วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2559

Political Development

          การเมือง คือ  เรื่องราวของรัฐ,  การเมือง  คือ  เรื่องราวที่เกี่ยวกับอำนาจและอำนาจหน้าที่ อำนาจทางการเมือง คือ "อำนาจที่ใช้โดยรัฐ หรือบุคคลหรือกลุ่มบุคคล เพื่อให้รัฐดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง",  การเมือง คือ การแจกแจงสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม, การเมือง คือ เรื่องของพฤติกรรมต่างๆ ที่เป็นประเด็นสำคัญๆ ทางการเมือง เราจะพบว่าประเด็นที่เกี่ยวกับการเมืองที่เป็นประเด็นสำคัญ ๆ เช่น ความขัดแย้งอำนาจและอิทธิพล ผู้นำ การตัดสินนโยบายต่างก็มีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างใกล้ชิด ดังนั้นจึงพอสรุปได้ว่า "การเมือง" คือ การใช้อำนาจในการแจกแจงสิ่งที่มีคุณค่าในสังคมเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม                                                                                                                                            การพัฒนาทางการเมือง   คือ การเปลี่ยนแปลงชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในสังคมโดยมีเป้าหมายใดๆ ที่เเน่นอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้อำนาจเพื่อแจกแจงสิ่งที่มีคุณค่าให้กับสมาชิกของสังคมอย่างเป็นธรรมกว่าเดิม                                              แนวคิดการพัฒนาการเมืองนั้นเป็นวิธีการศึกษาการเมืองที่เกิดขึ้นร่วมสมัยกับการศึกษารัฐศาสตร์ในแนวพฤติกรรมศึกษา ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่วิชารัฐศาสตร์พยายามสร้างงานวิจัยที่เกี่ยวกับประเด็นปัญหาในสังคมจริงๆ ได้มาองปัฐหารอย่างมีจุดมุ่งหมาย ทีสสามารถนำไปแก้ปัญหาได้จริง และทำให้รัฐศาสตร์กลายเป็นศาสตร์บริสุทธิมากกว่าที่เป็นอยู่ แนวคิดพัฒนาการการเมืองมีการเรียนการสอนในระดับกระบวนทฤษฎี หรือในภาษาที่เป็นที่รู้จักมากกว่าคือเป็นวิธีวิเคราะห์การพัฒนาทางการเมือง ดังกล่าวซึ่งเป็นอิทธิพลทางอฤษฎีของนักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกันแกเบรียล อัลบมอนด์ ที่หยิบยืมวิธีวิเคราะห์มาจากวิธีวิเคราะห์โครงสร้างและหน้าที่ที่มองว่าการเมืองโดยรวมนั้นสามารถจะพัฒนาได้หากสมาชิกในสังคมมี "สำนึกพลเมือง"หรือ"วัฒนธรรมพลเมือง"ในการเข้าร่วมทางการเมืองอย่างแข็งขัน แต่หากสมาชิกในสังคมการเมืองวางเฉยทางการเมือง หรือรับรู้แต่ไม่เข้าร่วมทางการเมือง การเมืองนั้นก็จะด้อยพัฒนา                                             Lucian W. Pye มองว่าการพัฒนาการ เมืองนั้นเป็นโรคระบาดทางการเมืองอย่างหนึ่ง ที่มนุษย์ต้องการให้เกิดขึ้นกับระบบการเมืองการปกครองของรัฐ-ชาติตน เพราะสังคมการเมืองที่มีการพัฒนาการเมืองมาก โครงสร้างทางการเมืองจะสลับซับซ้อน มีการแบ่งงานตามความชำนาญเฉพาะด้าน เป็นหน่วยเล็กๆ ทำดำเนินการอย่างอิสระ แต่ยังคงประสานงานกับหน่่วยงานใหญ่หรือรัฐอยู่เสมอ สังคมการเมืองที่มีพัฒนาการในทางการเมืองจะเคารพในความเท่าเทียม สมาชิกในสังคมการเมืองจะมีสิทธิในการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง ในลักษณธหรือรูปแบบต่างๆ โดยเท่าเที่ยมกัน ภายใจ้กฎระเบียบที่เป็นการทั่วไปรวมถึงการเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะเป็นรื่องของความสามารถของบุคคลไม่ใช่เป็น
เรื่องของชาติตระกูล ที่ำสคัญที่สุดคือ ระบบการเมืองสมารถที่จะตอบสอนงข้อเรียกร้องจากเหล่าสมาชิกในสังคมการเมืองได้มากกว่า รวมทั้งามารถเปลี่ยนแปลงเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของระบบโครงสร้างทางสังคม โดยเอื้อต่อเป้าหมายใหม่ ๆ ของระบบอีกด้วย            ซามูเอล ฮันทิง สรุปการพัฒนาการเมืองว่าคือ ทฤษฎีการเทือง หรอืำระบวนการทฤษฎีที่มองว่าความสามารถที่ะรบบการเมืองทไใด้คนในสังคมสนับสนุนในกิจกรรมทางการเมืองและเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม โดยการระดมทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรธรรมชาติเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของสังคมและเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ของสังคม โดยเป้าหมายของพัฒนาการทางการเมืองคือ "การสร้างสถาบันเพื่อจัดระเบียบการมีส่วนร่วมทางการเมือง" เป็นสำคัญการที่ระบบการเมืองของสังคมจะทำงานในหน้าที่ได้อย่างสัมฤทธิ์ผลนั้น โครงสร้างอื่นๆ ทางเศรษฐกิจและสังคมจะต้องเอื้อประโยชน์หรือพัฒนาอย่างสอดคล้องกันด้วย การพัฒนาด้านหนึ่งด้านใดโดยไม่พิจารณาด้านอื่นๆ พร้อมกัน จะเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง                                                   นิยามของการพัฒนาการเมืองเปรียบเทียบในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ซึ่งพยายามศึกษาวิเคราะหืประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกัยการพัฒนาการเมือง และพบว่ามีประเด็นที่ำสำคัญๆ มากมาย และค่อนข้างสลับซับซ้อน จึงมีการสรุปการพยบายามนิยามการพัฒนาการเมืองดังนี้                                                                                           -การพัฒนาการเมืองเป็นพื้นฐษนทางการเมืองของการพัฒนาเศรษฐกิจ กล่าวคือการเมืองที่พัฒนาแล้วเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะเอื้ออำนายต่อความเจริญทางเศรษฐกิจ            -การพัฒนาการเมือง เป็นการเมืองของสังคมอุตสาหกรรม นั้นคือมีการมองกันว่าการเมืองในประเทศอุตสหกรรมไม่ว่าจะเป็นระบอบการเมืองใดจะมแบบแผนของพฤติกรรมของสมาชิกของสังคมในลักษณะที่มีเหตุผลรัฐบาลมีความรับผิดชอบต่อความสงบสุขและมีความเกิดีอยู่อีของประชาน ดังนั้นสังคมที่พัฒนาจนก้าวเข้าสู่สังคมอุตสาหกรรมได้นั้น ระบบการเมืองจะต้องมีระดับพัฒนาสูง ดังนั้น ลักษณะระบบการเมืองของสังคมอุตสหกรรมคือรูปธรรมของระบบการเมืองที่พัฒนาแล้วฤติ                                                                            - การพัฒนาการเมือง เป็นความเป็นทันสมัยทางการเมือง                                                     -การพัฒนาการเมือง เป็นเรื่องการดำเนินงานของรัฐชาติ กล่าวคือ รัฐชาติเลห่านี้สามารถที่จะปรบตัวและดำรงไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของสังคมได้ในระดับหนึ่ง แถมยังสร้างชาติลัทธิชาตินิยม อันถือว่าเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นต่อการพัฒนาการเมืองในแง่นี้ก็คือการสร้างชาติ                                                                                                                                                - การพัฒนาการเมือง หมายถึงเรื่ีองราวของการพัฒนาระบบบริหหารและกฎหมาย
      - การพัฒนาการเมือง เป็นเรื่องของการระดมพลและการมีส่วนร่วมทางการเมืองเมือง            - การพัฒนาการเมือง เป็นเรื่องของการพัฒนาประชาธิปไตย                                                - การพัฒนาการเมือง เป็นเรื่องของความมีเสถียรภาพและการเปลี่ยนแปลงที่เป็นระเบียบ
      - การพัฒนาการเมือง เป็นเรื่องของการระดมพลและอำนาจ
      - การพัฒนาการเมือง เป็นแง่หนึ่งของกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การที่สังคมที่อยู่ในะยะกำลังเปลี่ยนแปลงหรือสังคมที่กำลังพัฒนาจะก้าวไปสู่เป้าหมายที่ใฝ่หาคือภาวะการณ์ของสังคมสมัยใหม่นั้นจะต้องผ่านกระบวนการต่างๆ มากมายครอบคลุมในหลายๆ ด้านของประเด็นสังคม ซึ่งสรุปเป็น 2 ประเด็น คือ เศรษฐกิจและ การศึกษา    
    กระบวนการทางเศรษฐกิจ เมื่อสังคมเปลี่ยนแปลงสู่ความกินดีอยู่ดี โครงสร้างทางสังคมทั้งทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมจะต้องเปลี่ยนแปลง ต่างมุ่งที่จะพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มรายได้ประชาชาติต่อบุคคลให้สูงยิ่งขึ้น นั้นหมายความว่า สังคมนั้นๆ จะต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่การพัฒนาในด้านต่างๆ อาทิ เทคโนโลยี กล่าวคือจะต้องมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีให้ทันสมัยมีการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์เข้ามาประยุกต์ใช้, การเกษตรกรรม จาการปลูกเพื่อยังชีพเป็นการการเพาะปลูกพืชผักที่เป็นที่ต้องการของตลาด, การอุตสาหกรรม ใช้เครื่องจักรแทนแรงงานจากมนุษย์และสัตว์มากขึ้น มีการผลิตสินค้าเพื่อป้อนตลาด, สภาพแวดล้อม มีการย้ายถิ่นฐานจากชนบทเข้าสู่ตัวเมืองมากขึ้น และแน่นอนว่าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลกระทบตามมา ซึ่งผลกระทบที่เกิดจากกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจจะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างทางสังคมในหลายๆ ด้าน อาทิ โครงสร้างทางสังคมมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น เช่น เมื่อระบบอุตสาหกรรมเข้ามาแทนที่อุตสาหกรรมในครัวเรือน มีระบบการแบ่งงานกันทำตามความชำนาญเฉพาะด้าน ระบบการศึกษาจึงอยู่ในลักษณะที่เป็นทางการยิ่งขึ้น และจะทำหน้าที่ฝึกคนเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรม โรงเรียนจึงทำหน้าที่แทนครอบครัวและวัด เป็นต้น เมื่อเกิดการพัฒนา กิจกรรมเศรษฐกิจแบบเก่าๆ จะเปลี่ยนแปลงไป มีระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเกิดขึ้น ระบบเงินตราจะเป็นตัวบังคับให้สินค้าและบริการเพิ่มพูนขึ้น และจะลดบดบาดความสำคัญของระบบศาสนา ครอบครัว หรือระบบวรรณะ ซึ่งเป็นสถาบันที่ควบคุมกิจกรรมการผลิตในอดีต ครอบครัวจะทำหน้าที่เฉพาะอย่างเพิ่มมากขึ้น ครอบครัวไม่ได้เป็นหน่วยในทางเศรษฐกิจอีกต่อไป สมาชิกในครอบครัวจะเริ่มออกจาบ้านไปหางานทำในตลอดแรงงาน ทั้งนี้ระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่จะเป็นตัวสร้างค่านิยม ปทัสถานใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น เช่น ระบบอาวุโสจะหมดความสำคัญลงไป การคัดเลือกคนจะพิจารณาตามความสามารถ หรือผลสัมฤทธิทางการเรียนรู้และประสบการณ์มากกว่า ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้อาจส่งผลต่อเสถียรภาพของระบบการเมือง  ในขณะที่เศรษฐกิจจะเติบโต คนก็จะเริ่มไม่พึงพอใจต่อสภาพสังคมมากขึ้น และในอัตราที่รวดเร็ว ระบบการเมืองที่ไม่สามารถพัฒนาให้ทันกับอัตราความเจริญทางเศรษฐกิจก็จะไร้เสถียรภาพ                            กระบวนการทางการศึกษา  กล่าวกันว่าการศึกษาเป็นทั้งผลผลิตและเครื่องมือที่สำคัญยิ่งของสังคม ดังนั้นในการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเพื่อสู่การพัฒนา ก็จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาสอดคล้องกันไปด้วย มีนักวิชาการกล่าวว่า ยิ่งระดับการศึกษาของคนในชาติสูงเพียงไร โอกาสที่ชาตินั้นจะปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคงก็นจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ทุกๆ สังคมต่างตระหนักในความสำคัญของการศึกษาเป็นอย่างดี โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาต่างก็พยายามที่จะเร่งผลิตคนที่มีกำลังสมองออกมาเพื่อหวังให้ช่วยพัฒนาประเทศ แต่กระบวนการทางการศึกษาตลอดจนระบบการศึกษาในประเทศกำลังพัฒนาจะนำมาซึ่งปัญหาทางสังคมหลายประการ อาทิ "ความเสมอภาคในโอกาส" ซึ่งเกิดจากความแต่งต่างทางชนชั้นในสังคม "เสกสรร ประเสริฐกุล" ตั้งข้อสังเกิตว่า "... ระบบการศึกษาหันมาผลิตคนให้กับสังคมสมัยใหม่ ซึ่งเน้นในการใช้ระดับการศึคกษาเป็นเครื่องวัดความสามารถของคน ทำให้ทุกคนพยายามเรียนเพื่อให้ได้ประกาศนียบัตรหรือปริญญาเพื่อที่คนจะได้ไต่ขึ้นไปอยู่ในลำดับที่สูงของสังคม.. การศึกษา จึงไม่ใช่กาณศึกษาเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและความสามารถที่แท้จริง แต่เป็นการแสวงหาใบรับรองค่าของตน ซึ่งนี้เป็นความผิดของชนชั้นผู้ปกครองที่ไปรับเอาแบบสังคมสมัยใหม่มาโดยที่ส่วนต่างๆ ของสังคมยังไม่พร้อม จึงทำให้คนที่มีโอกาสได้รับการศึกษาสูงซึ่งมีอยู่เป็นจำนวน้อยเป็นผุ้ที่มีค่าสูงในสังคม ซึ่งผลตามมาก็คือค่าของประกาศนียบัติหรือปริญญามีความสำคัญมากกว่าความรู้ดังกล่าว...การศึกษาจึงอยู่ในฐานะเป็นเครื่องมือนำปัจเจกบุคคลไปสู่สถานภาพแห่งชนชั้นนำในสังคมปัจจุบันเท่านั้น" นอกจากจากนี้การศึกษาในะบบนี้ก่อให้เกิดผลเสียต่อการลงทุน และความไม่ยุติธรรมต่อคนส่วนใหญ่ ระบบการศึกษามักใช้ทฤษฏีและแนวคิดของตะวันตก และในบางครั้งสิ่งที่ทำการศึกษาอยู่นั้น ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมของตนเอง การศึกษาถูกมองว่าไม่ได้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาของสังคม แต่เป็นเพียงเครื่องมือรับใช้ชนชั้นผู้ปกครอง ตลอดจนระบบการปกครองที่เป็นอยู่ผลตามมาจาการพัฒนาเศรษฐกิจและการศึกษาก็คือความคาดหวังที่ประชาชนต้องการจากรัฐที่เพิ่มมากขึ้น และแน่นอนว่าถ้าสถาบันทางการเมืองที่มีอยู่ไม่สามารถกสกัดกั้นข้อเรียกร้องที่เพิ่มมากขึ้นได้ การไร้เสถียรภาพทางการเมืองก็จะเกิดขึ้นโดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และปัญหานี้เป็นปัญหาที่สำคัญยิ่งของประเทศกำลังพัฒนา
                                                                       

