ระบบข้าราชการพลเรือนมาเลเซีย รู้จักอย่างเป็ฯทางการในชื่อ ข้าราชการพลเรือนมลายู ถือว่าเป็นกุญแจสำคัญในด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาทางสังคมของประเทศการบริหารสาธารณะในประเทศมาเลเซียนี้มีบันทึกที่น่าสนใจ ซึ่งถูกตีกรอบโดยประวัติศาสตร์การพัฒนาของประเทศและสถาบันทางสงคมและการเมืองในช่วงก่อนจะเป็นเอกราชอังกฤษได้นำโครงสร้างและการปฏิบัติที่จะช่วยให้การบริการขั้นพื้นฐานต่างๆ แก่ประชาชน เพื่อรักษากฎหมายและระเีบียบที่สอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจแปละการเมืองโครงสร้างและการปฏิวัติเหล่านั้นเป็นพื้นฐาของราชการพลเรือนมลายู ระบบข้าราชการพลเรือนของมาเลเซียจึงได้สืบทอมาจากการบริการสาธารณะของอังกฤษที่มีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ในช่วง 50 ปีที่ผ่่านมาจากประวัติศาสตร์การบริหารระบบราชกำร ของมาเลเซีย เร่ิมก่อตั้งเมื่อปลฃาย พงศ. 2243 โดยบริษัท อินเียตะวันออก ได้มาที่ปีนังในช่วงเวลานั้ และมีการดึงดูดนักวิชาการที่ดีที่สุดและฉลาดที่สุดจากประเทศอังกฤษเพื่อแต่างตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ
จากรายงานนอร์ธโคต-เทรเวลยาน ใน พ.ศ. 2388 ได้มีการวางลักษณะของการบริการสาธารณะ โดยเน้นย้ำว่า
- ข้าราชการพลเรือนที่เป็ฯกลางทางการเมือง หมายถึง ความจงรักภักดี ที่สมบุรณ์ต่อรัฐบาล โดยไม่คำนึงถึงมุมองทางการเมือง
- การบริการสาธารณะระดับสูง ควรมีความเป้ฯธรรมและคำแนะนำที่เหมาะสม ทุ่มเทให้กับผลประดยชน์ของประชาชน และเชื่อฟังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงและคณะรัฐมนตรี
- บริการสาธารณะควรให้ความมั่นคงอย่างต่อเนื่องมีการเปลี่ยนแปลงในรัฐบาล ต่อมาได้มีการจัดรูปแบบโครงสร้างการบริหารราชกรแผ่นดิน ออกเป็น 3 แบบดังนี้
อาณานิคมในช่องแคบ หมายถึง ช่องแคบมะละกามีดินแดนอยู่ 3 ส่วน คือ เกาะปีนัง เกาะสิงคโปร์ และมะละกาซึ่งตั้งอยุ่บนคาบสมุทรมลายู มีการจัดการปกครองด้วยระบบหน่วยบริหารการปกครอง หน่วยเดียว รัฐบาลอังกฤษได้จัดส่งข้าหลวงใหญ่มาปกครองโดยตรง ถือว่าเป็นอาณานิคมซึ่งขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ของอังกฤษ การบริหารงานโดยมีข้าหลวง สภาพบริหาร สภานิติบัญญัติ ซึ่งล้วนแต่เป้ฯชาวอังกฤษทั้งสิ้นที่ได้รับการแต่งตั้งทำหน้าที่ดดยมีข้าหลวงใหญ่เป็นหัวหน้า
ดินแดนรัฐสหพันธ์มาเลย ได้แก่ ดินแดน 4 รัฐ ที่อยุ่บนคาบสมุทรมลายุ ได้แก่ เปรัค สลังวอร์ ปาหัง และรัฐเนกรีเซมบิลัน ซึ่งรัฐเหล่านี้อังกฤษได้ให้สุลต่าานปกครองต่อไป โดยที่อังกฤษได้ส่งที่ปรึกษาด้านถิ่นที่อยุ่มาประจำในแต่ละรัฐ โดยมีอำนาจเหนือสุลต่าน ที่รปรึกษาขึ้นตรงต่อข้าหลวงใหญ่ที่ประจำอยู่สิงคโปร์ และมีศูนย์ประสานงานควบคุมรูปแบบการปกครองอยู่ที่รัฐสลังงอร์
