วันพุธที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ASEAN + 6

           ความตกลงหุ้นส่วนเศราฐกิจระหว่างอาเซียนกับ 6 ประเทศ Comprehensive Economic Partnership in East Asia : CEPEA
           ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น และ เอเซียตะวันออก ซัมมิท +3 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลิเซียน เมื่อปี พ.ศ. 2549 ญี่ปุ่นเสนอให้กลุ่มผู้เชี่ยยวชาญภาควิชาการ ของกลุ่มประเทศ เอเซียตะวันออก ซัมมิท ประกอบด้วย จีน ญี่ป่นุ เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซี่แลนด์ และอินเดีย ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการัดตั้ง เขตการค้าเสรีระหว่างอาเซียน +6
          ทีป่ระชุม เอเซียตะวันออก ซัมมิท ครั้งที่ 2  เมื่อปี พ.ศ. 2550 ณ เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ มีมตรเห็นชอบให้ดำเนินการศึกษาดังกล่าว โดยญี่ปุ่นจะจัดให้มีการประชุมร่วมกันระหวางนักวิชาการซึ่งเป้นตัวแทนของแต่ละประเทศครั้งแรกในเดือนมิถุนายน 2550
          กลุ่มผู้เชี่ยวชาญฯ ของ CEPEA (รศ.ดร. สุทะิพันธ์ จิราธิวัฒน์ ประธานศุนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทำหน้าที่เป็ฯผุ้เชี่ยวชาญฯ ฝ่ายไทย) ได้ทำการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงการต้าเสรีระหว่างประเทศอาเซีียน +6 โดยมีการประชุมร่วมกัน 6 ครั้ง โดยสรุปผลการศึกษาและนำเสอนต่อที่ประชุมผุ้นำเอเซียตะวันออก ในปี 2551 ณ กรุงเทพฯ โดยระบุว่าการจัดทำ อาเซียน +6 นั้นจะทำให้ GDP ของแต่ละประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.11% โดยในส่วนของอาเวียนนั้น จะได้รับประโยชน์มากกว่าโดย GDP ของอาเซียน เพิ่มขึ้น 3.83% ในส่วนของไทย GDP จะเพิ่มขึ้นเท่ากับ 4.78%
            นออกจากนี้ ผลุการศึกษาได้ครอบคลุมประเด็นอื่นๆ สำคัญ ผลกระทบด้านเศรษบกิจ องค์ประกอบของ อาเซียน +^ ซึ่งประกอบด้วย การเปิดเสรีทางการต้าและการลงทุนการอำนวนความสะดวกทางการต้าและการลงทุน ความร่วมมือ างด้านเศรษฐกิจ พลังงาานและสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจรากนี้ได้เสนอแนะแนวทางสู่การทำเขตการค้าเสรีเอเซียตะวันออก โดยเสนอให้ประเทศสมาชิกต้องเริ่มที่เข้าใจหลักพื้นฐานและเป้าหมาบยของ อาเซียน +6 อันจะมุ่งสู่การเปิดเสรีการอำนวยความสะดวก และความร่วมมือระหว่างกัน
           ต่อมาที่ระชุมเอเซียตะวันออก ซัมมิท ครั้งที่ 40 และ AEM-METT ครั้งที่ 15 ในปี 2551 ณ ประเทศสิงคโปร์ มีมติเห็นชอบและสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญในการศึกษาต่อระยะที่ 2 โดยเน้น 3 เสาหลัก คือ ความร่วมมือ ด้านการอำนวย และการเปิดเสรี นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีข้อเสอแนะเกี่ยวกับแนวทางในการสึกษา ASEAN +6 Phase II โดยให้ครอบคลุมถึงการศึกษาวิเคราะห์ในความตกลงเขตการต้าเสรี อาเซียน +1 ที่มีอยู่รวมถึงกฎ Special & Differential Treatment ที่มีประสิทธิภาพ แนวทางของการเปิดเสรี และการอำนวยความสะดวก ที่เหมาะสมซึ่งนำไปสู่แนวทางที่จะช่วยลดช่องว่างของระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิก และระบบแนวทางด้านความร่วมมือต่างๆ ที่ช่วยสร้างความสามารถ ของประเทศสมาชิก เพื่อรองรับการเปิดเสรีภายใต้อาเซียน +6
           การศึกษาในระยะที่สองนั้นได้มีการประชุมกันทั้งหมด 4 ครั้ง ผู้เชียวชาญ ได้สุปผลการศึกษา และนำเสนอต่อที่ประชุมรัฐมนตรีเศรฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 41 ณ กรุงเทพ ระหว่างวันที่ 13-16 สิงหาคม 2552 โดยผุ้เชี่ยวชาญ มองว่า อาเซียน +6 ควรให้ความสำคัญในเรื่องความร่วมมือ เป็นดับแรก เพื่อมุ่งลอช่องว่างระดับการพัฒนาของแต่ละประเทศสมาชิก โดยเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การถ่ายทอดเทคโนโลยี และสร้างความเข้มแข็งให้วิสาหกอจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และที่สำคัญคือการสร้าง Capicity Building ให้แก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด รวมทั้งควรพิจารณาจัดตั้งกองทุนเอเชียตะวันออก East Asia Fund เพื่อช่วยรองรับโครการความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นและสร้างพื้นฐานสำหรับพัฒนาต่อไป..(www.dtn.go.th/..ASEAN + 6)

วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

East Asia Community : EAC II

             "ประชาคมเอเซียตะวันออก" กลายเป็นการรวมกลุ่มขนาดใหญ่ที่ส่งผลสะเทือนต่อโลก ด้วยจำนวนประชากรที่มหาศาล ขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่โต และสัดส่วนจีดีพีเกือบ 20 % ของจีดีพีรวมทั้งโลก แม้การร่วมกลุ่ม "ประชาคมเอเชียตะวันออก"จะมีความน่าสนใจ แต่การเดินไปให้ถึงเป้าหมายก็ไม่ใช่เรื่อง่าย เพระยังมีมุมมองที่ต่างกันระหวางบรรดาประเทศใหญ่ ชูไอเดียที่จะรวมกลุ่มเอเชียตะวันออกที่อยุ่ในกรอบ +6 (อาเซียน จีน เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์) ส่วนจีนหนุนแนวทางรวมกลุ่มภายใต้กรอบ + 3 ขณะที่ออสเตรเลีย มองไกลกว่านั้น  โดยผลักดันแนวคิด "ประชาคมเอเชีย-แปซิฟิก" ไม่นับรวมความแตกต่างที่มีมากมาย ทั้งในแง่การพัฒนา ระบบการเมืองการปกครอง กฎระเบียบต่างๆ
ประวัติศาสตร์ที่เคยเป็นปรปักษ์กัน รวมถึงบทบาทในปัจจุบันและอนาคต ความไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน ซึ่งสิ่งเหล่นนี้ล้วนเป็นปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการจะเดินตามความฝันของเหล่าสมาชิก ที่ประชุมได้ทั้งทีมศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเขตการต้าเสรีอาเซียนตะวันออก ซึ่งเป้นความร่วมมือท่าเศราฐกจิในกรอบ +3 และการเป็นหุ้นส่วนทางเศราฐกิจในเอเชียตะวันออกแบบรอบด้าน ซึ่งเป็นกรอบ +6 โดยในการประชุมครั้งล่าสุดได้นำเสนอผลการศึกษาในระยะที่ 2 และผุ้นำก็ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเดินไปในแนวทางใด แต่เห็นว่าควรศึกษาและพิจารณา กรอบ +3 และ +6 ควบคู่กันไป
              ฟอร์บส ระบุว่า แนวคิดการร่วมตัวเป้นประชาคมเอเชียตะวันออกเกิดขึ้นมานานแล้ว เพียงแต่เริ่มชัดเจนขึ้นนับตั้งแต่ ปี 2546 ซึ่งขั้วอำนาจทั้ง 2 ได้แก่ จีนและญี่ปุ่น เร่ิมเอาจริงเอาจังกับไอเดียดังกล่าวมากขึ้น และยิ่งทวีความสำคัญขึ้นในปัจจุบัน เมื่อตลาดส่งออกในตะวันตกอยุ่ในภาวะซึมเซาจากพิษวิกฤตเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม อาเซียนประกาศตัวเป็นแกนของการเป็นประชาคมที่จะเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นกรอบใดก็ตาม มีความเป็นไปได้ว่าการรวมตัวทางการต้าจะเกิดขึ้นได้ก่อนด้านการเมือง ซึ่งหากตั้งต้นด้วยการรวมอาเซียน ญี่ปุ่น จีนและเกาหลีใต้ จะทำให้เศราฐกิจใหญ่โตขึ้นจากการรรวมการต้าและการลงทุนระหว่างกัน โดยจะมีสัดส่วนราว 16% ของจีดีพีรวมทั้งดลก และมีตลาดที่มีศักยภาพจากจำนวน ผุ้บริโภค 1.5 พันล้านคน ขณะที่บริษัทราว 1 ใน 4 ที่อยุ่ในทำเนียบ 2,000 บริษัทขนาดใหญ่สุดในโลกของฟอร์บส ล้วนเป็นบริษัทจากจน เกาหลีใต้ และญีปุ่น แต่แนวคินี้กยังเป็นวิสัยทัศน์ระยะยาว เช่นเดียงกับการก่อตั้งสหภาพยุโรปที่ใช้เวลานานกว่าครึ่งศตวรรษ กว่าจะพัฒนาจากประเทศแกนหลักที่มีฝรั่งเศส เยอรมนี และเบเนลักซ์ จนกลายเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ที่มีสมาชิก 27 ประเทศเช่นปัจจุบัน
           
  ขณะที่ "วอลส์สตรีต เจอร์นัล" รายงานว่า วกฤตเศราฐกิจได้เร่งให้บทบาทของสหรัฐลดลงอย่างรวดเร็ว ขณะที่ขั้วอำนาจใหม่มีบทบาทมากขึ้น ดดยเฉพาะจีน ความต้องการบลริโภคในตะวันตกที่ลดลงอย่างฮวบฮาบ และเป็นไปได้ว่าความต้องการบริโภคเหล่านี้จะไม่ฟื้นกลับมาในระดับท่เคยเป็นก่อนวิกฤต สิ่งเหล่านี้ช่วยเสริมมุมมองที่ว่าเขตเศรษฐกิจในเอเชียจะช่วย "ถ่วงดุล" ด้วยการบริโภคภายในประทศเพ่ิมขึ้น หรือส่งออกไปยังตลาด ใกล้บ้านแทน
              ดังนั้น การมีกลุ่ึมความร่วมมือในเอเชียจะครอบคลุมประชากรรวครึ่งหนึ่งในโลก และมีการปลิตาว 1 ใน 3 ของทั้งโลก รวมทั้งจะเป็นขั่วที่ 3 ในระบบ เศราฐกิจโลก เพ่ิมเติมจากสหรัฐและยุโรป ซึ่งการรวมพลังกันนี้จะส่งผลให้เกิดความเปลียนแปลงในระบบการเมืองและเศราฐกิจโลก
           
  การรวมตัวกันของเอเชียก็ยังไม่สามารถทดแทนตลาดตะวันตกในฐานะกลจักร ชับเคลื่อนการเติบดต เพราะสัดส่วนการต้าในเอเชียตะวันออก แม้จะเพ่ิมเป็น 55% จาก 37% ระหว่างปี 2523-2549 แต่ความร่่วมมือในกลุ่มสหภาพยุโรปอยุ่ที่ 66% และความตกลงเขตการต้าเสรีอเมริกาเหนืออยุ่ที่ 44% อย่างไรก็ตาม การผลิตในภุมิภาคอเชีย ตะวันออกเป็นลักษรแยกผลิตก่อนส่งไปประกอบขึ้นสุดท้าย ดดยบริษัทหนึ่งอาจลงทุนในโรงงานหลายแห่งในเอเชีย ตะวันออก จากนั้นก็จะส่งชิ้นส่วนต่างๆ ไปประกอบให้สมบูรณ์ก่อนส่งออกไปตลาดสหรัฐหรือยุโปร ทไใ้การรวมตัวของ เอเชียตะวันออกมีการเชื่อมโยงกับการบูรณาการของโลก แต่ภาคการผลิต บริการ และภาคเกษตรกรรมในเอเชีตะวันออกยังมีอุปสรรคจากการปกป้องทางการต้าอยู่มา ดดยเฉพาะในเอเชียใต้ที่มีปัญหารนี้มาก ขณะที่่ความร่วมมือด้านการเงินการคลังในเอเชียตะวนออกยังอยุ่ในช่วงตั้งไข่ จึงยังไมเปิดเสรีมากนัก และแม้จะมีความเชื่อมโยงกับศูนย์กลางการเงินอื่นๆ แต่ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ระบุว่า ในปี 2549 เอเชียมีสินทรัพย์ในมือนอยกว่า 10% ของทั้งหมดที่ลงทุนในภูมิภาค เทียบกับสหรัฐที่ถือครองสินทรัพย์นภูมิภาคนี้ 30% ซึ่งแม้จะมีความพยายามจัดตั้งกองทุนพันธบัตรเอเซียและความริเริ่มตลาดพันธบัตรเอเชีย แต่ก็ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น...


(www.prachachat.net/.."ประชาคมเอเชียตะวันออก" ความผันที่ยังต้องเดินทางอีกไกล"

วันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

Plus Three IV

           อิทธิพลทางการเมือง สถานการณ์ทางการเมืองของตินแดนชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ในยุคนี้ได้เพิ่มความตึงเครียดมากย่ิงขึ้นเมื่อต่างฝ่ยจ่างมีการสะสมอาวุธ อันจะนำความไม่มั่นคงมาสู่เอเซียตะวันออกมากยิ่งขึ้น
           - เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ
             การแข้งขันในการสะสมอาวุธ ป้องกันประเทศหรือเพื่อรุกราน แม้สงครามที่มีการปะทะกัน
โดยตรงดังเช่นในอัฟการนิสถาน และอิรักที่มีกองกำลังทหารนานาชาติเข้าไปในสมรภูมิรบเต็มรู฿ปแบบจะไม่ปรากฎให้ห็นอย่างเด่นชัดในสหัสวรรษใหม่นี้ นอกจากคำขู่และการทดลองอาวุธที่มีอานุภาพการทำลายล้างสูง เป็นครั้งคราวจากเกาหลีเหนือ แต่เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือก็เป็นภูมิภาสคที่มีการสะสมอาวุธร้ายแรงและอาวุธทันสมัยไฮเทคมากที่สุบริเวณหนึ่งของโลก  โดยมีปัจจัยหลักที่ส่งเสริมให้เกิดสถานการณ์ดังนี้ ได้แก่ จำนวนประชากร คงามเฟื่องฟูทางเศรษฐกิจ ความขัแย้งทางประวัติศาสตร์ ภูมิรัฐศาสตร์ที่เป็นรอยต่อระหว่างลัทธิคอมมิวนิสต์กับลัทะิเสรีประชาธิปไตย จนมีนักวิชาการบางคนระบุว่าบริเวณแถบนี้เป็นแหล่งที่สงครามเย็นหลงเหลือเป็นแห่งสุดท้ายของโลก   จากข้อมลจำนวนทหารและอาวุธที่ประเทศ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นมีในปี 2009 และเปรียบเทียบกับข้อมูลของเกาหลีเหนือ และไต้หวัน ซึ่งเป็นตัวละครสำคัญในภูมิภาคนี้เช่นกัน หากรวมกองกำลังทหารและอาวุธของจีนและเกหลีเหนือเข้าด้วยกันแล้ว จะมีมากกว่าจำนวนรวมของเกาหลีใต้ ญี่ปุ่นและไต้หวัน อนึ่ง ทั้งจีนและเกาหลีเหนือต่างเป็นประเทศที่ผลิตและครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ด้วย ดังนั้น  ความสมดุลจึงอยู่ห่างไกฃลมาก จึงต้องมีกองกำลังทหารสหรัฐฯ มาตั้งฐานทัพที่ประเทศเกาหลีใจ้และญี่ป่นุถเพื่อให้เกิดดุลยภาพขึ้นบ้งบางส่วน
             