Political Socialization

              เนื่องจากวัฒนธรรมทางการเมือง เป็นเรื่องของความรู้ ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม แนวคิดและพฤติกรรมของบุคคลในสังคม วัฒนธรรมทางการเมืองจึงมีอิทธิพลต่อบุคคลซึ่งเป็นสมาชิกของสังคมในหลายประการด้วยกัน
              ที่มาของวัฒนธรรมทางการเมือง  ความโน้มเอียงทางการเมืองอันประกอบด้วย ความรู้ ความเชื่อ ความรู้สึกและประเมินค่าในทางการเมือง ซึ่งรวมกันเข้าเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองของบุคคลแต่ละคนในสังคมนี้ คนจะได้มาและสามารถที่จะถ่ายทอดไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งได้โดยผ่านทางกระบวนการที่เรียกว่า "การเรียนรู้ทางการเมือง"กระบวนการชนิดนี้ ถือได้ว่าเป็นตัวกลางที่เชื่อโยงระหว่างวัฒนธรรมกับมนุษย์ กล่าวคือ เป็นตัวที่ดึงเอาวัฒนธรรมเข้าไปมีส่วนหรือมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์อย่างมากมาย บางครั้งกระบงวนการเรียนรู้ทางการเมืองนี้ ถูกใช้เป็นเครื่องมือในทางการเมืองของผู้นำ เช่น กรณีของจีน คิวบา และสหภาพโซเวียตรัสเซีย เป็นต้น
กระบวนการการเรียนรู้ทางการเมือง
                Kenneth P. Langton  นิยามว่า การเรียนรู้ทางการเมือง คือ "กระบวนการที่บุคคลได้เรียนรู้แบบแผนพฤติกรรม และอุปนิสัย ในทางที่เกี่ยวเนื่องกับการเมืองโดยผ่านทางสื่อกลางต่าง ๆ ของสังคม สือกลางเหล่านี้รวมถึง สิ่งแวดล้อมทั้วๆ ไป เช่น ครอบครัว กลุ่มเพื่อผูง โรงเรียน สมาคมผู้ใหญ่ และสื่อสารมวลชนต่าง ๆ
                Dawson & Prewitt ได้สรุปข้อคิดเห็นไว้ว่า กระบวนการเรียนรู้ทางการเมือง คือ "กระบวนการของการพัฒนาซึ่งบุคคลแต่ละคนจะได้มา ซึ่งโลกทัศน์ทางการเมือง"
                Michael & Phillip Athoff นักสังคมวิทยาการเมืองทั้งสองท่านได้ให้คำจำกัดความของกระบวนการเรียนรู้ทางการเมืองไว้ดังนี้ " เป็นกระบวนการซึ่งบุคคลแต่ละคนรู้ตนเองว่าอยู่ในระบบการเมือง ทำให้เกิดมโนคติหรือ ปฏิกริยาต่อปรากฎการณ์ทางการเมือง กระบวนการนี้เกิดขึ้น จากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรมของสังคมที่บุคคลนั้นเป็นสมาชิกอยู่ และยังเกิดจากกรบวนการ มีบทบาทต่อกันในระหว่างบุคลิกภาพ และประสบการณ์ของบุคคลแต่ละคนนั้นอีกด้วย"
               หน้าที่ของกระบวนการเรียนรู้ทางการเมือง
               กระบวนการเรียนรู้ทางการเมืองมีบทบาท หน้าที่ที่สำคัญหลายประการด้วยกัน ในที่นี้เราอาจจะสรุปหน้าที่หลักของกระบวนการเรียนรู้ทางการเมืองที่พึงมีต่อวัฒนธรรมทางการเมือง ดังนี้
                       1. รักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมทางการเมือง หมายถึง การที่คนรุ่นเก่าอบรมสั่งสอน เพื่อสืบทอดค่านิยมทางการเมือง ทรรศนะ ปทัสถาน และความเชื่อไปยังคนรุ่นใหม่ของสังคม การให้การเรียนรู้ทางการเมืองโดยหวังที่จะรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมทางการเมืองเดิมนั้น อาจจะทำได้โดยผ่านสื่อกลางต่าง ๆ ที่เราได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
                        2. ปฏิรูปวัฒนธรรมทางการเมือง ทุกสังคมย่อมประสบกับการเปลี่ยนแปลงซึ่งจะมีผลกระทบต่อแนวโน้มทางการเมืองของประชาชนไม่มากก็น้อย กระบวนการเรียนรูจะเป็นตัวช่วยให้ข่าวสารใหม่ๆ อันจะนำไปสู่การปฏิรูปวัฒนธรรมทางการเมืองได้เป็นอย่างดี
                        3. สร้างวัฒนธรรมทางการเมือง ปัญหาที่สำคัญย่ิง ที่ประเทศเกิดใหม่ประสบก็คือพวกเขาพบว่าตนเองอยู่ในชุมชขนทางการเมืองใหม่ที่ยังไม่มีภาษา วัฒนธรรม ศาสนา หรือแม้แต่ศัตรูร่วมกัน ปัญหาของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภาระในชาติจะเกิดขึ้น สิ่งแรกและถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ผู้นำจะต้องกระทำก็คือ การสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองร่วมกัน หรือ สร้างค่านิยม ความเชื่อร่วมกันอันเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชนให้เกิดขึ้นมาให้ได้ ในสภาพของความสับสนหลังจากการได้เอกราชนี้ กระบวนการเรียนรู้ทางการเมืองจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการช่วยก่อให้เกิดวัฒนธรรมทางการเมืองอันจะนำมาซึ่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของชาติได้

                   การเรียนรู้ทางการเมืองโดยสรุปกระบวนการทีสำคัญๆ ได้แก่
                         1. การเรียนรู้ทางการเมืองโดยทางอ้อม มีด้วยกัน สามรูปแบบ ได้แก่ การถ่ายโอนระหว่าวบุคคล รูปแบบนี้เชื่อว่าเด็กได้รับการเรียนรู้ทางการเมือง แรกเริ่มจากปรสบการณ์ที่ได้สัมพันธ์ติดต่อกับบุคลลในครอบครัวและโรงเรียน และยึดประสบการณ์นั้นๆ เป็นหลัก นักวิชาการจิตวิทยาวัฒนธรรม และสังคมวิทยาการเมืองเชื่อว่า อุปนิสัยของคนจะเป็นประชาธิปไตยหรืออำนาจนิยมนั้นขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ติดต่อที่เขามีต่อบุคคลที่มีอำนาจในสมัยเด็กๆ เช่น ถ้าเด็กได้รับการอบรมจากครอบครัวที่เป็นอำนาจนิยม เมื่อเติบโตขึ้น เขาจะมีแนวโน้มไปในแง่ของอำนาจนิยม และจะมีวัฒนธรรมทางการเืองที่เป็นอุปสรรคต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย.. ประการที่สอง การฝึกหัดอบรม รูปแบบนี้จะสัมพันธ์กับรูปแบบแรกอย่างใกล้ชิด กล่าวคือ เกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่มีต่อบทบาทที่ไม่ใช่ทางการเมือง ทำให้บุคคลแต่ละคนมีลักษณะและค่านิยมซึ่งสามาถใช้ในแวดวงการเมืองได้ เช่น การฝึกอบรมให้เด็กเรียนรู้ที่จะแข่งขันกันโดยเคารพต่อกฎกติกา..ประการสุดท้าย ระบบความเชื่อพื้นฐานและแบบแผนค่านิยมของวัฒนธรรมไดๆ อันเป็นค่านิยมโดยทั่วไป ที่ไม่ได้เกี่ยวกับสรรพสิ่งทางการเมืองใโดยเฉพาะ มักจะมีบทบาทที่สำคัญในการสร้างวัฒนธรรมทางการเมือง มิติต่างๆ ของความเชื่อพื้นฐาน เช่น ทรรศนะว่าด้วยความเกี่ยวพันกันระหว่างคนกับธรรมชาติ ความคาดหวังในอนาคต ทรรศนะว่าด้วยธรรมชาติของมนุษย์ และว่าด้วยหนทางที่เหมาะที่ควรที่จะเข้าหาบุคคล ตลอดจนความโน้มเอียงต่อกิจกรรม และความเชื่อในเรื่องของการกระทำกิจกรรมโดยทั่วไป มักจะขึ้นต่อกันอย่างชัดแจ้งกับทัศนคติทางการเมือง
                        2. การเรียนรู้ทางการเมืองโดยตรง ประการแรก การเลียนแบบ คือเป็นวิธิการที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะอยู่ในวัยเด็กหรือผู้ใหญ่ ฉลาดหรือโง่เขลา..ประการที่สอง การเรียนรู้โดยการคาดไว้ล่วงหน้า เป็นแนวคิดของนักสังคมวิทยาที่มีทรรศนะ่า คนที่สร้างความหวังที่จะได้งานดีหรือมีฐานะทางสังคมดี มักจะเริ่มฝึกเอาค่่านิยมและพฤติกรรมของคนที่มีงานดีหรืออยู่ในฐานะทางสังคมที่สูงแล้ว มาเป็นของตนก่อนที่เราจะได้งานหรืออยู่ในฐานะนั้นๆ เสียอีก ..ประการต่อมา การศึกษาทางการเมือง คือวิธีการเรียนรู้ทางการเมืองอย่างตรงไปตรงมา สังคมจะต้องให้การศึกษาทางการเมือง โดยมุ่งที่จะกระตุ้นให้สมาชิกของสังคมเกิดความจงรักภักดี มีความเป็นชาตินิยมและสนับสนุนสถาบันทางการเมือง...ประการต่อมา ประสบการณ์ทางการเมืองโดยตรง บางคนอาจเรียนรู้ทางการเมืองโดยมีการติดต่อสัมพันธ์กับนักการเมือง โครงสร้างหรือเหตุการณ์การทางการเมือง นักวิชาการยังพบว่า การเฝ้าสังเกตและการไปเกี่ยวข้องกับการเมืองนั้นจะเป็นปัจจัยสำคัญในการขัดเกลาความโน้มเอียงทางการเมืองของบุคคลนั้น นอกจากนี้มีการศึกษาที่พบว่าแนวโน้มที่คนจะสนับสนุนโครงสร้างทางการเมืองมี่เป็นอยู่ ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจที่บุคคลนั้นมีต่อนโยบาย หรือผลผลิตที่ได้จากการตัดสินใจของรัฐบาลและอีกประการหนึ่งคือ การติดต่อโดยตรงกับนักการเมือง หรือเจ้าหน้าที่รัฐบาล ซึ่งวิธีการเรียนรู้แบบนี้จะช่วยสร้างความมั่นใจในตนเองให้เกิดขึ้นในตัวบุคคลและจะส่งผลให้เขารู้สึกว่าตนเองมีความสามารถที่จะส่งผลกระทบหรือเข้าไปมีอิทธิพลต่อการตัดสินนโยบายทางการเมืองได้
             ขั้นตอนการเรียนรู้ทางการเมือง  การเรียนรู้ทางการเมืองของบุคคลจะเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาตลอดชีวิตโดยจะย่นขั้นตอนต่าง ๆ ที่สำคัญๆ ดังนี้
              - ครอบครัวเป็นสถาบันที่มีความสำคัญที่สุในขั้นตอนนี้ คือ เป้ากมายของการเรียนรู้ในขันนี้ก็คือ เพื่อให้มนุษย์เรียนรู้วิธีการดำรงชีวิตอยู่ในสงคมร่วมกับผู้อื่นได้
               - ขั้นต่อไป เมื่อเด็กมีเอกลักษณ์ส่วนตัวและมีการพัฒนาไปสู่การมีพื้นฐานความรู้และความเชื่อ สิ่งสำคัญที่เด็กเรียนรู้ในขั้นตอนนี้คือ สภาพของอำนาจอันชอบธรรม ความเชื่อถือไว้วางใจผู้อื่น บางสังคมให้การอบรมเด็กโดยสอนใไม่ให้ไว้ใจคนอื่น ผลที่ตามมาทำให้ชาวพม่าไม่ให้ความเชื่อถือไว้วางใจนักการเมือง หรือสถาบันทางการเมือง จึงทำให้การเมืองพม่ามักจะใช้วิธีการรุนแรง
               - ต่อมา เป็นขั้นตอนที่คนเริ่มได้รับการเรียนรู้ทางการเมืองของสังคม มีประสบการทางการเมือง ติดต่อกับนักการเมืองได้รับความรู้จากพรรการเมืองสื่อมวลชนและกำรบวนการเลือกตั้งเป็น ขั้นตอนนี้ จะทำให้คนมีบุคลิกภาพ มีทัศนคติ ความรู้สึก ค่านิยมทางการเมือง รวมทั้งสาสารถพินิจพิเคราะห์ หรือรู้จักประเมินค่าในทางการเมืองได้
               - ขั้นต่อมา คนจะมีความรู้ ความเข้าใจ และเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง อย่างกระตือรือร้น มีความรู้สึกว่าการเมืองกับตนเองแยกกันไม่ได้ และเชื่อว่า ตนเองสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางการเมือง และมีอิทธิพลต่อการตัดสินนโยบายของรัฐ
               นอกจากขั้นตอนการเรียนรู้ดังกล่าว ปัจจัยที่มีอิทธิพลที่ทำให้เกิดวัฒนธรรมทางการเมืองในลักษณะใดๆ ขึ้นมา ปัจจัยเหล่านี้ประกอบด้วย  เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ คือ เหตะการณ์ที่สังคมนั้น ประสบในอดีต ซึ่งอาจมีส่วนในการกำหนดพฤติกรรมของคนที่พึงมีต่อระบบการเมืองในปัจจุบัน.. สภาพภูมิศาสตร์ของสังคม... สภาพทางเศรษฐกิจของสังคม ประเทศอุตสาหกรรมที่มีระดับการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับสูง จะมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดวัฒนธรรมทางการเมืองแบบเข้ามีส่วนร่วม ในขณะที่สังคมซึ่งเป็นสังคมเกษตรกรรม มีระดับของการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมอยู่ในชั้นต่ำ มักจะมีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบดั้งเดิมหรือแบบไพร่ฟ้า..ขนบธรรมเนียมประเพณีทางการเมือง ลัษณะของขนบธรรมเนียมประเพณีทางการเมือง ในแต่ละประเทศย่อมผิดแผกแตกต่างกันไม่มากก็น้อย บางประเทศเน้นที่การสร้างเอกลักษณ์ของขาติ ธงชาติ เพลงขาติ ฯ เหล่านี้จะมีส่วนในการสร้างเสริมค่รนิยม ความเชื่อบางประการ อันเป็นผลให้วัฒนธรรมทางการเมืองในแต่ละประเทศแตกต่างกันไม่มากก็น้อย
            วัฒนธรรมทางการเมืองเชิงปฏิบัติ
             การที่ะรู้ว่าสังคมใดมีวัฒฯธรรมทางการเมืองในลักษณะใด เราอาจดูได้จากทัศนคติของประชาชนที่มีต่อระบบการเมือง กล่าวคือ
              - ระบบการเมืองโดยส่วนรวม ในระดับนี้อาจดูได้จากระดับความชอบธรรมของระบบการเมืองเอง ถ้าประชาชนมีความเชื่อว่าพวกเขาจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ความชอบธรรมของระบบก็จะสูง ในทางตรงกันข้าม หากประชาชนไม่เห็นประโยชน์จากการเคารพกฎหมายแล้ว ความชอบธรรมของระบบจะต่ำประชาชนจะยอมรับในความชอบธรรมของรัฐบาลด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไปหลายประการ ถ้าหากผู้นำหรือรัฐบาลมีความขอบธรรมแล้ว การที่ประชาชนจะให้การสนับสนุนและเข้ามีส่วนร่วมอย่างเหมาะอย่างควร ในสังคมที่มีระดับของความชอบธรรมในรัฐบาลต่ำ มักจะนำไปสู่วัฒนธรรมทางการเมืองในลักษณะที่ใช้กำลังรุนแรง...
              - กระบวนการทางการเมือง หมายถึง ลักษณะแนวโน้มที่บุคคลจะเข้าเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางการเมือง เช่น เรียร้องต่อระบบ เคารพกฎหมาย ..ในระบบการเมืองแต่ละระบบย่อมที่จะมีระดับของวัฒนธรรมทางการเมืองแบบเข้ามีส่วนร่วมในการะบวนการทางการเมือง แตกต่างกันไป นักวิชาการทางการเมือง ได้จำแนกระบบการเมืองที่มีอยู่ในดังนี้
                          1. ระบบการเมืองของสังคมอุตาสาหกรรมแบบประชาธิปไตย
                          2. ระบบการเมืองของสังคมอุตสหกรรมแบบอำนาจนิยม
                          3. ระบบการเมืองของสังคมที่อยู่ในระยะกำลังเปลี่ยนแปลงที่ใช้ระบอบอำนาจนิยม
                          4. ระบบการเมืองของสังคมยุคก่อนอุตสาหกรรมแบบประชาธิปไตย
                 และระบบดังกล่าวนี้จะมีส่วนผสมของวัฒนธรรมทางการเมืองในรูปแบบต่างๆ แตกต่างกันไป
                       3. นโยบาย คือดูว่านโยบายในลักษณะใดที่ประชาชนคาดว่า รัฐบาลจะสนองตอบเป้าหมายที่รัฐบาลวางไว้ และวิธีการที่จะดำเนินการไปสู่เป้าหมายเป็นอย่างไร ในการที่จะเข้าใจการเมืองของประเทศใด เราควรจะต้องเข้าใจประเด็นปัญหาที่ประชาชนใส่ใจ และประเด็นปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องที่รัฐบาลจะต้องมีนโยบายในลักษณะใดๆ เพื่อแก้ไขและดำเนินการ ประชาชนในแต่ละประเทศจะแตกต่างกันในแง่ของความสำคัญที่พวกเขาให้ต่อนโยบายของรัฐ ในางสังคมประชาชนให้ความสำคัญกับทรัพย์สินส่วนบุคคล บางสังคมถือเป็นกฎว่าทรัพย์สินต้องเป็นส่วนรวม...
              วัฒนธรรมทางการเมืองในแต่ละสังคมจะอยู่ในลักษณะใดนั้นขึ้นอยู่กับทัศนคติของประชาชนที่มีต่อความชอบธรรม นโยบายและกระบวนการทางการเมืองที่เป็นอยู่ และทัศนคติของประชาชนในแต่ละระดับอาจจะกลมกลืนหรือขัดแย้งกันก็ได้