ดินแดนที่ไม่อยู่ในสหพันธรัฐ ได้แก่ ดินแดนที่เหลืออยู่บนคาบสมุทรมลายูอีก 5 รัฐ ซึ่ง 4 รัฐได้เคยอยู่ กับอาณาจักรสยามมาก่อน และได้ตกเป็ฯของอังกฤษเพื่อแลกกับ ความเป้ฯเอกราชของไทย ได้แก่ ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส ่วนหน่ง รัฐที่เหลือ คือ ยะโฮร์ โดยอังกฤษได้ให้สุลต่านปกครองต่อไป แต่ให้ที่ปรึกษาควบคุมดูแลอยู่อีกที่หนึ่ง จะปล่อยให้มีอิสระในการปกครอง ค่อนข้างสุงหว่าการปกครองในรูปแบบสหพันธรัฐ
โครงสร้างพื้นฐานนี้เป้ฯการตั้งรูปแบบของข้าราชการพลเรือนมลายู นช่วง 50 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่ได้รับเอกราชในขณธที่ปลาย พ.ศ. 2343 ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเป็นแบบที่เรียกว่าข้าราชการพลเรือน สหพันธรัฐมลายู ซึ่งเป็นรูปแบบที่ให้อำนาจบริหารส่วนกลางในการสรรหาและแต่งตั้งและนำไปใช้กับรัฐต่างๆ ของมาเลย์ด้วย การาวบอำนาจเข้าสุ่ศูนย์กลางนี้ ขั้นตอนการสรรหาได้รับการปรับปรุงให้มีความน่าสนใจ และดุงดูดผุ้สมัคร ที่มีคุณสมบัติเข้ามาในองค์การ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดการที่ดีและมีประสิทธิภาพของข้าราชการพลเรือน
ข้าราชการพลเรือนสหพันธรัฐมลายู ได้เร่ิมมีการปรับเปลี่นแะขยายตัว เพื่อสร้างระบบราชการในสังกัดภายใต้ชื่อ กาบริการทางการปกครองของมาเลย โดยปี พ.ศ. 2446 ข้าราชกาพลเรือน มีชาวมลายูถึง 332 คน จากเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 6,607 คน ในการให้บริการของภาครัฐ นาย ราชาชูลัน บี อับดุลลา ผุ้ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เคยเข้าร่วมการบริหารราชการของภาครัฐในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งต้งในเมืองเปรัค กลายมาเป้นเจ้าหน้าที่มาเลย์ท้องถิ่นคนแรกในเมืองเปรัค ตคอนเหนือจากการรับตำแหน่งดังกล่าวถือเป็ฯการยับย้งการควบคุม จากชาวยุโรปในการบริการราชการแผ่นดิน ภายใต้การขยายตัวของระบบข้าราชการพลเรือนสหพันธรัฐมลายู และการบริกาทางการปกครองของมาเลย์ รวมั้งกาปฏิรูปด้านการปกครองต่างๆ จำนวนมากถูกนำมาใช้เพื่อยกระดับและปรับปรุงการบริการ ในหลุ่มอื่นๆ ของคณะกรรมการเตรียมการจัดวาระการประชุมและ เงินเดือนของคณะทำงาน อีกทั้งการจำแนกคณะกรรมาธิการบัคนิล เพื่อกำหนและปรับหลักการให้บริการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบการจ่ายค่าตอบแทน การลาออก บำเหน็จบำนาญ แลเะงื่อนไขอื่นๆ ของการให้บริการ เมื่ออังกฤษได้ออกจากแหลมมลายู ระหว่งการยึดครองของญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2484 ถือว่าเป็นอีกหนึ่งบททดสอบ ที่สำคัญของการบริาหราชการแผ่นดินมาเลเซีย ด้วยความกล้าหาญ ของเจ้าหน้าที่มลายูทั้ง 85 คน ที่มีบทบาทสำคัญในการบริหาร ระบบราชการของประเทศในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งบริหารจัดการประเทศ ได้เป็นอย่างดี ตลดอจนเป็ฯกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นเอกราชของประเทศ
