งอยุ่บนหลักการและเทคนิคขององค์การภาคเอกชน โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการพิจารณายกเลิกกิจกรรมภาครัฐ ขึ้นด้วย
             ขั้นตอนการแปรรูปกิจกรรมภาครัฐ แบ่งเป็น 4 ขั้นตอนหลัก คือ การแปรรูปองค์การ การทำสัญญาจ้างเอกชนให้บริหารงาน การผ่อนปรนระเบียบกฎหมาย และการตัดทอนการลงทุน ทั้งนี้มีคณะกรรมการอิสระในการรัฐวิสาหกิจ สำคัญๆ 3 แห่ง ได้แก่ บริษัทสิงคโปร์โทรคมนาคม บริษัทกระจายเสียงแห่งสิงคโปร์ และสำนักงานสาธารณูปโภคกลาง และยังจะมีการแปรรูปองค์การ อีกหลายหน่วยงานในอนาคตอันใกล้นี้ รวมถึงในส่วนการให้บริการสาธารณสุขหรือโรงพยาบาลรัฐอีกด้วย กาแปรรูปองค์การ ทำให้หน่วยงานเหล่านี้ มีความยืดหยุ่นในการบริหารงานมากขึ้น มีโครงสร้างทางการเงินที่เหมาะสม มีอิสระในการจัดโครงสร้างองค์การและโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นอิสระจากการควบคุมของระบบราชการ หน่วยงานเหล่านี้จึงมีความสามารถที่จะเลือกลงทุนขยายกิจการ แข่งขันด้านเวลาสร้างสรรค์นวัตกรรม ปรับปรุงการให้บริการ หรือแม้กระทั่งเลือกลงทุนในกิจการประเภทอื่น
             อย่างไรก็ดีก่อนที่จะมีการแปรรูปองค์การเต็มรูปแบบได้มีการโอนการให้ลบริการระดับข้างเคียงจำนวนหนึ่งของคณะกรรมการอิสระ เหล่านี้ไปให้รัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นองคการใหม่ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นบริษัทย่อยส่วนการให้บริการด้านอื่นๆ ของหน่วยงาน มีการทำสัญญาจ้างเหมาดำเนิการกับบริษัทเอกชน หรือไม่ก็มีกาลดกฎระเบียบเพื่ออนุญาตให้บริษัทเอกชนดำเนินการแช่งขัีนให้บริการได้ ซึ่งเป็นการยกเลิกการผูกขาดโดยรัฐนั่นเองอย่างไรก็ตามต้องมีการดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตัวอย่างเช่น Singapore Telecommunication Ltd. จะยกเลิกการผุกขาดกิจการโทรคมนาคม และการให้บริการไปรษณีย์พื้นฐานตามลำดับภายใน 20 ปีข้างหน้า
            ดังนั้นจนถึงปัจจุบัน การแปรรูปองค์การ จึงยังมิใช่การแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างเต็มรูปแบบกล่าวคือ รัฐยังเป็นผุ้ถือหุ้นใหญ่รวมถึงการพัฒนาแผนกขึ้นมาแผนกหนึ่งจากกน่วยงานเดิม และทำการปรับโครงสร้างให้มีขาดที่เล็กลงอย่งมากเืพ่อทำหน้าที่พิจารณาอนุมัติแกละกำกับดุแลบริษัทต่างๆ ที่แยกตัวออกมาดังน้นจึงมัี่นใจว่าผลประดยชน์สาธารณะฃจะยังคงได้รับการคุ้มครองทั้งในด้านราคา ผลประโยชน์ และมาตรฐานการให้บริการ
           2 การบริหารงานบุคคล การบริหารงานบุคคลแต่เดิมเป็ฯความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริการด้านสาธารณะ เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้นเป็นความรับผิดชอบของคณะกรรมการอีกสองชุดและอีกหนึ่งหน่วยงาน คือ คณะกรรมการให้บริการด้านการศึกษา คณะกรรมการป้องกันพลเรือนและตำรวจและหน่วยงานบริการสาธารณะ กระทรวงและกรมต่างๆ มีอำนาจอย่างจำกัดในการคัดเลือและการพิจารณาเลื่อตำแหน่งข้าราชการระดับล่างสุด ตามที่ได้รับมอบอำนาจจาก PSC เท่านั้น ในเดือนมกราคม 2538 ได้มอบอำนาจหน้าที่ในกาบริหารงานบุคคลให้แก่กระทรวงต่างๆ โดยการจัดตั้งระบบคณะกรรมการบริหารงานบุคคลแบบ 3 ระดับ คือ ระดับสุงสุดมีคณะกรรมการบริหารงานบุคคลชุดพิเศษประกอบด้วย เลขาธิการและรองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และปลัดกระทรวง ทำหน้าที่ในการพิจารณาเลื่อนตำแหน่ง และแต่งตั้งข้าราชการระดับสูง จนถึงระดับในหน่วยงานระดับกรมและหน่วยงานเชียวชาญเฉพาะในระดับกลาง ประกอบด้วย คณะกรรมการข้าราชการรดดับสุงหลายชุด ทำหน้าที่คัดเลือกและเลือ่นตำแหน่งข้าราชการระดับ 1 คณะกรรมการแต่ละชุมแต่งตังจากหนวยงานระดับกรมและหน่วยงานเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ รวมถึงปลัดกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการคัดเลือกและเลื่อนตำแหน่งนั้นๆ ด้วย สำหรับระดับล่างสุดในแต่ละกระทรวงจะมีคณะกรรมการของตนเอง ซึ่งได้รับมอบอำนาจในการแต่งตั้งและเลื่อนตำแหน่งข้าราชการรดับ 2,3 และ 4 โดยมีข้าราชการระดับสุง เป็นประธาน และมีข้าราชการระดับ 1 เป็นกรรมการ ทั้งนี้ PSD มีหน้าที่เป็นผู้โฆษณาประกาศรับสมัครและเป็ฯผุ้รับสมัคร รวมถึงเป็นการกำหนดเกณฑ์วัดในการเลื่อนตำแหน่งด้วย
             3 ระบบงบประมาณ มีการเริ่มใช้ระบบการจัดสรรงบประมาณแบบจำกัดเกณฑ์การออกเสียง เป็นครั้งแรกในงบประมาณปี 2532 โดยกำหนดยอดงบประมาณของแต่ละกระทรวงเป็นร้อยละของรายได้มวลรวมประชาชาติเพื่อสอนให้สภาพิจารณาอนุมัติ เมื่อสภาอนุมัติแล้ว กระทรวงจึงมีอำนาจในการใช้จ่ายวบประมาณตามที่ประกาศไว้เป็นวัตถุประสงค์โครงการหรือกิจกรรมต่างๆ และมีอิสระในการโอนย้ายเงินและบุคลากร โดยไม่ต้องขออนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 3 ปีต่อมาจึงเร่ิมใช้ระบบบัญชีบริหารที่มีชื่อว่า "ระบบการบริหารจัดการบัญชีของรัฐบาลสิงคโปร์" โดยจัดทำบัญชีต้นทุนบุคลากรสิ่งปลูกสร้าง วัสดุอุปกรณ์ และการใช้บริการต่างๆ ของแต่ละโครงการและกิจกรรม รายละเอียดทางบัญชีเหล่านี้ทำให้บริหารหน่วยงานสามารถใช้อำนาจหน้าที่ทางการเงินที่ได้รับจากวบประมาณแบบจำกัดเกณฑ์การออกเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ การปฏิรูประบบวบประมาณที่สำคัญอีประการหนึ่ง คือ การพัฒนาวบประมาณแบบฐานศุูนย์ ขึ้นโดยให้สำนักผุ้ตรวจงานราชการเป็นผุ้พิจารณาตรววจสอบกาใช้ทรัพยากรและค่าใช้จ่ายลงทุน ของแต่ละกระทรวงในทุก 5 ปี โดยใช้ข้อมุลจากระบบบัญชีบริหารและตัวชี้วัดผลงานเป็นเครื่องมือสำคัญในการตวรจสอบ
               แม้ว่าแนวคิดในการปฏิรูประบบราชการสิงคโปร์จะเปลี่ยนไปสู่การตอบสนองต่อกระแสโลกาภิวัฒน์ ซึ่งอาจช่วยพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของปรเทศ  แต่ก็อาจทำให้ความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนลดลง การนำแนวคิดเสรีนิยมมาปรับใช้อาจทำให้การให้บริการสาธารณะประสบผลสำเร็จในเชิงเศรษฐกิจ และทำให้เกิดการละเลยปัญหาที่ไม่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ ได้เช่นกัน นอกจานี้ความพยายามในการลดความเป็นระบบราชการ ด้วยการใช้ค่านิยมและวิธีการทางธุรกิจโดยที่ค่านิยมและวิธีคิดดั้งเดิมของระบบราชการยังคงฝังตัวอยู่นั้น อาจทำให้ต้องใช้ระยะเวลาในการปฏิรูปเนิ่นนามออกไป


                                        - "ระบบบริหารราชการของ สาธารณรัฐ สิงคโปร์" สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ.
