ฺBureaucracy

           แมกซ์ เวเบอร์ นักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน เสนอรูปแบบขององค์การในอุดมคติซึ่งเขาเห็นว่าเป็น
แนวทางที่ทรงประสทิธิภาพสูงสุดที่ทำให้องค์การบรรลุเป้าหมาย โดยเรียกโครงสร้างแบบนี้ว่า "ระบบราชการ"
           ระบบราชการ เป้ฯรูปแบบองค์กรที่มช้เหตุผล และประสิทธิภาพโดยมีอำนาจหน้าที่ตามระเบียบ และตามกฎหมาย มีลักษณะสำคัญดังนี้
           - มีสายบังคับบัญชาเป็นลำดับหน้าที่ โครงสร้างการบริหาระบบจะเป็นรูปปิรามิด ผุ้ที่อย่ระดับชั้นการบังคับบัญชาที่สูงกว่าจะคอยควบคุมและสั่งการผุ้อยุ่ในระดับต่ำกว่า
           - การแบ่งงานกันทำ แบ่งงานออกเป็นกลุ่มตามลักษระการทำงานพิเศษเฉพาะอย่าง ดดยบุคคลจะอยู่ในตำแหน่งหน้าที่ตามความถนัดและความสามารถของตน
          - ความไม่เป้นส่วนตัว สัมพันธภาพระหว่างบุคคลภายในระบบราชการจะต้องเป็นไปในลักษณะเป็นทางการ โดยไม่ยึดถือเรื่องส่วนตัวแต่จะยึดถือเหตุผลเป็นสำคัญ
          - มีักฎระเบียบแลฃะวิธีปฏิบัตอย่างเป้ฯทางการ คือ ระเบียบและวิธีปฏิบัติต่างๆ นั้นจะต้องถูกน้ำมาช้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน
          - ความก้าวหน้าในงานอาชีพตามหลักคุณภาพ การทำงานในอาชีพจะต้องอาศัยความรู้ความสามารถเป็นสำัญและสามรถเจริญเติบโตในตำแหน่งหน้าที่ตามความรู้ความสามารถ
           - การแบ่งแยกทั่งเรื่องส่วนตัวและทรัพย์สินของบุคคลออกจากองค์การ
           ความหมายของระบบราชการมีผุ้ให้ความหมายไว้หลากหลาย อย่างไรก็ตาม เมื่อศึกษาและจะหเ็นว่า ระบบราชการเป็ฯระบบที่มุ่งผลสำเร็จตามเป้าหมาย อขงองค์การดังนั้นโครงสร้งของระบบราชการ จึงประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ ที่สำคัญ คือ ลำดับชั้นการบังคับบัญชา, ความรับผิดชอบ, การแบ่งงานหน้าที่และการฝึกอบรมให้มีความขำนาญเฉพาะด้าน, การมีระเบียบวินัย, การรวมการควบคุมแนะนำไว้ที่จุดศูนย์กลาง, การมีระเบียบกฎเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัว ปัจจัยดังกล่าวนี้ ล้วนแต่จะช่วยทำหการปกิบัติงานของระบบราชการมีประสิทธิภาพสูงและมั่นคง แต่ในทางพฤติกรรมและบทบทแล้วพบ่า ระบบราชการเป็นระบบทีหใหญ่โตเทอะอะ ไม่มีประสิทธิภาพและเป็นตัวเหนียวรั้งการพัฒนาเศราฐฏิจและสังคมของประเทศ
           ระบบการบริหาราชการเป็นเครื่องมือที่จำเป็นของระบบราชการที่จะผลักดันก่อให้เกิดความร่วมมือประสานงาน ความรับผิดชอบ และความร่วมใจกันปฏิบัติกิจการต่างๆ ให้บรระลุตามเป้าหมายขององค์การนั้นที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
           การบริหารงานของรัฐหรือการบริหารงานขององคการราชการต่างๆ จะเจริญก้าวหน้าหรือปฏิบัติงานได้รับผลสำเร็จมีประสิทธิภาพสูงได้นั้น จะต้องพิจารณาปัจจัยสภาพแวดล้อมต่างๆ ประกอบดังต่อไปนี้
           - การกำหนดโครงสร้างขององค์การ ต้องเลือกแบบที่มีผลดีมากว่าผลเสีย
