Plus Three IV

           อิทธิพลทางการเมือง สถานการณ์ทางการเมืองของตินแดนชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ในยุคนี้ได้เพิ่มความตึงเครียดมากย่ิงขึ้นเมื่อต่างฝ่ยจ่างมีการสะสมอาวุธ อันจะนำความไม่มั่นคงมาสู่เอเซียตะวันออกมากยิ่งขึ้น
           - เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ
             การแข้งขันในการสะสมอาวุธ ป้องกันประเทศหรือเพื่อรุกราน แม้สงครามที่มีการปะทะกัน
โดยตรงดังเช่นในอัฟการนิสถาน และอิรักที่มีกองกำลังทหารนานาชาติเข้าไปในสมรภูมิรบเต็มรู฿ปแบบจะไม่ปรากฎให้ห็นอย่างเด่นชัดในสหัสวรรษใหม่นี้ นอกจากคำขู่และการทดลองอาวุธที่มีอานุภาพการทำลายล้างสูง เป็นครั้งคราวจากเกาหลีเหนือ แต่เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือก็เป็นภูมิภาสคที่มีการสะสมอาวุธร้ายแรงและอาวุธทันสมัยไฮเทคมากที่สุบริเวณหนึ่งของโลก  โดยมีปัจจัยหลักที่ส่งเสริมให้เกิดสถานการณ์ดังนี้ ได้แก่ จำนวนประชากร คงามเฟื่องฟูทางเศรษฐกิจ ความขัแย้งทางประวัติศาสตร์ ภูมิรัฐศาสตร์ที่เป็นรอยต่อระหว่างลัทธิคอมมิวนิสต์กับลัทะิเสรีประชาธิปไตย จนมีนักวิชาการบางคนระบุว่าบริเวณแถบนี้เป็นแหล่งที่สงครามเย็นหลงเหลือเป็นแห่งสุดท้ายของโลก   จากข้อมลจำนวนทหารและอาวุธที่ประเทศ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นมีในปี 2009 และเปรียบเทียบกับข้อมูลของเกาหลีเหนือ และไต้หวัน ซึ่งเป็นตัวละครสำคัญในภูมิภาคนี้เช่นกัน หากรวมกองกำลังทหารและอาวุธของจีนและเกหลีเหนือเข้าด้วยกันแล้ว จะมีมากกว่าจำนวนรวมของเกาหลีใต้ ญี่ปุ่นและไต้หวัน อนึ่ง ทั้งจีนและเกาหลีเหนือต่างเป็นประเทศที่ผลิตและครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ด้วย ดังนั้น  ความสมดุลจึงอยู่ห่างไกฃลมาก จึงต้องมีกองกำลังทหารสหรัฐฯ มาตั้งฐานทัพที่ประเทศเกาหลีใจ้และญี่ป่นุถเพื่อให้เกิดดุลยภาพขึ้นบ้งบางส่วน
             
อีกทั้งระบบงบประมาณที่ใช้ในด้านการทหารและการป้องกันประเทศจะเห็นได้วา นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งทีสองเป็นต้นมานั้น ญี่ปุ่นได้ตั้งงบประมาณในด้านนี้ไว้สุง หลาวคือ ใน ค.ศ. 2001 ตั้งงลประมาณราว 40.8 พันล้านเหรียญ หรือมากกว่างลบประมาณในส่วนนี้ของจีน เกาหลีใต้ เกาหลีเหนือ และได้หวันรวมกัน ต่อมมาในปี ค.ศ. 21006 และ ค.ศ. 2007 งบประมาณทางการทหารได้ลดลงบ้างตามลำดับ แต่ก็มิได้มีนัยสำคัญเท่าใดนัก ในทางตรงกันข้ามงลประมาณของจีนได้เพิ่มจาก 17 พันล้านเหรียญใน ค.ศ 2001 เป็น 61 พันล้านเหรียญใน ค.ศ.  2008
                Dr. Gary Kllinworth แห่งมหาวิทยาลัย Australian National University ได้กล่าวว่าภายหลังที่เกาหลีเหนือได้ทดลองระเบิดนิวเคลียร์เมื่อปี ค.ศ. 2006 เป็นต้นมา การแข่งขันกันสะสมอาวุธในภูมิภาคแถบนี้มีความเข้มข้นมากย่ิงขึ้น และได้มีการนำระบบเครื่องยิงต่อต้านขีปนาวุธ มาใข้เพื่อเอาชนะฝ่าย ดังนั้น เมื่อเกาหลีเหนือครอบครองและทดลองยิง
