วันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ASEAN + 3,

                กรอบความร่วมมืออาเซียน + 3 (จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี)  เริ่มต้นเมื่ปี 2540 (1997) ในช่วงเกิดวิกฤตการเงินในภูมิภาคเอเชียตะวันออกโดยผุ้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนและผู้นำของจีน ญี่ปุ่น และสาะารณรัฐเกาหลี ได้พบหารือเป็นตรั้งแรกที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อเดือน ธันวาคม 2540 และหลังจากนั้นได้มีการจัดประชุมสุดยอดอาเซียน+ 3 เรือยมาปัจจุบันความร่วมมือาเซียน +3 ครอบคลุมเกือบ 20 สาขา และมีแากรประชุมระดับต่างๆ กว่า 60 กรอบ
             เพื่อกำหนดแนวทางความสัมพันธ์ระหว่างกัน ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน +3 ครั้งที่ 3 เมื่อปี 2542(1999) ได้ออกแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือเอเชียตะวันออก และจัดตั้งกลุ่มวิสัยทัศน์เอเชียตะวันออก รุ่นที่ 1 เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ความร่วมมือในเอเชียตะวันออกโดยในปี 2544(2001) EAVG I ได้มีข้อเสอนให้จัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออก East Asian community-EAc2) และกำหนดมาตรการความร่วมมือด้านต่างๆ กว่า 57 สาขา เพื่อนำปสู่การจัดตั้ง EAcในอนาคต
             ในการประชุมสุดยอดอาเซียน+ 3 ซึ่งกำหนดให้การจัดตั้งประชาคมเอเซียตะวันออกเป็นเป้าหมายระยะยาว และให้กรอบอาเซียน +3 ครั้งที่ 9 ในปี 2548 ผุ้นำได้รับรองปฏญญากัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยการประชุมสุดยอดอาเซียน+3 ซึ่งกำหนดให้การจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออกเป็นเเป้าหมายระยะยาว และให้กรอบอาเซียน +3 เป็นกลไกหลักเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว นอกจากนี้ในโอกาสครบรอบ 10 ปีของความร่วมมืออาเซียน+3 ในปี 2550 ได้มีการออกแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือเอเชียตะวันออก ฉบับที่ 2 และแผนงานความร่วมมือาเซียน +3 (ฉบับปี 2550-2560) ซึ่งกำหนดแนวทางดำเนินความร่วมมือตามแถลงการณ์ฯซึ่งได้มีการัีบรองแผนฉบับปรับปรุงเมื่อปี 2556
            ในการประชุมสุดยอดอาเซียน + 3 สมัยพิเศษฉลองครอบรอบ 15 ปีของความสัมพันธ์ เมื่อปี 2555 ได้มีการรับรองรายงานของกลุ่มวิสัยทัศน์เอเชียตะวัยออก รุ่นที่ 2 ที่จัดตั้งขึ้นในปี 2554 โดยกำหนดมาตรการส่งเสริมความร่วมมือกว่า 25 สาขา โดยตั้งเป้าหมายในการเป็นประชาคมเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกในปี 2563 เพื่อปูทางสู่การเป็นประชาคมเอเชียประชาคมเอชียตะวันออกในอนาคต
            กลไกความร่วมมือาเซียน +3
            กลไกการดำเนินความสัมพันธ์ในภาพรวมของอาเซียน +3 แบ่งออกเป็ฯ 3 ระดับใหญ่ ได้แก่ การประชุมสุดยอดผุ้นำอาเซียน +3 ASEAN  +3 Summit ซึ่งจัดขึ้นในช่วงเดียวกับการประชุมสุดยอดอาเซียนในช่วงปลายปีของทุกปี, การประชุมรัฐมนตรีต่างประทเศอาเซียน +3 ASEAN Post Ministerial Conference-PMC ในช่วงครึ่งหลังของทุกปี, การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน +3 การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน +3 ในช่วงกลางปีของทุกปี
         
ภาพความร่วมมืออาเซียน +3
            - ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง กลไกหลักคือการประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสามาและการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนบวกสาม โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมความร่วมมือ ความไว้เนื้อเชื่อใจ และรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค, อาชญากรรมข้ามชาติ กลไกหลักคือ APT Ministerial Meeting on Transnation Crime (AMMTC+3) และ APT Serior Officials Meeting on Transnational Crime (SOMTC+3) ที่มีการประชุมทุก 2 ปี โดยล่าสุด การประชุมครั้งที่ 6 จัดขึ้นที่เวียงจันทน์ เมื่อเดือน ก.ย. 2566 โดยมุ่งเน้นการดำเนินกิจกรรมต่างๆ อาทิการจัดสัมมนา การฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมศักยภาพเจ้าหน้าที่ และการบังคับใข้กฎหมาย
           - ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ในปี 2556 อาเซียนกับประเทศ +3 มีมูลค่าการต้าระหว่างกัน 726,400 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ(28.9%ของปริมาณการต้าของอาเซียน) โดยเพ่ิมขึ้นจากปีก่อน 1.8% นอกจากนี้ มูลค่าการลงทุนโดยตรงจากประเทศ +3 เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 35,100 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ (28.7% ของการลงทุนทั้งหมดในอาเซียน) โดยเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 13.6%
               การเงิน กลไกหลักคือการปรุชมรัญฐมนตรีคลังและผุ้ว่าธนาคารกลางอาเวียน +3..
               การท่องเทียว กลไกหลักคือ ASEAN Plus Tree Tourism Minister Meeting (M-ATM+3)โดยในปี 2013 มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางมาในภูมิภาคอาเซียน +3 จำนวนทั้งสิ้นท 230 ล้านคน ซึ่งเพ่ิมขึ้นจากเดิม 4.37% โดยมีความร่วมมือที่มุ่งสงสเริมศักยภาพของบุคลากร การตลาดร่วม และส่งเสริมการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ
               การเกษตร กลไกหลักคือ ASEAN Minister on Agriculture Meeting with Plus Three Countries(AMAF+3) โดยมีการประชุมล่าสุดครั้งที่ 14 ที่กรุงเนปิดอว์ ในปี 2557 โดยมุ่งเน้นสาขาความมั่นคงทางอาหารและพลังงานชีวภาพ การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การจัการป่าไม้อย่างยั่งยืน และการวิจัยและพัฒนาด้านการเกษตร โดยที่ประชุมสุดยอดอาเซียน+3 ครั้งที่ 12 เมื่อปี 2552 ที่อำเภอชะอำ หัวหิน ได้รับรอง..เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาเหารและพลังงาน รวมถึงจัดตั้งองค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียน +3 ซึ่งได้มีการลงนามความตกลงจัดตั้ง APTERR และมีผลบังคับใช้ตังแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2555(2012) ทั้งนี้ สำนักเลขาุการ APTERR มีที่ตั้งอยุ่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีนายวิโรจน์แสงบางกา เป็นผุ้อำนวยการสำนกงานเลขานุการฯ
               พลังงาน กลไกหลักคือ APT Minister on Energy Meeting (AMEM+3) โดยล่าสุดมีการประชุมครั้งที่ 121 ที่เวียงจันทน์ เมื่อปี 2557 (2014) โดยมุ่งเน้นกิจกรรมเวทีสมัมมาในสาขาต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ ตลาดน้ำมัน ความมั่นคงทางพลังงาน พลังงานทดอทนและการประหยัดพลังงานโดยเน้นสร้างศักยภาพ แลกเปลี่ยนข้อมูล
               - ความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรม
                ด้านการศึกษา กลไกหลักคือ APT Education Minister Meeting (APT-EMM) โดยมีการประชุมครั้งล่าสุดเป็นครั้งที่ 2 ที่กรุงเวียงจันทน์ เมื่อเดือน ก.ย. 2557 โดยมี ASEAN Plus Three Plan of Action on Education (2010-2017) เพื่อกำหนดแนวทางการส่งเสริมความร่วมมือ โดยมุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนและการประกันคุณภาพหลักสุตร
                ด้านวัฒนธรรม กลไกหลักคือ APT Minister Responsible for Culture and Arts (AMCA+3) โดยการประชุมครั้งล่าสุดจัดขึ้นที่เมืองเว้ เมื่อเดอืน เมษายน 2557 โดยมี Work Plan on Enhancing APT Cooperation in Culture กำหนดแนวทางความร่วมือ โดยมุ่งเน้นการดำเนินนโยบายด้านวัมฯธรรมและศิลปะการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทรดกทางวัฒนธรรม และการพัฒนา SMEs และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
             
 ด้านสิ่งแวดล้อม กลไกหลักคือ ASEAN Plus Three Enviroment (APTHMM) โดยมีการประชุมครั้งล่าสุดที่กรุงเวียงจันทน์ เมื่อเดือน ตุลาคม 2014 โดยมุ่งเน้นด้านสิ่งแวดล้อม การพัฒนาอย่างยั้งยืน การบริหารจัดการน้ำ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
               ด้านสาธารณะสุข กลไกหลักคือ ATP Healt Ministers Meeting(APTHMM)โดยมีการประชุมครั้งล่าสุดเป็นครั้งที่ 7 เมื่อเดือน ก.ย. 2557(2014) ที่กรงุฮานอย โดยมุ่งเน้นความร่วมมือเรื่องยาแผนโบราณสุขภาพแม่และเด็ก หลักประกันสุขภาพถ้วยหน้าและการรับมือโรคติดต่อและโรคระบาดอุบัติใหม่ ซึ่งล่าสุดไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนบวกสาม สมัยพิเศษ เรื่องการเตรียมความพร้อมและการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา เมื่อ ปี 2557(2014)
               ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและประชาสังคม มีกลไกหารือหลักระหวางประเทศอาเซียน+3 สองกลไกได้แก่ Network of East Asia Think Tanks (NEAT) ซึ่งกลไกหารือระหว่างภาควิชาการในประเทศอาเซียน + 3 และ East Asia Forum (EAF) ซึ่งเป็นกลไกระว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและภาควิชาการ
               กองทุนความร่วมมืออาเซียน +3 ASEAN Plus Three Cooperation Fund-APTCF จัดตั้งขึ้นเมื่อ เมษายน 2552(2009) เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการและกิจกรรมต่างๆ ในกรอบอาเซียน +3 โดยมีเงินทุนเริ่มต้น 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยใช้อัตราส่วนการสมทบ 3:3:3:1(จีน : ญี่ปุ่น : กลต. : อาเซียน)..(บทความ "กรอบความร่วมมืออาเซียน +3 จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี)
               


