วันเสาร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2560

ASEAN-India Free Trade Agreement : AIFTA

               อาเซียนและอินเดียได้ลงนามความตกลงการต้าเสรีอาเซียน-อินเดีย หรือ ASEAN-India Free Trade Agreement  เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2552 (2009) ที่กรุงเทพฯ การลงนามความตกลงดังกล่าวเป็นผลมาจากความพยายามในการเจรจาตั้งเขตการต้าเสรีอาเซียน-อินดเีย มายาวนานกว่า 6 ปี ตั้งแต่ปี 2545 และทั้งสองฝ่ายได้ลงนามกรอบความตกลงว่าด้วย ความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมด้านต่างๆ หรือ Framework Agreement on Comprehensive Economic Cooperation Agreement(CECA) เมื่อปี 2546 โดยภายใต้ความตกลงว่าด้วยการต้าสินค้า หรือ Agreement on Trade in Goods (TIG) มีผลให้อินเดียย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย เร่ิมลดภาษีตั้งแต่วันที่ 1 มกตรคม 2553(2010) และประเทสมาชิกอาเซียน 5 ประเทศได้แก่ บรูไน มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ไทย และอินเดียจะยกเลิกภาษีศุลการกรของสินค้าโดยรวมประมาณร้อยละ 80 ของรายการสินค้าภายในปี 2559 ขณะี่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียนอื่นๆ ได้กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม และอินเดียจะยกเลิกภาษีภายในปี ส่วน 2564 ประเทศฟิลิปปินส์และอินเดียจะยกเลิกภาษีภายในปี 2562 ฝ่ายไทยมอง่า อินเดียวเป็นประเทศี่มีศักยภาพด้านเศรษบกิจ และมีความสำคัญต่อภูมิภาคเอเซียเป็ฯอันดบที่สามรองจากญี่ปุ่นและจีน ด้วยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 7-8 ต่อปี ส่งผลให้ประชากรที่รายได้สูงขึ้นและเป็นตลาดผุ้บริโภคขนาดใหญ่ที่มี กำลังซื้ปานกลางถึงสูงรวมกว่า 350 ล้านค้น อินเดียจึงเป้นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพรองรับการสงออกของไทย ขณะที่ฝ่ายอินเดียมองฝา 10 ประเทศในอาเซียนถือเป็นกลุ่มประเทศที่ใกล้ชิดกับอินเดียใมากเป็นลำดับสอง รองจากประเทศในกลุ่มเอเชียใต้ แต่โดยที่กลุ่มประเทศเอเชียใต้ส่วนใหญ่จะมีพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่ช้า อินเดียจึงเล็งเห็นว่า จำเป็นที่ต้องมองไปทางฝั่งตะวันออก เพื่อกระชับความร่มมือทางเศรษฐกิจและการต้ากับกลุ่มอาเซียน จึงให้ความสำคัญกับนโยบาย Look East pOLICY
              การลงนามในความตคกลง TIG สำหรับอินเดียจึงมีความสำคัญต่ออินเดียอย่างยิ่ง และเปรีบเสมือนเป็นการสร้างเขตการต้าเสรีที่มีประชากรมากกว่า 1.8 ล้านคน และมี GDP รวมกันกว่า 2.8 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ และขณะนี้มีรายการสินค้ากว่า 4,000 รายการที่จะลดภาษีให้เหลือ 0 ภายในป ี 2559 (2016)
               เมื่อดูสถิติ จะพบว่า การต้าระหว่างอาเซียนกับอินเดียภายหลังการลงนมความตกลง TIG ได้เพ่ิมขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงมีมูลค่าและการเติบโตน้อยกว่าการต้าระหว่างอาเซียนกับจี อาเซียนกับฐี่ปุ่น และอาเซียนกับเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญ
               ในปี 2554 ภายหลังจากการลดภาษีตามความตกลง มูลค้าการต้าระหว่างอินเดียกับอาเียนเพ่ิมขึ้นจากปี 2542 ที่มีรวม 43,911.67 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพ่ิมขึ้นเป็น 56,235.85 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือขยายตัวสูงถึงร้อยละ 28 และได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนถึงปี 2557 มูลค่าการต้ารวมอาเซียน-อินเดีย มีสูงถึง 76,527.35 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
