ASEAN-China Free Trade Agreement : ACFTA

           ความตกงลงเขตการต้้าเสรี อาเซียน-จีน
           วัตถุประสงค์ เพื่อขยายความร่วมมือทางเศราฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกอาเซีียนทั้ง 10 ประเทศ และสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมุ่งขยายการ้าและกาตลงทุนระหว่างกัน เพื่อให้ประเทศภาคีความตกลงฯ มีการพัฒนาทางเศรษฐฏิจ มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2547 (2004) โดยประเทศสมาชิกอาเซียนและจีน จะให้สิทธิพิเศษฯ แก่สินค้าเกือบทุกรายการปัจจุบันยกเลิกอัตราภาษีภายใต้ ACFTA และ้วกว่าร้อยละ 90 ของรายการสินค้า หรือราว 8,000 กว่ารายการ
          การลดหย่อนภาษี
          - สินค้าที่นำมาเร่งลดภาษีทันที่
            1 ต.ค. 2546 ไทย-จีนพิกัด 07-08 ลดอัตราภาษีเป็น 0
            1 ม.ค. 47 อาเซียน-จีน พิกัด  01-08 ลดอัตราภาษีเป็น 0 ภายใน 3 ปี
          - สินค้าปกติ เริ่ม 20 ก.ค. 48 แบ่งการลดเป็น 2 ส่วน
            NT I ลดอัตราภาษีเป็น 0 ภายใน 5 ปี
            NT II ลดอัตราภาษีเป็น 0 ภายใน 7 ปี ท้้งไทยและจีน ทั้งไทยและจีน ไม่เกินประเทศละ 150 รายการ
          - สินค้าออนไหว แบ่งกาลดเป็น 2 ส่วน
            สินค้าอ่อนไหว ลดอัตราภาษีเป็น 20% ในปี 2555 และเหลือ ).5% ในปี 2558
          - สินค้าที่มีความอ่อนไหวสูง ลดอัตราภาษีเป็น 50% ในปี 2558 และไม่ลดลงอีก
             หมายเหตุ แต่ละประเทศในอาเซียนอัตราการลดหย่อนแตกต่างกัน
            กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า
            กฎทั่วไป ซึ่งเป็นกฎหลักหรือกฎทั่วไป ใช้กับทุกสินค้า
            หลักเกณฑ์ว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า
            - ผลิตภัฒฑ์ที่ได้มาหรืผลิตขึ้นโดยใช้วัตถุดิบภายในปะเทศทั้งหมด หรือ
            - ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาหรือผลิตขึ้นโดยมิได้ใช้วัตถุดิบภายในประเทศทั้งหมด โดยมีสัดส่วนของวัตถุดิบที่มีถ่ินกำเนิดภายในประเทศภาคีอาเซียนและจีน ไม่น้อยกว่า 40 % ของราคา F.O.B. กฎว่าด้วยถ่ินกำเนิดสินค้าและระเบียบปฏิบัติฯ
             กฎเฉพาะสินค้า เป็ฯกฎที่ใช้กับสินค้าเฉพาะรายการหรือ กฎที่ยกเว้นจากกฎทั่วไป
             การขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีภายใต้ FTA อาเซียน-จีน..(www.dft.go.th..."ความตกลงเขตการตกลงเขตการค้าเสรี อาเซียน-จีน)
              ความสัมพันธ์อาเซียนและจีนในหลายทศวรรษที่ผ่านมา พฤติกรรมและการเปลี่ยนแปลงของการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างกันทั้งจากศัตรูกลายเป็นมิตรและในบางขณะจากมิตรก็กลายเป็นศัตรู การดำเนินการทางการทูตของจีนต่ออาเซียนถูกดำเนินมาท่ามกลางปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในและาภายนอกประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา นับตั้งแต่การขึ้นมามีอำนาจปกครองจีนแผ่นดินใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์ จีนเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในภุมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และส่งผลต่อการเมืองระดับภูมิภาคเป็นอย่างใาก สภาพแวดล้อมระหว่างประเทศในอดีตที่การเมืองระหวางประเทศถูกแบ่งออกเป็น 2 ขั้วอำนาจ ล้วนส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับประเทศในภูมิภาคเอเชชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้เพราะหลายประเทศไม่ว่าจะเป้น ไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์หวาดระแวงจีนจึงมีนธยบายร่วมมือกับฝ่ายโลกเสรีในการต่อต้านอิทธิพลคอมมิวนิสต์ ส่งผลให้จีนดำเนินนโยบายต่างประเทศที่แข็งกร้าวตอบโต้โดยช่วงทศวรรษที่ 1950 นั้นจีนพยายามลดอิทธิพลของจัรวรรดินิยมตะวันตกและมหาอำนาจอื่นๆ ซึ่งอาจเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของตนลและให้ความช่วยเหลืแก่ขบวนการคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
             เมื่อต่อมาประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งประกอบด้วย ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ได้รวมกลุ่มกันจัดตั้ง "สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" หรือ "อาเซียน" จีนประณามและมองว่าอาเซียนเป็นเพียงกลุ่มความร่วมมือที่เป็นเครื่องมือของ จักรวรรดินิยมอเมริกา อย่างำรก็ตามเมื่อจีนกับสหภาพโซเวียตเร่ิมีปัญหาขัดแย้งกัน ตลอดทศวรรษ 1960 และหันมาปรับความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาในทศวรรษที่ 1970 ทำให้จีนมีท่าทีประนีประนอมและลดการวิพากษ์วิจารณือาเซียนลง ทั้งนี้เพราะประเทศสมาชิกในอาเซียนนั้นเป้นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกาและจีนก็ต้องการสร้างแนวร่วมรดับรัฐบาลกับกลุ่มประเทศอาเซียนเพื่อต่อต้านอิทธิพลของสหภาพโซเวียต ดังนั้นจีนจึงเปิดการเจรจาเพื่อสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทุตกับประเทศสมาชิกอาเซียนได้แก่ มาเลิซียนใน ค.ศ. 1974 (พ.ศ. 2517) ฟิลิปปินส์และไทย ค.ศ. 1975 ( 2518) สำหรับสิงคโปร์และอินโดนีเซียนันแม้จะมิได้มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในช่วงเวลาดังกล่าวแต่ก็มีการติดต่อค้าขายกันมากขึ้น ความสัมพันธ์ของจีนกับอาเซียนได้กระชับแน่นแฟ้นมากขึ้นตลอดทศวรรษที่ 1980 จากปัฯหากัมพูชาที่ถุกเวียนามส่งทหารเข้ายคึดครอง จีนเข้ามามีบทบามสำคัญกับความขัดแย้งนี้โดยกานส่งทหารเข้าประชิดพรมแดนเวียนนามเพื่อทำ "ส่งครามสั่งสอน" ทไใ้อาเซียนยอมรับจีนมากขึ้นอาจกล่าวได้ว่าจีนและกลุ่มประเทศอาเซียนมีผลประดยชน์ทางด้านความมั่นคงสอดคล้องกันในขณะนั้นการเปลี่ยนข้างเปลี่ยนฝ่ายจากที่เคยเป็นมิตร(จีนและเวียดนาม)ก็กลับมาเป้นศัตรูและที่เคยเป็นศัตรู(จีนและอาเซียน)ก็กลับมาร่วมมือกัน ซึ่งทำให้จีนเป็นที่ยอมรัีบในฐานะผุ้แสดงบทบาทสำคัญที่จะสามารถสร้างสรรค์เสถียนรภาพให้กับภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ได้ในเวลาต่อมา