วันอาทิตย์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2560

ASEAN-Korea Free Trad Agreement : AKFTA

             เขตการต้าเสรีอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ลงนาม 27 กุมภาพันธ์ 2552(2009) เร่ิมลดภาษี 1 มกราคม 2553(2010) ลดภาษีเป็น 0
            ในการประชุมผุ้นำอาเซียน-เกาหลี เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2003 อาเซียนและเกาหลีเป็นชอบให้จัดตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญร่วมเพื่อศึกษาการขยายความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาระหว่างอาเซียนและเกาหลี ซึ่งรวมถึงการศึกษาควมเป้ฯไปได้ในการจัดทำเขตการต้าเสรี และกลุ่มผุ้เชียวชาญได้สรุปผลการศึกษาว่า การจัดทำเขตการต้าเสรีระหว่างอาเซียนและเกาหลีจะเพิ่มมูลค่าการต้าและการลงทุนระหว่างกัน รวมทั้งส่งผลดีต่ออาเซียนและเกาหลีในด้านอื่นๆ ด้วยในการประชุมผุ้นำอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2004 ณ กรุงเวียนจันทน์ สาธารณรับประชาธปิปตยประชาชนลาว ผุ้นำอาเซียนและเกาหลีเห็นขอบให้เร่ิมการเจรจาจัดทำความตคกลงเขชตกาต้าเสรีอาเซียน-เกาหลี ในช่วงต้นปี 2005 และกำหนดให้สรุปผลเจรจาภายใน 2 ปี โดยการเจรจาจะครอบคลุมการเปิดเสรีการต้าสินค้า การต้าบริการ การลงทุน และความร่วมมือทางเศราฐกิจภายในภูมิภาคอาเซียน-เกาหลี
           กลไกการดำเนินการ
           -จัดตั้งคณะเจรจาการต้าเสรี เป็นเวที่หารือระหว่างอาเซียนและเกาหลี และจัดตั้ง ASEAN Trade Negotiating Group (TNG) เป็นเวทีประชุมหารือระหว่างสมาชิกอาเซียน โดยมีสิงคโปร์เป็นประธารฝ่ายอาเซียน
           - กำหนดกรอบและเงื่อนไขของการเจรจาการเปิดตลาดสินค้าทั้งในกลุ่มลดภาษีปกติ และกลุ่มสินค้าอ่อนไหว/สินค้าอ่อนไหวสูง
           - จัดตั้งคณะทำงานด้านต่างๆ เพื่อยกร่างกรอบความร่วมมือทางเศณษฐกิจ ภาคผนวกที่เกี่ยวข้อง และความตกลงต่างๆ
           - จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ASEAN-Korea FTA Implementing Committee : AKFTA-IC เพื่อติดตามและดูแลการปฏิบัติตามพันธกรณีความตกลงต่างๆ ที่จัดทำขึ้นภายใต้เขตการต้าเสรีอาเซียน- เกาหลี
         คณะเจรจาการต้าเสรีอาเซียน-เกาหลีสามารถสรุปกรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลี, ความตกลงว่าด้วยกลไกการระงับข้อพิพาท, และได้ลงนามในการประชุมสุดยอดอาเซียน-เกาหลี ครั้งที่ 9 เดือนธันวาคม 2005 สำหรับความตกลงว่าด้วยการต้าสินค้า อาเซียน 9 ประเทศ ยกเวนไทย สามารถตกลงกับเกาหลีในความตกลงนี้ได้แล้ว และมีการลวนามเมือเดือนสิงคหาคม 2006 โดยความตกลง TIG มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2007 ในส่วนของการเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการ นั้นอาเซียนและเกาหลี่สามารถบรรลุความตกลงได้แลว้ว ทัเ้งในเรื่องร่างข้อบทความตกลง ส่วนแนบท้ายว่าด้วยการบริการด้านการเงิน และตารางข้อผูกพันเฉพาะ ดโยทั้งสองฝ่าย ยกเว้นไทย ได้ลงนามความตกลงนี้ในระหว่างการประชุมผุ้นำอาเซียนเกาหลี เดือนพฤศจิกายน 2007 และมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2009 ณ โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน และไทยได้เริ่มใข้บังคับกรอบความตกลงฯ ความตกลงว่าด้วยกลไกการระงับข้อพิพาท และพิธีสารฯ เฉพาะในส่วนของความตกลงว่าด้วยการต้าบริการแล้วตั้งแต่วันที่1 มิถุนายน 2009 รวมมั้งได้บังคับใช้พิธีสารการเข้าเป้นภาีของไทยในความตกลงว่าด้วยการต้าสินค้าเมื่อวันที่ 1ตุลาคม 2009 ความตกลงว่าด้วยการลงทุนเป็นความตกลงฉบบสุดท้ายที่กำหนดให้มการเจรจาจัดทำภายใต้กรอบความตกลงฯ ทั้งสองฝ่ายใช้เวลาเจรจานานกว่า 3 ปี และสามารถบรรลุผลการเจรจาเมื่อเดือนเมษายน 2009 โดยรัฐมนตรีเศรษฐกิจของท้งสองฝ่ยได้ลงนามความตกลงนี้เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2009 ทั้งนี้ความตกลงจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 กันยายน 2009
              รัฐสภาเกาหลีให้ความเห็นชอบพิธีสารว่าด้วยการเข้าเป็นภาคีของไทยในความตกลงว่าด้วยสินค้าและพิธีสารว่าด้วยการเข้าเป็นภาคีของไทยใรคามตกลงว่าด้วยการบริการ เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2009 ทั้งนี้ความตกลงจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2009..(www.dtn.go.th/..เวทีการเจรจาการค้า,FTA อาเซียน-เกาหลีใต้)
            รูปแบบการลดภาษี
            - กลุ่มสินค้าปกติ เป็นกลุ่มสินค้าที่จะต้องลดภาณีลงเหลือร้อยละ 0 ภายใรระยะเวลาที่ได้ตกลงกันไว้โดยเริ่มลดภาษจาอัตราภาษีฐานในปี 2548(2005)
            - กลุ่มสินค้าอ่อนไหว กลุ่มสินค้าอ่อนไหวสำหรบอาเซียนและเกาหลีจะมีจำนวนไม่เกินร้อยละ 10 ของจำนวนรายการสินค้าและมูลค่าการนำเข้าจากอาเซียน/เกาหลีทั้งนี้ กลุ่มสินค้าอ่อนไหวจะแบ่งออกเป็นอีก  กลุ่มย่อย ได้แก่
              รายการสินค้าอ่อนไหว : เกาหลีและอาเซียน 6 จะต้องลดภาษีของสินค้ากลุ่มนีลงเหลือร้อยละ 0-5 ไม่ช้ากว่าวันที่ 1 มกราคม 2559(2016) โดยเวียดนามจะต้องลดภาษีลงไม่ช้ากว่าวันที่ 1 มกราคม 2564(2021) และกัมพูชาพม่า และลาวจะต้องลอภาษีลงไม่ช้ากว่าวันที่ 1 มตราคม 2567(2024)
             
 รายการสินค้าอ่อนไหวสุง : เกาหลีและอาเซียน 5 จะมีสินค้ากลุ่มนี้ได้ไม่เกินร้อยละ 3 ของจำนวนรายการสินค้าทั้งหมดและมูลค่าการนำเข้าจากอาเซียน/เกาหลี โดยไทยจะมีได้ไม่เกินร้อยละ 3 ของรายการสินค้าและไม่เกินร้อยละ 4 ของมูลค่าการนำเข้าจากเกาหลีเวียดนามจะมีได้ไม่เกินร้อยละ 3 ของรายการสินค้า และกัมพูชา พม่า และลาว จะมีสินค้าได้ไม่เกินร้อยละ 3 ของรายการสินค้า..
            - การลดภาษีต่างตอบแทนสำหรับสินค้าอ่อนไหว ในความตกลงว่าด้วยการต้าสินค้าระหว่างอาเซียน-เกาหลี ได้กำหนดข้อบทการลดภาษีต่างตอบแทนเช่นเดียวกับที่ปรากฎในความตกลงอาเซียน-จีนโดยอาเซียนและเกาหลีตกลงให้ประเทศผู้ส่งออกสามารถได้รับสิทธิการลดภาษีต่างตอบแทนสำหรับสินค้าอ่อนไหว เมื่ประเทศผุ้ส่งออกลดอัตราภาษีศุลการของสินค้าที่อยู่ในกลุ่มสินค้าอ่อนไหวลงเหลือร้อยละ 10 หรือต่ำกว่า โดยประเทศผุ้นำเข้าจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าสำหรัีบสินค้าดังกล่าวในอัตราตามที่กำหนดไว้ในตารางการลิภาษีของประเทศผุ้ส่งออก หรืออัตราที่กำหนดสำหรับสินค้ากลุ่มลดภาษีปกติของประเทศผุ้นำเข้าในพิกัดเดียวกัน ขึ้นอยุ่กับว่าอัตราใดสุงกว่าอย่างไรก็ตา อัตราดังกล่าวจะต้องไม่สูงกว่าอัตราที่เรียกเก็บทั่วไปของประเทศผุ้นำเข้า ยกเว้นสินค้าในกลุ่ม E ของายการสินค้าอ่อนไหวสุงจะไม่ได้รับสิทธิในกาลดภาษีต่างตอบแทน
             กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า สินค้านำเข้าที่จะห้รับสิทธิพิเศษทางภาษีอากรภายใต้ความตกลงฯจะต้องเป็นสินค้าที่ได้รับถิ่นกำเนิดสินค้าตามกฎเกณฑ์ของกฎว่าด้วยถ่ินกำเนิดสินค้าที่กำหนดไว้เท่านั้น
            สินึ้าที่ถือว่ามีถิ่นกำเนิดในประทเศามาชิก AKFTA จะต้องเป็นไปตามกฎดังนี้
             - เป็นสินค้าที่ผลิตหรือใช้วัตถุดิบทั้งหมดในประเทศผุ้ส่งออก หรือ
             - หากเป็นสินค้าไม่ได้ผลิตหรือใช้วัตถุดิบทั้งหมดในประเทศผุ้ส่งออกจะต้องเป็ฯสินค้าที่ผลติตามกฎเกณฑ์ทั่วไป โดยเป็นกฎทางเลือกระหว่าง สินค้าที่ผลิตในประทเศภาคี โดยมีสัดส่วนมุลค่าวัตถุดิบในประเทศภาคีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40, เป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศภาคีโดยมีการเปลี่ยนแปลงพิกัดอัตราศุลกากรในระดับ 4 หลัก
             - นอกจานี้ จะมีกฎเกณฑ์การได้ถ่ินกำเนิดเฉพาะสินค้า สำหรับสินค้าบางรายการ โดยสินค้ากลุ่มนี้ไม่สามารถได้ถิ่นกำเนิดตามกฎเกณฑ์ทัวไป ได้แก่ บางรายการของกลุ่มสินค้าเกษตร สินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และสินค้าอื่นๆ ทั้งนี้ การพิจารณราถิ่นกำเนิดสินคึ้ายังมีเกณฑ์ือ่นๆ อีก...
              หลักการเฉพาะเพื่อส่งเสริมการต้าภายใต้ความตกลง เนื่องจากากรต้าในปัจจุบันมีการซื้อขายโดยผ่านพ่อค้าคนกลาง หรือประเทศคนกลางที่มีสินค้าส่งผ่าน มากยิ่งขึ้นความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลี จึงกำหนดหลักการเพื่อส่งเริมการต้าแบบผ่านคนกลางดังนี้
  - การออกหนังสือรับรองถ่ินกำเนิดสินค้าแบบ Back-to-Back CO โดยทั่วไป สินค้าจะได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร จะต้องได้ถ่ินกำเนิดจาประเทศผู้ผลิต ตามกฎว่าด้วยถ่ินกำเนิด และมีหนังสือรับรองถ่ินกำเนิดสินค้า กำกับในการส่งออก พร้อมด้วยใบกำกับราคาสินค้า และเอกสารการขนส่ง เมื่อประเทศผุ้นำเข้าได้รับสินค้า จะตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารที่มาพร้อมกับสินค้า จึงจะได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรขาเข้า ในกรณีที่ประเทศผุ้นำเข้าต้องการส่งออกสินค้าที่นำเข้าจะไม่สามารถออกหนังสือรับรองฯได้อีก เนื่องจกาสินค้านั้นไม่ได้ผลิตภายในประเทศตน
             เมื่อการค้าในปัจจุบันมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไป คือ กาต้าตรงระหว่างผุ้ผลิตและผุ้ั่งซื้อ เร่ิมีพ่อค้าคนกลางเข้ามาเกี่ยวข้องโดยเป้นผุ้ประสานระหว่างผู้สั่งซื้อและผุ้ผลิต ดังนั้น ความตกลง AKFTA จึงออกแนวปฏิบัตเพื่อรองรับรูปแบบการต้าที่เปลี่ยนแปลงไปนี้โดยยอมให้ประเทศพ่อค้าคนกลางเหรือประเทศคนกลาวที่สินค้าส่งผ่าน สามารถออก Form AK ฉบับที่ 2 เพื่อกำกับสินค้าที่ส่งออกต่อ โดยต้องคงรายละเอียดในเรื่องถ่ินกำเนิดสินค้าเดิมสินคึ้าเดิมไว้ เรียกว่าเป็นการออกหนังสือรับรองสินค้า แบบ Back to Back ในการนี้ประเทศคนกลางที่สินค้าส่งผ่านสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมุลและราคา FOB ของสินค้าได้โดยประเทศคนกลางที่สินค้าส่งผ่านต้องเป็นสมาชิกในความตกลงเท่านั้น
              - หลักปฏิบัติในการส่งออกโดยใช้ Third Country Invoicing เป็นหลักการเพื่อสนับสนุนการต้าผ่านคนหลางเช่นกัน ตามกฎของหลักากรนี้ ผุ้ส่งออกส่งสินค้าจาประเทศผุ้ผลิต ตรงไปยังประเทศผุ้นำเข้าโดยไม่ผ่านประเทศคนกลาง(ประเทศที่สาม) แต่ผ่อนปรนให้ศุลกากรในประเทศผุ้นำเข้า สามารถยอมรับเอกสารใบกำกับสินค้า ที่ออกโดยประทเศที่ 3 โดยราคา FOB ในใบกำกับสินค้าฉบับ Third Country อาจแตกต่างจากที่ระบุใน Foam AK ของสินค้านำเข้านั้นได้
              - ความแตกต่างระหว่าง Back to Back CO และ Third Country Invocing ประเด็นที่ Third Country Invoicing เหมือนกับ Back to Back คือ ประเทศผุ้นำเข้าปลายทางต่างไม่รู้ราคาต้นทุนสินค้าที่ขายจากประเทศผุ้สงออกเนื่องจากประเทศคนกลางสามารถปลี่ยนราคาสินคค้าใน ฟอร์ม ได้แต่ประเด็นที่แตกต่างกันคือ ฺBack to Back ประเทศคนกลางต้องเป็นประเทศในภาคีความตกลง แต่ Third Country Invoicing ประเทศคนกลางอาจอยุ่ในหรือนอกความตกลงก็ได้...(คุ่มือการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้ความตกลง อาเซียน-เกาหลี)
               การจัดทำความตกลง FTA อาเซียน-เกาหลีใต้ คาดว่าจะช่วยให้สินค้าส่งออกของอาเซียนรวมทั้งไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคาที่ดีขึ้นในเกาหลีใต้ โดยเฉพาะการแข่งขันกับสินค้าราคาถูกจากจีนที่แย่งส่วนแบ่งตลาอของอาเซียนในเกาหลีใต้ในช่วงที่ผ่านมา(2545-2549) และคาดว่าจะส่งผลให้ส่วนแบ่งตลาดสินค้าของอาเวียนในเกาหลีใต้เพิ่มขึ้น เนื่องจากภายใต้ความตกลง FTA อาเวียน-เกาหลีใต้ เกาหลีใต้ต้องยกเลิกภาษีศุลกากรสินค้าในสัดส่วนร้อยละ 90 ของรายการสินค้าทั้งหมดที่เกาหลีใต้นำเข้าจากอาเซียนภายในปี 2553 สำหรับไทย ผุ้ประกอบการไทยควรเร่งเตรียมความพร้มเพื่อใช้ประโยชน์จากความตกลง FTA อาเซียน-เกาหลีใต้ ซึ่งการเจรจาเปิดตลาดสินค้าระหว่างไทยกับเกาหลีใจ้ได้ข้อยุติแล้ว คาดว่าจะเริ่มลดภาษีภายใต้ FTA ได้ภายในปี 2551 หลังจากที่อาเวียนอื่นๆ เร่ิมใ้ประโยชน์จากการเปิดตลาดของเกาหลีใต้ภายใต้ FTA ไปก่อนแล้วในช่วงกลางปี 2550
              ด้านการลงทุนของเกาหลีใต้ในอาเซียน การลงทุนโดยตรงของเากหลีใต้ในอาเวียนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยที่สนับสนุนที่สำคัญ ได้แก่
               - สิทธิประโยชน์ด้านภาษีศุลกากรสำหรับการต้าภายในอาเวียนตมความตกลงเขตการต้าเสรีอาเซียน ที่ทำให้เกาหลีใต้เล็งเห็นถึงผลดีของแารเข้ามาลงทุนในอาเวียน และสามารถนำเข้าวัตถุดิบหรือส่วนประกอบจากอีกประเทศอาเซียนหนึ่งได้โดยเสียภาษีในอัตราที่ต่ำ ภายใต้กรอบ AFTA
               - การเปิดเสรีด้านกาต้าสินค้าและภาคบริการในกรอบความตกลง FTA อาเซียน-เกาหลีใต้ ที่ส่งผลให้การนำเข้าวัตถุดิบ/กึ่งสำเร็จรูปและสินค้าทุนจากเกาหลีใต้เขาอาเวียนมีอัตราภาษีต่ำลงภายใต้การเปิดเสรีด้านสินค้าระหว่างอาเซียนกับเกาหลีได้นอกจากนี้ เกาหลีใต้สามารถขเ้าไปจัดตั้งฑุรกิจบริการในอาเซียนได้มากขึ้น เช่น บริการด้านการศึกษา สุขภาพ และท่องเที่ยว จากการลดกฎระเบียบ/เงือนไขของอาเซียนตามข้อตกลงเปิดเสรีภาคบริการระหว่างอาเซียนกับเหาหลีใต้..(www.kasikornresearch.com/..จับตาเกาหลีใต้ใช้ประโยชน์จาก FTA : ขยายการลงทุนในอาเซียน-ไทย,กระแสทรรศน์ฉบับที่ 2029)
             
