ฺBureaucracy : Indonesia

          ภายใต้การปกครองระบบซุฮาร์โต 31 ปีตั้งแต่ปี พ.ศ.2509 ปะรเทศอินโดนีเซียได้ผ่านการปกครองยุคเผด็จการที่ชาญฉลาดในการครองอำนาจโดยการนำระบบทหารเข้ามามีบทบาทเหนือข้าราชการพลเรือนที่เรียกว่า ระบเกการ์ยา ที่นำทหารเข้าไปดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ ตั้งแต่ระดับอธิบดีตามกรมต่างๆ ร้อยละ 78 เลขานถการรัฐมนตรีร้อยละ 84 ตำแหน่งนายอำเภอรอยละ 56 ของตำแหน่งทั้งหมด และที่เห็นได้ชัดในปี พ.ศ. 2513 คือ การตั้งผุว่าราชการมณฑลที่เป้ฯทหารจากกองทัพ 20 คน จากผุ้ว่ามณฑลทั้งหมด 26 คน จนถึงปี พ.ศ. 2540 การตั้งผู้ว่าราชการมณฑลที่เป็นทหารยังครองตำแหน่งผุ้ว่าราชการมณฑลเป็นส่วนมากถึง 14 จากผุ้ว่ามณฑลทั้งหมด 27 คน
          เมื่อสิ้นอำนาจของประธานาธิบดีซูฮาร์โต จึงเกิดกฎหมายปฏิรูปในปี พ.ศ. 2549 ที่การกระจายอำนาจตามตำแหน่งผุ้ว่าราชการมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ในส่วนราชการอื่นก็ได้เกิดการปฏิรู)ป จึงนับว่าเป็นปฏิรูปราชการครั้งแรกของอินโดนีเซียก็ว่าได้
          สาธารณะรัฐอินโดนีเซียดำเนินการปฏิรูประบบราชการตามประกาศประธานาธิบดีในปี พ.ศ. 2553 เพื่อมุ่งสู่การเป็นรัฐบาลที่มีมาตรฐานระดับโลกภายในปี พ.ศ. 2568 และจากนโยบายการปฏิรูประบบราชการดังกล่าว องค์การข้าราชการแห่งชาติ ก็ได้ดำเนินการโครงการเร่งด่วนตามยุทธศาสตร์ 9 โครงการ เพื่อให้การปฏิรูประบบรชการพลเรือนสอดรับกันนโยบายดังกล่าวในประเด็นต่อไปนี้
         - การปรับปรุงโครงสร้างระบบราชการพลเรือน
         - การสร้างเสถียรภาพให้แก่จำนวนข้าราชการพลเรือน เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน
         - การปรับปรุงระบบสรรหาและคัดเลือก และระบบการแต่งตั้งข้าราชการพละรือน
         - การพัฒนาข้าราชการพลเรือนให้มีความเป็นมืออาชีพ
         - การพัฒนาระบบรัฐบาลอิเล็ทอรนิกส์
         - การอำนวยความสะดวกด้านการจดทะเบียธุรกิจและการดำเนินการด้านธุรกรรมของภาคเอกชน
         - การดำเนินการด้านความโปร่งใสในเรื่องการรายงานทรัพย์สินของข้าราชการ
         - การปรับปรุงระบบสวัสดิการของข้าราชการพลเรือน
         - การสร้างประสิทธิภาพในเรื่องการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวนความสะดวกแก่ข้าราชการ
              เมื่อประธานาธิบดี ซูฮาร์โตได้อำนาจในการบริหารประเทศ สิ่งที่ได้ทำ คือ การใช้กฎหมายบังคับให้ข้าราชการเป็นสมาชิกถาวรของสมาคมขาาชการแต่ละอาชีพที่รวมตัวกันจัดตั้งเป้นสำนักงานข้าราชการพลเรือนที่มีรูปแบบการจัดตั้งในลักษณะบรรษัท ที่มีชื่เอเต็มเรียกว่า "คอร์ปส์ เปกาวาอี เนเกรี" สำนักงานที่เป้ฯตัวแทนรักษาผลประโยชน์ของข้าราชการพลเรือนแตะละสาขา ที่มิใช่จะต้องรับผิดชอบต่อหน่วยงานราชการที่ตนเองสังกัดอยู่เท่านั้น แต่จะต้องทำตัวเป็นลูกจ้างที่ดีของรัฐบาลโดยถูกกฎหมายและวินัยข้าราชการบังคับให้เป้นสมาชิกของพรรคโกลคาร์ในเวลาเดียวกันด้วย เพราะโกลคาร์คอือ งอค์การทางการเมืองถูกกฎหมายเพียงองค์การเดียวทีคอร์ปต้องเป็นสมาชิกถาวร