           - การกำหนดเป้าหมายขององค์การ ต้องพยายามให้สอดคล้องกับเป้าหมายของผู้ปฏิบัติมากที่สุด ดังนั้นการบริหารงานตามวัตุุประสค์หรือจุดมุ่งหมายจึงมีความสำคัญและจำเป็ฯอย่างยิ่งในการบริหารองค์การ
          - การกำหนดแบ่งส่วนนราชการ ต้องเหมาะสมและทันต่อเหตุการณ์เมื่ององค์การดำเนินการต่อไประยะหนึ่ง อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงพัฒนาองค์กร เนื่องจากไม่เหมาะสมกับสภาพการทำงานภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก เป็นต้น
          - การมอบอำนาจหน้าที่ใ้แก่ผุ้ใต้บังคับบัญชาจะช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ของผุ้บริหารระดับสูง เสริมสร้างพัฒนาผุ้นำในองค์การ และทำให้การบริหารมีความสะดวกคล่องตัวยิ่งขึ้น
          - สิ่งจูงใจในการทำงาน มีคามจำเป็ฯและมีอิทธิพลอย่างยิงต่อประสิทธิผลของการปฏิลัติงาน
          - การฝึกอบรมและการเพิ่มประสิทธิภาพมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาบุคคลผู้ปฏิบัติงานให้มีความรู้ความสามารถและเชี่ยวชาญในหน้าที่รับผิดชอบของตน
          - ระเบียบปฏิบัติราชการ เป็นปัจจัยช่วยทำให้การปฏิบัติงานของระบบราชการมีประสิทธิภาพสุงและมีความมั่นคงตลอดไป แต่ในทางพฤติกรรมและบทบามแล้ว มักพบเสมอว่าสิ่งนี้เป้ฯตัเหน่ยวรั้งการพัฒนาการบริหารองค์การทำให้ไม่เจริญก้าวหน้าและไม่ได้ผลทันต่อเหจุการณ์เท่าที่ควร จึงจำเป็ฯต้องปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับนโยบายและป้าหมายขององค์การ
          การให้บริการของรัฐ มีความหมายดังนี้
          - บริการประชาชนคล้ายกับสินค้าสาธารณะว่า หมายถึง กิจกรรมทุกประเภที่รัฐจัดทำขึ้น เพื่อสนองความต้องการส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งอาจแบ่งได้ 2 ประเภท คือ กิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการในด้านความสะดวกใน การดำเนินชีวิต
         - การที่องค์การของรัฐได้กระจายสินค้าสาธารณะออกไปให้กับประชานในสังคม เพื่อความเป็ฯอยู่ที่ดีขึ้นและเอื้ออำนวยประโยชน์สุขแก่ประชาชนให้มากที่สุดโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐและยังต้องการศึกษา
           หลักการให้บริการประชาชนของรัฐ ต้องคำนึงถึงหลัก 3 ประการคือ
           1. เพื่อประโยชน์สาธารณะ การบริการประชาชน เป้ฯปฏิสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ขององค์กรของรัฐกับประชาชน ดดยมีเป้าหมายที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์แก่ประชาชน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกบประชาชซึ่งองค์การของรัฐมีบทบาทหน้าที่สำคัญ 2 ประการคือ เป็นกลไกปกครองอุแลประชาชนให้ปฏิบัติตามครรลองของกฎหมาย และเป็นกลไกจัดสรรทรัพยากรและการบริการพื้นฐานทางสังคม การให้บริการขององค์การของรัีฐ จึงประกอบด้วยองค์การ 2 ประเภท คือ องค์การที่ให้บริการเพื่อประดยชน์ส่วนรวม และองค์การที่ให้บริการเพื่อประโชน์ส่วนยุคคล โดยองค์การที่ดำเนินการเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ทำหน้าที่ในกาควบคุมให้ประชาชนอยุ่ภายใต้กฎหมายและเกิดความเป็นระเบียบขึ้นในสังคม ส่วนองค์การให้บริการเพือประโยชน์ส่วนบุคคลเป็ฯองค์การที่ส่งเสริมความเป็นอยุ่ อาชีพและอนามัยให้ดีขึ้น
