วันพุธที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2560

ASEAN Human Rights Declaration : AHRD (2012)

             ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมกาธิการระหว่างรัฐบาลอาเวียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งได้รับมอบหมายจากที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 42 เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 (2009) โดยที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนประสงค์ให้ปฏิญญาฉบับนี้ เป็นพื้นฐานในการพัฒนาไปสุ่การเป็ฯกรอบความร่วมมืออาเซียนด้านสิทะิมนุษยชนเช่น อนุสัญญาสนธิสัญญา รวมทั้งตราสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนในอนาคต
          ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเป็นเอกสารทางการเมืองที่ไม่มีข้อผูกพันตามกฎหมาย ซึ่งแสดงเจตนารมณ์ของอาเซียนในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทะิมนุษยชน และสะท้อนถึงลักษณะเฉพาะของอาเซียนที่มีความแตกต่างในด้านการเมือง สังคมและวัฒนธรรม นอกจากนี้ ปฏิญญาฯจะต้องรักษามาตรฐานสิทธิมนุษยชนตามหลักสากล รวมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มเติมจาปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปฏิญญาและแผนปฏิบํติการเวียนนา และตราสารระหว่างประเทศว่าดวยสิททะิมนุษยชนที่ประเทศสมาชิกอาเซียนเป้ฯภาคีปฏิญญาฯ ฉบับนี้เป็นจุดเร่ิมต้นที่สำคัญของอาเซียนที่ให้ความสำคัญกับการ่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเพื่อประโยชน์ในระยะยาวของประชาชนและภูมิภาคอาเซียน..
           แถลงการณ์พนมเปญว่าด้วยการรับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุายชน
           เรา ประมุขแห่งรัฐ/ หัวหน้าราัฐบาลของรัฐสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ในโอกาสการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 21 ณ กรุงพนมเปญราชอาณาจักรกัมพุชา
           ยืนยัน ความมุ่งมั่นของอาเซียนในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน รวมทั้งเป้าประสงค์และหลักการตามที่บัญญัติฟๆว้ในกฎบัตรอาเซียน ซึ่งรวมถึงหลักการประชาธิปไตย หัลักนิติธรรม และธรรมาภิบาล
           ย้ำถึง ความมุ่งมั่นของอาเซียนและรัฐสมาชิกต่อกฎบัตรสหประชาชาติ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปฏิญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่รัฐสมาชิกอาเวียนเป็นภาคี รวมถึงปฏิญญาของอาเซียนที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
         ยอมรับ ความสำคัญของบทบาทของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐอาเซียนว่าด้วยสิทะิมนุษยชน ในฐานะเป็นสถาบันที่รับผิดชอบการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในอาเซียนในทุกด้านอันจะนำไปสู่การสร้างประชาคมอาเวียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเป็นกลไกสำหรับการพัฒนาทางสังคมและความยุติธรรมที่ก้าวหน้า และการบรรลุศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นของประชาชนอาเซียน
        ชื่นชม คณะกรรมาธิการที่ได้พัฒนาปฏิญญาสิทธิมนุษยชนที่มีความครอบคลุม โดยผ่านการหารือกับองค์กรรายสาขาของอาเวียนและผุ้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
         ยอมรับ การมีส่วนร่วมที่มีนัยยะขององค์กรรายสาขาของอาเซียนและผุ้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ในการส่งเสริมและคุ้มทครองสิทธิมนุษยชนในอาเวียน และสนับสนุนให้องค์กรและผุ้มีส่วนได้เสียดังกล่าวมีส่วนร่วมและหารือกับคณะกรรมธิการอย่างต่อเนื่อง
         ในที่นี้ จึง
         1 รับรอง ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
         2 ยืนยัน ความมุ่งมั่นของเราในการปฏิบัติตามปฏิญญาอเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอย่างเต็มที่ เพื่อให้การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในภุมิภาคมีความก้าวหน้า และ
         3 ยืนยันอีกครั้ง ถึงความมุ่งมั่นของเราในการปฏิบัติตามปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนโดยให้สอดคล้องกับคำมั่นที่เรามีต่อกฎบัตรสหประชาชาติ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปฏิญญาและแผนปฏิบัติการเวียนนา และตราสารระหว่างประเทศอื่นๆ ด้านสิทะิมนุษยชนที่รัฐสมาชิกอาเซียนเป็นภาคี รวมถึงปฏิญญาและตราสารอื่นๆ ของอาเซียนที่เกี่ยวกับสิทะิมนุษยชน..(ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน, มิถุนายน 2556)
       
บทบาทของคณะกรรมาธิการฯ ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของภูมิภาคอาเซียนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การก่อตั้งองค์กรคณะกรรมาธิการฯ ได้มีการดำเนินงานตามแผนงาน 5 ปี โดยแผนงานดังกล่าวได้กำหนดภาระงานและกิจกรรมต่างๆ ของคณะกรรมาธิการ ภายในระยะเวลา 5 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2553-3558 ความสำเร็จหลักของคณะกรรมาธิการฯ ในการดำเนินงานในช่วงแรก คือ การจัดทำปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และแถลงการณ์พนมเปญว่าด้วยการับรองปฏิญญาอาเซียน ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2555(2012) ตราสารทางการเมืองทั้งสองถุกใช้เป็นแนวทางในกานส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนอาเซียน ภายในปฏิญญาอเาซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้รวมเอาประเด็นด้านสิทะิมนุษยชนบางด้านที่ไม่ค่อยถูกล่วถึงในปฏิญญาหรืออนุสัญญาอื่นๆ เช่น สิทะิในการพัฒนา สิทธิในสันติภาพ สิทะิในการหาที่ลี้ภัย และประเด็นเรื่องเอดส์และเอชไอวี เป้ฯต้น แม้ปฏิญญาอาเซียน ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจะไม่ใช่ตัวบทกฎหมายท่สามารถควบคุมและลงโทษผุ้กรทำความผิดด้านการละเมิดสิทะิมนุษชนได้ แต่ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนับเป็นจุดเริ่มต้นของความก้าวหน้าของอาเซียนที่ได้มีเอกสารพื้นฐานร่วมกันเพื่อพัฒนามาตรฐานการุคุ้มครองและส่งเสริมด้านสิทธิมนุษยชนในภุมิภาค
          ในช่วงดำเนินงานระยะที่ 2 คณะกรรมาธิการฯ ยังคงดำเนินตามแผนงาน 5 ปี ที่ได้วางไว้ โดยมีภารกิจที่ำสคัญ เช่น
           การเผยแพร่ปฏิญยาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้ในสิทธิขึ้นพื้นฐานของประชาชนอาเซียน โดยคณะกรรมาธิการณ ได้มีการแปลปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเป็นภาษาประจำชาติของประเทศสมาชิกอาเซียนและจัดทำเป็นหนังสือ เพื่อการเผยแพร่ต่อไป
            การจัดสัมนาและฝึกอบรมต่างๆ ด้านสิทธิมนุษยชน ในส่วนของประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพในการจัดกิจกรรมต่างๆ ของคณะกรรมาธิการอย่างต่อเนื่อง เช่น ในปี 2556 งานอบรมเชิงปฏิบัติการด้านสิทธิมนุษยชนสำหรับเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย การประชุมปรึกษาหารือระดับภุมิภาค งานสัมนาเชิงปฏิบัติการของคณะกรรมาธิการฯ เรื่องการแลกเปลี่ยนแประบการณืประเทศอาเซียนในการจัดทำรายงานรายงานทบลทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน และงานสัมนาเชิงปฏิบัติการของคณะกรรมาธิการฯ เรื่องกลไกด้านสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาค
             การจัดทำ Thematic study เกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ด้านสิทะิมนุษยชน
              การแก้ไขเอกสารขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ ตามมาตรา 9.6 ระบุว่าคณะกรรมาธิการฯ ควรทบทวนเอกสารขอบเขตอำนาจห้น้าที่ได้ ระบุไว้ คณะกรรมาธิการณ จึงต้องมีการดำเนินการทบทวนเอกสารและจัดทำข้อเสอนแนะเกี่ยวกับการแก้ไขเพื่อส่งให้รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนซึ่งมีอำนาจในการแก้ไขเอกสารขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาะิการฯ การอนุญาตให้เอกสารขอบเขตอำนาจหน้าที่สามารถแก้ไขได้ทำให้คณะกรรมธิการ ฯ สามารถทบทวนภาระหน้าที่แะลกลไกขององค์กรที่ยังเป้นอุปสรรครอการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุยชนในภูมิภาค รวมถึงรับฟังความคิดเห็นขององค์กรภาคประชาสังคมเพื่อปรับปรุงและพัฒนาประสิทะิภาพการดำเนินงานขององค์กรต่อไป..
             การจัดทำตารางทางกฎหมายด้านสิทธิมนุษชยชนของอาเวียน ที่ผ่านมาอาเซียนยังไม่มีเครื่องมือทางกฎหมายในลักาณะดังกล่าว หสึ่งในภาระกิจอขงคระกรรมาธิการฯ คือการจัดทำอนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีผลผุกพันทางกำหมายต่อประเทศสมาชิก โดยอนุสัญญาดังกล่าวจะเป้ฯเรื่องการขจัดความรุนแรงในสตรี ในด้านกระบวนการจัดทำจะแตกต่างจากการจัดทำปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน โดยคณะกรรมธิการฯ มีแนวคิดที่จะให้องค์กรภาคประชาสังคมเข้ามามีบทบาทในการจัดทำร่างอนุสัญญาแทนการแต่งตั้งคณะผุ้จัดทำร่าง เพื่อสร้างความเป็นเจ้าขอ ปละกระบวนการที่โปร่งใส.... (www.aichr.or.th/.., พัฒนาการและความสำเร็จของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเวียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน)
     
