วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2560

Association of Southeast Asian Nation (1967 Birth of ASEAN)

          สมาคมอาสา Association of Southeast Asia, ASA สมาคมนี้ไม่ปรากฎชื่อเนื่องจากเป็นเพียงแผนการที่เสนอกันระหว่างประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการในวันที่ 31 กรกฎาคึม 1961 ประเทศสมาชิกได้แก่ ประเทศไทย ฟิลิปปินส์ และมลายู ดำเนินการโดยอาศัยวิธีการที่เรียกว่า "ปฏิญญา กรุงเทพฯ" ในขณะที่ ASA เริ่มดำนินการก็เกิดความขัดแย้งระหว่างฟิลิปินส์กับมาเลเซียในเรื่องสิทธิการครอบครองเหนือดินแดนรัฐซาบาห์ สืบเนื่องจากมลายูได้จัดต้งสหพันธ์มาเลเซ๊ยขึ้น ดดยรวมสิงคโปร์และดินแดนบริเวณบอร์เนียวเหนือ ซึ่งประกอบไปด้วย ซาบาห์ ซาราวัค และบรูไน แต่ฟิลิปินส์ไม่ยอมรับสหพันธ์มาเลเซียน อันเกิดจากความไม่พอใจที่มาเลเซียรวม ซาบาห์ ซึ่งเป็นสิทธิโดยชอบธรรมของฟิลิปินน์  อินโดนะเซีย ก็ไม่พอใจและขัดขวางในการรวมหมู่เกาะบอร์เนียนเหนือ เพราะอินโดนิเซียก็ปรารถนาจะรวมดินแดนแถบนี้เข้าด้วยกัน เมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นสมาคมอาสาจึงหยุดดำเนินการไปชั่วคราว หลังจากมีข้อยุติสมาคมอาสาจึงเริ่มดำเนินการต่อไป ซึ่งยังไม่ทันดำเนินการใดๆ ได้มีการก่อตั้งสมาคมอาเซียนขึ้น จึงมีความเห็นว่าควรในสมาคมลดกิจกรรมและรวมเข้ากับอาเซียนในที่สุด
           แม้ว่าชาติต่างๆ ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จะมีความรู้สึกในทำนอกโต้แย้งการรวมกลุ่มใดๆ ที่จะเกิดขึ้น แต่โดยเหตุปัจจัยภายนอก มีส่วนช่วยให้ผุ้นำชาติต่างในภูมิภาคได้ระลึกถึงความจำเป็นที่ต้องอยู่ร่วมกับประเทศเพื่อบย้านอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น กล่าวคือ
          นับแต่ปี 1960 จีนคอมมิวนิสต์ประกาศย้ำให้โค่นล้มรัฐบาลไทยและมาเลเซีย ซึ่งปรากฎเด่นชัดในกรณีพยายามทำรัฐประหารในอินโดนีเซีย โดยฝ่ายคอมมิวนิสในอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าจีนให้การสนับสนุนอยู่ จึงทำให้เกิดความสงสัยในเจตนาและท่าทีของคอมมิวนิสต์และหวาดระแวงภัยจากฝ่ายคอมมิวนิสต์ เป็นความวิตกในความมั่นคงปลอดภัยในแต่ละประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่"แอบซ่อน"และฝังลึกอยู่ในใจของผู้นำชาติต่างๆในภูมิภาคนี้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นในคำประกาศปฏิญญาของสมาคมอาเซียนฉบับแรก
           นอกจาปัญหาการรุกรานโดยตรงจากภายนอกประเทศแล้ว ประเทศในภูมิภาคนี้ยังมีปัญหาภายในของแต่ละชาติซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกันเกี่ยวกับสภาพที่อ่อนแอของสังคมและเศรษฐกิจซึ่งเห็นได้จากคำกล่าวของ นายนาร์ซิสโซ รามอส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ ในปี 1967 ว่า "สภาพเศรษฐกิจที่ขาดการปสมปสานกันในระหว่างประชาชาติในเอเซียตะวีันออกเฉียงใต้โดยแต่ละประเทศวางเป้าหมายอนจำกัดของตนไว้ในลัษณะที่ทุ่มเททรัพยากรเท่าที่ตนมีอยู่ เข้าแก่งแย่งแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยวิธีการเช่นนั้นก็จะยิ่งเพื่อความอ่อนแอให้แก่ขีดความสามารถในการขยายตัวทางเศรษฐกิจและนำตนให้ต้องพึงพิงชาติที่ก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมอยู่ตลอดไป"
           ปัจจัยภายในของแต่ละประเทศซึ่งมีส่วนชักจูงและเอื้อำนวยให้แต่ละประเทศได้ทบทวยสัมพันธ์ธภาพกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคดังนี้
           อินโดนีเซีย หลังจากรัฐประหารที่ล้มเหลวในปี 1965 นับว่ามีผลต่อการเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศของอินโดนีเซียเป็นอย่างยิ่ง อินโดนีเซียหับกลับมาให้ความสนใจต่อความร่ยวมมือส่วนภูมิภาค โดยละทิ้งนโยบาย "เผชิญหน้า" ที่ปฏิบติมาแต่ก่อน ใช้นโยบายเป็นมิตรกบเพื่อนบ้าน อินโดนีเซียพยายามแสดงออกด้วยความกระตือรือร้นที่จะเป็นผู้นำกลุ่มประเทศในเอเซียยตะวันออกเฉียงใต้เพราะถือว่าฐานะของจำนวนประชากรและความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ นับว่าเกื้อกูลอยู่แล้ว  การวางตัวและการทำหน้าที่ฐานะผู้ไกล่เกลี่ยของรัฐมนตรีต่างประเทศของไทย ถนัด คอมันต์ ได้ผลอย่างดีเยี่ยม มีการจัดการเจรจากันระหว่างอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซียในกรุงเทพฯ มิถุนา 1966 ทั้งสามประเทศเห็นความประโยชน์จากความร่วมมือในส่วนภูมิภาค
            สิงคโปร์ เพิ่งได้รับเอกราชโดยแยกตวจามมาเลเซีย เมือ 9  สิงหาคม 1965 ในฐานะรัฐใหม่ มีความประสงค์จะเข้าร่วมในสมาคมอาเซียนด้วยความจำเป็นทางการทูตย่ิงกว่าความเชื่อมั่นในผลประโยชน์ สมาคมอาเซียนที่จะก่อรูปขึ้นจะช่วยให้สิงคโปร์ซึ่เงป็นประเทศเกิดใหม่มีบทบาทสำคัญ และมีภาพพจน์ที่ดีในสายตาของประเทศต่างๆ ซึ่งจะช่วยลบคำกล่าวที่ว่าเป็นรัฐชาวจีน หรือ จีนที่สามในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
          ฟิลิปปินส์ นอกจากจะมีนโยบายสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้านแล้ว ยังมีท่าทีสนับสนุนหลักการสมาคม ในฐานะที่หลักการของสมาคม อาเซียน มีลักษณะเป็นกลาง ผู้นำฟิลิปปินส์ขณะนั้นเห็นว่าการเข้าร่วมกับองค์การส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะกับกลุ่มที่เป็นปฏิปักษ์ กับคอมมิวสิสต์ย่อมจะทำให้เอกลักษณ์ของฟิลิปปินส์ดีขึ้นในสายตาของรปะเทศเพื่อบ้านขณะเดียวกันก็จะทำความพอใจให้แก่พวกชาตินิยมมากกว่าที่จะนำไปผูกับมหาอำนาจเพียงอย่างเดี่ยว
       ประเทศไทย ในขณะนั้น ประเทศต่างๆในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ตกเป็นอาณานิคมของมหาอำนาจตะวันตกทั้งสิ้น ไทยลอดพ้นสถานะการนี้เนื่องจากการที่รู้จักปรับตัวตามนโบาย "ลู่ลม" และหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยก็รอดพ้นจากการถูกปรับให้อยู่ในฐานะประเทศแพ้สงคราม ในฐานะที่ได้เคยประกาศสงครามกับพันธมิตร โดยความช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่นั้นมาความสัมพันธ์ของไทยกับสหรัฐก็มีความใกล้ชิดกัน และด้วยสาเหตุที่ไทยหวาดระแวงภัยจากจีนคอมมิวนิสต์เป็นสำคัญ จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้นโยบายต่อมาของไทยมีลักษณะพึงพิงสหรัฐมาโดยตลอด นับแต่ ปี 1960-1967
                ผู้นำไทยตระหนักดีว่า โดยฐานะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศ ซึ่งเสมือนอยู่ใจกลางดินแดนของผืนแผ่นดินของเอเซียตะวันออกเฉียงไต้ ล้อมรอบด้วยประเทศที่เคยตกอยู่ภายใต้การปกครองแบบอาณานิคม แม้จะได้รับเอกราชแล้ว แต่บางประเทศ ก็ต้องเผชิญกับภัยคุกคามของประเทศกลุ่ม
คอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง ประเทศไทยซึ่งดำเนินนโยบายในการต่อสู้ขัดขวางจีนคอมมิวนิสต์มาโดยตลอด ตั้งแต่สงครามเกาหลี กระทั้งสงครามเวียดนาม ลาว และเขมร อันเป็นประเทศที่อยู่ประชิดตอิกับพรมแดนไทยเอง ทำให้ประเทศไทยตระหนักดีถึงความไม่ปลอดภัยจากสถานกาณ์ในประเทศอินโดจีน
           แม้ว่าไทยยังผูกพันกับสหรัฐอเมริการอย่างแน่นแฟ้น ประเทศไทยกลับต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากการก่อการร้ายภายในประเทศ โดยการสนับสนุนของจีนคอมมิวนิสต์ซึ่งทำให้ประเทศไทยจำต้องได้คำมั่นจากพันธมิตรของไทย ในพันธกรณีของสนธิสัญญาป้องกันเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา แต่เมื่อพิจารณาอย่างถ่องแท้แล้ว ข้อตกลงยังไม่ชัดเจน เหมือนอย่างสัญญานาโต้เนื่องจากในกรณีที่เกิดความจำเป็นที่ต้องใช้กำลัง ประเทศสมาชิกจะต้องดำเนินการผ่านกระบวนการทางรัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศก่อน แต่สำหรับกลุ่มนาโต้นั้จะประชุมแก้ปัญหาในทันที รวมทั้งกำหนดไว้ชัดว่า การโจมตีประเทศหนึ่งง ถือเป็นการโจมตีประเทศสมาชิก
          ด้วยความรู้สึกไม่ปลอดภัยของประเทศไทยทั้งจากปัจจัยภายอกอันเนื่องจากสถานการณ์ที่ไม่มั่นคงของกลุ่มประเทศอินโดนีเซีย และความหวามระแวงต่อการรุกรานโดยตรงจาจีนคอมมิวนิสต์ รวมทั้งความไม่มั่นใจต่อการปฏิบัติตามพันธกรณีของมิตรประเทศ ประกอบกับปัจจัยภายในอันเนื่องมาจากภัยก่อการร้าย ทำให้ประเทศไทยจำต้องแสวงหาหนทาง สำหรับอนาคตเอง ไม่เพียงหวังการช่วยเหลือจากชาติมหาอำนาจฝ่ายเดียว ทางเลือกที่เหมาะสมกับสถานการณ์ขณะนั้น คือการแสวงหาความร่วมมือในส่วนภูมิภาค ดังนั้น ประเทศไทยจึงเป็นประเทศที่มีบทบาทอย่างสำคัญในการจัดตั้งสมาคมอาเซียน
       สมาคมประชาชาติเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หรือสมาคมอาเซียน Association of Southeast Asian
Nation, ASEAN ถือกำเนินขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1967 โดยประเทศอินโดนีเซีย สหพันธ์มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย ได้ร่วมกันออกปฏิญญาอาเซียน แถลงเจตจำนงที่จะสร้างสันติภาพเสถียรภาพ ความเจริญรุ่งเรือง และสวัสดิภาพ ความมั่นคงในทางเศรษบกิ สังคมท สัฒนธรรมของประเทศสมาชิก ต่อมาในปี 1984  บรูไน เข้าเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามในปี 1995 และลาวกับพม่าในปี 1997 และกัมพูชาเข้าร่วมเป็นสมาชิกในลำดับที่ 10 ในปี 1999 ทำให้ปัจจุบันอาเซีนเป็นกลุ่มเศรษฐกิจภูมิภาคขนาดใหญ่ มีประชากร รวมกันเกือบ 500 ล้านคน
        ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 ในปี 2003 ผุ้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้ตกลงกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน ASEAN Community ซึ่งประกอบด้วย 3 เสาหลัก คือ
        1. ประชาคมเศรษบกิจอาเซียน Asean Economic Community : AEC
        2. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน Socio-Cultural Pillar
        3. ประชาคมความมั่นคงอาเซียน Political and Security Pillar
        "One Vision, One Identity, One Community." หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม เป็นคำขวัญของอาเซียน เดิมกำหนดเป้าหมายที่จะตั้งขึ้นในปี 2020 แต่เลือนกำหนดให้เร็วขึ้น เป็นปี 2015 และก้าวสำคัญต่อมาคือการจัดทำปฏิญญาอาเซียนซึ่งมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่ปี2009 นับเป็นการยกระดับความร่วมมือของอาเซียนเข้าสู่มิติใหม่ในการสร้างประชาคม โยมีพื้นฐานที่แข็.แกร่งทางกฎหมายและมีองค์กรรองรับการดำเนินการเข้าสู้เป้าหมายดังกล่าว
         บทสรุป การรวมกลุ่มอาเซียนมีวัฒนาการมายาวนานตั้งแต่ปี 1961ด้วยเหตุและสถานะการณ์ต่างๆ การรวมกลุ่มจึงมีลำดับค่อยเป็นค่อยไปตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมีชาติร่วมก่อตั้ง 5 ประเทศกระทั่งปัจจุบัน ชาติในอาเซียนทั้งหมดทั้งหมด 10 ประเทศ ในปี 2017 ซึ่งเปิดเขตการค้าเสรี ได้สร้างแรงกระตุ้นและเกิดการตื่นตัวในการร่วมกลุ่มกัน อย่างไรก็ดีการรวมกลุ่มเพื่อความมั่นคงของภูมิภาค และความเจริญทางเศรษฐกิจจึงเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่จะนำไปสู่การกำหนดนโยบายในระดับภูมิภาคร่วมกันในภายหน้า
       

วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2560

Foreign policy

           นโยบายต่างประเทศของรัฐ โดยทั่วไปหมายถึง กลุ่มของมาตรารหรือยุทธศาสตร์ที่รัฐกำหนดขึ้น และใช้ปฏิบัตต่อรัฐอื่น ในอันที่จะให้ได้มาซึ่งจุดประสงค์ที่ต้องการจุดประสงค์ของการดำเนินนโยบายต่างประเทศก็คือ การักษาและเสริมสร้างผลประโยชน์ของรัฐในด้านต่างๆ โดยที่ผลประโยชน์ของขาติเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อนและหลากหลาย นโยบายต่างประเทศของรัีฐจึงเป็นเหมือนกับแผนการอันกว้างขวาง ที่ประกอบด้วยมาตรการเหรือยุทธศาสตร์หลายประการสำหรับใช้เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ของชาติอันหลากหลายในขณะใดขณะหนึ่ง หรือในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง นักวิชากการบางท่านให้ความหายของนโยบายต่างผระเทศไว้เพียงกว้างๆ ่านโยบายต่างประเทศหมายถึงหลักการกว้าง ๆ ซึ่งรัฐหนึ่งวางไว้เพื่อกำหนดและควบคุมการกระทำของตนในสภาพแวดล้อมของสังคมระหว่างประเทศ โดยที่ นโยบายต่างประเทศมีจะดมุ่งหมาายที่จะให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ของชาติ โดยมาตรการต่างๆ ซึ่งมีพื้นฐานอยู่ในความสามารถของแต่ละรัฐจึงอาจกล่าวได้ว่า นโยบายต่างผระเศของรัฐเป็นสิ่งที่เชื่อโยงผลประโยชน์ของชาติกับอำนาจของชาติ นโยบายต่างประเทศเป็นสิ่งที่เชื่อโยงความต้องการของรัฐในการที่จะได้มาซึ่งผลประโยชน์ของชาติกับอำนาจของชาติซึ่งแต่ละรัฐมีอยู่ การที่จะทำให้นโยบายบรรลุเป้าหมายก็ขึ้นอยู่กับอำนาจของรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับรัฐที่เป็นเป้าหมายของนโยบายต่างประเทศนั้นๆ
           จุดมุ่งหมายของนโยบายต่างประเทศประการต่างๆ ได้รัฐจึคงมักจะมีการจัดลำดับความสำคัญ ของจุดมุ่งหมายต่างๆ ซึ่งเกี่ยวกับนโบายต่างผระเทศ ความสำคัญที่รัฐจะให้กับจุดมุ่งหมายหลายประการนั้นมีความแตกต่างกันออกไป ความแตกต่างเช่นว่านี้ รัฐจะให้ความสำคัญแก่จุดมุ่งหมายระยะยาวมากกว่าจุดมุ่งหมายระยะสั้น อย่างไรก็ตามอาจมีความขัดกันระหว่างจุดมุ่งหมายระยะยาวด้วยกันเองก็ได้ เช่น ความขักกันระหว่างความมั่นคงของรัฐกับอุดมการณ์ที่ชาติยึดถืออยู่ ซึ่งถือว่าทั้งสองเป็นจุดมุ่งหมายว่าทั้งสองเป็นจุดมุ่งหมายระยะยาวของรัฐด้วยกันทั้งคู่ เรามักพบว่าในการณีเช่นี้ ความมั่นคงของรัฐหรือความอยู่รอดของชาติได้รับความสำคัญมากกว่าเรื่องของอุดมกาณ์ แตอย่างไรก็ตาม มิได้หมายคึวามว่าเมื่อมีความขัดกันเช่นนี้จุดมุ่งหมายที่เกี่ยวกับอุดมการณ์จะถูกละทิ้งไปโดยเด็ดขาด แต่เป็นแต่เพียงการถูกลดความสำคัญลงไปในขณะใดขณะหนึ่ง และตคามสภาพอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น เราทราบกันดีว่าอุดมการณ์ประชาธิปไตยของสหรัฐอเมริกา และอุดมกาณ์คอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียตนั้นเข้ากันไม่ได้ และเป็นปฏิปักษ์กันอย่างมาก แต่ทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตก็ลดความสำคัญที่แต่ละฝ่ายให้แก่อุดมการ์ของตน และหันมาร่วมมือกันในสงครามโลกครั้งที่สอง ในเมื่อทั้งสองฝ่ายให้แก่อุดมการณ์ของตน และหันมาร่วมมือกันในสงครามโลกครั้งสอง ในเมื่อทั้งสองฝ่ายเห็นว่า ความมั่นคงปลอดภัยของตนจะได้รับการกระทบกระเทือนจากการกระทำการรุกรานโดยเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น แต่่เมื่ออันตรายดังกล่าวได้สิ้นสุดลง
สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตก็ได้กลับมาให้คามสำคัญกับอุดมการณ์ของตนอย่างจริงจังอีก จนทำให้ทั้งสองต้องมีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงในสภาพที่เยยกว่า "สงครามเย็น"ในขณะเีด่ยวกันเราอาจกล่าวได้ว่า หลังจากที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้ครอบตรองจีนแผ่นดินใหญ่ จีนคอมมิวนิสต์กับสหภาพโซเวียตมีจุดมุ่งหมายร่วมกันในส่วนที่เกี่ยวกับอุดมกาณณ์คอมมิวนิสต์ แต่เมื่อรัฐทั้งสองมีความขัดแย้งกันเรื่องผลปรโยชน์ของชาติประการอื่น ๆ โดยเฉพาะในเรื่องควรามมั่นคงของชขาติในการีความขัดแย้งในบริเวณพรมแดร่วมของประเทศทั้งสอง ความสำคัญในเรื่องอุดมการณ์ก็ต้องหลีกทางให้กับความต้องการที่จะรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงปละอภัยแห่งชาติ ซึ่งปรากฎให้เก็นในรูปของความขัดแย้งระหว่างสหภาพโซเวียตกับจีนคอมมิวนิสต์ ในการจัดลำดับความสำคัญให้กับจุดมุ่งหมายต่างๆ ของนโยบายต่างประเทศน้น รัฐมักจะมีข้อพิจารณาว่าจะต้องใ้ห้ความสำคัญำับจุดประสงค์ที่รัฐเห้ฯว่าสำคัญที่สุดเหนือจุดประสงค์อื่นในขณะใดขณะหนึ่ง และในภาวะแวดล้อมอย่างใดอย่างหนึ่ง
             นโยบายต่างประเทศกับนโยบายภายใน
             นโยบายต่างประเทศของรัฐ มีความเกี่ยวพันกัยบอย่างใกล้ชิดกับนโยบายภายในรัฐเราอาจพิจารณาได้ว่า นโยบายภายในประเทศเป็นแนวทางที่ผุ้มีอำนาจในการปกครองประเทศกำหนดขึ้นเพื่อบริหารประเทศให้มีความสงบเรียบร้อย สร้างความเจิรญในด้านต่างๆ ให้กับประชาชน และกลุ่มชนภายนอาณาเขตของรัฐ ในหลายรัฐ นโยบายต่างประเทศถูกใช้เป็นเครื่องมืออันหนึ่งของนโยบายภายใน ในอินโดนิเซียในสมัยการเรืองอำนาจของประธานาธิบดีซูการ์โน เขาเป็นผุ้ที่มีบทบาทมากในการกำหนดนโยบายต่างประเทศของอินโดนีเซีย รัฐบาลอินโดนีเซียในขณะนั้นมนโยบายต่างประเทศที่ต่อต้านและคัดค้านการจัดตั้งรัฐมาเลเซียอย่างรุนแรง นโยบายดังกล่าว เรียกกันว่า การเผชิญหน้ากับมาเลเซีย ซึ่งเป้าหมายของนโยบายดังกบล่าวก็คือ การบดขยี้รัฐมาเลเซีย นโยบายนี้ ถือว่าเริ่มใช้ตั้งแต่ก่อนการจัดตั้งมาเลเซีย และสิ้นสุดอย่างเป็นทางการ การดำเนินนโยบายดังกบล่าวของประธานาธิบดี ซูกาณ์โน อันนี้ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายภายในที่ซูการ์โนต้องการให้ประชาชนซึ่งกำลังอยู่ในภาวะเสื่อมโทรม ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมภายในอินโดนีเซียหันมาสนใจและเห็นถึงอันตรายจาก "อาณานิคมแนวใหม่" ซึ่งปรเทศอินโดนีเซียกำลังเผชิญอยู่ เพื่อประชาชนจะไ้ดลืมความเสื่อมโทรมของประเทศและให้การสนับสนุนการเป็นผู้นำของซูการ์โนอย่างเต็มที่ เป็นความพยายามที่จะสร้างสถานการณ์โดยอาศัยนโยบายต่างประเทศ เพื่อผลประโยชน์ของนโยบายภายใน
          ในเรื่องความเกี่ยวพันระหว่างนโยบายภายในกับนโยบายต่างปรเทศของรัฐนั้น ฮันส์ เจ มอร์เกนธอ มีความเห็นในลักาณะที่ว่า เราไม่อาจแยกนโยบายภายนกับนโยบายต่างประเทศของรัฐได้อีกต่อไปแล้วในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะว่า การดำเนินนโยบายต่างประเทศในสมัยปัจจุบันนั้น มิได้กระทำด้วยเครื่องมือการทูต และทางอำนาจทางทหารเท่านั้น แต่นโยบายต่างประเทศต้องอาศัยเครื่องมือทางการโฆษณาชวนเชื่อประกอบเป็นส่วนสำคัญด้วย มอร์เกนธอ เห็นว่าการต่อสู้ดิ้นรนเพื่ออำนาจระหว่างรัฐในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ มิใช่การดิ้นรนเพื่อความเหนือกว่าทางการทหาร หรือการมีอิทธิพลเหนือกว่าทางการเมืองเท่านั้น แต่รวมถึงความพยายามที่จะเอาชนะจิตใจของคนด้วย ดังนั้นอำนาจของชาติจึงมิได้ขึ้นอยู่กับเพียงความชำนาญในการดำเนินการทางการทูตและความเข้มแข็งทางการมหารของรัฐเท่านั้น แต่ัยังขึ้นอยู่กับการที่รัฐอื่นจะนิยมชมชอบในปรัชญา สถาบัน และนโยบายทางการเมืองของรัฐนั้นๆ ด้วย สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต มิด้แข่งขันกันในฐานะของการเป็นอภิมหาอำนาจในทางทหารและทางการเมืองเท่รนั้น แต่ประเทศทั้งสองยังแข่งขันกันในฐานะเป้ฯตัวแทนปรัชญาทางการเมือง  ระบอบการปกครองและวิถีชีวิตที่แตกต่างกันสองอัน ในอกณีของประเทศเล็กๆ การแข่งขันระหว่งกันเพื่ออำนาจของรัฐนั้นก็มีลักาณะทำนองเดียวกับการแข่งขันระหว่างอภิมหาอำนาจทั้งสองด้วย เช่น รัฐที่มีนโยบายในที่กีดกันเชื้อชาติหรือแผ่งแยกผิว ก็มักจะไม่สามารถเป็นที่นิยมชมชอบของรัฐต่างๆ ซึ่บมีประชาชนที่มีสีผิวต่างไป ถือว่ารัฐที่มีนโยบายเช่นนั้นถูก "ลดอำนาจของชาติ" ลงไปแล้ว ในขณะเดียวกั หากประเทศด้อยพัฒนาสามารถทีจะยกระดับความเป็นอยู่ของประชากร การรู้หนังสือ และากรสาะารณสุขภายในรัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพก็อาจถือได้ว่า ประเทศนั้นมีอำนาจแห่งชาติเพ่ิมสูงขึ้นในสายตาของประเทศด้อยพัฒนาอื่นๆ เช่นนี้ จึงถือว่าในปัจจุบันไม่มีความแตกต่างระหว่างนโยบายภายในกับนโยบายต่างประเทศของรัฐอีกต่อไป