ขีปนาวุธหลายครั้ง ไต้หวัน ญี่ป่นุ แลเกาหลีได้มีความรู้สึกไม่มีความปลอดภัยและความมั่นคงของชาติได้รับการทาทาย จึงแสวงหาอาวุธที่ต่อต้านขีปนาวุธขึ้นด้วยการซื้อ Patriot missile จากสหรัฐ ฯ และต่างติดตั้งระบบ Missile Defense System ซึ่งถือได้ว่าเป็นการก้าวไปสู่โครงการสงครามอวกาศ (Star War programe) ขึ้นแล้ว
              ตัวอย่างการเสริมเขี้ยวเล็บทางอาวุํธของปะเทศญี่ปุ่น ได้แก่ การซื้อเครื่องบิน นำเข้าประจำการในปลายปี ค.ศ. 2008 และจะซื้อเครื่องบินรบ F-22 ราคาละละ 200 ล้านเรียญจำนวนราว 100 ลำ เพื่อทอแทนเครื่องบิน F-14  FX ที่เก่าและล้าสมัย หากเครื่องบินผูงนี้เข้าประจำการ จะมีสมรรถนะปกป้องประเทศนรัศมี 2,000 ตารางกิโลเมตร นอกจานี้ ญี่ปุ่นยังซื้อ มิสไซส์ จากสหรัฐฯ โดยติดตั้งบนเรือบรรทุกเครื่องบิน เพื่อใช้ยิงต่อต้านขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ ในขณะที่เรือบรรทุกเครื่องบิน ก็ได้ทำการติดตั้งเครื่องยิงต่อต้านขีปนาวุธเช่นกัน ได้หวันจะซื้อเครื่องบินรบ จำนวน 60 ลำ ในขณะที่เกาหลีได้ใต้ตั้งงลประมาณราว 665 พันล้านเหรียญ ดิเฟรนด์ รีฟอร์ม 2020 อินนิทิทีฟ โดยจะใช้ซื้อเครื่องบินรบไฮเทค F -15 K เรือบรรทุกเครื่องบิน ซึ่งจะสามารถเป็นโลห์ป้องกัน Low-altitde misssile ได้
           
 จีนได้ทุ่มงบประมาณในการผลิตเครื่องบินรบที่มีสมารรถนะสูง เพื่อใช้ในการต่อกรกับเครื่องบินรบ F-22 ภายใต้ชื่อ Jian-13 และ Jian -14 ที่สามารถติดตั้งเรดาร์ โดยจะสามารถผลิตได้ในปี ค.ศ. 2015 ในขณะเดียวกันก็จะต่อเรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์ขนาด 93,000 ตัน ให้เสร็จสิ้นใน ค.ศ. 2020
             Hard Power diplomacy หมายถึงการใช้การทูตทางกำลังทหาร นั้คือการบีบบังคับให้อีผ่ายหนึ่งเห็นพ้องต้องกันว่าการใช้กองกำลังทหารเข้าดจมตี หรือบีบบังคับด้วยการใช้พลังอำนาจทางอาวุธเข้าไปมีอิทธิพลเหนือการตัดสินใจของฝ่ายตรงข้ามแม้ในปัจจุบัน การโจมตีกันด้วยกองกำลังทหารทหารและอาวุธจะไม่เกิดขึ้น แต่การแข่งขันการสะสมอาวุธของประเทศในภูมิภาคนี้ก็กระทำกันอย่างต่อเนื่องแลเข้มข้นดังที่กล่าวแล้วในหัวข้อข้างต้น ทุกชาติจะพูดถึงดุลยภาพของอาวุธที่มีไว้ในครอบครอง และสร้างแสนยานุภาพในการปกป้องตนเองหากมีความจำเปนที่ตนเองถูกรุกราม ทั้งนี้ทั้งนั้น ตัวละครที่สำคัญนอกภูมิภาค คือ สหรัฐอเมริกาที่เน้นความสำคัญในการสร้างความสมดุลระหว่างกลุ่มคอมมิวนิสต์ (จีน เกาหลีเหนือ และรัสเซีย) กับกลุ่มเสรีประชาธิปไตย (เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ)