         

       

Bali Concord III(2011)

             การประชุมสุดยอดผุ้นำอาเซียน ครั้งที่ 19 ผุ้นำอาเซียนได้ลงนามในปฏิญญาบาหบลีว่าด้วยเรื่องประชาคมอาเซียนในประชาคมโลก หรือ Bali Concord III เมื่อวันที่ 17 พฤศจิการยน 2011(พ.ศ.2554) ณ บาหลี ประเทศอินโดนีเซียน ซึ่งเป็นเอกสารที่สะท้อนความพร้อมของอาเซียนในการสร้างวิสันทัศน์หลังการสร้างประชาคมอาเซียน ซึ่งจะดำเนินการควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชคมอาเซียน รวมทั้งส่งเสริ และคงไว้ซึ่งความเป็นศุนย์กลางของอาเซียน และบทบาทในการส่งเสริมสถาปัตยกรรมของภูมิภาค
             วัตถุประสงค์ของปฏิญญานี้ คือ
             1) การส่งเสริมท่าทีร่วมของอาเซียนต่อประเด็นระหว่างประเทศที่เป็ฯเอกภาพแลเข้มแข็ง เพื่อส่งเสริมเสียงของอาเวียนในเวทีระหว่างปะรเทศที่เกี่ยวข้อง
             2) ส่งเสริมศักยภาพของอาเซียนในการร่วมมือและรับมือกับประเด็นระหว่างประเทศ ที่จะเป็นประโยชน์และมีผลกระทบต่อประเทศและประชกรของอาเซียน
             3) เสริมสร้างประชาคมอาเซียนให้เป็นองค์กรนิติธรรม โยมีกฎบัตรอาเวียนเป้ฯพื้นฐานและบรรทัดฐานของอาเวียน
              4) ส่งเสริมศักยภาพของสำนักเลขาธิการอาเวียนในการสนับสนุนวิสัยทัศน์ และพัฒนาประชาคมอาเซียนในประชาคมโลก...(www.mga.go.th/...อาเซียนไฮไลท์ส ๒๕๕๔)
             แผนปฏิบัติการบาหลี 3 มีระยะเวลาตั้งแต่ปี 2013-2017 เกิดขึ้นจากการประชุมสุดยอดผุ้นำอาเวียนครั้งที่ 19 ระหว่างวันที่ 14-19 พฤศจิการยน 2011 โดยรัฐภาคีอาเซยนค่อนข้อางให้ความสำคัญกับลความเป็นไปในเวทีโลกมากขึ้น เห็นได้จาปฏิญญาครั้งนี้ มีเหนือหาที่ระบุชัดเจนและให้ความสำคัญกับความท้าทายบนเวทีโลกที่อาเซียนต้องเผชิญหลากหลายมิติมากขึ้น
             ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะอาเซียนพยายามผลักดันความเป็นประชาคมอาเซียนให้โดดเด่นมากขึ้น ตามชื่อของปฏิญญา "Bali Declaration on ASEAN Community in a Global Community of Nation" หรือ Bali Concord III ในปฏิญญาดังกล่าวเราจะเห็นความชัดเจนในความร่วมมือภายใต้ประชาคมอาเซียนทั้ง 3 เสาที่ชัดเจนขึ้น แลบ่อยครั้งที่ปฏิญญาดังกล่าวเราจะเห้ฯความชัดเจนขึ้น และบ่อยครั้งทีปฏิญญาดังกลาวเน้นย้ำถึงผลประดยชน์ร่วมกันในเวทีโลก
           
ความร่วมมือด้านการเมือง-ความมั่นคง (Politicaj-Securrity Cooperation)
            1) สันติภาพ ความมั่นคง และเสถียรภาพ ในส่วนนี้สิ่งที่เปลี่ยนแปลงและอาเซียนให้ความสำคัญมากขึ้น คือ เร่ิมเน้นว่าจะสนับสนุวัฒนธรมของการรักษาสันติภาพ ที่รมวมถึงการเคาพรซึ่งความแตกต่าง สนับสนุนให้มีความอดทนอดกลั้นระหว่างกันและให้ทำความเข้าใจต่อความเชื่อ ความศรัทธาของแต่ละศาสนาและวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างกันตลอดจนให้เคารพต่อกฎหมายภายในประเทศนั้นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย
             นอกจากนี้ ยังพยายามเน้นบทบาทประชาคมอาเซียนด้วยการพูดถึงผลปรโยชน์ร่วมกันบนเวทีโลกอยุ่บ่อยครั้งและเน้นให้การสนับสนุนข้อริเริ่มต่างๆ ที่เป็นการเคลื่อนไหวบนเวทีโลกในลักษณะที่เป็นกลาง ดดยให้อาเซียนมีบทบาทเชิงบวกที่จะเป็นฝ่ายสนับสนุนให้เกิดความมั่นคงและสเรีภาพในระดับโลกด้วย
            ตลอดจนให้รัฐภาคีอาเซียนมีบทบาทเชิงรุกในการมีส่วนร่วมในบทบาทที่จะรักดาาสันติภาพ และพยายามสร้างสันติภาพหลังเกิดเหุตขัดแย้ง รวมถึงเพิ่มความรวมมือภายใต้กรอบกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายในระดับประทเศที่เกี่ยวพันกัน เพื่อที่จะต่อสู้ำับการคอรับชันด้วย
             2) การพัฒนาการเมือง ให้ปฏิบัติตามหลักการและวัตถุประสงค์ของอาเซียน ให้รัฐภาคีดำรงอยุ่ด้วยสันตุภาพ เป็นธรรม มีบรรยากาศที่สร้างความเป้ฯอันหนึ่งอันเดียวกัน และให้ปฏิบัติตามหลักนิติตธรรม หลักธรรมาภิบาล หลักการประชาธิปไตย และเป็นไปตมธรรมนูญของรัฐบาล ตลอดจนสนับสนุนและปกป้องหลักสิทธิมนุษยชน และหลักเสรีภาพ รวมทั้งพยายามทำให้เกิดความยุติธรรมในสังคม
           ความร่วมมือด้านเสณาฐกิจ EconomicCooperation
           1) การรวกลุ่มทางเศรษฐกิจ ในมิตินี้ อาเวียนให้ความสำคัญที่จะขยายความร่วมมือเพื่อมีส่วนร่วมกับข้อริเริ่มต่างๆทางเศรษบกิจทั้งใรระดับภูมิภาคและระดับโลกมากขึ้น ซึ่งความแข็งแกร่งที่อาเว๊ยนมีนั้น ทำให้อาเซียนกลายเป็ฯภาคส่วนที่สำคัญนการเป็นห่วงโซ่อุปทานระดับโลก
            2) เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ในด้านนี้ คือการเน้นให้รัฐภาคีอาเซียนให้ความสำคัญกับนโยบายทางการเงินด้วย ตลอดจนขยายความร่วมมือในการร่วใปฏิรูปสถาบันทางการเงินระหว่างปะเทศต่างๆ ด้วย
             3) การพัฒนาทางเศรษฐกิจ ในด้านนี้ ให้มีการเข้าถึงเทคโนโลยี ตลาด และโดยเฉพาะอย่งย่ิด้านการเงิน เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ แลธครงการต่างๆ ผ่านกรอบความร่วมมือในระดับภูมิภาคเพื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้วยนอกจานี้ ยังรวมถึงการพยายามเพ่ิมความแข็งแกร่งในการให้ความร่วมมือเพื่อสรับสนุนให้เกิดความมั่นคงทางอาหารและพลังงานทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก
              ความร่วมมือด้านสังคม-วัฒนธรรม Socio-Coltural Coopertion
              1) การจัดการด้านภัยพิบัติ จากปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นตั้งใหญ่ในอาเซียนเมื่อปี 2011 ทีผ่านมา จนเป้ฯเหตุให้หลายๆ ประเทศในอาเซียนต้องประสบกับภาวะภัยพิบัติกันถ้วนหน้า ประเด็นน่าจะเรียกได้ว่า เป็นการพยายามหาวิธีแก้ไข ป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤตภัยพิบัติซ้ำอีก เห็นได้จากการสนับสนุนให้หุ้นส่วนที่มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกันก่อตั้งกลไกในอาเซียน ซึ่งรวมถึงหน่วยย่อยในระัดับท้องถ่ินองค์กรอิสระ NGOs องค์กรภาคประชาสังคม และองค์กรธุรกิจให้ความร่วมมืออย่างแข.ขันกับองค์กรสหประชาชุาติและตัวแทนระหว่างประเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้เกิดความตระหนักรูแลสนับสนุในการมีส่วใร่วมฝยนโครงการต่างอๆ ที่เกี่ยวพันกับการลดความเสี่ยงด้านภัยพิบัติทางธรรมชาติในรูปแบบการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม รวมทั้งเพ่ิมความร่วมมอืระหว่างศุนย์ประสานงานแห่งอาเซียนเพื่อความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมว่าด้วยการจัดการภัยพิพบัติ รวมทั้งองค์การระหว่างประเทศ และตัวแทนอื่นๆ ให้ความร่วมมือผ่านกลไกดังกล่าวสามารถอำนวยความสะดวกได้อย่างรอบรื่น
            2) การพัฒนาอย่างยั่งยืนจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ให้พัฒนาสภาพสังคมและเศรษฐกิจเป็นไปอย่างสมดุลและยั่งบืน โดยต้องพยายามลดหรือไม่ทำให้เกิดผลกระทบเชิงลบด้วย รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาและการถ่ายโอนเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การทำให้เป็นสังคมคารบอนต่ำ และสนับสนุนวัตกรรมทางการเงินเพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนการวิจัยเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสภาพอากาศ
             3) สาธารณสุข วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การศึกษา ทรัพยากรมนุาย์ วัฒนธรรม และคุณภาพชีวิตระดับสูง สนับสนุนให้เกิดการเข้าถึงการให้บริการทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ และขยายความร่วมมือในการถ่ายโอนด้านเทคโนโลยีและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และสร้างเครือข่ายระหว่างประเทศในระดับที่หลากหลายเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในระดับสูง ขยายการเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานและเพิ่มคุณภาพให้มากขึ้น ตลอดจนสนับสนุนให้มีการดูแลการจ้างวานในระดับที่เหมาะสมทั้งรายได้ สภาพความเป็นอยู่ของแรงงานอพยพผู้ที่อาจจะเป็นเหยื่อจากเหตุอาชญากรรม หลีกเลี่ยนงการสั่งสมความรุนแรงและให้มีการเข้าถึงกฎหมายและระบบการพจารณาทางตุลาการที่เป็ฯธรรม เราจะเห้นว่าจากปกิญญาบาหลี 1 ถึงปฏิญญาบาหลี 3 นั้น อาเซียนค่อย ๆ ให้ความสำคัญกับความี่วมมือแต่ละระดับที่เปลี่ยนแปลงไปมากขึ้น จากเดิม ที่หวั่นเกรงภัยรอบตัว และให้ความร่วมมือเฉพาะรัฐภาคีที่อยู่ในอาเวียน เมื่อโลกเปลี่ยนจากโลก 2 ขั้วที่นำโดยโลกสเรีนิยมกับโลกสังคมนิยม มาเป็นโลกหลายขั้ว เมื่อสิ้นทศวรรษที่ 1990 ก็ทำให้ความร่วมมือของอาเซียนผลักดเข้าสู่ระดับโลกมากขึ้นท่ามกลางพลวัตรความเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกที่เกิดขึ้นอยางรวดเร็ว...(www'siamintelligence.com/..จากอาเซียนสุ่ประชาคมอาเซียน ปฏิญญาบาหลี 1 ถึง 3 ความท้าทายใหม่และความเปลี่ยนแปลง)

วันอังคารที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2560

ASEAN Trade in Goods Agreement : ATIGA(2010)

              นับตั้งแต่สงครามเย็นได้สิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1991 การรวมตัวทางด้านเศณษฐกิจภายในภูมิภาคก็เริ่มเป็นรุปธรรมมากขึ้น เช่น ความตกลงว่าด้วยอัตราภาษีศุลกากรที่เท่ากัน CEPT การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน AFTA ในค.ศ. 1992 ความตกลงทางด้านบริการของอาเซียน AFAS ในค.ศ. 1995 กรอบความตกลงเขตลงทุนอาเซียน AIA ใน ค.ศ. 1998 เป็นต้น เมื่อระยะเวลาได้ล่วงเลยผ่านไป สมาชิกอาเซียนได้มีความเห็นว่าควรจะมีการปรับปรุงความตกลง CEPT ให้มีความทันสมัยและเป็นสากลมากขึ้น ดดยได้รวบรวมหลักเกณฑ์ต่างๆ ของ AFTA, CEPT และความตกลงต่างๆ ที่อาเซียนได้ทำไว้กับประเทศต่างๆ ภายนอกภูมิภาคและปรับหลักเกณฑ์ทางการต้าต่างๆ ทั้งในมาตรการด้านภาษีและมิใช่ภาษีให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกันมากยิ่งขึ้น จากนั้นจึงประมวลหลักเกณฑ์ต่างๆ เหล่านี้มาเป็ฯเอกสารฉบับเดียวเรียกว่า ความตกลงว่าด้วยการต้าสินค้าของอาเซียน ATIGA ซึ่งผุ้นำอาเวียนได้ลงนามความตกลงฉบับนี้ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 2010
          ความตกลง ATIGA นั้นมีพัฒนาเพ่อมขึ้นจากความตกลง่ว่าด้วยอัตราภาษีพิเศษที่เท่ากัน CEPT เป็นอย่างมากเนื่องจากความตกลง ATIGA นี้เนื้อหาสาระที่ครอบคลุมถึงเรื่องอื่นๆ ทั้งเรื่องการอำนวยความสะดวกทางการต้า ด้านสุลกากร ด้านมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช และรวมถึงด้านอุปสรรคทางเทคนิคต่อการต้าด้วย ซึ่งการรวบรวมหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกบการต้าสินค้าต่างๆ มารวมไว้ในฉบับเดียวนั้น นอกจากจะทำให้อาเซียนมีหลักเกณฑ์ในการต้าสินค้าที่แน่นอนแล้วนั้นยังส่งผลที่ดีต่ออุตสาหกรรม SMEs ด้วยเนื่องจาก ผุ้ประกอบการ SMEs นั้นจะได้รับทราบถึงรายละเดียดของข้อมูลที่ตนต้องการจะลงทุนได้อย่างแน่นอนและชัดเจน อันเป็นการเพ่ิมความเชื่อมั่นในการตัดสินใจลงทุนในธุรกิจต่างๆ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าความตกลง ATIGA จะเป็นกรอบความตกลงที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางด้านเศราฐกิจให้แก่อาเวียน แต่การจะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวนั้น ประเทศสมาชิกทังหลายจะต้องมีความจริงใจและต้องให้ความร่วมมือในการปกิบัติตามข้อตกลงทอย่างเคร่งครัดโดยดคนึถึงผลประดยชน์ของภุมิภาคเป็นสำคัญ มิใช่มุ่งแต่จะปกป้องผลประดยชน์ของชาติตนเป็นหลักจนปั่นทอนเป้าหมายของภุมิภาค ซึ่งหากปกิบัติได้ตามเป้าหมายของ ATIGA แฃล้ว ประมาณการต้าของอาเซียนมีมากขึ้นและตลาดการต้าของอาเซียนทั้งภายในและภายนอกภูมิภาคนั้นขยายตัวมากขึ้นตามไปด้วย อีกทั้งยังเป็นการเพ่ิมศักยภาพทางเศรษบกิจของอาเวียนให้สามารถแข่งขันและต่อรองทางการต้ากับนานาประเทศได้อีกด้วย..(wiki.kpi.ac.th/..ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน)
           ความตกลงการต้าสินค้าของเาซียน ATIGA เป็นผลจากการพัฒนาความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการกำหนดอัตราอากรร่วฝเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน เพื่อให้ครอบคุลมประเด็นทางการต้าทุกเรื่องและทัดเทียมกับความตกลงที่อเาซียนทำกับคู่ค้าอื่นๆ มีสาระครอบคลุมมาตรการที่สำคัญต่อการเคลื่อย้ายสินค้าอย่างเสรีภายใต้อาเซียน ดังนี้
          บทที่ 1 บทบัญญัติทั่วไป กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของความตกลง ATIGA เพื่อนำไปสู่การรวมตัวเป้นปรชาคมเศราฐกิจอาเวียน ในปี 2558(2015) การกำหนดความหายของคำศัพท์ที่ใช้ในความตกลง รวมทังการเจ้งการปฏิบัตตามพันธกรณี เป้นต้น ซึ่งประเด็นสำคัญของเรื่องดังกล่าวได้แก่ MFN Treatment ที่กำหนดว่า หากประเทศสมาชิกอาเว๊ยนให้สิทธิพิเศษทางภาษีภายใต้ความตกลงทวิภาคที่ประเทศสมาชิกทำหับคู่เจรจาอื่นๆ ดีกว่าที่ให้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียนดวยกันเอง ประเทศสมาชิกอาเซียนอื่สามารถขอเจรจาเพื่อขอสิทธิประดยชน์นั้นๆ ได้ ทั้งนี้ ขึ้นกับการเจรจาของแต่ละประทเสสมาชิก
           บทที่ 2 การเปิดเสรีอัตราภาษี กล่าวถึงการลดภาษีตามพันธกรณีของเขตการต้าเสรีอาเซียน การได้รับสิทธิประโยชน์ทงภาษี ซึ่งมีประเด็นสำคัญดังนี้
                    1) ที่ประชุมตกลงให้มีตารางการลดภาษีของประเทศสมาชิกอาเซียนตั้งแต่เร่ิมต้นจนสิ้นสุดอยู่ในความตกลง ATIGA ด้วย เพื่อความโปร่งใสและให้ประเทศสมาชิกสามารถตรวจสอบการปฏิบัติตรมพันธกรณีระหว่งประเทศสมาชิกด้วยกันได้ ...
                    2) ข้อยืดหยุ่นสำหรับกัมพูชา เวียดนาม ลาว และพม่า CLMV ที่ประชุมตกลงให้ทั้ง 4 ประเทศสามารถมีรายการสินค้าที่จะขอยืดหยุ่นไม่นำมาลดภาษีได้ไม่เกิดร้อยล 7 ของจำนวนรายารสินึ้า ทั้งหมด
                   โดยสรุป ความตกลง ATIGA ที่จะนำมาใช้แทนความตกลง CEPT จะมีข้อบทครอบคลุมประเด็นต่างๆ เช่น การบดภาษี มาตรการที่มิใช่ภาษี การอำนวยความสะดวกทางการต้า กระบวนการ/พิธีการศุลการกร มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช มาตรการเทคนอคทีเ่ป็นอุปสรรคทางการต้า ดดยไม่เพิ่มพันธกรณีของประเทศสมาชิก เนพื่อจากข้อบทต่างๆ เป็นสิ่งที่ประเทศสมาชิกอาเวียนดำเนินกาอยู่แล้วในแต่ละคณะกรรมการ/คณะทำงานของอาเวียน ดังนี้ ความตกลง ATIGA จะทำให้การต้าสินค้าในอาเวียนมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมไปสู่การรวมตัวของอาเวีนให้เป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC ภายในปี 2558 ในที่สุด
                   3) การใช้ประโยชน์จากความตกลงการต้าสินค้าของอาเซียน ATIGA  เมื่อความตกลงการต้าเสรี มีผลบังคับใช้ สิ่งสำคัญที่ผุ้ประกอบการ/ผุ้สงออกมีความรู้ความเข้ใจที่ถูกต้องและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อให้สามารถใช้ประดยชน์จากควาตกลงการต้าเสรี ได้อย่างเต็มที่ ก็คือ กฎว่าด้วยถ่ินกำเนินสินค้า และระเบียบปฏิบัติในการออกหนังสือรับรองถ่ินกำเนิดสินค้า ทั้งนี้หากผุ้ประกอบการ/ผุ้ส่งออกไม่สามารถปฏิบัติตาม ROO หรือ OCP ได้ สินค้านั้นก็จะไม่สามารถขอรับสิทธิพิเศษฯ ณ ประเทศปลายทางได้.. ( "คู่มือการใช้สิทธิประโยชน์ทางการต้า ภายใต้ความตกลง การต้าเสรีอาเซียน, สำนักสิทธิประโยชน์ทางการต้า กระทรวงการต่างประเทศ,2554)
                 