              ลักษณะนโยบายต่างประเทศ โดยทั่วไป นโยบายต่างปรเทศจะจัดเข้าในลักาณะหรือแบบแผนอย่างใดอย่างหนึ่ง
              1 นโยบายเพื่อากรรักษาไว้ซึ่งสถานะคงเดิมระหว่งประเทศ หมายถึง นโยบายต่างประเทศที่จะพยายามรักษาสภาพการกระจายอำนาจ และทรัพยากรธรรมชาติในสังคมระหว่างประเทศที่เป็นอยู่ในขณะนั้น ซึ่งอยู่ในลักษณะเช่นนี้ สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต มีนโยบายต่างประเทศหลายประการทีจัดอยู่ในลักษณะนี้เพราะทั้งสองอภิมหาอำนาจต่างก็มอิทธิพลและผลประโยชน์กว้างขวางในสังคมระหว่างประเทศ ทั้งสองจึงพยายามที่จะรักษาสภาพเช่นว่านี้ไว้เป็นส่วนใหญ่
              2 นโยบายแห่งการแผ่ขยายหรือนโยบายที่ต้องการเปลี่ยนแปลง เป็นลักษระของนโยบายต่างประเทศที่ต้องการเพิ่มอำนาจให้กับรัฐตนมากกว่าฐานะแห่งอำนาจของตนในขณะใดขณะหนึง โดยมุ่งหมายที่จะให้ม่การเปลี่ยนแปลงสภาพในสังคมระวห่างประเทศในขณะนั้น ให้เป็นไปในทางที่รัฐตนจะมีฐานะที่ดีขึ้นในังคมระวห่งประเทศ เป็นลักษณะของนโยบายต่างประเทศที่ตรงกันข้ามกับลักษณะแรก นโยบายต่างประเทศของเยอรมนีในสมัยของฮิตเลอร์ เป็นจัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้
การกำหนดนโยบาต่างประเทศ ในรัฐต่างๆ ผุ้ที่ทำหน้าที่เป็นผุ้กำหนดนโยบายต่างประเทศก็คือ รัฐบาล ซึ่งเป็นผุ้แสดงบทบาทในการเมืองระหว่งประเทศในนามของรัฐ ตามปกติ นอกจากคณะรัฐมนตรีจะเป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดนโยบายต่างประเทศร่วมกันแล้ว รัฐมนตรีต่างประเทศจะเป็นผุ้มีบทบาทโดยตรง และในระดับต่ำลงไปจากรัฐมนตรี เจ้าหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศในระดับต่างๆ จะมีหน้าที่สำคัญ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการเสนอข้อมูลข่าวสาร และความคิดเห็นเพื่อให้ผุ้ที่รับผิดชอบสุงขึ้นไปพิจารณาและตัดสินใจเลือกทางปฏิบัติทางใดทางหนึ่งในหลายๆ ทาง นอกจากนั้น หน่วยงานของรัฐนอกจากกระทรวงการต่างประเทศก็อาจมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย
ต่างประเทศของรัฐ โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานรับผิดชอบของหน่วยงานนั้นๆ โดยตรง ในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริการในกรณีควาขัดแย้งในอินโดจีน ฝ่ายทางเสนาธิการทหารและกระทรวงกลาโหม ซึ่งต้องการให้อเมริกาเน้นหนักในทางการใช้กำลังทหาร จนทำให้ได้ชื่อว่าเป็นฝ่ายเหยี่ยว กับนักการเมืองส่วนอื่นๆ และกระทรวงการต่างผระเทศซึ่งคัดค้านวิธีการดังกล่วและสเนอให้ใช้วิธีการทางการทูตมากกว่าซึ่งเรียกกันว่าพวกนกพิราบทั้งสองฝ่ายแข่งขันกันชักจูงให้ประธานาธิบดีสหรัฐดำเนินนโยบายไปในทางที่ตนเห็นควร อิทธิพลของฝ่ายเหยี่ยวมีมากในการกำหนดนโยบายสหรัฐฯ ทำใหสหรัฐมีทหารเข้าปฏิบัติการรบในเวียดนามกว่า ห้าแสนคน
            ในการกำหนดนโยบายต่างประเทศ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรัฐบาลจะประกอบด้วยปัจจัยที่มีอยุ่และเกิขึ้นภายใรัฐนั้น กับปัจจัยที่เป็นเรื่องของสังคมระวห่างประเทศ ปัจจัยภายในที่สำคัญก็คอ อำนาจของรัฐเอง อำนาจของรัฐรวมหมายความถึง อำนาจทังที่เป้นส่ิงที่เห้ฯได้ชัด เช่น ความเข้มแข็งทางทหาร ความมั่งคั่งมั่นคงทางเศรษฐฏิจและทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ เป็นต้น ส่วนอำนาจที่อาจมองเห็นได้ไม่ชัดได้แก่ ลักษณะผู้นำของรัฐ ลักษณะประจำชาติต่างๆ รวมทั้งขวัญและวินัยของประชาชนในชาติ นอกจากนั้น ก็รวมถึงบทบาทของกลุ่มอิทธิพล กลุ่มผลประโยชน์ พรรคการเมือง และกลุ่มการเมือง และอื่นๆ ภายในประเทศนั้น ส่วนปัจจัยภายนอก เป็นเหตุการณ์หรือความเปลี่ยนแปลงผันผวนที่เกิดขึ้นในประเทศอื่น โดยเฉพาะประเทศที่อยู่ใกล้เคียง หรือรัฐที่เกี่ยวข้องกับคน ทั้งในด้านความร่วมมือและความขัดแย้ง หรือในัที่มีอำนาจกว้างขวางในโลก และรวมถึงความสัมพันธ์ระหว่่างรัฐต่างๆ ในสังคมระหว่างประเทศด้วย
             การดำเนินนโยบายต่างประเทศ หรือการนำนโยบายที่กำหนดไว้แล้วไปใช้ในทางปฏิบติ รัฐมีเครื่องมือในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ ซึ่งอาจแนกกล่าวได้ 2 ประการ
             1. เครื่องมือสันติ  โดยทั่วไปหมายถึงการดำเนินการทางการทูต และการเจรจา เป้นความพยายามของรัฐที่จะใช้กุศโลบายความเฉลี่ยวฉลาดรอบคอบล และความชำนาญทางการทู๔ต เพื่อให้ได้มาซึ่งจุดประสงค์ของนธบยายต่างประเทศของรัฐ โดยปกติ มักเข้าใจกันว่าการดำเนินการทางการทูตเป็นเรื่องของนักการทูตและเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการต่งประเทศของรัฐโดยเฉพาะ แต่ในทาสง)กิบัตินั้นผุ้แทนของรัฐที่มีการจัดตั้งขึ้นเป็นครั้งคราวเฉาพะกรณี หรือการแสดบทบาทโดยผู้นำของรัฐเองโดยตรง นับเป็นการดำเนินการทางการทูตที่สำคัญยิ่งขึ้นตลอดเวลา ยิ่งกว่านั้น การใชบ้เครื่องมือทางสันติ ก็มิได้จำกัดอยู่เฉพาะเรื่องของการทุตและการเจรจาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการดำเนินการอื่น  ๆ ทีรวมั้งการแสดงแสนยานุภาพทางทหาน  ละารคุกคามที่จะใช้สงครามด้วย ทั้งนี้เพราะถือว่า การดำเนินการทางการทูตจะยุติลงเมือรัฐหันไปใช้กำลังเป็เนครื่องมือในทางปฏิบัติเพื่อให้ได้มาซึ่งจุดประสงค์ของนโยบายต่างประเทศเท่านั้น
             2. เครื่องมือทางการใช้กำลัง ซึ่งหมายถึงการใช้มาตรการทางทหาน ในการเข้าทำสงครามเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายของนโยบายต่างประเทศ การใช้กำลังเป็นมาตรการขั้นต่อเนื่องของวอธีการสันตะ โดยที่วไป ในสภาพที่สัีงคมระหว่างประเทศมีลักษระอนาธิปไตยที่แตกต่างจากสภาพการเมืองภายในประเทศ ในขึ้นสูดท้ายรัฐจึงจำเป็นต้องพึงตัวเอง เพราะฉะนั้น การใบช้กำลังทำสงครามเพื่อให้ได้มาซึ่งผลบประโยชน์ของรัฐจึคงยังคงงเป็นมตรการที่สำคัญ

             การใช้มาตรการทางทหารเพื่อให้ได้มาซึ่งจุดมุ่งหมายของนโยบายต่างประเทศนับเป็ฯเรื่องสำคัญมากในการเมืองระหว่างประเทศ ก่อนที่รัฐใดรัฐหนึ่งจะตัดสินใจใช้มาตรการทางทหาร รัฐนั้นๆ จะต้องพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนและรอบคอบ โดยเฉพาะอย่งยิ่งการพิจารณาถึงการตอบโต้จากรัฐคู่กรณี รวมทั้งปฏิกิริยาจากรัฐอื่น ๆ ในสังคมระวห่างปรเทศด้วย รัฐที่ตัดสินใจใช้สงครามเป็นเครืองมือของนโยบายต่างประเทศ จะต้องมีการคาดหวังถึงโอกาสที่ไม่เห็นโอาสเช่นว่านั้นเลย อย่างไรก็ดี หากความอยู่รอดของรัฐอยู่ในภาวะที่เป็นอันตรายและไม่มีมาตรการอื่นที่จะช่วยแก้ไขสถานการณ์ได้รัฐก็อาจำเป็นต้องใช้กำลังทำสงครามทั้งๆ ที่ไม่เห็นโอกาสแห่งชัยชนะเลย

วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2560

Political and National Security

              ความมั่นคงแห่งชาติด้านการเมือง
              ความหมาย
              - ความมั่นคงแห่งชาติด้านการเมือง คือ สถานการณ์ทางการเมืองที่ทำให้ประชากรมีความเชื่อถือและศรัทธาต่อระบอบการปกครอง ต่อรัฐบาลผู้บริหารการปกครองประชาชร มีความเคารพเชื่อฟัง และยอมปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล และปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่รัฐบาล มีความเชื่อมั่นในรัฐบาลว่าจะสามารถสร้างความเป็นธรรมในหมู่ประชากร และสามารถป้องกันความแตกแยกระหว่างชนในชาติ สามารถรักาดินแดนให้ปลอดภัยจากการแบ่งแยกยึดครอง มีเอกภาพ และรักษาศักดิ์ศรีของชาติในวงการเมืองระหว่างประเทศ รัฐบาลมีความชอบธรรม สามารถบริหารประเทศ ได้อย่างมีประสิทธิผล มีอิสระปลอดจากอิทธิพล และกรบวนการในการดำเนินนโยบายของประเทศ ประชากร ดินแดน รัฐบาล อำนาจอธิปไตย ตลอดจนเสถียรภาพของประเทศ ปลอดจากการคุกคามทั้งภายในและภายนอกและปฏิบัติการภายใต้อิทธิพลของต่างประเทศ
              - การเมืองคือแบบแผนของความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่เกี่ยกับอำนาจและการปกครองและการใช้กำลังอำนาจเป็นประการสำคัญ
             องค์ประกอบต่างๆ ที่เป็นพืนฐานของการเมืองไทยที่ควรรู้ และวิเคราะห์ผกระทบขององค์ประกอบต่างๆ เหล่านี้ต่อกระบวนการทางการเมืองของไทย และความมั่นคงของชาติ คือ รัฐธรรมนูญ สถาบันการเือง รัฐบาล รัฐสภา ข้าราชการ สื่อมวลชน กลุ่มอิทะิพลและกลุ่มผลประโยชน์ วัฒนธรรมทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
              ลักษณะวิชาการเมือง มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น การปฏิรูประบบราชการ การกระจายอำนาจ การตวรจราชการ การตรวจเงินแผ่นดิน การบริหารที่ดี การบริหารงานบุคคล การบริาหรแบบใหม่ งานนิติตบัญญัติ พรรคการเมือง การเลือกตั้ง งานตุลาการ องค์กรอิสระ อุดมการณ์ทางการเมือง การปกครอง คามเป็นชาตินิยม องค์กรระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การทูต
             เครื่องมือทางการเมือง การดำเนินการทางการทูตถือได้ว่าเป็นหัวของเครื่องมือทางการเมือง การทูตมีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินการระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลโดยตรงที่ว่าโดยตรงก็เนื่องจากการทูตสามารถสร้างความกดดันต่อเจ้าหน้าที่สำคัญๆ ของรัฐอื่นโดยตรงได้ นอกจากนั้นการทูตก็เป็นเครื่องมือซึ่งอาจใช้เทคนิคหล่ยๆ ประการ เช่น ทางด้านเศรษฐฏิจ จิตวิทยาห หรือแม้แต่การทหาร เพื่อกดันรัฐเป้าหมายได้ด้วย
             ความสัมพันธ์กับพลังอำนาจของชาติด้านอื่น
             - ปัจจัยภายนอกประเทศมีความสำคัญต่อการกำหนดแนวนโยบายต่างประเทศของประเทศหสึ่งให้สอดคล้องกับสภาวะทางการเมืองระหว่างประเทศในขณะใดขณะหนึ่งอย่างไร การตัดสินใจของคณะผู้กำหนดนโยบายหรือของตัวผุ้นำอาจต้องอาศัยปัจจัยอื่นๆ การกำหนดนโยบายต่างประเทศนั้นต้องยึคดผลประโยชน์แห่งชาติเป็นหลัก การกำหนดนโยบายต่างประเทศนั้นขขึ้นอยุู่กับขีดความสามารถของชาติ คือกำลงอำนาจของชาติ ในด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมจิตวิทยาและด้านการทหาร
            - เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการด้านการเมืองระหว่างประเทศ ประกอบด้วย
                  เครื่องมือทางการเมืองและการทูต เป็ฯเครื่องมือที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไปการใช้มักพยายามใ้กลวิีหลายประการเข้ามาประกอบเพื่อทำให้ประเทศคุ่เจรจาหรืออีกฝ่ายใหนการลงความเห็น ลงคะแนนเสียง หรือดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามความต้องการของฝ่ายตน
                  เครื่องมือทางเศรษฐกิจ อาจหมายถึง การค้าขาย การให้ความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐฏิจ โดยใช้พลานะภาพทางเศรษฐกิจที่ตนมีอยู่เป็นเครื่องมือให้ประเทศที่ด้อยกว่าทางด้านเศรษบกิจตกอยู่ายใต้อิทะิพลของตนได้
                 เครื่องมือทางจิตวิทยา ได้แก่ การโฆษณาจูงใจ การทำสงคราม จิตวิทยา เป้าหมาย คือ ควาพยายามที่จะสร้างความรู้สึกและภาพพจน์ที่ดีเก่ยวกับประเทศตนให้เข้าใจแพร่หลายในหมู่ประชาช และผุ้นำของประเทศอื่นๆ
                เครื่องมือทางการทหาร ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่สุดและมักใช้เป็นเครื่องมือสุดท้ายในการตัดสินข้อขัดแย้งระหว่างประเทศและช่วยรักษาผลประโยชน์ของประเทศตนไว้ เมื่อไม่สามารถจะตกลงกนได้ด้วยวิธีการเจรจาทางการทูต
              เครื่องมือทางวิทยาศาสตร เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศนั้นๆ จะส่งผลโดยตรงต่อความมีเสถียรภาพของรัฐบาล ก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีทางการเมืองกับประเทศต่างๆ
              ปัจจัยการเมืองภายในประเทศ จะเป็นผู้จัดสรรทรัพยากรของประเทศทั้งงบประมาณ คน และทรัพยากรให้กับพลังอำนาจด้านเศรษฐฏิจ ด้านสังคมจิตวิทยา ด้านการทหารและด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี รวมทั้งเป็นผู้บริหารจัดการในภาพรวมของประเทศ..(คู่มือ ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาตามหลักสูตร ของ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร 2553-2554,น.10 -12,)
           การรวมกลุ่มระหว่างประเทศ เฮร์นศ์ บี ฮาส กล่าวว่า "การรวมกลุ่มเป็นกระบวนการที่ผุ้ใช้อำนาจทางการเมือง ที่มีอำนาจหน้าที่ในตำแหน่งต่างๆ ถูกชักนำให้เปลี่ยนผัน ความจงรักภักดี ความคาดหมายและกิจกรรมทางการเมืองไปสู่ศูนย์อำนาจแห่งใหม่ ซึ่งสถาบันหลังนี้ดำรงไว้ซึ่งอำนาจหน้าที่อยู่เหนือชาติรัฐที่มีอยู่แต่เดิม".. ลีออน เอน ลินด์เบิร์ก ยกตัวอย่าง การรวมกลุ่มเศรษฐกิจยุโรปโดยให้อรรถาธิบายความหายการรวมกลุ่มดังนี้
           - กรรมวิธีที่ชาติหลายๆ ชาติเต็มใจสละเจตจำนงและความสามารถในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ และนโยบายที่สำคัญบางประเภทภายในประเทศของตนไปสู่การตัดสินใจในนโยบายเลห่านั้นร่วมกัน หรือยินยอมมอบอำนาจกรรมวิธีในการตกลงใจของแต่ละชาติให้เป็นขององค์การศูนย์กลางแห่งใหม่ และ
          - กรรมวิธีที่ผู้ใช้อำนาจทางการเมือง ในระดับต่างๆ ของชาติที่มารวมกลุ่ม ถูกชักจูงให้ผันแปรความคาดหมายและกิจกรรมทางการเมืองไปสู่ศูนย์กลางแห่งใหม่
          ในกรณี  มีการรวมกลุ่มเกิดขึ้นแล้ว ยังต้องคำนึงกันต่อไปว่ากลุ่มหรือองค์การระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นนั้นจะดำเนินการไปได้ราบรื่นและก่อให้เกิดสันติภาพขึ้นมากน้อยเพียงใด แต่เป็นที่เชื่อกันได้อย่างแน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าหากไม่ได้จัดให้มีการผสมผสานเข้ากันได้ระหว่างผลประโยชน์ของรัฐกับผลประโยชน์ขององค์การระหว่างประเทศ รวมทั้งการจัดระเบียบและให้อำนาจขององค์การระหว่างประเทศที่เป็นองค์การใหม่นั้นสอดคล้อง ต้องกันกับความต้องการส่วนรวมของรัฐมาชิก

        ซึ่งจะเห็นได้ว่า สิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องหรือเป็นปัจจัยต่อความมั่นคง แข็งแกร่งของการรวมกลุ่มห รือองค์การระวห่างประเทศนั้นได้แก่ ผลประโยชน์ อำนาจและอิทธิพลของรัฐสมาชิกของกลุ่มประเทศนั้นเอง และหากพิจารณาอย่างลึกซึ้งจะเห็นว่า การถ่ายเทผลประโยชน์ระหว่างรัฐต่อรัฐจะบังเกิดผลเท่าเที่ยมกันได้ก็แต่โดยรัฐเหล่านนั้นมีความร่วมมือกันและตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเกื้อหนุนกันด้วยความเป็นธรรมแต่หากฝ่ายหนึ่งฝ่านใดมีกิจกรรมไม่ว่าในทางใด ๆ เหนือกว่าอีกฝ่ายหนึ่งหรือได้รับประดยชน์ไปมากกว่าอีกฝ่าย ย่อมจะทำให้เการร่วมกลุ่มนี้ไม่มั่นคง แข็งแรง
       "อำนาจรัฐ"อำนาจคือความสามารถในการที่จะเอาชนะอุสรรคต่างๆ แต่เพียงการที่รัฐใช้อำนาจของรัฐเพื่อชนะอุสรรคภายในรัฐของตน ก็ย่อมจะไม่กระทบหรือมีผลต่อรัฐอื่น แต่พฤติกรรมของรัฐที่ใช้อำนาจของรัฐเหนือกว่ารัฐอื่น และกระทำต่อรัฐที่มอำนาจรัฐน้อยกว่านั้น ทำให้ความหมายของคำว่าอำนาจของรัฐกลายเป็นความสามารถในการทำให้รัฐอื่นทำตามหรือยอมตามสิ่งที่ตนปรารถนา
        การใช้ความสามารถในการทำให้รัฐอื่นกระทำตามหรือยอมทำตามสิ่งที่ตนปรารถนาได้นี้ก็คือการใช้อิทธิพล ฉะนั้น จึงถื่อได้ว่า "อิทธิพลเป็นส่วนประกอบอันดับแรกของความคิดเกี่ยวกับอำนาจ"
        การที่รัฐสมาชิก กระทำต่อรัฐอื่นในกลุ่มรัฐสมาชิกโดยอาศัยอิทธิพลของรัฐไม่ว่าทางใดก็ตาม ผลกระทบที่เกิดจากรัฐอื่นนั้นยอ่มจขะมีขึ้นเป็นธรรมดา ท้งนี้ถือว่าเป็นไปตามทฤษฎีปฏิกริยาต่อกัน ในความร่วมมือระหว่างประเทศจะถึงระดับที่เรียกว่าเป็นการรวมกลุ่มระเทศขึ้นนั้น แมว่าโดยเจตนารมณ์ในเบื้องต้นรัฐสมาชิกประสงค์จะแสวงหานโยบายที่สอดคล้องกัีน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่งหนึค่งอย่างไดของกลุ่มประเทศนั้นก็ตาม แต่ในการศึกษาตามสภาพความเป็นจริง แล้วรัฐอื่นที่ถูกกระทำต่อย่อมจะเกิดปฏิกริยาตอบโต้ ในทางใดทางหนึ่ง เช่น การแข่งขัน การร่วมมือ การต่อรอง หรือความขัดแย้ง สภาวะการณ์ที่เกิดขึ้นเหล่านนี้เป็ฯส่ิงทีเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ แม้ว่ารัฐผู้แสดงหรือผู้มีบทบาท ในกลุ่มประเทศที่รวมกันอยู่จะพยายามหลีกเลี่ยงหรือจะพยายามปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ปฏิกิริยา เช่นที่กว่างแล้วลดน้อยลงก็ตาม ตามทฤษฎีปฏิกิริยาต่อกันนี้ยอมรับว่าปัจจัยภายนอกที่เกิดจากรัฐหนึ่งกระทำต่ออีกรัฐหนึ่งนั้นย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ แม้รัฐที่รวงมกลุ่มหรืออยู่นอกกลุ่ม อย่างไรก็ตามการที่รัฐต่างๆ ยังมีความร่วมมือกันอยู่เนื่องจากรัฐบาลต่างๆ เหล่านั้นยังคงต้องการรักษาอำนาจและอิทธิพล รวมถึงความต้องการที่จะให้ได้มาซึ่งอำนาจและอิทธิพล
           ดังนั้น ในพฤติกรรมระหว่างประเทศที่ผ่านมาจึงมีความพยายามที่จะรักษาอำนาจของรัฐหรือกลุ่มของรัฐให้อยู่ในลักษณะทัดเทียมกัน หรืออยู่ในลักษณะทัดเทียมกัน หรืออยู่ในลัษณะที่ได้ดุลยภาพ ซึ่ได้ก่อให้เกิดทฤษฎีดุลอำนาจ
          อรุณ ภาณุพงศ์ ให้ความเห็นว่า "เรื่องของดุลแห่งอำนาจ เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจมากที่สุดเรื่องหนึค่ง ทั้งของนักทฤษฎีด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และของผุ้ที่ปฏิบัติงานหรือเกี่ยวข้องกับงานด้านต่างประเทศ ทั้งของนักทฤษฎีด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และของผุ้ที่ปฏิบัติงานหรือเกี่ยวข้องกับงานด้านต่างประเทศ ทั้งนี้โดยความเชือ่ว่าดุลแห่งำนาจจะทำให้เกิดสันติภาพในความสัมพันะ์ระหว่างประเทศทั่วไป และทำให้เกิดความมั่นคงแห่งชาติ สำหรับผู้ที่สามารถจะปรับดุลแห่งอำนาจให้เป็นคุณแก่ตน..."
        ดุลอำนาจมีความหมายที่ใช้กันอยู่ 2 ลักษณะที่แตกต่างกัน ความหมายแรกมองจากแง่ สภานะเชิงส่วนสัดของอำนาจว่ากระจายกันอย่างไร และอีกความหมายหนึ่ง มองดุลแห่งอำนาจในฐานทางปฏิบัติตามนโยบาย
            การรวมกลุ่มอันเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศตามทฤษฎีความมั่นคงร่วมกัน ศาสตราจารย์ โจเซฟ ไนย์ ให้ความเห็นว่า
            " แนวความคิดในการรวมกลุ่มระหว่างประเทศ เมื่อจะต้องแยกพิจารณาในแง่ส่วนประกอบของรัฐแต่ละรัฐเพื่อจัดรวมขึ้นเป็นองค์กรระหว่างรัฐองค์กรใหม่แล้ว ก็อาจจะแยกออกได้เป็นการรวมกลุ่มในทางเศรษฐกิจ การรวมกลุ่มในทางสังคม และการรวมกลุ่มในทางการเมือง การรวมกลุ่มทั้งสามลักษณะนี้ ในทางปฏิบัติอาจจะแยกออกเป็นการรวมกลุ่มในเรื่องย่อยอื่น ๆ ที่อยุ่ในความสนใจร่วมกัน ในลักษณะที่หวังผลแน่นอนเป็นเรื่องๆ ไป"

วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2560

Nation Security

แนวความคิดความมั่นคงโดยทั่วไป มีดังนี้
               - ความมั่นคงแห่งชาติ แนวความคิดมุ่งเน้นในการดำเนินการที่ก่อให้เกิดความมั่นคง โดยอาศัยพลังอำนาจของชาติ เพราะพลังอำนาจของชาติจะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในกาารพิทักษ์รักษาสิ่งสำคัญที่เปรียบเสมือนหัวใจของชาติ นั่นคือ ความมุ่งประสงค์ของชาติและผลประโยชน์ของชาติ  ความมุ่งประสงค์ของและผลประโยชน์ของแต่ละชาติก็จะแตกต่างกันไปใแต่ละชาติ
              - ความมั่นภายใน ซึ่งเกี่ยวพันโดยตรงกับความมั่นคงคงของชาติ โดยความมั่นคงภายในจะมุ่งเน้นไปในเรื่องของความมั่นคงภายในประเทศที่จะนำไปสู่ความมั่นคงของชาติในที่สุด
              - ความมั่นคงของโลก เป็นเหมือนกับความมั่นคงของภูมิภาค แต่จะแตกต่างกันที่การรวมตัวกันเป็นกลุ่มที่ใหญ่ขึ้น คือทุกประเทศในโลกนี้ ซึ่งจะรวมความมั่นคงภายในแต่ละชาติและความมั่นคงของชาติแต่ละชาติ



               - ความมั่นคงของสภาวะแวดล้อม เป็ฯแนวความคิดที่พยายามจะรักษาภาวะเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมภายในโลก เพื่อให้สังคมมนุษย์ยังคงอยู่ต่อไปภายในโลกนี้ร่วมกับธรรมชาติได้ การพิจารณาแนวความคิดนี้จะมองไปในอนาคต
โดยใช้หลักวิชาการทางวิทยาศาสตร สำหรับประเด็นสำคัญของความมั่นคงประเภทนี้ คือ ประเทศที่ก่อให้เกิดการทำลายสิงแวดล้อมมากมักจะเป็นประเทศมหาอำนาจ หรือ ประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง ดังนั้น ความรับผิดชอบในการออกค่าใช้จ่ายในการรักษาสิ่งแวดล้อมจะต้องเป็นสัดส่วนที่แตกต่างกัน
               - ความมั่นคงของบุคคล เป็นแนวความคิดที่หลายประเทศให้ความสนใจเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิง ประเด็นของสิทธิความเท่าเทียมกันของมนุษย์ โดยการดำเนินการเพื่อให้เกิดความมั่นคงวของมนุษย์นั้น จะต้องใช้พลังอำนาจของชาติในด้านต่างๆ มาเป็นเครื่่องมือจำนวนมากเพราะแต่ละบุคคลจะมีความมั่นคงได้ จะมีองค์ประกอบที่ต้องพิจารณาหลายประการเช่น สิทธิมนุษยชน คุณภาพชีวิต การศึกษา ฐานะทางการเงิน อนามัยชุมชน
                 ความมั่นคงของชาติส่งผลให้ประาชนมีความปลอดภัย สงบสุข ผู้ที่มีหน้าที่เีก่ยข้องในบล้านเมือง ได้มีการร่วมกันศึกษา หาแนวทางที่จะให้ชาติเกิดความมั่นคง เพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งความมั่นคงของชาตินั้นขึ้นอยู่กับสิ่งต่างๆ ดังนี้
               1. ความมั่นคงด้านการเมืองภายในประเทศ  กระแสการเบ่งบานของประชาธิปไตยพร้อมกับความสามารถในการรับรุ้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน อีกทั้งความเข้มแข็.ที่เพ่ิมขึ้นของประชาชนกลุ่มต่างๆ ในสังคมที่รวมตัวกัน กลุ่มเหล่านี้เรียกว่าประชาสังคม ความเข้มแข็งของกลุ่มประชาสังคมนี้ส่งผลให้เกิดความซับซ้อนในการดำเนินงานการเมืองภายในประเทศ อำนาจที่แท้จริงของปวงชนชาวไทยกำลังถูกนำกลับคืนมาสู่ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจด้วยการเพ่ิมอำนาจในการถอดถอนผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหลังจากที่ประชาชนได้ใช้อำนาจผ่านผู้แทนของเขาเหล่านั้นในอดีตผู้แทน ได้ใช้อำนาจอย่างละเลยความต้องการที่แท้จริงของประชาชน การมีบทบาทและการมีส่วนร่วมมากขึ้นของประชาชนในการปกครองประเทศ
             2 . ความมีบทบาทขององค์กรเหนือรัฐ เช่น สหประชาชาติ สหภาพยุโรป องค์การค้าโลกฯ ได้เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินงานการเมืองของประเทศ ซึ่งในบางครั้งได้ส่งผลคาบเกี่ยวต่ออำนาจอธิปไตยของชาติ
            3. ความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ เช่นการทำความเข้าใจในรูปแบบธุรกิจแบบใหม่หรือธุรกิจออนไลน์จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน นำไปสู่ความมั่นคงแห่งชาติในที่สุด
           4 . ความมั่นคงด้านสังคมจิตวิทยา การให้น้ำหนักระหว่างความสามารถ และ คุณธรรมจริยธรรม จะทำให้ประเทศเกิดความมั่นคงที่ยั่งยืน
           5 . ความมั่นคงด้านการป้องกันประเทศ การปรับกองกำลังให้เหมาะสมกับสภานะการณ์ปัจจุบัน การหันมาใช้วิธีการทางการทูต เป็นต้น
           6. ความมั่นคงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยีในด้านต่างๆ การจดสิทธิบัตรจำเป็นที่จะต้องมีความเข้าใจและกำหนดทิศทางเพื่อที่จะนำไปใช้กในการรักษาผลประโยชน์ของชาติเป็นต้น
           7. ความมั่นคงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สังคมแห่งการบริโภคตามลักษณะของทุนนิยมจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรง และมีลักษณะเป็นลูกโซ่ ต่อสิ่งแวดล้อม และทรัพยกรธรรมชาติ
          8. ความมั่นคงด้านสารสนเทศ สารสนเทศ หรือข้อมูลข่าวสาร กลายเป็นทรัพย์สินมีค่า ดังนั้น การป้องกันการลักลอบแก้ไขข้อมูล ป้องกันการขโมยข้อมูล การทำให้ข้อมูลพร้มอใช้งาน และอิทธิพลของการใช้สารสนเทศในการจัดการความเข้าใจ จะส่งผลกระทบต่อบุคคล หน่วยงาน และปรเทศได้ และนำมาซึ่งความมั่นคงในที่สุด
         9 . ระบาดวิทยา การเกิดขึ้นของโรคระบาดใหม่ๆ ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ การควบคุมและป้องกันจึงมีผลต่อความมั่นคงของประเทศ
         10. ความมั่นคงด้านการอพยพย้ายถิ่นฐาน ทั้งการย้ายถิ่นฐานจากชนบทเข้าสู่เมือง และการย้ายถิ่นข้ามประเทศ ที่เป็นปัญหาต่อความมั่นคงโดยตรงคือ แรงงานเถื่อน การค้ามนุษย์ ค้าแรงงาน เป็นต้น ส่วนปัญหารต่อความมั่นคงทางอ้อมคือ ปัญหาการนำพาเชื้อโรค ปัญหาอาชญกรรม เป็นต้น
        11 . ความมั่นคงของมนุษย์ ที่ส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ เช่น ปัญหาการค้ามนุษย์ การด้อยการศึกษา ปัญหาความยากจน ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนทั้งประเทศ และส่งผลต่อขีดความามารถของประเทศในการแข่งขัน การยกระดับความมั่นคงมนุษย์จึงเป็นการช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และส่งผลต่อความมั่นคงของชาติ
        12 . ความมั่นคงด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งเป็นภัยคุกคามรูปแบบหนึ่งต่อประเทศชาตินั้นๆ
        13 . ความมั่นคงด้านพลังงาน การประหยัดพลังงานเป็นแนวทางซึ่งจะนำไปสู่ความมั่นคงของชาติ
        14. ความมั่นคงด้านภัยพิบัติ ซึงส่งผลต่อความเสียหายทั้งชีวิต เศรษบกิจ การจัดการระบบ กระบวนการ และการดำเนินงานทางด้านแจ้งเตือนภัย ช่วยเหลือผู้ประสบภัย จะช่วยลดการสูญเสีย
        15. ความมั่นคงด้านวัฒนธรรมและชาติพันธ์ุ ความเป็นรัฐ-ชาติในปัจจุบันกำลังเผชิญกับปัญหาของขาติพันธุ์ที่อาจสำไปสู่กาแตกเป็นประเทศเล็ก ดังจะเห็นได้จากหลายๆ ประเทศทั่วโลก
                   กฎหมายลักษณะพิเศษ
           ในภาวะที่เกิดสภานการณ์ร้ายแรง หรือ ความไม่สงบเรียบร้อยของบ้านเมืองที่จะเป็นอันตรายต่อประเทศอันเป็นประโยชน์สาธารณะของของชาติอย่างร้ายแรงขึ้น เช่น สงคราม จลาจล กบฎ ภัยพิบัติ สาธารณะ เป็นต้น ในสถานการณ์เช่นนี ทุกประเทศต่างถือเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งรัดแก้ไขเพื่อรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงของประเทศ หรือประโยชน์สารธารณะให้ยุติลง และฟื้นคืนกลับมาโดยเร็วที่สุด และยอมรับถึงความจำเป็นที่รั๘จะต้องมีอำนาจ เครื่องมือ สรรพกำลัง และอาวุธในการดำเนิการได้อย่างเต็มที่และเหมาะสม ซึ่งการใช้อำนาจดังกล่าวข่อมเป็นที่แน่นอนว่าจะต้องมีผลกระทบในทางจำกัดสิทธิ และเสรีภาพของประชาชนอย่างไม่อาจหลักเลี่ยงได้กว้างขวางมากน้อยขึ้นอยู่กับระดับความร้ายแรงของสถานกาณ์เป็นสำคัญ และกฎหมายทั่วไปที่มีใช้อยู่ในยามปกติย่อมไม่ม่ีบทบัญญัติให้รัฐมีอำนาจกระทำการเช่นนั้นได้ตามหลักนิติธรรม ส่วนอำนาจที่รัีฐพอจะมีอยู่บ้างตามกฎหมายบางฉบับก็อาจไม่เหมาะสม หรือ ไม่เพียงพอจะเยียวยาแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้นานาอารยประเทศต่างยอมรับโดยทั่วกัน ถึงความจำเป็นต้องมีกฎหมายพิเศษในสภานะการอันไม่ปกติมอบอำนาจให้รัฐมีและใช้อำนาจได้อว้างขวางเบ็ดเสร็จรวมถึงจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้มากกว่ายามปกติ โดยถือเป็นกรณีที่ประโยชน์ของเอกชนชัดแย้งกับประโยชน์สาธารณะ ซึ่งรัฐจำเป็นต้องนำข้อยกเว้นของหลักนิติธรรมมาใช้ในการตรากฎหมาย และใช้อำนาจจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเพื่อคุ้มครองรักษาประโยชน์สาธารณะไว้ ขณะเดี่ยกันก็ได้พยายามวางกรอบให้มีและการใช้อำนาจตามกฎหมายพิเศษนี้ได้เพียงเท่าที่จำเป็นจริงๆ และอย่างจำกัดเท่านั้น ดังจะเห็นได้ว่าในเวลาต่อมาประเทศต่างๆ ก็ได้มีการบัญญัติกรอบอำนาจของรัฐในการตรากฎหมายพิเศษในสถานการณ์ไม่ปกติดังกล่าวได้เพียงเท่าที่อยู่ภายใต้เงื่อนไข ขอบเขตและระยะเวลาอย่างจำกัดไว้ในรัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศ เพื่อรับรองความชอบธรรมไว้อีกชั้นหนึ่งด้วยกันทั้งสิ้น