            เกาหลีเหนือเปนเสมือนตัวการที่สร้างความตื่นตระหนกและเป็นภัยคุกคามสันติภาพและความมั่นคงให้แก่ภูมิภาคนี้ ดังเป็นที่ประจักาืว่าเมืองโสมแดงมีอาวุธนิวเคลียร์และอาวุธที่มีอานุภาพการทำลายล้างสูงมาก และได้ทำการทอลองอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้ "ปล่อยจรวดเพื่อส่งดาวเทียม" ขึ้นสุ่อวกาศ เมื่อวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 2009 เวลา 11.20 น. ซึ่งได้สร้างความไม่พอใจให้แก่ประเทศในกลุ่มเสรีประชาธิปไตยที่คาดการรืว่า เกาหลี่เหนือทดลองยิงขีปนาวุธพิสัยไกลเตโปคอง 2 ที่ยิงได้ไกลถึงฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ  ญี่ปุ่นจึงได้เตรียมพร้อมด้วยการนำขีปนาวุธต่อต้านมาติดตั้งหากชิ้นสวยของขีปนาวุธของเกาหลีเหนือตกลงในดินแดนญี่ปุ่นในขณะที่เกาหลีใต้สั่งเตรียมพร้อมทางการทหารเพื่อป้องกันประเทศเช่นกัน อนึ่ง ก่อนหน้านั้นญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐฯ รวมทั้งประเทศในยุโรปต่างเรียกร้องให้เกาหลีเหนือยุติการยิงจรวดเพื่อส่งดาวเทียม แต่คำตอบของเกาหลีเหนือก็คือ ปฏิเสธข้อเรียกร้องทัเ้งหมด และประกาศว่าจะทำสงครามกับประเทศใดๆ ที่ยิงจรวดของคนตก ในที่สุดเกาหลีเหนือก็ดำเินการตามแผนที่ตั้งไว้
           
จีนได้ส่งสัญญาณว่า จะไม่กระทำการใดๆ หรือมีมาตรการต่อต้านการกระทำของเกาหลีเหนือ แม้ว่าจะไม่ประกาศสนับสนุนเมืองโสมแดงอย่างเปิดเผย จึงเป้นที่รับรู้กันว่าจีนเห็นด้วยกับเกาหลีเหนือในการยิงจรวดส่งดาวเที่ยม นายหู จินเทา ไม่ได้ตอบรับกับข้อเรียกร้องของญี่ปุ่นที่ให้ช่วยเหลี่ยกล่อมเกาหลีเหนือให้ยุติโครงการในการพบกัน ณ ที่ประชุม G-20 ในจ้รเดือนเมษายน ค.ศ. 2009 ที่กรุงลอดดอน ประเทศอังกฤษ ทำให้นายกรัฐมนตรีอาโซะ แสดงความไม่พอใจต่อปฏิกริยาของผุ้นำจีน
            อย่างไรก็ตาม การปล่อยจรวดส่งดาวเทียมของเกาหลีเหลือที่มีจีนสนับสนุนอยุ่เบื้องหลังอาจมองได้ว่า กลุ่มคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีนต้องการ "ทดสอบ" ท่าทีหรือปฏิกิริยาของนายบารัค โอบามา ผุ้นำสหรัฐฯ คนใหม่ว่าจะมีนโยบายต่อกลุ่มจีน-เกาหลีเหนืออย่างไร (เมื่อเทียบกับการประกาศนโยบายแข็งกร้าวของอดีตประะานาธิบดีบุชที่มีต่อเกาหลีเหนือ-จีน) ในขณะที่ญี่ปุ่นได้แสดงออกถึงการเตรียมพร้อมในการปกป้องตนเองอย่างเต็มที่ ซึ่งก็เป็นไปตามแผนในการสร้าางความชอลธรรมของญีปุ่น ที่้ต้องการรมีกองทัพและการสะสมอาวุธทันสมัยเฉกเช่นเดียวกันกับของประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ในอดีต การเคลื่อนไหวใดๆ ของญีปุ่นในเรื่องการเสริมสร้างสมรรถนนะทางการทหาร (นอกเหนือจากการมีกองกำลังปองกันตนเองที่มีจำนวนกำลังพลและอาวุธไม่มากนักมักจะได้รับการต่อต้านจากจีน และเกาหลีใต้ที่กล่าวหาวาญี่ปุ่นกำลังก้าวเข้าสุ่ลัทธิมหาอำนาจทางการทหารอันจะเป็นภัยร้ยแรงต่อประเทศเพื่อนบ้านดังเช่นในยุคก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