         

วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2559

Political Culture

            วัฒนธรรม โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย และความเหมาะสม วัฒนธรรมส่วนหนึ่งแสดงออกผ่าน ดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การละครและภาพยนตร์ แม้บางครั้งอาจมีผู้กล่าวว่าวัฒนธรรมคือเรื่องที่ว่าด้วยการบริโภคและสินค้าบริโภค เช่น วัฒนธรรมระดับสูง วัฒนธรรมระดับต่ำ วัฒนธรรมพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมนิยม เป็นต้น ทั้งนี้ นักมานุษยวิทยา ยังรวมไปถึง เทคโนโลยี ศิลปะ วทิยาศาสตร์ และศีลธรรมด้วย
            วัฒนธรรมทางการเมือง เป็นตัวแปรที่สำคัญของแต่ละประเทศที่จะทำให้ประเทศนั้น ๆ ม่ีเสถียรภาพทางการเมือง แม้จะเป็นประเทศที่มีระบอบการปกครองเหมือนกัน มีระบบโครงสร้างเหมือนกันแต่เสถียรภาพทางการเมืองอาจไม่เหมือนกัน คำว่าวัฒนธรรมทางการเมืองมีผู้ให้นิยามไว้ดังนี้
             Lucain W. Pye ได้ให้นิยามว่า "วัฒนธรรมทางการเมือง คือแบบแผนของทัศนคติ ความเชื่อสภาวะอารมณ์ ความรู้สึกซึ่งเป็นสิ่งที่สั่งการ และมีความหมายต่อกระบวนการทางการเมือง เป็นกรอบของพฤติกรรมของระบบการเมืองนั้นๆ ส่วนประกอบของวัฒนธรีรมทางการเมืองมีทั้งอุดมคติทางการเมือง และปทัสถาน ในการดำเนินการของระบบการเมือง กล่าวอีกนัยหนึ่ง วัฒนธรรมทางการเมือง คือ รูปแบบของมิติทางจิตวิทยา และอัตวิสัยของการเมืองที่ปรากฎอยู่ในระบบการเมืองแต่ละระบบ"......
              Jarol B. Manheim ได้ให้นิยามว่า "วัฒนธรรมทางการเมือง คือแบบแผนของความเชื่อและทัีศนคติร่วมที่เกี่ยวกับเป้าหมายอันเดียวกันและการประเมินค่าที่เหมือนกัน ตลอดจนการมีความเห็นพ้องต้องกัน อันเป็นผลจากการที่ได้รับประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์เดียวกัน"
              Gabriel A Almond & G" Binghsm Powell Jr. ได้ให้นิยามว่า "เป็นแบบแผนทัศนคติ และความโน้มเอียงต่อการเมืองของบุคคลแต่ละคนที่เป็นสมาชิกของระบบการเมืองใดๆ แบบแผนของทัศนคติและความโน้มเอียงนีเป็นเรื่องเชิงอัตวิสัย ซึ่งเป็นฐานที่สำคัญอันก่อให้เกิดกิจกรรมทางการเมืองขึ้น ความโน้ามเอียงของบุคคลแต่ละคนนีจะเกี่ยวกับองค์ประกอบหลายอย่าง ได้แก่ ความโน้มเอียงทางการรับรู้ หมายถึง ความรู้เรื่องที่เกี่ยวกับยสรรพสิ่งหรือความเชื่อทางการเมืองซึ่งอาจจะถูกต้องหรือไม่ก็ได้ ความโน้มเอียงทางความรู้สึก หมายถึง ความรู้สึกเกี่ยวพัน เกี่ยวข้อง การยอมรับหรือไม่ยอมรับในสรรพสิ่งทางการเมือง และ ความโน้มเอียงทางการประเมินค่า หมายถึงการตีค่าและความคิดเห็นในสรรพสิ่งทางการเมือง ซึ่งมักจะมีการใช้มาตรการค่านิยมมาเกี่ยวข้องกับสรรพสิ่ง และเหตุการณ์ทางการเมือง"
              Eric Rowe ได้ให้ความเห็นในลักษณะเดียวกันว่า วัฒนธรรมทางการเมืองเป็นแบบแผนอย่างหนึ่งของค่านิยม ความเชื่อ และทัศนคติด้านความรู้สึกทั้งหลายของบุคคลแตะละคน
              Gabriel Almond& Jomes Coleman ได้สรุปไว้ว่า "วัฒนธรรมทางการเมือง หมายถึง ทรรศนะและความโน้มเอียงทางการเมืองที่คนมีต่อระบบและส่วนต่างๆ ของระบบการเมืองตลอดจนทัศนคติเกี่ยวกับบทบาทของตนเองที่มีในระบบการเมือง... ดังนั้น วัฒนธรรมทางการเมืองของชนชาตคิหนึ่งๆ ก็คือ ลักษณะทัศนคติและความโน้มเอียงในรูปแบบต่างๆ ของสมาชิกในสังคมที่มีต่อระบบแลฃะส่วนต่าง ๆ หรือกิจกรรมทางการเมืองซึ่งมีอยู่โดยทั่วๆ ไปในชาตินั้นๆ
             Sidney Verba ได้ให้ความเห็นว่า วัฒนธรรมทางการเมือง หมายถึง "ระบบความเชื่อที่เกี่ยวกับแบบแผนของกิจกรรมทางการเมือง และสถาบันทางการเมืองไม่ได้หมายถึง สิ่งต่างๆ ทางการเมืองที่เกิดขึ้นทั้งมวล แต่หมายถึงสิ่งที่ประชนเชื่อในสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งความเชื่อเหล่านี้อาจจะอยู่ในหลายลักษณะ เช่นควยามเชื่อในแง่ประจักษ์ในวิถีชีวิตที่เป็นจริงในทางการเมือง หรืออาจจะเป็นความเชื่อในเป้าหมาย หรือคึ่านิยมซึ่งควรจะเข้ามาใช้ปฏิบัติก็เป็นได้"
           Milton Yinger ได้สรุปไว้ว่า วัฒนธรรมทางการเมือง หมายถึง ทัศนคติและการอบรมที่บุคคลแต่ละคนได้รับจากระบบการเมืองนั้น ซึ่งประกอบด้วย ความรู้สึกนิยมหรือไม่นิยมในระบบการเมืองและการประเมินค่าต่อเหตุการณ์ทางการเมือง
           อาจสรุปได้ว่าวัฒนธรรมทางการเมืองหมายถึงแบบแผนของทัศนคติ หรือความโน้มเอียงทางความเชื่อ และค่านิยมของบุคคลที่พึงมีต่อระบบการเมืองและส่วนต่าง ที่ประกอบเป็นระบบการเมืองซึ่งสิงเหล่านี้จะเป็นปัจจัยที่สำคัญในการกำหนดพฤติกรรมทางการเมืองของบุคคลในระบบการเมืองนั้นๆ ด้วย
          และความโน้มเอียงทางความเชื่อนี้ Almond & Verba ได้ให้รายละเอียดไว้ว่า หมายถึง "ประเด็นที่อยู่ภายในของสิ่งใดๆ ตลอดจนความสัมพันธ์ด้วย" ความโน้มเอียงนี้ประกอบไปด้วย
                         - ความโน้มเอียงทางการการรับรู้ นั่นคือ ความรู้และความเชื่อเกี่ยวกับระบบการเมืองบทบาทตลอดจนอิทธิพลของบทบาท ปัจจัยนำเข้าและปัจจัยที่ออกนอกระบบ เช่นรู้ว่าระบอบประชาธิปไตยมีการเลือกตั้งฯ
                          - ความโน้มเอียงทางความรู้สึก หมายถึง ความพึงพอใจต่อระบบการเมืองที่เป็น บทบาท บุคลากร ตลอดจนการดำเนินงานต่าง ๆ เช่น รู้สึกไม่พึงพอใจในการทำงานของนายดรัฐมนตรี
                          - ความโน้มเอียงทางการประเมินค่า หมายถึง การตีค่าและความเหนเกี่ยวกับสรรพสิ่งทางการเมือง ซึ่งปกติจะเกี่ยวพันกับมาตรฐานค่านิยมรวกับ ข่าวสารและความรู้สึกของบุคคล เช่น เห็นว่ารัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ควรจะเด็ดขาดกว่าที่เป็นอยู่
           ในการที่จะทราบได้ว่า ความโน้มเอียงทางการเมืองของบุคคลแต่ละคนจะเป็นอย่างไรนั้น เราอาจดูได้จากปัจจัยหลัก 4 ประการ คือ บุคคลนั้นมีความรู้เกี่ยวกับประเทศชาติ และระบบการเมืองในแง่ทั่วๆ ไปอย่างไร รู้ประวัติศาสตร์ ขนาดของประเทศ ที่ตั้ง อำนาจลักษณะของรูปการปกครองอย่างไร,ประการที่สอง บุคคลนั้นมีความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างแลบทบาทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองอย่างไ รู้เกี่ยวกับยกร่างนโยบายอย่างไร และมความรู้สึกหรือความเห็นต่อโครงสร้างผู้นำและยกร่างนโยบายอย่างไร, ประการที่สาม บุคคลนั้น มีความรู้เกี่ยวกับการบังคับใช้นโยบาย โครงสร้างบุคคล ตลอดจนกระบวนการในการตัดสินนโยบายอย่างไร บุคคลมีความรู้สึกและความเห็นต่อประเด็นเหล่านี้อย่างไร, ประการที่สี่ บุคคลนั้นมองตนเองในฐานะที่เป็นสมาชิกของระบบการเมืองอย่างไร มีความรู้เกี่ยวกับสิทธิ อำนาจ พันธกรณี และกลยุทธ์ในการที่จะเข้าไปมีอิทธิพลต่อการตัดสินนโยบายอย่างไร มีความรู้สึกและสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างไร
             ความโน้มเอียงทางการเมืองของบุคคลแต่ละคนที่พึงมีต่อปัจจัยหลักทั้ง 4 ประการนี้เองจะนำไปสู่การจัดประเภทของวัฒนธรรมทางการเมือง ดังที่เราจะได้กล่าวต่อไป
             ประเภทของวัฒนธรรมทางการเมือง Almond & Verba ได้จำแนกวัฒนธรรมทางการเมืองตามลักษณะของแนวโน้มทางการเมืองออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ วัฒนธรรมทางการเมืองแบบดังเดิม (Parochial Political Culture), วัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้า (Subject Political Culture), วัฒนธรรมทางการเมืองแบบเข้ามีส่วนร่วม (Participant Political Culture)
             1. วัฒนธรรมการเมืองแบบดั้งเดิม เป็นวัฒนธรรมทางการเมืองของสังคมดั้งเดิม เช่น สังคมเผ่าในอัฟริกา ซึ่งเป็นสังคมที่ไม่มีบทบาททางการเมืองในลักษณะของความชำนาญเฉพาะด้านกล่าวคือ หัวหน้าเผ่าคงวมีบทบาทที่เหลื่อมล้ำกันอยู่ทั้งทางเศรษฐกิจ การเมืองและทางศาสนา และสังคมได้ ฉะนั้นเราจึงพบว่า ความรู้ ความเข้าใจ และความผูกพันที่คนพึงมีต่อระบบการเมืองโดยทั่วๆ ไปจึงไม่มี เช่น ไม่รู้ว่าใครเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่รู้ถึงระบอบการปกครองที่เป็นอยู่ ไม่เรียกร้องต่อระบบการเมือง ไม่รู้จักกฎเกณฑ์หรือนโยบายใดๆ
           2. วัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้า ในสังคมที่มี่ลักษณะของวัฒนธรรมทางการเมืองแบบนี้ สมาชิกของสังคมจะมีความรู้ ความเข้าใจ ในระบบการเมืองโดยทั่วๆ ไป เช่น รู้ว่าใครเป็นนายกรัฐมนตรี ระบอบการปกครองที่เป็นอยู่เป็นระบอบประชาธิปไตย ในขณะเดียวกัน พวกนี้จะยอมรับอำนาจรัฐ เคารพเชื่อฟังและปฏิบัติตามกฏหมาย แต่พวกนี้จะไม่เรียกร้อง ไม่เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยถือว่าตนเองกับการเมืองอยู่คนละโลก การเมืองเป็ฯเรื่องของผู้มีอำนาจหรือมีบารมี ส่วนตนเป็ฯเพียงประชาชนซึค่งอยู่ใต้การบังคับบัญชา และมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งหรือนโยบายเท่านั้น
            3. วัฒนธรรมทางการเมืองแบบเข้ามีส่วนร่วม หมายถึง วัฒนธรรมทางการเมืองของสังคมที่บรรดาสมาชิกต่างมีความรู้ ความเข้าใจ มีความผูกพันต่อระบบการเมือง พวกนี้จะเรียกร้องหรือเข้าไปมีส่วนร่วมในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ระบบการเมืองสนองตอบต่อการความต้องการของพวกเขานั้นคือ คนในสังคมนี้จะมีความรู้สึกว่าเขาสามารถที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางการเมืองได้ นอกจากนี้ พวกนี้ยังรู้และเข้าในใจกฎเกณฑ์และนโยบายต่างๆ เป็นอย่างดี
               อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริง ทุกๆ สังคมจะประกอบไปด้วยลักษณะวัฒนธรรมทางการเมืองทั้ง 3  ประเภทผสมปนเปอยู่ด้วยกันในระดับที่แตกต่างกันไ ปซึ่งลักษณะวัฒนธรรมทางการเมืองแบบผสมนี้ สรุปได้ดังนี้
              - วัฒนธรรมทางการเมืองแบบดั้งเดิมผสมไพร่ฟ้า หมายถึง วัฒนธรรมทางการเมืองของสังคมที่คนส่วนใหญ่ไม่ยอมรับอำนาจของเผ่าหมู่บ้านหรือเจ้าของที่ดินอีกต่อไป แต่กลับมาให้ความภักดีต่อระบบการเมืองที่สลับซับซ้อนกว่าเดิม โดยมีรัฐบาลกลางเป็นผู้กุมอำนาจ พวกนี้ยังคงไม่สนใจที่จะเรียกร้องหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด ลักษณะของการผสมกันระหว่างสองวัฒนธรรมนี้ ในบลางประเทศอาจให้สัดส่วนของแบบดั้งเดิมมากกว่าแบบไพร่ฟ้า แต่ในอีกประเทศอาจตรงข้ามกัน
              - วัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้าปสมแบบเข้ามีส่วนร่วม เป็นวัฒนธรรมทางการเมืองในสังคมที่มีสมาชิกบ้างส่วนเริ่มเรียกร้อง และเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองและเริ่มมองว่าตนเองมีความสามารถที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้  แต่ก็มีประชาชนอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่กระตือรือล้นที่จะเข้าไปมีส่วนร่วม และยังคงยอมรับในอำนาจรัฐโดยปราศจากเงื่อนไข และเนื่องจากวัฒนธรรมทางการเมืองแบบเข้ามีส่วนร่วม มักจะแพร่หลายในหมู่คนส่วนน้อยของสังคมจึงมักจะถูกบีบคั้และท้าทาย จากวัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้า และจากระบบอำนาจนิยมเป็นผลให้ประชาชนที่มีแนวโน้มที่จะยอมรับในวัฒนธรรมทางการเมืองแบบนี้ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง และไม่สามรถที่จะดำเนินการใดๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในระยะแรกของสังคมที่มีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบผสมนี้ เขาเอาระบอบประชาธิปไตยมาใช้ สังคมจะไร้เสถียรภาพแต่ในระยะยาว ถ้ามีการสร้างองค์กรหรือสถาบันต่างๆ ขึ้นมารองรับ เช่น พรรคการเมืองก็ดีหลุ่มผลประโยชน์ก็ดี หรือหนังสือพิมพ์ก็ดี จะยังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะของวัฒนธรรมทาการเมืองแบบไพร่ฟ้า ซึ่งอาจจะทำให้ระบอบประชาธิปไตยยืนยงอยู่ได้
             - วัฒนธรรมทางการเมืองแบบดั้งเดิมผสมแบบเข้ามีส่วนร่วม หมายถึงวัฒนธรรมทางการเมืองของสังคมที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังคมทีความจงรักภักดีอย่างแน่่นแฟ้นต่อเผ่าหรือกลุ่มเชื้อชาติ เมื่อวัฒนธรรมทางการเมืองแบบเข้ามีส่วนร่วม เข้ามมามีบทบาทในสังคม คนก็จะยอมรับเอาไว้ส่วนหนึ่ง แต่ทั้งนี้ก็คงอยู่ภายใต้อิทธิพลของแบบดั้งเดิม กล่าวคือ คนจะหวังเข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อผลประโยชน์เฉพาะตัว หรือเฉพาะกลุ่มเชื่อชาติ ไม่มีการยึดหยุ่นประนีประนอมในระหว่างกลุ่มที่แตกต่างกัน ความขัดแย้งในสังคมเหล่านี้จึงมีอยู่มาก
               อย่างไรก็ตามวัฒนธรรมทางการเมืองแบบเข้ามีส่วนร่วมนั้น เป็นวัฒนธรรมที่เอื้ออำนวยต่อระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งถ้าเรามองการตามความหมายแล้ว การมีส่วนร่วมลักษะนี้อยู่ในรุปของอารมณ์ปราศจากเหตุผลทำไปโดยความชอบหรือความเกลี่ยดส่วนตัว Almond และ  Verba จึงเสนอวัฒนธรรมทางการเมืองแบบผสม ในอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งเขาเรียกว่า Civic culture ระบบการเมืองที่มีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบนี้จะเน้นที่การเข้ามีส่วนร่วมอย่างกระตือรือล้นและมีเหตุผล นอกจากนี้ยังผสมกับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบ civic จะมีลักษณะร่วม 2 ประการโดยสรุปคือ มีความสามารถในการเป็นผู้อยู่ใต้ปกครองที่ดี และ มีความสามารถในการเป็นราษฎรที่ดี หรือการมีส่วนร่วมอย่างมีเหตุผล
             

วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2559

Comparative Economic System

            ข้อสมมติฐานว่าลงท้ายแล้วระบบเศรษฐกิจทั้งสองน่าจะมุ่งไปสู่จุดหมายเดียวกัน 
            ซึ่งดูจากพัฒนาการของระบบทุนนิยมและสังคมนิยมแล้วจะเกิดมีลัษณะต่างๆ ที่เหมือนๆ ดันทั้งในด้านโครงสร้าง การพัฒนาและการปรับตัวของโรงสร้างของระบบทั้งสอง ถ้ามองอย่างกว้างๆ จะมีลักษณะที่เหมือนกันดังต่อไปนี้
             - เมื่อทั้งสองระบบได้พัฒนามากขึ้น ซึ่งการพัฒนาในโลกสังคมนิยมพัฒนาช้ากว่าโลกทุนนิยมโดยเฉพาะในยุโรปตะวันออกเริ่มพัฒนาภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง จะมีโครงสร้างทางเศรษฐฏิจโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่คล้ายคลึงกันมีพฤติกรรมทางเศรษฐกิจและมีปัญหาหลายๆ ประการที่เกิดขึ้นคล้ายคลึงกัน  ความเหมือนกันในด้านโครงสร้างอุตสหกรรม ปรากฎว่าไม่ว่าจะเป็นประเทศทุนนิยมหรือสังคมนิยมเมื่อพัฒนาก้าวหน้าขึ้นจะมีลักาณะดังต่อไปนี้เช่นเดียวกันคือ บทบาทของภาคเกษตรกรรมจะมีแนวโน้มลดลง การจ้างงานในภาคเกษตรกรรมลดลง ส่วนแบ่งของผลผลิตทางเกษตรในผลิตภัณฑ์ประชาชาติลดลง ความสำคัญของชนบทในแง่ที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยลดลง ลักษณะดังกล่าวเหมือนกันทั้งสองค่าย ขณะเดียวกันก็มีการขยายตัวคล้ายๆ กันคือการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมขยายตัวมากขึ้น ส่วนแบ่งของผลผลิตทางอุตสาหกรรมในผลิตภัณฑ์ประชาชาติเพิ่มขึ้น การกำเนิดขึ้นของเมืองท่า เมืองอุตสาหกรรมใหม่ๆ และใหญ่โตทำให้คนเข้ามาเบียดเสียดกันอยู่ในเมืองเหล่านี้โดยอพยพมาจากชนบท นอกจากนั้นการจัดสรรทรัพยากรให้กับภาคอุตสาหกรรมการบริการต่างๆ เช่นการขนส่งก็เพิ่มขึ้นรวมทั้งแนวโน้มอัตราการเกิดและการตายลดลง ลักษณะดังกล่าวก็เกิดขึ้นเหมือนกันทั้งในประเทศทุนนิยมและประเทศสังคมนิยม
                ความเหมือนกันในเชิงพฤติกรรมทางเศรษฐกิจ คือ การเพ่ิมในผลิตภัฒฑ์ประชาชาติและอัตราการเพ่ิมผลิตภัณฑ์ประชาชาติของทั้งโลกทุนนิยมและสังคมนิยมคล้ายคลึงกันมาก
                ความเหมือนกันในปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ผลจากการเปลี่ยนโครงสร้างที่ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวอย่างรวดเร็วและมีความสำคัญมากขึ้นทำให้เกิดปัญหาความแออัดและเบียดเสียดกันอยู่ในเมืองอุตสาหกรรมใหญ่ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการอพยพมาจากชนบท ในปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ อากาศเสีย น้ำเสีย ก็เกิดขึ้นเหมือนๆ กันเพราะทั้งสองระบบพยาบามพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เจริญก้าวหน้าและโดยการประหยัดของภาคอุตสาหกรรมแทรที่จะขจัดของเสียก็ปล่อยลงแม่น้ำลำคลอง โดยไม่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นลักษณะที่เกิดขึ้นเหมือนกันกับทั้งสองระบบ นอกจากนันปัญหาเงินเฟ้อก็เกิดขึ้นในระบบเศรษฐฏิจทั้งสองเช่นกัน
               - ความเหมือนกันในลักษณะของการพัฒนาการ ของทั้งสองระบบมีทิศทางการพัฒนาไปในแนวเดียวกันคือในระยะแรกจะพัฒนาในด้านกว้าง หรือการเจิรญเติบโตในทางกว้าง คือ ในภาคเกษตรกรรมก็ทำการขยายพื้นที่การผลิต ในภาคอุตสาหกรรมก็พยายามขยายฐานการลงทุนมากมาย ขณธเดียวกันก็พยายามย้ายทรัพยากรจากภาคเกษตณกรรมไปสู่อุตสาหกรรมให้มากขึ้น เมื่อพัฒนาด้านกว้างแล้วก็จะหันมาพัฒนาในทางลึก หรือารเจริญเติบโตทางลึก คือการเพ่ิมประสิทธิภาพทางการผลิตให้สูงขึ้น ถ้ามองด้านแรงงาน เมื่อแรงงานได้โยกย้ายจากชนบทเข้าสู่เมืองแล้วก้ต้องฝึกฝนให้มีฝีมือดีขึ้น เรียนรู้เทคนิคการผลิตที่ก้าวหน้าและทันสมัยมากขึ้น ปรับปรุงคิดค้น หรือวิจัยเพื่อแสวงหาวิธีการผลิตใหม่ๆ สินค้าใหม่ๆ วิธีการบริหารงานใหม่ๆ ซึ่งเป็ฯการพัฒนาหรือเพ่ิมประสิทธิภาพทางการผลิต อันเป็นการเจิรญเติบโตในทางลึก เราจะเห็นได้ว่าถ้ามองในด้านการพัฒนาของระบบทั้งสองแล้วใช้แบบแผนอันเดียวกันคือเริ่มที่การพัฒนาด้านกว้างก่อนแฃล้วจึงหันมาพัฒนาด้านลึก เพียงแต่ช่วงเวลาของการพัฒรสในโลกทุนนิยมและโลกสังคมนิยมเริ่มต้น แตกต่างกันคือ โลกทุนนิยมพัฒนามาก่อนโลกสังคมนิยม
              - ความเหมือนกันในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงแก้ไขของทั้งสองระบบซึ่งระยยเศรษฐกิจทุนนิยมก็นำข้อดีของระบบสังคมนิยมมาใช้มากขึ้น ขณะเดียวกันระบบสังคมนิยมก็นำข้อดีของระบบทุนนิยมาใช้เช่นเดี่ยวกัน ซึ่งมีตัวอย่งที่มีการผสมผสานกันทั้งสองระบบที่เราเรียกว่ารัฐสวัสดิการ หมายความว่ารัฐจัดสินค้าสาธารณะให้ประชาชนใช้กันมากขึ้นโดยไม่ต้องซื้อหาเองจากตลาด ในประเทศทุนนิยม เพมือพูดถึงสวัสดิการที่รัฐจัดหาให้นั้นจะมีสองแบบด้วยกันคือ
                 แบบที่ 1 รัฐจะจัดบริการบางอย่างให้กับประชาชนโดยไม่คิดเงินหรือถ้าคิดเงินก็คิดในราคาต่ำกว่าต้นทุน เช่น ที่อยู่อาศัย การศึกษาดูแลในเชิงสุขภาพ นอกจากนั้นก็มีเงินช่วยเหลือต่างๆ เช่นเงินช่วยค่าเลี้ยงดูบุตรเบี้ยบำนาญ ถ้ามองด้านสวัสดิการที่รับจัดให้กับประชาชนทั้งสองระบบมีัลักษณธคล้ายคลึงกันมาก
                แบบที่ 2 ทั้งสองระบบรัฐบาลมีหน้าที่คล้ายกันคือต้องรับผิดชอบดูแลระบบเศรษฐกิจให้อยู่ในภาวะที่เหมาะสม ถ้าในประเทศทุนนิยมรัฐต้องดูแลให้มีการจ้างงานเต็มที่มีอัตราการเจริญเติบโตพอมควร ในประเทศสังคมนิยมรัฐก็ต้องควบคุมดูแลให้มีการวิภาคกรรมรายได้ที่เป็นธรรม นอกจากนั้นต้องรับผิดชอบในด้านดุลการชำระเงิน ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าหน้าที่พื้นฐานของทั้งสองค่ายนั้นจะต้องทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลสวัสดิการและระบบเศรษฐกิจให้อยู่ในภาวะที่เหมาะสม
              - ความเหมือนกันประการที่สี่นี้ ถ้าเรามองนลักาณะของสื่อสารมวลชนและการติดต่อระหว่างประเทศที่สะดวกรวดเร็วมาก เพราะฉะนั้นผลของการค้นพบการวิจัยจะกระจายไปอย่างรวดเร็ว ทำให้โชกทุนนิยมและโลกสังคมนิยมมีหลายๆ อย่างท่คล้ายกัน เช่น โลกทุนนิยมมีสินค้าใหม่ๆ เช่นเครื่องบินไอพ่นใหม่ๆ โลกสังคมนิยมก็จะมีเช่นเดียวกันซึ่งในเรื่องนี้อาจจะมีสาเหตุมาจากการจารกรรมในทางอุตสหกรรมก็ได้ซึ่งมีการแอบขโมยแบบกันอยู่เสมอ
             ข้อสมมติฐานที่ว่าลงท้ายแล้วระบบเศรษฐกิจทั้งสองไม่อาจจะพัฒนาไปสู่จุดหมายเดียวกันได้
              - ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกทุนนิยมหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นเพราะมีการวางแผนเศรษฐกิจคล้ายๆ กับโลกสังคมานิยมนั้นไม่เป็ฯความจริงเพราะการเจิรญเติบโตของโลกทุนนิยมเร็วขึ้นไม่ใช่เพราะการวางแผนเศรษฐกิจ แต่เป็นเพราะโลกตะวันตกได้มีการโยกย้ายทรัพยากรจากภาคเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพต่ำไปสู่ภาคเศรษฐกิจที่มีคุณภาพสูงกว่า โดยเฉพาะในยุโรปได้โยกย้ายทรัพยากรจากภาคเกษตรกรรมไปสู่ภาคอุตสาหกรรม แม้ว่าจะมีการนำวิธีการต่างๆ จากโลกสังคมนิยมมาใชแต่ก็เป็นการนำมาใช้ชั่วคราว เช่นโครงการสวัสดิการต่างๆ ทำนองเดียวกันโลกสังคมนิยมที่ว่านำเอาระบบตลาดไปใช้ในการวางแผนจากส่วนกลางก็เป็นการนำไปใช้ชั่วคราวเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น
              - ความเหมือนกันที่กล่าวในข้อ ก. นั้นเป็นการเหมือนกันในลักษณะผิวเผินมากกว่าและเป็ฯการเหมือนกันในเชิงเศรษฐกิจมากกว่า แต่ความแตกต่างพื้นฐานของระบบทั้งสองโดยเฉพาะความแตกต่างทางด้านการเมือง อุดมการณ์ทางสังคม บทบาทของบุคคลในสังคมความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน ดังนั้นเราจะมองที่ความคล้ายคลึงกันทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดี่ยวไม่เพียงพอต้องดูโครงสร้างทางการเมืองการปกครองและอุดมการ์ทางสังคมซึ่งมีความแตกต่างกันมาก
               - ซึ่งเป็นเรื่องเศรษฐกิจแคบๆ ก็มองปัญหาแตกต่างกัน เช่น แนวโน้มระยะ 20 ปีที่ผ่านมา ถ้ามองในแง่ของผลของระบบเศรษฐกิจแล้ว ทั้งสองระบบมุ่งไปสู่การบริโภคที่สูงขึ้น หรือให้สังคมมีการบริโภคที่สูงขึ้น ความหายของการบริโภคที่สูงก็มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงคือ ในค่ายทุนนิยมนั้นการบริโภคที่สุงขึ้นนั้นส่วนใหญ่เป็นการบริโภคส่วนบุคคล ส่วนในค่ายสังคมนิยมนั้น การบริโภคที่สูงขึ้นนั้นเป็ฯสิ่งที่รัฐจัดให้ซคึ่งเป็นคนละแนว

         
 