         2. หลักการบริการประชาชน การบริการประชาชนซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐ จะต้องทำหน้าที่ให้บริการต่างๆ ให้แก่ประชาชน เช่นการรักษาความสงบเรียบร้อยและากรแห้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคม แารป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม การักษาสิทธิมนุษยชนโดยกฎมหาย แารป้องกันประเทศการให้สิ่งวตอบแทนแก่สมาชิกในสังคมผุ้ทำคุณประดยชน์ต่อชาติบ้านเมือง การออกฎหมายสวัสดิการแก่ผุ้ใช้แรงงาน การระดมทรัพยากร ได้แก่ เงินภาษีอากรจากสังคม การสาธาณสุข กาบริการแก่ผุ้ยากจนให้เปล่าโดยบัตรสุขภาพ การให้การศึกษา แก่เยาชนให้เปล่า การวางแผนใช้พลังงานและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาและวางแผนชุมชนเมือง การจัดทำบริการสาธารณะ
         3. หลักการบริหารในด้านการบริการประชาชน รัฐมีเป้าหมายการบริการเพื่อความพังพอใจของประชาชน รัฐมีหน้าที่เป้ฯองค์การของรัฐ ถ้าเจ้าหน้าที่ขององค์การของรัฐบริการประชาชนดีแล้ว ประชาชนที่ได้รับบริการจากองค์การของรัฐควรมีความสบายใจ ซึ่งผลที่ได้จากการบริการของรัฐด้งกล่าว ประชาชนจะพอใจและให้ความร่วมมือกับรัฐ
          การบริการสาธารณะ
          คือ การปฏิบัติบใช้และให้ความสะดวกแก่ประชาชนทั่วไป การให้บริการสาธารณะตรงกับภาษาอังกฤษ Public Service Deliverly และได้มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่มนุษย์มารวมกันอยู่เป็ฯประเทศ แต่ละประเทศก็มีลักษณะของบริการสาธารณะที่แตกต่างกันตามคามเหมาะสม ซึงบริการสาธารณะที่จัทดทำขึ้นส่วนใหย่จะมาจากฝ่ายปกครองและอาจจะถือได้ว่าเป็นหน้าที่ที่สำคัญย่ิง ในการบริหารงานของภาครัฐโดยเฉพาะในลักษณะงานทีต้องมีการติดต่อสัมพันธ์กับประชาชนโดยตรง โดยหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ผุ้ให้บริการมีหน้าที่ในการส่งต่อการบริการให้แก่ผุ้รับบริการให้แนวคิดเกี่ยวกับการให้บริการที่ของนำมากล่าวพอดังนี้
         - การที่บุคคล กลุ่มบุคคลหรือหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการให้ บริกาสาธารณะ ซึ่งอสจจะเป็นของรัฐหรือเอกชน มีหน้าที่การา่งต่อการให้บริการ สาธารณะแก่ประชาชน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยส่วนร่วมการให้บริการสาธารณะที่เป้ฯระบบ "ระบบ" มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ สถานที่และบุคคลที่ให้บริกา, ปัจจัยนำเข้าหรือทรัพยากร, กระบวนการและกิจกรรม, ผลผลิตหรือตัวบริการ, ข่องทางการให้บริกาและผลกระทบที่มีต่อผุ้รับบริการ