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2560

Justice

             "นิติปรัชญา"เป็นการศึกษาภาพรวมๆ ของกฎหมายในเชิงปรัชญา กล่าวคือเรื่องธรรมชาติของกฎหมายหรือความสัมพันธ์ของกฎหมายกับจริยธรรม เป็นต้น มีผู้ให้ความหมายของนิติปรัชญาไว้ดังนังนี้
             - จอร์ช ไวท์เทอร์ครอส ปาตัน : นิติปรัชญาเป็นวิธีการศึกษาที่มีลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งเนื่องด้วยมิใช่เป็นการศึกษากฎหมายของประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่หากเป็นการศึกษาแนวความคิดทั่วไปในตัวกฎหมาย
             - อาร์. ดับบลิว. เอ็ม. ดิแอส : นิติปรัชญาเป็ฯการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้าง การใช้และบทบาทของกฎหมาย ตลอดจนแนวความคิดเกี่ยวกับกฎหมาย
             - จูเรียส สโตน : นิติปรัชญาเป็นเรื่องการตรวจสอบศึกษาของนักกฎหมายต่อหลักการ อุดมคติ และเทคนิคของกฎหมายในแง่มุมความคิดจากความรอบรู้ปัจจุบัน
            หรือในทรรศนะของผู้สอนวิชานิติปรัชญาของไทยก็ได้ให้คำนยามไว้ต่างๆ กัน อาทิ
            " นิติปรัชญาศึกษาถึงรากฐานทางทฤษฎีของกฎหมาย ศึกษาถึงอุดมคติสูงสุด หรือคุณค่าอันแท้จริงของกฎหมาย หรือแก่นสาระของกฎหมาย.. ความมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของกฎหมายอยุ่ที่ไหน คำตอบเหล่านี้ย่อมจะแตกต่างไปตามสำนักความคิดทางปรัชญานิติปรัชญาศึกษาว่าทำไมคนจึงต้องยอมรัีบนับถือกฎหมาย นอกจากนี้แล้ว นิติปรัชญาจะกล่าวถึงเรื่องความยุติธรรม และความสัมพันธ์ ระหว่างกฎหมายกับความยุติธรรม"...
          "วิชาปรัชญากฎหมาย ได้แก่ การศึกษาถึงหลักการพื้นฐานอย่างลึกซึ้งในกฎหมายเพื่อแสวงหาอุดมการขั้นสุดท้าย และค่านิยมที่แท้จริงของกฎหมาย เช่น ปัญหาว่าด้วยลักษณะอันแท้จริงของกฎหมายคืออะไร เหตุใดจึงต้องมีกฎหมาย เช่น ปัญหาว่าด้วยลักษณะอันแท้จริงของกฎหมายคืออะไร เหตุใดจึงต้องมีกฎหมาย กฎหมายมีคุณประโยชน์อย่างไร รากฐานของกฎหมายมีอยู่อย่างไร เจตนารมณ์ของกฎหมายคืออะไร เหตุใดจึงต้องมีกฎหมาย กฎหมายมีคุณประโยชน์อย่างไร รากฐานของกฎหมายมีอยู่อย่างไร เจตนารมณ์ของกฎหมายคืออะไร แนวความคิดและทฤษฎีทางกฎหมายโบราณกับปัจจุบันมีข้อแตกต่างกันอย่างไร เป็นต้น .."
           " นิติปรัชญาเป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับความยุติธรรม เป็นการศึกษาให้เข้าถึงซึ่งสัจธรรม, วิญญาณกฎหมาย หรือสิ่งที่เป็นคุณค่าหลักการ และทฤษฎีซึ่งอยู่เบื้องหลังกัวบท และวิธิการทางกฎหมาย"
           " นิติปรัชญา หมายถึงวิชาที่ศึกษาถึงกฎหมายในลักษณะที่เป็ฯทฤษฎีมิใช่หลักหรือตัวบทกฎหมายเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ทฤษฎีที่ว่านี้หมายถึงทฤษฎีว่าด้วยความหาายของกฎหมาย กำเนิดของกฎหมาย ประเภทของกฎหมาย เจตนารมณ์ของกฎหมาย และเรื่องราวต่างๆ อันแทรกอยุ่ในระบบกฎหมายทุกระบบตลอดเวลา เช่น ความยุติธรรม สิทธิ เสรีภาพ ความรับผิดชอบ อำนาจหน้าที่เป็นต้น ซึ่งเห็นได้ว่าเป็นการศึกษาหัวข้อนามธรรมในทางกฎหมายมิใช่ตัวบทกฎหมายใดโดยเฉพาะ ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาคิดรวบยอดในทางกฎหมายเหล่านี้ไปตอบคำถามที่ว่าทำอย่างไรจึงจะออกกฎหมายใช้กฎหมายหรือตีความกฎหมายได้อย่างยุติธรรม ส่วนวิธีการให้คำตอบหรือวิธีการอธิบายคำตอบย่อมแตกต่างไปตามสำนักความคิดแต่ละสำนัก ซึ่งจะนำมาศึกษาในวิชานี้เพื่อให้ผู้ศึกษาได้ทราบ และเลือกความคิดที่ตนเห็นชอบด้วย"
             ปรัชญากฎหมายธรรมชาติ  คงไม่ผิดนักหากกล่าวว่ากฎหมายธรรมชาติถือำเนิดพร้อมๆ กับอารยธรรมตะวันตก นับแต่ยุคกรีกโบราณ, โรมันโบราณและเติบโตพัฒนากระทั่งปัจจุบัน และกล่าวได้เช่นกันในวัฒนธรรมกฎหมายของตะวันออกไม่ว่าจะเป็นมุสลิม ฮินดู พุทธหรือประเพณีความคิดของจีน การปรากฎตัวของกฎหมายธรรมชาติ อาจตีความได้ว่าเป็นการแสดงออกซึ่งความบันดาลใจของมนุษย์ที่มุ่งมั่นจะค้นหาหลักการอันสุงสังสำหรับกฎหมายที่มนุษย์บัญญัติขึ้น วิวัฒนาการของปรัชญากฎหมายธรรมชาติจึงเป็นเสมือนประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ในความพยายามที่จะค้นหาหลกความยุติธรรมที่แท้จริงในฐานนะเป็นหลักอุดมคติของกฎหมาย หรือความพยายามที่จะค้นหาหลักอุดมคติซึ่งจะใช้ประสานความขัดแย้งพื้นฐานในสังคมมนุษญ์ แม้จะต้องถูกเย้ยหยันหรือปฏิเสธจากเพื่อมนุษย์ด้วยกันเองว่าเป็นความคิดเพ้อฝันเลื่อนลอย
           หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง การกำเนิด ดำรงอยู่และพัฒนาการของกฎหมายธรรมชาติจึงเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของความขัดแย้ง หรือความไม่สมบูรณ์ในสังคมมนุษย์ที่ปรากฎอยู่ จนทำให้ต้องมีการเรียกร้องหรืออ้างอิงกฎหมายอุดมคติขึ้นยันต่อรัฐในฐานะผู้ออกกฎหมาย และผุ้ใช้อำนาจปกครองต่อประชาชน ข้อนี้จะห็นได้ว่าในยุคสมัยที่ย้านเมืองวุ่นวายสับสน รหือมีปัญหาเรื่องการใช้อำนาจรัฐอย่างไม่เป็นระบบ กฎหมายธรรมชาติมักถูกนำขึ้นกล่าวอ้างอย่างหนักแน่นแสมอจากบรรดาบุคคลผู้คับข้องหรือถูกกดขี่ เพื่อการขบถต่อต้านอำนาจรัฐที่ตนเห็ฯว่าไม่เป็นธรรม กฎหมายธรรมชาติในแง่นี้จึงเป็นเสมือนกฎหมายอุดมคติที่คุ้มครองและค้ำประกันสิทธิเสรีภาพแก่ปัเจกชนทั่วไปในลัษณะที่เป็นพลังความคิดปฏิวัติซึ่งที่กล่าวมานี้เกิดขึ้นในโลกตะวันตก ซึ่งไม่มีบทบาทมากนักหากนำมาใขช้กล่าวอ้างหลักสิทธิมนุษยชนขึ้นในสังคมไทยในแง่บทบาททางการเมือง ..อย่างไรก็ตาม ในอีกแง่หนึ่งกฎหมายธรรมชาติก็เป็นความคิดเชิงอนุรักษ์ฯที่ถูกสร้างและใช้เพื่อรองรับความชอบธรรมในการใช้อำนาจปกครองของรัฐเช่นกัน ในลักษณะการแอบอ้างทฤษฎีกฎหมายธรรมชาติขึ้นบังหน้าเพื่อซ่อนเร้นความทะเยอทะยานในทางการเมือง ดังนั้นในโลกตะวันตกกฎหมายธรรมชาติจึงแกว่งไปมาระหว่างขั่วปฏิวัติและอนุรักษณ์นะยมตลอดประวัติศาสตร์ของกฎหมายธรรมชาติ (ถูกใช้เป็นเครื่องมือ)...