           ดังนั้นสถานการณ์ความตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลีที่เกิดขึ้นในช่วงหบังทศวรรษ 2000 จึงกลายเป็นผลประโยชน์ต่อญีปุ่นมากกว่าโดยได้ใช้เป็นเหตุผลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตราที่ 9 ที่เปลี่ยนเป็ฯนดยบายในการป้องกันประเทศ ได้ยอมรับการมีกองทัพในการป้องกันตนเอง ส่วนเกาหลีเหนือก็ได้รับเครดิตหรือความเชื่อถือทั่วไปว่ามีขีดความสามารถที่ทันสมัย อันจะส่งผลดีต่อธุรกิจการขายอาวุธให้แก่ประเทศอื่นๆ และกลุ่มติดอาวุธ (ที่ต่อต้านรัฐบาล ผุ้ก่อการร้าย โจร ฯ) ในปัจจุบันและอนาคต..
          ในปี 2010 เกาหลีใต้กล่าวหาว่า เรือพิฆาตของเกาหลีเหนือยิงทอปิโดใส่จนขาดออกเป็นสองท่อนในเขตน่านน้ำของตน แต่รัฐบาลเกาหลีเหนือปฏิเสธว่ามิได้กระทำการดังกล่าว ในขณะที่นานาชาติจากโลกตะวันตกคาดว่าเป็นผลงานของเกาหลีเหนือ อย่างไรก็ตาม จีนมิได้เห็นพ้องกับข้อกล่าวหาของเกาหลีใต้ แต่กลับยืนยันการสนับสนุนเกาหลีเหนืออย่างสุดตัวทำให้สื่อมวลชนเกาหลีใต้ได้โหมกระพือข่าวว่า จีนไม่ได้ให้ความสนใจต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของเกาหลีเหนือ แต่ใช้ความเป็นพวกพ้องในการบดบังการก่อการ้าย
           กากรประชุมสุดยอดครั้งที่ 2 ระหว่างนายกรัฐมนตรีจีน นายเหวิน เจิยเป่าประธานาธิบดีลีเมัยงบัง แห่งเกาหลีใต้ และนายกรัฐมนตรีผูกิโอะ ฮาโตยามะ แห่งญี่ปุ่น ที่นครปักกิ่ง เมื่อปี 2009 ผุ้นำทั้งสามประเทศต่างเห็นพ้องที่จะสร้างความเชื่อมั่นระหว่างกัน ส่งเสริมความร่วมมือเพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันอย่างจริงจัง และสร้างความมั่นคงและการพัฒนาของเอเชียการปรุะชุมสุดยอดครั้งที่ 3 ได้จัดขึ้นที่เกาเซจู ประเทศสาะารณรัฐเกาหลี ในปี 2011 และจะร่วมมือกันสร้างเขตการต้าเสรีระหว่างสามประเทศให้เป็นผลสำเร็จอย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสามก็มิได้ราบรื่นดังที่หวัง ทั้งนีเพราะต่างมีความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน และปัญหาจากหนี้ทางประวัติศาสตร์ที่ยังคงค้างอยุ่ และเนื่องจากต่างฝ่ายต่างต้องการเป็นใหญ่เหนือเอเซียตะวันออก การแข่งขันระหว่างสามาประเทศนี้จึงมีอยุเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
             - เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
              ความเข้มแข็งทางการทหาร ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นกลุ่มประเทศที่มีระดับความเข้มแข็งทางการทหารในระดับต้นๆ ของโลกและมีการสะสมอาวุธกันมาก แม้จะอยุ่ในระดับต่ำหว่าประทเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือก็ตาม ในการจัดอันดับของเวปไซด์แห่งหนึ่ง ได้จัดให้จีนอยุ่ในลำดับที่ 3 เกาหลีใต้ที่ 7 ญี่ปุ่นที่ 9 ได้หวันที่ 14 และเกาหลีเหนือที่ 22 ในขณะที่จัดให้อินโดนีเซียอยุ่ในอันดับที่ 18 ไทย ที่ 19 และฟิลิปปินส์ที่ 23 และมาเลเซียที่ 27 ของโลกในปี ค.ศ. 2011
