วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

Optimum Currency Area : ASEAN +3

           หลังจากวิกฤตการณ์การเงินในภุมิภาคอเาว๊ยนและเอเชียตะวันออกในปีพ.ศ 2540 ทไใ้ประเทศไทยและประเทศอื่นในภุมิภาคยกเลิกอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ซึ่งยึดค่าเงินไว้กับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แล้วหันมาเข้าสูรระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว ซึ่งระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตังเป็นผลให้ค่าเงินมีความผันผวนซึ่งเกิดจากภาวะเศรษฐกิจโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านการต้า การเงินและการลงทุน ดังนั้นระบบอัตราแลกเปลี่ยนแปบบลอยตังจึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดของระบบอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งส่วนใหญ่จะเป้นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจขนาดเล็กและเป็นปบบเปิดสอดคล้องกับความคิดที่ว่าประเทศกำลังพัฒนาที่มีขนาดเศรษฐกิจที่เล็กและมีเศราฐกจค่อนข้างเปิดตามทฤษฎี แล้วแนะนำให้ประเทศกำลังพัฒนาเหล่านนี้ใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนคงที่โดยอิงกับเงินตราสกุลสำคัญ การอิงกับเงินตราสกุลหลักจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นในต่าเงิน ซึ่งผลดีคือการที่ประเทศเล็กๆ จะทำการต้าขายกันเองภายในกลุ่มเดียวกันจะลดปัญหาด้านความไม่แน่นอนของอัตราแลกเปลี่ยน เช่น ความไม่แน่นอนในรายได้ส่งออก ความไม่แน่นอนในมูลค่าการนำเข้า และความไม่แน่นอนของมูลค่าเงินสำรองระหว่างประเทศที่ประเทศเหล่านี้ถือไว้
 ในปัจจุบันระบบเศรษฐกิจมีการเปิดเสรีมาขึ้น หลายๆ ประเทศจึงใหความสนใจกับนโยบายการต้าเสรี แม้แต่กระทั่งประเทศจีนซึ่งเคยเป็ฯระบบสังคมนิยมก็ยังให้ความสนใจกับระบบบทุนนิยมมากขึ้น ระบบการต้าเสรีนั้นทำใ้หระบบเศรษฐกิจมีการขยายตัวมากขึ้น เกิดการเคลื่นย้ายเงินทุนหรืปัจจัยการผลิตข้ามชาติขยายตัวไปทั่วโลกการแข่งขันทางการค้าที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้ความได้เปรียบจะอยู่กับประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ทั้งความได้เปรียบทางด้านต้นนทุนการผลิตทรัพยากรการผลิต และที่สำคัญคือความได้เปรียบในด้านการต่อรองด้านการต้า ส่งผลกระทบต่อประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจขนาดเล็กจะถูกเอาเปรียบและถูกกีดกันทางการค้าดังนั้นกลุ่มมประเทศต่างๆ จึงพยายามรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างฐานเศรษฐกิจโดยกลุ่แลเพิ่มอำนาจต่อรองทางการต้า มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน มีฐานการผลิตที่ขนาดใหญ่ขึ้นและสามารถดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศได้
ง่าย ซึ่งผลประโยชน์ที่เพ่ิมขึ้นก็คือการมีจำนวนผู้บริโภคที่สูงขึ้นตามประชากรของแต่ละประเทศที่มารวมกลุ่ม ส่งผลให้เกิดการขยายการผลิตและมีประสิทธิภาพ ในการผลิตเพิ่มขึ้น ก่อเกิดต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง การรวกฃลุ่มทางเศรษฐกิจ จึงเป็นการสร้างประโยชน์ทางการต้าให้เกิดขึ้นระหว่างกัน อีกทั้งหากการวมกลุ่มมีความก้าวหน้าไปถึงการใช้เงินสกุลเดียวกันก็จะเป็นการประหยัดทุนธุรกรรมในการเปลี่ยนแงิน ถ้าจะมองภาพง่ายๆ ว่ามีมุลค่าเท่าใดก็อาจจะพิจารณาจากรายได้ของธนาคารในการปริวรรตเงินตรา รวมถึงค่าธรรมเนียมในการประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน... ผลที่ตามมาคือจะมีการต้าการลงทุนระหว่างประทศมากขึ้นผุ้ที่สนับสนุนการต้าเสรีก็จะชื่นชอบเพราะจะทำให้ผุ้บริโภคมีทางเลือกในสินค้ามากขึ้นด้วยราคาที่ถูกลง จากกรณีประเทศในสหภาพยุโรป มีการใช้เงินสกุลร่วมกันประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการใช้เงินสกุลร่วมกันต่อเสณาฐกิจ หากมีประเทศที่มพลังทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งซึ่งไดแก่ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีเข้ามามีบทบาทในการเป็นผุ้นำเพื่อสร้างระบบการเงินเอเชียตะวนออก ซึ่งทั้งนี้ประเทศจีนมีระบบเศรษบกิจพื้นฐานที่เข้มแข็ง และมีบทบาทสำคัญในเวทีเศรษบกิจโลก เนื่องจากจีนได้มีความเชื่อมโยงด้านการจ้า การลงทุนและการเงินกับภุมิภาคอื่นทั่วโลกมากขึ้นดังนั้นการดำเนินนโยบายใดๆ ของจีนจึงได้รับ
ความสนใจจากทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง เช่น นโยบายที่จีนส่งเสริมให้ใช้เงินหยวนในการชำระค่าสินค้าระหว่างประเทศ การทำกรอบนโยบายข้อตกลงทวิภาคีกับประเทศต่างๆ วึ่งเงินหยวนได้ถูกใช้ในการชำระค่าสินค้ามาเป็นเวลาหลายปีในส่วนของการต้าในกลุ่มอนุภูมิภาคกลุ่มแม่น้ำโขง เช่น พม่า เวียดนามและลาว เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีระดับการพัฒนาเศรษฐกิจไม่สูงนัก และประสบปัญหาการขาดดุลการค้ามาดดยตลอดทำให้ขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ ประกอบกับค่าเงินไม่มีเสถียรภาพ สิ่งต่างๆ เหล่านี้จึงเป้ฯปัจจัยชับเคลื่อนให้เงินหยวนกลายเป็นเงินสกุลหลักในการชำระค่าสินค้าระหว่างกัน ในส่วนของภาครัฐก็ยัง พบว่า ทางการจีนยังออกมาตรการเพื่อผลักดันในนโยบายการชำระเงินสกุลหยวน ทไใ้ผุ้ประกอบการจีนได้ประโยชน์ทั้งด้านภาษี และลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น"""
               ทฤษฎีเขตเงินตราที่เหมาะสม หมายถึง กลุ่มของประเทศที่เงินตราภายในประเทศเชื่อมโยงกัน ดดยผ่านอัตราและเปลี่ยนคงที่อย่างถาวร เงินตราของประเทศสมาชิกสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างเสรีกับประเทศนอกกลุ่ม เขตของประเทศเดียวกันใช้เงินตราสกุลเดียวกัน เรียกว่าเขตเงินตราที่เหมาสม ซึ่งประเทศในกลุ่มประชาคมเศรษบกิจยุโรป พยายามก่อตั้งขึ้น การก่อตั้งเขตเงินตราที่เหมาสมจะกำจัดความไม่แน่นอนที่เกิดจาอัตราแลกเปลี่ยนไม่คงที่อย่างาถาวร และจะเร่งให้มีควาชำนาญในการผลิตพร้อมกับมีการต้าและการลงทุนระหว่างประเทศภายในกลุ่มโดยสนับสนุนให้ผุ้ผลิตมอง่าพื้นที่ทั้งหมดเป็นตลาดเดียว ซึ่งได้รับผลประโยชน์จากการปลิตขนาดใหญ่ การที่มีอัตราแลกเปลี่ยนคงที่อย่างถาวรทให้ระดับราคามีเสถียรภาพมาก และเป้ฯการสนนับสนุการใช้เงินตราเป็นที่สะสมมูลค่าและทำลายการแลกเปลี่ยนที่ไม่มีประสิทธิภาพที่เกิดจากภาวะเงินเฟ้อ นอกจากนี้ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายที่รรัฐบาบแทรกแซงในตลาดเงินตราต่างประเทศ ประหยัดค่าใช้จ่ายจากการทำการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง และประหยัดค่ามใช้จ่ายในการแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลหนึ่งเป็นอีกสกุลหนึ่งเมื่อประชาชนท่องเที่ยวในประเทศสมาชิกของกลุ่ม...
              เขตเงินตราที่เหมาะสมของแลุ่มประเทศอาเซียน +3 เพื่อศึกษาถึงความพร้อมของการเป็นเขตเงินตราที่เหมาะสมและความเหมาะสมของเงินตราที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนปัจจุบัน โดยใช้ทฤษฎีเขตเงนิตราที่เหมาะสมของเงินตราที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนปัจจบัน โดยใช้ทฤษฎีเขตเงินตราที่เหมาสม โดยเงื่อไขที่จำเป็นประกอบด้วย ระดับการเคลื่อนย้ายการผลติ ระดับการเปิดประเทศ การกระจายของสินค้า ความสอดคล้องกิจกรรมทางเศรษบกิจและทฤษฎีควาทเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อทั่วไป เป็นการศึกษาความเหมาะสมของสกุลเงินทีเหมาะสมต่อการเป็นสื่อกลาการแลกเปลี่ยนที่ใช้ในปัจจุบันโดยเปรียบเทียบเงินสกุลเงินหยวนของจีน และสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ กลุ่มประเทศอาเซียน +3 ที่ศึกษาประกอบด้วย จีน อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย....
             สรุปว่าการทดลองตามแนวทฤษฎี G-PPP ในกลุ่มประเทศอาเซียน +3 โดยใช้เงินหยวนเป้ฯฐานของอัตราและเปลี่ยนที่แท้จริง เหมาะสมกว่ากรณีเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นฐานของอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง...
           
             - บางส่วนจาก "ความาสามารถในการเป็นเขตเงินตราที่เหมาะสมของอาเซียน +3" วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต เสนอต่อมหาวิทยาลัยรามคำแหง,2556 โดย กุลกันยา ชูแก้ว
             

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...