Political Socialization

              เนื่องจากวัฒนธรรมทางการเมือง เป็นเรื่องของความรู้ ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม แนวคิดและพฤติกรรมของบุคคลในสังคม วัฒนธรรมทางการเมืองจึงมีอิทธิพลต่อบุคคลซึ่งเป็นสมาชิกของสังคมในหลายประการด้วยกัน
              ที่มาของวัฒนธรรมทางการเมือง  ความโน้มเอียงทางการเมืองอันประกอบด้วย ความรู้ ความเชื่อ ความรู้สึกและประเมินค่าในทางการเมือง ซึ่งรวมกันเข้าเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองของบุคคลแต่ละคนในสังคมนี้ คนจะได้มาและสามารถที่จะถ่ายทอดไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งได้โดยผ่านทางกระบวนการที่เรียกว่า "การเรียนรู้ทางการเมือง"กระบวนการชนิดนี้ ถือได้ว่าเป็นตัวกลางที่เชื่อโยงระหว่างวัฒนธรรมกับมนุษย์ กล่าวคือ เป็นตัวที่ดึงเอาวัฒนธรรมเข้าไปมีส่วนหรือมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์อย่างมากมาย บางครั้งกระบงวนการเรียนรู้ทางการเมืองนี้ ถูกใช้เป็นเครื่องมือในทางการเมืองของผู้นำ เช่น กรณีของจีน คิวบา และสหภาพโซเวียตรัสเซีย เป็นต้น
กระบวนการการเรียนรู้ทางการเมือง
                Kenneth P. Langton  นิยามว่า การเรียนรู้ทางการเมือง คือ "กระบวนการที่บุคคลได้เรียนรู้แบบแผนพฤติกรรม และอุปนิสัย ในทางที่เกี่ยวเนื่องกับการเมืองโดยผ่านทางสื่อกลางต่าง ๆ ของสังคม สือกลางเหล่านี้รวมถึง สิ่งแวดล้อมทั้วๆ ไป เช่น ครอบครัว กลุ่มเพื่อผูง โรงเรียน สมาคมผู้ใหญ่ และสื่อสารมวลชนต่าง ๆ
                Dawson & Prewitt ได้สรุปข้อคิดเห็นไว้ว่า กระบวนการเรียนรู้ทางการเมือง คือ "กระบวนการของการพัฒนาซึ่งบุคคลแต่ละคนจะได้มา ซึ่งโลกทัศน์ทางการเมือง"
                Michael & Phillip Athoff นักสังคมวิทยาการเมืองทั้งสองท่านได้ให้คำจำกัดความของกระบวนการเรียนรู้ทางการเมืองไว้ดังนี้ " เป็นกระบวนการซึ่งบุคคลแต่ละคนรู้ตนเองว่าอยู่ในระบบการเมือง ทำให้เกิดมโนคติหรือ ปฏิกริยาต่อปรากฎการณ์ทางการเมือง กระบวนการนี้เกิดขึ้น จากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรมของสังคมที่บุคคลนั้นเป็นสมาชิกอยู่ และยังเกิดจากกรบวนการ มีบทบาทต่อกันในระหว่างบุคลิกภาพ และประสบการณ์ของบุคคลแต่ละคนนั้นอีกด้วย"
               หน้าที่ของกระบวนการเรียนรู้ทางการเมือง
               กระบวนการเรียนรู้ทางการเมืองมีบทบาท หน้าที่ที่สำคัญหลายประการด้วยกัน ในที่นี้เราอาจจะสรุปหน้าที่หลักของกระบวนการเรียนรู้ทางการเมืองที่พึงมีต่อวัฒนธรรมทางการเมือง ดังนี้
                       1. รักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมทางการเมือง หมายถึง การที่คนรุ่นเก่าอบรมสั่งสอน เพื่อสืบทอดค่านิยมทางการเมือง ทรรศนะ ปทัสถาน และความเชื่อไปยังคนรุ่นใหม่ของสังคม การให้การเรียนรู้ทางการเมืองโดยหวังที่จะรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมทางการเมืองเดิมนั้น อาจจะทำได้โดยผ่านสื่อกลางต่าง ๆ ที่เราได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
                        2. ปฏิรูปวัฒนธรรมทางการเมือง ทุกสังคมย่อมประสบกับการเปลี่ยนแปลงซึ่งจะมีผลกระทบต่อแนวโน้มทางการเมืองของประชาชนไม่มากก็น้อย กระบวนการเรียนรูจะเป็นตัวช่วยให้ข่าวสารใหม่ๆ อันจะนำไปสู่การปฏิรูปวัฒนธรรมทางการเมืองได้เป็นอย่างดี
