Political Culture

            วัฒนธรรม โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย และความเหมาะสม วัฒนธรรมส่วนหนึ่งแสดงออกผ่าน ดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การละครและภาพยนตร์ แม้บางครั้งอาจมีผู้กล่าวว่าวัฒนธรรมคือเรื่องที่ว่าด้วยการบริโภคและสินค้าบริโภค เช่น วัฒนธรรมระดับสูง วัฒนธรรมระดับต่ำ วัฒนธรรมพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมนิยม เป็นต้น ทั้งนี้ นักมานุษยวิทยา ยังรวมไปถึง เทคโนโลยี ศิลปะ วทิยาศาสตร์ และศีลธรรมด้วย
            วัฒนธรรมทางการเมือง เป็นตัวแปรที่สำคัญของแต่ละประเทศที่จะทำให้ประเทศนั้น ๆ ม่ีเสถียรภาพทางการเมือง แม้จะเป็นประเทศที่มีระบอบการปกครองเหมือนกัน มีระบบโครงสร้างเหมือนกันแต่เสถียรภาพทางการเมืองอาจไม่เหมือนกัน คำว่าวัฒนธรรมทางการเมืองมีผู้ให้นิยามไว้ดังนี้
             Lucain W. Pye ได้ให้นิยามว่า "วัฒนธรรมทางการเมือง คือแบบแผนของทัศนคติ ความเชื่อสภาวะอารมณ์ ความรู้สึกซึ่งเป็นสิ่งที่สั่งการ และมีความหมายต่อกระบวนการทางการเมือง เป็นกรอบของพฤติกรรมของระบบการเมืองนั้นๆ ส่วนประกอบของวัฒนธรีรมทางการเมืองมีทั้งอุดมคติทางการเมือง และปทัสถาน ในการดำเนินการของระบบการเมือง กล่าวอีกนัยหนึ่ง วัฒนธรรมทางการเมือง คือ รูปแบบของมิติทางจิตวิทยา และอัตวิสัยของการเมืองที่ปรากฎอยู่ในระบบการเมืองแต่ละระบบ"......
              Jarol B. Manheim ได้ให้นิยามว่า "วัฒนธรรมทางการเมือง คือแบบแผนของความเชื่อและทัีศนคติร่วมที่เกี่ยวกับเป้าหมายอันเดียวกันและการประเมินค่าที่เหมือนกัน ตลอดจนการมีความเห็นพ้องต้องกัน อันเป็นผลจากการที่ได้รับประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์เดียวกัน"
              Gabriel A Almond & G" Binghsm Powell Jr. ได้ให้นิยามว่า "เป็นแบบแผนทัศนคติ และความโน้มเอียงต่อการเมืองของบุคคลแต่ละคนที่เป็นสมาชิกของระบบการเมืองใดๆ แบบแผนของทัศนคติและความโน้มเอียงนีเป็นเรื่องเชิงอัตวิสัย ซึ่งเป็นฐานที่สำคัญอันก่อให้เกิดกิจกรรมทางการเมืองขึ้น ความโน้ามเอียงของบุคคลแต่ละคนนีจะเกี่ยวกับองค์ประกอบหลายอย่าง ได้แก่ ความโน้มเอียงทางการรับรู้ หมายถึง ความรู้เรื่องที่เกี่ยวกับยสรรพสิ่งหรือความเชื่อทางการเมืองซึ่งอาจจะถูกต้องหรือไม่ก็ได้ ความโน้มเอียงทางความรู้สึก หมายถึง ความรู้สึกเกี่ยวพัน เกี่ยวข้อง การยอมรับหรือไม่ยอมรับในสรรพสิ่งทางการเมือง และ ความโน้มเอียงทางการประเมินค่า หมายถึงการตีค่าและความคิดเห็นในสรรพสิ่งทางการเมือง ซึ่งมักจะมีการใช้มาตรการค่านิยมมาเกี่ยวข้องกับสรรพสิ่ง และเหตุการณ์ทางการเมือง"
              Eric Rowe ได้ให้ความเห็นในลักษณะเดียวกันว่า วัฒนธรรมทางการเมืองเป็นแบบแผนอย่างหนึ่งของค่านิยม ความเชื่อ และทัศนคติด้านความรู้สึกทั้งหลายของบุคคลแตะละคน
              Gabriel Almond& Jomes Coleman ได้สรุปไว้ว่า "วัฒนธรรมทางการเมือง หมายถึง ทรรศนะและความโน้มเอียงทางการเมืองที่คนมีต่อระบบและส่วนต่างๆ ของระบบการเมืองตลอดจนทัศนคติเกี่ยวกับบทบาทของตนเองที่มีในระบบการเมือง... ดังนั้น วัฒนธรรมทางการเมืองของชนชาตคิหนึ่งๆ ก็คือ ลักษณะทัศนคติและความโน้มเอียงในรูปแบบต่างๆ ของสมาชิกในสังคมที่มีต่อระบบแลฃะส่วนต่าง ๆ หรือกิจกรรมทางการเมืองซึ่งมีอยู่โดยทั่วๆ ไปในชาตินั้นๆ
