ฺBureaucracy : Singgapore

             สิงคโปร์ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีรัฐธรรมนูยเป็นกฎหมายสูงสุด แบ่งอำนาจการปกครองเป็น 3 ส่วนดังนี้
             1 สภาบริหาร ประกอบด้วยประธานาธิบดีและคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีหน้าที่บริหาประเทศผ่านกระทรวงทบวงกรม และหน่วยงานในสังกัดราชการอื่นๆ ประธานาธิปบดีสิงคโปร์มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน มีวาระดำรงตำแหน่ง 6 ปี
             คณะรัฐมนตรีสิงคโปร์มาจากการเลือกตั้งทั่วไปทุก 5 ปี พรรคการเมืองสำคัญ 4 พรรค
             2 รัฐสภา มาจากการเลือกตั้งทั่วไป
             3 สภาตุลาการ แบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ศาลชั้นต้น และศาลฎีกา
             หลังจากได้รับเอกราชจาประเทศอังกฤษ จุเน้นในการปฏิรูประบบราชการของสิงคโปร์ คือ การสร้างข้าราชการเพื่อทดแทนเจ้าหน้าที่ของประเทศอังกฤษ และการออกแบบให้บริการสาธารณะ เพื่อตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของประชารชน ซึ่งเป้นกระบวนการที่เรียกว่า ความเป็นท้องถิ่นภิวัฒน์ และความเป้นประชภิวัฒน์ อย่างไรก็ตามในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา จุดมุ่งหมายในกาปฏิรูปได้เปลี่ยนไป เน้นที่การมีปฏิสัมพันธ์ในระดับนานาชาติ เพื่อตอบสนองต่อกระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งรวมถึงแนวคิดเสรีนิยม การลดกฎระเบียบและการควบคุมของรัฐ การแปรรูปกิจกรรมของรัฐ ทั้งนี้เพื่อให้ระบบราชการสามารถมีความร่วมมือกับตลาดต่างประเทศ นักลงทุนต่างประเทศบริษัทที่ปรึกษาจากต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
            David Seth Jones ได้กล่าวถึงมาตรการต่าง ๆในการปฏิรูประบบราชการสิงคโปร์ไว้ในหนังสือ Public Administration Continuity
             1 โครงสร้างองค์การ ในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่่านมา รัฐบาลสิงคโปร์ได้จัดทำโครงการใหม่ ๆ ขึ้นภายในบริบทของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ตั้งอยุ่บนหลักการและเทคนิคขององค์การภาคเอกชน โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการพิจารณายกเลิกกิจกรรมภาครัฐ ขึ้นด้วย
             ขั้นตอนการแปรรูปกิจกรรมภาครัฐ แบ่งเป็น 4 ขั้นตอนหลัก คือ การแปรรูปองค์การ การทำสัญญาจ้างเอกชนให้บริหารงาน การผ่อนปรนระเบียบกฎหมาย และการตัดทอนการลงทุน ทั้งนี้มีคณะกรรมการอิสระในการรัฐวิสาหกิจ สำคัญๆ 3 แห่ง ได้แก่ บริษัทสิงคโปร์โทรคมนาคม บริษัทกระจายเสียงแห่งสิงคโปร์ และสำนักงานสาธารณูปโภคกลาง และยังจะมีการแปรรูปองค์การ อีกหลายหน่วยงานในอนาคตอันใกล้นี้ รวมถึงในส่วนการให้บริการสาธารณสุขหรือโรงพยาบาลรัฐอีกด้วย กาแปรรูปองค์การ ทำให้หน่วยงานเหล่านี้ มีความยืดหยุ่นในการบริหารงานมากขึ้น มีโครงสร้างทางการเงินที่เหมาะสม มีอิสระในการจัดโครงสร้างองค์การและโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นอิสระจากการควบคุมของระบบราชการ หน่วยงานเหล่านี้จึงมีความสามารถที่จะเลือกลงทุนขยายกิจการ แข่งขันด้านเวลาสร้างสรรค์นวัตกรรม ปรับปรุงการให้บริการ หรือแม้กระทั่งเลือกลงทุนในกิจการประเภทอื่น
