Political Development

          การเมือง คือ  เรื่องราวของรัฐ,  การเมือง  คือ  เรื่องราวที่เกี่ยวกับอำนาจและอำนาจหน้าที่ อำนาจทางการเมือง คือ "อำนาจที่ใช้โดยรัฐ หรือบุคคลหรือกลุ่มบุคคล เพื่อให้รัฐดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง",  การเมือง คือ การแจกแจงสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม, การเมือง คือ เรื่องของพฤติกรรมต่างๆ ที่เป็นประเด็นสำคัญๆ ทางการเมือง เราจะพบว่าประเด็นที่เกี่ยวกับการเมืองที่เป็นประเด็นสำคัญ ๆ เช่น ความขัดแย้งอำนาจและอิทธิพล ผู้นำ การตัดสินนโยบายต่างก็มีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างใกล้ชิด ดังนั้นจึงพอสรุปได้ว่า "การเมือง" คือ การใช้อำนาจในการแจกแจงสิ่งที่มีคุณค่าในสังคมเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม                                                                                                                                            การพัฒนาทางการเมือง   คือ การเปลี่ยนแปลงชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในสังคมโดยมีเป้าหมายใดๆ ที่เเน่นอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้อำนาจเพื่อแจกแจงสิ่งที่มีคุณค่าให้กับสมาชิกของสังคมอย่างเป็นธรรมกว่าเดิม                                              แนวคิดการพัฒนาการเมืองนั้นเป็นวิธีการศึกษาการเมืองที่เกิดขึ้นร่วมสมัยกับการศึกษารัฐศาสตร์ในแนวพฤติกรรมศึกษา ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่วิชารัฐศาสตร์พยายามสร้างงานวิจัยที่เกี่ยวกับประเด็นปัญหาในสังคมจริงๆ ได้มาองปัฐหารอย่างมีจุดมุ่งหมาย ทีสสามารถนำไปแก้ปัญหาได้จริง และทำให้รัฐศาสตร์กลายเป็นศาสตร์บริสุทธิมากกว่าที่เป็นอยู่ แนวคิดพัฒนาการการเมืองมีการเรียนการสอนในระดับกระบวนทฤษฎี หรือในภาษาที่เป็นที่รู้จักมากกว่าคือเป็นวิธีวิเคราะห์การพัฒนาทางการเมือง ดังกล่าวซึ่งเป็นอิทธิพลทางอฤษฎีของนักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกันแกเบรียล อัลบมอนด์ ที่หยิบยืมวิธีวิเคราะห์มาจากวิธีวิเคราะห์โครงสร้างและหน้าที่ที่มองว่าการเมืองโดยรวมนั้นสามารถจะพัฒนาได้หากสมาชิกในสังคมมี "สำนึกพลเมือง"หรือ"วัฒนธรรมพลเมือง"ในการเข้าร่วมทางการเมืองอย่างแข็งขัน แต่หากสมาชิกในสังคมการเมืองวางเฉยทางการเมือง หรือรับรู้แต่ไม่เข้าร่วมทางการเมือง การเมืองนั้นก็จะด้อยพัฒนา                                             Lucian W. Pye มองว่าการพัฒนาการ เมืองนั้นเป็นโรคระบาดทางการเมืองอย่างหนึ่ง ที่มนุษย์ต้องการให้เกิดขึ้นกับระบบการเมืองการปกครองของรัฐ-ชาติตน เพราะสังคมการเมืองที่มีการพัฒนาการเมืองมาก โครงสร้างทางการเมืองจะสลับซับซ้อน มีการแบ่งงานตามความชำนาญเฉพาะด้าน เป็นหน่วยเล็กๆ ทำดำเนินการอย่างอิสระ แต่ยังคงประสานงานกับหน่่วยงานใหญ่หรือรัฐอยู่เสมอ สังคมการเมืองที่มีพัฒนาการในทางการเมืองจะเคารพในความเท่าเทียม สมาชิกในสังคมการเมืองจะมีสิทธิในการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง ในลักษณธหรือรูปแบบต่างๆ โดยเท่าเที่ยมกัน ภายใจ้กฎระเบียบที่เป็นการทั่วไปรวมถึงการเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะเป็นรื่องของความสามารถของบุคคลไม่ใช่เป็น