อีกทั้งระบบงบประมาณที่ใช้ในด้านการทหารและการป้องกันประเทศจะเห็นได้วา นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งทีสองเป็นต้นมานั้น ญี่ปุ่นได้ตั้งงบประมาณในด้านนี้ไว้สุง หลาวคือ ใน ค.ศ. 2001 ตั้งงลประมาณราว 40.8 พันล้านเหรียญ หรือมากกว่างลบประมาณในส่วนนี้ของจีน เกาหลีใต้ เกาหลีเหนือ และได้หวันรวมกัน ต่อมมาในปี ค.ศ. 21006 และ ค.ศ. 2007 งบประมาณทางการทหารได้ลดลงบ้างตามลำดับ แต่ก็มิได้มีนัยสำคัญเท่าใดนัก ในทางตรงกันข้ามงลประมาณของจีนได้เพิ่มจาก 17 พันล้านเหรียญใน ค.ศ 2001 เป็น 61 พันล้านเหรียญใน ค.ศ.  2008
                Dr. Gary Kllinworth แห่งมหาวิทยาลัย Australian National University ได้กล่าวว่าภายหลังที่เกาหลีเหนือได้ทดลองระเบิดนิวเคลียร์เมื่อปี ค.ศ. 2006 เป็นต้นมา การแข่งขันกันสะสมอาวุธในภูมิภาคแถบนี้มีความเข้มข้นมากย่ิงขึ้น และได้มีการนำระบบเครื่องยิงต่อต้านขีปนาวุธ มาใข้เพื่อเอาชนะฝ่าย ดังนั้น เมื่อเกาหลีเหนือครอบครองและทดลองยิง
ขีปนาวุธหลายครั้ง ไต้หวัน ญี่ป่นุ แลเกาหลีได้มีความรู้สึกไม่มีความปลอดภัยและความมั่นคงของชาติได้รับการทาทาย จึงแสวงหาอาวุธที่ต่อต้านขีปนาวุธขึ้นด้วยการซื้อ Patriot missile จากสหรัฐ ฯ และต่างติดตั้งระบบ Missile Defense System ซึ่งถือได้ว่าเป็นการก้าวไปสู่โครงการสงครามอวกาศ (Star War programe) ขึ้นแล้ว
              ตัวอย่างการเสริมเขี้ยวเล็บทางอาวุํธของปะเทศญี่ปุ่น ได้แก่ การซื้อเครื่องบิน นำเข้าประจำการในปลายปี ค.ศ. 2008 และจะซื้อเครื่องบินรบ F-22 ราคาละละ 200 ล้านเรียญจำนวนราว 100 ลำ เพื่อทอแทนเครื่องบิน F-14  FX ที่เก่าและล้าสมัย หากเครื่องบินผูงนี้เข้าประจำการ จะมีสมรรถนะปกป้องประเทศนรัศมี 2,000 ตารางกิโลเมตร นอกจานี้ ญี่ปุ่นยังซื้อ มิสไซส์ จากสหรัฐฯ โดยติดตั้งบนเรือบรรทุกเครื่องบิน เพื่อใช้ยิงต่อต้านขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ ในขณะที่เรือบรรทุกเครื่องบิน ก็ได้ทำการติดตั้งเครื่องยิงต่อต้านขีปนาวุธเช่นกัน ได้หวันจะซื้อเครื่องบินรบ จำนวน 60 ลำ ในขณะที่เกาหลีได้ใต้ตั้งงลประมาณราว 665 พันล้านเหรียญ ดิเฟรนด์ รีฟอร์ม 2020 อินนิทิทีฟ โดยจะใช้ซื้อเครื่องบินรบไฮเทค F -15 K เรือบรรทุกเครื่องบิน ซึ่งจะสามารถเป็นโลห์ป้องกัน Low-altitde misssile ได้
           
 จีนได้ทุ่มงบประมาณในการผลิตเครื่องบินรบที่มีสมารรถนะสูง เพื่อใช้ในการต่อกรกับเครื่องบินรบ F-22 ภายใต้ชื่อ Jian-13 และ Jian -14 ที่สามารถติดตั้งเรดาร์ โดยจะสามารถผลิตได้ในปี ค.ศ. 2015 ในขณะเดียวกันก็จะต่อเรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์ขนาด 93,000 ตัน ให้เสร็จสิ้นใน ค.ศ. 2020
             Hard Power diplomacy หมายถึงการใช้การทูตทางกำลังทหาร นั้คือการบีบบังคับให้อีผ่ายหนึ่งเห็นพ้องต้องกันว่าการใช้กองกำลังทหารเข้าดจมตี หรือบีบบังคับด้วยการใช้พลังอำนาจทางอาวุธเข้าไปมีอิทธิพลเหนือการตัดสินใจของฝ่ายตรงข้ามแม้ในปัจจุบัน การโจมตีกันด้วยกองกำลังทหารทหารและอาวุธจะไม่เกิดขึ้น แต่การแข่งขันการสะสมอาวุธของประเทศในภูมิภาคนี้ก็กระทำกันอย่างต่อเนื่องแลเข้มข้นดังที่กล่าวแล้วในหัวข้อข้างต้น ทุกชาติจะพูดถึงดุลยภาพของอาวุธที่มีไว้ในครอบครอง และสร้างแสนยานุภาพในการปกป้องตนเองหากมีความจำเปนที่ตนเองถูกรุกราม ทั้งนี้ทั้งนั้น ตัวละครที่สำคัญนอกภูมิภาค คือ สหรัฐอเมริกาที่เน้นความสำคัญในการสร้างความสมดุลระหว่างกลุ่มคอมมิวนิสต์ (จีน เกาหลีเหนือ และรัสเซีย) กับกลุ่มเสรีประชาธิปไตย (เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ)
            เกาหลีเหนือเปนเสมือนตัวการที่สร้างความตื่นตระหนกและเป็นภัยคุกคามสันติภาพและความมั่นคงให้แก่ภูมิภาคนี้ ดังเป็นที่ประจักาืว่าเมืองโสมแดงมีอาวุธนิวเคลียร์และอาวุธที่มีอานุภาพการทำลายล้างสูงมาก และได้ทำการทอลองอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้ "ปล่อยจรวดเพื่อส่งดาวเทียม" ขึ้นสุ่อวกาศ เมื่อวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 2009 เวลา 11.20 น. ซึ่งได้สร้างความไม่พอใจให้แก่ประเทศในกลุ่มเสรีประชาธิปไตยที่คาดการรืว่า เกาหลี่เหนือทดลองยิงขีปนาวุธพิสัยไกลเตโปคอง 2 ที่ยิงได้ไกลถึงฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ  ญี่ปุ่นจึงได้เตรียมพร้อมด้วยการนำขีปนาวุธต่อต้านมาติดตั้งหากชิ้นสวยของขีปนาวุธของเกาหลีเหนือตกลงในดินแดนญี่ปุ่นในขณะที่เกาหลีใต้สั่งเตรียมพร้อมทางการทหารเพื่อป้องกันประเทศเช่นกัน อนึ่ง ก่อนหน้านั้นญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐฯ รวมทั้งประเทศในยุโรปต่างเรียกร้องให้เกาหลีเหนือยุติการยิงจรวดเพื่อส่งดาวเทียม แต่คำตอบของเกาหลีเหนือก็คือ ปฏิเสธข้อเรียกร้องทัเ้งหมด และประกาศว่าจะทำสงครามกับประเทศใดๆ ที่ยิงจรวดของคนตก ในที่สุดเกาหลีเหนือก็ดำเินการตามแผนที่ตั้งไว้
           
จีนได้ส่งสัญญาณว่า จะไม่กระทำการใดๆ หรือมีมาตรการต่อต้านการกระทำของเกาหลีเหนือ แม้ว่าจะไม่ประกาศสนับสนุนเมืองโสมแดงอย่างเปิดเผย จึงเป้นที่รับรู้กันว่าจีนเห็นด้วยกับเกาหลีเหนือในการยิงจรวดส่งดาวเที่ยม นายหู จินเทา ไม่ได้ตอบรับกับข้อเรียกร้องของญี่ปุ่นที่ให้ช่วยเหลี่ยกล่อมเกาหลีเหนือให้ยุติโครงการในการพบกัน ณ ที่ประชุม G-20 ในจ้รเดือนเมษายน ค.ศ. 2009 ที่กรุงลอดดอน ประเทศอังกฤษ ทำให้นายกรัฐมนตรีอาโซะ แสดงความไม่พอใจต่อปฏิกริยาของผุ้นำจีน
            อย่างไรก็ตาม การปล่อยจรวดส่งดาวเทียมของเกาหลีเหลือที่มีจีนสนับสนุนอยุ่เบื้องหลังอาจมองได้ว่า กลุ่มคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีนต้องการ "ทดสอบ" ท่าทีหรือปฏิกิริยาของนายบารัค โอบามา ผุ้นำสหรัฐฯ คนใหม่ว่าจะมีนโยบายต่อกลุ่มจีน-เกาหลีเหนืออย่างไร (เมื่อเทียบกับการประกาศนโยบายแข็งกร้าวของอดีตประะานาธิบดีบุชที่มีต่อเกาหลีเหนือ-จีน) ในขณะที่ญี่ปุ่นได้แสดงออกถึงการเตรียมพร้อมในการปกป้องตนเองอย่างเต็มที่ ซึ่งก็เป็นไปตามแผนในการสร้าางความชอลธรรมของญีปุ่น ที่้ต้องการรมีกองทัพและการสะสมอาวุธทันสมัยเฉกเช่นเดียวกันกับของประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ในอดีต การเคลื่อนไหวใดๆ ของญีปุ่นในเรื่องการเสริมสร้างสมรรถนนะทางการทหาร (นอกเหนือจากการมีกองกำลังปองกันตนเองที่มีจำนวนกำลังพลและอาวุธไม่มากนักมักจะได้รับการต่อต้านจากจีน และเกาหลีใต้ที่กล่าวหาวาญี่ปุ่นกำลังก้าวเข้าสุ่ลัทธิมหาอำนาจทางการทหารอันจะเป็นภัยร้ยแรงต่อประเทศเพื่อนบ้านดังเช่นในยุคก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
           ดังนั้นสถานการณ์ความตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลีที่เกิดขึ้นในช่วงหบังทศวรรษ 2000 จึงกลายเป็นผลประโยชน์ต่อญีปุ่นมากกว่าโดยได้ใช้เป็นเหตุผลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตราที่ 9 ที่เปลี่ยนเป็ฯนดยบายในการป้องกันประเทศ ได้ยอมรับการมีกองทัพในการป้องกันตนเอง ส่วนเกาหลีเหนือก็ได้รับเครดิตหรือความเชื่อถือทั่วไปว่ามีขีดความสามารถที่ทันสมัย อันจะส่งผลดีต่อธุรกิจการขายอาวุธให้แก่ประเทศอื่นๆ และกลุ่มติดอาวุธ (ที่ต่อต้านรัฐบาล ผุ้ก่อการร้าย โจร ฯ) ในปัจจุบันและอนาคต..
          ในปี 2010 เกาหลีใต้กล่าวหาว่า เรือพิฆาตของเกาหลีเหนือยิงทอปิโดใส่จนขาดออกเป็นสองท่อนในเขตน่านน้ำของตน แต่รัฐบาลเกาหลีเหนือปฏิเสธว่ามิได้กระทำการดังกล่าว ในขณะที่นานาชาติจากโลกตะวันตกคาดว่าเป็นผลงานของเกาหลีเหนือ อย่างไรก็ตาม จีนมิได้เห็นพ้องกับข้อกล่าวหาของเกาหลีใต้ แต่กลับยืนยันการสนับสนุนเกาหลีเหนืออย่างสุดตัวทำให้สื่อมวลชนเกาหลีใต้ได้โหมกระพือข่าวว่า จีนไม่ได้ให้ความสนใจต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของเกาหลีเหนือ แต่ใช้ความเป็นพวกพ้องในการบดบังการก่อการ้าย
           กากรประชุมสุดยอดครั้งที่ 2 ระหว่างนายกรัฐมนตรีจีน นายเหวิน เจิยเป่าประธานาธิบดีลีเมัยงบัง แห่งเกาหลีใต้ และนายกรัฐมนตรีผูกิโอะ ฮาโตยามะ แห่งญี่ปุ่น ที่นครปักกิ่ง เมื่อปี 2009 ผุ้นำทั้งสามประเทศต่างเห็นพ้องที่จะสร้างความเชื่อมั่นระหว่างกัน ส่งเสริมความร่วมมือเพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันอย่างจริงจัง และสร้างความมั่นคงและการพัฒนาของเอเชียการปรุะชุมสุดยอดครั้งที่ 3 ได้จัดขึ้นที่เกาเซจู ประเทศสาะารณรัฐเกาหลี ในปี 2011 และจะร่วมมือกันสร้างเขตการต้าเสรีระหว่างสามประเทศให้เป็นผลสำเร็จอย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสามก็มิได้ราบรื่นดังที่หวัง ทั้งนีเพราะต่างมีความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน และปัญหาจากหนี้ทางประวัติศาสตร์ที่ยังคงค้างอยุ่ และเนื่องจากต่างฝ่ายต่างต้องการเป็นใหญ่เหนือเอเซียตะวันออก การแข่งขันระหว่างสามาประเทศนี้จึงมีอยุเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
             - เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
              ความเข้มแข็งทางการทหาร ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นกลุ่มประเทศที่มีระดับความเข้มแข็งทางการทหารในระดับต้นๆ ของโลกและมีการสะสมอาวุธกันมาก แม้จะอยุ่ในระดับต่ำหว่าประทเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือก็ตาม ในการจัดอันดับของเวปไซด์แห่งหนึ่ง ได้จัดให้จีนอยุ่ในลำดับที่ 3 เกาหลีใต้ที่ 7 ญี่ปุ่นที่ 9 ได้หวันที่ 14 และเกาหลีเหนือที่ 22 ในขณะที่จัดให้อินโดนีเซียอยุ่ในอันดับที่ 18 ไทย ที่ 19 และฟิลิปปินส์ที่ 23 และมาเลเซียที่ 27 ของโลกในปี ค.ศ. 2011
            ในกรณีของไทยนั้น รายงานดังกล่าวระบุวา ในปี 2011 ไทยได้จัดงลประมษรให้กระทรวงกลาโหม 5,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีกำลังทหารพร้อมรบ 305,860 นาย และกำลังสำรองที่พร้อมรบ 245,000 นาย ดดยกองทัพบกมีรถถัง 542 คัน ยานลำเลียงพลหุ้มเกราะ 1,005 คัน ปืนใหญ่ชนิดลากจูง 741 กระบอก ปืนใหญ่อัตตาจร 26 กระบอก ระบบจรวดหลายลำกล้อง 60 ชุด ปืนคอ 1,200 กระบอก อาวุธนำวิถีต่อสุ้รถถัง 818 ชุด อาวุธต่อสุ้อากาศยาน 378 หน่วย และยานยนต์ส่งกำลังบำรุง 4,600 คน อกงทัพอากาศมีเตรื่องบินแบบต่างๆ 910 ลำ เฮลิคอปเตอร์ 443 ลำ และเครื่องบินบริการ 105 ลำ ในขณะที่ราชนาวีไทย มีเรื่องทั้งสิ้น 164 ลำ แยกเป็นเรือบรรทุกระเบิด 7 ลำ เรือฟรีเกต 6 ลำ เรือยามฝั่งและเรือตรวจการ 109 ลำ เรือนำสงครามทุ่นระเบิด 7 ลำ และเรือสนับสนุนการยกพลขึ้นบก 9 ลำ
         