             อย่างไรก็ดีก่อนที่จะมีการแปรรูปองค์การเต็มรูปแบบได้มีการโอนการให้ลบริการระดับข้างเคียงจำนวนหนึ่งของคณะกรรมการอิสระ เหล่านี้ไปให้รัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นองคการใหม่ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นบริษัทย่อยส่วนการให้บริการด้านอื่นๆ ของหน่วยงาน มีการทำสัญญาจ้างเหมาดำเนิการกับบริษัทเอกชน หรือไม่ก็มีกาลดกฎระเบียบเพื่ออนุญาตให้บริษัทเอกชนดำเนินการแช่งขัีนให้บริการได้ ซึ่งเป็นการยกเลิกการผูกขาดโดยรัฐนั่นเองอย่างไรก็ตามต้องมีการดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตัวอย่างเช่น Singapore Telecommunication Ltd. จะยกเลิกการผุกขาดกิจการโทรคมนาคม และการให้บริการไปรษณีย์พื้นฐานตามลำดับภายใน 20 ปีข้างหน้า
            ดังนั้นจนถึงปัจจุบัน การแปรรูปองค์การ จึงยังมิใช่การแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างเต็มรูปแบบกล่าวคือ รัฐยังเป็นผุ้ถือหุ้นใหญ่รวมถึงการพัฒนาแผนกขึ้นมาแผนกหนึ่งจากกน่วยงานเดิม และทำการปรับโครงสร้างให้มีขาดที่เล็กลงอย่งมากเืพ่อทำหน้าที่พิจารณาอนุมัติแกละกำกับดุแลบริษัทต่างๆ ที่แยกตัวออกมาดังน้นจึงมัี่นใจว่าผลประดยชน์สาธารณะฃจะยังคงได้รับการคุ้มครองทั้งในด้านราคา ผลประโยชน์ และมาตรฐานการให้บริการ
           2 การบริหารงานบุคคล การบริหารงานบุคคลแต่เดิมเป็ฯความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริการด้านสาธารณะ เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้นเป็นความรับผิดชอบของคณะกรรมการอีกสองชุดและอีกหนึ่งหน่วยงาน คือ คณะกรรมการให้บริการด้านการศึกษา คณะกรรมการป้องกันพลเรือนและตำรวจและหน่วยงานบริการสาธารณะ กระทรวงและกรมต่างๆ มีอำนาจอย่างจำกัดในการคัดเลือและการพิจารณาเลื่อตำแหน่งข้าราชการระดับล่างสุด ตามที่ได้รับมอบอำนาจจาก PSC เท่านั้น ในเดือนมกราคม 2538 ได้มอบอำนาจหน้าที่ในกาบริหารงานบุคคลให้แก่กระทรวงต่างๆ โดยการจัดตั้งระบบคณะกรรมการบริหารงานบุคคลแบบ 3 ระดับ คือ ระดับสุงสุดมีคณะกรรมการบริหารงานบุคคลชุดพิเศษประกอบด้วย เลขาธิการและรองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และปลัดกระทรวง ทำหน้าที่ในการพิจารณาเลื่อนตำแหน่ง และแต่งตั้งข้าราชการระดับสูง จนถึงระดับในหน่วยงานระดับกรมและหน่วยงานเชียวชาญเฉพาะในระดับกลาง ประกอบด้วย คณะกรรมการข้าราชการรดดับสุงหลายชุด ทำหน้าที่คัดเลือกและเลือ่นตำแหน่งข้าราชการระดับ 1 