                จากสถิติการต้าทั้งในส่วนของการนำเข้าและส่งออกระหว่างอินเดียกับอาเซียนมีเพ่ิมขึ้นโดยตลาอยกเว้นในปี 2555(2012) ที่การส่งออกของอินเดียไปยังอเซียนมีการเติบโตที่ติดลบ สินค้าส่วนใหญ่ที่อินเดียได้ประโยชน์จาก TIG คือ การส่งออกสินค้าทางด้านวิสวกรรม เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องจักร อุตสาหกรรม และผลิตภัฒฑ์พวกแร่โลหะต่างๆ ไปยังอาเซียน
                อย่างไรก็ดี อินเดียมองว่า ในการทำการต้าระหว่างอินเดียกับอาเซียน ยังคงมีอุปสรรคทงการต้าที่ไม่ใช้มาตรการทางภาษี อื่นๆ ในโดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุปสรรคทางเทคนิค เช่น มาตรฐานสินค้า มาตรฐานการผลิต สินค้า การตรวจสอบสินค้า และอุปสรรคด้านอื่นๆ เชน การจำกัดโควต้า การนอเข้สสินค้า เช่น  กรณีของสินค้าเวชภัฒฑ์และการห้ามนำเข้า เช่น สิงคโปร์และอินโดนีเซีย ไ้ามนำเข้าเนื้อสัตว์ จากอินเดีย เป็นต้น
               นอกจากนี้ พ่อค้าอินเดียยังมอง่า รัฐบาลอินเดียยังไม่ได้ให้การสนับสนุนการส่งออกอย่างจริงจั แลมองว่า กระบวนการส่งออกจากอินเดียใช้เวลายาวนาน และเสียเงินและเสียเวลาค่อนข้องมาก อีกทั้งยังต้องมีสินบนให้กับเจ้าหน้าที่ของอินเดีย อีกทั้งโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนนหนทางและระบบโลจิสตอกส์ของอินเดียยังไม่ดีพอ รวมถึงรัฐบาลยังมีนโยบายที่เปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ ซึ่งล้วนส่งผลต่อต้นทุนการส่งออกของพ่อค้าอินเดีย
หากพิจารณาดูความเคลือนไหวของอินเดียในระยะนี้ จะพบว่า อินเดียมีได้มองเฉพาะการต้าระหว่งอินเดียกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น แต่กำลังพยายามที่จะชเื่อมโยการต้าของอินเดียเข้ากับกลุ่มทางเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น ความตกลงพันธมิตรทางกาต้าระดับภุมิภาค, ความตกลงหุ้นสวนทางเศณษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก โดยอินเดียมองว่าจะใช้ประโยชน์จกประเทศอาเซียนที่เป็นสมาชิก TPP ได้อย่างไร และในสาขาใด
               รายงานข่าว ระบุว่า อินเดียเป็นประเทศที่ประกาศจะสนับสนุนให้ผุ้ประกอบการอินเดียไปลงทุนธุรกิจ สิ่งทอในเวียดนามด้วยการเสนอสิทธิพิเศษ ทั้งด้านการเงินและด้านการสร้างนิคมอุตสาหกรรม ดดยการลงทุนดังกล่าวจะทำให้ได้สิทธิประโยชน์ในกานส่งออกสินค้าไปขายในประเทศสมาชิก ของ TPP ที่มีมุลค่าคิดเป็นสัดส่วนสุงถึงร้อยละ 40 ของการค้าโลก
              อย่างไรก็ดี  อินเดียบังเป้ฯประเทที่ยังไม่เข้าร่วม TPP โดยประเมินว่า อินเดียจะประสบปัญหาทางการต้าหลายประการ หากตัดสินใจเข้าร่วมความตกลง TPP โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเด็นเรื่องิทธิบัตรยา เนื่องจากจะทำให้ยาในอินเดียมีราคาเพ่ิมสูงขึ้นอย่างมาก และส่งผลกระทบต่อประชากรอินเดียในกลุ่มผุ้มีรายได้น้อยและปานกลางอย่างรุนแรง..(www.thaiembassy.org/.."เหลียวมองการค้าระหว่างอินเดียกับอาเซียน)
             ประเทศสมาชิกอาเวียนและอินเดีย ได้ลงนามกรอบความตกลงว่าด้วยควาร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมด้านต่างๆ ระหว่างอาเซียน กับ อินเดีย ซึ่งครอบคลุมการลดและยกเลิกภาษีศุลกากรมาตรการและอุปสรรคที่มิใช่ภาษี การเปิดเสรีการต้าบริการ การลงทุน และการจัดทำกลไกระงับข้อพิพาท รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือในการอำนวยความสะดวกทางการ้าและด้านอื่นๆ
             การเจรจาจัดทำความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าระหว่างอาเซยนและอินเดียได้บรรลุข้อตกลงการลดและยกเลิกภาษีศุลกากรเสร็จสิ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 สำหรับประเทศไทยความตกลงดังกล่าวเร่ิมมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2553
             สาระสำคัญของการความตกลงการต้าเสรีอาเซียน-อินเดีย
             - การลดและยกเลิกภาษีศุลกากร ประเทศสมาชิกาอเว๊ยนและอินเดียจะทยอยลด/ยกเลิกภา๊ศุลกากรตามตารางข้อผูกพันภาษี ภายใต้ความตกลง AIFTA ภมยในกำหนดเวลาที่ต่างกันโดยประเทสมาชิกใหม่ของอาเซียน (ลาว กัมพูชา เวียนนาม และพม่า)จะได้รับความยืดหยุ่นให้ลดภาีชข้ากว่าประเทศอินเดีย บรูไน มาเลิซีย สิงคโปร์ และไทยเป็นระยะเวลาห้าปี ส่วนอินเดียกับฟิลิปปินส์จะลดภาษีให้แก่กันช้ากว่าที่อินเดียลดภาษีให้กับประเทศสมาชิกอื่นอย่างน้อยเป็นเวลาสามปี ซึ่งแต่ละประเทสจะทยอยลดภาษีจากอัตราภาษีเรียกเก็ฐจริง ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2550
             - กฎว่าด้วยถิ่นกำเนินสิค้า หัวใจสำคัญของการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้า คือ กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า ซึงเป้ฯหลักเกณฑ์ในการตัดสิน หรือ ใช้สำหรับพิสูจน์ว่าสินค้าส่งออกมีสัญชาติหรือถ่ินกำเนิดภายในกลุ่มประเทศอาเซียนและอินเดีย เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสินค้ากำเนิดภายในุ่มประเทศอาเวียนและอินเดีย เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสินค้าที่จะได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรภายใต้ AIFTA จะต้องเป็นสินค้าที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศภาคีเท่านั้น
              - ระเบียบปฏิบัตเกี่ยวกับหนังสือรับรองถ่ินกำเนิดสินค้า ภายใต้เขตการต้าเสรีอาเซียน-อินเดีย AIFTA ในการส่งออกสินค้าที่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรภายใต้ความตกลงการต้าาเสรีอาเซียน-อินเดีย AIFTA ผุ้ส่งออกเหรือผุแทนที่ได้รับมอบอำนาจจะต้องยื่นคของรับหนังสือรับรองถิ่นกำเนิด ฟอร์ม AI ซึ่งออกโดยกรมการต้าต่งประเทศ เพื่อส่งให้ผุ้นำเข้าขอใช้สิทธิลดหย่อน หรือยกเว้นภาษีศุลกากร ณ ประเทศปลายทาง นอกจานี้ ยังเป้นเอกสารที่ใช้พิสูจน์ว่าสินค้าที่จะส่งออกดังกล่าวมีการผลิตได้ถูกต้องตามกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าภายใต้ความตกลงฯ
              อย่างไรก็ดี ผุ้ส่งออกและ/หรือผุ้ผลิต ซึ่งมีสิทธิได้รับสิทธิพิเศษทางภษีศุลกากรจะต้องยนคำร้องเป็นลายลักษณ์อักษรต่อหน่วยงานที่มีอภนาจในการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าของประเทศภาคีผุ้สงออกเพื่อขอให้มีการตรวจสอบถ่ินกำเนิดสินค้าของผลิตถัณฑ์ก่อนการส่งออก ให้ถือว่าผลของการตรวจสอบเป็นหลักฐานสนับสนุในการตรวจสอบถิ่นกำเนิสินค้าของผลิตภัฒฑ์ดังกล่วเพื่อากรส่งออกหลังจากนั้น โดยจะมีการตรวจสอบเป็นคราวๆ ไปหรือเมื่อมีความเหมาสม การตรวจสอบก่อนการส่งออกไม่นำไปใช้กับผลิตภัณฑ์ที่โดยลักษณะแล้วสมารถตรวจสอบถิ่นกำเนิดสินค้าได้โดยง่าย...(คู่มือารใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้ความตกลงอาเซียน-อินเดีย)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...