                        3. สร้างวัฒนธรรมทางการเมือง ปัญหาที่สำคัญย่ิง ที่ประเทศเกิดใหม่ประสบก็คือพวกเขาพบว่าตนเองอยู่ในชุมชขนทางการเมืองใหม่ที่ยังไม่มีภาษา วัฒนธรรม ศาสนา หรือแม้แต่ศัตรูร่วมกัน ปัญหาของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภาระในชาติจะเกิดขึ้น สิ่งแรกและถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ผู้นำจะต้องกระทำก็คือ การสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองร่วมกัน หรือ สร้างค่านิยม ความเชื่อร่วมกันอันเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชนให้เกิดขึ้นมาให้ได้ ในสภาพของความสับสนหลังจากการได้เอกราชนี้ กระบวนการเรียนรู้ทางการเมืองจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการช่วยก่อให้เกิดวัฒนธรรมทางการเมืองอันจะนำมาซึ่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของชาติได้

                   การเรียนรู้ทางการเมืองโดยสรุปกระบวนการทีสำคัญๆ ได้แก่
                         1. การเรียนรู้ทางการเมืองโดยทางอ้อม มีด้วยกัน สามรูปแบบ ได้แก่ การถ่ายโอนระหว่าวบุคคล รูปแบบนี้เชื่อว่าเด็กได้รับการเรียนรู้ทางการเมือง แรกเริ่มจากปรสบการณ์ที่ได้สัมพันธ์ติดต่อกับบุคลลในครอบครัวและโรงเรียน และยึดประสบการณ์นั้นๆ เป็นหลัก นักวิชาการจิตวิทยาวัฒนธรรม และสังคมวิทยาการเมืองเชื่อว่า อุปนิสัยของคนจะเป็นประชาธิปไตยหรืออำนาจนิยมนั้นขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ติดต่อที่เขามีต่อบุคคลที่มีอำนาจในสมัยเด็กๆ เช่น ถ้าเด็กได้รับการอบรมจากครอบครัวที่เป็นอำนาจนิยม เมื่อเติบโตขึ้น เขาจะมีแนวโน้มไปในแง่ของอำนาจนิยม และจะมีวัฒนธรรมทางการเืองที่เป็นอุปสรรคต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย.. ประการที่สอง การฝึกหัดอบรม รูปแบบนี้จะสัมพันธ์กับรูปแบบแรกอย่างใกล้ชิด กล่าวคือ เกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่มีต่อบทบาทที่ไม่ใช่ทางการเมือง ทำให้บุคคลแต่ละคนมีลักษณะและค่านิยมซึ่งสามาถใช้ในแวดวงการเมืองได้ เช่น การฝึกอบรมให้เด็กเรียนรู้ที่จะแข่งขันกันโดยเคารพต่อกฎกติกา..ประการสุดท้าย ระบบความเชื่อพื้นฐานและแบบแผนค่านิยมของวัฒนธรรมไดๆ อันเป็นค่านิยมโดยทั่วไป ที่ไม่ได้เกี่ยวกับสรรพสิ่งทางการเมืองใโดยเฉพาะ มักจะมีบทบาทที่สำคัญในการสร้างวัฒนธรรมทางการเมือง มิติต่างๆ ของความเชื่อพื้นฐาน เช่น ทรรศนะว่าด้วยความเกี่ยวพันกันระหว่างคนกับธรรมชาติ ความคาดหวังในอนาคต ทรรศนะว่าด้วยธรรมชาติของมนุษย์ และว่าด้วยหนทางที่เหมาะที่ควรที่จะเข้าหาบุคคล ตลอดจนความโน้มเอียงต่อกิจกรรม และความเชื่อในเรื่องของการกระทำกิจกรรมโดยทั่วไป มักจะขึ้นต่อกันอย่างชัดแจ้งกับทัศนคติทางการเมือง
                        2. การเรียนรู้ทางการเมืองโดยตรง ประการแรก การเลียนแบบ คือเป็นวิธิการที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะอยู่ในวัยเด็กหรือผู้ใหญ่ ฉลาดหรือโง่เขลา..ประการที่สอง การเรียนรู้โดยการคาดไว้ล่วงหน้า เป็นแนวคิดของนักสังคมวิทยาที่มีทรรศนะ่า คนที่สร้างความหวังที่จะได้งานดีหรือมีฐานะทางสังคมดี มักจะเริ่มฝึกเอาค่่านิยมและพฤติกรรมของคนที่มีงานดีหรืออยู่ในฐานะทางสังคมที่สูงแล้ว มาเป็นของตนก่อนที่เราจะได้งานหรืออยู่ในฐานะนั้นๆ เสียอีก ..