         - แนวคิดของการให้บริการสาธารณะ อาจกล่าวได้ว่า เป็นกิจกรรมที่อยุ่ในความทำนวยการหรือในความควบคุมของฝ่ายปกครอง, มีวัตถุประสงค์ในการสนองความต้องการส่วนรวมของประชชน, การจัดระเบียบและวิธีดำเนินบริการสาธารณะยอมจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ เสมอเืพ่อให้เหมาะสมแก่ความจำเป้นแห่งกาลสมัย, บริการสาธารณะจะต้องจัดดำเนินการอยู่เป็นนิจและโดยสม่ำเสมอไม่มีการหุดชะงัก ถ้าบริการสาธารณะจะต้องหยุดชะงักลงด้วยประการใดๆ ประชาชนย่อมได้รับ ความเดือดร้อนหรือได้รับวามเสียหาย, เอกขนย่อมมีสทิธิที่จะได้รบประโยชน์จากบริการสาธารณะเท่าเที่ยมกัน
        - บริการสาธารณะเป็นกิจการของฝ่ายปกครองที่จัดทำขึ้นเพื่อประดยชน์สาธารณะ สามารถแยกออกไดเป็นองประเทภคือ "ตำรวจทางปกครอง"และ "การบริการสาธารณะ" โดยกิจการของฝ่ายปกครองทั้งสองประเภทมีวัตถุประสงค์ของกิจกรรมที่ต่างกันกล่าวคือ
                ตำรวจปกครอง เป็นกิจกรรมที่ฝ่ายปกครองจัดให้มีเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยขึ้นในสังคม การป้องกันดังกล่าวสามารถทำได้ในรูปแบบของการออกกฎหรือคำสั่งมาใช้บังคับล่วงหน้าโดยเป็นกิจกรรมที่ตำรวจใช้อำนาจฝายเดียวในการควบคุมและรักษาความสงบเรียบร้อย
                การบริการสาธารณะเป็ฯกิจกรรมซึ่งรัฐมีหน้าทีต้องจัดทำขึ้นเพื่อสนองความต้องการของประชาชนโดยส่วนรวม เป็นการให้บริการแก่ประชาชนหรือการดำเนินการอื่นเพื่อสนองความต้องการของประชาชน
                บริการสาธารณะมีลักษณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชกรรมเป็นบริการสาธารณะอีประเภทหนึ่งที่ฝ่ายปกครองเป็นผู้ดำเนินการแต่มีลักษณะคล้ายกับการดำเนินการให้บริการของเอกชน คือ เน้นทางด้านการผลิต การจำหน่าย การให้บริการ และมีการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้รับโดยมีวิะีปฏิบัติงานที่สร้างขึ้นมาเองเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินการ อีทั้งแหล่งรายได้ส่วนใหญ่จะมาจากค่าตอบแทนที่เรียกเก็บจากผุ้ใช้บริการ
               การบริหารภาครัฐยุคใหม่ การปฏิรูประบบราชการเกิดขึ้นเพื่อลดชนาดราชการ มุ่งเพิ่มประสิทธิภาพ การวัดคุณค่า การกระจายอำนาจ การสละอำนาจและการให้บริการด้วยระบบตลาด และเทคนิคการบริหารการสมัยใหม่ การปฏิรูประบบราชการลักษระนี้นิยมเรียกว่า "การจัดการภาครัฐแนวใหม่" หรือ เรียกว่า "การจัดการนิยม" หรือ "การบริหารภาครัฐที่อาศัยระบบตลาด" หรือ "รัฐบาลแบบผุ้ประกอบการ"
              "การจัดการภาครัฐแนวใหม่" ถื่อได้ว่าเป็นกรอบแนวคิดที่ครอบคลุมทฤษฎีแนวคิด และเทคนิควิทยาการทางการจักการอย่างกว้างขวาาง และหลากหลาย จนนำไปสู่ความสับสนในการจำกัดความหมายและขอบข่ายเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดี การจัดการภาครัฐแนวใหม่มีลักษณะร่วมที่สำคัญ คือ การสะท้อนถึงการมุ่งเน้น ไการปฏิรูปฎ การบริหารงานในภาครัฐ เพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหาทางการบริหารที่ตัวแบบตั้งเดิมหรือระบบแบบเดิมมิอาจจัดการได้ยอ่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังเช่นในอดคต ดดยมีจุดเน้นที่สำคัญคือ การเน้นความสำคัญไปที่ระบบกาารจัดการมากว่านนดยบาย