อดีตประธานาธิบดี Fiel V. Ramos ของฟิลิปปินส์ได้เขียนบทความลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ เจแปน ไทม์ ว่า ปัจจุบันมีความตึงเครียดทีหมู่เกาะ Spratly ในทะเลจีนใต้ ที่ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และจีนต่างอ้อางกรรมสิทธิ์ความเป้ฯเจ้าของเหนือหมุ่เกาะดังกล่าว ข้อขัดแย้วนี้นไปสู่การเผชิญหน้า และบางครั้งมีการปะทะกัน เชน ระหว่างเรือตรวจการของจีน -ฟิลิปปินส์ และเหตุการณ์รุนแรงก็คือ เรือฟรีเกตของจีนได้ยิงจรวดนำวิถีไปยังเรือประมงของฟิลิปปินส์ที่แล่นอยุ่ใกล้กับเกาะปาลาวัน ในปี 2011 ในขณะเดยวกัน มีการเผชิญหนาทางทหารระหว่างจีนกับเวียดนามขึ้นบ่อยครั้ง ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสมาชิกของสมาคมเาอเว๊ยนทั้ง 2 ประเทศ ตกลงถึงระดับต่ำสุด ประชาชนฟิลิปปินส์ราว 5,000 คนได้เดินขบวนประท้วงหน้าสถานเอกอัครราชทุตจีนในกรุงมนิลา และมีเหตุการณ์ประท้วงจีนได้เกิดขึ้นในเวียดนามเช่นกัน
            จีนถือว่าข้อพิพาทนี้วรถือเป็นเรื่งอของจีนกับประเทศคุ่กรณีแต่และประเท ในขณะที่ฟิลิปปินส์และเวียดนามต่างถือว่า จีนคุกคามความมั่นคงของประเทศอาเซียนเพราะการเจรจาแบบทวิภาคีนั้นไม่อาจนำความสำเร็จมาให้ได้ ทั้งนี้เพราะจีนเป็นประเทศใหญ่ปละมีอำนาจเหนือกว่าทั้งทางเศรษฐกิจ การทหาร และสังคมวัฒนธรรม นอกจากนี้ ได้มีความพยายามในการนำสหรัฐอเมริกา อินเดีย และประเทศอื่นๆ ได้แก่ ญี่ปุ่น ยุโรป และออสเตรเลียเข้ามามีส่วนร่วมในข้อพิพาทนี้ด้วย โดยนำประเด็นเรื่องสิทธิในการใช้เส้นทางเดินเรือผ่านทะเลจีนใต้ ซึ่งจีนมักอ้างสิทธิ์ว่า เป็นน่านน้ำของตน ปัญาหในเรื่องนี้ยังไม่มีข้อสรุป
              เกาหลี-พม่า ความตึงเครียดบนคาบสมุรเกาหลก่อให้เกิดผลกระทต่อประทเศไทยคื การลั้ภัยของชาวเกาหลีเหนือเข้าสู่ไทย และความสัมพันธ์ระหว่างพม่ากับเกาหลีเหนือ
              ที่ผ่านมา ไทยกลายเป็นสวรรค์ของผุ้ลี้ภัยเกาหลีเหนือที่หลั่งไหลเข้ามา ในขณะที่เจ้าหน้าที่
ทางกรของพม่า ลาว และเวียดนามต่างพยายามผลักดันด้วยวิธีการเข้มงวด เส้นทางหลบหนีออกจากเกาหลี่เหนือเร่ิมจากการลักลอบเข้าจีนผ่านทางเมืองต้าหม่งล่ง (เมืองชายแอนจีน-พม่า) ก่อนที่จะเขช้าสู่เขตอิทธิพลของว้า(เขตปกครองพิเศษที่ 4 ชนชาติว้าแห่งสหภาพพม่า) และเดินทางผ่านเนิน 240 (เขตว้า) จากนั้นก็จะไปลงเรือบริเวณแม่นำ้โขงที่ท่าสบหลวย (ฝั่งพม่า) เพื่อเดินทางมาพักรอเข้าสู่ไทยมี่เมืองมอม เเขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว (ตรงข้ามเมืองปง ประเทศพม่า อยู่เหนือสามเหลี่ยมทองคำขึ้ไปราว 10 กิโลเมตรป ซึ่งบริเวณเมืองมอมนี้จะมีกุ่มนายหน้าคอยจัดหาที่พักให้เพื่อรอประสานงานกับนายหน้าค้ามนุษย์ ในจังหวัดเชียงราย รอจังหวะที่จะเดินทางเข้าประเทศไทยทางด้าน อำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ..
             พม่าและเกาหลีเหนือนั้นโดยแท้จริงแล้วทั้งสองต่างพยายามหาทางสร้างความปองดองกันมานานนับแต่ทศวรรษที่ 1990 แล้ว ดดยทางการของเกาหลีเหนือและพม่าได้พบปะพูดคุยกันอย่างไม่เป็น
ทางการ เพื่อขอตัวนักโทษที่เป็นสายลับเกาหลีเหนือที่อยุ่เบื้องหลังการวางระเบิดสังหารกลุ่มผุ้นำของรัฐบาลเกาหลีใต้ที่เป็นแขกรับเชิญของรัฐบาลพม่าเมื่อปี 1983 กลับประเทศเกาหลีเหนือ ซึ่งในครั้งนั้นประธานาธิบดีเกาหลีใต้นาย ชุน ดูฮวานพร้อมคณะถูกลอบสังหารขณะที่พนักอยุ่ในนครย่างกุ้ง ยังผลให้รัฐมนตรีจำนวน 4 คนและประชาชน 21 คนเสียชีวิต่วนประะานาธิบดีชุนไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด เมื่องทางการพม่าได้จับตัวสายลับของเกาหลีเหนือจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นกระทำการ ขังไว้และตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับเกาหลีเหนือตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
            นายเบอรทิล ลินท์เนอร์ ผุ้สือข่าวชาวสวีเดนประจำกรุงเทพฯ กล่าวว่า จากการพูดคุยกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของทั้งสองประเทศในช่วงต้นของทศวรรษที่ 1990 นั้นมีความเป้นไปได้ที่ทั้งสองฝ่ายจะแสวงหาจุดร่วมกันนหลายประการ ทั้งนี้เป็นเพราะประเทศทั้งสองต่างมีระบอบการปกครองที่คล้ายคลึงกัน มีรัฐบาลที่ไม่ให้ความสนใจต่อกฎระเบียบของโลกที่ตั้งขึ้นโดยชาติตะวันตก ประเทศทั้งสองถูกคุกคามจากดลกตะวันตกคล้ายๆ ดัน มีทรัพยากรธรรมชาติ มากแค่มีเงินตราต่างประเทศน้อย..ฯ จุดร่วมเหล่านี้ส่งผลให้ประเทศทั้งสองหันหน้าเข้าหารกันและนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นเรือยมาจนกระทั่งสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตขึ้นใหม่
              จุดร่วมที่สำคัญของการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ พม่าต้องการอาวธเพื่อทำสงครามกับชนกลุ่มน้อย ในขณะที่เกาหลีเหนือต้องการอาหารและสินค้าทางการเกษตรโดยที่พม่ามีอยุ่อย่างพร้อมเพรียง
               ความสำคัญของการแลกเปลี่ยนสินค้า คือ การที่พม่าได้รับอาวุธร้ายแรงมากจากเกาหลีเหนืออันเป็นการขัดต่อมติขององค์การสหประชาติ ซึ่งห้ามเกาหลีเหนือแพร่กระจายอาวุธที่มีอานุภาพการทำลายล้างสุง แลห้ามพม่าครอบครองอาวุธที่จะนำไปสุ่การฆ่าล้างเ้าพันธุ์ชนกลุ่มน้อย ดดยสหรัฐฯและประเทศต่างๆ  ในยุโรปต่างจับจ้องและหาทางป้องกันมิให้มีการซื้อขายอาวุธของทั้งสองประเทศตลอดระยะเวลากว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ดังนั้น ความสัมพันธ์ของพม่ากับเกาหลีเหนือในด้านการแลกเปลี่ยนสินค้าต่อกันนั้น จึงถูกมองไปว่า เกาหลีเหนืออาจส่งขีปนาวุูธ หรือขายอาวุธนิวเคลียร์ไปให้แกพม่า...
              เหตุการณ์สำคัญๆ ที่เกิดขึ้นประเทศต่างๆ ของอุษาคเนย์นั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากประวัติศาสตร์ซึ่งได้เคยเกิดขึ้นและยังคงมีปรากฎอยุ่จนถึงปัจจุบัน ส่วนเหตุการณ์อีกประเภทหนึ่งเกิดขึ้นเพราะ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ที่ดลกกำลังเผชิญการท้าทายอยุ่ขณะนี้
             ปัญหาสืบเนื่องมากจากอดีต ปัญหาระดับประเทศ ได้แก่ ปัญหาการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนไทย-เขมร ปัญหาภายใน ได้แก่ ปัญหาชายแดนภาคใต้ของไทย ปัญหาชนกลุ่มน้อยในพม่า ปัญหาจังหวัดอาเจะห์ในอินโดนีเซีย ปัญหามุสลิมในฟิลิปปินส์ รวมทั้งปัญหารทางเชื้อชาติในมาเลเซียและอินโดนีเซีย
            ปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่ ได้แก่ ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมการเมือง  ปัญหาแรงงานข้ามชาติระหว่างไทย-ประเทศเพื่อนบ้าน สิงคโปร์-ประเทศเพื่อบ้า และมาเลเซีย-อินโดนีเซีย ปัฐหามลพิษกันเกิดจากหมอกควันจากเกาะสุมาตรา ปัญหาการสร้างเขื่อน 8 แห่งในแม่น้ำโขงของจีนทำให้เกิภาวะน้ำแห้งในฤดูร้อน ปัญหาทางการต้า ปัญหารการขาดดุลการต้าระหวางประเทศในเอเชีย ตะวันออกเฉียงเหนือกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัญหาการแย่งชิงมิตรประเทศระหว่างจีน เกาหลี และญีปุ่นกับอุษาคเนย์ ปัญหารการแข่งขันแย่งชิงความเป็นใหญ่ทางเศรษฐกิจและการเมืองของจีนและญี่ปุ่น...
- "ไทย-เกาหลีใต้-อาเซียนบวกสาม"รศ.ดร.ดำรงค์ ฐานดี,ศุนย์เกาหลีศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2555.
         
           

วันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

Plus Three III

               อิทธิพลทางเศราฐกิจ
               จีน
                ชาวจีนสามารถพัฒนาเศรษฐกิจประเทสได้อย่างรวดเร็วในช่วงสามทศวรรษ แซงหน้าญี่ปุ่นกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับสองของโลกในปี ค.ศ. 2011 ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนอยู่ในระดับสูง ราวร้อยละ 9.9 ในช่วงปี 2000-2010 และได้รับดุลการต้าเกินอย่างต่อเนื่องในปีเดียวกัน ในขณะทีประเทศขั้นแนวหน้า เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และยุโรปต่างพบกับปัฐหาความชะงักงันทางเศรษฐกิจ
                จากสถานการณ์ดังกลาง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอยา่งใหญ่ต่อระบบเศรษฐกิจโลก ที่เกิดกลุ่มประเทศใหญ่ก้าวขึ้นมาเป้นขั้นมหาอำนาจทางเศรษฐฏิจขั้วหนึ่งของโลก นั้นคือ BRIC ประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดียและจีน เป้นประเทศขนาดใหญ่ มีจำนวนประชากรมาก ค่าแรงต่ำ มีทรัพยากรธรรมชาติเหลือเฟือและมีตลาดภายในขนาดใหย่ (ปัจจุบันรวมประเทศสหภาพแอฟริกาหรือแอฟริกาใต้เข้าไปด้วย กลายเป็น BRICS ) และบางคนได้รวมประเทศอินโดนีเซีย หรือ I ด้วย
                ความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจของจนเป็นผลมาจากหลายปัจจัย ทำให้สินค้าที่ผลิตได้มีราคาถูกสามารถส่งขายไปยังตลาดทั่วโลกได้ง่าย ดังนั้นเมื่อนักลงุทนทั่วดลกเร่งรุดไปลงทุนในจีนในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ทำให้สินค้าจีนที่มี "ราคาถูกคุณภาพต่ำ"วางขายเกลื่อนตลาดทั่วโลก โดยมีราคาต่ำกว่าสินค้าที่ส่งมาจากประเทศพัฒนาแล้วถึง 3-4 เท่า จึงไม่นาแปลกใจที่จีนได้เปรียบดุลการต้ามากมายและเป็นประเทศที่มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก
               จีนได้นำเงินออกไปลงทุนยังต่าประเทศ โดยซื้อพันธบัตรของประเทศสหรัฐอเมริกาและของประเทศต่างๆ ในยุโรป แลลงทุนทางธุรกิจอุตสาหกรรม ในประเทศแถบอาเซียน แอฟริกาและละกินอเมริกา รวมทั้งยุโรปตะวันออก ทำให้จีนเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ และก้าวขึ้นมามีอิทธิพลทางเศรษฐกิจต่อโลกในยุคปัจจุบัน
              การดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศไปเป็นจำนวนมากนั้น ทให้ประทศต่างๆ โดยเฉพาะอาเซ๊ยนได้รับผลกระทบเพราะมีการลงุทนจากต่างประเทศ ทั้งปริมาณและมูลคาการลงทุนลดลงอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งจีนได้ใช้ทรัพยากรและพลังงานจากแหล่งผลิตทั่วดลกในประมาณสูงก่อให้เกิดปัฐหามลภาวะ ปัญหาโลกร้อน และความสิ้นเปลื่องทรัพยากรโลก รวมทั้งส่งผลให้ราคาวัตถุดิบและน้ำมันสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว สร้างความเดือดร้อนให้กับประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย
            ประการสุดท้าย จีนมีบทบาทสำคัญ ทางเศรษฐกิจต่ออาเซียน โดยเป็ฯประเทศแรกที่ลงนามเขตการต้าเสรี ทำให้การค้าและการลงทุนระหว่างกันเฟืองฟูอย่างรวดเร็ซ เงินทุนและสินึาของจีนหลังไหลเข้าไปในอาเซียนในทศวรรษที่ 2000 จีนจึงกลายเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ๋และหนือกว่าเศรษฐฏิจของชาติสมาชิก 10 ประเทศของอาเซียนรวมกัน อาเซียนึงยอมรับสถานภาพทางเศณาฐฏจิขของจีนว่าเหนือกว่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
            ญี่ปุ่น
            ภายหลังพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สอง แก่กองทัพสัมพันธมติร ชาวญีปุ่นได้ยุติความพยายามที่จะเป็นใหญ่ในเอเชียตามอุดมการณ์ลัทธิทางการทหาร โดยะบุไว้ในรัฐะรรมนูญมาตราที่ 9 ว่า ญ๊่ป่นุจะไม่มีอกงทัพที่ใช้รุกรามประเทศอื่นใด เพียงแต่จะคงไว้ซึ่งกองกำลังป้องกันตนเอง เท่านั้น (โดยสหรัฐฯ จะทำหน้าที่ในการปกป้องทางทหารต่อประเทศญี่ปุ่นหากถูกประเทศอื่นรุกราน) ดังนั้น ความพยายามทุกภาคส่วนจึงมุ่งไปที่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ถูกทำลายอย่างสิ้นเชิงในชวงสงครามเพื่อให้ฟื้นกลับคืนมาดังเดิม และให้ก้าวหน้าต่อไปบนเส้นทางสันติภาพ
           ญี่ปุ่นสามารถพลิกเศรฐกิจให้กลับมาอยุ่ในสภาพดีดังเช่นช่วงก่อนสงครามภายในเวลเพรียง ๅ10 ปี โดยในปี ค.ศ. 1951 ประเทศญีปุ่นได้ลงนามในสนธิสัญญาสัจติภาพที่นครซานฟรานซิสโก ซึ่งเป็ฯจุดสำคัญที่ทำให้ประเทศญี่ปุ่นกลับมาสู่สังคมนานาชาติในฐานะที่ได้รับการปฏิรูปขึ้นาใหม่ และกลับคืนสู่สถานะที่มีสิทธิในการดำเนินกิจการระหว่างประเทศซึ่งถูกสั่งห้ามในขณะที่ถูกกองทัพสัมพันธมิตรยึดครองอยู่ในด้านการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจที่ถือเป็นภารกิจเร่งด่วนั้น ได้รับการสนับสนุนจากประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ทำให้ญี่ปุ่นสามารถนำประเทศเข้าไปมีส่วนในการดำเนินกิจกรรมทางการต้าระหว่างประเทศได้โดยเสรี ในช่วงประมาณกลางทศวรรษ 1960  ญี่ปุ่นก็พัฒนาเศราฐกิจอขงตนเองจนเข้มแข็งพอที่จะออกไปแข่งขันกับตลาดเสรีทั่วดลก จนได้รับคัดเลือกให้จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนใน ค.ศ. 1964 อันเป็นสัญลักษณ์ของความมั่นใจใหม่ของประชาชนชาวญี่ปุ่นและกรมีบทบาทเพ่ิมขึ้นในประชาคมโลก และในปี 1968 ขนาดเศรษฐกิจของญี่ปุ่นก็ก้าวล้ำนำหน้าเยอรมัน และกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับที่ 2 รองจากสหรัฐอเมริกา
         