            ในกรณีของไทยนั้น รายงานดังกล่าวระบุวา ในปี 2011 ไทยได้จัดงลประมษรให้กระทรวงกลาโหม 5,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีกำลังทหารพร้อมรบ 305,860 นาย และกำลังสำรองที่พร้อมรบ 245,000 นาย ดดยกองทัพบกมีรถถัง 542 คัน ยานลำเลียงพลหุ้มเกราะ 1,005 คัน ปืนใหญ่ชนิดลากจูง 741 กระบอก ปืนใหญ่อัตตาจร 26 กระบอก ระบบจรวดหลายลำกล้อง 60 ชุด ปืนคอ 1,200 กระบอก อาวุธนำวิถีต่อสุ้รถถัง 818 ชุด อาวุธต่อสุ้อากาศยาน 378 หน่วย และยานยนต์ส่งกำลังบำรุง 4,600 คน อกงทัพอากาศมีเตรื่องบินแบบต่างๆ 910 ลำ เฮลิคอปเตอร์ 443 ลำ และเครื่องบินบริการ 105 ลำ ในขณะที่ราชนาวีไทย มีเรื่องทั้งสิ้น 164 ลำ แยกเป็นเรือบรรทุกระเบิด 7 ลำ เรือฟรีเกต 6 ลำ เรือยามฝั่งและเรือตรวจการ 109 ลำ เรือนำสงครามทุ่นระเบิด 7 ลำ และเรือสนับสนุนการยกพลขึ้นบก 9 ลำ
         
อดีตประธานาธิบดี Fiel V. Ramos ของฟิลิปปินส์ได้เขียนบทความลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ เจแปน ไทม์ ว่า ปัจจุบันมีความตึงเครียดทีหมู่เกาะ Spratly ในทะเลจีนใต้ ที่ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และจีนต่างอ้อางกรรมสิทธิ์ความเป้ฯเจ้าของเหนือหมุ่เกาะดังกล่าว ข้อขัดแย้วนี้นไปสู่การเผชิญหน้า และบางครั้งมีการปะทะกัน เชน ระหว่างเรือตรวจการของจีน -ฟิลิปปินส์ และเหตุการณ์รุนแรงก็คือ เรือฟรีเกตของจีนได้ยิงจรวดนำวิถีไปยังเรือประมงของฟิลิปปินส์ที่แล่นอยุ่ใกล้กับเกาะปาลาวัน ในปี 2011 ในขณะเดยวกัน มีการเผชิญหนาทางทหารระหว่างจีนกับเวียดนามขึ้นบ่อยครั้ง ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสมาชิกของสมาคมเาอเว๊ยนทั้ง 2 ประเทศ ตกลงถึงระดับต่ำสุด ประชาชนฟิลิปปินส์ราว 5,000 คนได้เดินขบวนประท้วงหน้าสถานเอกอัครราชทุตจีนในกรุงมนิลา และมีเหตุการณ์ประท้วงจีนได้เกิดขึ้นในเวียดนามเช่นกัน
            จีนถือว่าข้อพิพาทนี้วรถือเป็นเรื่งอของจีนกับประเทศคุ่กรณีแต่และประเท ในขณะที่ฟิลิปปินส์และเวียดนามต่างถือว่า จีนคุกคามความมั่นคงของประเทศอาเซียนเพราะการเจรจาแบบทวิภาคีนั้นไม่อาจนำความสำเร็จมาให้ได้ ทั้งนี้เพราะจีนเป็นประเทศใหญ่ปละมีอำนาจเหนือกว่าทั้งทางเศรษฐกิจ การทหาร และสังคมวัฒนธรรม นอกจากนี้ ได้มีความพยายามในการนำสหรัฐอเมริกา อินเดีย และประเทศอื่นๆ ได้แก่ ญี่ปุ่น ยุโรป และออสเตรเลียเข้ามามีส่วนร่วมในข้อพิพาทนี้ด้วย โดยนำประเด็นเรื่องสิทธิในการใช้เส้นทางเดินเรือผ่านทะเลจีนใต้ ซึ่งจีนมักอ้างสิทธิ์ว่า เป็นน่านน้ำของตน ปัญาหในเรื่องนี้ยังไม่มีข้อสรุป