           

วันเสาร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2560

ASEAN-India Free Trade Agreement : AIFTA

               อาเซียนและอินเดียได้ลงนามความตกลงการต้าเสรีอาเซียน-อินเดีย หรือ ASEAN-India Free Trade Agreement  เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2552 (2009) ที่กรุงเทพฯ การลงนามความตกลงดังกล่าวเป็นผลมาจากความพยายามในการเจรจาตั้งเขตการต้าเสรีอาเซียน-อินดเีย มายาวนานกว่า 6 ปี ตั้งแต่ปี 2545 และทั้งสองฝ่ายได้ลงนามกรอบความตกลงว่าด้วย ความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมด้านต่างๆ หรือ Framework Agreement on Comprehensive Economic Cooperation Agreement(CECA) เมื่อปี 2546 โดยภายใต้ความตกลงว่าด้วยการต้าสินค้า หรือ Agreement on Trade in Goods (TIG) มีผลให้อินเดียย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย เร่ิมลดภาษีตั้งแต่วันที่ 1 มกตรคม 2553(2010) และประเทสมาชิกอาเซียน 5 ประเทศได้แก่ บรูไน มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ไทย และอินเดียจะยกเลิกภาษีศุลการกรของสินค้าโดยรวมประมาณร้อยละ 80 ของรายการสินค้าภายในปี 2559 ขณะี่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียนอื่นๆ ได้กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม และอินเดียจะยกเลิกภาษีภายในปี ส่วน 2564 ประเทศฟิลิปปินส์และอินเดียจะยกเลิกภาษีภายในปี 2562 ฝ่ายไทยมอง่า อินเดียวเป็นประเทศี่มีศักยภาพด้านเศรษบกิจ และมีความสำคัญต่อภูมิภาคเอเซียเป็ฯอันดบที่สามรองจากญี่ปุ่นและจีน ด้วยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 7-8 ต่อปี ส่งผลให้ประชากรที่รายได้สูงขึ้นและเป็นตลาดผุ้บริโภคขนาดใหญ่ที่มี กำลังซื้ปานกลางถึงสูงรวมกว่า 350 ล้านค้น อินเดียจึงเป้นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพรองรับการสงออกของไทย ขณะที่ฝ่ายอินเดียมองฝา 10 ประเทศในอาเซียนถือเป็นกลุ่มประเทศที่ใกล้ชิดกับอินเดียใมากเป็นลำดับสอง รองจากประเทศในกลุ่มเอเชียใต้ แต่โดยที่กลุ่มประเทศเอเชียใต้ส่วนใหญ่จะมีพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่ช้า อินเดียจึงเล็งเห็นว่า จำเป็นที่ต้องมองไปทางฝั่งตะวันออก เพื่อกระชับความร่มมือทางเศรษฐกิจและการต้ากับกลุ่มอาเซียน จึงให้ความสำคัญกับนโยบาย Look East pOLICY
              การลงนามในความตคกลง TIG สำหรับอินเดียจึงมีความสำคัญต่ออินเดียอย่างยิ่ง และเปรีบเสมือนเป็นการสร้างเขตการต้าเสรีที่มีประชากรมากกว่า 1.8 ล้านคน และมี GDP รวมกันกว่า 2.8 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ และขณะนี้มีรายการสินค้ากว่า 4,000 รายการที่จะลดภาษีให้เหลือ 0 ภายในป ี 2559 (2016)
               เมื่อดูสถิติ จะพบว่า การต้าระหว่างอาเซียนกับอินเดียภายหลังการลงนมความตกลง TIG ได้เพ่ิมขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงมีมูลค่าและการเติบโตน้อยกว่าการต้าระหว่างอาเซียนกับจี อาเซียนกับฐี่ปุ่น และอาเซียนกับเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญ
               ในปี 2554 ภายหลังจากการลดภาษีตามความตกลง มูลค้าการต้าระหว่างอินเดียกับอาเียนเพ่ิมขึ้นจากปี 2542 ที่มีรวม 43,911.67 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพ่ิมขึ้นเป็น 56,235.85 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือขยายตัวสูงถึงร้อยละ 28 และได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนถึงปี 2557 มูลค่าการต้ารวมอาเซียน-อินเดีย มีสูงถึง 76,527.35 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
                จากสถิติการต้าทั้งในส่วนของการนำเข้าและส่งออกระหว่างอินเดียกับอาเซียนมีเพ่ิมขึ้นโดยตลาอยกเว้นในปี 2555(2012) ที่การส่งออกของอินเดียไปยังอเซียนมีการเติบโตที่ติดลบ สินค้าส่วนใหญ่ที่อินเดียได้ประโยชน์จาก TIG คือ การส่งออกสินค้าทางด้านวิสวกรรม เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องจักร อุตสาหกรรม และผลิตภัฒฑ์พวกแร่โลหะต่างๆ ไปยังอาเซียน
                อย่างไรก็ดี อินเดียมองว่า ในการทำการต้าระหว่างอินเดียกับอาเซียน ยังคงมีอุปสรรคทงการต้าที่ไม่ใช้มาตรการทางภาษี อื่นๆ ในโดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุปสรรคทางเทคนิค เช่น มาตรฐานสินค้า มาตรฐานการผลิต สินค้า การตรวจสอบสินค้า และอุปสรรคด้านอื่นๆ เชน การจำกัดโควต้า การนอเข้สสินค้า เช่น  กรณีของสินค้าเวชภัฒฑ์และการห้ามนำเข้า เช่น สิงคโปร์และอินโดนีเซีย ไ้ามนำเข้าเนื้อสัตว์ จากอินเดีย เป็นต้น
               นอกจากนี้ พ่อค้าอินเดียยังมอง่า รัฐบาลอินเดียยังไม่ได้ให้การสนับสนุนการส่งออกอย่างจริงจั แลมองว่า กระบวนการส่งออกจากอินเดียใช้เวลายาวนาน และเสียเงินและเสียเวลาค่อนข้องมาก อีกทั้งยังต้องมีสินบนให้กับเจ้าหน้าที่ของอินเดีย อีกทั้งโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนนหนทางและระบบโลจิสตอกส์ของอินเดียยังไม่ดีพอ รวมถึงรัฐบาลยังมีนโยบายที่เปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ ซึ่งล้วนส่งผลต่อต้นทุนการส่งออกของพ่อค้าอินเดีย
หากพิจารณาดูความเคลือนไหวของอินเดียในระยะนี้ จะพบว่า อินเดียมีได้มองเฉพาะการต้าระหว่งอินเดียกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น แต่กำลังพยายามที่จะชเื่อมโยการต้าของอินเดียเข้ากับกลุ่มทางเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น ความตกลงพันธมิตรทางกาต้าระดับภุมิภาค, ความตกลงหุ้นสวนทางเศณษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก โดยอินเดียมองว่าจะใช้ประโยชน์จกประเทศอาเซียนที่เป็นสมาชิก TPP ได้อย่างไร และในสาขาใด
               รายงานข่าว ระบุว่า อินเดียเป็นประเทศที่ประกาศจะสนับสนุนให้ผุ้ประกอบการอินเดียไปลงทุนธุรกิจ สิ่งทอในเวียดนามด้วยการเสนอสิทธิพิเศษ ทั้งด้านการเงินและด้านการสร้างนิคมอุตสาหกรรม ดดยการลงทุนดังกล่าวจะทำให้ได้สิทธิประโยชน์ในกานส่งออกสินค้าไปขายในประเทศสมาชิก ของ TPP ที่มีมุลค่าคิดเป็นสัดส่วนสุงถึงร้อยละ 40 ของการค้าโลก
              อย่างไรก็ดี  อินเดียบังเป้ฯประเทที่ยังไม่เข้าร่วม TPP โดยประเมินว่า อินเดียจะประสบปัญหาทางการต้าหลายประการ หากตัดสินใจเข้าร่วมความตกลง TPP โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเด็นเรื่องิทธิบัตรยา เนื่องจากจะทำให้ยาในอินเดียมีราคาเพ่ิมสูงขึ้นอย่างมาก และส่งผลกระทบต่อประชากรอินเดียในกลุ่มผุ้มีรายได้น้อยและปานกลางอย่างรุนแรง..(www.thaiembassy.org/.."เหลียวมองการค้าระหว่างอินเดียกับอาเซียน)
             ประเทศสมาชิกอาเวียนและอินเดีย ได้ลงนามกรอบความตกลงว่าด้วยควาร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมด้านต่างๆ ระหว่างอาเซียน กับ อินเดีย ซึ่งครอบคลุมการลดและยกเลิกภาษีศุลกากรมาตรการและอุปสรรคที่มิใช่ภาษี การเปิดเสรีการต้าบริการ การลงทุน และการจัดทำกลไกระงับข้อพิพาท รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือในการอำนวยความสะดวกทางการ้าและด้านอื่นๆ
             การเจรจาจัดทำความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าระหว่างอาเซยนและอินเดียได้บรรลุข้อตกลงการลดและยกเลิกภาษีศุลกากรเสร็จสิ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 สำหรับประเทศไทยความตกลงดังกล่าวเร่ิมมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2553
             สาระสำคัญของการความตกลงการต้าเสรีอาเซียน-อินเดีย
             - การลดและยกเลิกภาษีศุลกากร ประเทศสมาชิกาอเว๊ยนและอินเดียจะทยอยลด/ยกเลิกภา๊ศุลกากรตามตารางข้อผูกพันภาษี ภายใต้ความตกลง AIFTA ภมยในกำหนดเวลาที่ต่างกันโดยประเทสมาชิกใหม่ของอาเซียน (ลาว กัมพูชา เวียนนาม และพม่า)จะได้รับความยืดหยุ่นให้ลดภาีชข้ากว่าประเทศอินเดีย บรูไน มาเลิซีย สิงคโปร์ และไทยเป็นระยะเวลาห้าปี ส่วนอินเดียกับฟิลิปปินส์จะลดภาษีให้แก่กันช้ากว่าที่อินเดียลดภาษีให้กับประเทศสมาชิกอื่นอย่างน้อยเป็นเวลาสามปี ซึ่งแต่ละประเทสจะทยอยลดภาษีจากอัตราภาษีเรียกเก็ฐจริง ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2550
             - กฎว่าด้วยถิ่นกำเนินสิค้า หัวใจสำคัญของการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้า คือ กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า ซึงเป้ฯหลักเกณฑ์ในการตัดสิน หรือ ใช้สำหรับพิสูจน์ว่าสินค้าส่งออกมีสัญชาติหรือถ่ินกำเนิดภายในกลุ่มประเทศอาเซียนและอินเดีย เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสินค้ากำเนิดภายในุ่มประเทศอาเวียนและอินเดีย เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสินค้าที่จะได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรภายใต้ AIFTA จะต้องเป็นสินค้าที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศภาคีเท่านั้น
              - ระเบียบปฏิบัตเกี่ยวกับหนังสือรับรองถ่ินกำเนิดสินค้า ภายใต้เขตการต้าเสรีอาเซียน-อินเดีย AIFTA ในการส่งออกสินค้าที่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรภายใต้ความตกลงการต้าาเสรีอาเซียน-อินเดีย AIFTA ผุ้ส่งออกเหรือผุแทนที่ได้รับมอบอำนาจจะต้องยื่นคของรับหนังสือรับรองถิ่นกำเนิด ฟอร์ม AI ซึ่งออกโดยกรมการต้าต่งประเทศ เพื่อส่งให้ผุ้นำเข้าขอใช้สิทธิลดหย่อน หรือยกเว้นภาษีศุลกากร ณ ประเทศปลายทาง นอกจานี้ ยังเป้นเอกสารที่ใช้พิสูจน์ว่าสินค้าที่จะส่งออกดังกล่าวมีการผลิตได้ถูกต้องตามกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าภายใต้ความตกลงฯ
              อย่างไรก็ดี ผุ้ส่งออกและ/หรือผุ้ผลิต ซึ่งมีสิทธิได้รับสิทธิพิเศษทางภษีศุลกากรจะต้องยนคำร้องเป็นลายลักษณ์อักษรต่อหน่วยงานที่มีอภนาจในการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าของประเทศภาคีผุ้สงออกเพื่อขอให้มีการตรวจสอบถ่ินกำเนิดสินค้าของผลิตถัณฑ์ก่อนการส่งออก ให้ถือว่าผลของการตรวจสอบเป็นหลักฐานสนับสนุในการตรวจสอบถิ่นกำเนิสินค้าของผลิตภัฒฑ์ดังกล่วเพื่อากรส่งออกหลังจากนั้น โดยจะมีการตรวจสอบเป็นคราวๆ ไปหรือเมื่อมีความเหมาสม การตรวจสอบก่อนการส่งออกไม่นำไปใช้กับผลิตภัณฑ์ที่โดยลักษณะแล้วสมารถตรวจสอบถิ่นกำเนิดสินค้าได้โดยง่าย...(คู่มือารใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้ความตกลงอาเซียน-อินเดีย)