Capitalism

        ระบบทุนนิยมที่ปรากฎภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้น มีลักาณะการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงไปจากระบบทุนนิยมในทางทฤษฎีจนเราไม่อาจจะเรียกว่าเป็นระบบทุนนิยมจริงๆไ ได้ เราอาจจะเรียกได้ว่าระบบทุนนิยมในทางปฏิบัติเป็น "ระบบเศรษฐกิจที่มุ่งไปสู่ตลาด" ในที่นี้เราจะศึกษาถึงระบบเศรษฐกิจอเมริกา อังกฤษและฝรั่งเศส โดยจะถือว่าระบบเศรษฐกิจอเมริกาในทางปฏิบัติที่มีลัษณะแตกต่างไปจากระบบทุนนิยมในทางทฤษฎีเป็นปม่แบบ และระบบนิยมในอังกฤษและฝรั่งเศสประกอบ
        ระบบทุนนิยมอเมริกา หลังจากการเผชิญหน้ากับปัฐหาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในทศตวรรษที่ 30 และภัยของสงครามโลกครั้งที่ 2 ระบบทุนนิยมอเมริกาจึงมีลักษณะที่แตกต่างไปจากระบบทุนนิยมนทางทฤษฎี จนไม่อาจจะหันกลับไปสู่ระบบทุนนิยมในทางทฤษฎีได้อีก
        ลักษณะความแตกต่างของระบบทุนนิยมอเมริก
        1. บทบาทของรัฐบาล ก่อนเกิดภาวะวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในทศตวรรษที่ 30 ความเชื่อที่ว่า ไระบบทุนนิยม" ในตัวของมันเองมีพลังโดยธรรมชาติที่ดำรงอยู่และสามารถทำให้เศรษฐกิจได้ดุลยภาพเสมอ และกำไกตลาดจะทำหน้าที่ให้ระบบทุนนิยมดำเนินไปได้โดยอัตโนมัติ"ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในดลกเสรี
        ระบบเศรษฐกิจอเมริกาในศตวรรษที่ 20 ก็ต้องประสบกับปัญหาต่างๆ เช่น เกษตรกรมีความลำบากยากแค้นภาคอุตสาหกรรม คนงานถูกแทนที่โดยเครื่องจักรทำให้คนงานจำนวนมากต้องมุ่งไปแสวงหางานทำในอุตสาหกรรมบริการที่มีรายได้ต่ำมแม้ว่าช่วงปลายทศตวรรษที่ 20 และต้นทศวาาษที่ 30 ผลผลิตทางการเกตราจะเพิ่มขึ้นแต่ระคาได้ตกต่ำลงจากดัชนี ผลทำให้เกษตรกรถูกยึดที่ดินมีปริมาณเพิ่มขึ้นถึงสองเท่า ขณะเดียวกันภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจดำเนินต่อไปคนว่างงานก็มีจำนวนเพ่ิมสูงขึ้นตลอดเวลา
        รัฐบาลอเมริกาโดยการนำของประธานธิบดี รูดเวลส์ ยังมีความเชื่ออย่างฝังใจในแนวความคิดของสำนักคลาสสิค โดยเฉพาะปรัชญาเสรีนิยมที่ว่า "รัฐบาลไม่ควรจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐฏิจ มีหน้าที่เพียงแต่พยายามสร้างบรรยากาศที่ดีสำหรับเอกชนเท่านั้น" ประกอบลกับรัฐบาล รูดเวลส์และคณะที่ปรึกษาประเมินความนุนแรงของวิกฤติการณ์ทางเศรษฐฏิจต่ำเกินไป ผลก็คือรัฐบาลไม่ได้เข้าไปแทรกแซงเศรษฐกิจเพื่อแก้ปัญหาอย่างจริงจัง เพรียงแต่พยายามบรรเท่าความหวาดกลัว และป้องกันการตืนตกใจ ในวงการธุรกิจเท่านั้น นอกจานั้นยังมองว่า การแก้ปัญหาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ เช่น ปัญหาประมาณคนว่างงานเพื่อทวีสูงขึ้นนั้นควรเป็นหน้าที่ของรัฐบาลท้องถ่ิน หรือองค์การการกุศลเท่านั้นการช่วยเหลือหรือแทรกแซงเศรษฐกิจโดยรัฐบาลกลางควรจะหลีกเลี่ยงเท่านที่สามารถจะทำได้
          ปัญหาวิฏตกาณ์ทางเศรษฐฏิจดำเนินต่อมากระทั้งมีการเลื่อตั้งประธานาธิบดี รูดเวลส์ผุ้สมัครพรรคเดโมแครทได้เสนอนโยบายต่าง ๆ เช่นนโยบายงลประมาณสมดุลย์ โครงการว่วยคนว่างงานของรัฐบาล โครงการบรรเทารทุกข์แก่เกษตรกร การควบคุมธนาคาร การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา การควบคุมกิจการสาธารณูปโภค โดยรัฐบาลกลางซึ่งผลปรากฎว่า รูดเวลส์และนโยบาย "ดำเนินการแบบใหม่"ของเขาได้รับการยอมรับจากประชานสูงมาก
           หลังจากรับตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อเดืนมีนาคม 1933 รูดเวลส์ก็เร่ิมนำนโยบาย "ดำเนินการแบบใหม่" ของเขาเข้ามาใช้ทันที โดยเน้นที่ "บทบาทของรัฐบาลกลางในการแก้ปัญหาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ" ซึงเนื้อหาของนโยบายดำเนินการแบบใหม่จะครอบคลุมถึงหลักการต่างๆ เช่น การบรรเทาทุกขช์แก่ผู้ทุกข์ยากและว่างาน การฟื้นฟูธุรกิจ การเกษตรการปฏิรูประบบธนาคาร การลงทุนและแรงงานสัมพันธ์ฯ เราอาจจะกล่าวได้ว่านับว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่รัฐบาลอเมริกา เข้ามาแทรกแซงและรับผิดชอบในกิจกรรมทางเศรษฐฏิจของชาติ
           นโยบาย New Deal ส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีที่ว่า "เศณษฐกิจตกต่ำเพราะการบริโภคมีน้อยเกินไป" แนวทางกว้างๆ จึงกำหนดขึ้นเพื่อกระจายสินค้าและการบริโภคออกไปสู่ประชาชนให้กลว้างขวางซึ่ง รูดเวลส์เองก็ได้ยอมรับว่า "เศรษฐกิจตกต่ำจะผ่านพ้นไป เมื่ออำนาจซื้อในมือของผุ้บริโภคเพื่อขึ้น" ดังนั้น คณะกรรมการองค์การสถาบัน และกฎหมายต่างๆ จึงถูกจัดตั้งขึ้นมารเพื่อรองรับนโยบายนี้
        - องค์การบริหารเพื่อบรรเทาทุกข์อย่างเร่งด่วนตั้งโดยสภาคองเกรศมีเงินทุน ห้าร้อยล้านเหรียญสำหรับจ่ายแก่มลรัฐต่างๆ เพื่อบรรเทาความทุกำข์ยากจากากรว่างงาน ทั้งในรูปการช่วยเลหือโดยตรง เช่น แจกอาหารเครื่องนุ่งห่มฯ และเพื่อสร้างงานให้ทำ
        - คณะกรรมการบริหารงานพลเรือนตั้เงโดยประธานาธิปดีในเดือนพฤศจิการยน เพื่อสร้างงานและหางานให้ประชาชนทำ ผลปรากฎว่าในเดือนมกราคม จ้างคนงานกว่าสีล้านสองแสนคน
        - คณะกรรมการสร้างงานเพื่อความก้าวหน้าตั้งขึ้นในปี 1935 เพื่อหางานให้หนุ่มสาวที่ออกมาสู่กำลังแรงงานประมาณ ปีละ 5-7 แสนคน
        - คณะกรรมการบริหารเยาวชนแห่งชาตคิ เพื่อจัดหางานนอกเวลาให้แก่นักเรียนมัธยมปลายและมหาวิทยาลัย
         - พ.ร.บ. การธนาคารฉุกเฉิน เพื่อแก้ปัญหาการล้มละลายของธนาคารจำนวนเป็นร้อยแป่ง โดยกฎหมายให้สิทธิประธานาธิบดี ที่จะหยุดการดำเนินการของธนาคาร และสามารถออกธนบัตรของธนาคารกลางเพ่ิมขึ้นเพื่อบรรเทาการขาดแคลนเงินตรา
         - พ.ร.บ. จัดสรรเงินบรรเทาทุกข์ฉุกเฉิน เพื่อสร้างงานและจัดสรรเงินล้านเหรียญสำหรับใช้บรรเทาทุกข์
         - พ.ร.บ.ฟื้นฟูเกษตรกรรมแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพื่อขึ้นอันทำให้อำนาจซื้อของผู้บริโภค สูงขึ้น
         - พ.ร.บ. เพื่อแทรกแซงกลไกตลาดโดย ห้ามตั้งราคาลำเอียงห้ามการแข่งขันที่ไม่ยุติธรรม เพื่อปกป้องธุรกิจเล็กๆ  ที่ไม่ขึ้นต่อกิจการการผลิตใหญ่ ที่เปิดสาขาแบบลูกโซ่
          ในการเผชิญหน้ากับปัญหาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในทศตวรรษที่ 30 ทำให้บทบาทของรัีฐบาลกลางเด่นชัดมากในการเข้าไปแทรกแซงเศรษฐกิจของชาติซึ่งเป็นการปฏิเสธความเชื่อของระบบเสรีนิยมที่ว่ารัฐไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้องในอาณาจักเศรษฐกิจโดยสิ้นเชิง และนับแต่นี้ไปบทบาทของรัฐก็เพิ่มทวีขึ้นจนไม่อาจจะกลับไปสู่ระบบทุนนิยมในทางทฤษฎีได้อีกเลย
           2. ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ในทางปฏิัติระบบทุนนิยมดำเนินไปโดยไม่ต้องมีค่าบริการ ไม่ต้องมีคนบริหาร และสถานประกอบการจะมีลักษณะที่ไม่ใหญ่โตมากนัก เพราะสถาบันการแข่งขัน แลบะระบบราคาจะเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้ระบบทุนนิยมดำเนินไปโดยอัตโนมัติ ปัญหาต่างๆ ของระบบทุนนิยมก็จะถูกแก้ไปโดยอัตโนมัติเช่นเดียวกัน เช่นราคาตลาดจะทำหน้าที่ปันส่วนสินค้าไปยังผู้บริโภคและจูงใจให้มีการเพ่ิมหรือลดการลงทุนโดยอัตโนมัติ
          เมื่อระบบทุนนิยมในอเมริกาได้พัฒนาก้าวหน้า การที่จะปล่อยให้กลำกของระบบทุนนิยมดำเนินไปเองนั้นไม่ได้รับการยอมรับ เพราะในทางปฏิบัติ ในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายหลายๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกับกลไกต่างๆ ของระบบทุนนิยม เช่น ค่าใช้จ่าย ในการบริหารกิจการ ค่าใช้จ่ายในการแสวงหาปัจจัยการผลิต ค่าใช้จ่ายในการค้นคว้าวิจัยผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ตลอดใหม่ๆ ค่าขนส่งินค้าจากผู้ผลิตไปยังผุ้บริโภค ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการรักษาสิทธิของบุคคล เช่นค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างทนายความเหรือที่ปรึกษากฎหมาย
         ค่าใช้จ่ายอีกประการหนึ่งที่จัดรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายในการบริหาร คือค่าใช้จ่ายในการโฆษณา โดยเฉพาะเมื่อการแข่งขันกันในตลาดมีความเข้มข้นมากค่าใช้จ่ายในด้านนี้จะมีอัตราสูงมาก ทำให้ผู้ประกอบการเกิดความท้อแท้ได้ ในระบบตลาดการโฆษณา มีบทบาทสูงมาก เพราะนอกจากจะช่วยขยายตลาดสินค้าโดยการแนะนำต่อผู้บริโภคแล้ว ถ้าการโฆษณานั้นตรงตามความเป็นจริงหรือไม่บิดเบือนก็จะเป็นการช่วยให้ผู้บริโภคลดค่าใช้จ่ายในการแสวงหาสินค้าที่ต้องการและช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจแลือกซื้อสินค้าได้ถูกต้องตรงกับความต้องการที่แท้จริงได้
         3. การประหยัดจากการผลิตมากๆ เรือเรียกการประหยัดตามขนาดของการผลิตขนาดใหญ่ ตามทฤษฎีของระบบทุนนิยมถ้ามองในเชิงสถาบันแล้ว สถาบันการแขช่งขันมีบทบาทสำคัญคือเป็นกำไกสำคัญที่สุดของระบบทุนนิยม ในกรณีที่การแขช่งขันจะบริสุทธิปราศจากการผูกขาดหน่วยการผลิต หรือสถานประกอบการ ที่ผลิตสินค้าประเภทเดียวกันต้องมีจำนวนมากๆ และมีลัษณะเล็กมากจนไม่มีความหมาย ซึ่งผู้ผลิตจะนำสินค้าของตนมาเสนอขายในตลาดแล้วกลไกตลาดจะทำหน้าทีเองโดยอัตโนมัติ
         อีกประการหนึ่ง ในทางทฤษฎีของระบบทุนนิยมอีกเช่นกันวิธีการประหยัดจากการผชิตหรือการลดต้นทุนสินค้านั้น จะเกิดขึ้นได้สถานประกอบการต้องดำเนินการผลิตสินค้ามากหน่วยหรือเรากล่าวได้ว่ายิ่งผลิตสินค้าจำนวนมากหน่วย ต้นทุนในการผลิตสินค้าก็จะยิ่งต่ำลง
         ในขณะที่หน่วยการผลิตหรือสถานประกอบการมีขนาดเล็กมากจนไม่มีความหมายการแข่งขันที่บริสูทธิก็ดำรงอยู่ แต่ในปัจจุบันระบบทุนนิยมได้พัฒนาทำให้หน่วยการผลิตหรือสถานประกอบการมีขนาดใหญ่มากเพื่อลดต้นทุนการผลิตหรือทำให้ราคาสินค้าของตนมีราคาต่ำสุดเพื่อนำไปแข่งขันกับผู้ผลิตรายอื่นๆ ในตลาดดังนั้นในปัจจุบันเราจะเห็นว่ากาณีที่จะให้มีการแข่งขันที่บริสุทธิและสถานประกอบการมีขนาดเล็กไปด้วยกันไม่ได้กับการประหยัดจากการผลิตมาก เพราะตามความเป็นจริงการประหยัดจากการผลิตจะเกิดขึ้นเมื่อสถานประกอบการต้องมีขนาดใหญ่พอและมีประสิทธิภาพการผลิต สูง เช่น ประสิทธิภาพของเครื่องจักรสูง ผลิตได้ปริมาณมากและรวดเร็ว ใช้คนงานจำนวนน้อย ประสิทธิภาพของฝ่ายจัดการหรือฝ่ายบริหารที่สามารถทำให้คนงานมีกำลังใจในการผลิตมีสูง ตัวอย่างเช่น การผลิตหนังสือโดยใช้เครื่องพิมพ์ที่มีประสิทธิภาพสูงและพิมพ์ครั้งละมากๆ ต้นทุนการผลิตก็จะต่ำลงแต่ถ้าพิมพ์จำนวนน้อยต้นทุนต่อเล่มจะสูงมากเป็นต้น
         ในบางกรณีการประหยัดจากการผลิตจะขัดแย้งกับการให้มีการแข่งขันตามทฤษฎีเพราะจะทำให้สิ้นเปลื่องมาก เช่น บนถนนสายหนึ่งมีรถเมล์ของ 10 บริษัทวิ่งบริการรับผู้โดยสารตามความเป็นจริงรถจำนวนมากเช่นนี้อาจจะมีผุ้.ดดยสารเพียงไม่กี่คน หรือเช่นเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันขายบริการโทรศัพท์ แน่นอนจะทำให้ผู้ใช้บริการพอใจเพราะสามารถเลือกใช้ได้แต่จะทำให้เกิดความสิ้นเปลืองมากจากการแข่งขัน นอกจากนั้นอุตสาหกรรมบางประเภทการแข่งขันอาจจะมีไม่ได้เพราะตลาดไม่กว้างพอ เช่น กาผลิตเครื่องบินพาณิชย์ เรือรบเครื่องบินรบ อาวุธ ผู้ผลิตอาจจะเป็นผู้ผิตรายเดียวที่ทำการผูกขาดทั้งโลก เพราะถ้าไม่ผูกขาดแล้วตลาดก็ไม่ใหญ่พอที่จะให้มีการแข่งขันกัน สาเหตุของการประหยัดจากการผลิตมาก ๆ มีหลายประการคือ
         - เทคนิคในการผลิต การประกอบการบางประภท โดยสภาพของการผลิตถ้าจะทำให้เกิดการประหยัดจาการผลิต หรือ ทำให้ต้นทุนของสินค้าต่ำอุตสาหกรรมน้นต้องมีขนาดใหญ่มาก เพราะถ้าไม่ดำเนินการในรูปนี้ต้นทุนการผลิตจะสูงจนประชาชนไม่มีอำนาจซื้อสิค้าเหล่านั้นได้ เช่น อุตสาหกรรมน้ำมัน ก๊าซ ปูนซีเมนต์ เหล็กกลา และรถยนต์เป็นต้น
         - เกิดจากสาเหตุในด้ารการบริหาร ในการบริหารอุตสาหกรรมนั้นมีทั้งวิธีการกระจายอำนาจและรวมอำนานในขณะที่กิจการขยายตัวอย่างกว้างขวางการปล่อยให้หน่วยงานหรือสถานประกอบการสาขาบริหารตนเอง ทำให้เกิดปัญหาได้หลายประการตรงข้าม การจักหน่วยงานหลายๆ หน่วยงานมาอยู่รวมกันทำให้การบริหารคล่องตัวมากกว่าวิธีการรวมหน่วยงานนี้ก็เป็นวิธีการที่ก่อให้เกิดการประหยัดในการบริหารอย่างหนึ่ง
           การประหยัดด้วยวิธีการรวมศูนย์อำนาจการบริหารเช่นนี้ อเมริกาและญี่ปุ่นเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เพราะการประหยัดด้วยวิธีการดังกล่าวทำให้ธุรกิจกลายเป็นธุรกิจที่มีขนาดใหญ่มาก ในอเมริกาปัจจุบัน มีบิษัทใหญ่ๆ ประมาณ 500 บริษัท ทำการผลิตสินค้าได้มากกว่าครึ่งหนึ่งของผลผลิตท้งประเทศ ซึ่งหมายถึงการรวมศูนย์อำนาจทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของอเมริกาตกอยู่ในกำมือของกลุ่มคนจำนวนไม่มากทำให้เกิดปรากฎการณ์ที่เราเรียกว่า Concentration of Economic Power หรือการรวมศูนย์อำนาจทางเศรษฐกิจ
           ผลในทางปฏิบัติของการมีการรวมศูนย์อำนาจทางเศรษฐกิจและกำารผลิตขนาดใหญ่คือทำให้กัตถอุตสาหกรรม หรือกิจกรรมการผลิตขนาดเล็กและขนาดกลางต้องเสื่อมและพังทะลายลงในที่สุดเพราะสินค้าที่ผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพการผลิตสูงจะมีต้นทต่ำกว่าสินค้าของอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลาง เมื่อนำมาแข่งขันกันในตลาดสินค้าของอุตสหกรรมขนาดเล็กและกลางก็สู้ไม่ได้ในที่สุดก็ต้องล้มละลายและเลิกกิจการไปซึ่งในที่สุดก็จะเหลือสินค้าของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เพียงไม่กี่รายที่ยังครองตลาดอยู่ และนำไปสู่การผฦูกขาดในที่สุ ซึ่งเป็นปัญหาที่รัฐบาลอเมริกันพยายามตามแก้มาตลอดเวลา โดยการออกกฎหมายต่อต้านการผูกขาดที่เรียว่า Anti3 Trust Law แต่ก็แก้ไม่ตก
             ผลอีกประการของการประหยัดจากการผลิตขนาดหใญ่ คือก่อให้เกิดการรวมกลุ่มของคนงานในสถานประกอบการในรูปของ สไภาพแรงงานในขณะที่สถานประกอบการมีขนาดใหญ่ จำนวนคนงานก็มีจำนวนเพ่ิมขึ้นปัญหาในด้านการบริหารแรงงานก็ดี ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ปัญหาความขัดแย้งด้านแรงงานก็ดี ในการแก้ไปัญหาดังกล่าวถ้านายจ้างต้องตามแก้ปัญหากับลูกจ้างที่ละคนๆ หรือที่ละกลุ่มๆ จะเกิดความยุ่งยากในการบริหารงานมาก จึงทำให้ฝ่ายลูกจ้างรวมตัวกันเป็น "สหภาพแรงงาน" และฝ่ายนายจ้างรวมตัวกันเป็นสมาคมนายจ้าง เพราะเมื่อมีความขัดแย้งทางด้านแรงงานนายจ้างเจรจากับสหภาพแรงงานจะก่อให้เกิดความสะดวกและคล่องตัวมากอันเป็นผลดีในด้ากนการบริหารแรงงานในประเด็นนี้ ศ. ประชุม โฉมฉาย ได้กว่าวว่า "ถ้าลูกจ้างหลายๆ คนรวมกลุ่มกันต่อรองกับนายจ้างจะเป็นการประหยัดมากกว่าต่อรองที่ละคนๆ ซึ่งถือได้ว่าการมีสถานประกอบการหรือหน่วยการผลิตขนาดใหญ่ในปัจจุบันกับการจัดตั้งสหภาพแรงงานจึงถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของปารประหยัดจากการผลิตขนาดใหญ่ก็ว่าได้
           4. สินค้าสาธารณะ ลักษณะของสินค้าสาธารณะคือเป็นสินค้าที่ "บุคคลใดบุคคลหนึ่งเข้าไปใช้แล้วไม่มีสิทธิที่จะห้ามหรือกีดกันไม่ให้คนอื่นใช้" หรือกล่าวได้ว่าเป็นสินค้าที่บุคคลทุกๆ คนมีสิทธิใช้ร่วมกัน แต่การใช้ประดยชน์ในสินค้าสาธารณะจะต้องอยู่ในขอบเขตที่เหมาสมและอยู่ในขอบเขตของกฎหมาย เช่น บุคคลทุกๆ คนมีสิทธิใช้ถนนได้แต่ต้องปฏิบัติตามกฎจราจร หรือบุคคทุกๆ คนมีสิทธิเข้าไปพักผ่อนในสวนสาธารณะได้โดยไม่ฝ่าฝืนกฎหมารย ระเบียบต่างๆ เช่นกีดขวางการสัญจรไปมาบนท้องถนน หรือขัดขวางการใช้ประโยชน์ของบุคคลอื่น ไรือทิ้งขยะในสวนสาธารณะเป็นต้น
           สินค้าสาธารณะที่ปรากฎขึ้นในระบบทุนนิยมอเมริกา โดยสภาพเป็นสินค้าที่รัฐบาลเข้ามาีบทบามเป็นผู้จัดหาให้โดยตรง ในรูปสวัสดิการของรัฐ เป็นสินค้ที่มีบทบาทโดยตรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ปัจจุบันรัฐได้ให้ความสำคัญกับสินค้าประเภทนี้มาก การจัดให้มีสินค้าสาธารณะต้องใช้เงินจำนวนมาก จึงเกี่ยวข้องโดยตรงกับปัญหาการคลังของรัฐโดยรัฐต้องจัดสรรวบประมาณในการจัดทำ เพราะสินค้าประเภทนี้ จะปล่อยให้ระบบตลอดทำหน้าที่โดยรัฐไม่เข้าไปจัดให้แล้วคนก็จะไม่ยอมซื้อ เช่น ไปชักชวนให้ประชาชนซ้อการบริการทางทหารจะไม่มีใครยอมซื้อ
          การจัดหาสินค้าสาะารณะให้กับประชาชนโดยรัฐนี้เมื่อจัดให้แล้วรัฐจะไปเก็บเงินจากผู้ใช้ประโยช์หรือผู้บริโภคเป็นสิ่งที่ยากลำบากและยุ่งยากมากนอกจากจะจัดการปย่างรัดกุม เล่นเก็บค่าธรรมเนียมในการใช้ถนนบางสาย เนื่องจากสินค้าสธารณะเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อชีวติของประชาชนส่วนใหญ๋ และเป็นสวัสดิการที่รัฐจัดให้กับประชาชนรายได้หรือวบประมาณที่รัฐนำมาจัดสรรเพื่อสร้างสินค้าเหล่านี้จะได้มา จากการเก็บจากผุ้บริโภคในทางอ้อม ในรูปของการเก็บภาษี ค่าธรรมเนียมเพราะถ้าใช้กำไกตลาด ผู้บริโภคจะไม่ยอมซื้อ ผลที่ตามมาจะทำให้รัฐมีรายได้น้อยแยและการจัดสร้างสินค้าประเภทนี้กจะน้อยในที่สุดจะมีผลกระทบต่อสวัสดิการของรัฐ ที่ให้กับประชานโดยส่วนรวมได้
          ในทางทฤษฎีของระบบทุนนิยมแล้ว "สินค้าทุกยอ่างเป็นสินค้าส่วนบุคคล หรือสินค้าเอกชนที่ทุกคนมีสิทธิซื้อหามาบริโภค ได้โดยครเองตามความสามารถหรือดำนาจซื้อของแต่ละบุคคล" แต่ในทางปฏิบัติรเาจะเห็นได้ว่าระบบทุนนิยมในทางปฏิบัติของอเมริกา มีสินค้าสาธารณะซึ่งรัฐเป็นเจ้าของและเป็นผู้จัดหาให้ซึ่งไม่เป็นไปตามทฤษฎี
           5. กิจกรรมสาธารณูปโภค โดยสภาพแล้วจะเป็นกิจการที่เกี่ยวข้องโดยตรงต่อชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่และเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานของสังคม การประกอบกิจการต้องคำนึงถึงถึงปรโยชน์สุขของสังคมเป็นหลักไม่ใช่เพื่อหวังกำไร เช่น ไฟ้ฟ้า ประปา แก๊ซ โทรศัพท์ การขนส่ง
           กิจกรรมสาธารณูปโภคแตกต่างกับสินค้าสาธารณะเพราะสินค้าสาธารณะนั้นรัฐจัดหาให้โดยไม่เก็บค่าบริการโดยตรงและไม่ใช้ระบบตลาดแต่จัดเก็บในทางอ้อมในรูปค่าธรรมเนียมหรือภาษีมาเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดทำ แต่กิจการสาธารณูปโภครัฐจะเป็นผู้ดำเนินการจัดหาให้โดยตรงหรือรัฐจะมอบหมายให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินงานก็ได้  ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหารตามมาดังนี้
           - ในทางปฏิบัต รัฐจะเข้าควบคุม ผู้ประกอบการที่ดำเนินงานเพื่อหวังผลกำไรจะพยายามดต้นทุนการผลิต และค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยจะหันไปใช้วิธีการผลิตที่ใช้ทุนมาก เครื่องจักรมาก อุปกรณ์มาก ใช้แรงงานน้อย ซึ่งตรงกันข้ามกับอีกวิธีที่รัฐต้องเพื่อแก้ไขปัญหาการว่างงาน ในกิจการสาธารณูปโภตเมือรัฐเ้าไปควบคุมทั้งคุณภาพและราคาโดยเคร่งครัดราคาของสินค้าจะไม่เป็นไปตามกลไกตลาดจึงทำให้การตัดสินใจของผู้ประกอบการไม่เป็นไปตามทฤษฎี
           - เมื่อรัฐบาลเข้าควบุคมกิจการสาธาณณูปโภค ต้องควบคุมให้เหมือนกันหมดจะ จะปล่อยให้กิจการบางอย่างอยู่นอกเหนือการควบคุมไม่ได้ เพราะผู้ประกอบการจะย้ายทุนไปประกอบกิจกรรมที่อยู่เหนือการควบคุมหมด
           - เมื่อรัฐเข้าไปควบคุมกิจการสาธารณูปโภคโดยเคร่งครัด หรือในบางกิจการที่รัฐเขช้าไปถือหุ้นอยู่ด้วยจำนวนมากหรือรัฐเป็นผู้ประกอบการเองเราจะพบว่ารัฐจะส่งคนของรัฐเข้าไปควบคุมการประกอบการโดยตรงเป็นการเปิดโอกาสให้คนบางกลุ่มเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์จากการควบคุม
          6. บทบาทของรัฐบาลในการเข้าไปควบคุมระบบเศรษฐกิจ ในทางทฤษฎีหรือหลักการของระบบทุนนิยม "รัฐมีหน้าที่เป็นเพียงคนกลาง คอยแก้ไปัญหาความขัดแย้งหรือข้อพิพาทของเอกชนหรือ มีหน้าที่ในการรักษานิยมทางสังคม เช่น รักษาสิทธิในทรัพย์สินส่วนบุคคล ส่งเสริมการแข่งขัน ควบคุมการผูกขาดควบคุมคุณภาพชีวิต ควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม"แต่ในทางปฏิบัติ รัฐจะปล่อยให้ระบบทุนนิยมดำเนินไปเองไม่ได้ต้องเข้าไปควบคุมระบบเศรษฐกิจซึ่งแสดงออกดังนี้
           - ควบคุมโดยตรง เช่นรัฐเข้าไปดำเนินกาปันส่วนสินค้าบางประเภทที่ใช้การบริโภคในช่วงที่สินค้าขาอแคลน ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ ควบคุมการจัดโควต้าสินค้าเข้า สินค้าออกเป็นการควบุคมโดยตรงที่ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐ
           - การควบุคมโดยอ้อม เป็นการควบคุมระบบเศรษฐกิจในระดับนโยบายกว้าง ๆ เช่นการควบคุมนโยบายการเงน นโยบายการคลัง และเงินช่วยเหลือ
          ลักษณะต่างๆ ของระบบทุนนิยมที่กล่าวมา ซึ่งเราถือว่าเป็นแม่แบบของระบบทุนนิยมในปัจจุบัน มีัลัษณะที่แตกต่างไปจากระบบทุนนิยมในทางทฤษฎีมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ระบบทุนนิยมอเมริกาต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและเผชิญกับภัยสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ทำให้ระบบทุนนิยมในอเมริกาต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงไปจนไม่อาจจะกลับไปสู่ระบบทุนนิยมตามทฤษฎีได้
       

วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559

Economic System

         ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของแต่ละระบบ จะมีการกำหนดจะผลิตอะไร เป็นจำนวนเท่าใด ผลิตให้กับใคตร การจัดระบบเศรษฐฏิจโดยพิจารณาจากลักษณะสำคัญของแต่ละระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆ รูปแบบระบบเศรษฐกิจที่จะนำมาพิจารณาประกอบด้วย ระบบทุนนิยมหรือระบบธุรกิจเอกชน ระบบเศรษฐกิจเอกชนบังคับ ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมแบบบังคับ และระบบเศรษฐกิจแบบผสม ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม
              ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมเสรี, สังคมนิยมประชาธิปไตย ลักษณะเฉพาะระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมเสรี ประกอบด้วย รัฐบาลเข้าควบคุมและเป้นเจ้าของปัจจัยการผลิตขนาดใหญ่ ด้วยเหตุผลต้องการให้ระบบเศรษฐกิจมีการกระจายรายได้ที่เท่าเทียมกัน บทบาทของรัฐจะเข้าแทรกแซงเศรษฐกิจด้านกำหนดราคาสินค้า ส่งเสริมการลงทุน การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพการตัดสินใจที่จะทำการผลิต ตลอดถึงการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจอย่างสิ้นเชิง ผลกำไรอันเกิดจากกิจการผูกขาดในธุรกิจใหญ่โตจะต้องตกเป็ฯของรัฐทั้งสิ้นไม่เปิดโอกาสให้มีธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะไปมีบทบาทที่สำคัญด้านการให้เงินกู้ลงทุนเท่านั้นเอง รัฐบาลจะทำหน้าที่ด้านนี้เอง ภายใต้ระบบนี้ยังคงเปิดโอกาสผู้บิรโภคมีอำนาจอธิปไตยการบริโภค
            ระบบนี้ส่งเสริมให้มีอำนาจอธิปไตยของผู้บริโภค จึงทำให้เกิดความแตกต่างกับระบบสังคมนิยมแบบบังคับ การที่ระบบเศรษฐกิจใด ประชาชนภายใต้ระบบจะเกิดอำนาจอธิปไตยของผู้บริโภคมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับระบบกลไกราคา เข้ามามีโอกาสการกำหนดราคามากน้อยเพียงใด ต้องมีสถาบันธุรกิจเอกชนเปิดโอกาสแข่งขันในหน่วยผลิตเป็นตัวส่งเสริมการแข่งขัน แต่สภาพที่ปรากฎรัฐเข้าควบคุมการผลิตขนาดใหญ่ ปัจจัยการผลิตเป็นของรัฐ ภายในระบบยังขาดสถาบันธุรกิจเอกชน อันได้แก่กรรมสิทธิในปัจจัยการผลิต กระบวนการแข่งขันการผลิต ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ใช้เป็นกำไกเพื่อส่งเสริมให้เกิดอำนาจอธิปไตยของผู้บริโภค ทั้งสิ้นจึงเป็นที่น่าสังเกตว่าระบบนี้สามารถบรรลุผลได้มากน้อยเพียงใด
              ระบบทุนนิยม ระบบธุรกิจเอกชน  ถ้าจะศึกษาจุดเริ่มต้นของระบบทุนนิยม เริ่มเกิดปรากฎให้เห็นอย่างเด่นชัดเร่ิมตั้งแต่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา เริ่มขึ้นในประเทศอังกฤษ อันเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่มาใช้ในการผลิต ต่อจากนั้นได้เกิดมีการตื่นตัวที่จะมีความรู้สึกชาตินิยม จะมารวมตัวกันในรูป"รัฐชาติ" ขึ้นในแถุบประเทศยุโรป ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าผลจากการปฏิวัติดุตสาหกรรมส่งผลให้เกิดการพัฒนาระบบตลาด เท่าที่ผ่านมาระบบทุนนิยมมักจะประสบปัญหาด้านพื้นฐานทางเศรษฐกิจ นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ปัญหาคือ จะผลิตสินค้าอะไร ผลิตอย่างไร ผลิตเพื่อใครเดิมอาศัยกลไกราคามาเป้นตัวหลักในการแก้ไขต่อมารฐบาลมีบทบาทเข้ามาแทรกแซงเศรษฐกิจ
               ลักษณะเด่นของระบบ ดำเนินกลไกเศรษฐกิจโดยอาศัย "กลไกราคา"เป็นตัวจักรสำคัญสร้าง "แรงจูงใจ" ให้เกิดขึ้นภายใรระบบเศรษฐกิจ ปราศจากการควบคุมจากส่วนกลาง การจะแจกจ่ายปัจจัยการผลิตสิ่งใดและประมาณเท่าใดอาศัยอุปสงค์และอุปานในตลาดเป็นตัวกำหนด การตัดสินใจการบริดโภคขึ้นอยู่กับความพึงพอใจสูงสุดเป็ฯหลัก โดยอาศัยอรรถประโยชน์เป็ฯเกณฑ์การตัดสินใจ ยินยอมให้มีการถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนตัว การให้มีกรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตและทรัพย์สินการตัดสินใจในการผลิต การออม การลงทุน เปิดโอกาศให้มีอิสรภาพในการทำงานระบบเศรษกิจดำเนินไปตามกลไกราคา โดยใช้แรงจูงใจด้วยกำไร มาเป็นตัวกำหนดการผลิต ระบบตลาดโดยมีอุปสงค์และอุปทานเข้ามาเป็นตัวกำหนด ยอมรับความสำคัญอำนาจอธิปไตยของผู้บริโภคผู้บริโภคมีเสรีภาพในการเลือกบริโภคสินค้าใดก็ได้ตามใจชอบ ภายใต้การผลิตดำเนินในรูปแบบของการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ ลักษณะการผลิตมุ่งประสิทธิภาพการผลิต ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิต การปรับปรุงประสิทธฺภาพการผลิต ก่อให้เกิดการแจกจ่ายทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

