ASEAN Human Rights Declaration : AHRD (2012)

             ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมกาธิการระหว่างรัฐบาลอาเวียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งได้รับมอบหมายจากที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 42 เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 (2009) โดยที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนประสงค์ให้ปฏิญญาฉบับนี้ เป็นพื้นฐานในการพัฒนาไปสุ่การเป็ฯกรอบความร่วมมืออาเซียนด้านสิทะิมนุษยชนเช่น อนุสัญญาสนธิสัญญา รวมทั้งตราสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนในอนาคต
          ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเป็นเอกสารทางการเมืองที่ไม่มีข้อผูกพันตามกฎหมาย ซึ่งแสดงเจตนารมณ์ของอาเซียนในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทะิมนุษยชน และสะท้อนถึงลักษณะเฉพาะของอาเซียนที่มีความแตกต่างในด้านการเมือง สังคมและวัฒนธรรม นอกจากนี้ ปฏิญญาฯจะต้องรักษามาตรฐานสิทธิมนุษยชนตามหลักสากล รวมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มเติมจาปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปฏิญญาและแผนปฏิบํติการเวียนนา และตราสารระหว่างประเทศว่าดวยสิททะิมนุษยชนที่ประเทศสมาชิกอาเซียนเป้ฯภาคีปฏิญญาฯ ฉบับนี้เป็นจุดเร่ิมต้นที่สำคัญของอาเซียนที่ให้ความสำคัญกับการ่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเพื่อประโยชน์ในระยะยาวของประชาชนและภูมิภาคอาเซียน..
           แถลงการณ์พนมเปญว่าด้วยการรับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุายชน
           เรา ประมุขแห่งรัฐ/ หัวหน้าราัฐบาลของรัฐสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ในโอกาสการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 21 ณ กรุงพนมเปญราชอาณาจักรกัมพุชา
           ยืนยัน ความมุ่งมั่นของอาเซียนในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน รวมทั้งเป้าประสงค์และหลักการตามที่บัญญัติฟๆว้ในกฎบัตรอาเซียน ซึ่งรวมถึงหลักการประชาธิปไตย หัลักนิติธรรม และธรรมาภิบาล
           ย้ำถึง ความมุ่งมั่นของอาเซียนและรัฐสมาชิกต่อกฎบัตรสหประชาชาติ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปฏิญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่รัฐสมาชิกอาเวียนเป็นภาคี รวมถึงปฏิญญาของอาเซียนที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
         ยอมรับ ความสำคัญของบทบาทของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐอาเซียนว่าด้วยสิทะิมนุษยชน ในฐานะเป็นสถาบันที่รับผิดชอบการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในอาเซียนในทุกด้านอันจะนำไปสู่การสร้างประชาคมอาเวียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเป็นกลไกสำหรับการพัฒนาทางสังคมและความยุติธรรมที่ก้าวหน้า และการบรรลุศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นของประชาชนอาเซียน
        ชื่นชม คณะกรรมาธิการที่ได้พัฒนาปฏิญญาสิทธิมนุษยชนที่มีความครอบคลุม โดยผ่านการหารือกับองค์กรรายสาขาของอาเวียนและผุ้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
         ยอมรับ การมีส่วนร่วมที่มีนัยยะขององค์กรรายสาขาของอาเซียนและผุ้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ในการส่งเสริมและคุ้มทครองสิทธิมนุษยชนในอาเวียน และสนับสนุนให้องค์กรและผุ้มีส่วนได้เสียดังกล่าวมีส่วนร่วมและหารือกับคณะกรรมธิการอย่างต่อเนื่อง
         ในที่นี้ จึง
         1 รับรอง ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
         2 ยืนยัน ความมุ่งมั่นของเราในการปฏิบัติตามปฏิญญาอเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอย่างเต็มที่ เพื่อให้การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในภุมิภาคมีความก้าวหน้า และ
         3 ยืนยันอีกครั้ง ถึงความมุ่งมั่นของเราในการปฏิบัติตามปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนโดยให้สอดคล้องกับคำมั่นที่เรามีต่อกฎบัตรสหประชาชาติ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปฏิญญาและแผนปฏิบัติการเวียนนา และตราสารระหว่างประเทศอื่นๆ ด้านสิทะิมนุษยชนที่รัฐสมาชิกอาเซียนเป็นภาคี รวมถึงปฏิญญาและตราสารอื่นๆ ของอาเซียนที่เกี่ยวกับสิทะิมนุษยชน..(ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน, มิถุนายน 2556)
       