           
                 

วันจันทร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2560

Roadmap for the ASEAN Community (2009-2015) & ASEAN Comprehensive Investment Agreement Agreement Community (ACIA)

              ในการประชุมสุดยอดอาเซีนครั้งที่ 14 ที่ชะอำ หัวหิน เมื่อวันที่ ๅ1 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2552 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามราับรอง ปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่ราด้วยแผนงาจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ค.ศ. 2009-2015) เพื่อจัดตั้งปราคมอาเวียนภายในปี 2558 (2015) Cha3am Hua Hin Dedaration on the Roadmap for the ASEAN Community (2009-2015) โดยจะเป็นประชารคมที่รปะกอบด้วย 3 เสาหลักซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน คือ
             1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มีัวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างแธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและควาามามั่นคงของภุมิภาคเพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และสามารถแก้ปขปัญหาและความขัอแยง โดยสันติวิธี อาเซียนจึงได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งอบุ่ร่วมกันอย่างสันติสุข และสารารถแก้ไขปัญหาและความขชัดแย้ง โดยสัจตคิวิธีอาเซียนจึงได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชคมการเมืองและความมั่นงคงอาเว๊ยน โดยเ้น้ในปร 3 ประการ คือ 1) การมีกฎเกณฑ์และดค่านนิยมร่วมกัน ครอบคลุมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่จะร่วมกันทำเพื่อสร้างความเข้าใจในระบบสังคมวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่แตกต่างของประเทศสมาชิก ส่งเสริมพัฒนากรทางการเมืองไปในทิศทางเดียวักัน เช่น หลัการประชาธิปไตย การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การสนับสนุการมีส่วร่วมของภาคประชาสังคม การต่อต้านการทุจริต การส่งเสริมหลักนิติธรรมและธรรมมาภิบาล เป็นต้น 2) ส่งเสริมความสงบสุขและรับผิชอบร่งมกันในการัาษาความมั่นคงสำหรับประชาชนที่ตรอบคลุมในทุกด้านครอบคลุความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความั่นคงในรูปแบบเดิมมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการระงับขอ้พิพาท โดยสันติเพื่อป้องกันสงครามและให้ประเทศสมาชิกอาเวียนอยุ่ด้วยกัน โดยสบงสุขและไม่มีความหวาดระแวงและขยายความร่วมือเพื่อต่อต้านภัยคุกต่มรูปแบบใหม่ เช่นก ารต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาตจิต่างๆ เช่น ยาเสพติด การต้ามนุษย์ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันละจัดการภัยพิบัติแลุะภัยธรรมชาติ 3) การมีพลวัตและปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก เพื่อเสริมสร้างบทบาทของอาเซียนในความร่วมมือรดับภูมิภาค เช่น กรอบอาเซียน +3 กับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) และากรประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ตลอดจนความสัมพันะ์ที่เข้มแข็งกับมิตรประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ
                2. ประชาคมเศราฐกิจอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้อาเวีนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและมีการเคลือนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุนและแรงงานมีฝีมืออย่งเสรี อาเวียนได้จดทำแผนงาน กานจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซีนียน ซึ่งเป็นแผนงานบูรณาการการดำเนินงานในด้านเศณาฐกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 4 ด้าน คือ 1)การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียง โดยมีการเคลื่อย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสร และากรเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น 2) การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศราฐกิจของอาเซียน ดยให้ความสำคัญกับประเด็นนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศราฐกิจ เช่น สโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผุ้บริโภค สิทธิในทรัพยย์สินทางปัญญา นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ และพลังงาน) 3) การพัฒนาเศราฐกิจอย่างเสมอภาค ให้มีการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่างๆ 4) การบุรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาคเพื่อให้ออาเซียนมีท่าที่ร่วมกันอย่างชัดเจน
              3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน อาเซียนได้ตั้งเป้าหมายเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเวียน ในปี 2558 (2015) โดยมุ่งหวังเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์อาเวียน เพื่อรองรับาการเป็นประชาคมสังคม แลวัฒนธรรมอาเวียน โดยได้จัดทำแผนงานกานจัดตังประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ดาน ได้แก่
              - การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
              - การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม
              - สทิธิและความยุติธรรมทางสังคม
              - ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
              - การสร้่งอัตลักาณ์อาเวียน
              - การลดช่องว่างทางการพัฒนา..(www.pandintong.com/..ประชาคมอาเซียน, Roadmap for the ASEAN Community,2009-2015)
              ASEAN Comprehensive Investment Agreement ACIA หมายถึง ควาตกลงวาด้วยการลงทุนทุกรูปแบบของอาเซียน โดยครอบคลุมเรื่องการเปิดเสรีด้านการลงทุนในภาคการผลิต การเกษตร ประมง ป่าไม้ เหมืองแร่ และการบริการที่เกี่ยวเนื่อง โดยประเทศสมาชิกอาเวียนจะต้องให้การปฏิบัติกับนักลงทุนอาเซียนเช่นเดียวกับนักลงทุนภายในประเทศของตน รวมถึงให้การคุ้มครองการลงทุนทั้งการลงทุนทางตรงและการลงทุนในหลักทรัพย์ พร้อมทั้งส่งสิรมและอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้กับนักลงทุนอย่างเสมอภาค..(www.aseanthai.net/..,ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน กรมประชาสัมพันธ์, ACIA ย่อมาจาก..)
           ปี พ.ศ. 2530 (1987) ประเทศสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ บรูไนฯ อินโนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย ได้ร่วมลงนามในความตกลงอาเซียนเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน (ASEAN IGA) ส่วนสมาชิกอาเซียนใหม่ 4 ปรเทศ ได้แก่ กัมพูชา เมียนมาร์ ลาวและเวียนดนามได้เข้าร่วมเป้ฯภาคีในความตกลงอาเซียนเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนภายหลังเข้าเป็นสมาชิกอาเวียนและยื่อนหังสือยืนยันการเข้าเป้นภาคีในความตกลงฉบับดังกล่าวต่อมาประเทศสมาชิกอาเซียนได้ร่วมกันจัดทำคามตกลงด้านกาลงทุนฉบับที่ 2 นี้ว่า ความตกลงเขตการลงทุนอาเซียน(AIA) ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2541 (1998)
            ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ACIA) การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้้งที่ 11  ธันวาคม พ.ศ.2548 (2005)  ผุ้นำอาเซียนต้องการจะเร่ิงรัดการจัดตั้งประชุาคมเศราฐกิจอาเซียน(AEC) ให้เร็วขึ้นอีก 5 ปี จากเดิมตามวิสัยทัศน์อาเซียนและแถลงการณ์บาหลีระบุไว้เป็นปี พ.ศ. 2563(2020) มาเป็นจัดตั้งประชาคมเศราฐกิจอาเซียน ให้แล้วเสร็จในปี 2558 (2015) ดังนั้น ผุ้นำอาเซียนจึงมอบหมายให้รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ดำเนินการจัดทำแผนงานเพื่อใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานไปสู่เป้าหมาย จนกระทุั่งการประชุมผุ้นำอาเซียนครั้งที่ 12 ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2550 (2007) รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้นำแผนงานการจัดตั้งประชคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC Blueprint เสนอต่อผุ้นำอาเซียน ซึ่งได้รับความเห็นชอบและถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของปฏิญญาเซบูว่าด้วยแผนงานการเร่งรัดการจัดตั้งประชาคมอาเวียนในปี พงศ. 2558 ที่ว่าด้วยภารกิจ 3 ด้านได้ แก่ ความั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมและวัฒนธรรม
            การเคลื่อนย้ายการลงทุนอย่างเสรีภายใต้ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน(ACIA) เป็นส่วนหนึ่งของแผนการจัดตั้งประชุาคมเศราฐกิจอาเวียน ซึ่งที่ประชุมผุ้นำอาเซียนครั้งที่ 13 เมื่อ พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 (2007) ได้กำหนดให้อาเซียนทบทวนและปรับปรุงความตกลงเขตการลงทุนอาเซียน(AIA) ที่มีอยู่เดิมให้เป็นความตกลงฉบับเดียวที่มีความสมบูรณ์ ทันสมัย และทัดเทียมกับกฎเกณฑ์การลงุทนในระดับสากล
            การเปิดเสรีการลงทุน
            ความหายของการลงทุน โดยทั่วไปของการลงทุน คือ การใช้เงินหรือสินทรัพย์เพื่อก่อให้เกิดผลตอบแทน ไม่ว่าจะอยุ่ในรูปของสินค้า บริกา หรือผลกำไร ซึ่งการลงทุนมักจะเกิดขึ้นพร้อมกับความคาดหวังที่จะได้รับผลตอบแทนที่มีมุลค่าสุงหรือมากกว่าเงินลงทุนที่ลงทุนไป โดยนักลงทุนต้องยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ส่วนการลงทุนระหว่างประเทศ คือ ธุรกรรมการลงทุนที่เกิดขึ้นนอกอาณาเขตของประเทศผุ้ลงทุน ดังนั้น ความตกลงด้านการลงทุนระหว่างประเทศ จึงเป้นกลไกของรัฐที่จะช่วยส่งเสริมให้ความมั่นใจแก่นักลงทุนต่างชาติในผลตอบแทนที่คาดหวังและลดควาเสี่ยงที่ไม่ใช่ความเสี่ยงทางธุรกิจ สำหรับการเข้าไปลงทุนในประเทศของตน
         