           

ฺBureaucracy

           แมกซ์ เวเบอร์ นักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน เสนอรูปแบบขององค์การในอุดมคติซึ่งเขาเห็นว่าเป็น
แนวทางที่ทรงประสทิธิภาพสูงสุดที่ทำให้องค์การบรรลุเป้าหมาย โดยเรียกโครงสร้างแบบนี้ว่า "ระบบราชการ"
           ระบบราชการ เป้ฯรูปแบบองค์กรที่มช้เหตุผล และประสิทธิภาพโดยมีอำนาจหน้าที่ตามระเบียบ และตามกฎหมาย มีลักษณะสำคัญดังนี้
           - มีสายบังคับบัญชาเป็นลำดับหน้าที่ โครงสร้างการบริหาระบบจะเป็นรูปปิรามิด ผุ้ที่อย่ระดับชั้นการบังคับบัญชาที่สูงกว่าจะคอยควบคุมและสั่งการผุ้อยุ่ในระดับต่ำกว่า
           - การแบ่งงานกันทำ แบ่งงานออกเป็นกลุ่มตามลักษระการทำงานพิเศษเฉพาะอย่าง ดดยบุคคลจะอยู่ในตำแหน่งหน้าที่ตามความถนัดและความสามารถของตน
          - ความไม่เป้นส่วนตัว สัมพันธภาพระหว่างบุคคลภายในระบบราชการจะต้องเป็นไปในลักษณะเป็นทางการ โดยไม่ยึดถือเรื่องส่วนตัวแต่จะยึดถือเหตุผลเป็นสำคัญ
          - มีักฎระเบียบแลฃะวิธีปฏิบัตอย่างเป้ฯทางการ คือ ระเบียบและวิธีปฏิบัติต่างๆ นั้นจะต้องถูกน้ำมาช้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน
          - ความก้าวหน้าในงานอาชีพตามหลักคุณภาพ การทำงานในอาชีพจะต้องอาศัยความรู้ความสามารถเป็นสำัญและสามรถเจริญเติบโตในตำแหน่งหน้าที่ตามความรู้ความสามารถ
           - การแบ่งแยกทั่งเรื่องส่วนตัวและทรัพย์สินของบุคคลออกจากองค์การ
           ความหมายของระบบราชการมีผุ้ให้ความหมายไว้หลากหลาย อย่างไรก็ตาม เมื่อศึกษาและจะหเ็นว่า ระบบราชการเป็ฯระบบที่มุ่งผลสำเร็จตามเป้าหมาย อขงองค์การดังนั้นโครงสร้งของระบบราชการ จึงประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ ที่สำคัญ คือ ลำดับชั้นการบังคับบัญชา, ความรับผิดชอบ, การแบ่งงานหน้าที่และการฝึกอบรมให้มีความขำนาญเฉพาะด้าน, การมีระเบียบวินัย, การรวมการควบคุมแนะนำไว้ที่จุดศูนย์กลาง, การมีระเบียบกฎเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัว ปัจจัยดังกล่าวนี้ ล้วนแต่จะช่วยทำหการปกิบัติงานของระบบราชการมีประสิทธิภาพสูงและมั่นคง แต่ในทางพฤติกรรมและบทบทแล้วพบ่า ระบบราชการเป็นระบบทีหใหญ่โตเทอะอะ ไม่มีประสิทธิภาพและเป็นตัวเหนียวรั้งการพัฒนาเศราฐฏิจและสังคมของประเทศ
           ระบบการบริหาราชการเป็นเครื่องมือที่จำเป็นของระบบราชการที่จะผลักดันก่อให้เกิดความร่วมมือประสานงาน ความรับผิดชอบ และความร่วมใจกันปฏิบัติกิจการต่างๆ ให้บรระลุตามเป้าหมายขององค์การนั้นที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
           การบริหารงานของรัฐหรือการบริหารงานขององคการราชการต่างๆ จะเจริญก้าวหน้าหรือปฏิบัติงานได้รับผลสำเร็จมีประสิทธิภาพสูงได้นั้น จะต้องพิจารณาปัจจัยสภาพแวดล้อมต่างๆ ประกอบดังต่อไปนี้
           - การกำหนดโครงสร้างขององค์การ ต้องเลือกแบบที่มีผลดีมากว่าผลเสีย
           - การกำหนดเป้าหมายขององค์การ ต้องพยายามให้สอดคล้องกับเป้าหมายของผู้ปฏิบัติมากที่สุด ดังนั้นการบริหารงานตามวัตุุประสค์หรือจุดมุ่งหมายจึงมีความสำคัญและจำเป็ฯอย่างยิ่งในการบริหารองค์การ
          - การกำหนดแบ่งส่วนนราชการ ต้องเหมาะสมและทันต่อเหตุการณ์เมื่ององค์การดำเนินการต่อไประยะหนึ่ง อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงพัฒนาองค์กร เนื่องจากไม่เหมาะสมกับสภาพการทำงานภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก เป็นต้น