 นอกเหนือจากความพยายามของคนในชาติที่มีความขยันขันแข็งในการทำงาน ปรับใช้เทคโนดลยีในการผลิต และเร่งรัดการส่งออกอย่งมีประสิทธิภาพแล้ว ญี่ปุ่นยังได้รับประโยชน์มากมายจากสถานการณ์ของโลก ได้แก่ สงครามเกาหลี และสงครามเวียดนาม ที่กองกำลังนานาชาติ นำโดยสหสหรัฐอเมริกาที่ได้ใช้จ่ายเงินจำนวนมหาศาลเพื่อการรบ โดยญี่ปุ่นผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค อาวุธ เครื่องจักร ยามพาหนะ ฯลฯ ขายให้ นอกจานี้บริษัทญี่ปุ่นได้เข้าร่วมทำธุรกิจเกี่ชยวกับการทหารในยุคที่มีการสู้รบ การฟื้นฟูบูรณะประเทศเหล่านี้ภายหลังสงครามยุติลงเป็นเวลาอีกหลายทศวรรษ
           บริษัทญี่ปุ่นเร่งรัดออกไปลงุทนในเกาหลี ภายหลังที่มีการฟื้นฟูความสัมพันธ์อย่างเป็ฯทางการใน ค.ศ. 1965 และได้เข้าไปลงุทนในใต้หวัน ฮ่องกงและสิงคโปร์ ต่อมา เมื่อสงครามเวียดนามสงลลง ญี่ปุ่นได้เพิ่มการลงทุนในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเข้าไปในจีนภายหลังที่เปิดประเทศและติดตามด้วยการเข้าไปค้าขายกับประเทศที่ยากจน เช่น ลาว เขมร และพม่าในเวลาต่อมา
            ในห้วงเวลาเดียวกัน ญี่ปุ่นได้รับมอบให้ครอบครองหมุ่เกาะโอกินาวา ซึ่งประกอบไปด้วยหมู่เกาะริวกิวและหมุ่เกะไดโต้จากการขึดครองของประเทศสหรัฐอเมริกาในค.ศ. 1972 และญี่ปุ่นได้ทำกาฟื้นฟูสัมพันธไมตรีกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนในปีเกียวกัน ต่อมา ได้รับเข้าเป็นสมาชิกของข้อตกลงร่วมทางด้านภาษีศุลกากรและการต้า GATT และขององค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐฏิจ OECD  และในปี1975 ก็ได้เข้าเปนสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมในการประชุมประเทศที่มีขนาดเศราฐฏิจใหญ่ที่สุด 7 ชาติ หรือ G-7
            ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นตลอดทศวรรษ 1960-1970  เรื่อยมาจนถึงจุดสูงสุดเมื่อค่าเงินเยนสุงขึ้น จนกระทั่งระดับต่ำกว่า 80 เยน/ 1 ดอลลาร์ในปี 1995 บริษัทญี่ปุ่นจึงขยายการลงทุนและรัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากย่ิงขึ้นเรื่อยมา อันเป้นการสร้าง "ความมั่นคง" ให้แก่ดินแดอุษาคเนย์จนองคการสประชาชาิประกาศว่า อาเซียน 4ประเทศ (ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์)กลายเป็นเสือเศราฐกิจตัวใหม่ของเอเชียต่อจากประเทศอุตสาหกรรมใหม่ ( Nic ได้แก่ เกาหลีใต้ ได้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์) ญี่ปุ่นมีความภูมิใจที่รูปแบบการพัฒนา(Flying Geese Model) บรรลุผลและค้ำจุนให้ญี่ปุ่นมีความโดดเด่น และมีขนาดเศราฐฏิจเกือบเท่ากับของสหรัฐอเมริกาในช่วงนั้น
              อย่างไรก็ตาม รูปแบบกาพัฒนาและความเจริญรุ่งเรืองของญี่ปุ่นไม่สามารถคงทนและเป็นอยู่อย่างยั่งยือนเมื่อญี่ปุ่นประสบกับปัฐหาทางเศราฐกิจและฟองสบู่แตก ตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1990 ดังที่ได้กลาวแล้ว ต่อมา ปี 1997 เกิดวิกฤตทางการเงินขึ้นในไทย อินโดนีเซีย (มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์เกิดปัญหาขึ้นเช่นกันแม้จะอยู่ในระดับไม่มาก็ตาม) และเกาหลีใต้ จนต้องขอกู้เงินฉุกเฉินและเงินฟื้นฟูเป็นจำนวนมาก  รัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกาปฏิเสธให้ความช่วยเหลือแบบทวิภาค โดยแนะให้ไปกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ IMF  ดังนั้น รัฐบาลทั้งสามจึงขอกู้เงินจำนวนมหาศาล ในขณะเดียวกันรัฐบาลจีนได้ให้ความช่วยเหลือเพื่อการฟื้นฟูด้วยเงินจำนวนหนึ่ง ส่งนประเทศญี่ปุ่นได้ทุมงลประมาณกว่า 100 พันล้านเหรียญให้แก่ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตทางเศราฐกิจในโครงการ Miyazawa Plan เพื่อใช้ในการกระตุ้นเศราฐกิจให้ฟื้นกลับคือมาดดยเร็ว
              จากปัญหาดังกล่าว อาเซียนบวกสาม จึงมีการเสนอให้จัดตั้งความร่วมมือทางด้านการเงินการคลังระดับภูมิภาคขึ้นในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2000 เรียกว่า ความริเริ่มเชียงใหม่  ดดยให้สมาชิกออกเงินเป็นกองทุนจำนวน 1,000 พันล้านเหรียญเพื่อให้ประเทศสมาชิกกู้หากประสบกับปัญหาทางเศราฐกิจต่อไปในอนาคต
             เนื่องจากอาเซียนเป็น "ระเบียบเศรษฐกจิ" ที่ถือได้ว่า ญี่ปุ่นต้องอาศัยอุษาคเนย์ในเกือบทุกด้าน เช่น เป็นแหล่งวัตถุดิบ แรงงาน ตลาด การลงทุนโรงงานประกอบสินค้า ตลอดจนเป็นสถานที่ท่องเที่ยวราคาถุก และที่พักพิงแก่ผุ้สูงอายุที่ไปใช้ชีวิตบั้นปลายในดินแดนสุวรรณภุมิ ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยุ่บวกกับ "ความโง่เขลา" ของชาวอุษาคเนย์ที่มักเป็นฝ่ายยอมตาม...จึงเป็นปัจจัยที่ญี่ปุ่นต้องยึดภูมิภาคแห่งนี้เพื่อผลประโยชน์ของตัวเองทั้งใระยะสั้นและระยยาวมากกว่าที่จะส่งเสริมเพิ่มพลงให้อาเซียนเจริญเติบโตเทียบเคียงญี่ปุ่น ยกเว้นสิงคโปร์ที่จนจีนโพ้นทะเลครอบครองอยุ่ ญี่ผุ่นจึงทำสนธิสัญญาเขตการต้าเสรีตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2020 ในฐานทีเป็นประเทศ "พันธมิตร" คู่ค้า แต่ปฏิเสธการทำสนธิสัญญาแบบเดียวกันกับประทศอื่นในกลุ่มอาเซียน รวมทั้งจีนและเกาหลีใต้ด้วย ทั้งนี้ ก็เพราะสิงคโปร์มีความเจริญรุ่งเรืองและประชากรมีรายได้ต่อหัวเที่ยบเท่ากับญีปุ่น อย่างไรก็ตาม ใปี 2006 ญี่ปุ่นได้ทำสนธิสัญญาเขตการต้าเสรีกับมาเลเซียอีกประเทศหนึ่ง เพราะมาเลเซียมักชื่นชมดการพัฒนาของญี่ปุ่น ถึงกับประกาศนโยบาย  "นโยบายมองตะวันออก" เพื่อนำรูปแบบการพัฒนาของชาวอาทิตย์อุทัยมาใช้ในการพัฒนาประเทศของตน อีกทั้ง ญีปุ่่นประสงค์ี่จะเปิดเป็นช่องทางเข้าหาอาเซียนอย่างสะดวกโดยผ่านประเทศใดประเทศหนึ่งที่นิยมชมชอบตน
            ปัจจัยภายนอกที่สั่นคลนความเป็ฯเอกของญี่ปุ่น นั่นคือ เกาหลี จีน และไ้หวันสามารรถเข้าถึงความรู้ทางเทคโนโลยีทางการผลิต และสามารถหาตลาดเพื่อขายสินค้าของตนแข่งขันกับสินค้าของย๊่ปุ่นในทุกตลาดทั่วโลก ในช่วงต้นสินค้าของประเทศเกาหลีมีคุณภาพปานกลางที่มีราคาถูกกว่าสินค้าญี่ปุ่น ซึ่งมีคุณภาพดีแต่ราคาสุงในขณะที่สินค้าจากจีนนมีราคาต่ำสุดแลคุณภาพไมค่อยดีนัก จึงแย่งตลาดระดับกลางและต่ำไปจาก ญี่ป่น ุในช่วงต่อมา ได้มีการพัฒนาคุณภาพของสินคค้าขึ้นมาเรื่อยๆ สินค้าของเกาหลีและของจีนจงค่อยๆ แทรกตัวเข้าไปยังตลาดที่เคยเป็นของญีปุ่่น ทไใ้เศราฐกิจที่พึงพากการส่งออกเป็นหลักของญี่ปุ่นได้รับผลกระทบอย่างหนัก
              จีนผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคได้ในราคาถูก แม้คุณภาพจะไม่ดีนัก และสามารถแย่งขิงตบาดล่างไปแทบหมดสิ้น เพราะขายได้ในราคาต่ำหวาสินค้าประเภทเดียวกันของญี่ปุ่นราว 1-4 เท่า โดยที่จีนมีตลาดภายในขนาดใหญ่ที่รองรับสินค้าที่ตนผลิตอยู่แล้ว จึงไม่้องพึ่งพาการส่งออกเหมือกับญี่ป่นุแลเกาหลี ดังนั้นเมื่อเกิดวิกฤตเศราฐฏจิในสหรัฐฯ ปี 2008 และในยุโรปปี 2009-2011 จึงไม่ค่อยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงเท่ากับญี่ปุ่นและเกาหลีที่ต้องพึ่งพาตลาดหลัก 2 แห่งนี้ อีกทั้งจีนยังรองรับสินค้าจากญี่ป่นุและเกาหลีใต้ได้เป็นจำนวนมาก และกลายเป็นประเทศคุ่ค้าใหญ่ที่สุดกับญี่ป่นุและเกาหลีแทนที่สหรัฐฯ และยุโรปไปในตอนกลางทศวรรษที่ 2000 สภาพการณ์ดังกล่าวทำให้บทบาททางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นลดตำ่ลงมาก และในที่สุดจีนก็ก้าวขึ้นเป็นผุ้นำทางเศราฐกิจของเอชีย
             เกาหลี
             แม้ว่าเกาหลีใต้จะเป็นประเทศที่เข้ามยังภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ที่หลัง แต่ด้วยความมุ่งมัี่นแลความพยายามทุ่มเททุกทาง ผลลัพธ์ที่เกิขึ้นก็เป็นที่น่าพอใจยิ่ง กล่าวคือ เกาหลีใต้เป็นรองทางด้านการค้า จากญี่ป่นุและจีนราว 2 เท่า แต่ในด้ารการลงทุนโดยตรงแล้ว เกาหลีใต้เป็รรอบเฉพาะญี่ปุ่น แต่อยุ่เหนือจีน
             นอกจากความพยายามของภาครัฐที่สนับสนุนให้ภาคะูรกิจออกไปลงทุนในอุษาคเนย์แล้วปัจจัยทางด้านวัฒนธรรมที่เรียกว่า กระแสเกาหลี ก็มีบทบาทสำคัญช่วยผลักดันให้การต้าและการลงทุนของเกาหลีได้รับความสำเร็จอย่างรวดเร็ว โดยใชเวลาเพียงหนึ่งทศวรรษเท่านั้น เกาหลีใต้ก้าวขึ้นมาเป้ฯประเทศคุ่ค้าที่สำคัญของอาเซียน เหนือกว่าออสเตรเลีย อินเดีย แคนาดา รัีศเซีย นิวซีแลนด์ และปากีสถาน ซึ่งเป็นประเทศที่มีความผุกพันกับเอชียตะวันออกเฉียงใต้มาช้านาน
           ความสัมพันธ์ทางเราฐฏิจระหว่างเกาหลีกับอาเซียนที่เด่นชัดก็คือ เกาหลีจะส่งสินค้าประเภทอุตสาหกรรมไปขาย และข้าไปลงทุนในภาคอุตสาหกรรมเป็นหลักไปประเทศอุษาคเนย์ในขณะที่รับซ้อสินค้าประเภทวัตถุดิบ เช่น น้ำมันปิโตรเลี่ยม ก๊าซธรรมชาติ กากน้ำตาล ยางพารา กุ้งแช่แข็ง มันสำปะหลัง กล้วยไม้ และลำไยอบแห้ง เข้าประเทศ ดังนั้น มาเลเซีย และอินโดนีเซียซึ่งส่งออกสินค้าประเภทพลังงาน จะได้เปรียบดุลการต้ากับเกาหลี ส่วนประเทศที่ส่งสินคัาเกษตรไปขาย จะขาดุลการต้าเพราะต้องซื้อสินค้าอุตสาหกรรมในราคาสุงกว่าเข้าประเทศ ดังเช่น ไทย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม เป็นจ้น ประเทศกลุ่มหลังนี้จึงทดแทนการขาดดุลด้วยการส่งแรงงานไปทำงานในเมืองโสม และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของเกาหลี ส่วนการลงทุนนั้น เกาหลีจะลงทุนในประเทศต่างๆ ของกลุ่มอาเซียนในปริมาณและมูลค่ามากกว่าท่อาเซียนจะไปลงทุนในเกาหลี อย่างไรก็ตาม ปัญหาและอุปสรรคทางการต้าที่สำคัญ คือ เกาหลียังคงใช้มาตการต่างๆ ในการปกป้องตลาด แม้ว่าการเข้าเป็นสมาชิกของ WTO และการเข้าเป็นสมาชิกของ OECD จะทำให้เกาหลีต้องเปิดตลาดขึ้นเรื่อยๆ แต่ในความเป็นจริง เกาหลียังคงปกป้องตลาดภายในด้วยมาตรการภาษีและมิใช่ภาษี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกำหนดมาตรฐานสุขอนามัยต่อสินค้าเกษตรของประเทศอื่น รวมทั้งไทยด้วย ทำให้การส่งสินค้าไปขายยังเกาหลีเต็มไปด้วยความยากลำบาก... ( ไทย-เกาหลีใต้-อาเซียนบวกสาม, โดย รศ.ดร.ดำรงค์ ฐานดี, ศูนย์เกาหลีศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2555)
           