การก่อตั้งระบบการบริาหราชการแบบครบวงจรได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อมีการรวมการบริหารด้าต่างๆ เช่น การแพทย์ การศึกษา กฎหมาย ตำรวจ ถูกรวมกนเพื่อจัดตั้งการบริการด้านการบริหารอาณานิคม ซึ่งมีข้าราชการพลเรือนมลายูเป็นส่วนประกอบ
ต่อมาข้าราชการพลเรือนมลายู ได้รวมตัวกับภาคส่วนที่รู้จักกันในนาม การให้บริการด้านการปกครองและการทูต บริการชั้นนำที่มีการเปลี่ยนบทบาทจากเป็ฯภาคส่วนที่จัดการเรื่องการพัฒนา เป็นภาคส่วนที่จะอำนวยความสะดวก และขณะนั้นในฐานะผุ้ริเริ่ม หน่วยงานได้รับการคาดหวังว่าจะเป็นเครื่องมือในการผลักดันประเทศไปข้างหน้า เพื่อให้บรรลุการปกครองทางเศรษฐกิจ การเสริมสร้างการพัฒนาทุนมนุษย์ที่อยู่บนพื้นฐานความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจและสังคม รวมไปถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนและคุณภาพชีวิต อีกทั้งการสร้างความเข้มแข็งในสถาบันการศึกษา และความสามารถในการดำเนินการ การให้บริการด้านการปกครองและการทูต ได้รับการระบุโดยทั่วไปว่าเป็นหน่วยงานที่ทรงเกี่ยรติ ซึ่ง ADS มีทั้งเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโสในระดับรัฐบาลกลางและระดับรัฐ ลักษณะขององค์การ คือ เจ้าหน้าที่จะให้บริการและทำงานในฐานะผู้บริหาร และผุ้พัฒนานโยบายหน่วยงานภาครัฐหรือกระทรวงต่างๆ ซึ่งมีมุมมอง วัตถุประสงค์ และบทบาทที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ทั้งมีบทบาทเป็ฯที่รปึกษาในการดำรงตำแหน่งในกระทรวงที่เกี่ยวข้อง
ข้าราชการพลเรือนมลายู มีรากฐานในระบบการบริหารราชการของอาณานิคมซึ่งก่อตั้งดดยอังกฤษ ดังนั้นมาเลเซียจึง "สืบทอด" ระบบข้าราขชการพลเรือนที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยไปกว่าระบบที่ชาวต่างชาติที่อยุ่ในมาเลเซียวางไว้ให้ สำหรับสิ่งที่มีความแตกต่างกับระบบอาณานิคมอื่นๆ ตรงที่อังกฤษคงไว้ซึ่งโครงสร้างทางสังคมแบบดั้งเดิม และสถาบันทางการเมืองที่มีการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง แม้ก่อนจะเป็นเอกราช อังกฤษทำให้มั่นจได้ว่าขุนนางมาเลย์และชนชั้นสูงทางการเมืองจะได้รับการดูแลเป็นอย่างดีสำหรับบทบาทในระบบการบริหารอาณานิคม การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในช่วงที่ไดรับเอกราช คือ "นโยบายการบริหารการให้บริการสาธารณะของมาเลเซีย" สิงนี้ถือว่าเป้ฯวาระสำคัญของพันธ์มิตรรัฐบาลในการที่จะทำให้เป็นระบบบริหารราชการแผ่นดินมาเลเซียอย่างสมบุรณ์
