Adoption of ASEAN Charter (2008)

            ในการประชุม ณ กัวลาลัมเปอร์ บรรดาผุ้นำประเทศสมาชิกอาเวยนได้ร่วมประกาศ "วิสัยทัศน์อาเซียน 2020"(ASEAN Vision 2020)โดยกำหนดเป้าหมายว่าภายในปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ.2563) อาเซียนจะมีรูปแบบความร่วมมือที่พัฒนาใกล้ชิดมากขึ้นยิ่งกว่าเดิม ต่อมาในการประชุมผุ้นำอาเซียนครั้งที่ 9 (2003) ผุ้นำอาเซียนได้ลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน Bali Concord II เพื่อให้เกิดประชาคมอาเซียน ภายในปี พ.ศ.2563(2020) โดยจะประกอบด้วย 3เสาหลัก คือ ประชาคมความมั่นคงแห่งอาเซียน, ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน
         การประชุมสุดยอดผุ้นำอาเซียนครั้งที่ 10 ณ กรุงเวียงจันทน์ (2004) บรรดาผุ้นำอเซียนได้ประกาศแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ ซึ่งได้สนับสนุนการจัดทำกฎบัตรอาเซียนเพื่อรองรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี พ.ศ.2563(2020) และในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 11 ที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย (2005) บรรดาผุ้นำร่วมกันประกาศ หลักการสำคัญในการจัดทำกฎบัตรอาเซยนและได้มอบหมายให้ "คณะผุ้ทรงคุณวุฒิ"(Eminate Persons Group) ซึ่งประกอบด้วยผุ้ทรงคุณวุฒิในด้านากรต่างประเทศจากแต่ละประเทศสมาชิกเป็นผุ้จัดทำข้อเสนอแนะเบื้องต้นและลักษณะทั่วไปของกฎบัตรอาเซียน ซึ่งคณะผุ้ทรงคุณวุฒิก็ได้ประชุมหารือร่วมกับภาคส่วนต่างๆ จนสามารถสรุปข้อเสนอแนะเบื้องต้นในการจัดทำกฎบัตรในรูปแบบ "รายงานของคณะผุ้ทรงคุณวุฒิเรื่องกฎบัติอาเซียน" ในเดือน ธันวา พ.ศ.2549(2006) และในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 12 ณ กรุงเซบู ประเทศฟิลิปปินส์เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2550 (2007) บรรดาผุ้นำอาเซียนได้ร่วมกันประกาศ รับรองรายงานของคณะผุ้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับกฎบัตรอาเซียนและได้มอบหมายให้ "คณะทำงานระดับสูง" หรือ High Level Task Force ซึ่งประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่มีความเชี่ยวชาญจากแต่ละประเทศสมาชิกเป็นผุ้รับผิดชอบจัดทำร่งกฎบัตรและเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ โดยให้อาศัยหลักการสำคัญที่บรรดาผุ้นำได้ร่วมกันประกาศไว้ ณ กรุงบาหลี และกรงุเซบู รวมถึงให้พิจารณาจากข้อเสนอแนะจากรายงานของคณะผุ้ทรงคุณวุฒิให้แล้วเสร็จ เพื่อสามารถนำร่างกฎบัติไปพิจารณาในการประชุมผุ้นำอาเซียน ครั้งที่ 13 ณ ประเทศสิงคโปร์ เมื่อเดือน พศจิการยน 2550 (2007) ต่อไป จากนั้นก็จะได้มีการตรวจสอบ รับฟังความคิดเห็น ก่อนผุ้นำจะลงนาม
               การประกาศใช้ ในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551(2008) ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของสมาคมประชาชาติแห่งเอเซียนตะวันออกเฉียงใต้ จัดขึ้นที่สำนักงานเลขาธิการอาเซียน ในจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซียนได้ประกาศใช้ กฎบัติอาเซียนอย่างเป็นทางการ ส่งผลให้การดำเนินงานของอาเซียน เป็นไปภายใต้กฎหมายเดียวกันและปูทางไปสู่การสร้างตลาดเดียวในภูมิภาคภายใน 7 ปี