          - การมอบอำนาจหน้าที่ใ้แก่ผุ้ใต้บังคับบัญชาจะช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ของผุ้บริหารระดับสูง เสริมสร้างพัฒนาผุ้นำในองค์การ และทำให้การบริหารมีความสะดวกคล่องตัวยิ่งขึ้น
          - สิ่งจูงใจในการทำงาน มีคามจำเป็ฯและมีอิทธิพลอย่างยิงต่อประสิทธิผลของการปฏิลัติงาน
          - การฝึกอบรมและการเพิ่มประสิทธิภาพมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาบุคคลผู้ปฏิบัติงานให้มีความรู้ความสามารถและเชี่ยวชาญในหน้าที่รับผิดชอบของตน
          - ระเบียบปฏิบัติราชการ เป็นปัจจัยช่วยทำให้การปฏิบัติงานของระบบราชการมีประสิทธิภาพสุงและมีความมั่นคงตลอดไป แต่ในทางพฤติกรรมและบทบามแล้ว มักพบเสมอว่าสิ่งนี้เป้ฯตัเหน่ยวรั้งการพัฒนาการบริหารองค์การทำให้ไม่เจริญก้าวหน้าและไม่ได้ผลทันต่อเหจุการณ์เท่าที่ควร จึงจำเป็ฯต้องปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับนโยบายและป้าหมายขององค์การ
          การให้บริการของรัฐ มีความหมายดังนี้
          - บริการประชาชนคล้ายกับสินค้าสาธารณะว่า หมายถึง กิจกรรมทุกประเภที่รัฐจัดทำขึ้น เพื่อสนองความต้องการส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งอาจแบ่งได้ 2 ประเภท คือ กิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการในด้านความสะดวกใน การดำเนินชีวิต
         - การที่องค์การของรัฐได้กระจายสินค้าสาธารณะออกไปให้กับประชานในสังคม เพื่อความเป็ฯอยู่ที่ดีขึ้นและเอื้ออำนวยประโยชน์สุขแก่ประชาชนให้มากที่สุดโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐและยังต้องการศึกษา
           หลักการให้บริการประชาชนของรัฐ ต้องคำนึงถึงหลัก 3 ประการคือ
           1. เพื่อประโยชน์สาธารณะ การบริการประชาชน เป้ฯปฏิสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ขององค์กรของรัฐกับประชาชน ดดยมีเป้าหมายที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์แก่ประชาชน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกบประชาชซึ่งองค์การของรัฐมีบทบาทหน้าที่สำคัญ 2 ประการคือ เป็นกลไกปกครองอุแลประชาชนให้ปฏิบัติตามครรลองของกฎหมาย และเป็นกลไกจัดสรรทรัพยากรและการบริการพื้นฐานทางสังคม การให้บริการขององค์การของรัีฐ จึงประกอบด้วยองค์การ 2 ประเภท คือ องค์การที่ให้บริการเพื่อประดยชน์ส่วนรวม และองค์การที่ให้บริการเพื่อประโชน์ส่วนยุคคล โดยองค์การที่ดำเนินการเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ทำหน้าที่ในกาควบคุมให้ประชาชนอยุ่ภายใต้กฎหมายและเกิดความเป็นระเบียบขึ้นในสังคม ส่วนองค์การให้บริการเพือประโยชน์ส่วนบุคคลเป็ฯองค์การที่ส่งเสริมความเป็นอยุ่ อาชีพและอนามัยให้ดีขึ้น
         2. หลักการบริการประชาชน การบริการประชาชนซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐ จะต้องทำหน้าที่ให้บริการต่างๆ ให้แก่ประชาชน เช่นการรักษาความสงบเรียบร้อยและากรแห้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคม แารป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม การักษาสิทธิมนุษยชนโดยกฎมหาย แารป้องกันประเทศการให้สิ่งวตอบแทนแก่สมาชิกในสังคมผุ้ทำคุณประดยชน์ต่อชาติบ้านเมือง การออกฎหมายสวัสดิการแก่ผุ้ใช้แรงงาน การระดมทรัพยากร ได้แก่ เงินภาษีอากรจากสังคม การสาธาณสุข กาบริการแก่ผุ้ยากจนให้เปล่าโดยบัตรสุขภาพ การให้การศึกษา แก่เยาชนให้เปล่า การวางแผนใช้พลังงานและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาและวางแผนชุมชนเมือง การจัดทำบริการสาธารณะ