           

วันเสาร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

Plus Three II

            เอเซียตะวันออกในยุคหลังสงครามเย็น เราอาจสรุปการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของโลก ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภูมฺิเอเซีย ตะวันออก ดังนี้
            - การยุติสงครามเย็น ทำให้ลัทธิทางการเมืองการปกครองไม่เป็นอุปสรรคปิดกั้นการเคลื่อนไหวคน สังคมวัฒนธรรม เศษบกิจ และการเมือง ระหว่า่งประเทศ (ยกเวิ้นเกาหลีเหนือที่ยังคงยึดถือความเป็นสังคมคอมมิวนิสต์และปฏิเสธความสัมพันธ์กับประเทสอื่นๆ นอกจากประเทศที่เป็นสังคมนิยมด้วยกันเอง แม้ว่าประเทสเหล่านั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นสังคมนิยมตามแนวใหม่ก็ตาม)
            - โลกก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ที่ผู้คน รวมทั้งธุรกิจการต้าและความรู้ทางเทคงโนโลยีสามารถติดต่อข้ามพรมแดนได้โดยง่าย
            - การคมนาคมเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว ซึ่งได้มีบทบาทสำคัญทำให้ผุ้คนสามารถเดินทางได้สะดวกนับตั้งแต่หลังสงครามดลบกครั้งที่สองมาแล้ว พอมาถึงยุคนี้ พัฒนาการทางด้านการคมนาคมได้ก้าวหน้าไปไกลมากยิ่งขึ้นและอัตราค่าดดยสารมีราคาถูกลง คนทั่วไปจึงสมารถเดินททางดดยเครื่องบินได้ ในขณะเดียวกันที่มีการก่อสร้างทางเหลวงเชื่อมต่อระหว่างจีนกับอุษาคเนย์ สร้างรถไฟที่มีความเร็วสุงในญี่ปุ่น เกาหลีใต้และจีน  และมีการพัฒนาเรื่อเดินสมุทรที่ทันสมัย ทำหใ้การขนถ่ายสินคึ้าระหว่างประเทศเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร้ซ อนึ้ง ญี่ปุ่นและเกาหลี่ใต้ยังเป้นชาติอันดับหนึ่งที่มีอุ่ต่อเรือที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในโลก
           - ความมั่นคงของโลกได้ย้ายจากคาบสุทรแอตแลนติก มายังคาบสมุทรแปซิฟิก ที่ประเทสต่างๆ ในเอเชียตะวันอกมีการติดต่อคช้าขายกัน ทั้งปริมาณและมูลค่ามากที่สุดนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 และมูลค่าทางการต้าเพิ่มสูงมากย่ิงขึ้นเมื่อจีนกลายเป็นประเทศคู่ค้าหลักของญี่ปุ่น เกาหลีใต้และปรเทศต่าง ๆในกลุ่มอาเซียนแทนสหรัฐอเมริกาและยุโรปตั้งแต่ต้นสหรัสวรรษใหม่
           - ASEAN กลายเป็นองค์กรที่มีความสำคัญในฐานะที่เป้ฯกลุ่มประเทศที่มีอำนาจในการต่อรองมากขึ้นเมื่องเทียบกับอดีตที่เป้ฯเพียงการรวมตัวอย่งหลวมๆ แทบจะไมมีบทบาททางเการเมืองระหวางประเทศ ในยุคนี้ ทั่วดลกต่างยอมรบสถานภาพของอาเวยนว่าเป้ฯองค์กรที่ต้งขึ้นมานาน และใช้นโยบายกรรวมกลุ่มที่ไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศสามชิก ก่อให้เกิดการผนึกความร่วมมือระหว่างกันและกันมากทำให้ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นเข้ามามีส่วนร่วมนับตั้งแต่ตอนปลายทชขอวทศวรรษ 1990 โดยเรียกว่า  ASEAN plus Three และอาจจะกลายเป็น ASEAN plus Six (เพ่ิมอินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์) อีกทั้งมีบทบาทใน APEC มากยิ่งชขึ้นและในปี 2015 จะมีการจัดตั้งเป็นประชาคมอาเซียน ขึ้น เป็นการกระชับความสัมพันะ์ในหมู่สมาชิกให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นทุกภาคส่วน
                 ความสัมพันธ์ระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือและเอเชียตะวันอกเฉียงใต้ตามปัจจัยต่างๆ ได้ดังนี้
                 การเคลื่อนย้ายคน สังคม และวัฒนธรรม
                 จีน
                  จีนอาศัยความผุกพันทางเชื้อชาติ (ภาษา วัฒนธรรม และสายเลือด ) เป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์กับประเทศในอุษาคเนย์ภายหลังที่เปิดประเทสในตอนปลายทศวรรษ 1970 และยกระัดับการทำการต้าการลงทุจั้งแต่ทศวรรษ 1990 อีกทั้งเพ่ิมประเมษและมูลค่ามากขึ้นในสหรัสวรรษใหม่จนถึงปัจจุบันทำให้ความรู้สึกตอจีนที่เอคยเป็น "ภัยคุกคาม" ในอดีตได้จางลงไปกลายเป็นมหามิตรและได้รับการยกกย่องให้ดำรงตำแหน่งเป็นผุ้ทำทั้งทางเศราฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศของเอชียในยุคใหม่นี้
                 การติดต่อกับจีนโดยคน สังคมและวัฒนธรรมเป้นไปเหนือความคดหมาย ดดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการท่องเที่ยวที่คนเชื้อสายจีนและชนพื้นเมืองต่างนิยมเดินทางไปเย่ยนมชมเมืองจีนเป้นจำนวนมากในแต่ละปี มีการเช่าเครื่องบินเหมาลำนำนักท่องเที่ยวจาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปยังเมืองจีน และนำชาวจีนไปยังเอเชียอาเคเนย์ ก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจทีผุ้คนได้ไปสัมผัสอิจแดนของกันและกัน นักธุรกิจต่างเดินทางไปมาหาสู่กันเป็นจำนวนมากเพื่อทำธุรกรรมทางการต้าและากรลงทุน โดยจีนเปิดมณฑลกวางสีใหเป็นศุนย์กลางการต้าเชื่อมระหว่างจีนกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอนุญาตให้ตั้งศูนย์กลางตลาดสินค้าจากอุษาคเนย์ในเมืองใหญ่ๆ ทั่วประเทศ
                ความเกี่ยวพันทางสังคมวัฒนธรรม รวมทั้งเสณาฐกิจและการเมืองอย่างใกล้ชิดในยุคนี้ยังผลให้มีการโยกย้ายผุ้คนจากจีนไปสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ท้งที่เป้ฯการอาศัยอยู่แบบชั่วคราว และแบบถาวรทั้งที่เข้าออกประเทสอย่างเป็นทางการและที่แอบหลบหนีเข้าเมือง
                ในขณะที่ชาวเวียนนามและแรงงานจากประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จำนวนนับแสนคนอแบเดินททางเข้าไปทำงานในเมืองอุตสาหกรรมตามชายฝั่งภาคใต้ของจีน ซึ่งมีตำแหน่งว่างกว่า 2 ล้านตำแหน่งตามโรงงานต่างๆ
                จำนวนคนเวียนามที่แอบเข้าไปทำงานในจีนมีเป็นจำนวนมากนั้นเป็นเพราะมีพรมแดนติดต่อกันอย่างก็ตาม คนจีนมีทัศนคติต่อคนเวีนดนามไม่ค่อยดีนักและมักดูถูกเะหยีบหยามคนเวียนดาม ทั้งนี้คงวเป็นเพราะจัีนเคยครอบงไและปกครองเวียดนามเป้นเวลบาหลายร้อยปีในอดคตกาล
               ในมิติทางด้านสังคมและวัฒนธรรม นั้น รัฐบาลจีนสนับสนุนให้นักวิชาการจีน เข้าร่วมมงานทางวิชาการกับนักวิชาการกับนักวิชาการในเอเชียทุกด้านโดยเฉพาะอย่างยิงในการประชุมสัมนา ซึ่งได้ผ่านองค์กรระดับสูงที่เรียกว่า Government - Operated Non- Government Organzation เพื่อติดต่อกับองค์กรเอกชนของต่างประเทศ อนึ่ง รัฐบาบลจีนสนับสนุนให้ก่อตั้งองค์กรเครือข่าย ที่มีสมาชิก 13 ชาติ คือ ASEAN Plus Three
               รัฐบาลจีนได้ให้ความสำคัญต่อชาวจีนโพ้นทะเล ที่อาเสยอยุ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อให้เป็น "ห่วงโซ่" คล้องความสัมพันะ์อันดีระหว่างประเทศ ทำให้ความรุ้สึกเกลี่ยดชังและแบ่งแยกขนเขื้อสายจีนในมาเลิซียนและอินโดนีเซียลดต่ำลงในสหัสวรรษใหม่ ทั้งนี้เรพาะคนเชื้อสายจีนเป็นเสือทรัพยากรที่มีคุณต่าใช้เชื่อมโยงกิจกรรทางการต้าและการลงทุนกับประเทศจีนได้ง่ายขึ้น นอกจานี้ จึงยังสับสนุนให้คนในอุษาคเนญตระหนักถึง "ค่านิยมของเอเชีย" ซึงจีนใช้ทอแทนำว่า "ค่านิยมขงจื้อ" ให้เป็นเสือทูตทรางวัฒนธรรมเชื่อมระหว่งจีนกับ อาเซียน
                การใช้อินเทอร์เนและดทรทัศน์ผ่านดาวเที่ยม มีผลให้จีนส่งผ่านวัฒนธรรมไปทัวโลกได้ง่ายท้งด้านศิลปะ นักร้อง ภาพยนต์ นักกีฬา ฯลฯ อันเป้นการเพิ่มความเข้าใจและรับรู้ภาพลักษร์ของจีนในยุคปัจจุบัน ในขณะที่การเป็นเจ้าภาพกีฬาเอเชี่ยนเกมส์และกฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ปี  2008 ซึ่งได้มีการฉายภาพของจีนยุคปัจจุบันไปทั่วโลก ผุ้คนต่างมองจีนไปในทางที่ดีขึ้นในขณะเดียวกัน  มีสินค้าแลผลิตภัฒฑ์ของจีนวางขายในตลาดทั่วโลก รวมทั้งข่าวที่จีนก้าวขึ้นเป้นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับที่สองของโลกในปี 2011 ก็ยิงทำให้ภาพพจน์ของจีเลื่องลือไปไกล
               ประการสุดท้าย เมื่องใหญ่ๆ ของจีนได้ผุ้สัมพันะ์กับเมืองต่างๆ ในอุษาคเนย์ให้เป็นเมื่องพี่เมืองน้อง อันเป็นการเพ่ิมความสัพมัธ์ต่อกันในระดับท้องถ่ิน ดังเช่นเมืองเฉิงตูของจีนจึังหวัดสุพรรณบุรีของไทย เป้นต้น
               สภานภาพทางสังคมของชาวจีนโพ้นทะเลในยุคปัจจุบัน ได้เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญในทุกถาคส่วนของสังคม ในยคุนี้ลุกหลานชขาวจีนโพ้นทะเลได้กลายเป้นประชากรของประเทศที่พวกเขาอาศัยอยุ่ โดยเรียกว่า คนเชื้อสายจีนหรือพลเมืองใหม่ เช่น คนไทยใหม่ คนมาเลย์ใหม่ เป้นต้น คนเหล่านนี้ ได้ปสมปสานทางวัฒนธรรมและมีความสำนึกว่าเป็นพลเมืองของประเทศนั้นๆ แม้ว่าในบางมิติจะยังคงย้ำถึงความเป้นคนจีนและยึดถือวัฒนธรรมจีนควบคุ่ไปด้ย แต่ในกรณีประเทศสิงคโปร์ที่มีประชากรเชือสายจีนเป็นชนกลุ่มใหญ่การแสดงออกทางด้านวัฒนธรรมและความเป้นคนจีนมีอย่างเด่นชัด มีการใช่ภาษาจีนเป็นภาษาราชการ คนสิงคโปร์ใหม่จึงใชสองภาษา ได้แก่ จีนกลาง และภาษาในการสื่อสารระหว่างกัน คนสิงคโปร์ใหม่กุมอำนาจทางเการเมือง ดำรงตำแหน่งเป้นนายกรัฐมนตรี และเป็นผุ้บริหารในส่วนราชการของกระทรวงต่างๆ เช่นเดียวกับการกุมอำนาจทางเศรษบกิจ โดยเป็นเจ้าของธุรกิจและผุ้บิรหารระดับสูงของบริษัทขนาดใหญ่ทุกระดับ รวมทั้งธุรกิจขนาดกลางและขราดเล็กด้วย ส่วนในทางสังคม ก็เป็นกลุ่มที่มีบทบาททางด้านการศึกษา เช่น เป้นอานารย์ นักงิจัยและผุ้นำทางด้านวัฒนธรรมจีนในสัคมแห่งนี้และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงสมารถสร้างมหาวิทยาลัยให้มีชื่อเสียงในระดับโลกได้
              ญี่ปุ่น
              ญี่ปุ่นสร้้างความสัมพันธ์อัดีกับอาเซียนมานานนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง และได้ตั้งศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1981 เพื่อให้เป็นศูนย์ส่งเสริมทางด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว โดยเน้นในด้านการส่งออกสินค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว โดยเน้นในดานการส่งออกสินค้าและนักวิชาการไปยังญี่ป่นุ ในขณะเดียวกัน ก็ส่งเสริมการลงทุนและการท่องเที่ยวจากญี่ปุ่นสู่อาเซียน กิจกรรมเหล่านี้ได้ดำเนินต่อเนื่องมาจนถึงยุคปัจจุบัน นอกจากนี้ศุนย์ฯ ได้รวบรวมข้อมุลทางสถิติระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่นในด้านการต้า การลงทุน และการท่องเทียว ให้ผุ้สนใจเปิดเข้าศึกษาจากเว็บไซด์ของศุนย์การส่งเสริมความสัมพันธ์ของศุนย์ดังกล่วยังผลหใ้มีนักท่องเที่ยวจากญี่ปุ่นเข้าสุ่อเาซียนปีละ 3-4 ล้านคน
              ญี่ปุ่นได้สร้างความร่วมมือกับกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง เรียกว่า Japan-Mekong Region Partnership Program ในปี 2007 เพื่อสนับสนุน โครงการ UN ที่ดำเนินงานดครงการทศวรรษแห่งความร่วมมือของประเทศบริเวณลุ่มน้ำโขง โดยญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือเป็นเวลา 3 ปี เพื่อจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว การแลกเปลี่ยนเยาวชน และกิจกรรมทางด้านเศรษบกิจและการเมืองกับประเทศเขมร ลาว เวียดนาม ไทยและพม่า
              ชาวอุษาคเนย์อาศัยอยุ่ในญีปุ่นแบบถาวรนั้นมีไม่มากเนื่องจากความชาวญี่ปุ่นตระหนักถึง "ความเป็นเอกพันธุ์"ของชาวอาทิตย์อุทัย แต่ในยุคปัจจุบัน ญี่ปุ่นต้องเปิดรับนักท่องเที่ยวที่นำเงินตราต่างประเทศเข้ามาใช้จ่ายในประเทศเพื่อทดแทนดุลการต้าที่ขาดหายไปในทศวรรษ 2000 ทำให้จำนวนผุ้เข้ามาเยื่อนจากอุษาคเนย์เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ "ผู้ฝึกงาน" จากภูมิภาคดังกล่าวได้เข้ามาเยื่อนจากอุษาคเนย์เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ "ผู้ฝึกงาน" จากภูมิภาคดังกลาวได้เข้ามาทำงานชั่วคราวราว 1-3 ปี ในโรงงานอุตาสาหกรรมของญี่ปุ่น จำนวนกล่า 300,000 คนอาศัยอยู่ชัวคราวเกิน 3 เดือนในปะเทศต่าง ๆ แถุบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชเ่น ในไทย 24,746 คน สิงคโปร์ 19,660 คนในปี ค.ศ. 2002 เพื่อทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม และการต้าที่ญี่ปุ่นเข้าไปลงทุน..
