กรอบความร่วมมืออาเซียน + 3 (จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) เริ่มต้นเมื่ปี 2540 (1997) ในช่วงเกิดวิกฤตการเงินในภูมิภาคเอเชียตะวันออกโดยผุ้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนและผู้นำของจีน ญี่ปุ่น และสาะารณรัฐเกาหลี ได้พบหารือเป็นตรั้งแรกที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อเดือน ธันวาคม 2540 และหลังจากนั้นได้มีการจัดประชุมสุดยอดอาเซียน+ 3 เรือยมาปัจจุบันความร่วมมือาเซียน +3 ครอบคลุมเกือบ 20 สาขา และมีแากรประชุมระดับต่างๆ กว่า 60 กรอบ
เพื่อกำหนดแนวทางความสัมพันธ์ระหว่างกัน ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน +3 ครั้งที่ 3 เมื่อปี 2542(1999) ได้ออกแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือเอเชียตะวันออก และจัดตั้งกลุ่มวิสัยทัศน์เอเชียตะวันออก รุ่นที่ 1 เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ความร่วมมือในเอเชียตะวันออกโดยในปี 2544(2001) EAVG I ได้มีข้อเสอนให้จัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออก East Asian community-EAc2) และกำหนดมาตรการความร่วมมือด้านต่างๆ กว่า 57 สาขา เพื่อนำปสู่การจัดตั้ง EAcในอนาคต
ในการประชุมสุดยอดอาเซียน+ 3 ซึ่งกำหนดให้การจัดตั้งประชาคมเอเซียตะวันออกเป็นเป้าหมายระยะยาว และให้กรอบอาเซียน +3 ครั้งที่ 9 ในปี 2548 ผุ้นำได้รับรองปฏญญากัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยการประชุมสุดยอดอาเซียน+3 ซึ่งกำหนดให้การจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออกเป็นเเป้าหมายระยะยาว และให้กรอบอาเซียน +3 เป็นกลไกหลักเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว นอกจากนี้ในโอกาสครบรอบ 10 ปีของความร่วมมืออาเซียน+3 ในปี 2550 ได้มีการออกแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือเอเชียตะวันออก ฉบับที่ 2 และแผนงานความร่วมมือาเซียน +3 (ฉบับปี 2550-2560) ซึ่งกำหนดแนวทางดำเนินความร่วมมือตามแถลงการณ์ฯซึ่งได้มีการัีบรองแผนฉบับปรับปรุงเมื่อปี 2556
ในการประชุมสุดยอดอาเซียน + 3 สมัยพิเศษฉลองครอบรอบ 15 ปีของความสัมพันธ์ เมื่อปี 2555 ได้มีการรับรองรายงานของกลุ่มวิสัยทัศน์เอเชียตะวัยออก รุ่นที่ 2 ที่จัดตั้งขึ้นในปี 2554 โดยกำหนดมาตรการส่งเสริมความร่วมมือกว่า 25 สาขา โดยตั้งเป้าหมายในการเป็นประชาคมเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกในปี 2563 เพื่อปูทางสู่การเป็นประชาคมเอเชียประชาคมเอชียตะวันออกในอนาคต
กลไกความร่วมมือาเซียน +3
กลไกการดำเนินความสัมพันธ์ในภาพรวมของอาเซียน +3 แบ่งออกเป็ฯ 3 ระดับใหญ่ ได้แก่ การประชุมสุดยอดผุ้นำอาเซียน +3 ASEAN +3 Summit ซึ่งจัดขึ้นในช่วงเดียวกับการประชุมสุดยอดอาเซียนในช่วงปลายปีของทุกปี, การประชุมรัฐมนตรีต่างประทเศอาเซียน +3 ASEAN Post Ministerial Conference-PMC ในช่วงครึ่งหลังของทุกปี, การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน +3 การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน +3 ในช่วงกลางปีของทุกปี
ภาพความร่วมมืออาเซียน +3
- ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง กลไกหลักคือการประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสามาและการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนบวกสาม โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมความร่วมมือ ความไว้เนื้อเชื่อใจ และรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค, อาชญากรรมข้ามชาติ กลไกหลักคือ APT Ministerial Meeting on Transnation Crime (AMMTC+3) และ APT Serior Officials Meeting on Transnational Crime (SOMTC+3) ที่มีการประชุมทุก 2 ปี โดยล่าสุด การประชุมครั้งที่ 6 จัดขึ้นที่เวียงจันทน์ เมื่อเดือน ก.ย. 2566 โดยมุ่งเน้นการดำเนินกิจกรรมต่างๆ อาทิการจัดสัมมนา การฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมศักยภาพเจ้าหน้าที่ และการบังคับใข้กฎหมาย
- ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ในปี 2556 อาเซียนกับประเทศ +3 มีมูลค่าการต้าระหว่างกัน 726,400 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ(28.9%ของปริมาณการต้าของอาเซียน) โดยเพ่ิมขึ้นจากปีก่อน 1.8% นอกจากนี้ มูลค่าการลงทุนโดยตรงจากประเทศ +3 เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 35,100 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ (28.7% ของการลงทุนทั้งหมดในอาเซียน) โดยเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 13.6%
การเงิน กลไกหลักคือการปรุชมรัญฐมนตรีคลังและผุ้ว่าธนาคารกลางอาเวียน +3..