บทบาทของคณะกรรมาธิการฯ ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของภูมิภาคอาเซียนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การก่อตั้งองค์กรคณะกรรมาธิการฯ ได้มีการดำเนินงานตามแผนงาน 5 ปี โดยแผนงานดังกล่าวได้กำหนดภาระงานและกิจกรรมต่างๆ ของคณะกรรมาธิการ ภายในระยะเวลา 5 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2553-3558 ความสำเร็จหลักของคณะกรรมาธิการฯ ในการดำเนินงานในช่วงแรก คือ การจัดทำปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และแถลงการณ์พนมเปญว่าด้วยการับรองปฏิญญาอาเซียน ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2555(2012) ตราสารทางการเมืองทั้งสองถุกใช้เป็นแนวทางในกานส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนอาเซียน ภายในปฏิญญาอเาซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้รวมเอาประเด็นด้านสิทะิมนุษยชนบางด้านที่ไม่ค่อยถูกล่วถึงในปฏิญญาหรืออนุสัญญาอื่นๆ เช่น สิทะิในการพัฒนา สิทธิในสันติภาพ สิทะิในการหาที่ลี้ภัย และประเด็นเรื่องเอดส์และเอชไอวี เป้ฯต้น แม้ปฏิญญาอาเซียน ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจะไม่ใช่ตัวบทกฎหมายท่สามารถควบคุมและลงโทษผุ้กรทำความผิดด้านการละเมิดสิทะิมนุษชนได้ แต่ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนับเป็นจุดเริ่มต้นของความก้าวหน้าของอาเซียนที่ได้มีเอกสารพื้นฐานร่วมกันเพื่อพัฒนามาตรฐานการุคุ้มครองและส่งเสริมด้านสิทธิมนุษยชนในภุมิภาค
          ในช่วงดำเนินงานระยะที่ 2 คณะกรรมาธิการฯ ยังคงดำเนินตามแผนงาน 5 ปี ที่ได้วางไว้ โดยมีภารกิจที่ำสคัญ เช่น
           การเผยแพร่ปฏิญยาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้ในสิทธิขึ้นพื้นฐานของประชาชนอาเซียน โดยคณะกรรมาธิการณ ได้มีการแปลปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเป็นภาษาประจำชาติของประเทศสมาชิกอาเซียนและจัดทำเป็นหนังสือ เพื่อการเผยแพร่ต่อไป
            การจัดสัมนาและฝึกอบรมต่างๆ ด้านสิทธิมนุษยชน ในส่วนของประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพในการจัดกิจกรรมต่างๆ ของคณะกรรมาธิการอย่างต่อเนื่อง เช่น ในปี 2556 งานอบรมเชิงปฏิบัติการด้านสิทธิมนุษยชนสำหรับเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย การประชุมปรึกษาหารือระดับภุมิภาค งานสัมนาเชิงปฏิบัติการของคณะกรรมาธิการฯ เรื่องการแลกเปลี่ยนแประบการณืประเทศอาเซียนในการจัดทำรายงานรายงานทบลทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน และงานสัมนาเชิงปฏิบัติการของคณะกรรมาธิการฯ เรื่องกลไกด้านสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาค
             การจัดทำ Thematic study เกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ด้านสิทะิมนุษยชน
              การแก้ไขเอกสารขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ ตามมาตรา 9.6 ระบุว่าคณะกรรมาธิการฯ ควรทบทวนเอกสารขอบเขตอำนาจห้น้าที่ได้ ระบุไว้ คณะกรรมาธิการณ จึงต้องมีการดำเนินการทบทวนเอกสารและจัดทำข้อเสอนแนะเกี่ยวกับการแก้ไขเพื่อส่งให้รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนซึ่งมีอำนาจในการแก้ไขเอกสารขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาะิการฯ การอนุญาตให้เอกสารขอบเขตอำนาจหน้าที่สามารถแก้ไขได้ทำให้คณะกรรมธิการ ฯ สามารถทบทวนภาระหน้าที่แะลกลไกขององค์กรที่ยังเป้นอุปสรรครอการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุยชนในภูมิภาค รวมถึงรับฟังความคิดเห็นขององค์กรภาคประชาสังคมเพื่อปรับปรุงและพัฒนาประสิทะิภาพการดำเนินงานขององค์กรต่อไป..
             การจัดทำตารางทางกฎหมายด้านสิทธิมนุษชยชนของอาเวียน ที่ผ่านมาอาเซียนยังไม่มีเครื่องมือทางกฎหมายในลักาณะดังกล่าว หสึ่งในภาระกิจอขงคระกรรมาธิการฯ คือการจัดทำอนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีผลผุกพันทางกำหมายต่อประเทศสมาชิก โดยอนุสัญญาดังกล่าวจะเป้ฯเรื่องการขจัดความรุนแรงในสตรี ในด้านกระบวนการจัดทำจะแตกต่างจากการจัดทำปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน โดยคณะกรรมธิการฯ มีแนวคิดที่จะให้องค์กรภาคประชาสังคมเข้ามามีบทบาทในการจัดทำร่างอนุสัญญาแทนการแต่งตั้งคณะผุ้จัดทำร่าง เพื่อสร้างความเป็นเจ้าขอ ปละกระบวนการที่โปร่งใส.... (www.aichr.or.th/.., พัฒนาการและความสำเร็จของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเวียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน)
     
         

       

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)