ประการต่อมา การศึกษาทางการเมือง คือวิธีการเรียนรู้ทางการเมืองอย่างตรงไปตรงมา สังคมจะต้องให้การศึกษาทางการเมือง โดยมุ่งที่จะกระตุ้นให้สมาชิกของสังคมเกิดความจงรักภักดี มีความเป็นชาตินิยมและสนับสนุนสถาบันทางการเมือง...ประการต่อมา ประสบการณ์ทางการเมืองโดยตรง บางคนอาจเรียนรู้ทางการเมืองโดยมีการติดต่อสัมพันธ์กับนักการเมือง โครงสร้างหรือเหตุการณ์การทางการเมือง นักวิชาการยังพบว่า การเฝ้าสังเกตและการไปเกี่ยวข้องกับการเมืองนั้นจะเป็นปัจจัยสำคัญในการขัดเกลาความโน้มเอียงทางการเมืองของบุคคลนั้น นอกจากนี้มีการศึกษาที่พบว่าแนวโน้มที่คนจะสนับสนุนโครงสร้างทางการเมืองมี่เป็นอยู่ ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจที่บุคคลนั้นมีต่อนโยบาย หรือผลผลิตที่ได้จากการตัดสินใจของรัฐบาลและอีกประการหนึ่งคือ การติดต่อโดยตรงกับนักการเมือง หรือเจ้าหน้าที่รัฐบาล ซึ่งวิธีการเรียนรู้แบบนี้จะช่วยสร้างความมั่นใจในตนเองให้เกิดขึ้นในตัวบุคคลและจะส่งผลให้เขารู้สึกว่าตนเองมีความสามารถที่จะส่งผลกระทบหรือเข้าไปมีอิทธิพลต่อการตัดสินนโยบายทางการเมืองได้
             ขั้นตอนการเรียนรู้ทางการเมือง  การเรียนรู้ทางการเมืองของบุคคลจะเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาตลอดชีวิตโดยจะย่นขั้นตอนต่าง ๆ ที่สำคัญๆ ดังนี้
              - ครอบครัวเป็นสถาบันที่มีความสำคัญที่สุในขั้นตอนนี้ คือ เป้ากมายของการเรียนรู้ในขันนี้ก็คือ เพื่อให้มนุษย์เรียนรู้วิธีการดำรงชีวิตอยู่ในสงคมร่วมกับผู้อื่นได้
               - ขั้นต่อไป เมื่อเด็กมีเอกลักษณ์ส่วนตัวและมีการพัฒนาไปสู่การมีพื้นฐานความรู้และความเชื่อ สิ่งสำคัญที่เด็กเรียนรู้ในขั้นตอนนี้คือ สภาพของอำนาจอันชอบธรรม ความเชื่อถือไว้วางใจผู้อื่น บางสังคมให้การอบรมเด็กโดยสอนใไม่ให้ไว้ใจคนอื่น ผลที่ตามมาทำให้ชาวพม่าไม่ให้ความเชื่อถือไว้วางใจนักการเมือง หรือสถาบันทางการเมือง จึงทำให้การเมืองพม่ามักจะใช้วิธีการรุนแรง
               - ต่อมา เป็นขั้นตอนที่คนเริ่มได้รับการเรียนรู้ทางการเมืองของสังคม มีประสบการทางการเมือง ติดต่อกับนักการเมืองได้รับความรู้จากพรรการเมืองสื่อมวลชนและกำรบวนการเลือกตั้งเป็น ขั้นตอนนี้ จะทำให้คนมีบุคลิกภาพ มีทัศนคติ ความรู้สึก ค่านิยมทางการเมือง รวมทั้งสาสารถพินิจพิเคราะห์ หรือรู้จักประเมินค่าในทางการเมืองได้
               - ขั้นต่อมา คนจะมีความรู้ ความเข้าใจ และเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง อย่างกระตือรือร้น มีความรู้สึกว่าการเมืองกับตนเองแยกกันไม่ได้ และเชื่อว่า ตนเองสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางการเมือง และมีอิทธิพลต่อการตัดสินนโยบายของรัฐ
               นอกจากขั้นตอนการเรียนรู้ดังกล่าว ปัจจัยที่มีอิทธิพลที่ทำให้เกิดวัฒนธรรมทางการเมืองในลักษณะใดๆ ขึ้นมา ปัจจัยเหล่านี้ประกอบด้วย  เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ คือ เหตะการณ์ที่สังคมนั้น ประสบในอดีต ซึ่งอาจมีส่วนในการกำหนดพฤติกรรมของคนที่พึงมีต่อระบบการเมืองในปัจจุบัน.. สภาพภูมิศาสตร์ของสังคม... สภาพทางเศรษฐกิจของสังคม ประเทศอุตสาหกรรมที่มีระดับการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับสูง จะมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดวัฒนธรรมทางการเมืองแบบเข้ามีส่วนร่วม ในขณะที่สังคมซึ่งเป็นสังคมเกษตรกรรม มีระดับของการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมอยู่ในชั้นต่ำ มักจะมีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบดั้งเดิมหรือแบบไพร่ฟ้า..