         3. หลักการบริหารในด้านการบริการประชาชน รัฐมีเป้าหมายการบริการเพื่อความพังพอใจของประชาชน รัฐมีหน้าที่เป้ฯองค์การของรัฐ ถ้าเจ้าหน้าที่ขององค์การของรัฐบริการประชาชนดีแล้ว ประชาชนที่ได้รับบริการจากองค์การของรัฐควรมีความสบายใจ ซึ่งผลที่ได้จากการบริการของรัฐด้งกล่าว ประชาชนจะพอใจและให้ความร่วมมือกับรัฐ
          การบริการสาธารณะ
          คือ การปฏิบัติบใช้และให้ความสะดวกแก่ประชาชนทั่วไป การให้บริการสาธารณะตรงกับภาษาอังกฤษ Public Service Deliverly และได้มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่มนุษย์มารวมกันอยู่เป็ฯประเทศ แต่ละประเทศก็มีลักษณะของบริการสาธารณะที่แตกต่างกันตามคามเหมาะสม ซึงบริการสาธารณะที่จัทดทำขึ้นส่วนใหย่จะมาจากฝ่ายปกครองและอาจจะถือได้ว่าเป็นหน้าที่ที่สำคัญย่ิง ในการบริหารงานของภาครัฐโดยเฉพาะในลักษณะงานทีต้องมีการติดต่อสัมพันธ์กับประชาชนโดยตรง โดยหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ผุ้ให้บริการมีหน้าที่ในการส่งต่อการบริการให้แก่ผุ้รับบริการให้แนวคิดเกี่ยวกับการให้บริการที่ของนำมากล่าวพอดังนี้
         - การที่บุคคล กลุ่มบุคคลหรือหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการให้ บริกาสาธารณะ ซึ่งอสจจะเป็นของรัฐหรือเอกชน มีหน้าที่การา่งต่อการให้บริการ สาธารณะแก่ประชาชน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยส่วนร่วมการให้บริการสาธารณะที่เป้ฯระบบ "ระบบ" มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ สถานที่และบุคคลที่ให้บริกา, ปัจจัยนำเข้าหรือทรัพยากร, กระบวนการและกิจกรรม, ผลผลิตหรือตัวบริการ, ข่องทางการให้บริกาและผลกระทบที่มีต่อผุ้รับบริการ
         - แนวคิดของการให้บริการสาธารณะ อาจกล่าวได้ว่า เป็นกิจกรรมที่อยุ่ในความทำนวยการหรือในความควบคุมของฝ่ายปกครอง, มีวัตถุประสงค์ในการสนองความต้องการส่วนรวมของประชชน, การจัดระเบียบและวิธีดำเนินบริการสาธารณะยอมจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ เสมอเืพ่อให้เหมาะสมแก่ความจำเป้นแห่งกาลสมัย, บริการสาธารณะจะต้องจัดดำเนินการอยู่เป็นนิจและโดยสม่ำเสมอไม่มีการหุดชะงัก ถ้าบริการสาธารณะจะต้องหยุดชะงักลงด้วยประการใดๆ ประชาชนย่อมได้รับ ความเดือดร้อนหรือได้รับวามเสียหาย, เอกขนย่อมมีสทิธิที่จะได้รบประโยชน์จากบริการสาธารณะเท่าเที่ยมกัน
        - บริการสาธารณะเป็นกิจการของฝ่ายปกครองที่จัดทำขึ้นเพื่อประดยชน์สาธารณะ สามารถแยกออกไดเป็นองประเทภคือ "ตำรวจทางปกครอง"และ "การบริการสาธารณะ" โดยกิจการของฝ่ายปกครองทั้งสองประเภทมีวัตถุประสงค์ของกิจกรรมที่ต่างกันกล่าวคือ
                ตำรวจปกครอง เป็นกิจกรรมที่ฝ่ายปกครองจัดให้มีเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยขึ้นในสังคม การป้องกันดังกล่าวสามารถทำได้ในรูปแบบของการออกกฎหรือคำสั่งมาใช้บังคับล่วงหน้าโดยเป็นกิจกรรมที่ตำรวจใช้อำนาจฝายเดียวในการควบคุมและรักษาความสงบเรียบร้อย
                การบริการสาธารณะเป็ฯกิจกรรมซึ่งรัฐมีหน้าทีต้องจัดทำขึ้นเพื่อสนองความต้องการของประชาชนโดยส่วนรวม เป็นการให้บริการแก่ประชาชนหรือการดำเนินการอื่นเพื่อสนองความต้องการของประชาชน
                บริการสาธารณะมีลักษณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชกรรมเป็นบริการสาธารณะอีประเภทหนึ่งที่ฝ่ายปกครองเป็นผู้ดำเนินการแต่มีลักษณะคล้ายกับการดำเนินการให้บริการของเอกชน คือ เน้นทางด้านการผลิต การจำหน่าย การให้บริการ และมีการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้รับโดยมีวิะีปฏิบัติงานที่สร้างขึ้นมาเองเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินการ อีทั้งแหล่งรายได้ส่วนใหญ่จะมาจากค่าตอบแทนที่เรียกเก็บจากผุ้ใช้บริการ
               การบริหารภาครัฐยุคใหม่ การปฏิรูประบบราชการเกิดขึ้นเพื่อลดชนาดราชการ มุ่งเพิ่มประสิทธิภาพ การวัดคุณค่า การกระจายอำนาจ การสละอำนาจและการให้บริการด้วยระบบตลาด และเทคนิคการบริหารการสมัยใหม่ การปฏิรูประบบราชการลักษระนี้นิยมเรียกว่า "การจัดการภาครัฐแนวใหม่" หรือ เรียกว่า "การจัดการนิยม" หรือ "การบริหารภาครัฐที่อาศัยระบบตลาด" หรือ "รัฐบาลแบบผุ้ประกอบการ"
              "การจัดการภาครัฐแนวใหม่" ถื่อได้ว่าเป็นกรอบแนวคิดที่ครอบคลุมทฤษฎีแนวคิด และเทคนิควิทยาการทางการจักการอย่างกว้างขวาาง และหลากหลาย จนนำไปสู่ความสับสนในการจำกัดความหมายและขอบข่ายเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดี การจัดการภาครัฐแนวใหม่มีลักษณะร่วมที่สำคัญ คือ การสะท้อนถึงการมุ่งเน้น ไการปฏิรูปฎ การบริหารงานในภาครัฐ เพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหาทางการบริหารที่ตัวแบบตั้งเดิมหรือระบบแบบเดิมมิอาจจัดการได้ยอ่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังเช่นในอดคต ดดยมีจุดเน้นที่สำคัญคือ การเน้นความสำคัญไปที่ระบบกาารจัดการมากว่านนดยบาย การมุ่งเน้นผลงานและประสิทธิภาพ การมุ่งปรับโครงสร้างในแบบระบบราชการที่มีความเทอะทะและใหญ่โตไปสู่องค์การที่มีขนาดเล็ก การปรับระบบการบริหารจัดการที่วางอยุ่บนกลไกทางการตลาดมากขึ้น เพื่อกระตุ้นการแข่งขัน การตดทอนและลดค่าใช้จ่ายของภาตรัฐ และสุดท้าย ได้แก่ การปรับรูปแบบการจัดการที่เน้นเป้าหมาย การใช้ระบบสัญาว่าจั้าระยะสั้น และการให้แรงจูงใจทางการเงินและความเป็นอิสระทางการจัดการ
             องค์ประกอบหลักของการจัดการภาครัฐแนวใหม่
             - การให้บริการที่มีคุณภาพแก่ประชาชน
             - การลดการควบคุมจากส่วนกลางและเพ่อมอิสระนในกาบริหารให้แก่หน่วยงาน
             - การกำหนด วัด และให้รางวัลแก่ผลการดำเนินงานทั้งในระดับองค์กรแลละในระดับบุคคล
             - การสร้างระบบสนับสนุนทั้งในด้านบุคลากร (เชน การฝึกอบรม ระบบค่าตอบแทนและระบบคุณธรรม) และเทคโนโลยี (เช่น ระบบข้อมูลสารสนเทศ) เพือช่วยให้หน่วยงานสามารถทำงานได้บรรลุวัตถุประสงค์
             - การเปิดกว้างต่อแนวคิดการแข่งขัน ทั้งการแข่งขันระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเองและระหว่างหน่วยงานของรัฐกับหน่วยงานของภาคเอกชน
           
 ในขณะเดียวกันภาครัฐก็หันมาทบทวนตัวเองว่าสิ่งใดควรทำ และสิ่งใดควรปล่อยให้เอกชนทำ ถึงแม้ว่าการจัดการภาครัฐแนวใหม่จะถือได้ว่าเป็นกระแสหลักของการปฏิรูประบบราชการทั่วดลกในปัจจุบัน แต่ในการนำแนวคิดมาปรับใช้ ควรพิจารณาถึงการนำไปปฏิบัติย่างละเียดเพื่อให้มีความเหมาะสมกับความต้องการ ค่านิยมและวัฒนธรรมของแต่ละประเทศลักษณะเด่นของการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ จึงอยู่ที่ความพยายามแก้ปัญหาของระบบราชการแบบดั้งเดิมโดยเฉพาะอย่างยิงการปรบปรุงในด้านประสิทธิภาพและการให้บริการประชาชน อย่างไรก็ดี การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่แยกไม่ออกจากบริบทของวิกฤตการคลังที่ร้ายแรง เพราะวิกฤตการคลังเป้นต้นเหตุสำคัญที่ทำใหเ้เกิดการปฏิรูประบบราชการตามแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ อีกทั้งการปกิรูประบบราชการยังเป้ฯหัวใจของการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่เนื่องจากเหตุผล 4 ประการคือ