              โครงสร้างของกฎบัตรอาเซียน ประกอบด้วย อาัมภบทและข้อบังคับ 55 ข้อใน 13 หมวด
              หมวด 1 วัตถุประสงค์และหลักการ - กล่าวถึงวัตถุประสงค์และหลักการ
              หมวด 2 สภาพบุคคลตามกฎหมาย - ระบบฐานทางกฎหมาย
              หมวด 3 สมาชิกภาพ - อธิบายสมาชิก การรับสมาชิกใหม่
              หมวด 4 องค์กร - กล่าวถึงองค์กรและทำงานประกอบด้วย ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนคณะมนตรีประสานงาน คณะมนตรีประชาคมอาเซียนต่างๆ องค์กรรัฐมนตรีเฉพาะสาขาคณธกรรมการถาวรประจำอาเซียน เลขาธิการและสำนักเลขาธิการ องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน
             หมวด 5 องค์กรที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน 3 มีรายชื่อตามภาคผนวก 2

             หมวด 6 ความคุ้มกันและเอกสิทธิ์ - เอกสิทธิ์ทางการทูตของอาเซียน
             หมวด 7 การตัดสินใจ - กล่าวถึงเกณฑ์การตัดสินที่อยุ่บนหลักการปรึกษาหรือและฉันทามติ
             หมวด 8 การระงับข้อพิพาท - กล่าวถึงวิธีระงับข้อพิพาทและคนกลาง โดยที่ประชุมสุดยอดอาเซียนเป็นช่องทางสุดท้าย
              หมวด 9 งบประมาณและการเงิน - กล่าวถึงการจัดทำงบประมาณของสำนักเลขาธิการ
              หมวด 10 การบิหารและขั้นตอนการ่ำเนินงาน 3 กล่าวถึง ประธานอาเซียน พิธีการทางการทูต ภาษาทำงาน
           
หมวดที่ 11 อัตลักษณ์และสัญลักษณ์ - กล่าวถึงคำขงัญ ธง ดวงตรา วันและเพลงอาเซียน
              หมวดที่ 12 ความสัมพันธ์ภายนอก - กล่าวถึงแนวทางและขั้นตอนการเจรจาของอาเซียนกับคู่เจรจา
              หมวดที่ 13 บทบัญญัติทั่วไปและบทบัญญัติสุดท้าย - กล่าวถึงการบังคับใช้
               ภาคผนวก 1 กล่าวถึงองค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา
               ภาคผนวก 2 กล่าวถึงองค์กรที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน คือ รัฐสภา องค์กรภาค ธุรกิจ สถาบันวิชาการและองค์การภคประชาสังคม
               ภาคผนวก 3 อธิบายรายละเอียดธงอาเซียน
               ภาคผนวก 4 อธิบายรายละเอียดดวงตราอาเซียน
               สาระสำคัญของกฎบัตรอาเซียน
               ตามกฎบัตรนี้ อาเซียนมีฐานะเป็นนิติบุคคล
               วัตถุประสงค์ ของกฎบัตินี้เป็ฯการประมวลบรรทัดฐาน และค่านิยม ของอาเซียนที่พอสรุปได้ดังนี้
              ภาพรวมของประชาคมอาเซียน การักษาและเพิ่มพูนสันติภาพ ความมันคง เสถียรภาพ การเพิ่มความร่วมมือด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรม เป็นเขตลปลอดอาวุธนิวเคลียร์และอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
             ด้านเศรษฐกิจ สร้างตลาดและฐานการผลิตเดียวและความสามารถในการแข่งขันสูงการรวมตัวทางเศรษฐกิจที่มีการเคลื่อนย้ายเสรีของสินค้า/บริาการ การลงทุนและแรงงน การเคลื่อนย้ายทุนเสรียิ่งขึ้น
            ด้านความมั่นคงของมนุษย์ บรรเทาความยากจนและลดช่องว่างการพัฒนา ส่งเสริมพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผ่านความร่วมมือด้านการศึกษาและการเาียนรู้ตลอดชีพ