               ระบบเศรษฐฏิจธุรกิจเอกชนบังคับ ระบบทุนนิยมบังคับ ระบบเศรษฐกิจแบบฟาสซิสม์  รูปแบบเศรษฐฏิจยังคงเปิดโอกาสให้เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคลการดำเนินกลไกเศรษฐกิจมิไ้เป็นไปตามกลไกราคา อาศัยการวางแผนส่วนกลางจากรัฐบาลเป็นตัวแทนการแจกจ่ายทรัพยากร เพื่อนำมาใช้ในการผลิตตามแผนที่ได้วางไว้
                ลักษณะเด่นของระบบ รัฐบาลจะเข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติให้บรรลุผลสำเร็จในระยะสั้น เป็ฯรูปแบบเศรษฐกิจดำเนินในยามสงคราม ซึ่งเยอรมันและอิตาลีนำมาใบช้ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง การดำเนินกลไกทางเศรษฐกิจตรงข้ามกับลัทธิคอมมิวนิสต์ด้วยเหตุนี้พวกนายทุนและชนชั้นกลางจึงให้การสนับสนุระบบเศรษฐฏิจธุรกิจเอกชนบังคับไม่เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันการผลิต ลักษณะตลาดดำเนินในรูปแบบผูกขาด ดำเนินกิจการผูกขาดโดยนายทุนขนาดใหญ่ ลักษณะการผลิตเป็นการรวมกลุ่มแบบ "cartel" อำนาจอธิปไตยของผุ้บริโภค ถูกละเลย การดำเนินการผลิตควบคุมโดยหน่วยงานวางแผนจากส่วนกลาง เสรีภาพการเลือกบริโภคถูกจำกัด เพราะรัฐบาลจะเข้าควบคุมวางแผนการใช้แรงงานในโรงานแต่ละประเภท ปัจจัยการผลิตเป็นของรัฐ ยังคงเปิดโอกาสให้เอกชนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน แต่การผลิตและการตัดสินใจเลือกใช้ปัจจัยการผลิตยังคงควบคุมอย่างใกล้ขิดและคำสั่งจากรัฐโดยอาศัยคำสั่ง เรียกได้ว่าเป็นระบบเผด็จการทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ลัทธิชาตินิยมเป็นจุดเด่นของระบบเศรษฐกิจ
                 ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมบังคับ ระบบเศรษฐกิจคอมมิวนิสต์ ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมที่มีการวางแผนส่วนกลาง เรียกว่าระบบสังคมนิยมบังคับ ประเทศแม่ปบบคือสหาภาพโซเวียต
                 ลักษณะเด่นของระบบ กลไกราคา มิได้เข้ามามีบทบาทสำคัญ การวางเป้าหมายการผลิตถูกกำหนดทางปริมาณโดยตรง กระบวนการแจกจ่ายทรัพยากรเป็นไปตามการวางแผนส่วนกลาง กระบวนการทางเศรษฐกิจเป็นไปตามแผนส่วนกลาง เพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวม อำนาจอธิปไตยการบริโภค ถูกควบคุมมีโอกาสเพียงเลือกการบริโภค ภายใต้ระบบสังคมนิยมแบบบังคับ ไม่ส่งเสริมอำนาจอธิไตยผู้บริโภค กรณีที่อุปสงค์ส่วนรวมในสินค้าบริโภคเพิ่มสูงขึ้น รัฐจะเข้าควบคุมปริมาณการผลิตใหคงอยู่ ณ ระดับ O X คงเดิม ระดับราคาเพ่ิมขึ้นแต่เพียงด้านเดียวรัฐบาลจะใช้มตรการเพิ่มภาษีการเปลี่ยนมือในสินค้า ซึ่งความพอใจของผู้บริโภคจะลดลง รัฐบาลกลางเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตทั้งหมด จุดมุ่งหมายการผลิตมิได้มุ่งกำรสูงสุด เน้นปริมาณการผลิตปริมาณมากที่สุด
                  ระบบเศรษฐกิจแบบผสม  ประเทศที่ดำเนินระบบเศรษฐกิจปบบผสมมักเกิดกับประเทศกำลังพัฒนาเป็นส่วนใหญ่ ลักษณะสำคัญยังคงไว้ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคล แต่รัฐบาลกลางจะเข้ามามีส่วนในการเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต นับเป็นบทบาทที่สำคัญของรัฐบาลที่เข้มายุ่งเกี่ยวในกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากกว่าประเทศทุนนิยม
                 มูลเหตุแห่งการดำเนินระบบเศรษฐกิจแบบผสม ต้องการสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ โดยอาศัยกลไกราคามาเป็นตัวช่วย อีกประการหนึ่ง ประเทศเล่านี้ประสบปัญหาความไม่เท่าเทียมด้านกระจายรายได้ บ่อยครั้เงที่การควบคุมจากฝ่ายรัฐบาลไม่มีประสิทธิภาไม่สามารถดำเนินให้ลุล่วงไปได้ ราคาสินค้าในท้องตลาดไม่สามารถที่จะบรรลุเป้าหมายไปได้
                  ลักาณะเศรษฐกิจแบบผสม
                  - การจัดสรรปัจจัยการผลิต อาศัยกลไกราคา
                  - ราคาสินค้าถูกควบคุมโดยรัฐบาล
                  - มีการวางแผนจากส่วนกลาง
                  - กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ยังคงถูกควบคุมโดยรัฐบาล
                  - รัฐบาลจะมีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจในกิจกรรมต่่างๆ ระบบเศรษฐกิจแบบผสมจะมีการเน้นบทบาทรัฐบาลมากกว่าทุนนิยมก้าวหน้า
                   กล่าวโดยสรุประบบเศรษฐกิจแบบผสม เป้ฯการดำเนินเศรษฐกิจผสมผสานระหว่างระบบเศรษฐกิจแบบตลาดควบคู่กันไปกับการวางแผนเศรษฐกิจผสมผสานระหว่างระบบเศรษฐกิจแบบตลาดควบคู่กันไปกับการวางแผนเศรษฐฏิจจากส่วนกลาง
                   ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ประกอบด้วยลักษะสำคัญดังนี้
                   - เอกชนมีสิทธิเสรีภาพอย่างเต็มที่ในการประกอบธุรกิจ
                   - ผู้บริโภคยังคงมีอำนาจอธิปไตยของผุ้บริโภค
                   - เอกชนยังคงมีกรรมสิทธิในทรัพย์สินส่วนบุคคล
                   - เอกชนภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ต่างจะมุ่งแสวงหาประโยชน์ใส่ตนเอง
                   - เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ ถือว่าเป็ฯการเกิดผลดีต่อส่วนรวมมมากที่สุด เพราะจะเกิดการแข่งขันทั้งทางด้านผู้ซื้อและผู้ขาย กลไกราคาจะเข้ามามีส่วนในการกำหนดจะผลิตสินค้าประเภทใด มีจำนวนเท่าใด
                   - เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ ถือว่าเป็นการเกิดผลดีต่อส่วนรวมมากที่สุด เพราะจะเกิดการแข่งขันทั้งทางด้านผู้ซื้อและผู้ขาย กลไกราคาจะเข้ามามีาส่วนในการกำหนดจะผลิตสินค้าประเภทใด มีจำนวนเท่าใด
                   - มุ่งแสวงหากำไรสูงสุดจัเป็นเป้าหมายที่สำคัญ
                   - เกณฑ์ตัดสินผู้บริโภคจะยึดหลัก รสนิยม ราคาสินค้า อรรคประโยชน์ที่จะได้รับตลอดจนรายได้ของผู้บริโภคซึ่งถือว่ามีอยู่อย่างจำกัด เพื่อให้เกิดความพึงพอใจสูงสุดจากการบริโภค
                   - เกณฑ์ตัดสินของผุ้ผลิต สินค้าใดมีกำไรมากจะดึงดูดให้มีการผลิตมากขึ้น ผู้ประกอบการจะอาศัยกลไกราคาเป็นเกณฑ์ตัดสิน จะผลิตสินค้าใดเป็นปริมาณเท่าใด จะใช้ทรัพยากรอะไรบ้าง เป็นจำนวนมากน้อยเท่าใด ซึ่งจะนำไปสู่เกณฑ์การตัดสินใจของระบบเศรษฐฏิจ จะทำการผลิตสินค้าอะไรเป็นปริมาณเท่าใด
                    ระบบเศรษฐฏิจแบบเสรีนิยม และแบบผสมกับบทบาทของรัฐบาลในการควบคุมเศรษฐกิจ ภายใต้ระบบเศรษฐกิจ ได้มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐพึงจะปฏิบัติและรับผิดชอบเอาไว้ ทั้งนี้ เพื่อมิให้รัฐบาลเข้ามาก้าวก่ายหน่วยธุรกิจเอกชนมากเกินไป เหตุใดรัฐบาลจะต้องเช้ามาควบคุมการประกอบกิจการของเอกชน ทำไมจึงไม่ปล่อยให้เอกชนได้ประกอบกิจการอย่างเสรี บทบาทของรัฐที่เข้าไปแทรกแซงแลวนั้นเหมาะสมเพียงใด กิจการบางประเภทถ้าปล่อยให้เอกชนดำเนินการผลิตอย่างเสรีจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี หลักการใหญ๋ ๆ โดยส่วนรวมจะพิจารณาดูว่าถ้าเอกชนดำเนินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ไม่มีความจจำเป็นอยางใดที่รัฐบาลจะต้องเข้าไปแทรกแซงอีกต่อไป

                    ระบบเสรีนิยม โดยหลักการจะปล่อยให้เอกชนดำเนินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ไม่มีความจำเป็นอย่างใดที่รัฐบาลจะต้องเขาไปแทรกแซงอีกต่อไป แต่เท่าที่ผ่านมาพบว่า ระบบเสรีนิยมยังมีจุดอ่อนในตัวเองคือมีการลงทุนในรูปผแบบที่ไม่ก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้เต็ฒที่ บ่อครั้งภายใต้ระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมักจะลงทุนเน้นหนักด้านการบริโภค อาทิ ร้านอาหาร สถานเริ่งรมย์ต่างๆ การลงทุนในรูปแบบนี้ไม่ก่อให้เกิดการขยายตัวการลงทุนต่อเนื่องปบบลูกโซ่ต่อไป สาเหตุใหญ่มาจาก ความผิดพลาดของระบบเสรีนิยม ที่ยังคงปล่อยให้เอกชนมีโอกาสในการครอบครองกรรมสิทธิทรัพย์สินส่วนบุคคล เมื่อเป็นเช่นนี้นำไปสู่ลักษณะการผูกขาดในตลาด แสดงว่าการเพ่ิมรายได้ในด้านเศรษฐกิจบริการ มิได้เป็ฯหลักประกันที่สำคัญว่าจะมีการเพ่มในประสิทธิภาพการผลิตในระบบเศรษฐกิจส่วนรวม จึงเป็นบทบาทที่สำคัญของรัฐที่จะเข้ามาเร่งรัดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ รัฐบาลมีหน้าที่จะต้องระดมทรัพยากรปัจจัยการผลิตเพื่อให้เศรษฐกิจมีการขยายตัว เขาดำเนินการ ปัญหามลภาวะเป็นพิษ ปัญหาการผูกขาดเศรษฐกิจและการเข้าครอบครองกรรมสิทธิในที่ดิน รวมทั้งปัญหาทางระบบเศรษฐกิจแบบ 2 ระดับที่สร้างปัญหาทั่วไปให้เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ตลอดจนกลยุทธ์ที่จะนำไปสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ที่จะผลักดันให้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ด้วยจุดมุ่งหมายของรัฐที่เข้าทาแทรกแซง เพื่อสร้างเสถียรภาพในระดับราคาการจ้างงาน
                    โดยทั่วไปจึงเป็นที่ยอมรับสภาพความเป็นจริงระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมมีจุดอ่อน จะต้องมีการแก้ไขบางประการและยอมรับถึงความจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องเข้ามาแทรกกิจการภาคเอกชน ทั้งๆ ที่ยอมรับว่าบทบาทเสรีภาพเอกชนเป็นสิ่งสำคัญ บงครั้งเกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจทั้งหมด ภายใต้การผลิตที่มีการแข่งขัน รัฐบาลต้องเข้าแทรกแซงเพื่อให้กลไกทางเศรษฐกิจดำเนินไปได้อย่างสะดวก โดยเข้าไปแทรกแซงธุรกิจเอกชน จึงทำให้ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมกลายเป็นระบบเศรษฐฏิจแบบผสม เพราะรัฐได้มองเห็ฯแล้วว่า ถ้ายังคงปล่อยให้การดำเนินเศรษฐกิจเป็นแบบเสรี ปล่อยให้เอกชนดำเนินการไปโดยลำพังย่อมจะก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจส่วนรวม รัฐจำเป็นต้องเข้าดำเนินการเพื่อให้กิจการนั้นบรรลุวัตถุประสงค์ตามต้องการ ซึ่งรัฐเห็ฯว่าเหมาะที่สุด วัตถุประสงค์อันสำคัญย่ิง รัฐต้องการให้ระบบเศรษฐกิจมีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ ถือเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะคงการแข่งขันอยย่างสมบูรณ์ให้เกิดขึ้น เพื่อป้องกันมิให้กลุ่มใดครอบงำผูกขาดเศรษฐกิจ
                  ระบบเสรีนิยมมีจุอ่อน แม้จะประกันมาตรฐานการครองชีพของประชาชนไว้อย่างไรก็ตาม ยังมีจุดือนเกิดขึ้นสำหรับประชาชนบางกลุ่มที่พิการ ด้อยกาศึกษา ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการดำเนินกิจการ..ย่อมขาดโดอาสในการเข้าแข่งขันการผลิต ขณะใดขณะหนึ่งที่สภาวะเศรษฐกิจประสบธุรกิจประสบสภาวะขาดทุน สภาวะเศรษฐฏิจตกต่ำ คนว่างาน ถ้าเป็นระบบสังคมนิยมเสรีจุต้องปล่อยให้ระบบเศรษฐกิจเป็นผู้ปรับตัวเองในระยะยาว แต่ในสภาพแห่งความเป็นจริง รัฐบาลจะปล่อยให้เหตุการ์เช่นนี้เกิดขึ้นในระยะยยาวไม่ได้  จึงเป็นหน้าที่ของรัฐอันที่จะยื่นมือเข้าช่่วยเหลือแทรกแซงสภาวะเสณษฐกิจ ส่งเสริมการประกอบกิจกรรมส่วรวม โดยอาศัยกลไกราคาเพื่อให้ผลประโยชน์ตกอยู่กับส่วนรวมมากว่าเอกชน รัฐบาลจำต้องเข้ามาแทรกมีบทบาทจัดระดับการผลิตและการบิรโภคให้เป็นไปอย่างเหมาะสม ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ด้านการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังไม่แน่นอน ไม่ว่าจะเป็นด้านระดับราคาสินค้า การเลือกใช้ทรัพยากรจะต้องให้เกิดเสถียรภาพ รัฐบาลต้องเข้ามาแทรกแซงเพื่อให้เกิดเสถียรภาพนับเป็นจุดอ่อนอีกด้านหนึ่ง เพื่อให้กลไกราคาดำเนินไปยางมีประสิทธิภาพ รัฐจำเป็นต้องออกฎหมายเพื่อให้ใช้บังคับและควบคุมกำหนดขอบเขตการครอบครองกรรมสิทธิในทรัพย์สินส่วนบุคคล การปฏิบัติตามระเบียบและกฎหมายของบ้านเมือง
                 นี่คือที่มาของการนำระบบเศรษฐกิจแบบผสมมาใช้ทดแทนระบบเสรีนิยม เพื่อเป็นหลักการที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานของสังคม เน้นถึงความมีเสรีภาพในการประกอบกิจกรรมของเอกชน เพื่อให้ผลประโยชน์ตกเป็นของคนส่วนรวม องค์กรที่สำคัญจะเข้ามาดำเนินงานคือ หน่วยงานของ "รัฐบาล" นั่นเอง

วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559

The Marxist Theory of Law...III

.... แนวคิดของสำนักโครงสร้างนิยมจากตะวันตกดังกล่าว มองข้ามความสำคัญเรื่องบทบาทความสำคัญของพลังฝ่ายก้านหน้าต่างๆ ในสังคมหรือเรื่องการยอมรับความสำเร็จของฝ่ายประชาชนทั่วไปในการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งกฎหมายที่ปกป้องผลประดยชน์ของคนส่วนรวมมากขึ้น ซึ่งกล่าวเ็นหลักการทั่วไปีกนัยหนึ่งก็คือ ประเด็นปัญหาพื้นฐาน เรื่องการยอมรับในประติการ ระหว่างรัฐและชนชั้นต่าง ๆ ในสังคมนั้นเอง จากจุดนี้เราคงจะอนุมานได้ว่ายิ่งสังคมมีการพัฒนามากขึ้นเพียงใดก็ดี เรื่องของเหตุผลหรือความชอบธรรมจะเข้ามาปรากฎในเนื้อหาของกฎหมายมากขึ้น กฎหมายมิอาจเป็นเพียงการแสดงออกซึ่งอำนาจหยาบๆ ของผู้ปกครองอย่างง่ายๆ ตลอดไป ธรรมชาติแห่งเนื้อหาของกฎหมายจึงมีลักษณะพลวัตร ตามพลวัตรของสังคม และข้อสรุปถึงธรรมชาติกฎหมายท่วไปว่าเป็นเพียงเครื่องมือกดขี่ชนชั้นปกครอง จึงมิใช่ข้อสรุปที่ถูกต้องชอบธรรมนัก แม้เมื่อพิคราะห์กันอย่างจริงจังจากทฤษฎีของมาร์กซิสต์เอง นอกจากนั้นการมองธรรมชาติของกฎหมายในแง่ลบตายตัว ดังกล่าวยังประกอบด้วยท่าทีแบบอภิปรัชญาซึ่งมีความเชื่อในลักาณะสัมบูรณภาพของธรรมชาติส่ิงหนึ่งๆ ซึ่งเป็นความเชื่อที่ไม่ต้องตรงกบความเป็นจริง
            ซึ่งข้อสรุปนี้ได้รับอย่างเป็นทางการของรัฐสังคมนิยม ข้อสรุปดังกล่าวนับเป็นการสร้างทัศนคติ หรือท่าทีในแง่ลบต่อคุณค่าในตัวเองของกฎหมายอย่างมาก กฎหมายถูกมองว่าเป็นเพียงกลไกของการกดขี่หรือปราบปรามฝ่ายตรงข้ามของรัฐ กฎหมายในรัฐสังคมนิยมช่วงต้นๆ จึงกลายเป็นกลไกอันน่าสะพรึงกลัวสำหรับการปราบปรามศัตรูทางชนชั้น สำหรับผู้ที่คิดเห็นตรงข้ามกับระบบหรือเพื่อป้องกันการฟื้นตัวของระบบทุนนิยมส่วนใหญ่ อันเป็นบทบาทของกฎหมายในเชิงทำลายล้าง มากกว่าในเชิงการสร้างสรรค์
              อย่างไรก็ดี การพัฒนาสังคมภายใต้อุดมการณ์มาร์กซิสต์ ก็มีปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นมากมายโดยเฉพาะปัญหาเรื่องความเป็นเผด็จการของรัฐสังคมนิยม ปัญหาเรื่องการจำกัดสิทธิเสรีภาพหรือการละเมิดสิทธิมนุษยชน หลังจากยุคสตาลิน บรรยากาศแห่งการถกเถียง ทบทวนความผิดพลาดต่างๆ ก็เกิดขึ้น ผู้นำใหม่ของรัสเซียขณะนั้น คือ ครุสเชฟ ได้กล่าวประณามความผิดต่างวๆ ที่เกิดขึ้นในยุคสมัยของสตาลิน และพยายามที่จะรื้อฟื้นการยกย่องเชิดชูความมีคุณค่าสูงสุดของกฎหมาย ขณะเดียวกันก็ให้ถือว่ากฎหมายเป็นการแสดงออกซึ่งเจตจำนงอันเป็นเอกภาพของประชาชนทุกคน มิใช่เป็นเจตจำนงของชนชั้นหนึ่งที่มีอำนาจในสัคม แนวทรรศนะนี้ได้นำไปสู่การยอมรับความสำคัญหรือคุณค่ากฎหมายที่เพิ่มขึ้นรวมทั้งนำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า เป็นหลักนิติธรรมแบบสังคมนิยมในฐานะเป็นหลักหมายของการค้ำประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน อันเป็นบทบาทของกฎหมายในเชิงสร้างสรรคซึงเน้นความสำคัญของระเบียบแบบแผนแห่งกฎเกณฑ์ ความถุกต้องของการปกครอง ความแน่นอนและคาดทำนายได้ของกฎหมาย
           เป็นที่น่าสังเกตว่าแนวทรรศนะดังกล่าวในช่วงแรกๆ ของการก่อตัวกลับถูกต่อต้านคัดค้านอย่างมากจากรัฐสังคมนิยมอีกแห่งหนึ่ง คือ ประเทศจีนซึ่งยืนยันว่านโยบายของพรรค คือวิญญาณของกฎหายแนวคิดเกี่ยวกับกฎหมายของจีนยังคงยคดอยู่กัีบข้อสรุปเดิมๆ ของนักทฤษฎีมาร์กซิสต์ ที่มองกฎหมายเป็นเพียงเครื่องมือชิ้นหนึ่งที่ไร้คุณค่าศักดิ์ศรีใดๆ ประหนึ่งทาสในสายตาของนายทาศที่มิใช่เป็นมนุษย์ซึ่งมีศักดิ์ศรีหรือคุณค่าในตัวเองโดยเฉพาะหลังจากที่มีการทำปฏิวัติวัฒนธรนรมครั้งใหญ่ ซึ่งอาจเรียกว่าเป็นยุคมืดของพัฒนาการด้านกฎหมายในประเทศจีนเนื่องจากำม่มีการสอนวิชากฎหมายกันอีกต่อไปโดยกฎหมายถูกวิพาก์วิจารณ์จาพรรคคอมมิวนิสต์ว่าเป็นข้ออ้างของพวกฝ่ายขวาที่นำมาใช้ต่อต้านพรรคโดยมองข้ามธรรมชาติทางชนชั้นของกฎหมาย พร้อมกันนั้นก็มีการสรรเสริญภาวะการไม่มีกฎหมายกันอย่างเอิกเกริก กระทั่งในยุคสมัยของ เติ้ง เสี่ยว ผิง กฎหมายได้รับการรื้อฟื้น และหันมาตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้าง "ระบบกฎหมายสังคมนิยมที่มีลักษณะแบบจีน" โดยเริ่มมีความเชื่อว่าระบบกฎหมายเป็นสิ่งหนึ่งซึ่งอาจช่วยป้องกันมิให้เกิดเหตุอันน่าสะพรึงที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิวัติวัฒนธรรมได้รวมทั้งความเชื่อว่ากฎหมายเป็นสิ่งที่จะช่วยประชาชนในการต่อสู้คัดค้านการใช้อำนาจโดยมิชอบของรัฐซึ่งละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้คน เติ้ง เสี่ยว ผิง กล่าวไว้ชัดเจนว่า "นับเป็นความจำเป็นที่จะต้องวางหลักเกณฑ์ในระบบกฎหมาย กฤษฎีกาและระเบียบข้อบังคับเพื่อสร้างประชาธิปไตยภายใต้รูปแบบของระบบกฎหมาย และนับจากนั้นถึงปัจจุบันรัฐบาลจีนก็ได้ทำการสร้างประมวลกฎหมายและตรากฎหมายต่างๆ ออกมาอย่างมากมาย..ซึ่งมีบทบัญญัติรับตองความศักดิ์สิทธิ์และความสำคัญสูงสุดของกฎหมายที่ไม่มีบุคคลใดๆ (ไม่ว่าจะเป็นพรรคคอมมิวนิสต์หรือเอกชน) จะสามารถอยู่เหนือได้ การพัฒนาความคิดทางนิติศาสตร์ ของจีนมีส่วนสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับเหตุผลทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลจีนหันมาเหน้ความสำคัญของการพัฒนาทางเศรษฐกิจตามนโยบายที่ทันสมัย แรงกดดันทางเศรษฐกิจนี้จึงทำให้ต้องมีการตรากฎหมายใหม่ๆ ขึ้นมา ทั้งที่เกี่ยวกับกฎหมายส่งเสริมการลงทุน ควบคู่ไปกับการยืนบันความศํกดิ์สิทธิ์ของกฎหมายในการปกป้องสิทธิด้านต่างๆ ของเอกขน อย่างน้อยก็เพื่อประกันความมั่นใจแก่นักลงทุนต่างชาติในการคุ้มครองสิทธิทางกฎหมายต่างๆ
          ปรากฎการณ์เหล่านี้นับเป็นแนวโน้มใหม่ที่เพิ่งปรากฎขึ้นในรอบทศวรรษนี้เอง แม้กระนั้นเมื่อกล่าวโดยทั่วไปก็ยังถือว่า ในปัจจุบันศาสตร์ด้านกฎหมายของจีนยังจัดเป็นศาสตร์ทีล้าหลังที่สุดในบรรดาสังคมศาสตร์ทั้งหลายในดินแดนสังคมนิยมแห่งนี้
           3. ในสังคมคอมมิวนิสต์ที่สมบูรณ์ กฎหมายในฐานะทีเป็นเครื่องมือของการควบคุมสังคมจะเหือดหายและสูญสิ้นไปในที่สุด เป็นเรื่องของการพยากรณ์อนาคต มิใช่เข้อสรุปทางทฤษฎีบนพื้นฐานของเงื่อนเวลาปัจจุบันซึ่งอาจพิสูจน์ความถูกได้ มองดโยทั่วไปแล้วข้อสรุปเชิงพยากรณ์นี้นับว่ามีสุ้มเสียงแบบอภิปรัชขญาในเชิงศษสนาอยู่มาก ๆ ในแง่ที่คล้ายกับการให้คำมั่นสัญญหรือการยืนยันต่อภาวะที่คล้ายสมบูรณภาพของสังคมอุดมคติของมาร์กซ์ในอนาคตอันไกลโพ้นที่โลกจะยู่กันอย่างสันติสุข มีแต่ความเป็นภราดรภาพระหว่างมนุษ์ด้วยกันเอง มีแต่ความเสมอภาคกันอย่างแท้จริง จนไม่ต้องมีการแบ่งแยกระหว่างการเป็นผู้ปกครอง และผู้อยู่ใต้ปกครอง ไม่ต้องมีรัฐในลักษณะกำไกของการข่มขู่บังคับให้คนต้องอยู่ในระเบียบ และไม่ต้องมีกฎหมายที่ออกมาใช้บังคับกำหนดกะเกณฑ์ให้คนต้องประพฤติตามกฎเกฑณ์ซึ่งวางไว้
             ประเด็นเรื่องการเหือดหายหรือการสบลายตัวอย่างช้าๆ ของรัฐและกฎหมายนี้แท้จริงเป็ฯเรื่องที่โต้แย้งกันอย่างมากๆ ในหมู่นักทฤษฎีของมาร์กซิสต์ ทั้งฝ่ายที่เห็ฯด้วยและไม่เห็นด้วยและถึงที่สุดแล้วก็เป็นเรื่องที่คล้ายๆ กับข้อสรุปสองข้อที่ฝ่านมาเกี่ยกับธรรมชาติและบทบาทของกฎหมาย แล่าวคือเป็นข้อสรุปที่เกิดจาการตีความภายหลังของบยรรดาเหล่าสาวกของมาร์กซ์ โดยเฉพาะปัญหาเรื่องการเหือดหายของกฎหมายในสังคมคอมมิวนิสต์ขั้นสุดท้ายซึ่งไม่ปรากฎหลักฐานสนับสนุนที่แน่นอนใดๆ ในงานเขียนของมาร์กซ์และเองเกลส์ มีเพียงข้อเขียนของเองเกลส์ ซึ่งกล่าวในเชิงพยากรณ์ว่า สังคมคอมมิวนิสต์ในอนาคตรัฐหรือรัฐบาลของบุคคล จะเหือดหายไร้ความจำเป็นในการดำรงอยู่อีกต่อไป แต่ข้อเขียนชิ้นเดี่ยวนี้ ก็เป็นการพูดถึงการเหือดหายของรัฐเท่านั้น มิได้รวมถึงบกฎหมายหรือสิ่งที่ถือว่าเป็นงดครงสร้างส่วนบนของสังคมทั้งหมด แม้ว่าจะเป็นไปได้โดยการสันนิษฐานว่าเองเกลส์มองรัฐและกฎหมายในลักษณะที่เป็นสถาบันซึ่งเป็นคู่แผดกันอันจะมีการเคลื่อนไหวหรือพัฒนาการที่คล้ายคลึงกัน ข้อสันนิษฐานเช่นนี้ก็ไม่เคยมีการพูดไว้อย่างจะแจ้งใดๆ โดยเองเกลส์และแม้จะสันนิษฐษนกันเอาเองข้อสันนิษฐานนี้ในที่สุดก็จะพบว่าเป็นเรื่องของความเพ้อฝัน  เป้ฯที่น่าสังเกตว่าข้อสรุปเรื่องการเหือดหายของกฎหมายนี้เป็นข้อสรุปที่ได้รับการป่าวประกาศโฆษณาโดยบรรดานักทฤษฎีกฎหมายของโซเวียตในช่วงต้นๆ หลังการปฏิวัติโดยเฉพาะจากนักทฤษฎี หรือนักปรัชญากฎหมายคนสำคัญในยุคนั้น ซึ่งต่างยืนยันถึงการสิ้นสุดภาพกิจหรือความเป็นทางกฎหมายในเมื่องปราศจกสังคมชนชั้นอีกต่อไป ท่าทีและข้อสรุปเชนนี้ต่อมากลับถูกเปลี่ยนแปลงในยุคของสตาลิน ที่หันมาเน้นบทบาทของกฎหมายอย่างเข้มข้นอีกครั้งในทางการเมืองในฐานะเป็นเครื่องมือเพื่อลงโทษหรือถอนรากถอนโคนผู้เป็นปรปักษ์ต่อการปฏิวัติ กฎหมายในยุคสมัยนี้จึงเป็นเครื่องมือกลไกทางการเมือง มากกว่าบทบาทเชิงสร้างสรรค์หรือค้ำจุนสิทธิเสรีภาพ และเริ่มเสื่อมการยอมรับเมื่อรัฐบาลโซเวียตในยุคสมัยครุสเซฟได้เปลี่ยนนโยบายหันมาฟื้นฟูความสำคัญของกฎหมายอีกครั้ง และหันมาเน้นถึงสาระประโยชน์ของสิ่งที่เรียกว่า "ความถูกต้องตามกฎหมายของสังคมนิยม" ซึ่งอาจตีความว่า "หลักนิติตธรรมแบบสังคมนิยม" ดังที่กล่าวมาแล้ว..
           แนวทางตีความในยุคหลังจึงมองว่า แม้สังคมจะพัฒนาสู่จุดหมายอุดมคติได้สูงเพียงใดก็ตามสังคมก็ยังต้องมีกฎหมายบังคับใช้อยู่เพื่อคุ้มครองปกป้องสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล ให้พ้นจากการแทรกแซงจาปัจเจกบุคคลด้วยกัน กับความเป็นไปได้ว่ายิ่งสังคมพัฒนาสู่ภาวะอุดมคติที่เต็มไปด้วยความรักสามัคคี สังคมจะมีกฎหมายน้อยลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะกฎหมายที่มีลักษณะหยาบๆ ข่มขู่กดขี่กฎหมายที่มีบทลงโทษรุนแรงหรือกฎหมายที่แทรกแซงการใช้สิทธิบางประการของบุคคลดังคำกล่าวในทำนองว่า สัีงคมยิ่งดีขึ้นมากเพียงใด กฎหมายก็ยิ่งปรากฎน้อยลงเพียงนั้นอันเป็นภาวะที่คล้ายย้อนกลับสู่ยุคสมัยที่มนุษย์รวมอยู่กันเป็นชุมชนและแก้ไปข้อพิพาทด้วยการไกล่เกลี่ยประนีประนอมมากกว่าการใช้กลไกทางกฎหมาย แต่ตราบเท่าที่ปัจเจกภาพของบุคคแตะละคนยังดำรงอยู่และเป็นที่หวงแหน พร้อมกับความจำเป็นที่มนุษย์ต้องรวมตัวกันอยู่ในรูปสังคมสมัยใหม่ที่ความสัมพันธ์ของชีวิตมีความซับซ้อนมากขึ้นกฎเกณฑ์ทางสังคมในรูปกฎหมายก็คงเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องพึ่งพิงการดำรงอยู่ของมันตลอดไป เพียงแต่ความเปลี่ยนแปลงอันอาจคาดหมายน่าจะอยู่ที่การเพิ่มขึ้นในลักษณะความเที่ยงธรรมของการบังคับใช้และเป้าหมายอันเป็นไปเพื่อส่วนรวมอย่างแท้จริงของกฎหมาย
         

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...