            อย่างไรก็ตามแม้จีนกับอาเซียนจะมีความใกล้ขิดกันมากขึ้นแต่ปัญหาข้อพิพาทเรื่องดินแดนยังคงมีอยุ่ อาทิ ปัญหาการอ้างกรรมสิทธิ์ในหมู่เกาะทะเลจีนใต้ อย่างไรก็ตามตลอดเวลา 19 กว่าปีที่ผ่ารมาจีนได้พยายามแก้ไขภาพลักษณ์และลดความหวาดระแวงของกลุ่มอาเซียน จีนดำเนินนธยบายต่างประเทศหรือการทูตด้านการเมืองและความมั่นคงเพื่อลดความหวาดระแวงและสร้างความเชื้อมั่น จนกระทั่งความสัมพันธ์ระหว่างจีกับอาเซียนในปัจจุบันมีความใกล้ชิดและร่วมมือในด้านการเมืองและความมั่นคงเป็นอย่างมาก..( การทูตและความมั่นคงใหม่ของจีนต่ออาเซียนในศตวรรษที่ 21, มลฤดี ประเสริฐศักดิ์)
         
ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ได้มีเงินทุนจาต่างประเทศหลั่งไหลเข้ามาลงทุนในภูมิภาคอาเซียนเป็นจำนวนมากส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนจาก สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ยุโรป เกาหลีใต้และจีน ดยเฉพาะงินทุนจากจีนมีแนวโน้มเพิ่มขั้นอย่างมากและเป็นผุ้ลงทุนรายใหญ่อันดับ 1 ในกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงคือในปี 2557 กาลงทุนของจีนในกลุ่ม สปป.ลาว ดัมพุชาและมียนมา มีมุลค่า 614.3,553.9และ 578.7 ล้านเหรียนสหรัฐฯ ตามลำดับ กรณีทีเม็ดเงินการลงทุนของจีเข้ามาในอาเวียนเป้นจำนวนมากนั้น นอกจากจะเป้นผลจาปัจจัยดึงดุดการลงทุนจากต่างประเทศของประเทศต่างๆ ในอาเซียนแล้ว ที่สำคัญยงเป็นผลจากนโยบายของรัฐบาลจีนที่สนับสนุนให้ผุ้ประกอบการออกมาลงทุนต่างประเทศตามเส้นทางเชื่อมดยงการต้าใหม่ของจีน (เส้นทางสายไหมใหม่ในศตวรรษที่ 21) ซึ่งผระเทศไทยก็เป็นเส้นทางหนึ่งที่เป็นเป้าหมายของนักลงทุนจีนที่จะเริ่มจากทางตอนใต้ของจีน
              ในแต่ละประเทศอาเซียนที่ทุนจีออกไปลงทุนย่อมมาจากเป้าหมายที่แตกต่างกันไป เช่น โครงการลงทุนต่างๆ  ของจีนในเมียนมาส่วนใหญ่เป็นการพลังงานและทรัยากรธรรมชาติ การสร้างเขื่น การก่อสร้างท่อส่งน้ำมัน ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ท่าเรือน้ำลึก นิคมอุตสาหกรรม และรถไฟฟ้าที่มีความยาวเกือบ 1,000 กิโลเมตร เป็นต้น ส่วนการลงทุนของจีนในกัมพุชาเป็นโครงการลงทุนในด้านพลังงานไฟฟ้า อสังหาริมทรัพย์ การเกษตรอุตสาหกรรมที่เน้นการใช้แรงงานเป็นหลัก เช่น สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป เนื่องจากค่าแรงยังมีราคาถูกเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ
             ในสปป.ลาว อิทธิพลทางเศรษฐกิจของจีนมีต่อ สปป.ลาว นั้น จีนได้โอกาสในการลงทุนและพัฒนาแบบรัฐต่อรัฐที่เป้นโครงการขนาดใหญ่ เช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษหรือเขตเศรษฐกิจจำเพาะที่รัฐบาล สปป.ลาว ให้สัมปทานแก่กลุ่มทุนจีนเข้ามาพัฒนาเพื้นที่ต่างๆ ได้แก่ เขตเศรษฐกิจบึงธาตุหลวง นครเวียงจันทน์ หรือเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนบ่อเต็น-บ่อหาน(พรมแดนลาว-นีน) ซึ่งจุดสิ้นสุดเส้นทาง R3A ได้กลายเป็นเมืองใหม่ของจีนใน สปป.ลาวไปแล้ว นอกจากโครงการใหญ่ ๆ แล้วอิทธิพลของทุนจีนยังลงไปถึงระดับการค้าขายในชุมชนเล็กๆ ตามเมืองต่างๆ ของสปป.ลาว ด้วยเช่น การต้าขายโทรศัพท์มือถือและสินค้าอื่นๆ ของจีนที่ตลาดชายแดนวังเต่า แขวงจำปาัก-ช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานี ที่พ่อค้าแม่ขายในตลาดแห่งนี้ส่วนใหญ่เป็นชาวจีนเซี่ยงไฮ้เกือบทั้งหมด
              ส่วนโครงการการลงทุนของจีนในสิงคโปร์ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่ภาคบริการทั้งด้านการเงิน การธนาคาร การบริการทางธุรกิจ การจำหน่างสินค้า และอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ซึ่งซื้อสังหาริมทรัพย์ที่อยุ่อาศัยในสิงคโปร์ปัจุบันมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมากเพราะสิงคโปร์มีคนเชื้อสายจีนจำนวนมากและใชภาษาจีนกลางในการสื่อสารรวมถึงนโยบายของรัฐบาลสิงคโปร์ด้านการปล่อยสินเชื่อและนโยบายการโยกย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยของต่างชาติที่มีการผ่อนปรนมากขึ้น อีกทั้งในจีนได้เริ่มมีนโยบายจำกัดการซื้อบ้านในแผ่นดินจีนแล้ว
             สำหรับการลงทุนของจีนในประเทศไทยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI ได้เประเมินว่ายอดการลงทุนของนักลวทุนจีนที่เข้ามาลงทุนในไทยปี 2558 มีมูลค่ามากกว่า 40,000 ล้านบาท และคาดว่าในอีก 3-5 ปีข้างหน้าภาคเอกชนจีนจะเข้ามาลงทุนในไทยกว่า 100,000ล้านบาท เป้าหมายของจีนที่มาลงทุนในไทยนอกจากจะเพื่อใช้ไทยเป็นตลาดสินค้าของจนแล้ว ยังมอง่าไทยสามารถเป็นฐานการผลิตส่งออกไปยังประเทศแถบอาเซียน รวมถึงส่งสินค้ากลับไปจำหน่ายในจีน เพราะการผลิตสินค้าด้านการเกษตรที่ไทยมีวัตถุดิบจำนวนมก ดดยเฉพาะวัตถุดิบทาด้านการเกษตร และยังมีเป้าหมายใช้ฐานการผลิตในไทยส่งออกสินค้าไปยุโรป และอเมริกาที่ในบางสินค้าจากจีนถูกกีอกันหากส่งออกไปจากจีนโดยตรง
           นอกจากนี้ จีนบังมียุทธศาสตร์ทางด้านการขนส่งคือการสร้างาถไฟควมเร็วสูงจากคุรหมิงลงมาถึงนครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว ในขณะที่ไทยก็มีโครงการสร้างทางรถไฟเชื่อต่อจากเวียงจนทน์มายังจังหวัดหนองคาย ขอนแก่น นครราชสีมา สระบุรีและกรุงเทพมหานคร ซึงจะส่งผลดีต่อการต้าและการลงทุนทั้งของไทยและจีนเพิ่มขึ้น จาการหลั่งไหลของทุนจีนที่เข้ามาในอาเซียนรวมทั้งประเทศไทยนั้น จำเป็นที่รัฐบาลและนักธุรกิจของไทยและประเทศสมาชิกต้องมีความพร้มในการปรับตัวเพื่อรองรับการลงทุนดังกล่าวของจีน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการผลิต การค้า การลงทุน การจ้างงานและรายได้ของประเทศตนให้มากที่สุด..(thailand.prd.go.th.."ทุนจีนในอาเซียน")
             
             
         

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)