1 การปฏิรูปการบริหาราชการส่วนกลาง เช่น การยกเลิกจตุสดมภ์และการจัดการปกครองแบบมณฑล
2 การปฏิรูปการบริหาราชการส่วนภูมิภาค เช่น การจัดการปกครองแบบมณฑล
3 การปฏิรูประบบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เช่น การจัดการปกครองแบบเทศาภิบาล (เทศบาล)
ยุครัชกาลที่ 7 แม้การปกครองประเทศจะมีความพลิผันมากมายและเป้ฯช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่ก็ได้มีการนำระบบคุณธรรม ซึ่งประกอบด้วย หลักความสามารถ หลักความเสมอภาค หลักความมั่นคง หลักความเป็นกลางทางการเมือง เข้ามาเป็ฯกรอบแนวทางการวางระบบข้าราชการพลเรือนสมัยใหม่ในระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471 จากยุค พ.ศ. 2475 -พ.ศ. 2540 มีการพูถึงการปฏิรูปหลายครั้ง แต่ในทางปฏิบัติยังติดอยุ่ในกรอบดังนี้
- เน้นการแบ่งส่วนราชการ และการจัดอัตรากำลังข้าราชการ
- ปฏิรูประบบราชการด้วยการปรับปรุงการให้บริการประชาชน
- ส่งเสริมการมอบอำนาจ และแบ่งอำนาจการบริหาราชไปยังส่วนภูมิภาค
- การกำหนดชื่อ และความหมายของหน่วยงานระดับต่างๆ โดยเฉพาะหน่วยงานที่มีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่น เช่น สำนัก สำนักงาน สำนักเลขาธิการ สถาบัน ศูนย์ ศูนย์บริการ สถานี สถานีทดลอง เป็นต้น เพื่อให้กระทรวง กรมต่างๆ ถือเป็นแบบปฏิบัติเดียวกัน
- การเสนอกฎหมายใหม่ และการปรับปรุงกฎหมาย เช่น กฎหมายว่าด้วยข้อมูลและข่าวสารของทางราชการ การปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการระเบียบสำนักรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพ่อแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ การพัฒนาการบริการสาธารณะ การปรับปรุงประสทิะภาพกรมตำรวจ การปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการข้าราชการอัยการ ฯลฯ
ในพ.ศ. 2540 มีการออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิรูประบบราชการเป็นครั้งแรก มีการจัดทำแผนแม่บทการปฏิรูปราชการ ซึ่งนับว่าเป็นแผนแม่บทการปฏิรูประบบราชการฉบับแรก โดยกำหนดหลักการ 2 หลักการ คือ
- การปรับบทบาท ภารกิจ และขนาดของหน่วยงานรัฐ
- การปรับปรุงระบบการทำงานของหน่วยงานรัฐ
ประเทศไทยเมื่อครั้งเชื่อมต่อเศรษฐกิจของไทยเข้ากับเศรษฐกิจโลกในการเปิดเสรีทางการเงิน ในเวลาไม่นานธุรกิจอุตสาหกรรมของไทยก็ล้มละลายต้องขายกิจการกันอย่างมโหฬาร ซึ่งความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจนั้น ภาครัฐไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบได้ ประกอบกับการเรียร้องของประชาชนทำให้เกิดกระแสปฏิรูปใหม่ และมีการเสนอรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540
การปฏิรูประบบราชการไทยได้มีการนำเครื่องมือทางการบริหารใหม่ๆ มาใช้อย่างแพร่หลาย และปรากฎเป็นรูปธรรมเมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญัติและระเบียบบริหารราชการแผ่นดินเมื่อ ตุลาคม 2545 ซึ่งทำให้มีการปรับโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการใหม่จาก 14 กระทรวง 1 ทบวง มาเป็ฯ 20 กระทรวง และได้กำหนดให้มีคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) โดยให้เป็ฯหน่วยงานขับเคลื่อนการปฏิรูประบบราชการ การปฏิรูประบบราชการในยุคนี้จึงเรียกว่า "การพัฒนาระบบราชการ" เครื่องมือที่สำคัญคือ
- แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2546-2550)
- พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ซึ่งออกตามมาตรา 3/1 และมาตรา 71/10 (5) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5 ) พ.ศ. 2545
- ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2546
- โครงการพัฒนาผุ้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้จากการปฏิบัติ เพื่อพัฒนาผู้ว่าราชการจังหวัด และผุ้บริหารของพระทรวงนำร่องในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ตามหลักการ และแนวทางในการพัฒนาระบบราชการ
โครงสร้างราชการไทย ปัจจุบันโครงสร้างข้าราชการไทยมีลักษณะซับซ้อน แม้จะมีความพยายามในการลดจำนวนข้อราชการลงโดยวิธีการต่างๆ เช่น การเกษียณก่อนอายุ การยุบหน่วยงานบางหน่วยงานเข้าด้วยกัน อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถลดจำนวนข้าราชการลงได้ตามจำนวนที่ต้องการ นอกจากนั้นโครงกสร้างหน่วยงานกลับมีการขยายมากขึ้น ทำให้จำนวนบุคลากรที่ปฏิบัติงานในระบบราชการมีลักษณะเป็นลูกจ้างตามสัญญาจ้างมากขึ้น จึงไม่สะท้อนภาพที่แท้จริงของโครงสร้างข้าราชการ
ด้านระบบการทำงาน ปัจจุบันระบบราชการไทยเน้นการปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบ โดยจำแนกบุคลากรตามโครงสร้างองค์กร เพื่อให้สามารถมอบหมายงานเฉพาะได้ ทำให้ระบบการทำงานที่เป็นอยุ่ ยึดติดกฎระเบียบและสายการบังคับบัญชา จึงไม่สอดคล้องกับสภาพลักษณะงานจริงที่ต้องมีลักษณะเป็นพลวัต ระบบราชการจึงไม่รองรับการเปลี่ยนแปลงจากสภาพแวดล้อมภายนอกได้อย่างทันท่วงที
- "ระบบบริาหรราชการของราชอาณาจักรไทย", สำนักงาน ก.พ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น