             ระบบราชการของอินโดนีเซียตั้งแต่ได้รับเอกราชก็ไม่ต่างกับประเทศที่ได้รับเอกราชใหม่ๆ ที่ต้องการปรับตัว ปรับกำลังคน แต่มาถูกจำกัดให้เป็ฯระบบที่ถูกกำหนดโดยพรรคการเมืองที่ขึ้นตรงต่อประธานาธิบดี ซูฮาร์โต ซึ่งเป็ฯระบบที่ทำเพื่อบุคคล ไม่ใช่เพื่อประทเศชาติ ข้าราชการยุคนี้จึงเป็นยุคที่ทำงานช้า ขาดความโปร่งใส ขาดความรับผิดชอบและขาดการริเริ่ม บางคร้งมีการคอรัปชั่น จึงจำเป็นต้องปฏิรูปอย่างมาก
             หลังยุคของประธานาธิบดี ซุฮาร์โต จึงเกิดการเคลื่อไหวปฏิรูป และการะจายอำนาจภายในยุคระเบียบใหม่ ของรัฐบาลในปี 1988 และรัฐบาลได้ผ่านกฎหมายการกระจายอำนาจสู่ส่วนภูมิภาค และกฎหมายการบริหารข้อาราชการเปิดให้มีการปฏิรูปการบริการภาครัฐในอินโดนีเซียอย่างจริงจัง นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยอินโดนีเซียท่านหนึ่งมองว่า กฎหมายทั้งสองฉบับ เป็นการก้าวย่างที่ถูกต้ง อต่ยังขาดการเป็นผุ้นำที่เข้มแข็ง มุ่งมั่น เพื่อนำทางสู่บทสรุปตามตรรกของการปฏิรูปที่เพิ่มสมรรถนะของข้าราชการทำให้ข้าราชการมีศักยภาพในการดูแล ช่วยสนับสนุนให้การปกครองสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายของประเทศ และเป้ฯการยกระดับมาตรฐานคุณาพชีวิตของประชาชน รวมทั้งต้องการปฏิรูประบบราชการทั้งในกรอบของความคิดเชิงสถาบัน และในส่วนของประเด็นตางๆ ทางจริยธรรม ซึ่งต้องปรับตัวให้เข้ากับยุคโลกาภิวัตน์ที่รัฐบาลอินโดนีเซียต้องตระหนัก และจำเป็นต้องปรับโครงสร้างระบบราชการโดยยกระดับ คุณภาพของข้าราชการและการพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพทันสมัย
            จากสภาพความซับซ้อนในสังคมที่มีประชากรกว่า 247 ล้านคน และกระจายกันอยู่ แม้ว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีการปฏิรูปในอินโดนีเซียแต่อย่างไรก็ตามน้ำหนักของการปฏิรูปยังคงต้องผ่านกับอดีตของอินโดนีเซียจนถึงที่หมายของความสำเร็จ การมีผุ้นำที่เข้มแข็งและกล้าตัดสินใจชี้นำการปฏิรูปเป็นเรื่องสำคัญมาก และหลายสิ่งที่ดำรงอยู่ในอินโดนีเซียยังคงเป้นคำถามใหญ่ และไม่มีใรสามารถทำนายเมื่อความซื่อสัตย์ การก่อให้เกิดผล การสร้างสรรค์ ความรับผิดชอบ และข้าราชกรที่ชำนาญการแบบมืออาชีพจะปรากฎในอินโดนีเซียเหมือนกับมุสลิมที่ดีทั้งหลายในอินโดนีเซียพูดในครั้งหนึ่งว่า "เป็นเจตนาของพระฮัลลอฮฺ"

           รัฐบาลอินโดนีเซียในยุคปัจจุบันอยู่ภายใต้การนำของประธานาธิบดี ดร.ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน ดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่ 2 ซึ่งดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี และโดยการปกครองระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย นั้น ดร. ซุซิโล บัมบัง ยูโดโยโน จึงเป้ฯทั้งประธานาธิบดี ประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร โดยมีรัฐมนตรีร่วมคณะ 35 คน