การท่องเทียว กลไกหลักคือ ASEAN Plus Tree Tourism Minister Meeting (M-ATM+3)โดยในปี 2013 มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางมาในภูมิภาคอาเซียน +3 จำนวนทั้งสิ้นท 230 ล้านคน ซึ่งเพ่ิมขึ้นจากเดิม 4.37% โดยมีความร่วมมือที่มุ่งสงสเริมศักยภาพของบุคลากร การตลาดร่วม และส่งเสริมการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ
การเกษตร กลไกหลักคือ ASEAN Minister on Agriculture Meeting with Plus Three Countries(AMAF+3) โดยมีการประชุมล่าสุดครั้งที่ 14 ที่กรุงเนปิดอว์ ในปี 2557 โดยมุ่งเน้นสาขาความมั่นคงทางอาหารและพลังงานชีวภาพ การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การจัการป่าไม้อย่างยั่งยืน และการวิจัยและพัฒนาด้านการเกษตร โดยที่ประชุมสุดยอดอาเซียน+3 ครั้งที่ 12 เมื่อปี 2552 ที่อำเภอชะอำ หัวหิน ได้รับรอง..เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาเหารและพลังงาน รวมถึงจัดตั้งองค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียน +3 ซึ่งได้มีการลงนามความตกลงจัดตั้ง APTERR และมีผลบังคับใช้ตังแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2555(2012) ทั้งนี้ สำนักเลขาุการ APTERR มีที่ตั้งอยุ่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีนายวิโรจน์แสงบางกา เป็นผุ้อำนวยการสำนกงานเลขานุการฯ
พลังงาน กลไกหลักคือ APT Minister on Energy Meeting (AMEM+3) โดยล่าสุดมีการประชุมครั้งที่ 121 ที่เวียงจันทน์ เมื่อปี 2557 (2014) โดยมุ่งเน้นกิจกรรมเวทีสมัมมาในสาขาต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิ ตลาดน้ำมัน ความมั่นคงทางพลังงาน พลังงานทดอทนและการประหยัดพลังงานโดยเน้นสร้างศักยภาพ แลกเปลี่ยนข้อมูล
- ความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรม
ด้านการศึกษา กลไกหลักคือ APT Education Minister Meeting (APT-EMM) โดยมีการประชุมครั้งล่าสุดเป็นครั้งที่ 2 ที่กรุงเวียงจันทน์ เมื่อเดือน ก.ย. 2557 โดยมี ASEAN Plus Three Plan of Action on Education (2010-2017) เพื่อกำหนดแนวทางการส่งเสริมความร่วมมือ โดยมุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนและการประกันคุณภาพหลักสุตร
ด้านวัฒนธรรม กลไกหลักคือ APT Minister Responsible for Culture and Arts (AMCA+3) โดยการประชุมครั้งล่าสุดจัดขึ้นที่เมืองเว้ เมื่อเดอืน เมษายน 2557 โดยมี Work Plan on Enhancing APT Cooperation in Culture กำหนดแนวทางความร่วมือ โดยมุ่งเน้นการดำเนินนโยบายด้านวัมฯธรรมและศิลปะการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทรดกทางวัฒนธรรม และการพัฒนา SMEs และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
ด้านสิ่งแวดล้อม กลไกหลักคือ ASEAN Plus Three Enviroment (APTHMM) โดยมีการประชุมครั้งล่าสุดที่กรุงเวียงจันทน์ เมื่อเดือน ตุลาคม 2014 โดยมุ่งเน้นด้านสิ่งแวดล้อม การพัฒนาอย่างยั้งยืน การบริหารจัดการน้ำ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
ด้านสาธารณะสุข กลไกหลักคือ ATP Healt Ministers Meeting(APTHMM)โดยมีการประชุมครั้งล่าสุดเป็นครั้งที่ 7 เมื่อเดือน ก.ย. 2557(2014) ที่กรงุฮานอย โดยมุ่งเน้นความร่วมมือเรื่องยาแผนโบราณสุขภาพแม่และเด็ก หลักประกันสุขภาพถ้วยหน้าและการรับมือโรคติดต่อและโรคระบาดอุบัติใหม่ ซึ่งล่าสุดไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนบวกสาม สมัยพิเศษ เรื่องการเตรียมความพร้อมและการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา เมื่อ ปี 2557(2014)
ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและประชาสังคม มีกลไกหารือหลักระหวางประเทศอาเซียน+3 สองกลไกได้แก่ Network of East Asia Think Tanks (NEAT) ซึ่งกลไกหารือระหว่างภาควิชาการในประเทศอาเซียน + 3 และ East Asia Forum (EAF) ซึ่งเป็นกลไกระว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและภาควิชาการ
กองทุนความร่วมมืออาเซียน +3 ASEAN Plus Three Cooperation Fund-APTCF จัดตั้งขึ้นเมื่อ เมษายน 2552(2009) เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการและกิจกรรมต่างๆ ในกรอบอาเซียน +3 โดยมีเงินทุนเริ่มต้น 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยใช้อัตราส่วนการสมทบ 3:3:3:1(จีน : ญี่ปุ่น : กลต. : อาเซียน)..(บทความ "กรอบความร่วมมืออาเซียน +3 จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี)
วันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น