การมุ่งเน้นผลงานและประสิทธิภาพ การมุ่งปรับโครงสร้างในแบบระบบราชการที่มีความเทอะทะและใหญ่โตไปสู่องค์การที่มีขนาดเล็ก การปรับระบบการบริหารจัดการที่วางอยุ่บนกลไกทางการตลาดมากขึ้น เพื่อกระตุ้นการแข่งขัน การตดทอนและลดค่าใช้จ่ายของภาตรัฐ และสุดท้าย ได้แก่ การปรับรูปแบบการจัดการที่เน้นเป้าหมาย การใช้ระบบสัญาว่าจั้าระยะสั้น และการให้แรงจูงใจทางการเงินและความเป็นอิสระทางการจัดการ
             องค์ประกอบหลักของการจัดการภาครัฐแนวใหม่
             - การให้บริการที่มีคุณภาพแก่ประชาชน
             - การลดการควบคุมจากส่วนกลางและเพ่อมอิสระนในกาบริหารให้แก่หน่วยงาน
             - การกำหนด วัด และให้รางวัลแก่ผลการดำเนินงานทั้งในระดับองค์กรแลละในระดับบุคคล
             - การสร้างระบบสนับสนุนทั้งในด้านบุคลากร (เชน การฝึกอบรม ระบบค่าตอบแทนและระบบคุณธรรม) และเทคโนโลยี (เช่น ระบบข้อมูลสารสนเทศ) เพือช่วยให้หน่วยงานสามารถทำงานได้บรรลุวัตถุประสงค์
             - การเปิดกว้างต่อแนวคิดการแข่งขัน ทั้งการแข่งขันระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเองและระหว่างหน่วยงานของรัฐกับหน่วยงานของภาคเอกชน
           
 ในขณะเดียวกันภาครัฐก็หันมาทบทวนตัวเองว่าสิ่งใดควรทำ และสิ่งใดควรปล่อยให้เอกชนทำ ถึงแม้ว่าการจัดการภาครัฐแนวใหม่จะถือได้ว่าเป็นกระแสหลักของการปฏิรูประบบราชการทั่วดลกในปัจจุบัน แต่ในการนำแนวคิดมาปรับใช้ ควรพิจารณาถึงการนำไปปฏิบัติย่างละเียดเพื่อให้มีความเหมาะสมกับความต้องการ ค่านิยมและวัฒนธรรมของแต่ละประเทศลักษณะเด่นของการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ จึงอยู่ที่ความพยายามแก้ปัญหาของระบบราชการแบบดั้งเดิมโดยเฉพาะอย่างยิงการปรบปรุงในด้านประสิทธิภาพและการให้บริการประชาชน อย่างไรก็ดี การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่แยกไม่ออกจากบริบทของวิกฤตการคลังที่ร้ายแรง เพราะวิกฤตการคลังเป้นต้นเหตุสำคัญที่ทำใหเ้เกิดการปฏิรูประบบราชการตามแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ อีกทั้งการปกิรูประบบราชการยังเป้ฯหัวใจของการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่เนื่องจากเหตุผล 4 ประการคือ
             1) ระบบราชการเป็นกลไกหลักที่จะทำให้รรัฐเล็ลง ซึ่งจะช่วยให้การขาดดุลการคลังลดลง
             2) การทำให้ระบบราชการมีความยือหยุ่นมากขึ้น เป็นวิธีการสำคัญที่จะทำให้ผุ้บริหารสามารถบริหารงานได้สำเร็จ
             3) การวัดผลงานเป็นหลักในการคิดและวิเคราะห์ของการจัดการภาครัฐแนวใหม่ดังนั้นการทำงานของระบบราชการใหม่ จะเปลียนไปยู่าภยใต้สัญญาการทำงานตามผลงาน ซึ่งจะต้องสามารถวัดผลงานที่ให้แก่ประชาชได้ ส่วนความรับผิดชอบก็ต้องระบุเอาไว้อย่างชัดเจนและเป็นที่เข้าใจตรงกันทั้งฝ่ายผุ้บริหารและพนักงาน จะต้องไม่กำหนดไว้กว้าง ๆ เมื่อนเมื่อก่อน
