Plus Three III

               อิทธิพลทางเศราฐกิจ
               จีน
                ชาวจีนสามารถพัฒนาเศรษฐกิจประเทสได้อย่างรวดเร็วในช่วงสามทศวรรษ แซงหน้าญี่ปุ่นกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับสองของโลกในปี ค.ศ. 2011 ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนอยู่ในระดับสูง ราวร้อยละ 9.9 ในช่วงปี 2000-2010 และได้รับดุลการต้าเกินอย่างต่อเนื่องในปีเดียวกัน ในขณะทีประเทศขั้นแนวหน้า เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และยุโรปต่างพบกับปัฐหาความชะงักงันทางเศรษฐกิจ
                จากสถานการณ์ดังกลาง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอยา่งใหญ่ต่อระบบเศรษฐกิจโลก ที่เกิดกลุ่มประเทศใหญ่ก้าวขึ้นมาเป้นขั้นมหาอำนาจทางเศรษฐฏิจขั้วหนึ่งของโลก นั้นคือ BRIC ประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดียและจีน เป้นประเทศขนาดใหญ่ มีจำนวนประชากรมาก ค่าแรงต่ำ มีทรัพยากรธรรมชาติเหลือเฟือและมีตลาดภายในขนาดใหย่ (ปัจจุบันรวมประเทศสหภาพแอฟริกาหรือแอฟริกาใต้เข้าไปด้วย กลายเป็น BRICS ) และบางคนได้รวมประเทศอินโดนีเซีย หรือ I ด้วย
                ความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจของจนเป็นผลมาจากหลายปัจจัย ทำให้สินค้าที่ผลิตได้มีราคาถูกสามารถส่งขายไปยังตลาดทั่วโลกได้ง่าย ดังนั้นเมื่อนักลงุทนทั่วดลกเร่งรุดไปลงทุนในจีนในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ทำให้สินค้าจีนที่มี "ราคาถูกคุณภาพต่ำ"วางขายเกลื่อนตลาดทั่วโลก โดยมีราคาต่ำกว่าสินค้าที่ส่งมาจากประเทศพัฒนาแล้วถึง 3-4 เท่า จึงไม่นาแปลกใจที่จีนได้เปรียบดุลการต้ามากมายและเป็นประเทศที่มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก
               จีนได้นำเงินออกไปลงทุนยังต่าประเทศ โดยซื้อพันธบัตรของประเทศสหรัฐอเมริกาและของประเทศต่างๆ ในยุโรป แลลงทุนทางธุรกิจอุตสาหกรรม ในประเทศแถบอาเซียน แอฟริกาและละกินอเมริกา รวมทั้งยุโรปตะวันออก ทำให้จีนเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ และก้าวขึ้นมามีอิทธิพลทางเศรษฐกิจต่อโลกในยุคปัจจุบัน
              การดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศไปเป็นจำนวนมากนั้น ทให้ประทศต่างๆ โดยเฉพาะอาเซ๊ยนได้รับผลกระทบเพราะมีการลงุทนจากต่างประเทศ ทั้งปริมาณและมูลคาการลงทุนลดลงอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งจีนได้ใช้ทรัพยากรและพลังงานจากแหล่งผลิตทั่วดลกในประมาณสูงก่อให้เกิดปัฐหามลภาวะ ปัญหาโลกร้อน และความสิ้นเปลื่องทรัพยากรโลก รวมทั้งส่งผลให้ราคาวัตถุดิบและน้ำมันสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว สร้างความเดือดร้อนให้กับประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย
            ประการสุดท้าย จีนมีบทบาทสำคัญ ทางเศรษฐกิจต่ออาเซียน โดยเป็ฯประเทศแรกที่ลงนามเขตการต้าเสรี ทำให้การค้าและการลงทุนระหว่างกันเฟืองฟูอย่างรวดเร็ซ เงินทุนและสินึาของจีนหลังไหลเข้าไปในอาเซียนในทศวรรษที่ 2000 จีนจึงกลายเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ๋และหนือกว่าเศรษฐฏิจของชาติสมาชิก 10 ประเทศของอาเซียนรวมกัน อาเซียนึงยอมรับสถานภาพทางเศณาฐฏจิขของจีนว่าเหนือกว่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
            ญี่ปุ่น
            ภายหลังพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สอง แก่กองทัพสัมพันธมติร ชาวญีปุ่นได้ยุติความพยายามที่จะเป็นใหญ่ในเอเชียตามอุดมการณ์ลัทธิทางการทหาร โดยะบุไว้ในรัฐะรรมนูญมาตราที่ 9 ว่า ญ๊่ป่นุจะไม่มีอกงทัพที่ใช้รุกรามประเทศอื่นใด เพียงแต่จะคงไว้ซึ่งกองกำลังป้องกันตนเอง เท่านั้น (โดยสหรัฐฯ จะทำหน้าที่ในการปกป้องทางทหารต่อประเทศญี่ปุ่นหากถูกประเทศอื่นรุกราน) ดังนั้น ความพยายามทุกภาคส่วนจึงมุ่งไปที่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ถูกทำลายอย่างสิ้นเชิงในชวงสงครามเพื่อให้ฟื้นกลับคืนมาดังเดิม และให้ก้าวหน้าต่อไปบนเส้นทางสันติภาพ
           ญี่ปุ่นสามารถพลิกเศรฐกิจให้กลับมาอยุ่ในสภาพดีดังเช่นช่วงก่อนสงครามภายในเวลเพรียง ๅ10 ปี โดยในปี ค.ศ. 1951 ประเทศญีปุ่นได้ลงนามในสนธิสัญญาสัจติภาพที่นครซานฟรานซิสโก ซึ่งเป็ฯจุดสำคัญที่ทำให้ประเทศญี่ปุ่นกลับมาสู่สังคมนานาชาติในฐานะที่ได้รับการปฏิรูปขึ้นาใหม่ และกลับคืนสู่สถานะที่มีสิทธิในการดำเนินกิจการระหว่างประเทศซึ่งถูกสั่งห้ามในขณะที่ถูกกองทัพสัมพันธมิตรยึดครองอยู่ในด้านการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจที่ถือเป็นภารกิจเร่งด่วนั้น ได้รับการสนับสนุนจากประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ทำให้ญี่ปุ่นสามารถนำประเทศเข้าไปมีส่วนในการดำเนินกิจกรรมทางการต้าระหว่างประเทศได้โดยเสรี ในช่วงประมาณกลางทศวรรษ 1960  ญี่ปุ่นก็พัฒนาเศราฐกิจอขงตนเองจนเข้มแข็งพอที่จะออกไปแข่งขันกับตลาดเสรีทั่วดลก จนได้รับคัดเลือกให้จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนใน ค.ศ. 1964 อันเป็นสัญลักษณ์ของความมั่นใจใหม่ของประชาชนชาวญี่ปุ่นและกรมีบทบาทเพ่ิมขึ้นในประชาคมโลก และในปี 1968 ขนาดเศรษฐกิจของญี่ปุ่นก็ก้าวล้ำนำหน้าเยอรมัน และกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับที่ 2 รองจากสหรัฐอเมริกา
         
 นอกเหนือจากความพยายามของคนในชาติที่มีความขยันขันแข็งในการทำงาน ปรับใช้เทคโนดลยีในการผลิต และเร่งรัดการส่งออกอย่งมีประสิทธิภาพแล้ว ญี่ปุ่นยังได้รับประโยชน์มากมายจากสถานการณ์ของโลก ได้แก่ สงครามเกาหลี และสงครามเวียดนาม ที่กองกำลังนานาชาติ นำโดยสหสหรัฐอเมริกาที่ได้ใช้จ่ายเงินจำนวนมหาศาลเพื่อการรบ โดยญี่ปุ่นผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค อาวุธ เครื่องจักร ยามพาหนะ ฯลฯ ขายให้ นอกจานี้บริษัทญี่ปุ่นได้เข้าร่วมทำธุรกิจเกี่ชยวกับการทหารในยุคที่มีการสู้รบ การฟื้นฟูบูรณะประเทศเหล่านี้ภายหลังสงครามยุติลงเป็นเวลาอีกหลายทศวรรษ