 ขั้นตอนของการลงทุน
            การเปิดเสรีการลงทุนสามรถปแบ่งออกเป็น  2 ช่วง ได้แก่
            1) การเปิดเสรีการลงทุนช่วงก่อนการจัดตั้งกิจการ คือ การเปิดเสรีการลงทุนในชวงก่อนหรือในขณะที่การลงทุนกำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งกิจกรรมในช่วงก่อนการจัดตั้งกิจการมีทั้งการให้เช้ามา การจัดตั้ง และการได้มา
            2) การเปิดเสรีการลงทุนในช่วงหลังการจัดตั้งกิจการ ซึ่งกิจกรรมในช่วงหลังการจัดตังกิจการเร่ิมตั้งแต่การจัดการ การดำเนินการ การปฏิบัติการ การคงไว้ การใช้ การชำระบัญชี และการขายหรือการจำหน่ายจ่ายโอนอื่นๆ ของการลงทุน
            หลักการเปิดเสรีการบริการตามความตกลงว่าด้วยการต้าบริการของอาเซียน (AFAS) การเปิดเสรีภาคบริการภายใต้ความตกลงว่าด้วยการต้าบริการของอาเซียน เป้นความตกลงเพื่อความร่วมมือในการเปิดตลาดการต้าบริการระหว่างกันภายในกลุ่มอาเซียนให้มากขึ้นกว่าในองค์การการค้าโลก รวมทั้ขยายความร่วมมือด้านบริการระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งเป็นไปตามความตกลงว่าด้วยภาคการต้าภาคบริการ อันเป็นกฎและหลักการเกี่ยวกับการต้าบริการที่ให้ประเทศสมาชิกองค์การการต้าโลก WTO ถือปกิบัติ และยังเป็นแนวทางในการเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการระหว่างประเทศสมชิก โดยกำหนดรุปแบบการต้าบริการระหว่าประเทศไว้ 4 รูปแบบ
         
กลักการเปิดเสรีการลงุทนตามความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเว๊ยน (ACIA) หลักสำคัญในการเปิดเสรีการลงทุนตามความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเวียน คือ การให้การปฏิบัติกับนักลงุทนต่างชาติอย่างเท่าเทียมกัน และไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ว่ากับคนชาติของตนหรือคนชาติอื่นๆ สำหรับการลงทุนในช่วงก่อนการจัดตั้งกิจการ โดยให้เป็นไปตามความสมัครใจของประทเสสมาชิก ปต่ละประเทศ ซึ่งประเทศสมาชิกอาเวยนสามารถเลือกเปิดเสรีการลงทุนในสาขาและช่วงเวลาที่ตนมีความพร้อมตามกรอบระยะเวลาของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC โดยการลดหรือยกเลิกข้อจำกัดหรือยกเลิกเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุน หรือการไม่ออกกฎระเบียบใหม่ ๆ ที่เข้มงวดว่าระดับที่ผุพันไว้ตามหลักการประติบัิตเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง และการปฎิบัติเยี่ยงคนชาติ คือ การปกิบัติต่อการลงทุนจากนิติบุคคลอาเซียน และนิติบุคคลต่างชาติที่จดทะเบียนในอาเซียน เทียบเท่ากับการลงทุนของบุคคลหรือนิติตบุคคลของประเทศตน และเทียบเท่ากับการปฏิบัติต่อประเทศที่สาม รวมถึงไม่กำหนดเงื่อไขบังคับในการลงทุน โดยเปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิกอาเซียนจัดทำรายการข้อสงวนสำหรับสาขาที่ไม่ต้องการเปิดเสรีไว้ ทั้งนี้ การเปิดเสรีการลงุทนจะต้องไม่น้อยกว่าการเปิดเสรีการลงทุนที่ประเทศสมาชิกอาเซียนเคยผุกพันไว้ภายใต้ความตกลงเขตการลงทุนอาเซียน เดิม
           หลักการสำคัญในการเปิดเสรีการลงทุนตามความตกลง่าด้วยการลงทุนอาเซียน ACIA จะครอบคลุมการเปิดเสรีในธุรกิจ 5 สาขา คือ เกษตร ประมง ป่าไม้ เหมืองแร่ และอุตสาหกรรมการผลิต รวมถึงบริการที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจ 5 สาขา เช่นเดียวกบความตกลงเขตการลงทุนอาเวียน นอกจากนั้น การเปิดเสรีการลงุทนยังครอบคลุมทั้งการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และการลงทุนในหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นการเปิดเสรีการลงทุนที่มีขอบเขตกว้างกว่าการเปิดเสรีการลงุทนตามความตกลงเขตการลงทุนอาเวียน ที่ครอบคลุมเฉพาะการลงทุนโยตรงจากต่างประเทศ แต่ไม่รวมถึงการลงทุนในหลักทรัพย์ อย่าวไรก็ดี หลักการเปิดเสรีการลงทุนตามความตกลงว่าดวยการลงทุนอาเวียน จะไม่ใช้บังคับกับมาตรการที่ออกหรือคงไว้โดยประเทศสมาชิกอาเซียนที่กระทบต่อการต้าบริการภายใต้ความตกลงว่ด้วยการต้าบริการของอาเซียน
              ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน เป็นการผนวกหลักการของความตกลงเขตการลงทุนอาเซียน เข้ากับความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มคองการลงุทนอาเวียน เพื่อให้เป็นความตกลงฉบับเดียวที่มีความสมบุรณ์ ทันสมัย และทัดเทียมกับกฎเกณฑ์การลงทุนระดับสากล ดดยบังคงไว้ซึ่งหลักการสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนระหว่างประเทศที่ 4 ประการ ได้แก่ การเปิดเสรีการลงทุน การส่งเสริมการลงทุน การให้ความคุมครองการลงทุน และการอำนวยความสะดวกด้านการลงทุนทั้งนี้ ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน จะมีผลบังคับเมื่ประเทศสมาชิกอาเวียนทุกประเทศให้สัตยาบันต่อเลขาธิการอาเซียน
             หลักการเปิดเสรีการลงทุนภายใต้ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเวียนกำหนดให้ประเทศสมาชิกคงระดับการเปิดเสรีไว้ไม่น้อยไปกว่าที่ผูกพันไว้ภายใต้ความตกลงเขตการลงทุนอาเวียน โดยถึงแม้จะใช้แนวทางการเปิดเสรีแบบ เหมือเดิม แต่ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเวียน ได้ปรับปรุงพนธกรณีด้านการเปิดเสรีให้มีความเข้มงวดมากขึ้น โดยการเพ่ิมหลักการห้ามข้อกำหนดให้ปรฏิบัติ และข้อบทว่าด้วยผุ้บิรหารอาวุโสและรรมการบริหาร และให้ประโยชน์แก่นักลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาผุ้มีถิ่นพนักถาวะในประเทศสมาชิกอาเซียน และนักลงทุนเป็นนิติบุคคลที่ไม่ใช่อาเซียนแต่เข้ามาประกอบธุรกิจในอาเซียนอย่างมีนัยสำคัญด้วย
           สำหรับหลักการส่งเสริมการลงทุนและหลัการคุ้มครองการลงทุนภายใต้ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเวียน นั้น มีขอบเขตไม่ต่างจากความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนอาเวียน โดยยังคงไว้ซึ่งกลไกการคุ้มครองการลงทุนที่มีอยุ่เดิมแต่มีการปรับปรุรายละเอียดในบทบัญญัติต่างๆ ให้มีความสมบูรณ์โปร่งใส ชัดเจนในขั้นตอนและรายละเดียดมากขึ้น ทั้งการชดเชยในกรณีจลาจล การชดเชยในกรณีที่มีการเวนคือหรือโอนกิจการมาเป็นของรัฐ รวมถึงการพัฒนการะบวนการระงับข้อพิพาทระหว่างนักลงทุนกับผุ้รัการลงทุน..( "วิเคราะห์ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเวียน ค.ศ.2009 ศึกษาพัฒนการเรื่องการเปิดเสรีการลงทุนของอาเซียนและความพร้อมของประเทศไทยในกาขเ้าเป็นภาคี"วิทยานพนธ์(บทคัดย่อ,บทที่ 1 บางส่วน), นางสาวธัญลักษณ์ ทองร่มโพธิ์,2554)
           

วันอาทิตย์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2560

Adoption of ASEAN Charter (2008)