              เกาหลี-พม่า ความตึงเครียดบนคาบสมุรเกาหลก่อให้เกิดผลกระทต่อประทเศไทยคื การลั้ภัยของชาวเกาหลีเหนือเข้าสู่ไทย และความสัมพันธ์ระหว่างพม่ากับเกาหลีเหนือ
              ที่ผ่านมา ไทยกลายเป็นสวรรค์ของผุ้ลี้ภัยเกาหลีเหนือที่หลั่งไหลเข้ามา ในขณะที่เจ้าหน้าที่
ทางกรของพม่า ลาว และเวียดนามต่างพยายามผลักดันด้วยวิธีการเข้มงวด เส้นทางหลบหนีออกจากเกาหลี่เหนือเร่ิมจากการลักลอบเข้าจีนผ่านทางเมืองต้าหม่งล่ง (เมืองชายแอนจีน-พม่า) ก่อนที่จะเขช้าสู่เขตอิทธิพลของว้า(เขตปกครองพิเศษที่ 4 ชนชาติว้าแห่งสหภาพพม่า) และเดินทางผ่านเนิน 240 (เขตว้า) จากนั้นก็จะไปลงเรือบริเวณแม่นำ้โขงที่ท่าสบหลวย (ฝั่งพม่า) เพื่อเดินทางมาพักรอเข้าสู่ไทยมี่เมืองมอม เเขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว (ตรงข้ามเมืองปง ประเทศพม่า อยู่เหนือสามเหลี่ยมทองคำขึ้ไปราว 10 กิโลเมตรป ซึ่งบริเวณเมืองมอมนี้จะมีกุ่มนายหน้าคอยจัดหาที่พักให้เพื่อรอประสานงานกับนายหน้าค้ามนุษย์ ในจังหวัดเชียงราย รอจังหวะที่จะเดินทางเข้าประเทศไทยทางด้าน อำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ..
             พม่าและเกาหลีเหนือนั้นโดยแท้จริงแล้วทั้งสองต่างพยายามหาทางสร้างความปองดองกันมานานนับแต่ทศวรรษที่ 1990 แล้ว ดดยทางการของเกาหลีเหนือและพม่าได้พบปะพูดคุยกันอย่างไม่เป็น
ทางการ เพื่อขอตัวนักโทษที่เป็นสายลับเกาหลีเหนือที่อยุ่เบื้องหลังการวางระเบิดสังหารกลุ่มผุ้นำของรัฐบาลเกาหลีใต้ที่เป็นแขกรับเชิญของรัฐบาลพม่าเมื่อปี 1983 กลับประเทศเกาหลีเหนือ ซึ่งในครั้งนั้นประธานาธิบดีเกาหลีใต้นาย ชุน ดูฮวานพร้อมคณะถูกลอบสังหารขณะที่พนักอยุ่ในนครย่างกุ้ง ยังผลให้รัฐมนตรีจำนวน 4 คนและประชาชน 21 คนเสียชีวิต่วนประะานาธิบดีชุนไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด เมื่องทางการพม่าได้จับตัวสายลับของเกาหลีเหนือจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นกระทำการ ขังไว้และตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับเกาหลีเหนือตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
            นายเบอรทิล ลินท์เนอร์ ผุ้สือข่าวชาวสวีเดนประจำกรุงเทพฯ กล่าวว่า จากการพูดคุยกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของทั้งสองประเทศในช่วงต้นของทศวรรษที่ 1990 นั้นมีความเป้นไปได้ที่ทั้งสองฝ่ายจะแสวงหาจุดร่วมกันนหลายประการ ทั้งนี้เป็นเพราะประเทศทั้งสองต่างมีระบอบการปกครองที่คล้ายคลึงกัน มีรัฐบาลที่ไม่ให้ความสนใจต่อกฎระเบียบของโลกที่ตั้งขึ้นโดยชาติตะวันตก ประเทศทั้งสองถูกคุกคามจากดลกตะวันตกคล้ายๆ ดัน มีทรัพยากรธรรมชาติ มากแค่มีเงินตราต่างประเทศน้อย..ฯ จุดร่วมเหล่านี้ส่งผลให้ประเทศทั้งสองหันหน้าเข้าหารกันและนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นเรือยมาจนกระทั่งสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตขึ้นใหม่