           บริษัทญี่ปุ่นเร่งรัดออกไปลงุทนในเกาหลี ภายหลังที่มีการฟื้นฟูความสัมพันธ์อย่างเป็ฯทางการใน ค.ศ. 1965 และได้เข้าไปลงุทนในใต้หวัน ฮ่องกงและสิงคโปร์ ต่อมา เมื่อสงครามเวียดนามสงลลง ญี่ปุ่นได้เพิ่มการลงทุนในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเข้าไปในจีนภายหลังที่เปิดประเทศและติดตามด้วยการเข้าไปค้าขายกับประเทศที่ยากจน เช่น ลาว เขมร และพม่าในเวลาต่อมา
            ในห้วงเวลาเดียวกัน ญี่ปุ่นได้รับมอบให้ครอบครองหมุ่เกาะโอกินาวา ซึ่งประกอบไปด้วยหมู่เกาะริวกิวและหมุ่เกะไดโต้จากการขึดครองของประเทศสหรัฐอเมริกาในค.ศ. 1972 และญี่ปุ่นได้ทำกาฟื้นฟูสัมพันธไมตรีกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนในปีเกียวกัน ต่อมา ได้รับเข้าเป็นสมาชิกของข้อตกลงร่วมทางด้านภาษีศุลกากรและการต้า GATT และขององค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐฏิจ OECD  และในปี1975 ก็ได้เข้าเปนสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมในการประชุมประเทศที่มีขนาดเศราฐฏิจใหญ่ที่สุด 7 ชาติ หรือ G-7
            ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นตลอดทศวรรษ 1960-1970  เรื่อยมาจนถึงจุดสูงสุดเมื่อค่าเงินเยนสุงขึ้น จนกระทั่งระดับต่ำกว่า 80 เยน/ 1 ดอลลาร์ในปี 1995 บริษัทญี่ปุ่นจึงขยายการลงทุนและรัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากย่ิงขึ้นเรื่อยมา อันเป้นการสร้าง "ความมั่นคง" ให้แก่ดินแดอุษาคเนย์จนองคการสประชาชาิประกาศว่า อาเซียน 4ประเทศ (ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์)กลายเป็นเสือเศราฐกิจตัวใหม่ของเอเชียต่อจากประเทศอุตสาหกรรมใหม่ ( Nic ได้แก่ เกาหลีใต้ ได้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์) ญี่ปุ่นมีความภูมิใจที่รูปแบบการพัฒนา(Flying Geese Model) บรรลุผลและค้ำจุนให้ญี่ปุ่นมีความโดดเด่น และมีขนาดเศราฐฏิจเกือบเท่ากับของสหรัฐอเมริกาในช่วงนั้น
              อย่างไรก็ตาม รูปแบบกาพัฒนาและความเจริญรุ่งเรืองของญี่ปุ่นไม่สามารถคงทนและเป็นอยู่อย่างยั่งยือนเมื่อญี่ปุ่นประสบกับปัฐหาทางเศราฐกิจและฟองสบู่แตก ตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1990 ดังที่ได้กลาวแล้ว ต่อมา ปี 1997 เกิดวิกฤตทางการเงินขึ้นในไทย อินโดนีเซีย (มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์เกิดปัญหาขึ้นเช่นกันแม้จะอยู่ในระดับไม่มาก็ตาม) และเกาหลีใต้ จนต้องขอกู้เงินฉุกเฉินและเงินฟื้นฟูเป็นจำนวนมาก  รัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกาปฏิเสธให้ความช่วยเหลือแบบทวิภาค โดยแนะให้ไปกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ IMF  ดังนั้น รัฐบาลทั้งสามจึงขอกู้เงินจำนวนมหาศาล ในขณะเดียวกันรัฐบาลจีนได้ให้ความช่วยเหลือเพื่อการฟื้นฟูด้วยเงินจำนวนหนึ่ง ส่งนประเทศญี่ปุ่นได้ทุมงลประมาณกว่า 100 พันล้านเหรียญให้แก่ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตทางเศราฐกิจในโครงการ Miyazawa Plan เพื่อใช้ในการกระตุ้นเศราฐกิจให้ฟื้นกลับคือมาดดยเร็ว