           การเป็นรัฐบาลสมัยที่ 2 ต้องปรับคณะรัฐมนตีเป้นครั้งแรกในช่วง 2 ปีในวาระที่สองของประธานาธิบดี เนื่องจากปัญหา การฉ้อราษฎร์บังหลวง,ประสิทธิภาพการทำงานของพรรคร่วมรัฐบาล, พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและประเด็นส่วนตัวของรัฐมนตรี, การแตกความสามัคคีระหว่งพรรคร่วมรัฐบาล..แม้สภานการณ์การเมืองในอินโดนีเซียยังคงมีเสถียรภาพ แต่ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อพรรครัฐบาล PD ลดลง เนื่องจากกรณีการทุจริตของนายนาซารุดดิน เหรัญญิกพรรค PD ในโครงการก่อสร้างสถานที่แข่งขันกีฬาซีเกมส์ ในขณะที่ประธานาธิบดียังคงได้รับความนิยม และรัฐบาลยังคงดำเนินการบริหารประเทศตามวิสัยทัศน์ พ.ศ. 2568 ที่ให้ความสำคัญใน 3 สาขาหลัก คือ การพึ่งพาตนเอง, ความสามารถในการแข่งขัน, มีอารยธรรมที่สูงส่ง โดยยังคงให้ความสำคัญกับการปฏิรูปและการพัฒนาประเทศการส่งเสริมบทบาท และผลประโยชน์ของอินโดนีเียอย่างต่อเนื่องซึ่งดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจ รัฐบาลยังคงมุ่งเน้นการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศและการลงทุนจากต่างประเทศ ทั้งจัดการการดำเนินการพัฒนาประเทศตามแผนแม่บท เพื่อการพัฒนาเศราฐกิจปี พ.ศ. 2554-2568 ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาแห่งชาติระยะกลาง และระยะยาว เพื่อเพิ่มและชยายการพัฒนาเศรษบกิจอินโดนีเซยให้สามารถพึงพาตนเองได้ และมีความก้าวหน้ารวมทัี้งนโยบายการกระจายตลาดไปสู่ภูมิภาคต่างๆ การส่งเสริมการส่งออกการบริโภคภายในปะเทศ การส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ เพื่อสนับสนุนแผน MP3EI โดยการแก้ไขกฎระเบียบด้านการลงทุน การออกมาตรการภาษีเพื่อเอื้อและจูงใจนักลงทุนต่างชาติ และการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมการผลิตภายในเพื่อทดแทนการนำเข้า โดยการกำหนดสาขชาเป้าหมายที่ให้ความสำคัญและให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม รวมทังให้ความสำคัฐกัลการส่งเสริมความมั่นคงด้านอาหาร ด้านพลังงาน และส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยอินโดนีเซยตั้งเป้าหมายที่จะก้าวเป้ฯผุ้นำทางเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นลำดับ ที่ 1 ใน 10 ของโลกในปี พ.ศ. 2568 และเป็นลำดับที่ 1 ใน ปี พ.ศ. 2593
            การจัดตั้งนโยบายทางความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร ในสังคมชนบท(โกตองโรยอง) ความคิดเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร หรือ CSR นั้น เป้รเรื่องใหม่ที่พูดกันในกระแสของโลกาภิวัตน์ที่ต้องการให้องค์กรทางธุรกิจเข้าไปมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคม ในขณะเดียวกันองค์กรภาครัฐก็ต้องเอื้ออำนวยให้เกิดการพัฒนาไปพร้อมๆ กัน ซึ่งการจัดตั้งนโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและส่ิงแวดล้อมขององค์กร ในสังคมชนบทของอินโดนีเซียที่ได้จัดทำนั้น ต้องวางนโยบายให้สอดคล้องกับข้อกำหนดทางกฎหมายประเพณีในสังคมตามความเชื่อในศาสนา ที่ยังต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและสืบทอดกันมานานแล้ว โดยมีสาระสำคัญ คือ ควาผูกพันระหว่างสามีกับภรรยา พ่อแม่กับลูก และพลเเมืองต่อสังคม คื อการช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกันในงานด้านต่างๆ  เช่น การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว การแต่งงาน และการสร้างบ้านที่อยู่อาศัย


                         

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)