ฺBureaucracy : Brunei

          บรูไนในอดีตเป็นเพียงรัฐเล็กๆ ที่มีอิสระในการปกครองตนเอง แต่เพื่อความอยุ่รอ บรูไนต้องยอมอยุ่ใต้การอารักขาของอังกฤษจนสาามารถสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและบรูไนก็ยังคงรักษษสถานภาพทางการเมืองไว้ได้เป็นอย่างดี  เพราะผุ้ปกครองหรือสุลต่านของบรูไนพยายามเหลีกเลี่ยง ไม่ยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งของรัฐต่างๆ
          ปัจจุบันประเทศบรุไนยังคงเป็นประเทศที่มีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งเป็นประเทศเดียวในประชาคมอาเซียนที่ปกครองด้วยระบบสุลต่่าน โดยองค์สุลต่าน จะมีอำนาจเด็ดขาดเพียงผุ้เดี่ยว มีฐานะเป็นสมเด็จพระราชาธิบดี  ปละเป็ฯประมุขสูงสุดของประเทศ  การปกครองของประเทศบูรไน เป็นการปกครองในรูปแบบรํฐเดี่ยวแต่เป็นรัฐเกี่ยวแบบรวมศูนย์อำนาจ ในด้านการบริหารราชการแผ่นดิน บรูไน ไม่มีการกระจายอำนาจทางกรเมืองไปยังหน่วยการปกครองในระดับล่าง การบริกหารราชการแผ่นดินจึงเป้นการสั่งการตามสายบังคับบัญชา หรือเป็นลำดับชั้นจากสุลต่านและสมเด็จพระราชาธิปบดีลงมาที่กระทรวง หรือหน่วยงานของรัฐ ต่อไปยังเขตการปกครอง และต่อไปยังตำบล และหมู่บ้าน ซึ่งเป้นหน่วยการปกครองระดับล่างสุด และเมื่อหมู่บ้านต้องการดำเนเนการใดก็จะเสนอเรื่องไปยังตำบล ซค่งจะส่งต่อไปยังเขตปกครอง
         โครงสร้างการปกครอง บุรไน ประกอบด้วย
             - เขตการปกครอง หรือ Daerah ในภาษามาเลย์ เป็นหน่วยงานาการปกครองระดับล่างจากกระทรวงแบ่งเป็น 4 เขตการปกครอง ประกอบด้วย เขตการปกครองบรูไน - มูอารา เบอไลต์ เต็มบุรง และตูตง
            - เทศบาล อยุ่ในระดับชั้นเดี่ยงกับเขชตการปกครอง เป็นหน่วยการปกครองท้งถิ่นที่เป็นเมืองหรือชุมชนเมือง การบริหารงานขึ้นต่อกระทรวงมหาดไทย
            - ตำบล เป็นหน่วยการปกคอรองระดับล่างต่อจากเขตเขตการปกครอง มีกำนันในภาษามาเลย์เรียกว่า Penghulu Mukim เป็นผู้นำ
           - หมู่บ้าน เป็นหน่วยการปกครองระดับล่างสุด ในภาษามาเลย์เรียกว่า  Kumpung หรือ Village ในภาษาอังกฤษ และผุ้ใหญ่บ้านในภาษามาเลย์ เรียกว่า Ketua Kampung
           บรูไนมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาของระบบราชการอันยาวนานอย่างน้อย 600 ปีมาแล้ว
ก่อนจะมีข้อตกลงเพิ่มเติมระหวางบรูไนและสหราชอาณาจักรในปี พงศ. 2449 ระบบราชการของบรูไนได้รับการกล่าวถึงตั้งแต่สมัยสุลต่านฮันซันที่ 9 ที่เรียกวว่า สุลต่านฮัสซันแคนนอน" หลังจากที่สถาบันกษัตริย์ขึ้นถึงจุดสูงสุดของอำนาจในศตวรรษที่สิบหกก็ตามด้วยจุดถอถอยลง และต่อมาในศตวรรษที่สิบเก้าอาณาเขตของบรูไนก็ลดน้อยลง เนื่องจากอิทธิพลของตระกูลเจ้าผุ้ครองซาราวัก การปฏิวัติบรูไน พ.