            ในการประชุม ณ กัวลาลัมเปอร์ บรรดาผุ้นำประเทศสมาชิกอาเวยนได้ร่วมประกาศ "วิสัยทัศน์อาเซียน 2020"(ASEAN Vision 2020)โดยกำหนดเป้าหมายว่าภายในปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ.2563) อาเซียนจะมีรูปแบบความร่วมมือที่พัฒนาใกล้ชิดมากขึ้นยิ่งกว่าเดิม ต่อมาในการประชุมผุ้นำอาเซียนครั้งที่ 9 (2003) ผุ้นำอาเซียนได้ลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน Bali Concord II เพื่อให้เกิดประชาคมอาเซียน ภายในปี พ.ศ.2563(2020) โดยจะประกอบด้วย 3เสาหลัก คือ ประชาคมความมั่นคงแห่งอาเซียน, ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน
         การประชุมสุดยอดผุ้นำอาเซียนครั้งที่ 10 ณ กรุงเวียงจันทน์ (2004) บรรดาผุ้นำอเซียนได้ประกาศแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ ซึ่งได้สนับสนุนการจัดทำกฎบัตรอาเซียนเพื่อรองรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี พ.ศ.2563(2020) และในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 11 ที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย (2005) บรรดาผุ้นำร่วมกันประกาศ หลักการสำคัญในการจัดทำกฎบัตรอาเซยนและได้มอบหมายให้ "คณะผุ้ทรงคุณวุฒิ"(Eminate Persons Group) ซึ่งประกอบด้วยผุ้ทรงคุณวุฒิในด้านากรต่างประเทศจากแต่ละประเทศสมาชิกเป็นผุ้จัดทำข้อเสนอแนะเบื้องต้นและลักษณะทั่วไปของกฎบัตรอาเซียน ซึ่งคณะผุ้ทรงคุณวุฒิก็ได้ประชุมหารือร่วมกับภาคส่วนต่างๆ จนสามารถสรุปข้อเสนอแนะเบื้องต้นในการจัดทำกฎบัตรในรูปแบบ "รายงานของคณะผุ้ทรงคุณวุฒิเรื่องกฎบัติอาเซียน" ในเดือน ธันวา พ.ศ.2549(2006) และในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 12 ณ กรุงเซบู ประเทศฟิลิปปินส์เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2550 (2007) บรรดาผุ้นำอาเซียนได้ร่วมกันประกาศ รับรองรายงานของคณะผุ้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับกฎบัตรอาเซียนและได้มอบหมายให้ "คณะทำงานระดับสูง" หรือ High Level Task Force ซึ่งประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่มีความเชี่ยวชาญจากแต่ละประเทศสมาชิกเป็นผุ้รับผิดชอบจัดทำร่งกฎบัตรและเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ โดยให้อาศัยหลักการสำคัญที่บรรดาผุ้นำได้ร่วมกันประกาศไว้ ณ กรุงบาหลี และกรงุเซบู รวมถึงให้พิจารณาจากข้อเสนอแนะจากรายงานของคณะผุ้ทรงคุณวุฒิให้แล้วเสร็จ เพื่อสามารถนำร่างกฎบัติไปพิจารณาในการประชุมผุ้นำอาเซียน ครั้งที่ 13 ณ ประเทศสิงคโปร์ เมื่อเดือน พศจิการยน 2550 (2007) ต่อไป จากนั้นก็จะได้มีการตรวจสอบ รับฟังความคิดเห็น ก่อนผุ้นำจะลงนาม
               การประกาศใช้ ในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551(2008) ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของสมาคมประชาชาติแห่งเอเซียนตะวันออกเฉียงใต้ จัดขึ้นที่สำนักงานเลขาธิการอาเซียน ในจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซียนได้ประกาศใช้ กฎบัติอาเซียนอย่างเป็นทางการ ส่งผลให้การดำเนินงานของอาเซียน เป็นไปภายใต้กฎหมายเดียวกันและปูทางไปสู่การสร้างตลาดเดียวในภูมิภาคภายใน 7 ปี
              โครงสร้างของกฎบัตรอาเซียน ประกอบด้วย อาัมภบทและข้อบังคับ 55 ข้อใน 13 หมวด
              หมวด 1 วัตถุประสงค์และหลักการ - กล่าวถึงวัตถุประสงค์และหลักการ
              หมวด 2 สภาพบุคคลตามกฎหมาย - ระบบฐานทางกฎหมาย
              หมวด 3 สมาชิกภาพ - อธิบายสมาชิก การรับสมาชิกใหม่
              หมวด 4 องค์กร - กล่าวถึงองค์กรและทำงานประกอบด้วย ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนคณะมนตรีประสานงาน คณะมนตรีประชาคมอาเซียนต่างๆ องค์กรรัฐมนตรีเฉพาะสาขาคณธกรรมการถาวรประจำอาเซียน เลขาธิการและสำนักเลขาธิการ องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน
             หมวด 5 องค์กรที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน 3 มีรายชื่อตามภาคผนวก 2

             หมวด 6 ความคุ้มกันและเอกสิทธิ์ - เอกสิทธิ์ทางการทูตของอาเซียน
             หมวด 7 การตัดสินใจ - กล่าวถึงเกณฑ์การตัดสินที่อยุ่บนหลักการปรึกษาหรือและฉันทามติ
             หมวด 8 การระงับข้อพิพาท - กล่าวถึงวิธีระงับข้อพิพาทและคนกลาง โดยที่ประชุมสุดยอดอาเซียนเป็นช่องทางสุดท้าย
              หมวด 9 งบประมาณและการเงิน - กล่าวถึงการจัดทำงบประมาณของสำนักเลขาธิการ
              หมวด 10 การบิหารและขั้นตอนการ่ำเนินงาน 3 กล่าวถึง ประธานอาเซียน พิธีการทางการทูต ภาษาทำงาน
           
หมวดที่ 11 อัตลักษณ์และสัญลักษณ์ - กล่าวถึงคำขงัญ ธง ดวงตรา วันและเพลงอาเซียน
              หมวดที่ 12 ความสัมพันธ์ภายนอก - กล่าวถึงแนวทางและขั้นตอนการเจรจาของอาเซียนกับคู่เจรจา
              หมวดที่ 13 บทบัญญัติทั่วไปและบทบัญญัติสุดท้าย - กล่าวถึงการบังคับใช้
               ภาคผนวก 1 กล่าวถึงองค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา
               ภาคผนวก 2 กล่าวถึงองค์กรที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน คือ รัฐสภา องค์กรภาค ธุรกิจ สถาบันวิชาการและองค์การภคประชาสังคม
               ภาคผนวก 3 อธิบายรายละเอียดธงอาเซียน
               ภาคผนวก 4 อธิบายรายละเอียดดวงตราอาเซียน
               สาระสำคัญของกฎบัตรอาเซียน
               ตามกฎบัตรนี้ อาเซียนมีฐานะเป็นนิติบุคคล
               วัตถุประสงค์ ของกฎบัตินี้เป็ฯการประมวลบรรทัดฐาน และค่านิยม ของอาเซียนที่พอสรุปได้ดังนี้
              ภาพรวมของประชาคมอาเซียน การักษาและเพิ่มพูนสันติภาพ ความมันคง เสถียรภาพ การเพิ่มความร่วมมือด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรม เป็นเขตลปลอดอาวุธนิวเคลียร์และอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
             ด้านเศรษฐกิจ สร้างตลาดและฐานการผลิตเดียวและความสามารถในการแข่งขันสูงการรวมตัวทางเศรษฐกิจที่มีการเคลื่อนย้ายเสรีของสินค้า/บริาการ การลงทุนและแรงงน การเคลื่อนย้ายทุนเสรียิ่งขึ้น
            ด้านความมั่นคงของมนุษย์ บรรเทาความยากจนและลดช่องว่างการพัฒนา ส่งเสริมพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผ่านความร่วมมือด้านการศึกษาและการเาียนรู้ตลอดชีพ
            ด้านสังคม ส่งเสริมอาเซียนที่มีประชชนเป้ฯศูนย์กลาง สร้างสังคมาที่ปลอดภัยมั่นคงจากยาเสพติด เพ่ิมพูนความกินดีอยุ่ดีของประชาชนอาเซียน ผ่านโอากสที่ทัดเที่ยมกันในการเข้าถึงการพฒนามนุษย์,สวัสดิการและความยุติธรรม
              ด้านสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยือนที่คุ้ครองสภาพแวดล้อม ความยั่งยือนของทรัพยากรธรรมชาติ
              ด้านวัฒนธรรม ส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียนโดยเคารพความหลากหลายและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม
             ด้านการเมืองความมั่นคง คุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรภาพขั้นพื้นฐาน เสริมสร้างประชาธิปไตย เพ่ิมพุนธรรมาภิบาลและหลักนิติธรรม ตอบสนองต่อสิ่งท้าทายความมั่นคง เช่น การก่อการร้าย
              หลักการ ของกฎบัตรนี้ อยุ่บนพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น การไม่แทกแซงกิจการภายใน การระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี สิ่งที่เน้นหนักคือ การรวมศูนย์กับความสัมพันธ์กับภายนอก จึงทำให้กฎบัตรนี้เป็นเสาหลักของการสร้างประชาคมอาเซียนและตอกย้ำถึงข้อผูกมัดทางกฎหมายของข้อตกลงอาเซียนต่างๆ
              กลไกของอาเซียน ให้ที่ประชุมสุดยอดอาเวียนเป็นองค์สูงสุดในกำหนดนโยบายของอาเวียน โดยมีากรประชุมสนุดยอดปีละ 2 ครั้ง มีคณะมนตรีประสานงานอาเซียนที่มาจากรัฐมนตรีต่างประเทศเป็นผุ้บริหารงานทั่วไป และคณะมนตรีประชาคมอาเซียนดำเนินการตามพันธะกรณีในแต่ละสาขา เลขาธิการเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารสำหรับการติดตามควมคือบหน้าในกิจการต่างๆ ของอาเซียน รวมทั้งมีคณะผู้แทนภาวรประจำอาเซียนเพื่อสนับสนุนการทำงานของคณะมนตรีประชาคมอาเซียน
           การบริหารงาน ประธานอาเซียนดำรงตำแนห่งวาระ 1 ปี และประเทศที่เป็นประธานอาเซียนจะรับตำแหน่งประธานของกลไกของอาเซียนทุกตำแหน่ง อาทิ ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน มนตรีประสานงานอาเวียน มนตรีประชาคมอาเซียนคณะต่างๆ ประธานผุ้แทนภาวรประจำอาเซียน
           จากกำหนดให้มีการประชุมสุดยอดปีละ 2 ครั้งแสดงว่า อาเซียนกำลังปรับให้ที่ประชุมสุดยอดให้มีบทบาทเชิงบริหารอย่างใกล้ชิดกับการปฏิบัติงานมากขึ้น แทนที่จะให้ที่ประชุมสุดยอดเป็นเพรียงพิธีกรรมทางการทุต รมทั้งการบริหารงานที่ทำให้มีสอดคล้องกับประธานอาเซียนย่อมแสดงถึงคงามพยายามเพ่ิมสมรรถนะขององค์กรในด้านประสิทธิผลของคณะทำงานด้านต่างๆ มากขึ้น
           ข้อบังคับที่น่าสนใจคือ การให้มีองค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน ซึ่งปัจจุบันอยุ่ระหว่งการร่างข้อบังคับโดยคณะทำงานระดับสูง ขณะที่ บทบาทของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนในประเทศสมาชิก ทำให้สามารถคาดหวังองค์กรนี้ในฐานะเวทีของการเรียกร้องสิทธิและสร้้างพื้นที่ต่อการรับรู้จากสาธารณะ...(th.wikipedia.org/..กฎบัตรอาเซียน)
         