วันศุกร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2560

๋Joint Commitee on ASEAN-EU FTA

             ความตกลงการต้าเสรีอาเซียนและสหภาพยุโรป การต้าและการลงทุนระหว่างอาเซียนและสหภาพยุโรปนั้นมีอยุ่อย่างมีนัยสำคัญ โดยพบว่าในปี 2013 มูลค่าการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 คิดเป็น 246.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ การส่งออกของอาเซียนไปยังสหภาพยุโรปคิดเป็น 124.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 0.4 จากปีก่อนหน้าและสหภาพยุโรปเป็นคู่ค้าที่ใหญ่เป็นอันดับ 3ของอาเซียน ด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ จาสหภาพยุโรปมายังอาเวียนเพ่ิมขึ้นร้อยละ 53.2 คิดเป็น 26.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งยังคงเป็นแหล่เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุด ด้วยส่วนแบ่งร้อยละ 22.3
            ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนและสหภาพยุโรปมีพัฒนาการขึ้นอย่างเป็ฯลำดับ จนเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2007 ณ ประเทศบรูไนฯรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและกรรมาธิการการต้ายุโรปได้มีการประกาศเจตนารมณ์จัดทำความตกลงการต้าเสรีระหว่างอาเซียนและสหภาพยุโรป โดยในกระบวนการเจรจาได้มีการตกลงให้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมจัดทำความตกลงการต้าเสรีอาเซีบยนและสหภาพยุโรป เพื่อมีหน้าที่กำหนดรายละเอียดรูปแบบการเจรจากรอบการเจรจา และระยะเวลาการเจรจา ซ่งต่อมาคณะกรรมการร่วมฯ ได้ตั้งเป้าหมายการเจรจาให้สำเร็จภายใน 2-3 ปี โดยกำหนดให้มีการเจรจาปีละ 4 ครั้ง มีคณะกรรมการร่วมฯ เป็นกลุ่มเจรจาหลัก อีกท้ั้งมีคณะทำงานและกลุ่มเจรจาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งนี้สหภาพยุโรปได้เสนอที่จะให้ความช่วยเหลือโดยการจัดสมัมนาหรือประชุมเชิงปฏิบัตการเพื่อให้ความรู้แก่คณะเจรจาอาเซียนเกี่ยวกับการเจรจาในด้านต่างๆ เป็นเวลา 2-3 วันก่อนการประชุมแต่ละรอบ ในการเจรจาการจัดทำความตกลงการต้าเสรีอาเซียนและสหภาพยุโรป สามารถสรุปปัญหาอุปสรรคและโอกาสในการเจรจาบางประการ คือ
              1) กลไกการตัดสินใจของอาเซียนในระบบฉันทามติคือทุกประเทศต้องเห็นพ้องทั้งหมด ดังนั้น ในการเจรจาจัดทำ FTA โดยใช้กลไกการตัดสินใจเช่นนี้อาจทำให้การหาข้อสรุปในแต่ละประเด็นใช้เวลานาน
               2) การพัฒนาไปสู่การเป็นตลาดเดียวของอาเซียนมีการดำเนินการค่อนข้างช้า เนื่องจากมีประเด็นสำคัญต่างๆ ที่ต้องพิจาณา ได้แก่การผ่านพิธีการศุลกากรแบบหน้าต่างเดียว กฎว่าด้วยแหล่งกำเนินสินค้า ซึ่งล้วนมีความแตกต่างกันในหลายประเทศ
               3) ทัศนคติอขงประเทศสมาชิกอาเว๊ยนที่ยังคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศมากกว่าประโยชน์ของอาเซียนทั้งภูมิภาค
               4) ปัจจุบันประเทศสมชิกอาเซียน 3 ประเทศ ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีภายใต้โครงการ Everything but Arms ได้แก่ ลาว กัมพูชา และเมียนมาร์ จึงอาจทำหใ้ประเทศเหล่นี้รู้สึกว่าการทำ FTA ในครั้งนี้ไม่เป้นประโยชน์ต่อตนเองมากนัก และยังเปนการเปิดโอากสให้ประเทศสมาชิกอาเชียนอื่นๆ ได้รับการลดภาษีลงด้วย
               5) เนื่องจกาสินค้าของอาเซียนที่งไปจำหน่ายในสหภาพยุโรปนั้นมีหลายประเทศผลิตสินค้าเหมือนกัน ดังนั้น เมื่อมีการทำ FTA กับสหภาพยุโรปแล้ว อาจจะทำให้เกิดการแข่งขันภายในอาเซียน ดังนั้นเพื่อป้องกันการแข่งขันเพื่อแบ่งตลาดระหว่างสมาชิกอาเซียน จึงควรมีการจัดสรรแบ่งงานกันทำให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
                โอกาศในการเจรจาความตกลงเขตการต้าเสรีอาเซียนและสหภาพยุโรป
                1) การทำ FTA ฉบับนี้ได้ทำควบคู่กับการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC ดังนั้น ภายหลังการจัดทำ PTA จะส่งผลให้อาเซียนและสหภาพยุโรปเป็นตลาดซึ่งมีประชากรรวม 1,000 ล้านคน เทียบเท่ากับตลาดจีน ดังนั้น การเตรยมตัวรับการเข้าสู่การเป็นตลาดจึงมีความสำคัญเป็นอน่วงยิ่ง
                2) เกิดการลดผลกระทบของการเบี่ยงเบนการต้า เนื่องจากเดิมที่สหภาพยุโรปได้จัดทำ FTA กับประเทศคุ่แข่งของอาเซียน ทำให้ศักยภาพการแข่งขันของอาเซียนในตลาดสหภาพยุโรปลดลง และเกิดการเบี่ยงเบนการต้าจากอาเซียนไปยังประเทศเหล่านั้น ทั้งนี้ การจัดทำ FTA ระหว่งอาเซียนและสหภาพยุโรปจะเป็นการช่วยลดความเบี่ยงเบนทางการค้าเหล่านั้นและทำให้อาเซียนสามาตถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งกับประเทศคุ่แขงเลห่นนั้นได้บนพื้นฐานเดียวกัน
              3) ปัจจุบันสหภาพยุโรปได้ขยายการลงทุนไปในจีนและอินเดียเป็นจำนวนมาก เนื่องจากตลาดของทั้งสองประเทศนั้นมีขนาดใหญ่ มีประชากรจำนวนมากการทำ FTA กับสหภาพยุโรปและการพัฒนาไปสูการเป็นตลาดเดียวของอาเซียจะเป้ฯแรงดึงดูดให้สหภาพยุโรปกลับมาขยยการบลงทุในอาเซียนมากขึ้น นอกจากนี้ เนื่องจากลงทุนในจีนยังคงมีปัญหาในเรื่องความคุ้มครองทรัพย์สินางปัญญา หากอาเซีนสามารถพัฒนาการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาให้มีมาตรฐานและทำให้สหภาพยุโรปเกิดความเชื่อถือจะเป็นโอกาสให้สหภาพยุโรปพิจารณาการลงทุนให้เอาเซียนเป็นฐานการผลิตสินคึ้าเทคโนโลยีสูงเพื่อส่งออกไปยังประเทศอื่นได้
               การประชุมคณกรรมการร่วมจัดทำความตกลงการต้าอาเวียนแลสหภาพยุโรป มีการประชุมทั้งสิ้น 7 ครั้ง ครั้งแรกจัดขึ้นในปี 2007 จนถึงครั้งที่ 7 ซึ่งจัดขึ้น ณ กรุง กัวลาลัมเปร์ ประเทศมาเลเซีย ทางฝ่ายอาเซียนมีนาย Tran Quoc Khanh จากเวียดนามเป็นประธาน และฝ่ายยุโรป มี นาย Phillip Meyer เป็นประธานร่วม โดยในที่ประชุมหัวหน้าคณะเจรจาของสหภาพยุโรปเจ้งว่าปัญหาสำคัญในการเจรจาความตกลงนี้คือ ควาแตกต่างในด้านระดับการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกันของประเทศสมาชิกอาเซียน และส่งผลให้เกิดปัญหาในประเด็นความต้องการแลการเปิดตลาดที่แตกต่างกัน อีกทั้งมีปญหาการเมืองระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับเมียนมา แต่เนื่องจากอาณัติและสหภาพยุโรปที่ได้รับความเห้นชอบให้เป็นการเจรจาระดับภูมิภาคต่องภูมิภาค ประะานเอาเวียนในขณะนั้นจึงแจ้งต่อสหภาพยุรปว่าควรยึดมั่นในหลักการดังกล่าว
              หากจะทำการเปลี่ยนแปลงแนวทางการเจรจาจะต้องเป็นการเจรจาระดับภูมิภาคต่องภุมิภาค ประธานอาเซียนในขณะนั้นจึงแจ้งต่อสหภาพยุโปรว่าควรยึดมั่นในหลักการดังกล่าว
               หากจะทำการเปลี่ยนแปลงแนวทางการเจรจาจะต้องเป็นการตัดสินใจในระดับรัฐมนตรี ซึ่งต่อมาจึงได้มีการเชิญรัฐมนตรีการต้าของสหภาพยุโรปว่าควรยึดมั่นในหลักการดังกล่าวหากจะทำการเปลี่ยนแปลงแนวทางการเจรจาจะต้องเป็นการตัดสินใจในระดับรัฐมนตรี ซึ่งต่อมาจึงได้มีการเชิญรัฐมนตรีการต้าของสหภาพยุโรปมาร่วมประชุมกับรัฐมนตรีอาเซียนในการประชุม AEM Retreat ระหว่างวันที่ 4-6 พฤษภาคม 2009 ทางสหภาพยุโรปได้มีการขอเจรจาในระดับทวิภาคีรายประเทศแทนระดับภุมิภาค โดยเร่ิมในปี 2010 สหภาพยุโรปได้มีการขอเจรจาแบบทวิภาีกับประเทศิงคโปร์ เวียนนาม มาเลเซีย และไทย ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นสัญญาณที่ดีเพื่อนำปสู่การจัดทำ FTA ในระดับภูมิภาคกับอาเซียนต่อไป ทั้งนี้สหภาพยุโรปได้แสดงความสนใจในการริเร่ิมการเจรจาเขตการต้าเสรรีอาเซียนและสหภาพยุโรป ในปี 2015 (ภายหลังอาเซียนลรรลุการสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแล้ว)..(www.aseanthai.net/...ความตกลงการต้าเสรีอาเซียนและสหภาพยุโรป)

วันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2560

ASEAN-Australia-New Zealand Free Trade Agreement : AANZFTA

              การเจรจาจัดทำความตกลงการต้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อผุ้นำ
ของประเทศสมาชิกอาเซียน ออกสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ลงนามในแถลงการณ์ร่วมเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2547 ตกลงให้เริ่มการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างกัน เพ่อส่งเสปริมการวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยก่อนหน้านี้ อาเซียนได้จัดทำการศึกษา ซึ่งมีข้อสรุปว่า การจัดทำเขตการต้าเสรีระหว่างอาเซียนกบออสเตรเลียและนิวซีแลนด์นั้นเป็นไปได้และเป็ฯส่ิงที่ควรทำเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายสามารถก้าวทันการเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของโลกปัจจุบันเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเสณษบกิจของอาเซียน ออสเตรเลียและ นิวซีแลนด์ ได้ร่วมหารือกันครั้งแรกในเดือนกุมภาพันะื 2548 และเห็นชอบให้จัดตั้ง
ASEAN#Australia-New Zealand Trade Negotiating  Committee (AANZTNC)เป็นคณะทำวานหลักในการเจรจา โดยมีหัวหน้าคณะเจรจาของบรูไนทำหน้าที่ประธานฝ่ายอาเซีียน AANZTNC ได้ตั้งคณะทไงานและกลุ่มผุ้เชี่ยวชาญขึ้นมาเพื่อรับผิดชอบการเจรจาในเรื่องกฎว่าด้วยถ่ินกำเนินสินค้า, การต้าและบริการ, การลงทุน, ประเด็นกฎหมาย, ความร่วมมือทางเศราฐกิจ, พิธีการศุลกากร,, สุขอนามัยและสุขอนามัยพืช, มาตรฐานกฎระเบียบทางเทคนิค และขั้นตอนการประเมินความสอดคล้องและทรัพย์สินทางปัญญา
             นอกจากนี้ ยังมีการประชุม ASEAN-3Australia-New Zealand Trade Negotiating Group AANZTNG ซึ่งเป็นเวทีการหารือประหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนควบคู่กัไปด้วยสถานะล่าสุดของการเจรจา คณะทำงาน AANZTNC ได้มีการเจรจาครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคม 2548 และเจรจาต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีการเจรจาตรั้งล่าสุดไปเมื่อวัยที่ 24-25 สิงหาคม 2551 ขณะนี้ คณะทำงาน AANZTING สามารถสรุปการเจรจาทุกข้อบทของความตกลงได้แล้ว โดยใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 3ปี 5 เดือน และต่อมาอาเซียน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ได้ลงนามในความตกลง AANZFTA เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2552 และความตกลงฯ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1มกราคม 2553 โดยไทยใช้บังคับความตกลง ฯ ในวันที่ 12 มีนาคม 2553
             หลังจากความตกลง AANZFTA มีผลบังคับใช้มา 5 ปี อาเวียน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ได้บรรลุผลการปรับปรุงความตกลงฯ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการค้าสินค้าและกฎถ่ินกำเนินสินค้า โดยรัฐมนตรีเศรษฐกิจของอาเซียน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ได้ลงนามในพิธีสารเพื่อแก้ปขความตกลง AANZFTA เมื่อ วัยที่ 26 สิงหาคม 2557 ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีเศรษบกิจอาเซียน ครั้งที่ 46 ณ กรุงเนปิดอว์ ประเทศเมียนมาร์
             อาเซียน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เร่ิมใช้บังคับพิธีสารเพื่อแก้ปขความตกลง AANZFTA เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2558 ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกทางการต้าให้กับผุ้ประกอบการเกี่ยวกับกฎถิ่นกำเนิดสินค้าเพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีภายใต้ความตกลง AANZFTA ในลดำต่อมา อาเซียน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ได้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมความตกลง AANZFTA(AANZFTA Joint Committee : FJC) และคณะกรรมการด้านต่างๆ ได้แก่ การต้าสินค้า (มีคณะอนุกรรมการด้านกฎถิ่นกำเนินสินค้า SPS และ STRACAP การค้าบริการ การลงทุน ทรัพย์สินทางปัญญา และการแข่งขัน เพื่อกำกับดูแลการปฏิบัตตามพันธกรณีต่างๆ ภายใต้ความตกลงฯ รวมทัง้งพิจารณาการทบทวนทั่วไปเพื่อปรับปรุงความตกลง AANZFTA

                          - www.dtn.go.th/."ข้อตกลงเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรี อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์", "การเจรจาจัดทำความตกลงการต้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (AANZFTA)"
                         

วันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2560

Agreement on Comprehensive Economic Partnership among Member States of the Association of Southeast Asian Nations and Japan : AJCEP