ศ. 2505 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะที่รัฐสุลต่านบรูไนยังอยู่ภายใต้การอารักขาของอังกฤษ สมาชิกพรรคประชาชนบรูไนซึ่งเป็ฯพรรคฝ่ายต้านในบรูไน มี เอ เอ็ม อาซาฮารี เป็นหัวหน้าพรรค พรรคนี้ได้เสียงข้างมากในการเลือกตั้งเมื่อเดอนสิงหาคม พ.ศ. 2505 โดยมีนโยบายต่อต้านการรวมบรูไนเข้ากับมาเลิซีย อาซาฮารี ได้เรียกร้องให้มีการตั้งรัฐบอร์เนียวเหนือ โดยรวมบรูไน ซาราวัก และซาลาห์เข้าด้วยกัน แต่เมื่อสภานิติบัญญัติไม่จัดการประชุมตามที่พรรคเรียกร้อง กองทัพแห่งชาติบอร์เหนียวเหนือซึ่งเป็นกองทัพใต้ดินที่พรรคประชาชนบรูไนก่อตั้งจึงลุกฮือขึ้นก่อกบฎ สุลต่านได้ขอความช่วยเหลือไปยังอังกฤษ อังกฤษจึงส่งกองทหารจากสิงคโปร์มาปราบกบฎได้สำเร็จและทำให้สุลต่านเซอร์โอมาร์ อาลี ไซผุดดิน ตัดสินใจไม่เข้าร่วมกับสหพันธรัฐมาเลเซียในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2506
              การเข้ามาของอังกฤษมีส่วนช่วยรักษาสถาบันกษัตริย์ของยรูไน และเปิดโดอาสให้สถาบันกษัตริย์ปรับตัว จนกลายมาเป็นระบบการปกครองแบบรวมอำนาจ การนำเสนอการปกครองรูปแบบใหม่ที่ให้อำนาาจในการปกครองด้วยตัวเองแก่บรูไนมีส่วนในการฟื้นอำนาจทางการเมืองของสุลต่าน จึงทำให้ระบบราชการของบรูไนเริ่มมีขึ้นตั้งแต่เวลานี้ ประเทศบรูไนซึ่งใช้ระบบสมบุรณาญาสิทธิราชย์อย่างแท้จริง การปกครองของยรูไนจากอดีตมาสู่ปัจจุบันเป็ฯระบบการปกครองที่เน้นศาสนาอิสลามเป้นบรรทัดฐานสำคัญในการใช้พระราชอำนาจของพระราชาธิบดีหรือสุลต่าน ผ่านระบบราชการที่เป็นตัวสร้างความเชื่อมโยงระหว่างรัฐและประชาชนภายใต้ "แนวคิดรัฐอิสลาม" คือ รัฐที่ถุกปกครองตามบทบัญญัติของอิสลามเป็นบรรทัดฐานสำคัญในการใช้พระราชอำนาจของพระราชาธิบดีหรือสุลต่าน ผ่านระบบราชการที่เป็นตัวสร้างความเช่อมโยงระหว่างรัฐและประชาชนภายใต้ "ปนวคิดรัฐอิสลาม" คือ รัฐที่ถูกปกครองตามบทบัญญัติของอิามโดยสมบูรณ์ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการสร้างคามมั่นคงของรัฐและความรุ่งเรื่องของประเทศ และรูไนได้ลงนามข้อตกลงกับอังกฤษภายใต้ข้อตกลง ในปี พ.ศ. 2449 ทั้งนี้อังกฤษยังดำเนินการเกี่ยวกับข้าราชการพลเรือน ยกเว้น ในกิจการที่เกที่ยวข้องกับศาสนา นี้คือจุดเริ่มต้นของข้าราชการพลเรือนบรูไนสมัยใหม่ที่เป็นที่รู้จักกันในปัจจุบัน