คณะกรรมการแต่ละชุมแต่งตังจากหนวยงานระดับกรมและหน่วยงานเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ รวมถึงปลัดกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการคัดเลือกและเลื่อนตำแหน่งนั้นๆ ด้วย สำหรับระดับล่างสุดในแต่ละกระทรวงจะมีคณะกรรมการของตนเอง ซึ่งได้รับมอบอำนาจในการแต่งตั้งและเลื่อนตำแหน่งข้าราชการรดับ 2,3 และ 4 โดยมีข้าราชการระดับสุง เป็นประธาน และมีข้าราชการระดับ 1 เป็นกรรมการ ทั้งนี้ PSD มีหน้าที่เป็นผู้โฆษณาประกาศรับสมัครและเป็ฯผุ้รับสมัคร รวมถึงเป็นการกำหนดเกณฑ์วัดในการเลื่อนตำแหน่งด้วย
             3 ระบบงบประมาณ มีการเริ่มใช้ระบบการจัดสรรงบประมาณแบบจำกัดเกณฑ์การออกเสียง เป็นครั้งแรกในงบประมาณปี 2532 โดยกำหนดยอดงบประมาณของแต่ละกระทรวงเป็นร้อยละของรายได้มวลรวมประชาชาติเพื่อสอนให้สภาพิจารณาอนุมัติ เมื่อสภาอนุมัติแล้ว กระทรวงจึงมีอำนาจในการใช้จ่ายวบประมาณตามที่ประกาศไว้เป็นวัตถุประสงค์โครงการหรือกิจกรรมต่างๆ และมีอิสระในการโอนย้ายเงินและบุคลากร โดยไม่ต้องขออนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 3 ปีต่อมาจึงเร่ิมใช้ระบบบัญชีบริหารที่มีชื่อว่า "ระบบการบริหารจัดการบัญชีของรัฐบาลสิงคโปร์" โดยจัดทำบัญชีต้นทุนบุคลากรสิ่งปลูกสร้าง วัสดุอุปกรณ์ และการใช้บริการต่างๆ ของแต่ละโครงการและกิจกรรม รายละเอียดทางบัญชีเหล่านี้ทำให้บริหารหน่วยงานสามารถใช้อำนาจหน้าที่ทางการเงินที่ได้รับจากวบประมาณแบบจำกัดเกณฑ์การออกเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ การปฏิรูประบบวบประมาณที่สำคัญอีประการหนึ่ง คือ การพัฒนาวบประมาณแบบฐานศุูนย์ ขึ้นโดยให้สำนักผุ้ตรวจงานราชการเป็นผุ้พิจารณาตรววจสอบกาใช้ทรัพยากรและค่าใช้จ่ายลงทุน ของแต่ละกระทรวงในทุก 5 ปี โดยใช้ข้อมุลจากระบบบัญชีบริหารและตัวชี้วัดผลงานเป็นเครื่องมือสำคัญในการตวรจสอบ
               แม้ว่าแนวคิดในการปฏิรูประบบราชการสิงคโปร์จะเปลี่ยนไปสู่การตอบสนองต่อกระแสโลกาภิวัฒน์ ซึ่งอาจช่วยพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของปรเทศ  แต่ก็อาจทำให้ความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนลดลง การนำแนวคิดเสรีนิยมมาปรับใช้อาจทำให้การให้บริการสาธารณะประสบผลสำเร็จในเชิงเศรษฐกิจ และทำให้เกิดการละเลยปัญหาที่ไม่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ ได้เช่นกัน นอกจานี้ความพยายามในการลดความเป็นระบบราชการ ด้วยการใช้ค่านิยมและวิธีการทางธุรกิจโดยที่ค่านิยมและวิธีคิดดั้งเดิมของระบบราชการยังคงฝังตัวอยู่นั้น อาจทำให้ต้องใช้ระยะเวลาในการปฏิรูปเนิ่นนามออกไป


                                        - "ระบบบริหารราชการของ สาธารณรัฐ สิงคโปร์" สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ.
           

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)