            4) ประเด็นทางการเมือง ที่เกิดจากการนำการจัดการภาครัฐแนวใหม่ไปปฏิบัติ กลับปรากฎว่า ปัญหาไม่ได้อยู่ที่การต่อต้านของฝ่ายการเมือง แต่ปัญหาอยู่ที่การต่อต้านของระบบราชการเอง โดยเฉพาะการต่อต้านการลดขนาดองค์การ และการต่อต้านาิ่งที่จะมาทำลายความมั่นคงในการทำงานของข้าราชการดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า การจัดการภาครัฐแนวใหม่เป้นแนวคิดหลักในการปฏิรูประบบราชการโดยการนำเอาหลักการจัดการสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ เพื่อการพัฒนาระบบราชการให้เป็นระบบราชการยุคใหม่ มาประยุกต์ใช้ เพื่อการพัฒนาระบบารชการให้เป้ฯระบบราชการยุคใหม่ ซึ่งสามารถทำงานตอบสนองการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งระบบราชการตามแนวคิดการจัดการภาคแนวใหม่ในปัจจุบันมีลักษณะดังนี้
             - เป็นระบบราชการที่มีความหลากหลาย แต่ยึดถือค่านิยมหลักเดี่ยวกัน ซึ่งแตกต่างจากระบบราชการในอดีตที่พยายามทำทุกอยางในระบบราชการให้เป็นโหลเดี่ยวกันทังหมด
             - นิยามความหมายของระบบคุณธรรมใหม่ หมายถึง ระบบคุณธรรมที่เน้นให้ข้าราชการทำงานมีประสิทธิผลสูงขึ้นและยอมรับความแตกต่าง ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาจากการมีขีดความสามารถที่ไม่เท่าเที่ยมกัน ซึ่งแตกต่างจการะบบคุณธรรมของระบบราชการในอดีตที่เน้นการปกป้องสิทธิประดยชน์ตอบแทนให้กับข้าราชการที่ปกิบัติหน้าที่แตกต่างกันและมีขีดควรามสามารถแตกต่างกันได้
             - มุ่งเน้นสัมฤทธิผลของการปฏิบัติงาน ดดยมตัวชี้วัดผลการปกิบัติงานอย่างชัดเจนซึ่งแตกต่างจากระบบราชการในอดีตที่เน้นการทำงานตามกฎระเบียบตามกระบวนการและขั้นตอนการทำงานที่กำหนดไว้
            - การจ้าง การถนอมรักษา ตลอดจนการส่งเสริมความก้าวหน้าของข้าราชการ เน้นที่การแสวงหาผุ้ที่มีขีดความสามารถสูงและส่งเสริมให้มีความก้าวหน้า โดยเปิดโอกาสให้ได้ทำงานที่มีความท้าทายซึ่
ตรงกันข้ามกับระบบราชการแบบเดิม ซึ่งเน้นให้ข้าราชการมีความรุ้ความสามรถทางเทคนิคที่ตรงกับตำแหน่งงานเป็นสำคัญ
            - มีมุมมอต่อข้าราชการที่มีขีดความสามารถว่า เป็นสินทรัพย์หรือเป็นทุนมนุษย์ที่มีคาขององค์การ ยิ่งลงทุนให้ได้รับการพัฒนา ยิ่งสามารถทำงานสร้างประโยชน์ให้กับระบบราชการได้มากยิ่งขึ้นซึ่งแตกต่างจากระบบราชการในอดีตที่มองข้าราชการในฐานะที่เป้นส่วนหนึ่งของปัจจัยการผลิต รายจ่ายต่างๆ เกี่ยวกับข้าราชการจึงถือว่าเป้นค่าใช้จ่ายที่สิ้นเปลื่องของระบบราชการ
           - การจ้างงานมีหลากหลายรูปแบบมีทั้ง กลุ่มที่เป็นข้าราชการประจำภายใต้ระบบการจ้างงานจนถึงการเกษียณอายุ, กลุ่มพนักงานราชการหรือพนักงานของรัฐ ภายใต้รูปแบบจ้างงานตาสัญาจ้างี่มีกำหนดระยะเวลาจ้าง , กลุ่มพนักงานราชการหรือพนักงานของรัฐ ภายใต้รูปแบบการจ้างงานตามสัญญาจ้าง, กลุ่มที่จ้างเหมาแรงงานมาจากเอกชน เป้นต้นซึ่งแตกต่างจากระบบราชกรแบบเดิม ที่มีรูปแบบการจ้างงานแบบเดียว คือ ข้าราชการประจำ ซึ่งจ้างจนเกษียณอายุราชการ แม้ว่าจะมีัลักษณะการจ้างงานที่หลากหลาย แต่ทุกกลุ่มต้องยึดถือค่านิยมหลักของระบบราชการเป็นแบบเดียวกัน