เรื่องของชาติตระกูล ที่ำสคัญที่สุดคือ ระบบการเมืองสมารถที่จะตอบสอนงข้อเรียกร้องจากเหล่าสมาชิกในสังคมการเมืองได้มากกว่า รวมทั้งามารถเปลี่ยนแปลงเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของระบบโครงสร้างทางสังคม โดยเอื้อต่อเป้าหมายใหม่ ๆ ของระบบอีกด้วย            ซามูเอล ฮันทิง สรุปการพัฒนาการเมืองว่าคือ ทฤษฎีการเทือง หรอืำระบวนการทฤษฎีที่มองว่าความสามารถที่ะรบบการเมืองทไใด้คนในสังคมสนับสนุนในกิจกรรมทางการเมืองและเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม โดยการระดมทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรธรรมชาติเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของสังคมและเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ของสังคม โดยเป้าหมายของพัฒนาการทางการเมืองคือ "การสร้างสถาบันเพื่อจัดระเบียบการมีส่วนร่วมทางการเมือง" เป็นสำคัญการที่ระบบการเมืองของสังคมจะทำงานในหน้าที่ได้อย่างสัมฤทธิ์ผลนั้น โครงสร้างอื่นๆ ทางเศรษฐกิจและสังคมจะต้องเอื้อประโยชน์หรือพัฒนาอย่างสอดคล้องกันด้วย การพัฒนาด้านหนึ่งด้านใดโดยไม่พิจารณาด้านอื่นๆ พร้อมกัน จะเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง                                                   นิยามของการพัฒนาการเมืองเปรียบเทียบในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ซึ่งพยายามศึกษาวิเคราะหืประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกัยการพัฒนาการเมือง และพบว่ามีประเด็นที่ำสำคัญๆ มากมาย และค่อนข้างสลับซับซ้อน จึงมีการสรุปการพยบายามนิยามการพัฒนาการเมืองดังนี้                                                                                           -การพัฒนาการเมืองเป็นพื้นฐษนทางการเมืองของการพัฒนาเศรษฐกิจ กล่าวคือการเมืองที่พัฒนาแล้วเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะเอื้ออำนายต่อความเจริญทางเศรษฐกิจ            -การพัฒนาการเมือง เป็นการเมืองของสังคมอุตสาหกรรม นั้นคือมีการมองกันว่าการเมืองในประเทศอุตสหกรรมไม่ว่าจะเป็นระบอบการเมืองใดจะมแบบแผนของพฤติกรรมของสมาชิกของสังคมในลักษณะที่มีเหตุผลรัฐบาลมีความรับผิดชอบต่อความสงบสุขและมีความเกิดีอยู่อีของประชาน ดังนั้นสังคมที่พัฒนาจนก้าวเข้าสู่สังคมอุตสาหกรรมได้นั้น ระบบการเมืองจะต้องมีระดับพัฒนาสูง ดังนั้น ลักษณะระบบการเมืองของสังคมอุตสหกรรมคือรูปธรรมของระบบการเมืองที่พัฒนาแล้วฤติ                                                                            - การพัฒนาการเมือง เป็นความเป็นทันสมัยทางการเมือง                                                     -การพัฒนาการเมือง เป็นเรื่องการดำเนินงานของรัฐชาติ กล่าวคือ รัฐชาติเลห่านี้สามารถที่จะปรบตัวและดำรงไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของสังคมได้ในระดับหนึ่ง แถมยังสร้างชาติลัทธิชาตินิยม อันถือว่าเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นต่อการพัฒนาการเมืองในแง่นี้ก็คือการสร้างชาติ                                                                                                                                                - การพัฒนาการเมือง หมายถึงเรื่ีองราวของการพัฒนาระบบบริหหารและกฎหมาย
      - การพัฒนาการเมือง เป็นเรื่องของการระดมพลและการมีส่วนร่วมทางการเมืองเมือง            - การพัฒนาการเมือง เป็นเรื่องของการพัฒนาประชาธิปไตย                                                - การพัฒนาการเมือง เป็นเรื่องของความมีเสถียรภาพและการเปลี่ยนแปลงที่เป็นระเบียบ
      - การพัฒนาการเมือง เป็นเรื่องของการระดมพลและอำนาจ
      - การพัฒนาการเมือง เป็นแง่หนึ่งของกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การที่สังคมที่อยู่ในะยะกำลังเปลี่ยนแปลงหรือสังคมที่กำลังพัฒนาจะก้าวไปสู่เป้าหมายที่ใฝ่หาคือภาวะการณ์ของสังคมสมัยใหม่นั้นจะต้องผ่านกระบวนการต่างๆ มากมายครอบคลุมในหลายๆ ด้านของประเด็นสังคม ซึ่งสรุปเป็น 2 ประเด็น คือ เศรษฐกิจและ การศึกษา    
    กระบวนการทางเศรษฐกิจ เมื่อสังคมเปลี่ยนแปลงสู่ความกินดีอยู่ดี โครงสร้างทางสังคมทั้งทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมจะต้องเปลี่ยนแปลง ต่างมุ่งที่จะพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มรายได้ประชาชาติต่อบุคคลให้สูงยิ่งขึ้น นั้นหมายความว่า สังคมนั้นๆ จะต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่การพัฒนาในด้านต่างๆ อาทิ เทคโนโลยี กล่าวคือจะต้องมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีให้ทันสมัยมีการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์เข้ามาประยุกต์ใช้, การเกษตรกรรม จาการปลูกเพื่อยังชีพเป็นการการเพาะปลูกพืชผักที่เป็นที่ต้องการของตลาด, การอุตสาหกรรม ใช้เครื่องจักรแทนแรงงานจากมนุษย์และสัตว์มากขึ้น มีการผลิตสินค้าเพื่อป้อนตลาด, สภาพแวดล้อม มีการย้ายถิ่นฐานจากชนบทเข้าสู่ตัวเมืองมากขึ้น และแน่นอนว่าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลกระทบตามมา ซึ่งผลกระทบที่เกิดจากกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจจะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างทางสังคมในหลายๆ ด้าน อาทิ โครงสร้างทางสังคมมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น เช่น เมื่อระบบอุตสาหกรรมเข้ามาแทนที่อุตสาหกรรมในครัวเรือน มีระบบการแบ่งงานกันทำตามความชำนาญเฉพาะด้าน ระบบการศึกษาจึงอยู่ในลักษณะที่เป็นทางการยิ่งขึ้น และจะทำหน้าที่ฝึกคนเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรม โรงเรียนจึงทำหน้าที่แทนครอบครัวและวัด เป็นต้น เมื่อเกิดการพัฒนา กิจกรรมเศรษฐกิจแบบเก่าๆ จะเปลี่ยนแปลงไป มีระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเกิดขึ้น ระบบเงินตราจะเป็นตัวบังคับให้สินค้าและบริการเพิ่มพูนขึ้น และจะลดบดบาดความสำคัญของระบบศาสนา ครอบครัว หรือระบบวรรณะ ซึ่งเป็นสถาบันที่ควบคุมกิจกรรมการผลิตในอดีต ครอบครัวจะทำหน้าที่เฉพาะอย่างเพิ่มมากขึ้น ครอบครัวไม่ได้เป็นหน่วยในทางเศรษฐกิจอีกต่อไป สมาชิกในครอบครัวจะเริ่มออกจาบ้านไปหางานทำในตลอดแรงงาน ทั้งนี้ระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่จะเป็นตัวสร้างค่านิยม ปทัสถานใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น เช่น ระบบอาวุโสจะหมดความสำคัญลงไป การคัดเลือกคนจะพิจารณาตามความสามารถ หรือผลสัมฤทธิทางการเรียนรู้และประสบการณ์มากกว่า ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้อาจส่งผลต่อเสถียรภาพของระบบการเมือง  ในขณะที่เศรษฐกิจจะเติบโต คนก็จะเริ่มไม่พึงพอใจต่อสภาพสังคมมากขึ้น และในอัตราที่รวดเร็ว ระบบการเมืองที่ไม่สามารถพัฒนาให้ทันกับอัตราความเจริญทางเศรษฐกิจก็จะไร้เสถียรภาพ                            กระบวนการทางการศึกษา  กล่าวกันว่าการศึกษาเป็นทั้งผลผลิตและเครื่องมือที่สำคัญยิ่งของสังคม ดังนั้นในการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเพื่อสู่การพัฒนา ก็จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาสอดคล้องกันไปด้วย มีนักวิชาการกล่าวว่า ยิ่งระดับการศึกษาของคนในชาติสูงเพียงไร โอกาสที่ชาตินั้นจะปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคงก็นจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ทุกๆ สังคมต่างตระหนักในความสำคัญของการศึกษาเป็นอย่างดี โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาต่างก็พยายามที่จะเร่งผลิตคนที่มีกำลังสมองออกมาเพื่อหวังให้ช่วยพัฒนาประเทศ แต่กระบวนการทางการศึกษาตลอดจนระบบการศึกษาในประเทศกำลังพัฒนาจะนำมาซึ่งปัญหาทางสังคมหลายประการ อาทิ "ความเสมอภาคในโอกาส" ซึ่งเกิดจากความแต่งต่างทางชนชั้นในสังคม "เสกสรร ประเสริฐกุล" ตั้งข้อสังเกิตว่า "... ระบบการศึกษาหันมาผลิตคนให้กับสังคมสมัยใหม่ ซึ่งเน้นในการใช้ระดับการศึคกษาเป็นเครื่องวัดความสามารถของคน ทำให้ทุกคนพยายามเรียนเพื่อให้ได้ประกาศนียบัตรหรือปริญญาเพื่อที่คนจะได้ไต่ขึ้นไปอยู่ในลำดับที่สูงของสังคม.. การศึกษา จึงไม่ใช่กาณศึกษาเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและความสามารถที่แท้จริง แต่เป็นการแสวงหาใบรับรองค่าของตน ซึ่งนี้เป็นความผิดของชนชั้นผู้ปกครองที่ไปรับเอาแบบสังคมสมัยใหม่มาโดยที่ส่วนต่างๆ ของสังคมยังไม่พร้อม จึงทำให้คนที่มีโอกาสได้รับการศึกษาสูงซึ่งมีอยู่เป็นจำนวน้อยเป็นผุ้ที่มีค่าสูงในสังคม ซึ่งผลตามมาก็คือค่าของประกาศนียบัติหรือปริญญามีความสำคัญมากกว่าความรู้ดังกล่าว...การศึกษาจึงอยู่ในฐานะเป็นเครื่องมือนำปัจเจกบุคคลไปสู่สถานภาพแห่งชนชั้นนำในสังคมปัจจุบันเท่านั้น" นอกจากจากนี้การศึกษาในะบบนี้ก่อให้เกิดผลเสียต่อการลงทุน และความไม่ยุติธรรมต่อคนส่วนใหญ่ ระบบการศึกษามักใช้ทฤษฏีและแนวคิดของตะวันตก และในบางครั้งสิ่งที่ทำการศึกษาอยู่นั้น ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมของตนเอง การศึกษาถูกมองว่าไม่ได้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาของสังคม แต่เป็นเพียงเครื่องมือรับใช้ชนชั้นผู้ปกครอง ตลอดจนระบบการปกครองที่เป็นอยู่ผลตามมาจาการพัฒนาเศรษฐกิจและการศึกษาก็คือความคาดหวังที่ประชาชนต้องการจากรัฐที่เพิ่มมากขึ้น และแน่นอนว่าถ้าสถาบันทางการเมืองที่มีอยู่ไม่สามารถกสกัดกั้นข้อเรียกร้องที่เพิ่มมากขึ้นได้ การไร้เสถียรภาพทางการเมืองก็จะเกิดขึ้นโดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และปัญหานี้เป็นปัญหาที่สำคัญยิ่งของประเทศกำลังพัฒนา
                                                                       

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)