             1) ระบบราชการเป็นกลไกหลักที่จะทำให้รรัฐเล็ลง ซึ่งจะช่วยให้การขาดดุลการคลังลดลง
             2) การทำให้ระบบราชการมีความยือหยุ่นมากขึ้น เป็นวิธีการสำคัญที่จะทำให้ผุ้บริหารสามารถบริหารงานได้สำเร็จ
             3) การวัดผลงานเป็นหลักในการคิดและวิเคราะห์ของการจัดการภาครัฐแนวใหม่ดังนั้นการทำงานของระบบราชการใหม่ จะเปลียนไปยู่าภยใต้สัญญาการทำงานตามผลงาน ซึ่งจะต้องสามารถวัดผลงานที่ให้แก่ประชาชได้ ส่วนความรับผิดชอบก็ต้องระบุเอาไว้อย่างชัดเจนและเป็นที่เข้าใจตรงกันทั้งฝ่ายผุ้บริหารและพนักงาน จะต้องไม่กำหนดไว้กว้าง ๆ เมื่อนเมื่อก่อน
            4) ประเด็นทางการเมือง ที่เกิดจากการนำการจัดการภาครัฐแนวใหม่ไปปฏิบัติ กลับปรากฎว่า ปัญหาไม่ได้อยู่ที่การต่อต้านของฝ่ายการเมือง แต่ปัญหาอยู่ที่การต่อต้านของระบบราชการเอง โดยเฉพาะการต่อต้านการลดขนาดองค์การ และการต่อต้านาิ่งที่จะมาทำลายความมั่นคงในการทำงานของข้าราชการดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า การจัดการภาครัฐแนวใหม่เป้นแนวคิดหลักในการปฏิรูประบบราชการโดยการนำเอาหลักการจัดการสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ เพื่อการพัฒนาระบบราชการให้เป็นระบบราชการยุคใหม่ มาประยุกต์ใช้ เพื่อการพัฒนาระบบารชการให้เป้ฯระบบราชการยุคใหม่ ซึ่งสามารถทำงานตอบสนองการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งระบบราชการตามแนวคิดการจัดการภาคแนวใหม่ในปัจจุบันมีลักษณะดังนี้
             - เป็นระบบราชการที่มีความหลากหลาย แต่ยึดถือค่านิยมหลักเดี่ยวกัน ซึ่งแตกต่างจากระบบราชการในอดีตที่พยายามทำทุกอยางในระบบราชการให้เป็นโหลเดี่ยวกันทังหมด
             - นิยามความหมายของระบบคุณธรรมใหม่ หมายถึง ระบบคุณธรรมที่เน้นให้ข้าราชการทำงานมีประสิทธิผลสูงขึ้นและยอมรับความแตกต่าง ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาจากการมีขีดความสามารถที่ไม่เท่าเที่ยมกัน ซึ่งแตกต่างจการะบบคุณธรรมของระบบราชการในอดีตที่เน้นการปกป้องสิทธิประดยชน์ตอบแทนให้กับข้าราชการที่ปกิบัติหน้าที่แตกต่างกันและมีขีดควรามสามารถแตกต่างกันได้
             - มุ่งเน้นสัมฤทธิผลของการปฏิบัติงาน ดดยมตัวชี้วัดผลการปกิบัติงานอย่างชัดเจนซึ่งแตกต่างจากระบบราชการในอดีตที่เน้นการทำงานตามกฎระเบียบตามกระบวนการและขั้นตอนการทำงานที่กำหนดไว้
            - การจ้าง การถนอมรักษา ตลอดจนการส่งเสริมความก้าวหน้าของข้าราชการ เน้นที่การแสวงหาผุ้ที่มีขีดความสามารถสูงและส่งเสริมให้มีความก้าวหน้า โดยเปิดโอกาสให้ได้ทำงานที่มีความท้าทายซึ่
ตรงกันข้ามกับระบบราชการแบบเดิม ซึ่งเน้นให้ข้าราชการมีความรุ้ความสามรถทางเทคนิคที่ตรงกับตำแหน่งงานเป็นสำคัญ
            - มีมุมมอต่อข้าราชการที่มีขีดความสามารถว่า เป็นสินทรัพย์หรือเป็นทุนมนุษย์ที่มีคาขององค์การ ยิ่งลงทุนให้ได้รับการพัฒนา ยิ่งสามารถทำงานสร้างประโยชน์ให้กับระบบราชการได้มากยิ่งขึ้นซึ่งแตกต่างจากระบบราชการในอดีตที่มองข้าราชการในฐานะที่เป้นส่วนหนึ่งของปัจจัยการผลิต รายจ่ายต่างๆ เกี่ยวกับข้าราชการจึงถือว่าเป้นค่าใช้จ่ายที่สิ้นเปลื่องของระบบราชการ