          ประเทศบรูไนใช้ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในการบริหารราชการอย่างแม้จริง ประเทศบรูไนเป็นประเทศที่เล้กมาก และปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่บรูไนไม่ได้มีสภาวะความกดดันทางการเมือง ความอึออัดของสังคม หรือมีสภาพเศรษฐกิจแร้นแค้นเหมือนที่เห็นในบางประเทศ บรูไนเป็นรัฐขนาดเล็กแต่เป็นรัฐที่เข้มแข็งมั่นคง เพราะความโชคดีที่มีทรัพยากรธรรมชาติสำคัญ คือ น้ำมันและก็าซธรรมชาติที่ส่งออกได้จำนวนมาก และสร้างรายได้มหาศาลในบรูไนประกอบกับการตัดสินใจที่จะไม่รวมประเทศกับมาเลเซียในอดีต ทำให้ไม่ต้องแบ่งเรื่องผลประโยชน์ บวกกับมีจำนวนประชากรไม่มาก ทำให้สถานะประเทศง่ายต่อการบริหาร จึงนำรายได้มาพัฒนาดัชนีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จนติดอันดับที่ดีที่สุดในโลกร่วมกับประเทศในตะวันตก คือ อยุ่ในอันดับที่ 30 จากทั่วโลก คุณภาพชีวิตของประชาชนของบรูไนค่อข้างดี แม้ว่าจะไม่ได้มีการปกครองประเทศแบบประชาธิปไตย
          อย่างไรก็ตาม การบริหารประเทศบรูไนมีลักษณะรวมศูนย์อำนาจการสั่งการ และการตัดสินใจไว้ที่ส่วนกลาง ก่อนที่จะกระจายอำนาจ วบประมาณ การบริการ และทรัพยากรลงสุ่องค์การและหน่วยงานต่างๆ ในลักษณะรัฐสวัสดิการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งทำให้เห็นถึงระบบราชการที่เข้มแข็ง คือ มีการจัดสายบังคับบัญชาแบบบนลงบ่างโดยสมบุรณ์แบบ แต่แย่างไรก็ตามโจทก์สำคัญของรัฐบาลบรูไน คือ "ประชาชน" บนหลักคิดของศาสนาอิสลามที่ทุกคนเท่าเทียมกัน รักกันฉันท์พี่น้อง แม้กระทั่งสุลต่านเองเมื่อเข้าสุ่มัสยิดก็ต้องนั่งประกอบพิธีที่พื้นเช่นเดี่ยวกับประชาชน การปกครองของบรูไนจากอดีตมาสุ่ปัจจุบันเป็ฯระบบการปกครองที่เน้นศาสนาอิสลามเป็นบรรทัดฐานสำคัญในการใช้พระราชอำนาจของพระราชาธิบดีหรือสุลต่าน ผ่านระบบราชการที่เป้นตัวสร้างความเชื่อมโยงระหว่างรัฐและประชาชน ภายใต้แนวคิดรัฐอิสลาม คือ รัฐที่ถูกปกครองตามบทบัญญัติของอิสลามโดยสมบูรณ์ ซึ่เป็นแนวทางหนึ่งในการสร้าางความมั่นคงของรัฐและความรุ่งเรืองของประเทส
         ระบบการบริหารราชการแผ่นดินของบรูไนเป็นแบบสายบังคับบัญชาตามลำดับชั้นจากบนลงล่าง การดำเนินงานส่วนหนึ่งเป็นการสั่งการตามลำดับชั้นลงมา อีกส่วนหนึ่งเป็นการริเริ่มของท้องถิ่นเอง แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากลำดับชั้นที่สูงขึ้นไป ความสัมพันธ์ระหว่างราชการส่วนกลางและท้องถิ่น คือ การกำกับดุแลและการควบคุม
         รัฐบาลมีหน่วยงาน 3 หน่วยงาน อยุ่ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวช้องกับการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ ได้แก่
         - คณะกรรมการข้าราชกาพลเรือน ทำหน้าที่กำกับดุแลกาแต่างตั้งตำแหน่งข้าราชการ และวินัยขาราชการ เมื่อข้าราชการมีการกระทำผิดกฎระเบียบข้าราชการ หน่วยงานนี้จะเข้ามตรวจสอบ รวมมั้งตรวจสอบตามคำร้องเรียนจากประชาชนถึงความประพฟติของเจ้าหน้าที่รัฐ
         - สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ทำหนาทที่ในการรับคำร้องและตรวจสอบการใช้วบประมาณที่ไม่ถูกต้องตามระเบยบราชการ หรือมีการใช้วบปะมาณที่ไม่เหมาะสม และไม่มีประสิทธิภาพของหน่วยงานราชการต่างๆ
         - สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริต ทำหน้าที่ตรวจสอบพฤติกรรมอันมิชอบต่อการบริหารงานของหน่วยงานราชการ มีหน้าที่หาแนวทางป้องกันมิหใ้เกิการคอรัปชันตวมมทั้งส่งเสิรม กระตุ้น และสร้างจิตสำนึกในการต่อต้านการคอรัปชั่นในพื้นที่ต่างๆ
          ข้าราชการพลเรือนบรูไนทั้งประเทศมีประมาณ 48,761 คน ส่วนใหญ่มีการศึกษาสูง และสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดีรัฐบาลมีนโยบายที่จะให้ข้าราชการพลเรือนไดรับการพัฒนาไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมงต่อปี มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ซึ่งข้ารชการต้องทำหน้าที่ในการให้บริากรกับประชกรในประเทศ ตามหน่วยงานภาครัฐที่ถุกแบ่งออกเป็น 12 กระทรวง 113แผนก ในช่วงระยะหลังมีการบริหารงานในหน่วยงานภาครัฐหลากหลายแบบ และนำระบบการบริหารจัดการเข้ามาช่วยในการบริหารงานราชการ มีการนำหลักการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ กระบวนการคิด ทัศนคติ และวัฒนธรรมในการทำงานมาสร้างให้เกิดความโปร่งใส ความกรตือรือรน ความตื่นตัว ความรับผิดชอบ ให้เกิดประสิทธิผลแก่หน่วยงานราชการ สร้างจริยธรรมให้เกิดแก่ข้าราชการ ควบคู่ไปกับกาบิริหารราชการที่มีประสิทธิผล และพัฒนาทักษะขีดความสามารถของข้าราชการในการส่งมอบสินค้า และบริการที่สร้างความพึงพอใจให้กับประชกรบรูไนที่มารับบริการ
          ข้าราชการบรูไน แบ่งออกเป็น 5 ระดับดังนี้
          - ระดับ 1 จะเป็ฯระดับของข้าราชการที่เป้ฯผุ้บริหารสุงสุด ได้แก่ ปลัดกระทรวง รองปลัอกระทรวง ผุ้อำนวยการ รองผุ้อำนวยการ ผู้ช่วยผุ้อำนวยการ ฯลฯ
           - ระดับ 2 จะเป็นผู้บริหารระดับกลาง ได้แก่ ผุ้จัดการอาวุโส วิศวกร ผุ้เชี่ยวชาญ บุคลากรทางการศึกษา ฯลฯ
           - ระดับ 3 เป็นผู้บริหารระดับล่าง ได้แก่ผุ้บริหารระดับกลาง หัวหน้า ผุ้เชี่ยวชาญทางเทคนิคฯลฯ
           - ระดับ 4 เป็นพนักงานระดับปฏิบัติการ ได้แก่ พนักงานเสมอียน ช่างเทคนิค ฯลฯ
           - ระดับ 5 ผุ้ช่วยระดับปฏิบัติการ ได้แก่ ผุ้ช่วยสำนักงาน คนขับรถ นักการ ฯลฯ        


                                           - www.aseanthai.net/.., ข้อมูลการเมืองการปกครองประเทศบรูไน
                                           - "ระบบการบริหารราชการของ เนการา บรูไน ดารุศซาลาม", สภาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ.

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                   

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)