            ด้านสังคม ส่งเสริมอาเซียนที่มีประชชนเป้ฯศูนย์กลาง สร้างสังคมาที่ปลอดภัยมั่นคงจากยาเสพติด เพ่ิมพูนความกินดีอยุ่ดีของประชาชนอาเซียน ผ่านโอากสที่ทัดเที่ยมกันในการเข้าถึงการพฒนามนุษย์,สวัสดิการและความยุติธรรม
              ด้านสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยือนที่คุ้ครองสภาพแวดล้อม ความยั่งยือนของทรัพยากรธรรมชาติ
              ด้านวัฒนธรรม ส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียนโดยเคารพความหลากหลายและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม
             ด้านการเมืองความมั่นคง คุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรภาพขั้นพื้นฐาน เสริมสร้างประชาธิปไตย เพ่ิมพุนธรรมาภิบาลและหลักนิติธรรม ตอบสนองต่อสิ่งท้าทายความมั่นคง เช่น การก่อการร้าย
              หลักการ ของกฎบัตรนี้ อยุ่บนพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น การไม่แทกแซงกิจการภายใน การระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี สิ่งที่เน้นหนักคือ การรวมศูนย์กับความสัมพันธ์กับภายนอก จึงทำให้กฎบัตรนี้เป็นเสาหลักของการสร้างประชาคมอาเซียนและตอกย้ำถึงข้อผูกมัดทางกฎหมายของข้อตกลงอาเซียนต่างๆ
              กลไกของอาเซียน ให้ที่ประชุมสุดยอดอาเวียนเป็นองค์สูงสุดในกำหนดนโยบายของอาเวียน โดยมีากรประชุมสนุดยอดปีละ 2 ครั้ง มีคณะมนตรีประสานงานอาเซียนที่มาจากรัฐมนตรีต่างประเทศเป็นผุ้บริหารงานทั่วไป และคณะมนตรีประชาคมอาเซียนดำเนินการตามพันธะกรณีในแต่ละสาขา เลขาธิการเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารสำหรับการติดตามควมคือบหน้าในกิจการต่างๆ ของอาเซียน รวมทั้งมีคณะผู้แทนภาวรประจำอาเซียนเพื่อสนับสนุนการทำงานของคณะมนตรีประชาคมอาเซียน
           การบริหารงาน ประธานอาเซียนดำรงตำแนห่งวาระ 1 ปี และประเทศที่เป็นประธานอาเซียนจะรับตำแหน่งประธานของกลไกของอาเซียนทุกตำแหน่ง อาทิ ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน มนตรีประสานงานอาเวียน มนตรีประชาคมอาเซียนคณะต่างๆ ประธานผุ้แทนภาวรประจำอาเซียน
           จากกำหนดให้มีการประชุมสุดยอดปีละ 2 ครั้งแสดงว่า อาเซียนกำลังปรับให้ที่ประชุมสุดยอดให้มีบทบาทเชิงบริหารอย่างใกล้ชิดกับการปฏิบัติงานมากขึ้น แทนที่จะให้ที่ประชุมสุดยอดเป็นเพรียงพิธีกรรมทางการทุต รมทั้งการบริหารงานที่ทำให้มีสอดคล้องกับประธานอาเซียนย่อมแสดงถึงคงามพยายามเพ่ิมสมรรถนะขององค์กรในด้านประสิทธิผลของคณะทำงานด้านต่างๆ มากขึ้น
           ข้อบังคับที่น่าสนใจคือ การให้มีองค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน ซึ่งปัจจุบันอยุ่ระหว่งการร่างข้อบังคับโดยคณะทำงานระดับสูง ขณะที่ บทบาทของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนในประเทศสมาชิก ทำให้สามารถคาดหวังองค์กรนี้ในฐานะเวทีของการเรียกร้องสิทธิและสร้้างพื้นที่ต่อการรับรู้จากสาธารณะ...(th.wikipedia.org/..กฎบัตรอาเซียน)
         

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)