              จากปัญหาดังกล่าว อาเซียนบวกสาม จึงมีการเสนอให้จัดตั้งความร่วมมือทางด้านการเงินการคลังระดับภูมิภาคขึ้นในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2000 เรียกว่า ความริเริ่มเชียงใหม่  ดดยให้สมาชิกออกเงินเป็นกองทุนจำนวน 1,000 พันล้านเหรียญเพื่อให้ประเทศสมาชิกกู้หากประสบกับปัญหาทางเศราฐกิจต่อไปในอนาคต
             เนื่องจากอาเซียนเป็น "ระเบียบเศรษฐกจิ" ที่ถือได้ว่า ญี่ปุ่นต้องอาศัยอุษาคเนย์ในเกือบทุกด้าน เช่น เป็นแหล่งวัตถุดิบ แรงงาน ตลาด การลงทุนโรงงานประกอบสินค้า ตลอดจนเป็นสถานที่ท่องเที่ยวราคาถุก และที่พักพิงแก่ผุ้สูงอายุที่ไปใช้ชีวิตบั้นปลายในดินแดนสุวรรณภุมิ ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยุ่บวกกับ "ความโง่เขลา" ของชาวอุษาคเนย์ที่มักเป็นฝ่ายยอมตาม...จึงเป็นปัจจัยที่ญี่ปุ่นต้องยึดภูมิภาคแห่งนี้เพื่อผลประโยชน์ของตัวเองทั้งใระยะสั้นและระยยาวมากกว่าที่จะส่งเสริมเพิ่มพลงให้อาเซียนเจริญเติบโตเทียบเคียงญี่ปุ่น ยกเว้นสิงคโปร์ที่จนจีนโพ้นทะเลครอบครองอยุ่ ญี่ผุ่นจึงทำสนธิสัญญาเขตการต้าเสรีตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2020 ในฐานทีเป็นประเทศ "พันธมิตร" คู่ค้า แต่ปฏิเสธการทำสนธิสัญญาแบบเดียวกันกับประทศอื่นในกลุ่มอาเซียน รวมทั้งจีนและเกาหลีใต้ด้วย ทั้งนี้ ก็เพราะสิงคโปร์มีความเจริญรุ่งเรืองและประชากรมีรายได้ต่อหัวเที่ยบเท่ากับญีปุ่น อย่างไรก็ตาม ใปี 2006 ญี่ปุ่นได้ทำสนธิสัญญาเขตการต้าเสรีกับมาเลเซียอีกประเทศหนึ่ง เพราะมาเลเซียมักชื่นชมดการพัฒนาของญี่ปุ่น ถึงกับประกาศนโยบาย  "นโยบายมองตะวันออก" เพื่อนำรูปแบบการพัฒนาของชาวอาทิตย์อุทัยมาใช้ในการพัฒนาประเทศของตน อีกทั้ง ญีปุ่่นประสงค์ี่จะเปิดเป็นช่องทางเข้าหาอาเซียนอย่างสะดวกโดยผ่านประเทศใดประเทศหนึ่งที่นิยมชมชอบตน
            ปัจจัยภายนอกที่สั่นคลนความเป็ฯเอกของญี่ปุ่น นั่นคือ เกาหลี จีน และไ้หวันสามารรถเข้าถึงความรู้ทางเทคโนโลยีทางการผลิต และสามารถหาตลาดเพื่อขายสินค้าของตนแข่งขันกับสินค้าของย๊่ปุ่นในทุกตลาดทั่วโลก ในช่วงต้นสินค้าของประเทศเกาหลีมีคุณภาพปานกลางที่มีราคาถูกกว่าสินค้าญี่ปุ่น ซึ่งมีคุณภาพดีแต่ราคาสุงในขณะที่สินค้าจากจีนนมีราคาต่ำสุดแลคุณภาพไมค่อยดีนัก จึงแย่งตลาดระดับกลางและต่ำไปจาก ญี่ป่น ุในช่วงต่อมา ได้มีการพัฒนาคุณภาพของสินคค้าขึ้นมาเรื่อยๆ สินค้าของเกาหลีและของจีนจงค่อยๆ แทรกตัวเข้าไปยังตลาดที่เคยเป็นของญีปุ่่น ทไใ้เศราฐกิจที่พึงพากการส่งออกเป็นหลักของญี่ปุ่นได้รับผลกระทบอย่างหนัก
              จีนผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคได้ในราคาถูก แม้คุณภาพจะไม่ดีนัก และสามารถแย่งขิงตบาดล่างไปแทบหมดสิ้น เพราะขายได้ในราคาต่ำหวาสินค้าประเภทเดียวกันของญี่ปุ่นราว 1-4 เท่า โดยที่จีนมีตลาดภายในขนาดใหญ่ที่รองรับสินค้าที่ตนผลิตอยู่แล้ว จึงไม่้องพึ่งพาการส่งออกเหมือกับญี่ป่นุแลเกาหลี ดังนั้นเมื่อเกิดวิกฤตเศราฐฏจิในสหรัฐฯ ปี 2008 และในยุโรปปี 2009-2011 จึงไม่ค่อยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงเท่ากับญี่ปุ่นและเกาหลีที่ต้องพึ่งพาตลาดหลัก 2 แห่งนี้ อีกทั้งจีนยังรองรับสินค้าจากญี่ป่นุและเกาหลีใต้ได้เป็นจำนวนมาก และกลายเป็นประเทศคุ่ค้าใหญ่ที่สุดกับญี่ป่นุและเกาหลีแทนที่สหรัฐฯ และยุโรปไปในตอนกลางทศวรรษที่ 2000 สภาพการณ์ดังกล่าวทำให้บทบาททางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นลดตำ่ลงมาก และในที่สุดจีนก็ก้าวขึ้นเป็นผุ้นำทางเศราฐกิจของเอชีย