            ความสัมพันธ์กับกลุ่มอาเซียนและญี่ปุ่นได้รับการท้าทายและข่งขันจากเกาหลีใต้และจีนในสหัสวรรษใหม่ ทำให้ญ่ป่นุต้องหันมาให้ความสนใจและเน้นกิจกรรมทางเวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้น ดดยมีการแลกเปลี่ยนธรรมแบบยุคลงิถี กล่าวคื อจัดนิทสสศการและการแสดงทางวัฒนธรรม จัดมหกรรมอาหารจากอาเซียน ฯลฯ ในญีป่นุรวมทัี้งดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในโครงการ "เรือเยาวชน" ซึ่งเริ่มจัดขึ้นตั้งแต่ปี 1974
            อย่างไรก็ตาม คนญี่ปุ่นยังคงตระหนักถึงความสูงเด่นในชาติพันธ์ุของตน่าเหนือกว่าของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมองว่าเป็นภุมิภาคที่ดอ้ยความเจริญ (ยกเว้นสิงค์โปร์) ที่หวังแต่จะขอความช่วยเหลือจากญี่ปุ่น ในขณะที่ชาวอุษาคเนย์ยังคงยอมรับในความเป้ฯเจ้าและอัจฉริยภาพของชาวอาทิตย์อุทัย ดังที่รัฐบาลมาเลเซียเคยประกาศนโยบายมองตะวันออก ที่จะนำชาติให้เจริญรุ่งเรองตามแบบอย่างการพัฒนาของญี่ปุ่น เมื่อเทียบกับสินค้าที่ผลิตขึ้นเองในภูมิภาคส่วนกรณีของไทยนัน ญี่ปุ่นเป็นประเทศทีเข้ามาลงทุนมากเป็นอันดับที่หนึ่ง หรือราวร้อยละ 40 ของการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมดในปี ค.ศ2011
             เกาหลี
             เมื่อเทียบกับจีนและญี่ปุ่นแล้ว เกาหลีใต้เพิ่งตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งไม่มีจุดเชื่อมโยงใดๆ กับภูมิภาคนี้มาก่อน ทำให้รัฐบาลเกาหลีได้ในยุคของประธานาธิบดี คิม เดจุง ได้ทุมเทความพยายามทุกทางในการสร้างความสัมพันธืกับดินแดนอุษาคเนย์
            เกาหลีใต้เริ่มทำการพัฒนาเศรษฐกิจตั้งแต่ปี ค.ศ. 1962 ได้เลือกใช้แม่แบบการพัฒนาเพื่อให้สังคมทันสมัย ที่คิดขึ้นโดยนักวิชาการชาวอเมริกันเป้าหมายของตลาดส่งออกของสินค้าเกาหลีในยุคนั้นก็คือ สหรัฐอเมริกา และยุโรปเป็นหลัก จึงมองข้ามตลาดเล็กๆ ในเอชียไป ดังนั้น ความสนใจของรัฐบาลแะนักธุรกิจอุตสาหกรรมของเกาหลีจึงมุ่งไปยังประเทศที่พัฒนาแล้ว ต่างทำให้นโยบายและความผุกพันเน้นไปในการสร้างความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ และยุโรป
            ภายหลังที่เกาหลีได้รับความสำเร็จในการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียเกมส์ และโอลิมปิกฤดูร้อนในตอนปลายทศวรรษ 1980 ภาพลักษณ์ของดินแดนเมืองโสมของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เปลี่ยนไป จากการมอืงว่าเป็นประเทศยากจนเพราะตกอยุ่ในสภาพปรักหักพังหลังสงครามเกาหลี กลายเป้นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ที่เจริญรุ่งเรืองและมีศักยภาพในทางการพัฒนายิ่ง ทำให้สินคาเกาหลีค่อยๆ แทรกตัวเข้าไปยังตลาดแถบอุษาคเนย์ ซึ่งกลายเป้นตลาดใหย๋อันดับที่ 3 ของสินค้าเกาหลีไปในตอนปลายของทศวรรษ 1990 รัฐบาลเกาหลีจึงให้ความสนใจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากยิ่งขึ้น และทุ่มเทสรรพกำลังเพื่อแย่งชิงความได้เปรียบของจีนแลญีปุ่นต่อบริเวณแถบนี้ของโลกมาเป้นของตนเองบ้าง  โดยตระหนักว่า ประเทศของคนเป็นผุ้มาที่หลัง อีกทั้งมีจุดเชื่อม กับอุษาคเนย์น้อยมาก
               การบรรุลความสำเร็จในการพัฒนา ดดยเกาหลีได้รับการยอรับเข้าเป็นสมาชิกองค์การของกลุ่มประเทศร่ำรวย เป็นชาติสมาชิกลำดับที่ 29 ใน ค.ศ. 1996 และในปีนั้นประชชนมีรายได้เฉลี่ยต่อกัวเท่ากับ 10,548 เหรียญสหรัฐต่อปี ต่อมา เกาหลีใต้ได้เผชิญกับวิกฤตทางด้านการเงินในปี ค.ศ. 1997 ประธานาธิบดี เคจุง ได้พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสด้วยการประกาศโครงการหลากหลายโครงการเพื่อให้เกาหลีใต้เป็นชาติชขั้นนำในภูมิภาคและของโลก ดังตัวอย่างต่อไปนี้
               - East Asia Economic and Cultural Hub Projict ใน ค.ศ. 2002  ประะานาธิบดีคิ เค จุง ได้ประกาศสร้างเมืองใหม่บิเวณแถบเมืองอินซอน (ใกล้ดกับกรุงโซล) ให้เป็นศุนย์กลางเสณาฐกิจและวัฒนธรรมอขง๓ุมิภค ดดยเน้นให้เป็นศูนย์กลางการลงทุนทั้งจากภายในและจากต่อางประเทศที่มีกฎหมายอบรับใเขตตอุาหกรรมนานาชาติแห่งนี้ว่า  บริษัทที่เข้ามาตั้งอยุ่สามารถปรับลดและเลิกจ้างคนงานเมือใดก็ได้ มีการใช้ภาษาอังกฟษเป็นภาษากลาง และเป็นศุนย์กลางการเงินคมาคม และัฒนธรรมของภุมิภาคเอเชียตะวันออก
               รัฐบาลได้ชี้ให้เห็ฯว่า เมื่อดซล -อินซอนตั้งอยู่ระหว่างศุนยกลางสำคัญของจีน และของญี่ปุ่น จึงเป็นบริเวณที่เหมาะสมยิ่งที่จะให้เป็นศุนย์กลางรวมชาติทั้งสมให้มีความร่วมมืออย่างแน่นแฟ้นต่้อกัน
              - East Asia vision Group ในปี ค.ศ. 1997 ผุ้นำอาเซียน ได้ร่วมประชุมกันที่เมืองกัวลาลัมเปอร์ประเทศมาเลเซียน ดดยได้เชิญชวนผุ้นำจีน เกาหลีใต้และญี่ปุ่น เข้าประชุมกัันที่เมืองกัวลลัมเปอร์ประเทศมาเลเซีย  โดยได้เชิญชวยผุ้นำจน เกาหลีใต้และญีป่นุ เข้าร่วมหารือด้วย อันเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ที่เรียกกันว่า  อาเซียนบวกสาม และได้มีการประชุมอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยย้ายไปจัดการประชุมตามเืองหลงของประเทศมาชิกสมาคมอาเซียนสลับสับเปลี่บยนปมุนเวียนกันไป
              ในการร่วมประชุมเมือวนที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1998 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ประธานาธิบดค คิม เดจุง ได้เสนอใหจัดตั้ง "กลุ่มวิสยทัศน์ในภุมิภาคเอเชยตะวันออก" ขึ้นเพื่อระดมความคิดและแสวงหาวิธีการขยายความร่วมมือใทุกด้าน และทุกระดับเพื่อการพัฒนาประเทศในภูมิภาค ดดยให้มีการรวมกลุ่มที่เรียกว่า "กลุ่มศึกษาเอเลียตะวันออก" ได้จัดให้มีการประชุมหารือสมาิชกชาติละ 2 คนหลายครั้ง และสรุปผลในปี ค.ศ. 2001 ว่า ควรสภาปนา "ประชาคมเอเชยตะวันออก" ขึ้น รัฐฐาลเกาหลีได้พยายามผลักดันให้โรงการนี้พรรลุผลด้วยการทุมอททรัพยากรและเงินทุน รวมทั้งเรียกร้องให้ชาติสมาชิกของสมาคมอาเซียน 10 ชาติและของจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นให้ความร่วมมือเพื่อให้โครงการนี้เป้ฯรูปเป็นร่างขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้น อาจประสงค์ให้เกาหลีได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งกลุ่มอย่างไรก็ตาม ดครงการนี้ได้รับการเพิกเฉยจากรัฐบาลของจีน ญี่ปุ่นและของประเทศในสมาคมอาเซียนส่วนใหญ่
              สืบเนืองจากการประชุม อาเซียน บวกสาม ที่กรุงมะนิลา ค.ศ. 1999 ผุ้นำของจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นได้ร่วมประชุมสุดยอดกัขึ้นเป็นครั้งแรก และตกลงกันว่าจะหาทางจัดการประชุมระหว่างผู้นำทั้งสามประเทศขึ้นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจและเอกลักษณ์ของชนชาวเอเลีย
              ต่อมา ประะานาธิบดีดรห์ มูเฮียนได้ประกาศในวันเข้ารับตำแหน่งผู้นำประเทศอย่างเป็นทางการเมืองวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003 วา เขาจะส่งเสริมให้เปิดศักราชแห่งสันติภาพและความมั่งคั่งในภุมิภาคเอเชีย ตะวันออก ขึ้นดังนั้น จึงเป็นที่มาของ  NACI โดยเน้น 3 เศรษฐกิจที่มีความแข็งแกร่งในเอเชีย คือเกาหบีใต้ จีน และญี่ปุ่น และร่วมมือกับกลุ่มประเทศ ASEAN โดยมีเกาหลีเป็นผู้นำ
             อนึ่ง กิจกรรมสำคัญอันหนึ่งของ NACI  ก็คือการสร้างบุรณาการทางการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ และการต้า หรือ เรียกว่า Northeast Asian intergration อีกทั้งประสค์ที่จะขยายความสัมพันธ์ไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค เช่น เกาหลีเหนือ รัสเซีย และมองโกเลีย โยใช้เส้นทางรถไฟ ทรานส์ ไซบีเรีย เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างกัน
              จุดยืนของเกาหลีได้ที่รัฐบาลได้ประกาศและเป็นตัวตั้งตัวตีในการดำเนินการอย่างแข็งขันพร้อมกับบืนยันอย่างออกนอกหน้ากับรัฐบาลของประเทศที่เกี่ยวข้องว่า ต้องการเป็นผุ้นำขององค์กรดังกล่ว อย่างไรก็ตม ความพยายามดังกล่าวได้รับการตอบรับอย่างเย็นชาจากจีนและญี่ปุ่นทีแม้ไม่ปฏิเสธความประสงค์ที่จะเป้นผุ้นำของเกาหลี แต่กก็ไม่ได้แสดงปฏิกิริยาที่จะให้ความร่วมมือตามความต้องการของรัฐบาลเกาหลี นั่นคือ แต่ละประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกนั้น ไม่มีใครยอมใคร และต่างฉกฉวยผลประโยชน์ทงการเมืองและเสรษฐกิจในระดับภูมิภาค และของโลกเพื่อชาติของตนเองแทบทั้งสิ้น หรือหากจะยอมทำตามก็เป็นเพราะประเทศของตนจะได้ผลประโยชน์เท่านั้น
            โครงการวิจัยร่วมเพื่อสเริมสร้างความร่วมมือทรางเศรษฐกจิ 3 ประเทศ จากการประชุมสุดยอดระหว่าผุ้นำจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นที่กรุงมะนิลาในช่วงการประชุม อาเซียนบวกสามในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1999 ได้มีการบรรลุข้อตกลงคือ การตั้งคณะกรรมการ่วมทำการศึกษาวิจัยในเรื่อง "การเพ่ิมความีร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่งจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ประกอบด้วยองค์การวิจัยของแต่ละชาติเป็นตัวแทน
            ในช่วงแรก เป็นการศึกษาในหัวขอ้การส่วนสริมการค้า จากนั้นได้นำผลการวิจัยไปร่างข้อเสนแค้านโยบายเพื่อให้ผุ้นำร่วมพิจารณา คือ นายกรัฐมนตรีจู หรงจี้ของจีน นายกรัฐมนตรีจูนิชิโร โคอิซูมิของญี่ปุ่น และประธานาธิบดี เคจุงของเกาหลีใต้ ที่เข้าร่วมประชุม ASEAN plus Three ที่ประเทศบรูไนในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2001 ผุ้นำทั้งสามได้ตกลงตามข้อสเนอดังกล่าว ต่อมา จึงได้จัดให้มีการประชุมระหว่างรัฐมนตรีทางการต้าและเศรษบกิจของ 3 ประเทศในเดือนกันยายน ค.ศ. 2002 ที่ประเทศบรูไนเพื่อดำเนินกาตามนโยบายที่ได้กำหนดขึ้น โดยได้จัดให้มีการประชุมสุดยอดนอกรอบระหว่างผุ้นำ 3 ปรเทศเพื่อสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย แทนที่จะจัดการประชุมสุดยอดเฉพาะของตนเอง
              สันนิบาตบนคาบสมุทรเกาหลี ประธานาธิบดีโร์ มูเฮียน ได้กล่าวตอนหนึ่งว่า เมื่อมหาอำนาจถกเถียงกันในเรื่องอนาคตของภูมิาคเอเชียตะวันออก เราอย่างจะเรียกร้องให้ทุกผ่ายเคารพในสิทธิการตัดสินใจด้วยตัวเองเกี่ยวกับอนาคตของเกาหลีทั้งสอง" ...
              เกาหลีใต้มีนโยบายคล้ายคลึงกับจีนที่ปฏิเสธการใช้กำลังและการตัดเครือข่ายทางการเงินต่อเกาหลีเหนือดังเช่นสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ทั้งนี้นับตั้งแต่ยุคของประธานาธิบดี คิ เดจุง ที่ยึดถือนโยบายซันชาย ที่โอนอ่อนต่อเกาหลี่เหนือจนนำไปสุ่การประชุมสุดยอดผุ้นำประเทศ..
               ความใกล้ชิดระหว่างเกาหลีใต้กับจีน ได้ปรากฎขึ้นอย่างเด่นชัดเมื่อมีการประชุมสุดยอดระหว่างประธานาธิบดีโรห์ มูเฮียนกับประธานาธิบดีหู จินเทาในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2003 ซึ่งได้ตกลงกันในการยกระดับความสัมพันธ์ทวิภาีรเป็น "พันธมิตรความร่วมมือทุกทาง" เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ จากนั้นก็มีกิจกรรมร่วมกันระหว่างประเทศทั้งสองในแง่เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการเมืองเรื่อยมา
            - กระแสเกาหลี คนเกาหลี ต่างดีใจที่กระแสวัฒนธรรมเกาหลี ได้ไหลทะลักเข้าไปในจีน ญี่ป่นุ ไต้หวัน และในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจีน และความภาคภูมิใจที่สุดก็คงเป็นเพราะจีนและญี่ปุ่นต่างรับกระแสเกาหลีแทบทุกระดับสังคมทั้งๆ ที่ในอดีตเกาหลีเคยตกอยุ่ภายใต้การเป็นอาณานิคมทางการเมือง และวัฒนธรรมของประเทศที่ยิ่งใหญ่ทั้งสองมานานนับพันปี
            - การลงทุนและการเคลื่อนย้ายคนและวัฒนธรรมเมื่อรัฐบาลของประธานาธิบดี คิม เดจุง ได้ประกาศนโยบายผุกมิตรกับอุษาคเนย์ ก่อให้เกิดกระแสของการเร่งรัดออกไปลงทุนในกิจการธุรกิจอุตสาหกรรมในกลุ่มประเทศอาเซียน เป็นจำนวนมากอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนในช่วงตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 เป้นต้นมา คนเกาหลีต่างเดินทางออกไปทำงานในบริษัทร่วมทุนประกอบกับธุรกิจ และการท่องเทียวของเกาหลีทำให้จำนวนคนเกาหลีเข้าไปอาศัยอยุ่แบบชั่วคราวและถาวรในอาเซียนเพิ่มมากขึ้นทุกปี ...

วันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

Plus Three

             การค้าและการลงทุนของจีน เกาหลีใต้และญีปุ่่นต่ออาเซียนมีลักษณะเป็นแบบพหุภาคี ที่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือต่างแข่งขันแย่งชิงตลาดตลาดอาเซียนอย่าเข้มข้นด้วยกานำนโยบายเชิงรุก เพื่อให้ได้รับประฌยชน์สูงสุดแก่ประเทศของตน ในทางกลับกัน อาเซียนต่างมีความเป็ฯอิสระและเปิดทางให้ เศรฐกิจที่แข็งแกร่งกว่าเข้าครอบงำ ก่อให้เกิดเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเที่ยสกัน ขึ้นดังตัวอย่างเช่น ญีปุ่นลงุทนในไทยมากกว่าร้อยละ 40 ของกาลวุทนจากต่างประเทศทั้งหมดทำให้ญีปุ่นเข้าครอบงำเศรษบกิจของไท และเป็นผลให้เกาหลีใต้หันไปลงทุนในเวียนนามและอินโดนีเซียนนที่ญี่ปุ่นมีอิทธิำลน้อยกบาวและเป็นประเทศที่มีแรงงานราคาถูกกว่าแม้จะมีปัจจัยพื้นฐานด้อยกว่าก็ตาม ส่วนจีนสร้างความสัมพันธ์กับคนเชื้อสายจีนในทุกหประเทศของอาเวียนใช้เป้นสายใยเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและพาณิชยกรรมกับอาเวียน อนึ่ง ญีปุ่นแลเกาหลีใต้ต่างใช้มาตรการทั้งทางภาษีและมิใช้ภาษีอากร ใการปกป้องตลาดภายในของตนกีดกันสินค้าทางการเกษตรจาประเทศอื่น รวมทั้งไทย ทำให้การส่งสินค้าไปขายยังเกาหลีเต็มไปด้วยความยากลำบาก
            ความรุ่งโรจน์ของจนในยุคใหม่ ในยุคแรกที่เปลี่ยนการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์ ในปี ค.ศ. 1949 เหมา เจ๋อตุงและคณะรัฐบาลซึ่งเป็นผุ้นำรุ่นที่หนึ่งได้นำประเทศไปสู่ควาเท่าเทียมกันด้วยการยึดปัจจัยการผลิตมาเป้นของรัฐและยึดทรัพย์สินคขจองคนร่ำรวยและชนชั้นกลางมาแ่งปันให้คนในสังคมทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ในยุคนั้น สังคมจีนเป็นสังคมเกษตรกรรม ผุ้นำให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในชนบท ยกระดับวัฒนธรรมของชาวนาชาวไร่ และใช้อุดมการ์ของลัทธิคอมมิวินสต์ในการบริหารประเทศอยางจริงจัง ในการเกลี่ยความเจริญจาเหมืองไปสู่ชนบทนั้น ..ลดความแตกต่างระหว่างผุ้ใช้แรงกายกับผุ้ใช้แรงสมองให้น้อยลงส่งเสริมและผลักดัน "ระบบความรับผิดชอบ" และเน้นใหคนทำงานรู้สึกสำนึกถึงส่วนได้ส่วนเสียในการทำงาน..
              ประวัติศาสตร์ของจีนตั้งแต่พรรคคอมมิวนิสต์เข้าบริหารประเทศ นั้น ปรากำหว่า ในด้านนหนึ่งสมารถนำประชาชนพัฒนาประเ?สไปตามระบบสังคมนิยม สร้างสรรค์เศรษบกิจแบบสังคมนิยมจนเจริญรุดหน้าไปในอัตราที่เร็วพอสมควร มีรากฐานด้านอุตสาหกรรมเป็นปึกแผ่น และมีเกษตรกรรมที่พอจะเลียงตัวงเองได้ ตลอดจนมีวิทยาศาสตร์และวัทยาการด้านการป้องกันประเทศค่อนข้างก้าวหน้าา ทั้งระเบิดนิวเคลียร์และเครื่องบินรบ และมีเกียรติภมูิทางสากล แต่อกด้านหนึ่งนั้น ประชานเกือบทั้งประเทศกลับมีชีวิตอยุ่อย่างยากจน มีรายได้ต่อหัวต่ำ ระดับการศึกษาไม่สูงขาความรุ้ความเข้าใจในเร่องต่างประเทศอย่างถูกต้อง ประสิทธิภาพการทำงานต่ำ เทคโนโลยีในการผลิตล้าหลัง และที่สำคัญคือเป็นเครื่องมือในการรณรงค์ทางการเมือง ประชาชนจนถุกปลุกระดมขึ้นมา ร่วมกันสร้างสรรค์สังคมนิยมอย่างคึกคัก..แต่ต่อมาเมือก้าวเข้าสู่ระยะก้าวกระโดดใหญ่ที่มุ่งจะให้จีนเป็นสังคมคอมมิวนิสต์อย่างรวดเร็ว และเริ่มมีการรณรงค์ทางการเมือง จึงมีการจำกัดอำนาจของฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้จนกระทั่งพัฒนากลายมาเป้ฯ "การปฏิวัติวัฒนธรรมแห่งชนชั้นกรรมาชีพ"...ภายหลังอสัญกรรมของเหมา เจ๋อตุง ผู้นำรุ่นที่สอง เติ้ง เสียวผิง ซึ่งประกาศวาทะว่า "ความยากจนไม่ใช่สังคมนิยม" ความเท่าเทียมกันแบบยากจนเท่าๆ กัน ไม่อาจเรียกว่าเป็นสังคมนิยมที่จะก้าวไปสู่สังคมคอมมิวนิสต์ที่อุดมสมบูรณืได้" และ "ไม่ว่าแมวจะสีดำหรือสีขาว ขอให้จับหนู่ได้ก็เป็นพอ" เติ้ง เสี่ยวผิง จึงดำเนินการปฏิรูปประเทศตามนโยบายสี่ทันสมัย กล่าวคือ การพัฒนาจีนให้เป็นสังคมทันสมัยสี่ด้านได้แก เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การทหาร และวทิยาศาสตร์และ เทคโนโลยี หรือที่เรียกกันว่า "สังคมนิยมแบบจีน"
                 การปฏิรุปขยายไปถึงการต้าและกาลงทุนกับต่างประเทศ ปี ค.ศ. 1979 จีเปิดเขตเศราฐกิจพิเศษขึ้น 4 แห่ง คือ เซินเจิ้น จูไห้ ซ่านโถวหรือซัวเถา และเซียนเหมิน อนุญาตให้นักลุงทนุชาวต่างประเทศเข้าไปลงุทน ตั้งโรงานและกิจการทางการต้าหลากหลายประเภทต่อมา ใน ค.ศ. 1984 ได้เปิดอี 14 หัวเมืองชายฝั่งตั้งแต่เหนือจรดใต้โยหใ้มีบทบาทคล้ายกับเขตเศรษบกิจพิเศษรุ่นแรก อีกหนึ่งปีต่อมาได้เปิดเขตสามเหลี่ยนมปากแม่น้ำแยงซีเกียง ปากแม่น้ำจูเจียง และดินดอนสามเหลี่ยมทางตอนใต้ของมณฑลฟูเจี้ยน (ฮกเกี่้ยน) ขึ้นเป็นเขตเศษกบิจเปิด...
                กลุ่มผุ้นำรุ่นที่สาม เจียง เจ๋อ หมิง ได้ผลักดันประเทศให้ก้าวไปสู่การเป็นประเทศสังคมนิยม ที่มีความรุ่งโรจน์ทางเศรษฐกิจต่อไปตามนโยบาย "สามตัวแทน" หมายความว่า พรรคคอมมิวนิสต์ต้องเป็นตัวแทนของพลังการผลิตที่ก้าวหน้า เป็นตัวแทนของวัฒนธรรมที่ก้าวหน้า และเป้นตัวแทนของผลประโยชน์ของมวลชนจีน แนวคิดสามตัวแทนนี้เปิดโอกาสให้พรรคคอมมิวนิสต์รับนักธุรกิจภาคเอกชนผุ้ประกอบการ และพนักงานระดับสุงของบริษัทเข้ามาเป็นสมาชิกพรรค ทำให้ฐานอขงพรรคหว้างยิ่งขึ้นในขณะที่นายกรัฐมนตรีจู หลงจี้ ผุ้ที่ได้รับฉายาวา "ซาร์แห่งเศรษฐกิจ" ได้สานต่อการปฏิรุปทางเศรษฐกิจของเติ้ง เสี่ยวผิง
                กลุ่มผู้นำรุ่นที่ สี่ นาย หุ จินเทา เป็นประธานาธิบดี ได้เน้นการนำวิทยาศาสตร์มาใช้ในการพัฒนา กระจายการลงทุนและรายได้ไปยังภาคตะวันตกให้เจริญทัดเทียมกับภาคตะวันออก เนนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้ในช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 21 ประเทศจีนมีการขยายตัวทางเศณษฐกิจอย่างรวดเร็ว ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ฤดูรอน ปี 2008 กลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของเอเชีย และแซงหน้าญี่ปุ่นขึ้นเป้ฯมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับที่ 2 ของโลกในปี 2011
           
 เกาหลีใต้ : กระแสเกาหลีเจิดจ้า นับตั้งแต่ปี 1962 เกาหลีใต้มีเป้าหมายการพัฒนาที่จะให้ประเทศเป็นสังคมอุตสาหกรรม โดยประธานาธิบดี จุงฮี ผุ้ซึ่งประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่หนึ่ง ปรับใช้นโยบาย "การมองไปสู่ภายนอก" ที่เน้นการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้แรงานมากเพื่อการส่งออก มีการใช้ลัทธิชาตินิยมปลุกระดมมวลชนให้เร่งรัดการพัฒนาและจูงใจให้ขยันขันแยงในการทำงาน ดดยรัฐผลักดันให้คนทำงานหนักสามารถเลื่อนชั้นทางสังคมได้อย่างรวดเร็ว ัฐและราษฎร์ร่วมกันหาตลาอขายสินค้าในต่างประเทศ และสร้างภาพพจน์เกาหลีได้ให้เป็นที่ชื่อนชอบแก่คนทั่วโลก เป้นต้น การพัฒนาของประเทศได้ดำเนินไปยอ่่างอต่อเนื่องเรื่อยมานับเป็นเวลาหว่า 40 ปี โดยไม่เปลี่ยนเป้าหมายและนโยบาย จะมีก็เพียงแต่เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมหนักและเคมีภัณฑ์ ในทศวรรษที่ 1970 และุอุตสาหกรรมเทคโนโลยีทางการสื่อสารในตอนปลายทศวรรษที่ 1980 ทั้งนี้ท้งนั้น ก็คือ มุ่งมัี่นที่จะให้เมืองโสมชาวเป็นประเทศชั้นนำของโลกให้ได้นันเอง
             ด้วยเจตนารมณืัอนแน่วแน่ ประกอบกับการมีเป้าหมายที่ชัดเจน สภาพทางเศรษฐกิจของสาธารณรัฐเกาหลีไใต้ทะยานขึ้นแบบก้ายกระโดย จากากรเป็นประเทศที่ยากจนข้นแค้นอันเป็นผลมาจาการดูดดึงทรัพยากรและความมั่งคั่งโดยผุ้ปกคอรงอาณานิคมชาวญีปุ่น และการพังพินาศอยางสิ้นเชิงใช่วงสงครามเกาหลี กลายเป้นสังคมที่มีศักยภาพโดดเด่น เป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ในทศวรรรษที 1980 ผุ้คนต่างดีใจที่ประเทศของตนก้าวล้ำนำหน้าสมกับความานะพากเพียร ขยันทำงานแบบหามรุ่งหามค่ำ จนได้รับเกี่ยรติให้จัการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ในปี ค.ศ. 1986 และกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนใน ค.ศ. 1988 อีกทั้งได้รับการยอมรับเข้าเป็นสมาชิกอขงกลุ่มประเทศพัฒนา OECD - Orgranization for Economic Cooperation and Development ในปี ค.ศ. 1996 และเศราฐกิจที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 11 ของโลก ตลอดจนเป็นที่คาดหมายกันว่า ในศตวรรษที่ 21 เกาหลีใต้จะกลายเป็นชาติชั้นแนวหน้าในหมุ่ประชาคมโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่น้อยหน้ากว่าญีปุ่่นที่เป็นศัตรูคู่แค้นอีกต่อไป
             เศรษฐกิจของเกาหลีสะดุดลงเมื่อเกิดวิกฤตทางด้านเศรษบกิจใปี 1997 จึงกุ้เงินฉุกเฉินจาอองค์กรการเงินระหว่างประเทศ IMF เป็นจำนวนว 20 พันล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาเพื่อใช้เป็นเงินทุนสำรองของประเทศ และต้องกู้เพิ่มต่อไปอีกจนมียอดเงินกุ้รวมถง 57 พันล้านเหรียญ ความโกลาหลจึงเกิดขึ้นทั่ววไป รัฐบาลได้พยายามแก้ไขปัญหาจนกระทั่งเหตุการณืร้ายได้บรรเทาเบาบางลง อีกทั้งได้เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส ผลักดันโครงการพัฒนาอุตาสหกรรมวัฒนธรรม อุตสาหกรรมไอที และอุตสาหกรรมเทคโนลโลยีทางชีวภาพ ภามนโยบาย  "Dynamic Korea 21"
           นายโรห์ มุเฮียน เป็นผุ้เปลี่ยนแนวทางการพัฒนาของประเทศที่เคยใช้เกือบครึงทศวรรษ โดยเน้นการพัฒนาที่ยึดความเปนธรรมทางสังคม มากกว่าการเน้นเฉพาะความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจเทานั้น รายได้ต่อหัวของคนเกาหลีเพิ่มขึ้นเปน 2 เท่าในขณะเดียวกันได้เพิ่มวบประมาณด้านการวิจัยพลังงาน/สิงแวดล้อมพัฒนาราว 12.5 ล้านเหรียญในอุตสาหกรรมหลักพื้นฐานสี่ประเภท คือ ไอที เทคโนดลยีชีวภาพ พลังงาน/สิ่งแวดล้อม และเครื่องบิน และได้เน้นอุตสาหกรรมสำหรับอนาคต อีก 10 ประเภท
            การส่งออกได้เพ่ิมขึ้น โดยตลาดจีนกลายเป็นตลาดใหย่ที่สุดของเกาหลีแซงหน้าตลาดสหรัฐฯ อัตราการผลิตของโรงานอุตสาหกรรมเพ่ิมขึ้นเป็นร้อยละ 81.1 และในปี 2005 ผลผลิตมีอัตราเพิ่มร้อยละ 7.4 ซึ่งถือว่าสุงที่สุดในรอบ 78 เดือน
             ปี 2007 นายลี มยองบัง อดีต CEO ที่ได้รับความสำเร็จของบริษัทชั้นนำ เป็นประธานาธิบดี นายลี ได้นำนโยบายอนุรักษ์นิยมกลับมาใช้ ประกาศใช้นโยบายหาเสียงโดยยึดแนวอนุรักษ์นิยม นายลีได้ดำเนินการตามนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจที่ได้ให้คำมั่นสัญญากับประชาชนในตอนหาเสียนงรื่อยมาตลอดช่วงเวลาของการดำรงตำแหน่งผุ้นำประเทศ 5 ปี ท่ามกลางความผันแปรและวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เรียกว่า "แฮมเบอร์เกอร์ ไครซิส" ผลสัมฤทะฺ์ที่ได้รับดังปรากฎในปีสุดท้ายของการเป็นประธานาธิบดี ของเขาก็คือ เกาหลีใต้มีอัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยเพียงปีละ 4-4.5 % ประชากรมีรายได้ต่อหวราว 20,000 เหรียญสหรัฐฯต่อปี และขนาดเศรษฐกิจของประเทศอยุ่ในลำดับที่ 13 ของโลก ซึ่งต่ำหว่าเป้าหมายของนโยบายหาเสียงเป็นอย่างมาก
             สภานการณ์ญี่ปุ่น : อาทิตย์อัสดง ญี่ปุ่นเปิดคริสต์ศตวรรษใหม่ด้วยสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมทีไม่่อยสดใสนัก ทั้งนี้เป็นเพราะมีปัญหารุมเร้าตลอดช่วงตอนปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในทุกภาคส่วน แต่เนหื่องจากเป็นชนชาติที่มีรากฐานทางวัฒนธรรมดั้งเดิมที่เข้มแข็งมีประวัติาศตร์และอารยธรรมสูงเด่นนามนับพันปี ทำให้รากเง้าวัฒนธรรมที่เก่าแก่ยังปรากฎให้เห็นในแทบทุกส่วนของการดำรงชีวิต แม้จะเปลี่ยนไปบ้างตามกระแสโลกาภิวัตน์และปัญหาที่เกิดขึ้นรอบข้างก็ตาม
              ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ทำให้เกิดการล่มสลายของสถาบันการเงินในญ๊ปุ่น เริ่มจากการล้มของธนาคารโตโยโซโก ในเดื่อนเมษายน ค.ศ. 1992 ติดตามมาด้วยการล้มของะนาคารโตโยชนิคินในเดืนอตุลาคมปีเดียวกัน เมือเวลาผ่านไป ความรุนแรงและจำนวนสภาบันที่ล้มก็เพ่ิมมากขึ้นในปี 1995 สภาบันการเงินหลายแห่งล้มลง..ประชาชนทั่วไปตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และใเดือนพฤศจิกายน 1997 จากการล้มของธนาคารฮอกไกโดทะคุ โชคุ ซึ่งเป้ฯหนึ่งในธนาคารใหญ่ในเมืองหลักที่มีสาขาทั่วประเทศ และบริษัทหลักทรัพย์ยะมะอิจิจซึ่งเป็นหนึงใน 4 บริษัทหลักทรัพย์ยักษ์ใหญ่ของญีปุ่น ส่งผลให้ระบบการเงินญี่ปุ่นโยรวมตกเข้าสุ่ภาวะวิกฤตอย่างรุนแรง ยิ่งไปหว่านั้น 2 ใน 3 ของธนาคารเพื่อสินเชื่อระยะยาวของญี่ปุ่นก็มีหนี้สุเกินสินทรัพย์และต้องตกอยู่ในความดุลแของรัฐเป็นการชั่วคราว
              ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นมานานนับ 10 ปี และยังไม่มีทีท่าว่าจะฟื้นตัวในปี 2002 อีกทั้งยังคงสภาพนี้ต่อไปอีกลายปี ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตทางสังคมและวัฒนธรรมในวงกว้าง
              ญี่ปุ่นได้ก้าวพ้นยุควิกฤตทงเศรฐกิจในทศวรรษที่ 1990 มาได้ ทำให้อัตราความเจริญเติบโตเป็นบวกนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 เป็นต้นมา เป้นสัญญาณว่า ญ๊่ป่นุเริ่มฟื้นตัวและยังครอบตรองความเป็นมหาอไนาจทางเศรษฐกิจของโลกอันดับที่ 2 อยู่ต่อไป พ้อมกันนี้ความนิยมในการบริโภคสินค้าญี่ปุ่น เป็นไปอย่างกว้างขวาง เช่น รถยนต์โตโยต้า ซันโยเป็นต้น โดยได้สร้างผลกำไรให้แก่บริษัทเพิ่มสูงขึ้นทุกปี อันส่งผลให้ค่าเงินเยนสูงขึ้น ในขณะที่สินค้าอื่นต้องแข่งขันกับสินค้าที่ผลิตจากประเทศอื่น ปี 2008 ี่ปุ่นส่งออกได้ชะลอต้วลง และอัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจลดลง
           การฟื้นตัวอย่างเชื่องช้าภายหลังที่เกิดวกฤตเศรบกิจที่เรียกว่า "ทศวรรษที่หายไป" และโหมกระหน่ำให้เกิดปัญหาทางการเมืองที่ต้องเปลี่ยนรัฐบาลเกือบทุกปีใรตอนปลายของทศวรรษ 2000 ส่งผลให้หลุดจากากรเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับที่ 2 ให้แก่จีนไป และตามมาด้วยเหตุการณ์คลื่นซึนามิซัดถล่มคร่าชีวิตผุ้คนกว่า  20,000 รายและทรัพย์สินเสียหายกว่าง 309,000 ล้านเหรียญสหรัฯ ต่อด้วย โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมาไดอิชิ เกิดระเบิด ส่งสารกัมมันตภาพรังสีออกไปทั่ว จึงต้องอพยพโยกย้ายประชาชนซึ่งอาศัยอยู่ในรัศมี 20 กิโลเมตรรอบโรงงานไฟฟ้าฯ ความเสียหารที่เกิดขึ้นมีมุลค่ามากที่สุดท่าที่เคยบันทึกมา...(บางส่วนจาก " ไทย-เกาหลีใต้- อาเซียนบวกสาม" ศูนย์เกาหลีศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รศ.ดร. ดำรงค์ ฐานดี, 2555)