สิงหาคม พ.ศ. 2511 การจัดตั้งสำนักงานสหพันธ์รัฐได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "หน่วยงานข้าราชการพลเรือน โดยมีเป้าหมายหลักคือ การคิดริเริ่ม พัฒนาตลอดจนปรับเปลี่ยนโครงสร้างของระบบข้าราชการพลเรือนมาเลเซียเพื่อตอบสนองวาระการพัฒนาประเทศ หน่วยงานข้าราชการพลเรือน ยังคงมีบทบาทสำคัญในปีทีผ่านมาต่อไปนี้ ตามที่ เมอเดก้า ได้กล่าวไว้ว่า "มาเลเซยได้ผ่านความยากลำบากต่อไปในช่วงปีแรกหลังจากที่เป็ฯเอกราช เช่น ปัญหาฉุกเฉินในปี พ.ศ. 2512 จะเป็นประเด็นความหลากหลายทางเชื้อชาติของประชากร อีกทั้เงระบบการบริการสาธารณะที่ได้รับการวางแผนอย่างต่อเนื่อง แนวทางการบำรุงรักษาและการดำเนินนโยบายของรัฐบาลและโปรแกรม ที่จะมุ่งไปที่การประสบความสำเร็จในการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และทุนทางสังคมในการเดินหน้าของประเทศที่มีต่อแารพัฒนาและก้าวไปสู่าภาวะทันสมัย
ระบบการบริหารสาธารณะมีบทบาทที่แข็งแกร่งในภาคอุตสาหกรรม การเกษตร และสังคม ผ่านแผน 5 ปี และนโยบายเศรษฐกิจใมห่ ของปี พ.ศ. 2513 ซึ่งจะช่วยรักษาความสมดุลระหว่างการพัฒนาชนบทและอุตาสาหกรรมให้เกิดแรงกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจต่อไปขณะที่การจัดการผลกระทบทางสังคมของประทเศที่มีความหลากหลายด้านเชื้อชาติ ตลอหลายปีที่ผ่านมาระบบการบริการสาธารณะมีการพัฒนาและได้พบกับความท้าทายที่ต้องเผชิญกับประเทศที่มีการปรับตัวการเปลี่ยนแปลง การปรับสภาพแวดล้อมเข้าหากันทั้งในด้านการเมืองเศรษฐกิจ และสังคม ที่มีส่วนทำให้เป้นหนึ่งประเทศในภูมิภาคที่ทันมัยและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง..
ในปัจจุบันมาเลซียที่เคยไ้รับอิทธิพลของโครงสร้างทางการเมืองการปกครองของประเทศอังกฤษตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น คือ การปกครองด้วยดครงสร้างของระบบรัฐสภา ยกเวนระบบรัฐบาล ที่มีทั้งระบบรัฐบาลกลางหรือสหพันธ์ และรัฐบาลแห่งรัฐ ึ่งการจัดระบบราชการต่างรองรับโครงสร้างข้างต้นในส่วนกลางมีกระทรวงต่างๆ ทั้งหมด 24 กระทรวง ในระดับสหพันธรัฐจะส่งตัวแทนของตนเข้าไปอยู่ประจำรัฐต่างๆ เพราะโครงสร้างการบริหารงานในแต่ละรัฐจะมีกระทรวงที่เลี่ยนแบบโครงสร้างการปกครองระดับชาติ ทั้งนี้เพื่อให้ตวแทนจากสหพันธ์คอยให้คำปรึกษาแนะนำ เป็นสื่อกลางระหว่งรัฐบาล มลนรัฐ และรัฐบาลแห่งสหพันธ์การมีโครงสร้างในการแบ่งกระทรวงที่ถอดแบบมาจากส่วนกลางนี้เป็นเครื่องมือในการควบคุมการดำเนินงานให้เป้นไปตามนโยบายของรฐบาลแห่งสหพันธ์ โครงสร้างข้าราชการั้งแต่ระดดับปลัดกระทรวง อธิบดีกรม ผุ้อำนวยการกอง ฯลฯ ทั้งในระดับสหพันธรัฐหรือระดับรัฐต่างถูกกำหนดบทบาทที่จะสนองนดยบายรัฐบาลในฐานะผุ้ปฏิบัติงานทั้งสิ้น