             Sidney Verba ได้ให้ความเห็นว่า วัฒนธรรมทางการเมือง หมายถึง "ระบบความเชื่อที่เกี่ยวกับแบบแผนของกิจกรรมทางการเมือง และสถาบันทางการเมืองไม่ได้หมายถึง สิ่งต่างๆ ทางการเมืองที่เกิดขึ้นทั้งมวล แต่หมายถึงสิ่งที่ประชนเชื่อในสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งความเชื่อเหล่านี้อาจจะอยู่ในหลายลักษณะ เช่นควยามเชื่อในแง่ประจักษ์ในวิถีชีวิตที่เป็นจริงในทางการเมือง หรืออาจจะเป็นความเชื่อในเป้าหมาย หรือคึ่านิยมซึ่งควรจะเข้ามาใช้ปฏิบัติก็เป็นได้"
           Milton Yinger ได้สรุปไว้ว่า วัฒนธรรมทางการเมือง หมายถึง ทัศนคติและการอบรมที่บุคคลแต่ละคนได้รับจากระบบการเมืองนั้น ซึ่งประกอบด้วย ความรู้สึกนิยมหรือไม่นิยมในระบบการเมืองและการประเมินค่าต่อเหตุการณ์ทางการเมือง
           อาจสรุปได้ว่าวัฒนธรรมทางการเมืองหมายถึงแบบแผนของทัศนคติ หรือความโน้มเอียงทางความเชื่อ และค่านิยมของบุคคลที่พึงมีต่อระบบการเมืองและส่วนต่าง ที่ประกอบเป็นระบบการเมืองซึ่งสิงเหล่านี้จะเป็นปัจจัยที่สำคัญในการกำหนดพฤติกรรมทางการเมืองของบุคคลในระบบการเมืองนั้นๆ ด้วย
          และความโน้มเอียงทางความเชื่อนี้ Almond & Verba ได้ให้รายละเอียดไว้ว่า หมายถึง "ประเด็นที่อยู่ภายในของสิ่งใดๆ ตลอดจนความสัมพันธ์ด้วย" ความโน้มเอียงนี้ประกอบไปด้วย
                         - ความโน้มเอียงทางการการรับรู้ นั่นคือ ความรู้และความเชื่อเกี่ยวกับระบบการเมืองบทบาทตลอดจนอิทธิพลของบทบาท ปัจจัยนำเข้าและปัจจัยที่ออกนอกระบบ เช่นรู้ว่าระบอบประชาธิปไตยมีการเลือกตั้งฯ
                          - ความโน้มเอียงทางความรู้สึก หมายถึง ความพึงพอใจต่อระบบการเมืองที่เป็น บทบาท บุคลากร ตลอดจนการดำเนินงานต่าง ๆ เช่น รู้สึกไม่พึงพอใจในการทำงานของนายดรัฐมนตรี
                          - ความโน้มเอียงทางการประเมินค่า หมายถึง การตีค่าและความเหนเกี่ยวกับสรรพสิ่งทางการเมือง ซึ่งปกติจะเกี่ยวพันกับมาตรฐานค่านิยมรวกับ ข่าวสารและความรู้สึกของบุคคล เช่น เห็นว่ารัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ควรจะเด็ดขาดกว่าที่เป็นอยู่
           ในการที่จะทราบได้ว่า ความโน้มเอียงทางการเมืองของบุคคลแต่ละคนจะเป็นอย่างไรนั้น เราอาจดูได้จากปัจจัยหลัก 4 ประการ คือ บุคคลนั้นมีความรู้เกี่ยวกับประเทศชาติ และระบบการเมืองในแง่ทั่วๆ ไปอย่างไร รู้ประวัติศาสตร์ ขนาดของประเทศ ที่ตั้ง อำนาจลักษณะของรูปการปกครองอย่างไร,ประการที่สอง บุคคลนั้นมีความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างแลบทบาทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองอย่างไ รู้เกี่ยวกับยกร่างนโยบายอย่างไร และมความรู้สึกหรือความเห็นต่อโครงสร้างผู้นำและยกร่างนโยบายอย่างไร, ประการที่สาม บุคคลนั้น มีความรู้เกี่ยวกับการบังคับใช้นโยบาย โครงสร้างบุคคล ตลอดจนกระบวนการในการตัดสินนโยบายอย่างไร บุคคลมีความรู้สึกและความเห็นต่อประเด็นเหล่านี้อย่างไร, ประการที่สี่ บุคคลนั้นมองตนเองในฐานะที่เป็นสมาชิกของระบบการเมืองอย่างไร มีความรู้เกี่ยวกับสิทธิ อำนาจ พันธกรณี และกลยุทธ์ในการที่จะเข้าไปมีอิทธิพลต่อการตัดสินนโยบายอย่างไร มีความรู้สึกและสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างไร