              AJCEP หมายถึง ความตกลงหุ้สส่วนเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและญี่ปุ่น เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 ผู้นำประเทศอาเซียนและญี่ปุ่นเห็นชอบให้มีการตั้งคณะกรรมการตวามร่วมมือหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น เพื่อจัดทำกรอบความร่วมมือหุ้สน่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำเขตการต้าเสรีอาเซียน-ญ่ปุ่น ให้แล้วเร็จภายในปี พ.ศ. 2555(2012) สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ ปละปี พ.ศ.2560(2017) สำหรับประเทศสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ..(thailand.prd.go.th/..AJCEP ย่อมาจาก..)
            AJCEP
            เร่ิมเจรจาเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2543(2004) ผู้นำอาเซียน-ญี่ปุ่นได้ร่วมลงนามในกรอบความตกลงหุ้ส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2546(2007) ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย
            เริ่มเจรจากอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2548(2009) จนสิ้นสุดการเจรจาในปี 2550(2011) รวม 11 ครั้ง กรอบเจรจาครอบคลุม 4 ประเด็นสำคัญคือ
            - การเปิดเสรี (การค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน)
            - กฎเกณฑ์ทางการค้า (กฎว่าด้วยถ่ินกำเนิดสินค้า)
            - การอำนวยความสะดวกทางการต้า (พิธีการศุลกากร การค้าไร้กระดาษ)
            - ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆ เช่น SMEs,ICT,HR
            ความตกลงทางการค้า ลงนาม โดยประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศญี่ปุ่น ว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดอาเซียน-ญี่ปุ่น(AJCEP) เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2551
            สำหรับบรูไน ลาว พม่า สิงคโปร์ เวียดนาม และญี่ปุ่น มีผลบังคับใช้เมื่อเดือนธันวาคม 2551 สำหรับไทย มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2552
            การลดภาษีสินค้าทั่วไป ในการเปิดเสรีด้านการต้าได้มีการ กำหนดรูปแบบในการลดภาษี โดยแบ่งกลุ่มสินค้าที่จะนำมาลดภาษี ดังนี้
             - สินค้าปกติลดภาษีปกติ  สำหรับประเทศญี่ปุ่ จะต้องลดภาษีลงเป็น 0 % ภายในปี 2561 มีรายการสินึ้าประมาณร้อยละ 93 ของมูลค่าการนำเข้าจากอาเซียน และร้อยละ92 ของจำนวนรายการสินค้าทั้งหมด
               ประเทศสมาชิกอาเซียนเิม 6 ประเทศ รวมทั้ง เวียนดนาม มีรายการสินค้าประมาณร้อยละ 90 ของจำนวนรายการสินค้าทั้งหมด หรือของมูลค่าการนำเข้าจากญี่ปุ่นของแต่ละประเทศ
               สำรับกลุ่มประทเศ CLM (กัมพูชา ลาว และพม่า) มีรายการสินึ้าประมาณร้อยละ 85 ของจำนวนรายการสินค้าั้งหมด หรือของมูลค่าการนำเข้าจากญี่ปุ่นของแต่ละประเทศ    
              - สินึ้าอ่อนไหว สำหรับประเทศญี่ปุ่น กำหนดให้ลดภาษ๊ลงเหลือร้อยละ 0-5 ภายในปี 2561 จำนวนไม่เกินร้อยละ 3.8 ของมูลค่าการนำเข้า
               สำหรับสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ กำหนดให้ลดภาษีลงเหลือ ร้อบละ 0-5 ภายในปี 2561 จำนวนไม่เกินร้อยละ 3.8 ของมูลค่าการนำเข้าหรือจำนวนรายการสินค้าทั้งหมด
                สำหรับเวียดนาม กำหนดให้ลดภาษีลงเหลืรร้อยละ 0-5 ภายในปี 2561 จำนวนไม่เกินร้อบละ 8 ของมูลค่าการนำเข้าหรือจำนวนรายการสินคึ้าทั้งหมด
                สำหรับกลุ่มประทเศ CLM กำหนดให้ลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0-5 ภายในปี 2561 จำนวนไม่เกินร้อยละ 4 ของมุลค่าการนำเข้าหรือจำนวนรายการสินค้าทั้งหมด
                สินค้าอ่อนไหวสูง สำหรับประเทศญี่ปุ่น กำหนดให้ลดภาษีลงเหลือไม่เกินร้อละ 50 ภายในปี 2561
                สำหรับสมาชิกอาเวียนเดิม 6 ประทเศ และเวียดนาม กำหนดให้ลดภาษีลงเหลือไม่เกินร้อยละ 50 ภายในปี 2566
                 สำหรับกลุ่มประเทศ CLM กำหนดให้ลดภาษีลงเหลือไม่เกินร้อบละ 50 ภายในปี 2569
                  สินค้ายกเว้น
                  สำหรับประเทศญี่ปุ่น กำหนดให้มีรยการสินคึ้าในกลุ่มนี้ได้ำม่เกินร้อยลุ  ของมุลค่าการนำเข้า
                  สำหรับสมาชิกอาเวียนเดิม 6 ประเทศ ไม่ได้มีการระบุถึงสัดส่วนของสินค้าในกลุ่มนี้
                  สำหรับกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) กำหนดให้มีรายการสินคึ้าในกลุ่มนี้ได้ไม่เกินร้อยละ 3 ของมูลค่าการนำเข้าหรอืจำนวนรายการสินค้าทั้งหมด    
                 ในการเปิดตลาดสินคึ้าของญี่ปุ่นนั้น สินค้าร้อยละ 90 ของมูลค่าการนำเข้าของญี่ปุ่นจากอาเวียนจะลดลงเป็น 0 ทันที่ที่ความตกลงทีผลบังคับใช้ ในขณะที่ไทยไม่ไดเปิดตลาดสินค้าไปมากกว่าความตกลงหุ้นส่วนเสณาฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ที่มีผลบังคับใช้ก่อน (วันที่ 1 พฤศจิการยน 2550)
                 สินค้าสำคัญที่ไทยได้ประโยชน์ ได้แก่ เครื่องใช้ ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ สินึาอุตสาหกรรมการเกษตรยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยางพาราและผลิตภัณฑ์ เม็ดพลาสติกและผลิตตภัฒฑ์ สินค้าประมงเครื่องจักรกลแลฃะส่วนประกอบ เลนซ์ เหล็ก เหล็กล้าและผลิตภัฒฑ์ ผลิตภัฒฑ์อลูมิเียม สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เคมีภัฒฑ์ อัญมณี และเครื่องประดับ ไม้และผลิตภัณฑ์ผักสดแช่เย็นอช่เข็ง ผลไม่สดแช่เย็นแลแช่แข็ง และรองเท้าและชิ้นสวนหนังและผลิตภัฒฑ์
                 ความตกลงการต้าบริการและการลงทุน เร่ิมเจรจาอย่างเป็นทางการเมื่อ มีนาคม 2554 ความตกลง AJCEP มีเนื้อหาครอบคลุมการค้าสินค้าเป็นหลัก ในส่วนของการต้าบริการและการลงทุนนั้นได้มีการเปิดเสณีใน้อตกลงทวิภาคีของแต่ละประเทศอยู่แล้ว จึงได้มีการตกลงกันในกรอบกว้างๆ อย่างไรก็ตามอาเซียนและญี่ปุ่นได้กำหนดเวลาในการเจรจาบทว่าด้วยการต้าบริากรให้เสร็จ ภายใน ปี 2555 ดยจะมีการแลกเปลี่ยน draft text ก่อนที่จะมีเร่ิมต้นการเจรจาอย่างเป็นทางการ
                ล่าสุดการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 18 ที่กรุงเนปิดอ ประเทศพม่า ที่ประชุมได้มีมติให้อาเวยนและญี่ปุ่นหรรือเจรจาการต้าบริการและการลงทุน อีก 1 ครั้ง ที่จะเป็นประดยชน์ด้านเศราฐกิจการต้าต่ออาเซียนและประเทศคู่เจรจา
                ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจครอลคลุมหลายสาขา ได้แก่ แระบวนการที่เกี่ยวกับการต้า สภาพแวดล้อมทางธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา พลังงาน ข้อมุลและทเคโนโลยีการสื่อสารร การพัฒนาทรัพยากรมนุาย์ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การท่องเที่ยว การขนสงและโลจิสติกส์ เกาษตรประมงและป่าไม้ สิ่งแวดล้อม นโยบายการแข่งขัน และสาขาอื่นๆ ตามแต่จะตกลงกัน ภมายใต้เงินสนับสนุนจากองทุน..(cks.ditp.go.th/.."ความตกลงการต้าเสรีอาเซียน-ญี่ปุ่น)
                ความสัมพันธ์ระหว่างญีปุ่นและอาเวียนนั้นเป็นในลักษณผสมผสานกันไม่ว่าจะเป็นทางด้านประวัติศาสตร์ที่อาจจะยังมีภาพในสมัยสงครามหลงเหลืออยุ่หรือในทางเศรษฐกิจที่ประสบความำสำเร็จเป็นอย่างมากจะอย่างไรก็ตามความสัมพันะ์ระหว่างฐีุ่นและอาเซียนอย่างเป็นทางกการมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องตั้งแต่การประกาศของนายกรัฐมนตรรีญีปุ่น ทาเคโอ ฟูคูดะในปี 1977 ในแนวนโยบาย ฤุคูดะ ซึ่งจัดได้ว่าเป็นแนวนโยยายต่างประเทศที่สำคัญของปย๊่ผุ่น โดยตมหลักการดังกล่าวได้กล่าวถึงการสร้างความสัมมพันะ์อย่างแนบแน่นกับภูมิภาคเอเชียตะวัยออกเแียงใต้ไว้ 3 ประการ คือ
                - ญี่ปุ่นจะไม่แสวงหาบทบาทของมหาอำนาจทางด้านการทหาร
                - ญี่ปุ่นจะสร้างความเข้มแข็งให้กับความสัพมันะ์ในการแลกเปลี่ยนความเชื่อมั่นแลมั่นใจบนพื้นฐานของความเข้าใจแบบตรงไปตรงมา ญี่ปุ่นจะเป็นพันธมิตรแบบเท่าเที่ยกันกับอาเซียน ทั้งยังส่งเสริมความเข้าใจระหว่างกันกับชาิตสมาชิกอาเซียน
               