นอกจากนี้การบริหารสวนกลางได้สั่งการและมอบนโยบายการปฏิบัติงาน ให้การบริการส่วนภูมิภาค ที่ข้าราชการได้รับการแต่งตั้งจากสวนกลางไปบริหารตั้งแต่ระดับอำเภอ ระดับตำบล และระดับหมู่บ้าน ซึ่งจะเห็นได้ว่าโครงสร้างระบบราชการของประเทศมาเลเซียเข้มแข็.และมีอิทิพลถึงระดับชุมชน
การปฏิรูประบบราชการในระดับโครงสร้างที่สำคัญ คือ การจัดตั้งกระทรวงพัฒนาแห่งชาติและชนบท เพื่อทำหน้าที่ในการประสานงานและพัฒนา รวมทั้งผลักดันและเร่งรัดพัฒนา ตลอดจนจัดทำ "สมุดปกแดง"อันเป็นที่มาของแผนพัฒนาประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการปฏิรูประบบราชการในช่วงเริ่มแรกก็คือการพัฒนาและอบรมเจ้าหน้าที่ให้สอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนาประเทศ เพื่อมีข้าราชการพลเรือนที่ก้าวหน้า,มีประสิทธิภาพ มีความสามารถ, และประหยัดพัฒนนาข้าราชการให้มีความชำนาญ และมีความสามารถที่ยั่งยืนทันกับควมก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ วิชาชีพ และวิชาการ ตลอดจนความก้ายหน้าด้านการจัดการทั้งภายในและภายนอกราชการ มีกาเข้าออกของเจ้าหน้าที่น้อยที่สุด มีการบริหารการฝึกอบรมที่เป้นแบบเดี่ยวกันทั้งระบบ โดยให้สอดคล้องกับนดยบายของรัฐบาล มีการปฏิบัติต่อข้าราชการพลเรือนอย่างยุติธรรมและสม่ำเสมอในเรื่องการฝึกอบรม..
ในปี พ.ศ. 2523 รัฐบาลได้ปรับนโยบายโดยการผลักดันให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนามากยิ่งขึ้น ดดยอดีตนายกรัฐมนตรีมหาธีร์ มูฮัมหมัด ได้แระกาศแนวคิดที่จะให้มีการร่วมมือกันในรูปของ "บริษัทมาเลเซีย" เพื่อเร่งรัดการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
ในปี พ.ศ. 2539 ประเทศมาเลเซียได้มีการปฏิรูปราชการอีกครั้ง นโยบายแห่งขาตินี้จะเน้นการปฏิรูปภาคราชการในเรื่องการปฏิรูปการจัดระบบการบริหารและการจัดการภาคราชการ และเรื่องการปฏิรูปการจัดการระบบการให้บริการแก่ประชาชน จุดมุ่งหมายในการปฏิรูปภาคราชการครั้งนี้ เพื่อที่จะเผชิญความท้าทายกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
รัฐบาลปัจจุบันที่นำโดย นายกรัฐมนตรี นาจิบ ราซัค ได้ำเนินนโยบายสานต่อวิสัยทัศน์ อย่างต่อเนื่อง เืพ่อให้มาเลเซียเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วในปี พ.ศ. 2563 ให้สำเร็จ
- ระบบการบริาหราชการของ สหพันธรัฐ มาเลเซีย, สภาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น