             ความโน้มเอียงทางการเมืองของบุคคลแต่ละคนที่พึงมีต่อปัจจัยหลักทั้ง 4 ประการนี้เองจะนำไปสู่การจัดประเภทของวัฒนธรรมทางการเมือง ดังที่เราจะได้กล่าวต่อไป
             ประเภทของวัฒนธรรมทางการเมือง Almond & Verba ได้จำแนกวัฒนธรรมทางการเมืองตามลักษณะของแนวโน้มทางการเมืองออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ วัฒนธรรมทางการเมืองแบบดังเดิม (Parochial Political Culture), วัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้า (Subject Political Culture), วัฒนธรรมทางการเมืองแบบเข้ามีส่วนร่วม (Participant Political Culture)
             1. วัฒนธรรมการเมืองแบบดั้งเดิม เป็นวัฒนธรรมทางการเมืองของสังคมดั้งเดิม เช่น สังคมเผ่าในอัฟริกา ซึ่งเป็นสังคมที่ไม่มีบทบาททางการเมืองในลักษณะของความชำนาญเฉพาะด้านกล่าวคือ หัวหน้าเผ่าคงวมีบทบาทที่เหลื่อมล้ำกันอยู่ทั้งทางเศรษฐกิจ การเมืองและทางศาสนา และสังคมได้ ฉะนั้นเราจึงพบว่า ความรู้ ความเข้าใจ และความผูกพันที่คนพึงมีต่อระบบการเมืองโดยทั่วๆ ไปจึงไม่มี เช่น ไม่รู้ว่าใครเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่รู้ถึงระบอบการปกครองที่เป็นอยู่ ไม่เรียกร้องต่อระบบการเมือง ไม่รู้จักกฎเกณฑ์หรือนโยบายใดๆ
           2. วัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้า ในสังคมที่มี่ลักษณะของวัฒนธรรมทางการเมืองแบบนี้ สมาชิกของสังคมจะมีความรู้ ความเข้าใจ ในระบบการเมืองโดยทั่วๆ ไป เช่น รู้ว่าใครเป็นนายกรัฐมนตรี ระบอบการปกครองที่เป็นอยู่เป็นระบอบประชาธิปไตย ในขณะเดียวกัน พวกนี้จะยอมรับอำนาจรัฐ เคารพเชื่อฟังและปฏิบัติตามกฏหมาย แต่พวกนี้จะไม่เรียกร้อง ไม่เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยถือว่าตนเองกับการเมืองอยู่คนละโลก การเมืองเป็ฯเรื่องของผู้มีอำนาจหรือมีบารมี ส่วนตนเป็ฯเพียงประชาชนซึค่งอยู่ใต้การบังคับบัญชา และมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งหรือนโยบายเท่านั้น
            3. วัฒนธรรมทางการเมืองแบบเข้ามีส่วนร่วม หมายถึง วัฒนธรรมทางการเมืองของสังคมที่บรรดาสมาชิกต่างมีความรู้ ความเข้าใจ มีความผูกพันต่อระบบการเมือง พวกนี้จะเรียกร้องหรือเข้าไปมีส่วนร่วมในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ระบบการเมืองสนองตอบต่อการความต้องการของพวกเขานั้นคือ คนในสังคมนี้จะมีความรู้สึกว่าเขาสามารถที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางการเมืองได้ นอกจากนี้ พวกนี้ยังรู้และเข้าในใจกฎเกณฑ์และนโยบายต่างๆ เป็นอย่างดี
               อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริง ทุกๆ สังคมจะประกอบไปด้วยลักษณะวัฒนธรรมทางการเมืองทั้ง 3  ประเภทผสมปนเปอยู่ด้วยกันในระดับที่แตกต่างกันไ ปซึ่งลักษณะวัฒนธรรมทางการเมืองแบบผสมนี้ สรุปได้ดังนี้
              - วัฒนธรรมทางการเมืองแบบดั้งเดิมผสมไพร่ฟ้า หมายถึง วัฒนธรรมทางการเมืองของสังคมที่คนส่วนใหญ่ไม่ยอมรับอำนาจของเผ่าหมู่บ้านหรือเจ้าของที่ดินอีกต่อไป แต่กลับมาให้ความภักดีต่อระบบการเมืองที่สลับซับซ้อนกว่าเดิม โดยมีรัฐบาลกลางเป็นผู้กุมอำนาจ พวกนี้ยังคงไม่สนใจที่จะเรียกร้องหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด ลักษณะของการผสมกันระหว่างสองวัฒนธรรมนี้ ในบลางประเทศอาจให้สัดส่วนของแบบดั้งเดิมมากกว่าแบบไพร่ฟ้า แต่ในอีกประเทศอาจตรงข้ามกัน
              - วัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้าปสมแบบเข้ามีส่วนร่วม เป็นวัฒนธรรมทางการเมืองในสังคมที่มีสมาชิกบ้างส่วนเริ่มเรียกร้อง และเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองและเริ่มมองว่าตนเองมีความสามารถที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้  แต่ก็มีประชาชนอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่กระตือรือล้นที่จะเข้าไปมีส่วนร่วม และยังคงยอมรับในอำนาจรัฐโดยปราศจากเงื่อนไข และเนื่องจากวัฒนธรรมทางการเมืองแบบเข้ามีส่วนร่วม มักจะแพร่หลายในหมู่คนส่วนน้อยของสังคมจึงมักจะถูกบีบคั้และท้าทาย จากวัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้า และจากระบบอำนาจนิยมเป็นผลให้ประชาชนที่มีแนวโน้มที่จะยอมรับในวัฒนธรรมทางการเมืองแบบนี้ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง และไม่สามรถที่จะดำเนินการใดๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในระยะแรกของสังคมที่มีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบผสมนี้ เขาเอาระบอบประชาธิปไตยมาใช้ สังคมจะไร้เสถียรภาพแต่ในระยะยาว ถ้ามีการสร้างองค์กรหรือสถาบันต่างๆ ขึ้นมารองรับ เช่น พรรคการเมืองก็ดีหลุ่มผลประโยชน์ก็ดี หรือหนังสือพิมพ์ก็ดี จะยังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะของวัฒนธรรมทาการเมืองแบบไพร่ฟ้า ซึ่งอาจจะทำให้ระบอบประชาธิปไตยยืนยงอยู่ได้
             - วัฒนธรรมทางการเมืองแบบดั้งเดิมผสมแบบเข้ามีส่วนร่วม หมายถึงวัฒนธรรมทางการเมืองของสังคมที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังคมทีความจงรักภักดีอย่างแน่่นแฟ้นต่อเผ่าหรือกลุ่มเชื้อชาติ เมื่อวัฒนธรรมทางการเมืองแบบเข้ามีส่วนร่วม เข้ามมามีบทบาทในสังคม คนก็จะยอมรับเอาไว้ส่วนหนึ่ง แต่ทั้งนี้ก็คงอยู่ภายใต้อิทธิพลของแบบดั้งเดิม กล่าวคือ คนจะหวังเข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อผลประโยชน์เฉพาะตัว หรือเฉพาะกลุ่มเชื่อชาติ ไม่มีการยึดหยุ่นประนีประนอมในระหว่างกลุ่มที่แตกต่างกัน ความขัดแย้งในสังคมเหล่านี้จึงมีอยู่มาก
               อย่างไรก็ตามวัฒนธรรมทางการเมืองแบบเข้ามีส่วนร่วมนั้น เป็นวัฒนธรรมที่เอื้ออำนวยต่อระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งถ้าเรามองการตามความหมายแล้ว การมีส่วนร่วมลักษะนี้อยู่ในรุปของอารมณ์ปราศจากเหตุผลทำไปโดยความชอบหรือความเกลี่ยดส่วนตัว Almond และ  Verba จึงเสนอวัฒนธรรมทางการเมืองแบบผสม ในอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งเขาเรียกว่า Civic culture ระบบการเมืองที่มีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบนี้จะเน้นที่การเข้ามีส่วนร่วมอย่างกระตือรือล้นและมีเหตุผล นอกจากนี้ยังผสมกับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบ civic จะมีลักษณะร่วม 2 ประการโดยสรุปคือ มีความสามารถในการเป็นผู้อยู่ใต้ปกครองที่ดี และ มีความสามารถในการเป็นราษฎรที่ดี หรือการมีส่วนร่วมอย่างมีเหตุผล
             

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)