 สำหรับแนวนโยบายฟูคูดะนั้น ถือได้ว่าเป็นความพยายามตร้งแรกของญีปุ่นในการปรับแนวนโยบายต่างประเทศให้มีความเป็นอิสระมากขึ้นกับภูมิภาคเอเชียตะวัยนออกฌียงใต้ภายหลังจากการถอนตัวและลดความช่วยเหลือของสหรัฐฯ ในชวงก่อนสงครามเวียดนามสิ้นสุดลง ในค.ศ. 1976 เนื่องจากก่อนที่จะออกแนวนโยบายฟูดูดะนี้นั้น ญีปุ่นมีแนวนโยบายส่วนใหญ่เอนเอียงเข้าหาตามแนวทางของชาติตะวันตกโดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกาอย่างไรก็ตามญี่ปุ่พยายามแสดงบทบาททั้งทางด้านการทูตและการเมืองระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เสมือนเป็นตัวเชื่อมระหว่างประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์และประเทศที่ไม่ได้เป็นในภุมิภาคนี้แต่ก็ไม่ค่อยจะได้ผลตอบรับมากนักสำหรับเรื่องนี้ เนื่องจากความพยายามที่จะใช้ความช่วยเหลือทางการเงินหรือที่เรียกว่า Official DevelopmentAssistance(ODA) เพื่อที่จะดึงดูดเวียดนามนั้นไม่ประสบผลสำเร็จ และเมื่อเวียดนามบุกดัมพูชาในเดือนธันวาคม ปี 1978 ญี่ปุ่นก็ได้มีการปรับนโยบายเป้นให้การสนับสนุอาเซียนอย่างเต็มที่ ซึ่งเป้นช่วงเดี่ยวกันกับที่อาเซียนพยายามที่จะสร้างเสถียรภาพและสันติภาพในภูมิภาคแลพยายามในการแก้ปัญหาเรื่องวิกฤตกัมพุชาที่เกิดขึ้น
               เมื่อถึงยุคสิ้นสุดสงครามเย็ในค.ศ. 1991 มีการเลปี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทังในระดับภูมิภาคและระดับโลกความสัมพันธ์ระหว่างญีปุ่นและอาเซียนนั้นเป็นไปในทางที่ดีขึ้นทำให้ญี่ปุ่น่นมีโอกาสในการเข้ามาแสดงบทบาทในระดับภูมิภาคมากขึ้น ในวิกฤตเศรษบกิจในค.ศ. 1997-1998 เป็นตัวเร่งให่้ญี่ปุ่นเข้ามาเป้นตัวแสดงที่มีบทบาทเพิ่มมากิ่งขึ้นโดยความคาดหวังว่าญี่ปุ่นจะข้ามาช่วยเหลือทางการเงินการคลังกับประเทศในภูมิภาคที่ประสบปัฐญหาทางเศรษบกิจเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในช่วงนั้น ซึ่งญี่ปุ่นก็ได้เข้ามาให้ความช่วยเลหือทางการเงินแต่จากมุามาองของนักวิชาการแลก็ยังพบว่าญีปุ่นยังไม่สามารถที่จะใช้เหตุากรณ์นี้นการสร้างบทบาทความเป็นผุ้นำของตนเองในภูมิภาคนี้ได้อย่างแท้จริง
             แต่หลังจากแนวนโยบายฟูคูดะแล้วจุดสำตัญอื่นในความสัมพันะ์ญปุ่่นแลอาเซียนที่สำคัญได้แก่การประกาสปฏิญญาโตเกียวในค.ศ. 2003 ซึ่งได้ประกาศไว้ในการประชุมสุดยอดผุ้นำอาเซียน-ญี่ปุ่น ซึ่งปฎิญญาโตเกียวนั้นมีวัตถุประสงค์ในระยะยาวในการจัตั้งประชาคมเอเชียตะวันออกขึ้นมา แต่ผลปรกฎว่าการดำเนินกาของประชาคมเอชียตะวัยออกนั้นขาดความก้าวหน้าอย่งต่อเนื่องถึงแม้ว่าในค.ศ. 2005 จะมีการปรุชมสุดยอมผุ้นำเอเชียตะวัยออก ขึนที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซียนก็ตาม...
            ญี่ปุ่นกับแนวนโยบายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คำถามนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากถึงแม้ว่าญี่ปุ่นจะได้เข้ามาเกี่ยวของในภุมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาหลายทศวรรษแล้วผ่านทางการต้าและการให้ความช่วยเลหือในด้านต่างๆ แต่แนวนโยบายของญี่ปุ่นในภูมิภาคนี้ยังคงไม่ชัดเจนมากนัก จนกระทั่งถึงทศวรรษที่ 1980 บรรษัทข้ามชาติใหญ่ของญีปุ่นนั้นได้เข้ามาลงทุนนภูมิภาคนี้อย่างมหาศาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการทำข้อตกลงพลาซา ระหว่างญีปุ่นกับชาติมหาอำนาจตะวันตกซึ่งได้ส่งผลทางอ้อมในการกระตุ้นเศรษบกิจของภูมิภาคนี้โดยรวม แต่อย่างไรก็ตามการทูตของญีป่นุต่อภุมิภาคนี้ก็ยังคงถูกพิจารณาว่าเป็นในลกษระที่ยังไม่ให้ความสำคัญเด่นชัดนัก สำหรับญี่ปุ่นภุมิภาคนี้จัดได้ว่ามีผลประโยชน์ในเชิงเศรฐกิจกับญีปุ่นในการหาวัตถุดิบราคาถูกรวมถึงเป็นตลาดขนาดใหญ่ในการขายสินจ้าของตนด้วย สำหรับการเน้นการเข้ามาในเชิงเศรษฐกิจของญีปุ่นนั้นได้ส่งผลให้มุมมองของประเทศในเอเชียตะวัยออกเฉียงใต้มองญีปุ่นในเชิงลบว่าเข้ามาแวงหาประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจมากว่าจะข้ามาสร้างความเข้มแข็งร่วมกันและยิ่งปสมปสานกับปรสบการณืที่ประเทศในภุมิภาคนี้ได้รับจากการกระทำของญีปุ่นในช่วงสงคราโลกครั้งที่ 2 ที่ยังไม่ลือมเลื่อนไปจากอดีต
           สำหรับประสบการณืในการรวมกลุ่มแบบภุมิภาคนิยม ของอาเซียนนั้นเร่ิมขึ้นในค.ศ. 1967 ซ่งการรวมกลุ่มในครั้งนั้นไม่ได้สงผลกระทบต่อแนวนโยบายของญี่ปุ่นในเอเชียตะวันออกเแียงใต้ในช่วงเร่ิมต้นเท่าใดนัก เนื่องจากญี่ปุ่นในขณะนั้นได้ดำเนินแนวนโยบายตามสหรัฐฯที่ได้ประกาศแนวนโยายสิกสัน ที่ได้ประกาศในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1969 หลังจากการถอนตัวของสหรัฐฯ จากภูมิภาคอันเนื่องมาจากความพ่ายแ้ในสงครามเวยดนาม จากปัจจัยนี้เองทไใ้ญีปุ่นและอาเซียนมีความจำเป้นต้องสร้างกรอบความร่วมือในระดับภูมิภาคระหว่งกันขึ้นมา นี้เป็นเหตุผลสำคัญที่ำให้แนวควมนโยบายฟูคูดะได้ถุกเสอนขึ้น แลอีกเหตุผลเพื่อที่จะลบภาพในเชิงลบของญี่ปุ่นที่ถุกมองจากลุ่มอาเวียนว่าเปรียบเสมอน "สัตว์เสรษฐกิจ" ที่ได้กล่าวในข้าต้นมาแล้ว โดยญี่ปุ่นดำเนินนโยบายกับอาเวียในลักาณะที่ให้อาเซียนเป็นตัวขับเคลือนนโยบายสร้างความร่วมมือระหว่างกัน อย่างำรก็ดีญีปุ่นมิได้ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเศรษบกิจแต่เพียงด้านเดียว แต่ญีปุ่นยังพยายามในการแสดงบทบาททางการทูตและากรเมืองระหว่งประเทศในการเป็นตัวเชื่อมะหว่างประเทศในภูมิภาคที่เป็ฯคอมมิวนิสต์กับประเทศที่ไม่ได้เป็นคอมมิวนิสต์ซึ่งในจุดนี้ไม่ค่อยประสบผลสำเร็จเท่าใดนัก เนื่องจากสาเหตุที่ญี่ปุ่นปรับนโยายสนับสนุนอาเซียนในช่วยที่เวียดนามนั้นรุกรานกัมพุชา ญี่ปุ่นได้ร่วมกับสาธารณรับประชาชนจีน สหรัฐฯ และอาเซียนในการคัดค้านการกระทำดังลก่าวของเวียนดนามตลอดมา จากการดำเนินการอย่างตั้งใจของญีปุ่นในด้านตางๆ จะพบว่าในชวงเวลานี้สามารตอลรับได้กับการดำเนินแนวทางทางการทุตของอาเวียนในกรสร้างความเ้มแช็งให้แก่กลุ่มของตนเองโดยเฉพาะในช่วงวิกฤตการณ์กัมพูชาเป็นอย่างดี
             
 อย่างไรก็ดีในสถานการณ์ปัจจุบันในยุคหลังสงครามเย็นนั้นเป้นที่ชัดเจนว่าแนวนโยบายของญปุ่นก็มีการปรับเปลี่ยนไปตามสถานกาณืโดยปัจจัยหลักประการหนึงที่มีส่วนสำคัญในการกำหนดนโยบายของญี่ปุ่นต่ออาเวียนในปัจจุบันอันหนึ่งได้แก่การขึ้นมาเป้นมหาอำนาจคู่เข่งของจีน โดยญีปุ่นจะมีการตอบสนองกับจีนอย่างไรและข้อสรุปใดควรเป็นข้อสรุปที่นำมากำหนดนโยบายของญี่ปุ่นต่อจีนนั้นเป็นส่วนสำคัญที่ญี่ปุ่นต้องให้ความสนใจในขณะนี้ ถ้าญีปุ่นปมองว่าการขึ้นมาเป้นมหาอำนาจของจีนนั้นเป้นภัยคุกคามต่อตนเองและมอง่่าการสร้างความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ เป็นสิงที่สามารถนำมาถ่วงดุลกับจีนได้ จากแนวคิดนี้ที่ได้รับการยอมรับจากผุ้กำหนดนโยบาคนสำคัญของญี่ปุ่นหลายท่าน ตั้งแต่อดีตนายกรัฐมนตรีนายจุนอิชะโร โคอิซูมิ นายกรัฐมนรตีคนปัจจุบันนายชินโซ อาเบ รัฐมนตรีต่างประทเศญีปุ่นนายทาโร อาโซะ โดยแนวคิดให้ความสำคัญกับสหรัฐนเป้นลำดับแรกและเอเลียเป้นลำดับต่อมาเป้นแนวทางที่ถูกวิพากวิจารณือย่างหนักว่าทำให้เกิดความขัดแย้งกับจีนอย่างหลีอเลี่ยงมิได้ รวมถึงยังไม่เป้นการส่งเสริมในการสร้างการรวมกลุ่มให้เกิดขึ้นในเอเลียตะวัยออกไดอ้ย่อางแท้จริงอีกด้วย แต่ความเป็นแนวทางที่นำสหรัฐฯ และจีนเข้ามาร่วมกันในการสร้างความเข้มแข็งให้กับภุมิภาคจะเป็นประดยชน์กว่า เนื่องจากโดยพื้นฐานอขงอความเป็นจริงนั้นการสร้างความสัมพันะ์อันดีระหว่าางหสรัฐฯ ญี่ปุ่นและจีนจะเพ่ิมมูลค่าในด้านการต้าและการลงทุนซึ่งส่งผลในเชิงบวกกับภาพรวมทางเศรษฐกิจของโลกและการทำให้จีนอ่อนแอหรือไม่มั่นคง ในทางกลับกันก็คงจะทำให้เกิดความเสียหายหรือชะลอตัวทางเสรษฐกิจโดยรวมเช่นเดียวกัน จากตัวเลขทางสถิติการต้าระหว่างจีนกับญี่ปุ่นใน ค.ศ. 2004 นั้นคิดเป็นร้อยละ 20 ของการต้าระหว่างประเทศของญี่ปุ่นโดยมีมุลค่าเกือบ 17,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้จจีนจัดได้่ว่าเป้ฯคูค้าสำคัญในลำดับต้นๆ ของญี่ปุ่น..(บทความ, "ญี่ปุ่น อาเซียน และการสร้างประชาคมเอเซียตะวันออก, สาธิน สุนทรพันธ์ุ)
           