วันเสาร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2560

Veintiane Action Programme(2004)

           แผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ Veintiane Action Programme 1997 อาเวียนได้ร่วมกันจัดทำวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 (ASEAN Vision2020) ซึ่งตั้งเป้าไว้ว่า อาเซียนจะเป็นภูมิภาคที่ขยายกรอบความร่วมมือกับประเทศี่ไม่ใช่สมาชิก (outward looking) เป็นประชาคมที่มีความสงบสุข มั่นคงและมั่งคั่ง เป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาร่วมกันและจะเป็นปะชาคมแห่งความเอื้ออาทร ต่อมาอาเวียนจึงได้มีแผนปฏิบัติการฮานอย (Hanoi Plan of Action : HPA) เพื่อเป็นแผนแม่บทในการอนุวัติให้อาเซียนได้บรรลุถึงวิสัยทัศน์ดังกล่าว ดดยมีกำหนดกรอบดำเนินงาน 6 ปี (1999-2004)
          ต่อมาปี 2003 ผุ้นำอาเซียนได้ลงนามรับรอง Declaration of ASEAN Concord II : Bali Convord ซึ่งได้มีการขยายความในรายละเดียดเกี่ยวกับวิสัยทัศนือาเซียน 2020 โดยกำหนดให้ประชาคมอาเวียนตั้งอยุ่บนพื้นฐานของความร่วมมือใน 3 ด้านหลัก ประกอบด้วย 1. ความร่วมมือทางการเมืองและความมั่นคง 2. ความร่วมมือทางเศราฐกิจและ 3. ความร่วมมือทางสังคมและวัฒนธรรม โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่า ภายในปี 2020 อาเซียนจะกลายเป้ฯ ประชาคมความั่นคงอาเวียน ASEAN Security Community) ประชาคมเศราฐกิจอาเวียน ASEAN Economic Community และประชาสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน ASEAN Socio-Cultural Community
           แผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ Veintiane Action Programme : VAP ในการประชุมสุดยอดอาเวยน ครั้งที่ 10 ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อวัยที่ 29 พฤศจิการยน 2004 ผุ้นำอาเซียนได้ ลงนามร่วมกันในแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ ซึ่งมีกรอบการดำเนินงาน 6 ปี ระหว่าง ปี  2004-2010 โดยกำหนดให้เป็นแผนปฏิบัติการเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์อาเซียน 2020  สือบต่อจาก HPA ทั้งนี้ในการดำเนินงานของ VAP จะให้ความสำคัญต่อ 2 มิติหลัก ซึ่งได้แก่ การรวมกลุ่มประเทศสมาชิกให้เป็นประชาคมอาเซียนที่เป้ฯปึกแผ่น และการกำหนดยุทธศาสตร์ใหม่ๆ เพื่อลดช่องว่าของระดับการพัฒนาด้วยการเร่งรัดให้มีการรวมกตัวเร็วขึ้น ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นซึ่งรวมกถึงการทำงานร่วมกับประเทศคู่เจรจาด้วย การรณรงค์ให้ฝ่ายการเมืองเข้ามาเป็นฝ่ายสนับสนุน และการระดมทรัพยากรเพื่อให้มีการดำเนินงานตามแผน VAP อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมียุทธศาสตร์ดังต่อไปนี้
           - การเป็นประชาคมเศราฐกิจอาเซียน ASEAN Economic Community ซึ่งมุ่งที่จะขจัดอุปสรรคต่างๆ ที่เป็นไปได้ เพื่อให้สินค้า บริการและแรงงานมีการไหลเวียนอย่างอิสระและให้เงินทุนไหลเวียนมากขึ้นอย่างอิสระ ภายในปี 2020
           - การเป็นประชาคมมั่นคงอาเซียน ASEAN Security Community ซึ่งมุ่งที่จะขจัดอุปสรรคต่างๆ ที่เป็นไปได้ เพื่อให้สินค้า บริการ และแรงงานมีการไหลเวยนอย่างอิสระและให้เงินทุนไหลเวยนมากขึ้นอย่างอิสระ ภายในปี 2020
           - การเป็นประชาคมมั่นคงอาเซียน ASEAN Security Commuty ซึ่งมุ่งหวังที่จะสร้างภูมิภาคที่มีเสถียรภาพและความมั่นคง ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและ ธรรมาภฺบาล  มีการจักระบบเตือนภัยล่วงหน้า
           - การเป็นประชคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน ASEAN Socio-Cultural Community ซึ่งมุ่งหวังที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วทั้งภุมิภาค และยายามสร้างเอกลักษณ์ของอาเวียนให้เกิดขึ้น การวางแผนลดความยากจนและยกมาตรฐานการดำนงบีพของประชาชน ป้องกันการแพร่ระดบาดโรคเอเส์ และดรคติต่อร้ายแรงอื่นๆ รวมทืั้งสร้าง "เขตปลอดยาเสพย์ติดอาเวียน" ขึ้นภายในปี 2015
            VAP ในส่วนที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคม  สำหรับล VAP ในส่วนที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคา ปรากฎอยุ่ภายใต้หัวข้อ การเป้นประชาคมสังคมวัฒนธรรมอาเซียน หรือ ASCC ซึงได้กำหนด ธีม ไว้ว่า "จะทำนนุบลำรุงทรัพยากรมนุษย์ วัฒนธรรมและธรรมชาติ เืพ่อมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของประชาคมอาเวียนที่มีความสมานฉันท์และยึดประชาชนเป้นจุดศูนย์กลาง" โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอาเว๊ยน มุ่งใช้ทรัพยากรธรราชาติแบบยังยืน และเสริมสร้างความแข็งแกร่งและยือหยุ่น โดยให้ความสำคัญต่อ 3 ปัฯหาหลัก ได้แก่ ปัญหาความยากจน ปัญหาด้านความเสมอภาค และปัยหาสุขภาพ ทั้งนี้ VAP ได้กำหนดกิจกรรมความร่วมือในระดับภุมิภาคเพื่อสรัีบสนุนการดำเนินานในระดับประเทศ (เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคม)ไว้ดังนี้
            - การยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชชนกลุ่มชายขอบ และกลุ่มผุ้้อยโอกาสด้วยการเสริมสร้างศักยภาพของเจ้าหน้าที่ในด้านการพัฒนาชนลท และการลบรรเทาความยกจน รมทั้งส่งเสริมให้ประชากรกลุ่มนี้เข้ามามีส่วนร่วมในสังคมมากขึ้น
           - สนับสนุนให้มีการเข้าถึงการบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึง และส่งเสริมการยกระดับมาตรฐานการศึกษาโดยผ่านทางเครือข่ายและความร่วมมือของสถาบันการศึกษา
- ลดปัจจัยเสี่ยงทางสังคมของประชกรกลุ่มเด็ก สตรี ผุ้สูงอายุ และคนพิการ ด้วยการสนับสนุนกิจกรรมแผนงานที่สอดคล้องกบอนุสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง และส่งเสริมการให้บริการต่างๆ เช่นการดูแลผุ้สูงอายุ การดูแลด้านสุขภาพ และการบิรการทางการศึกษา
           - ส่งเสริมให้ครอบครัว ประชาสังคม และภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาความยากจนและสวัสดิการทางสังคมด้วยการสร้างเครือข่ายและจัดทำโครงการแลกเปลี่ยน
            -ส่งเสริมให้สตรีและเยาวชนมีส่วนร่วมมากขึ้นในกลุ่มประชากรแรงงานด้วยการจัดผึกอบรมด้านอาชีพ และการเพ่ิมช่องทางให้เข้าถึงสินเชื่อรายย่อย และระบบข้อมูล
           - การให้ความสำคัญต่อการพัฒนาด้านศุขภาพ
           - ป้องกันการแพร่ระบาดและอันตรายของ HIV/AIDS และโรคติเชื้ออื่นๆ
           - ให้อาเซียนเป็นเขตปลอดยาเสพย์ติดภายในปี ค.ศ. 2015 โดยใช้มาตการป้องกันการรักษา และให้ชุมชนมีบทบาทในการควบคุม รวมทั้งการขจัดการค้ายาเสพย์ติด
            การจัดการกับผลกระทบทางสังคมที่เกิดจากการรวมตัวทางเศรษฐกิจ
            - ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยกรมนุษย์ โดยความร่วมมือของเครือข่ายสภาบันฝึกอาชีพต่างๆ
            - ส่งเสริมการดำเนินงานคุ้มครองทางสังคมและระบบการจัดการความเสี่ยงทางสังคม..
(คำแปลอย่างเป็นทางการ) แผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ Vientiane Action Programme (VAP) 2004-2010