             เกาหลี
             แม้ว่าเกาหลีใต้จะเป็นประเทศที่เข้ามยังภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ที่หลัง แต่ด้วยความมุ่งมัี่นแลความพยายามทุ่มเททุกทาง ผลลัพธ์ที่เกิขึ้นก็เป็นที่น่าพอใจยิ่ง กล่าวคือ เกาหลีใต้เป็นรองทางด้านการค้า จากญี่ป่นุและจีนราว 2 เท่า แต่ในด้ารการลงทุนโดยตรงแล้ว เกาหลีใต้เป็รรอบเฉพาะญี่ปุ่น แต่อยุ่เหนือจีน
             นอกจากความพยายามของภาครัฐที่สนับสนุนให้ภาคะูรกิจออกไปลงทุนในอุษาคเนย์แล้วปัจจัยทางด้านวัฒนธรรมที่เรียกว่า กระแสเกาหลี ก็มีบทบาทสำคัญช่วยผลักดันให้การต้าและการลงทุนของเกาหลีได้รับความสำเร็จอย่างรวดเร็ว โดยใชเวลาเพียงหนึ่งทศวรรษเท่านั้น เกาหลีใต้ก้าวขึ้นมาเป้ฯประเทศคุ่ค้าที่สำคัญของอาเซียน เหนือกว่าออสเตรเลีย อินเดีย แคนาดา รัีศเซีย นิวซีแลนด์ และปากีสถาน ซึ่งเป็นประเทศที่มีความผุกพันกับเอชียตะวันออกเฉียงใต้มาช้านาน
           ความสัมพันธ์ทางเราฐฏิจระหว่างเกาหลีกับอาเซียนที่เด่นชัดก็คือ เกาหลีจะส่งสินค้าประเภทอุตสาหกรรมไปขาย และข้าไปลงทุนในภาคอุตสาหกรรมเป็นหลักไปประเทศอุษาคเนย์ในขณะที่รับซ้อสินค้าประเภทวัตถุดิบ เช่น น้ำมันปิโตรเลี่ยม ก๊าซธรรมชาติ กากน้ำตาล ยางพารา กุ้งแช่แข็ง มันสำปะหลัง กล้วยไม้ และลำไยอบแห้ง เข้าประเทศ ดังนั้น มาเลเซีย และอินโดนีเซียซึ่งส่งออกสินค้าประเภทพลังงาน จะได้เปรียบดุลการต้ากับเกาหลี ส่วนประเทศที่ส่งสินคัาเกษตรไปขาย จะขาดุลการต้าเพราะต้องซื้อสินค้าอุตสาหกรรมในราคาสุงกว่าเข้าประเทศ ดังเช่น ไทย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม เป็นจ้น ประเทศกลุ่มหลังนี้จึงทดแทนการขาดดุลด้วยการส่งแรงงานไปทำงานในเมืองโสม และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของเกาหลี ส่วนการลงทุนนั้น เกาหลีจะลงทุนในประเทศต่างๆ ของกลุ่มอาเซียนในปริมาณและมูลค่ามากกว่าท่อาเซียนจะไปลงทุนในเกาหลี อย่างไรก็ตาม ปัญหาและอุปสรรคทางการต้าที่สำคัญ คือ เกาหลียังคงใช้มาตการต่างๆ ในการปกป้องตลาด แม้ว่าการเข้าเป็นสมาชิกของ WTO และการเข้าเป็นสมาชิกของ OECD จะทำให้เกาหลีต้องเปิดตลาดขึ้นเรื่อยๆ แต่ในความเป็นจริง เกาหลียังคงปกป้องตลาดภายในด้วยมาตรการภาษีและมิใช่ภาษี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกำหนดมาตรฐานสุขอนามัยต่อสินค้าเกษตรของประเทศอื่น รวมทั้งไทยด้วย ทำให้การส่งสินค้าไปขายยังเกาหลีเต็มไปด้วยความยากลำบาก... ( ไทย-เกาหลีใต้-อาเซียนบวกสาม, โดย รศ.ดร.ดำรงค์ ฐานดี, ศูนย์เกาหลีศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2555)
           
           

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)