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

Optimum Currency Area : ASEAN +3

           หลังจากวิกฤตการณ์การเงินในภุมิภาคอเาว๊ยนและเอเชียตะวันออกในปีพ.ศ 2540 ทไใ้ประเทศไทยและประเทศอื่นในภุมิภาคยกเลิกอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ซึ่งยึดค่าเงินไว้กับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แล้วหันมาเข้าสูรระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว ซึ่งระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตังเป็นผลให้ค่าเงินมีความผันผวนซึ่งเกิดจากภาวะเศรษฐกิจโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านการต้า การเงินและการลงทุน ดังนั้นระบบอัตราแลกเปลี่ยนแปบบลอยตังจึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดของระบบอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งส่วนใหญ่จะเป้นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจขนาดเล็กและเป็นปบบเปิดสอดคล้องกับความคิดที่ว่าประเทศกำลังพัฒนาที่มีขนาดเศรษฐกิจที่เล็กและมีเศราฐกจค่อนข้างเปิดตามทฤษฎี แล้วแนะนำให้ประเทศกำลังพัฒนาเหล่านนี้ใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนคงที่โดยอิงกับเงินตราสกุลสำคัญ การอิงกับเงินตราสกุลหลักจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นในต่าเงิน ซึ่งผลดีคือการที่ประเทศเล็กๆ จะทำการต้าขายกันเองภายในกลุ่มเดียวกันจะลดปัญหาด้านความไม่แน่นอนของอัตราแลกเปลี่ยน เช่น ความไม่แน่นอนในรายได้ส่งออก ความไม่แน่นอนในมูลค่าการนำเข้า และความไม่แน่นอนของมูลค่าเงินสำรองระหว่างประเทศที่ประเทศเหล่านี้ถือไว้
 ในปัจจุบันระบบเศรษฐกิจมีการเปิดเสรีมาขึ้น หลายๆ ประเทศจึงใหความสนใจกับนโยบายการต้าเสรี แม้แต่กระทั่งประเทศจีนซึ่งเคยเป็ฯระบบสังคมนิยมก็ยังให้ความสนใจกับระบบบทุนนิยมมากขึ้น ระบบการต้าเสรีนั้นทำใ้หระบบเศรษฐกิจมีการขยายตัวมากขึ้น เกิดการเคลื่นย้ายเงินทุนหรืปัจจัยการผลิตข้ามชาติขยายตัวไปทั่วโลกการแข่งขันทางการค้าที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้ความได้เปรียบจะอยู่กับประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ทั้งความได้เปรียบทางด้านต้นนทุนการผลิตทรัพยากรการผลิต และที่สำคัญคือความได้เปรียบในด้านการต่อรองด้านการต้า ส่งผลกระทบต่อประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจขนาดเล็กจะถูกเอาเปรียบและถูกกีดกันทางการค้าดังนั้นกลุ่มมประเทศต่างๆ จึงพยายามรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างฐานเศรษฐกิจโดยกลุ่แลเพิ่มอำนาจต่อรองทางการต้า มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน มีฐานการผลิตที่ขนาดใหญ่ขึ้นและสามารถดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศได้
ง่าย ซึ่งผลประโยชน์ที่เพ่ิมขึ้นก็คือการมีจำนวนผู้บริโภคที่สูงขึ้นตามประชากรของแต่ละประเทศที่มารวมกลุ่ม ส่งผลให้เกิดการขยายการผลิตและมีประสิทธิภาพ ในการผลิตเพิ่มขึ้น ก่อเกิดต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง การรวกฃลุ่มทางเศรษฐกิจ จึงเป็นการสร้างประโยชน์ทางการต้าให้เกิดขึ้นระหว่างกัน อีกทั้งหากการวมกลุ่มมีความก้าวหน้าไปถึงการใช้เงินสกุลเดียวกันก็จะเป็นการประหยัดทุนธุรกรรมในการเปลี่ยนแงิน ถ้าจะมองภาพง่ายๆ ว่ามีมุลค่าเท่าใดก็อาจจะพิจารณาจากรายได้ของธนาคารในการปริวรรตเงินตรา รวมถึงค่าธรรมเนียมในการประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน... ผลที่ตามมาคือจะมีการต้าการลงทุนระหว่างประทศมากขึ้นผุ้ที่สนับสนุนการต้าเสรีก็จะชื่นชอบเพราะจะทำให้ผุ้บริโภคมีทางเลือกในสินค้ามากขึ้นด้วยราคาที่ถูกลง จากกรณีประเทศในสหภาพยุโรป มีการใช้เงินสกุลร่วมกันประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการใช้เงินสกุลร่วมกันต่อเสณาฐกิจ หากมีประเทศที่มพลังทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งซึ่งไดแก่ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีเข้ามามีบทบาทในการเป็นผุ้นำเพื่อสร้างระบบการเงินเอเชียตะวนออก ซึ่งทั้งนี้ประเทศจีนมีระบบเศรษบกิจพื้นฐานที่เข้มแข็ง และมีบทบาทสำคัญในเวทีเศรษบกิจโลก เนื่องจากจีนได้มีความเชื่อมโยงด้านการจ้า การลงทุนและการเงินกับภุมิภาคอื่นทั่วโลกมากขึ้นดังนั้นการดำเนินนโยบายใดๆ ของจีนจึงได้รับ
ความสนใจจากทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง เช่น นโยบายที่จีนส่งเสริมให้ใช้เงินหยวนในการชำระค่าสินค้าระหว่างประเทศ การทำกรอบนโยบายข้อตกลงทวิภาคีกับประเทศต่างๆ วึ่งเงินหยวนได้ถูกใช้ในการชำระค่าสินค้ามาเป็นเวลาหลายปีในส่วนของการต้าในกลุ่มอนุภูมิภาคกลุ่มแม่น้ำโขง เช่น พม่า เวียดนามและลาว เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีระดับการพัฒนาเศรษฐกิจไม่สูงนัก และประสบปัญหาการขาดดุลการค้ามาดดยตลอดทำให้ขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ ประกอบกับค่าเงินไม่มีเสถียรภาพ สิ่งต่างๆ เหล่านี้จึงเป้ฯปัจจัยชับเคลื่อนให้เงินหยวนกลายเป็นเงินสกุลหลักในการชำระค่าสินค้าระหว่างกัน ในส่วนของภาครัฐก็ยัง พบว่า ทางการจีนยังออกมาตรการเพื่อผลักดันในนโยบายการชำระเงินสกุลหยวน ทไใ้ผุ้ประกอบการจีนได้ประโยชน์ทั้งด้านภาษี และลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น"""
               ทฤษฎีเขตเงินตราที่เหมาะสม หมายถึง กลุ่มของประเทศที่เงินตราภายในประเทศเชื่อมโยงกัน ดดยผ่านอัตราและเปลี่ยนคงที่อย่างถาวร เงินตราของประเทศสมาชิกสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างเสรีกับประเทศนอกกลุ่ม เขตของประเทศเดียวกันใช้เงินตราสกุลเดียวกัน เรียกว่าเขตเงินตราที่เหมาสม ซึ่งประเทศในกลุ่มประชาคมเศรษบกิจยุโรป พยายามก่อตั้งขึ้น การก่อตั้งเขตเงินตราที่เหมาสมจะกำจัดความไม่แน่นอนที่เกิดจาอัตราแลกเปลี่ยนไม่คงที่อย่างาถาวร และจะเร่งให้มีควาชำนาญในการผลิตพร้อมกับมีการต้าและการลงทุนระหว่างประเทศภายในกลุ่มโดยสนับสนุนให้ผุ้ผลิตมอง่าพื้นที่ทั้งหมดเป็นตลาดเดียว ซึ่งได้รับผลประโยชน์จากการปลิตขนาดใหญ่ การที่มีอัตราแลกเปลี่ยนคงที่อย่างถาวรทให้ระดับราคามีเสถียรภาพมาก และเป้ฯการสนนับสนุการใช้เงินตราเป็นที่สะสมมูลค่าและทำลายการแลกเปลี่ยนที่ไม่มีประสิทธิภาพที่เกิดจากภาวะเงินเฟ้อ นอกจากนี้ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายที่รรัฐบาบแทรกแซงในตลาดเงินตราต่างประเทศ ประหยัดค่าใช้จ่ายจากการทำการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง และประหยัดค่ามใช้จ่ายในการแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลหนึ่งเป็นอีกสกุลหนึ่งเมื่อประชาชนท่องเที่ยวในประเทศสมาชิกของกลุ่ม...
              เขตเงินตราที่เหมาะสมของแลุ่มประเทศอาเซียน +3 เพื่อศึกษาถึงความพร้อมของการเป็นเขตเงินตราที่เหมาะสมและความเหมาะสมของเงินตราที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนปัจจุบัน โดยใช้ทฤษฎีเขตเงนิตราที่เหมาะสมของเงินตราที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนปัจจบัน โดยใช้ทฤษฎีเขตเงินตราที่เหมาสม โดยเงื่อไขที่จำเป็นประกอบด้วย ระดับการเคลื่อนย้ายการผลติ ระดับการเปิดประเทศ การกระจายของสินค้า ความสอดคล้องกิจกรรมทางเศรษบกิจและทฤษฎีควาทเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อทั่วไป เป็นการศึกษาความเหมาะสมของสกุลเงินทีเหมาะสมต่อการเป็นสื่อกลาการแลกเปลี่ยนที่ใช้ในปัจจุบันโดยเปรียบเทียบเงินสกุลเงินหยวนของจีน และสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ กลุ่มประเทศอาเซียน +3 ที่ศึกษาประกอบด้วย จีน อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย....
             สรุปว่าการทดลองตามแนวทฤษฎี G-PPP ในกลุ่มประเทศอาเซียน +3 โดยใช้เงินหยวนเป้ฯฐานของอัตราและเปลี่ยนที่แท้จริง เหมาะสมกว่ากรณีเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นฐานของอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง...
           
             - บางส่วนจาก "ความาสามารถในการเป็นเขตเงินตราที่เหมาะสมของอาเซียน +3" วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต เสนอต่อมหาวิทยาลัยรามคำแหง,2556 โดย กุลกันยา ชูแก้ว
             

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...