วันศุกร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2560

Bali Concord II (Declaration of ASEAN Concord), (2003)

              1976 ผุ้นำอาเซียน (ซึ่งขณธนันมีห้าประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย) ลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนฉบับที่ 1 (DEClaration of ASEAN Concord I : Bali Concord I) ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 1 ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนิเซีย โดยมีเป้าหมายหลักในการักษาเสถียรภาพและความมั่นคงในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาเมื่ออาเซียนสามารถสร้างความมั่นคงทางการเมืองได้ในระดับหนึ่งแล้วอาเซียนก็ได้ตกลงกำหนดวิัยทัศน์อาเซียน 2020 (ASEAN Vision 2020) ผุ้นำอาเซียนในขณะนั้นเห้ฯว่าอาเซียนพร้อมแล้วทั้งด้านการเมืองภายในปประเทศและระหว่างประเทศ อาเซียนควรหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเพื่อพัฒนาศักยภาพของภูมิภาค อาเซียนจึงได้นำวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 มาขยายผลเป็นแผน "แผนปฏิบัติการฮานอย (Ha Noi Plan of Action : HPA) ขึ้นในปี ค.ศ. 1998 เพื่อที่จะเป็นแผนการพัฒนาอาเวียนไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ในวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 จากนั้นก็ได้มีประกาศ ความคิดริเร่ิมเพื่อากรรวมกลุ่มของอาเซียน (Initiative for ASEAN Integration : IAI) และแผนงนการรวมกลุ่มของอาเซียน (Roqdmap for Integration of ASEAN : RIA เพื่อเป็นแนวทางในการปรับตัวรับสมาชิกใหม่ CLMV และกำหนดทิศทางในการร่วมมือพัฒนาภูมิภาค
             ต่อมาในการประชุมสุดยอดผุ้นำอาเซียนครั้งที่เก้า เมื่อวนที่ 7 ตุลาคม ค.. 2003 ประเทสสมาชิกอาเซียนได้ลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมืออาเซียนฉบับที่ 2 (Declaration of ASEAN Concord II : Bali Concord II ตกลงกันที่จะยายความร่วมมือในเชิงลึมกขึ้นดดยการวางเป้าหมายที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563)
            จุดประสงค์หลักของการผนึกกำลังของประเทศสมาชิกอาเซียนสู่การเป็นประชาคมอาเว๊ยนนั้นคือการทำให้สมาชิกอาเวียนมีความใกล้ชิดและเป็นอนหนึ่งอันเดียวกันมากขึึ้น ความท้าทายรูปแบบใหม่ท่เกิดจากกระแสโลกาภิวัตน์ เช่น วิกฤติเศราฐฏิจโลกในปี ค.ศ. 1997 (วิกฤตต้มยำกุ้ง) สงครามการก่อการร้าย และากรรวมกลุ่มประเทศของสไภาพยุโรปเพื่อสร้างอำนาจต่อรองทางเศราฐกิจ ส่งผลให้อาเซียนต้องปรับตัวปรับเป้หมายให้สามารถรัมือกับปัญหาที่มีลักษณะข้ามชาติเหล่านี้ได้อย่างมีประสทิะิภาพ การรวมตัวเป็นประชาคมอาเวียนจะก่อให้เกิดความแข็งแกร่ง ทั้งทางด้านเศราฐกิจ ความมั่นคง และสังคมวัฒนธรรม และสามารถรับมือกับภัยคุกคามในด้านต่างๆ ได้มีประสทิะิภาพดีกว่าที่แต่ละประเทศต่างจัดการกนเอง การร่วมตัวเป็นประชาคมยังเป้นการสร้งเสริมโอกาสให้กับภุมิภาคและประเทศสมาชิกในภุมิภาคในการเจรจาต่อรองกับภุมิภาคอื่นๆ หรือประเทศอื่นๆ ได้มากขึ้น และเมื่อใดที่ประชาชนในภุมิภาคมความรุ้สึกเป้นอันหนึ่งอันเดียวกันปัญหาทะเลาะเบาะแว้งระหว่างประเทศเพื่อนบ้านก็จะลดลง
            ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนฉบัยที่สองยังได้ระบุวง่า การที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาทางเศราฐกิจของภูมิภาคอย่างยั่งยืนได้นั้น อาเซียนจจะต้องมีบรรยากาศทางการเมืองที่อยุ่บนรากฐานของผลประโยชน์ร่วมกันอันเกิดจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจและความเป็นปึกแผ่นทางดารเมือง ยิ่งไปกว่านั้นกลัการ ซึ่งอดีตนายกรัฐมนตรี ดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด ได้นำเสนอขณะที่ประเทศต่างๆ ในเอเซียนตะวันออกเฉียงใต้กำลังเชิญวิกฤติเศรษฐกิจใน ค.ศ. 1997 (วิกฤติต้มยำกุ้ง) ก้ได้รับการบรรจุในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนฉบับที่สอง นี้ด้วย ดร.มหาเธร์ ได้อธิบายว่าประเทศเพื่อนบ้านที่ยากจนจะเป็นบ่อเกิดของปัญหาซึ่งอาจกลายเป็นปัญหาข้ามชาิมากกระทบต่อประเทศตนเองได้อในอนาคต ดังนัเ้นจึงควรให้คฝามสำคัญกับความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านให้พัฒนาไปพร้อมๆ กันหลักการนี้มีอิทะิพลอย่างยิงกับนโยบายการต่างประเทศของมาเลเซียและการกำหนดวิสัยทัศน์อาเซีียน 2020 ในกาลต่อมา
           ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนฉบับที่สอง เป็นเอกสารที่ประเทศสมาชิกอาเซียนประกาศด้วยสามประชาคมย่อย ได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน, ประชาคมเศราฐกิจอาเซียน, และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเวียน, ดังนี้
          1 ประชาคมความมั่นคงอาเวียนASEAN Security Community เป็นการรวมตัวกันของประเทศอาเซียนในเรื่องที่เน้นถึงความมั่นคง และสันติภาพ ที่จะเกิดขึ้นภายในภุมิภาค เพื่อให้สามารถอยุ่ร่วมกันได้อย่างสันติ อันจะก่อให้เกิดเสถียรภาพทั้งในระดับภุมิภาคและระดับโลก ประชาคมนี้จะเน้นเรื่องการรักษาความมั่นคงร่วมกัน ผ่านความร่วมมือทางการเมือ เศรษบกิจ สังคมและวัฒนธรรม ตามเป้าหมายวิสัยทัศน์อาเว๊ยนโดยแต่ละประเทศสมาชิกอาเวียนจะสามารถมีนโยายการต่างประเทศของตนได้ ดังนั้นการสร้างประชาคมความมั่นคงในความหมายนี้จึงไม่ใช่การสร้างแนวร่วมทางทหาร พันธมิตรหรือการมีนดยบายการต่างประเทศร่วมกัน
 2 ประชาคมเศรษฐฏิจอาเวียน เป็นการรวมตัวทางด้านเศรษฐกิจเพื่อจะทำให้เกิดเสถียรภาพ ความมั่งคั่งและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในะดับนานาชาติ โดยมีเป้าหมายทำให้อาเว๊ยนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกันเชื่อมโยงกับห่วงโซ่อุปทานของเศรษฐกิจโลกได้อย่างเป็นพลวัตร
          3.ประชาคมสังคมแลวัฒนธรรมอาเซียน ASCC-ASEAN Socio-Cultural Community) : ประชาคมนี้มุ่งเน้นที่จเสร้างประชาคมที่เป้นปุ้นสวนและเื้ออาทรต่อกัน ( a community of caring societies) เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนนั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เกิดความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกันของประชาชนอาเว๊ยนโดยประชาคมนี้จะส่งเสริมให้เกิดสำนึกอาเซียน (the Mutual ASEAN Spirit) นอกจานั้นประชาคมนี้มุ่งที่จะลอผลกระทบที่จะเกิดต่อประชาชนจากการร่วมตัวทางเศณาฐกิจและการเมือง เช่นปัญหาจากการประชากรที่เพิ่มขึ้น ปัญหารการว่างงาน ปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมและมลพิษข้ามชาติ การป้องกันสาธารณภัย การสร้างความร่วมมือทางสาธารณสุข และการสร้างโอกาศและความเท่าเทียมให้กับผุ้ด้อยโอกาส อาทิ ผุ้พิการ เด็กและสตรี ผุ้ที่อยู่ในชนลทเป็นต้น...(wiki.kpi.ac.th/..ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนฉบับที่ 2)

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...