           - การจ้างงานมีหลากหลายรูปแบบมีทั้ง กลุ่มที่เป็นข้าราชการประจำภายใต้ระบบการจ้างงานจนถึงการเกษียณอายุ, กลุ่มพนักงานราชการหรือพนักงานของรัฐ ภายใต้รูปแบบจ้างงานตาสัญาจ้างี่มีกำหนดระยะเวลาจ้าง , กลุ่มพนักงานราชการหรือพนักงานของรัฐ ภายใต้รูปแบบการจ้างงานตามสัญญาจ้าง, กลุ่มที่จ้างเหมาแรงงานมาจากเอกชน เป้นต้นซึ่งแตกต่างจากระบบราชกรแบบเดิม ที่มีรูปแบบการจ้างงานแบบเดียว คือ ข้าราชการประจำ ซึ่งจ้างจนเกษียณอายุราชการ แม้ว่าจะมีัลักษณะการจ้างงานที่หลากหลาย แต่ทุกกลุ่มต้องยึดถือค่านิยมหลักของระบบราชการเป็นแบบเดียวกัน
          - ลักษระการจ้างงานไม่เน้นที่ความมั่นคงในการจ้างงาน แต่เน้นที่ผลการปฏิบัติงานถ้าปลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจ ก็สามารถยกเลิกการจ้างได้ทั้งี้เพราะระบบราะชการเองก็มีข้อจำกัดในการหารายได้ไม่แตกต่างจากภาคเอกชน จึงต้องคำนึงถึงความสามารถในการจ้างงานของภาครัฐเองด้วย ซึ่งแตกต่างจากระบบราชการในอดีตที่เน้นความมั่นคงของการจ้างงานเป้นหลักที่สำคัญ การจ้างงานของภาครัฐแบบเดมจึงีลักษระเหมือนกับการให้สังคมสงเคราะห์แก่ข้าราชการ
          - การประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการมีส่วนต่อความสำเร็จของเป้าหมายขอองค์การ ซึ่งแตกต่างจากการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการในแบบเดิมที่ประเมินตามกิจกรรมการทำงานของข้าราชการแต่ละคน
           - ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการกับฝ่ายบริหารอยุ่บนพื้นฐานความร่วมมือระหว่างกันในการผลักดันให้องค์การบรรลุเป้าหมาย ในขณะเดียวกันองค์การก็ใส่ใจความพึงพอใจการทำงานของข้าราชการ รวมทั้งการเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในกรระบวนการทำงาน ซึ่งแตกต่างจากความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการกับฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบราชการแบบเดิม ที่มีลัษณะเป็นการทำงานของข้าราชการ รวมท้้งการเปิดโอกาสใ้หมีาส่วนร่วมในกระบวนกรทำงาน ซึ่งแตกต่างจากความสัมพันธ์ระหวา่างข้าราชการกับฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบราชการแบบเดิม ที่มีลักษณะเป็นการทำงานตามสายการบังคับบัญชา การทำงานตามกฎระเบียบและระบบงาน ซึ่งมักก่อให้เกิดความขัดแย้งในประเด็นต่างๆ ระหว่างกัน เชน ข้าราชการมีเป้าหมายที่ไม่สอดคล้องกับองค์ากร ทำให้เกิดข้อพิพาทที่ต้องแสวงหาแนวทางการแก้ปข
          - องค์การกลางบริหารงานบุคคลกระจายอำนาจให้หัวหน้าส่วนราชการต่างๆ มีอำนาจและหน้าี่บริหารงานบุคคลได้อย่่างเต็มที่ ซึ่งแตกต่างจากระบบราชการแบบเดิมที่องค์กรกลางบริหารงานและสวงนอำนาจและหน้าที่งาานด้านการบริหารบุคคลเพื่อดำเนินกาอเองเป็นสวนใหญ่
           ถ้ามองการพัฒนาการการจัดการภาครัฐแนวใหม่จะเห็นว่า พัฒนามาจากการจัดการภาครัฐในยุคพาราไดม์ที่ 6 โดยเฉพาะการจัดการภาครัฐในแนวทางการจัดการเพื่อการปลดปล่อยและแนวทางการจัดการที่มุ่งเน้นตลาด และการจัดการภาครัฐทั้ง 2 แนวทางนี้ก็มีรากฐานมาจากทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ และเศรษฐศาสตร์เชิงสถาบันใหม่ หรือเศรษฐศาสตร์องค์การมีลักษณะเด่นคือ ความพยายามแก้ปัญหาของระบบราชการแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะอย่างยิงการปรับปรุงในด้านประสิทธิภาพและการให้บริการประชาชน ซึ่งหัวใจสำคัญของการจัดการภาครัฐแนวใหม่ก็คือ การปกิรูประบบราชการนั้นเอง


               - digi.library.tu.ac.th/..,ความหมายของระบบราชการ

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...