ความตกลงหุ้นส่วนเศราฐกิจระหว่างอาเซียนกับ 6 ประเทศ Comprehensive Economic Partnership in East Asia : CEPEA
ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น และ เอเซียตะวันออก ซัมมิท +3 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลิเซียน เมื่อปี พ.ศ. 2549 ญี่ปุ่นเสนอให้กลุ่มผู้เชี่ยยวชาญภาควิชาการ ของกลุ่มประเทศ เอเซียตะวันออก ซัมมิท ประกอบด้วย จีน ญี่ป่นุ เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซี่แลนด์ และอินเดีย ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการัดตั้ง เขตการค้าเสรีระหว่างอาเซียน +6
ทีป่ระชุม เอเซียตะวันออก ซัมมิท ครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2550 ณ เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ มีมตรเห็นชอบให้ดำเนินการศึกษาดังกล่าว โดยญี่ปุ่นจะจัดให้มีการประชุมร่วมกันระหวางนักวิชาการซึ่งเป้นตัวแทนของแต่ละประเทศครั้งแรกในเดือนมิถุนายน 2550
กลุ่มผู้เชี่ยวชาญฯ ของ CEPEA (รศ.ดร. สุทะิพันธ์ จิราธิวัฒน์ ประธานศุนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทำหน้าที่เป็ฯผุ้เชี่ยวชาญฯ ฝ่ายไทย) ได้ทำการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงการต้าเสรีระหว่างประเทศอาเซีียน +6 โดยมีการประชุมร่วมกัน 6 ครั้ง โดยสรุปผลการศึกษาและนำเสอนต่อที่ประชุมผุ้นำเอเซียตะวันออก ในปี 2551 ณ กรุงเทพฯ โดยระบุว่าการจัดทำ อาเซียน +6 นั้นจะทำให้ GDP ของแต่ละประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.11% โดยในส่วนของอาเวียนนั้น จะได้รับประโยชน์มากกว่าโดย GDP ของอาเซียน เพิ่มขึ้น 3.83% ในส่วนของไทย GDP จะเพิ่มขึ้นเท่ากับ 4.78%
นออกจากนี้ ผลุการศึกษาได้ครอบคลุมประเด็นอื่นๆ สำคัญ ผลกระทบด้านเศรษบกิจ องค์ประกอบของ อาเซียน +^ ซึ่งประกอบด้วย การเปิดเสรีทางการต้าและการลงทุนการอำนวนความสะดวกทางการต้าและการลงทุน ความร่วมมือ างด้านเศรษฐกิจ พลังงาานและสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจรากนี้ได้เสนอแนะแนวทางสู่การทำเขตการค้าเสรีเอเซียตะวันออก โดยเสนอให้ประเทศสมาชิกต้องเริ่มที่เข้าใจหลักพื้นฐานและเป้าหมาบยของ อาเซียน +6 อันจะมุ่งสู่การเปิดเสรีการอำนวยความสะดวก และความร่วมมือระหว่างกัน
ต่อมาที่ระชุมเอเซียตะวันออก ซัมมิท ครั้งที่ 40 และ AEM-METT ครั้งที่ 15 ในปี 2551 ณ ประเทศสิงคโปร์ มีมติเห็นชอบและสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญในการศึกษาต่อระยะที่ 2 โดยเน้น 3 เสาหลัก คือ ความร่วมมือ ด้านการอำนวย และการเปิดเสรี นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีข้อเสอแนะเกี่ยวกับแนวทางในการสึกษา ASEAN +6 Phase II โดยให้ครอบคลุมถึงการศึกษาวิเคราะห์ในความตกลงเขตการต้าเสรี อาเซียน +1 ที่มีอยู่รวมถึงกฎ Special & Differential Treatment ที่มีประสิทธิภาพ แนวทางของการเปิดเสรี และการอำนวยความสะดวก ที่เหมาะสมซึ่งนำไปสู่แนวทางที่จะช่วยลดช่องว่างของระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิก และระบบแนวทางด้านความร่วมมือต่างๆ ที่ช่วยสร้างความสามารถ ของประเทศสมาชิก เพื่อรองรับการเปิดเสรีภายใต้อาเซียน +6
การศึกษาในระยะที่สองนั้นได้มีการประชุมกันทั้งหมด 4 ครั้ง ผู้เชียวชาญ ได้สุปผลการศึกษา และนำเสนอต่อที่ประชุมรัฐมนตรีเศรฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 41 ณ กรุงเทพ ระหว่างวันที่ 13-16 สิงหาคม 2552 โดยผุ้เชี่ยวชาญ มองว่า อาเซียน +6 ควรให้ความสำคัญในเรื่องความร่วมมือ เป็นดับแรก เพื่อมุ่งลอช่องว่างระดับการพัฒนาของแต่ละประเทศสมาชิก โดยเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การถ่ายทอดเทคโนโลยี และสร้างความเข้มแข็งให้วิสาหกอจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และที่สำคัญคือการสร้าง Capicity Building ให้แก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด รวมทั้งควรพิจารณาจัดตั้งกองทุนเอเชียตะวันออก East Asia Fund เพื่อช่วยรองรับโครการความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นและสร้างพื้นฐานสำหรับพัฒนาต่อไป..(www.dtn.go.th/..ASEAN + 6)
วันพุธที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น