              จุดร่วมที่สำคัญของการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ พม่าต้องการอาวธเพื่อทำสงครามกับชนกลุ่มน้อย ในขณะที่เกาหลีเหนือต้องการอาหารและสินค้าทางการเกษตรโดยที่พม่ามีอยุ่อย่างพร้อมเพรียง
               ความสำคัญของการแลกเปลี่ยนสินค้า คือ การที่พม่าได้รับอาวุธร้ายแรงมากจากเกาหลีเหนืออันเป็นการขัดต่อมติขององค์การสหประชาติ ซึ่งห้ามเกาหลีเหนือแพร่กระจายอาวุธที่มีอานุภาพการทำลายล้างสุง แลห้ามพม่าครอบครองอาวุธที่จะนำไปสุ่การฆ่าล้างเ้าพันธุ์ชนกลุ่มน้อย ดดยสหรัฐฯและประเทศต่างๆ  ในยุโรปต่างจับจ้องและหาทางป้องกันมิให้มีการซื้อขายอาวุธของทั้งสองประเทศตลอดระยะเวลากว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ดังนั้น ความสัมพันธ์ของพม่ากับเกาหลีเหนือในด้านการแลกเปลี่ยนสินค้าต่อกันนั้น จึงถูกมองไปว่า เกาหลีเหนืออาจส่งขีปนาวุูธ หรือขายอาวุธนิวเคลียร์ไปให้แกพม่า...
              เหตุการณ์สำคัญๆ ที่เกิดขึ้นประเทศต่างๆ ของอุษาคเนย์นั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากประวัติศาสตร์ซึ่งได้เคยเกิดขึ้นและยังคงมีปรากฎอยุ่จนถึงปัจจุบัน ส่วนเหตุการณ์อีกประเภทหนึ่งเกิดขึ้นเพราะ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ที่ดลกกำลังเผชิญการท้าทายอยุ่ขณะนี้
             ปัญหาสืบเนื่องมากจากอดีต ปัญหาระดับประเทศ ได้แก่ ปัญหาการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนไทย-เขมร ปัญหาภายใน ได้แก่ ปัญหาชายแดนภาคใต้ของไทย ปัญหาชนกลุ่มน้อยในพม่า ปัญหาจังหวัดอาเจะห์ในอินโดนีเซีย ปัญหามุสลิมในฟิลิปปินส์ รวมทั้งปัญหารทางเชื้อชาติในมาเลเซียและอินโดนีเซีย
            ปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่ ได้แก่ ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมการเมือง  ปัญหาแรงงานข้ามชาติระหว่างไทย-ประเทศเพื่อนบ้าน สิงคโปร์-ประเทศเพื่อบ้า และมาเลเซีย-อินโดนีเซีย ปัฐหามลพิษกันเกิดจากหมอกควันจากเกาะสุมาตรา ปัญหาการสร้างเขื่อน 8 แห่งในแม่น้ำโขงของจีนทำให้เกิภาวะน้ำแห้งในฤดูร้อน ปัญหาทางการต้า ปัญหารการขาดดุลการต้าระหวางประเทศในเอเชีย ตะวันออกเฉียงเหนือกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัญหาการแย่งชิงมิตรประเทศระหว่างจีน เกาหลี และญีปุ่นกับอุษาคเนย์ ปัญหารการแข่งขันแย่งชิงความเป็นใหญ่ทางเศรษฐกิจและการเมืองของจีนและญี่ปุ่น...
- "ไทย-เกาหลีใต้-อาเซียนบวกสาม"รศ.ดร.ดำรงค์ ฐานดี,ศุนย์เกาหลีศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2555.
         
           

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)