          - ลักษระการจ้างงานไม่เน้นที่ความมั่นคงในการจ้างงาน แต่เน้นที่ผลการปฏิบัติงานถ้าปลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจ ก็สามารถยกเลิกการจ้างได้ทั้งี้เพราะระบบราะชการเองก็มีข้อจำกัดในการหารายได้ไม่แตกต่างจากภาคเอกชน จึงต้องคำนึงถึงความสามารถในการจ้างงานของภาครัฐเองด้วย ซึ่งแตกต่างจากระบบราชการในอดีตที่เน้นความมั่นคงของการจ้างงานเป้นหลักที่สำคัญ การจ้างงานของภาครัฐแบบเดมจึงีลักษระเหมือนกับการให้สังคมสงเคราะห์แก่ข้าราชการ
          - การประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการมีส่วนต่อความสำเร็จของเป้าหมายขอองค์การ ซึ่งแตกต่างจากการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการในแบบเดิมที่ประเมินตามกิจกรรมการทำงานของข้าราชการแต่ละคน
           - ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการกับฝ่ายบริหารอยุ่บนพื้นฐานความร่วมมือระหว่างกันในการผลักดันให้องค์การบรรลุเป้าหมาย ในขณะเดียวกันองค์การก็ใส่ใจความพึงพอใจการทำงานของข้าราชการ รวมทั้งการเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในกรระบวนการทำงาน ซึ่งแตกต่างจากความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการกับฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบราชการแบบเดิม ที่มีลัษณะเป็นการทำงานของข้าราชการ รวมท้้งการเปิดโอกาสใ้หมีาส่วนร่วมในกระบวนกรทำงาน ซึ่งแตกต่างจากความสัมพันธ์ระหวา่างข้าราชการกับฝ่ายบริหาร ภายใต้ระบบราชการแบบเดิม ที่มีลักษณะเป็นการทำงานตามสายการบังคับบัญชา การทำงานตามกฎระเบียบและระบบงาน ซึ่งมักก่อให้เกิดความขัดแย้งในประเด็นต่างๆ ระหว่างกัน เชน ข้าราชการมีเป้าหมายที่ไม่สอดคล้องกับองค์ากร ทำให้เกิดข้อพิพาทที่ต้องแสวงหาแนวทางการแก้ปข
          - องค์การกลางบริหารงานบุคคลกระจายอำนาจให้หัวหน้าส่วนราชการต่างๆ มีอำนาจและหน้าี่บริหารงานบุคคลได้อย่่างเต็มที่ ซึ่งแตกต่างจากระบบราชการแบบเดิมที่องค์กรกลางบริหารงานและสวงนอำนาจและหน้าที่งาานด้านการบริหารบุคคลเพื่อดำเนินกาอเองเป็นสวนใหญ่
           ถ้ามองการพัฒนาการการจัดการภาครัฐแนวใหม่จะเห็นว่า พัฒนามาจากการจัดการภาครัฐในยุคพาราไดม์ที่ 6 โดยเฉพาะการจัดการภาครัฐในแนวทางการจัดการเพื่อการปลดปล่อยและแนวทางการจัดการที่มุ่งเน้นตลาด และการจัดการภาครัฐทั้ง 2 แนวทางนี้ก็มีรากฐานมาจากทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ และเศรษฐศาสตร์เชิงสถาบันใหม่ หรือเศรษฐศาสตร์องค์การมีลักษณะเด่นคือ ความพยายามแก้ปัญหาของระบบราชการแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะอย่างยิงการปรับปรุงในด้านประสิทธิภาพและการให้บริการประชาชน ซึ่งหัวใจสำคัญของการจัดการภาครัฐแนวใหม่ก็คือ การปกิรูประบบราชการนั้นเอง


               - digi.library.tu.ac.th/..,ความหมายของระบบราชการ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)