วันอังคารที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2560

ASEAN-China Free Trade Agreement : ACFTA

           ความตกงลงเขตการต้้าเสรี อาเซียน-จีน
           วัตถุประสงค์ เพื่อขยายความร่วมมือทางเศราฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกอาเซีียนทั้ง 10 ประเทศ และสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมุ่งขยายการ้าและกาตลงทุนระหว่างกัน เพื่อให้ประเทศภาคีความตกลงฯ มีการพัฒนาทางเศรษฐฏิจ มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2547 (2004) โดยประเทศสมาชิกอาเซียนและจีน จะให้สิทธิพิเศษฯ แก่สินค้าเกือบทุกรายการปัจจุบันยกเลิกอัตราภาษีภายใต้ ACFTA และ้วกว่าร้อยละ 90 ของรายการสินค้า หรือราว 8,000 กว่ารายการ
          การลดหย่อนภาษี
          - สินค้าที่นำมาเร่งลดภาษีทันที่
            1 ต.ค. 2546 ไทย-จีนพิกัด 07-08 ลดอัตราภาษีเป็น 0
            1 ม.ค. 47 อาเซียน-จีน พิกัด  01-08 ลดอัตราภาษีเป็น 0 ภายใน 3 ปี
          - สินค้าปกติ เริ่ม 20 ก.ค. 48 แบ่งการลดเป็น 2 ส่วน
            NT I ลดอัตราภาษีเป็น 0 ภายใน 5 ปี
            NT II ลดอัตราภาษีเป็น 0 ภายใน 7 ปี ท้้งไทยและจีน ทั้งไทยและจีน ไม่เกินประเทศละ 150 รายการ
          - สินค้าออนไหว แบ่งกาลดเป็น 2 ส่วน
            สินค้าอ่อนไหว ลดอัตราภาษีเป็น 20% ในปี 2555 และเหลือ ).5% ในปี 2558
          - สินค้าที่มีความอ่อนไหวสูง ลดอัตราภาษีเป็น 50% ในปี 2558 และไม่ลดลงอีก
             หมายเหตุ แต่ละประเทศในอาเซียนอัตราการลดหย่อนแตกต่างกัน
            กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า
            กฎทั่วไป ซึ่งเป็นกฎหลักหรือกฎทั่วไป ใช้กับทุกสินค้า
            หลักเกณฑ์ว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า
            - ผลิตภัฒฑ์ที่ได้มาหรืผลิตขึ้นโดยใช้วัตถุดิบภายในปะเทศทั้งหมด หรือ
            - ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาหรือผลิตขึ้นโดยมิได้ใช้วัตถุดิบภายในประเทศทั้งหมด โดยมีสัดส่วนของวัตถุดิบที่มีถ่ินกำเนิดภายในประเทศภาคีอาเซียนและจีน ไม่น้อยกว่า 40 % ของราคา F.O.B. กฎว่าด้วยถ่ินกำเนิดสินค้าและระเบียบปฏิบัติฯ
             กฎเฉพาะสินค้า เป็ฯกฎที่ใช้กับสินค้าเฉพาะรายการหรือ กฎที่ยกเว้นจากกฎทั่วไป
             การขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีภายใต้ FTA อาเซียน-จีน..(www.dft.go.th..."ความตกลงเขตการตกลงเขตการค้าเสรี อาเซียน-จีน)
              ความสัมพันธ์อาเซียนและจีนในหลายทศวรรษที่ผ่านมา พฤติกรรมและการเปลี่ยนแปลงของการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างกันทั้งจากศัตรูกลายเป็นมิตรและในบางขณะจากมิตรก็กลายเป็นศัตรู การดำเนินการทางการทูตของจีนต่ออาเซียนถูกดำเนินมาท่ามกลางปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในและาภายนอกประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา นับตั้งแต่การขึ้นมามีอำนาจปกครองจีนแผ่นดินใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์ จีนเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในภุมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และส่งผลต่อการเมืองระดับภูมิภาคเป็นอย่างใาก สภาพแวดล้อมระหว่างประเทศในอดีตที่การเมืองระหวางประเทศถูกแบ่งออกเป็น 2 ขั้วอำนาจ ล้วนส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับประเทศในภูมิภาคเอเชชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้เพราะหลายประเทศไม่ว่าจะเป้น ไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์หวาดระแวงจีนจึงมีนธยบายร่วมมือกับฝ่ายโลกเสรีในการต่อต้านอิทธิพลคอมมิวนิสต์ ส่งผลให้จีนดำเนินนโยบายต่างประเทศที่แข็งกร้าวตอบโต้โดยช่วงทศวรรษที่ 1950 นั้นจีนพยายามลดอิทธิพลของจัรวรรดินิยมตะวันตกและมหาอำนาจอื่นๆ ซึ่งอาจเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของตนลและให้ความช่วยเหลืแก่ขบวนการคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
             เมื่อต่อมาประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งประกอบด้วย ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ได้รวมกลุ่มกันจัดตั้ง "สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" หรือ "อาเซียน" จีนประณามและมองว่าอาเซียนเป็นเพียงกลุ่มความร่วมมือที่เป็นเครื่องมือของ จักรวรรดินิยมอเมริกา อย่างำรก็ตามเมื่อจีนกับสหภาพโซเวียตเร่ิมีปัญหาขัดแย้งกัน ตลอดทศวรรษ 1960 และหันมาปรับความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาในทศวรรษที่ 1970 ทำให้จีนมีท่าทีประนีประนอมและลดการวิพากษ์วิจารณือาเซียนลง ทั้งนี้เพราะประเทศสมาชิกในอาเซียนนั้นเป้นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกาและจีนก็ต้องการสร้างแนวร่วมรดับรัฐบาลกับกลุ่มประเทศอาเซียนเพื่อต่อต้านอิทธิพลของสหภาพโซเวียต ดังนั้นจีนจึงเปิดการเจรจาเพื่อสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทุตกับประเทศสมาชิกอาเซียนได้แก่ มาเลิซียนใน ค.ศ. 1974 (พ.ศ. 2517) ฟิลิปปินส์และไทย ค.ศ. 1975 ( 2518) สำหรับสิงคโปร์และอินโดนีเซียนันแม้จะมิได้มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในช่วงเวลาดังกล่าวแต่ก็มีการติดต่อค้าขายกันมากขึ้น ความสัมพันธ์ของจีนกับอาเซียนได้กระชับแน่นแฟ้นมากขึ้นตลอดทศวรรษที่ 1980 จากปัฯหากัมพูชาที่ถุกเวียนามส่งทหารเข้ายคึดครอง จีนเข้ามามีบทบามสำคัญกับความขัดแย้งนี้โดยกานส่งทหารเข้าประชิดพรมแดนเวียนนามเพื่อทำ "ส่งครามสั่งสอน" ทไใ้อาเซียนยอมรับจีนมากขึ้นอาจกล่าวได้ว่าจีนและกลุ่มประเทศอาเซียนมีผลประดยชน์ทางด้านความมั่นคงสอดคล้องกันในขณะนั้นการเปลี่ยนข้างเปลี่ยนฝ่ายจากที่เคยเป็นมิตร(จีนและเวียดนาม)ก็กลับมาเป้นศัตรูและที่เคยเป็นศัตรู(จีนและอาเซียน)ก็กลับมาร่วมมือกัน ซึ่งทำให้จีนเป็นที่ยอมรัีบในฐานะผุ้แสดงบทบาทสำคัญที่จะสามารถสร้างสรรค์เสถียนรภาพให้กับภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ได้ในเวลาต่อมา
            อย่างไรก็ตามแม้จีนกับอาเซียนจะมีความใกล้ขิดกันมากขึ้นแต่ปัญหาข้อพิพาทเรื่องดินแดนยังคงมีอยุ่ อาทิ ปัญหาการอ้างกรรมสิทธิ์ในหมู่เกาะทะเลจีนใต้ อย่างไรก็ตามตลอดเวลา 19 กว่าปีที่ผ่ารมาจีนได้พยายามแก้ไขภาพลักษณ์และลดความหวาดระแวงของกลุ่มอาเซียน จีนดำเนินนธยบายต่างประเทศหรือการทูตด้านการเมืองและความมั่นคงเพื่อลดความหวาดระแวงและสร้างความเชื้อมั่น จนกระทั่งความสัมพันธ์ระหว่างจีกับอาเซียนในปัจจุบันมีความใกล้ชิดและร่วมมือในด้านการเมืองและความมั่นคงเป็นอย่างมาก..( การทูตและความมั่นคงใหม่ของจีนต่ออาเซียนในศตวรรษที่ 21, มลฤดี ประเสริฐศักดิ์)
         
ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ได้มีเงินทุนจาต่างประเทศหลั่งไหลเข้ามาลงทุนในภูมิภาคอาเซียนเป็นจำนวนมากส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนจาก สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ยุโรป เกาหลีใต้และจีน ดยเฉพาะงินทุนจากจีนมีแนวโน้มเพิ่มขั้นอย่างมากและเป็นผุ้ลงทุนรายใหญ่อันดับ 1 ในกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงคือในปี 2557 กาลงทุนของจีนในกลุ่ม สปป.ลาว ดัมพุชาและมียนมา มีมุลค่า 614.3,553.9และ 578.7 ล้านเหรียนสหรัฐฯ ตามลำดับ กรณีทีเม็ดเงินการลงทุนของจีเข้ามาในอาเวียนเป้นจำนวนมากนั้น นอกจากจะเป้นผลจาปัจจัยดึงดุดการลงทุนจากต่างประเทศของประเทศต่างๆ ในอาเซียนแล้ว ที่สำคัญยงเป็นผลจากนโยบายของรัฐบาลจีนที่สนับสนุนให้ผุ้ประกอบการออกมาลงทุนต่างประเทศตามเส้นทางเชื่อมดยงการต้าใหม่ของจีน (เส้นทางสายไหมใหม่ในศตวรรษที่ 21) ซึ่งผระเทศไทยก็เป็นเส้นทางหนึ่งที่เป็นเป้าหมายของนักลงทุนจีนที่จะเริ่มจากทางตอนใต้ของจีน
              ในแต่ละประเทศอาเซียนที่ทุนจีออกไปลงทุนย่อมมาจากเป้าหมายที่แตกต่างกันไป เช่น โครงการลงทุนต่างๆ  ของจีนในเมียนมาส่วนใหญ่เป็นการพลังงานและทรัยากรธรรมชาติ การสร้างเขื่น การก่อสร้างท่อส่งน้ำมัน ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ท่าเรือน้ำลึก นิคมอุตสาหกรรม และรถไฟฟ้าที่มีความยาวเกือบ 1,000 กิโลเมตร เป็นต้น ส่วนการลงทุนของจีนในกัมพุชาเป็นโครงการลงทุนในด้านพลังงานไฟฟ้า อสังหาริมทรัพย์ การเกษตรอุตสาหกรรมที่เน้นการใช้แรงงานเป็นหลัก เช่น สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป เนื่องจากค่าแรงยังมีราคาถูกเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ
             ในสปป.ลาว อิทธิพลทางเศรษฐกิจของจีนมีต่อ สปป.ลาว นั้น จีนได้โอกาสในการลงทุนและพัฒนาแบบรัฐต่อรัฐที่เป้นโครงการขนาดใหญ่ เช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษหรือเขตเศรษฐกิจจำเพาะที่รัฐบาล สปป.ลาว ให้สัมปทานแก่กลุ่มทุนจีนเข้ามาพัฒนาเพื้นที่ต่างๆ ได้แก่ เขตเศรษฐกิจบึงธาตุหลวง นครเวียงจันทน์ หรือเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนบ่อเต็น-บ่อหาน(พรมแดนลาว-นีน) ซึ่งจุดสิ้นสุดเส้นทาง R3A ได้กลายเป็นเมืองใหม่ของจีนใน สปป.ลาวไปแล้ว นอกจากโครงการใหญ่ ๆ แล้วอิทธิพลของทุนจีนยังลงไปถึงระดับการค้าขายในชุมชนเล็กๆ ตามเมืองต่างๆ ของสปป.ลาว ด้วยเช่น การต้าขายโทรศัพท์มือถือและสินค้าอื่นๆ ของจีนที่ตลาดชายแดนวังเต่า แขวงจำปาัก-ช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานี ที่พ่อค้าแม่ขายในตลาดแห่งนี้ส่วนใหญ่เป็นชาวจีนเซี่ยงไฮ้เกือบทั้งหมด
              ส่วนโครงการการลงทุนของจีนในสิงคโปร์ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่ภาคบริการทั้งด้านการเงิน การธนาคาร การบริการทางธุรกิจ การจำหน่างสินค้า และอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ซึ่งซื้อสังหาริมทรัพย์ที่อยุ่อาศัยในสิงคโปร์ปัจุบันมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมากเพราะสิงคโปร์มีคนเชื้อสายจีนจำนวนมากและใชภาษาจีนกลางในการสื่อสารรวมถึงนโยบายของรัฐบาลสิงคโปร์ด้านการปล่อยสินเชื่อและนโยบายการโยกย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยของต่างชาติที่มีการผ่อนปรนมากขึ้น อีกทั้งในจีนได้เริ่มมีนโยบายจำกัดการซื้อบ้านในแผ่นดินจีนแล้ว
             สำหรับการลงทุนของจีนในประเทศไทยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI ได้เประเมินว่ายอดการลงทุนของนักลวทุนจีนที่เข้ามาลงทุนในไทยปี 2558 มีมูลค่ามากกว่า 40,000 ล้านบาท และคาดว่าในอีก 3-5 ปีข้างหน้าภาคเอกชนจีนจะเข้ามาลงทุนในไทยกว่า 100,000ล้านบาท เป้าหมายของจีนที่มาลงทุนในไทยนอกจากจะเพื่อใช้ไทยเป็นตลาดสินค้าของจนแล้ว ยังมอง่าไทยสามารถเป็นฐานการผลิตส่งออกไปยังประเทศแถบอาเซียน รวมถึงส่งสินค้ากลับไปจำหน่ายในจีน เพราะการผลิตสินค้าด้านการเกษตรที่ไทยมีวัตถุดิบจำนวนมก ดดยเฉพาะวัตถุดิบทาด้านการเกษตร และยังมีเป้าหมายใช้ฐานการผลิตในไทยส่งออกสินค้าไปยุโรป และอเมริกาที่ในบางสินค้าจากจีนถูกกีอกันหากส่งออกไปจากจีนโดยตรง
           นอกจากนี้ จีนบังมียุทธศาสตร์ทางด้านการขนส่งคือการสร้างาถไฟควมเร็วสูงจากคุรหมิงลงมาถึงนครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว ในขณะที่ไทยก็มีโครงการสร้างทางรถไฟเชื่อต่อจากเวียงจนทน์มายังจังหวัดหนองคาย ขอนแก่น นครราชสีมา สระบุรีและกรุงเทพมหานคร ซึงจะส่งผลดีต่อการต้าและการลงทุนทั้งของไทยและจีนเพิ่มขึ้น จาการหลั่งไหลของทุนจีนที่เข้ามาในอาเซียนรวมทั้งประเทศไทยนั้น จำเป็นที่รัฐบาลและนักธุรกิจของไทยและประเทศสมาชิกต้องมีความพร้มในการปรับตัวเพื่อรองรับการลงทุนดังกล่าวของจีน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการผลิต การค้า การลงทุน การจ้างงานและรายได้ของประเทศตนให้มากที่สุด..(thailand.prd.go.th.."ทุนจีนในอาเซียน")
             
             
         

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...