ขนบธรรมเนียมประเพณีทางการเมือง ลัษณะของขนบธรรมเนียมประเพณีทางการเมือง ในแต่ละประเทศย่อมผิดแผกแตกต่างกันไม่มากก็น้อย บางประเทศเน้นที่การสร้างเอกลักษณ์ของขาติ ธงชาติ เพลงขาติ ฯ เหล่านี้จะมีส่วนในการสร้างเสริมค่รนิยม ความเชื่อบางประการ อันเป็นผลให้วัฒนธรรมทางการเมืองในแต่ละประเทศแตกต่างกันไม่มากก็น้อย
            วัฒนธรรมทางการเมืองเชิงปฏิบัติ
             การที่ะรู้ว่าสังคมใดมีวัฒฯธรรมทางการเมืองในลักษณะใด เราอาจดูได้จากทัศนคติของประชาชนที่มีต่อระบบการเมือง กล่าวคือ
              - ระบบการเมืองโดยส่วนรวม ในระดับนี้อาจดูได้จากระดับความชอบธรรมของระบบการเมืองเอง ถ้าประชาชนมีความเชื่อว่าพวกเขาจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ความชอบธรรมของระบบก็จะสูง ในทางตรงกันข้าม หากประชาชนไม่เห็นประโยชน์จากการเคารพกฎหมายแล้ว ความชอบธรรมของระบบจะต่ำประชาชนจะยอมรับในความชอบธรรมของรัฐบาลด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไปหลายประการ ถ้าหากผู้นำหรือรัฐบาลมีความขอบธรรมแล้ว การที่ประชาชนจะให้การสนับสนุนและเข้ามีส่วนร่วมอย่างเหมาะอย่างควร ในสังคมที่มีระดับของความชอบธรรมในรัฐบาลต่ำ มักจะนำไปสู่วัฒนธรรมทางการเมืองในลักษณะที่ใช้กำลังรุนแรง...
              - กระบวนการทางการเมือง หมายถึง ลักษณะแนวโน้มที่บุคคลจะเข้าเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางการเมือง เช่น เรียร้องต่อระบบ เคารพกฎหมาย ..ในระบบการเมืองแต่ละระบบย่อมที่จะมีระดับของวัฒนธรรมทางการเมืองแบบเข้ามีส่วนร่วมในการะบวนการทางการเมือง แตกต่างกันไป นักวิชาการทางการเมือง ได้จำแนกระบบการเมืองที่มีอยู่ในดังนี้
                          1. ระบบการเมืองของสังคมอุตาสาหกรรมแบบประชาธิปไตย
                          2. ระบบการเมืองของสังคมอุตสหกรรมแบบอำนาจนิยม
                          3. ระบบการเมืองของสังคมที่อยู่ในระยะกำลังเปลี่ยนแปลงที่ใช้ระบอบอำนาจนิยม
                          4. ระบบการเมืองของสังคมยุคก่อนอุตสาหกรรมแบบประชาธิปไตย
                 และระบบดังกล่าวนี้จะมีส่วนผสมของวัฒนธรรมทางการเมืองในรูปแบบต่างๆ แตกต่างกันไป
                       3. นโยบาย คือดูว่านโยบายในลักษณะใดที่ประชาชนคาดว่า รัฐบาลจะสนองตอบเป้าหมายที่รัฐบาลวางไว้ และวิธีการที่จะดำเนินการไปสู่เป้าหมายเป็นอย่างไร ในการที่จะเข้าใจการเมืองของประเทศใด เราควรจะต้องเข้าใจประเด็นปัญหาที่ประชาชนใส่ใจ และประเด็นปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องที่รัฐบาลจะต้องมีนโยบายในลักษณะใดๆ เพื่อแก้ไขและดำเนินการ ประชาชนในแต่ละประเทศจะแตกต่างกันในแง่ของความสำคัญที่พวกเขาให้ต่อนโยบายของรัฐ ในางสังคมประชาชนให้ความสำคัญกับทรัพย์สินส่วนบุคคล บางสังคมถือเป็นกฎว่าทรัพย์สินต้องเป็นส่วนรวม...
              วัฒนธรรมทางการเมืองในแต่ละสังคมจะอยู่ในลักษณะใดนั้นขึ้นอยู่กับทัศนคติของประชาชนที่มีต่อความชอบธรรม นโยบายและกระบวนการทางการเมืองที่เป็นอยู่ และทัศนคติของประชาชนในแต่ละระดับอาจจะกลมกลืนหรือขัดแย้งกันก็ได้


         

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)