             ความยุติธรรม 

             พิเคราะห์ความหมายจากมหากาพย์เทพนิยายกรีกโบราณของโฮเมอร์ ซึ่งไม่ให้คำอธิบายที่เป็ฯระบบใดๆ เกี่ยวกับแนวคิดเรื่องความยุติธรรม ตัวละครที่แฝงความหายไปในเชิงบุคลาธิษฐานก็บ่งให้แปลโดยว่า เมื่อกว่า 3000 ปีก่อนความเข้าใจกันว่าความยุติธรรม(Dike) เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจ (Zeus) อย่างมีเหตุผล (Themis) โดยสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสันติภาพ (Eirene) ความเป็นระเบียบมั่นคง (Eunomia) และโอกาสหรือความผันแปร (Tyche) ขณะเดียวกันความยุติธรรมก็เป็นสิ่งตรงข้ามกับความเกินเลยและการบิดเบือน (Hybris) ความขัดแย้ง (Eris) ความไม่เป็นระเบียบ (Dysnomia) ความหลงลืมและปกปิดซ่อนเร้น (Lethe) และความผิดพลาดหรือคลุมเคลือ (Amphilogiai)  สำหรับการอำนวยความยุติธรรมนั้นก็เกี่ยวข้องกับการใช้บังคับกฎหมาย หรือการพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิดต่างๆ จุดที่น่่าสังเกตอย่างยิ่งในเทพนิยายนี้ก็คือ ทำไมจึงถือว่าคำตัดสินของเทพธิดาแห่งความยุติธรรมยังเปิดช่องหให้มีการโต้แย้งได้หรือยังมีผลลัพธ์ที่มีความไม่แน่นอน (Tyche) ประกอบอยู่ ประเด็นนี้น่าคิดว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่กวีผู้ประพันธ์ พิจารณาสิ่งที่เรียกว่า ยุติธรรมในลักษณะเป็นคุณธรรมหรือความถูกต้องเชิงสัมพันธ์มากกว่าจะมองว่าเป็นธรรมหรือคำตอบสำเร็จรูปที่ใช้แก้ไขข้อพิพาททุกๆ เรื่องในทุกกาละหรือทุกสถานที่พูดอีกย่างก็คือ ไม่มีสิ่งที่เป็ฯคำตอบของความยุติธรรมซึ่งเป็นนิรันดร์ หรือค้นพบได้ล่วงหน้า สิ่งที่น่่าสังเกตอีกประการคือ ความสัมพันธ์อย่างยิ่งระหว่างความยุติธรรมและกฎหายจนอาจกล่าวได้ว่า รวมตัวเป็นอินทรีย์เดียวกัน กฎหมายทำหน้าที่เป็นแขนขา หรือเครื่องมือของความยุติธรรม โดยที่ทังสิงสอ่งล้วนมีกำเนิดจากโองการของเทพเบื้องบน และเป็นสิ่งน่าอัศจรรย์ว่าวิธีการอธิบายและตีความหมายในเทพนิยายกรีก สอดคล้องกันกับคำอธิบายเรื่องกฎหมายและความยุติธรรม ในคัมภีร์มานวธรรมศาสตร์ ของฮินดูโบราณ ซึ่งอ้างว่า "ทัณฑ์" หรือเทพโอรสของพระอิศวก็คือ ตัวกฎหมาย ขณะเดี่ยวกันก็ถือว่าทัณฑ์กับความยุติธรรมคือ สิ่งเดี่ยวกันด้วย นอกจากนี้ลักษณธร่วมของความยุติธรรมยังแสดงออกที่การเน้นเรื่องเอกภาพหรือความกลมกลืน ซึ่งเป็นขั้วตรงข้ามกับเรื่องความขัดแย้งหรือความรุนแรงหรือความไม่เป็นระเบียบต่างๆ ตรงจุดนี้นับว่ามีข้อสังเกตอีกครั้งที่แก่นสารเรื่องความยุติธรรมของกรีกโบราณสอดคล้องกับความคิดของขงจื้อ และลัทธิเต๋า อันเป็นภูมิปัญญาของตะวันออกโบราณที่เน้นความสำคัญของเรื่อง "ความกลมกลืน" เช่นกันในฐานะเป็นสารัตถุของความถูกต้อง หรือความดีงามต่างๆ
                 การเชื่อมต่อปัญหาเรื่องความยุติธรรมกับความกลมกลืนอาจไม่ให้ภาพที่ชัดเจนนักต่อการแปลความหมายความยุติธรรมจากแง่มุมนี้ แต่ดูเหมือจะชี้ให้เห็นว่า ความยุติธรรมเป็นหลักคุณค่าหรือคุณธรรมอันจำเป็นเพื่อยุติปัญหาขัดแย้งที่เกิดขึ้นซึ่งอาจดำรงอยู่ในระดับเอกชนหรือในระดับวังคม ก่อนที่ความขัดแย้งต่างๆ จะขยายวงหว้างไปสู่จุดแห่งการทำลายล้างซึ่งกันและกัน ความยุติธรรมจะเป็นหลักคุณค่าที่ถูกใช้เพื่อจำกัดความขัดแย้งวนั้นให้ดำรงอยู่ในระดับที่เหมาะสมประนีประนอมกันมากขึ้นหรือมิฉะนั้นก็ทำให้มันยุติลงด้วยความเรียบร้อย

วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2560

Spiritual Secutiry

            ความมั่นคงทางจิตใจ Spiritual Secutiry
            มาสโลว์ : ความต้องการความมั่นคง เป็นความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจ เป็นอิสระจากความกลัว ขู่เข็ญ บังคับ จากผู้อื่นและสิ่งเเวดล้อม เป็นความต้องการที่จะได้รับการปกป้องคุ้มกัน ซึ่งควงามต้องการประเภทนี้เป็นความต้องการตั้งแต่ทารกกระวัยชรา
            อมาร์ทยา เซน : ความมั่นคงทางด้านจิตใจนั้นสำคัญและมีมานานแล้วตั้งแต่ในสมัยพุทธกาลกว่า 2,500 ปี พระพุทธเจ้าสร้างความมั่นคงทางจิตใจให้แก่มวลมนุษย์ พระองค์พยายามหาเหตุแห่งความทุกข์และพยายามค้นหาหนทางเพื่อดับทุกข์ ซึ่งเป็นรากฐานของความมั่นคงในระดับจิตใจ
            พระธรรมปิฎก : กล่าวไว้ว่า ความมั่นคงทางจิตใจนั้นเป็นความมั่นคงพื้นฐาน อยู่ในชุดความมั่นคงของชีวิต ซึ่งเริ่มด้วยความมั่นคงปลอดภัยทางด้านร่างกายที่จะเป็นฐานให้ชีวิตเป็นอยู่ได้ ความมั่นคงทางจิตใจ และความมั่นคงทางสังคม ทั้งสามอย่างนี้เป็นพื้นฐานมาแต่เดิม ส่วนความมั่นคงด้านอื่นๆ มักจะเป็นของที่เพ่ิมขึ้นมาทีหลัง ความมั่นคงทางจิตใจ เป็นเรื่องของจิตที่ลึกซึ้ง มักจะไปเกี่ยวข้องกับเรื่องทางศรัทธาโดยเฉพาะเรื่องทางศาสนา อาจแปลได้ว่าเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ เมื่อพูดถึงในเรื่องทางพุทธต้องโยงมาหาปัญญา เพราะจิตใจจะมั่นคงแท้จริงต้องอาศยปัญญา สำหรับในความหมายของต่างชาติ เป็นเรื่องของการที่จิตใจมีที่พึ่งพำนัก มีที่ยึดเหนี่ยว มีความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยรวมทั้งมีคุณความดีที่ทำให้เกิดความภูมิใจ
              นอกจากนี้ยังมีผู้ให้ความหมายไว้อีกว่า ความมั่นคงทางจิตใจคือ ความรู้สึก อารมณ์ สภาพการณ์ที่บุคคลเชื่อมั่นต่อผลการปฏิบัติงาน มีความสุขที่ได้ปฏิบัติงานจนสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร ซึ่งไดแก่ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การยอมรับจากผู้อื่นและการยกย่องชม เชย หรือ หมายถึงสภาพจิตของบุคคลที่รู้สึกว่าปลอดภัย แน่ใจ ปราศจากความหวั่นไหว ไม่มีความเกรงกลัว หรือหวาดระแวง ไม่ลังเลหรือวิตกกังวล
             และยังมีคำที่มีลักาณะและความหมายใกล้เคียงกับความมั่นคงด้านจิตใจ ซึ่งได้แก่ ขวัญ morale มีผู้ให้ความหมายไว้ว่า ขวัญ คือ สภาพของจิตใจและอารมณ์ ซึ่งกระทบต่อความตั้งใจในการทำงาน ซึ่ผง
ผลกระทบนั้นจะมีต่อบุคคลและวัตถุประสงค์ขององค์กร
              กองวิชาการและแผน กรมประชาสงเคราะห์ : ขวัญ ในการปฏิบัติงาน เป็นสภาพทางจิตใจ หมายถึง ความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ ท่าที ซึ่งมีลักษณะนามธรรมมองไม่เห็น แต่สมารถสังเกตได้จากการแสดงออกในรูปของการมีความรู้สึกหรือไม่มีความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงาน
            ความมั่นคงทางจิตใจ เป็นสภาพจิตใจ สภาพของอารมณ์และความรุ้สึกของบุคคล ซึ่งมีทังควมรู้สึกพึงพอใจและไม่พึงพอใจ ที่มีผลต่อการแสดงพฤติกรรมปกติ หรือพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน หรืออาจทำให้เกิดพฤติกรรมใหม่ทั้งที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ โดยพฟติกรรมนี้แสดงออกได้ทั้งในขณะที่รู้สึกตัว สามารถควบคุมพฤติกรรมที่เกิดขึ้นได้ หรือแสดงออกโดยไม่รู้สึกตัว ซึ่งมีผลกระทบต่อตัวบุคคลและองค์การ
           ความมั่นคงทางจิตใจสามารถแสดงผลออกลัพท์ออกมาทางสุขภาพจิต จากข่าวสารเพื่อการเผยแพร่ให้ความรู้แก่ประชาชนของมหาวิทยาลัยมหิดลได้เสนอว่า สุขภาพจิตเป็นสภวะทางจิตใจของบุคคล ซึ่งโดยธรรมชาติภาวะทางจิตใจ มีการปรับ เปลี่ยนแปลงตามสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวบุคคลนั้น การเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันซึ่งเป็นไปอย่างรวดเร็วในทุกๆ ด้าน ทำให้คนเราต้องมีการปรับตัว เปลี่ยนแปลง ซึ่ง สุขภาพจิตของคนเราก็ต้องมีการปรับ และเปลี่ยนแปลงตามด้วยเช่นกัน บุคคลใดที่สามารถปรับตัวได้ในสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยตนเองมีความสุข สามารถปรับปรุงเปลี่ยนสแปลงตนเองได้ตามสถานการณ์ด้วยเหตุด้วยผลอันเหมาะสม มีความยือหยุ่น ก็คือผู้ที่มีสุขภาพจิตดี สุขภาพจิตดีเปรียบได้กับต้นไม่ที่รากเต็มไปด้วยความเป็นมิตร ความมีเมตตา การให้อภัย ความอดทนและสำนึกในบุญคุณผู้อื่น มีความรับผิดชอบ มีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต จิตใจมั่นคง มีความรัก ก่อให้เกิดความไว้วางใจ กลายเป็นลำต้นที่แข็งแรง แตกกิ่งก้านสาขาเป็นความคิดริเริ่มสร้างสรร ได้รับการยอมรับ มีแรงจูงใจ พอใจ และรู้จักตนเองอย่างแท้จริง รู้รับผิดชอบ มีความสามารถใช้ศักยภาพของตนได้อย่างดี ทำประโยชน์ให้กับสังคม และมีความสุขในชีวิต
            ความเข้มแข้งทางใจ Resilience,Resiliency ในทางจิตวิทยา หมายถึงกระบวนการ หรือศักยภาพในทางบวกของบุคคลในการจัดการกับภาวะเครียดหรือความล้มเหลวของชีวิต ซึ่งใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงคุณลักษณะของบุคคลเกี่ยวกับความรู้สึกอดทนและสามารถเผชิญต่อเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยที่คุณลักษณะเช่นนี้มีความหมายเป็นปัจจัยปกป้อง จากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ
           นอกจากนี้ความเข้มแข็งทางใจยังหมายถึง พฤติกรรมทางบวกที่บุคคลใช้ในการปรับตัวเมื่อเผชิญกับความโชคร้าย หายนะ หรือความรู้สึกบาดเจ็บ หรือใช้เป็นการกล่าวถึงการเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคโดยเกิดผลลัพธ์ที่ดี ซึ่งแสดงออกได้โดยกายืนหยัดต่อสู้แม้อยู่ในภาวะเสียงหรืออันตรยสูง ความคงทนอย่างต่อเนื่องแม้อยู่ใต้ภาวะกดดัน และความสามารถในการฟิ้นพลังอย่างรวดเร็วจากการบาดเจ็บ รวมทั้งการที่บุคคลสามารถมีชีวิตและเจริญเติบโตมาได้อย่างดี แม้ว่าจะต้องประสบกับปัญหา อุปสรรค ต่างๆ นับประกาณ ซึ่งปัญหาต่างๆ หรือความโชคร้าย
            จรอทเบิร์ก : ความเข็มแข็งทางใจ หรือความยืนหยุ่นทางอารมณ์เป็นศักยภาพของบุคคล กลุ่มหรือชุมชนที่มีความสามารถในการฟื้นตัวการป้องกันความสูญเสีย การลดความรุนแรง และการผ่านพ้นจากการได้รับผลกระทบที่เกดจากภาวะบีบคั้นต่างๆ ที่ต้องเผชิญได้ด้วยดี
            เดเยอร์ : เป็นความสามารถหรือทักษะ ซึ่งสามารถพบได้ใน 3 มิติ คือ มิติบุคคล มิติระหว่างบุคคลและครอบครัว โดยที่ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลหรือมีอิทธิพลให้บุคคลเกิดความเข้มแข็งทางใจในขณะหรือภายหลังเผชิญกับเหตุการณ์วิกฤติ
            วองซ์ : คือลักษณะนิสัยการประสบความสำเร็จในนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ที่เผชิญกับเหตุการณ์ที่ไม่ดี หรืออุปสรรคที่รุนแรงแต่สามารถประสบความสำเร็จทางการศึกษาและเจริญงอกงามได้
            ทูรเนอร์ : ความสามารถพิเศษของบุคคลในการอดทนต่อความยากลำบาก สามารถผ่านมรสุมและดำเนินชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผุ้ที่มีความหยุ่นตัว มีความสามารถ "งอโดยไม่หัก" และหวนกลับคืนสู่สภาพปกติดังเดิม
             มาโยว์ : ความสามารถในการปรับตัวได้อย่างดีต่อความเครียด เคราะห์กรรมบาดแผลทางใจ หรือเรื่องโศกเศร้า สามารถคงไว้ซึ่งความคงที่และระดับสุขภาวะของการทำหน้าที่ทางกายแะจิตใจเมื่อเผชิญความยากลำบาก โดยสามารถทำกิจกรรม ประจำวันได้ ยังมองชีวิตในแง่ดี ไม่สับสนและกลับสู่สภาพเดิมได้อย่างรวดเร็ซ
             ความเข้มแข็งทางจิตใจ คือ กระบวนการที่มีพลังและความคิดสร้างสรรค์ที่บุคคลแสดงออกมา ซึ่งเป็นการปรับตัวในเชิงพฤติกรรมทางบวก เมื่อเผชิญกับเคราะห์กรรมหรือบาดแผลทางจิตใจ โดยที่บุคคลสามารถประคับประคองตนเองให้ผ่านพ้นสถานการณ์ที่ยากลำบากมรสุมหรือความหระทบกระเทือนทางจิตที่รุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และกลับคืนสู่สภาวะเดิมได้...

วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2560

์Nation Security and King

           เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเรียนรู้เกี่ยวกับการปกครองแบบประชาธิปไตยจากประเทศต่างๆ ในยุโรปด้วพระองค์เอง และจากประสบการณ์ของพระองค์ที่ได้รับเมื่อครั้งอยู่ต่างประเทศ จึงมีอิทธิพลต่อแนวคิดทางการปกครองประชาชนของพระองค์ด้วยทั้งสองพระองค์ 
           พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ ทรงชี้ให้เห็นว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นมนุษย์ ที่ทรงอยู่ในฐานะของผู้นำประเทศ โดยความยินยอมพร้อมใจของประชาชนทุกคน ทั้งนี้เพราะอำนาจในการปกครองแผ่นดินของพระมหากษัตริย์นั้น ได้มาจากการที่ประชาชนแต่ละคนยอมสละอำนาจของตนมอบให้แก่พระมกากษัตริย์ ที่จะใช้อำนาจนั้นปกครองประเทศเพื่อความเจริญของส่วนรวม
            ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีแผนเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เป็ฯระบอบประชาธิปไตย ในต้นปี 2475 แต่คณะราษฎรได้ทำการยึดอำนาจจากพระมหากษัตริย์ และเปลี่ยนแปลงการปกครอง...

 "ข้าพเจ้าเห็นว่าคณะรัฐบาลและพวกพ้อง 
ใช้วิธีการปกครอง ซึ่งไม่ถูกต้อง 
ตามหลักการของเสรีภาพในตัวบุคคล
และหลักความยุติธรรม ตามความเข้าใจของข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะยินยอมให้ผู้ใดคณะใด
ใช้วิธีการปกครองอย่างนั้น ในนามของข้าพเจ้าต่อไปได้
ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จสละราชอำนาจ
อันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แกราษฎรโดยทั่วไป
แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้า
ให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด
และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของราษฎร"

                                                                                    พระบาทสมเด็จประปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 
                                                                                                              2 มีนาคม 2477

       คณะราษฎรประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรก เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดการแย่งชิงอำนาจกัน ระหว่างทหารกับพลเรือน และทหารด้วยกันเอง ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงเป็นยุคประชาธิปไตยแบบไทยๆ กึ่งเผด็จการที่เต็มไปด้วยความวุ่นวายและสับสน ล่วงเข้า
รัชสมัยรัชกาลที่ 8 ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489  ล้นเกล้ารัชกาลที่ 8 ก็ถูกปลงพระชนน์และโยงเข้าหาการเมือง  นายปรีดี พนมยงค์ได้เสนอพระอนุชาขึ้นครองราชย์ในวันเดียวกัน พร้อมเกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง การฉวยโอกาส กับคำกล่าวที่ว่า ปรีดี ฆ่าในหลวง..ทำให้ไม่ยึดมั่นในสัจจะ กลายมาเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองไทยในการขึ้นสู่อำนาจนับแต่นั้นมา..
            การเมืองไทยจึงเป็นการแก่งแย่งอำนาจระหว่างผ่ายกลุ่มผู้นำในคณะราษฎร์ และมีการแก่งแย่งชิอำนาจระหว่างฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน ก่อให้เกิดความไม่แน่นอนและไม่มั่นคงทางการเมือง เมื่อฝ่ายพลเรือนถูกผลักออกมานอกวงการเมือง ผู้นำฝ่ายทหารเองก็แก่งแย่งอำนาจการปกคอรงในยุคต่อมา โดยมีพลเรือนอยู่รอบนอก
           การปกครองของไทยนั้น การเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือระบอบการปกครองไม่ใช่ปัญหาสำคัญ แต่การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่และนักการเมือง หรืออาจกล่าวได้ว่าปัญหาที่แท้จริงคือปัญหาของคุณภาพของการเป็นคนของแผ่นดิน
          ในวันที่ 5 พฤษภาคน พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งพระราชลพิธีบรมราชาภิเษก พระองค์ทรงพระรชาทางพระปฐมบรมราชโองการว่า
                       " เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์แห่งมหาชนชาวสยาม"
          5 เมษายน พ.ศ. 2525 พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราโชวาท ในพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เนื่องในการพระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ว่า
                       " การรักษาอิสรภาพและความเป็นไทยให้ดำรงมั่นคงยืนยาวไป ถือว่าเป็นกรณียกิจอัน
สำคัญสูงสุด นอกจากต้องอาศัยการบริหารประเทศที่ฉลาด สามารถและสุจริตเป็นธรรมแล้วยังต้องอาศัยความร่วมมือสนับสนุนจากประชาชนทังประเทศด้วย คือ ประชาชนแต่ละคนจะต้องขวนขวาย สร้างสรรค์
ประโยชน์และดำรงอยู่ในคุณธรรมอันสมควรแต่ฐานะของตนๆ คุณธรรมที่ทุกคนควรจะศึกษาและน้อมนำมาปฏิบัติมีอยู่ 4 ปรการ ประการแรก คือ การรักษาความสัจความจริงใจต่อตนเอง ที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม ประการที่สอง คือ รู้จักข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเอง ให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจความดีนั้น ประการที่สาม คือการอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริตไม่ว่าด้วยเหตุประการใด ประการที่สี่ คือ การรู้จักละวางความชั่ว ควาททุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง คุณธรรมสี่ประการนี้ ถ้าแต่ละคนพยายามปลูกฝั่งูและบำรุงให้เจริญงอกงามขึ้นโดยทั่วกันแล้ว จะช่วยให้ประเทศชาติบังเกิดความสุข ความร่มเย็นและมีโอกาสที่จะปรับปรุงพัฒนาให้มั่นคงก้าวหน้าต่อไปได้ดังประสงค์.."
             12 มิถุนายน 2549 ทรงดำรัสตอบผุ้เผ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคึล ในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม 
                       " คุณธรรมซึ่งเป็นที่ตั้งของความรัก ความสามัคคีที่ทำให้คนไทยเราสามารถร่วมมือร่วมใจกัน และรักษาและพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันไปได้ตลอดรอดฝั่ง
                         ประการแรก คือการที่ทุกคนคิดพูดทำด้วยความเมตตา มุ่งดี มุ่งเจริญต่อกายต่อใจต่อกัน
                         ประการที่ 2 คือ การที่แต่ละคนต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกันประสานงานประสานประโยชน์กันให้งานที่ทำสำเร็จผล ทั้งแก่ตน แก่ผู้อื่น และแก่ประเทศชาติ
                         ประการที่ 3 คือ การที่ทุกคนประพฤติปฏิบัติตนสุจริต ในกฎกติกา และในระเบียบแบบแผนโดยเท่าเทียมเสมอกัน
                          ประการที่ 4 คือ การที่ต่างคนต่างพยายามทำความคิดความเห็นของตนให้ถูกต้องเที่ยงตรงและมั่นคึงอยู่ในเหตุผล หากความคิดจิตใจและการประพฤติปฏิบัติที่ลงรอบเดียวกัน ในทางที่ดีที่เจริญนี้ยังมีพร้อมมูลในกายในใจคนไทย ก็มั่นใจว่า ประเทศชาติไทยจะดำรงมั่นคงอยู่ไปได้"
                 และทรงมีพระราชดำรัชตอนหนึ่ง ที่ตรัสขอบพระทัยพระราชอาคันตุกะที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล ณ พระที่นังอนันตสมาคม ในวันเดียวกันนั้นว่า
                          " ข้าพเจ้าใคร่จะกล่าวแก่ทุกท่านว่า การทำนุบำรุงประเทศชาตินั้นมิใช่เป็นหน้าที่ของผุ้หนึ่งผุ้ใดโดยเฉพาะหากเป็นภาระความรับผิดชอบของคนไทยทุกคน ที่ต้องขวนขวายกระทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุดเพื่อธำรงและพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจิรญมั่นคงแลผาสุกร่มเย็นข้าพเจ้าในฐานะที่เป็นคนไทยคนหนึ่ง จึงมีภาระหน้าที่เช่นเดี่ยวกันกับคนไทยทั้งมวล จึงของขอบใจทุกๆ คน ที่ต่างพยายามกระทำหน้าที่ของตน ด้วยเต็มกำลังความสามรถ"
            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลฯ ทรงดำเนินพระราชวิเทโศบาย ทำให้ไทยเป็นที่ยอมรับและรู้จักกันทั่วโลก จนกระทั่ง "พระประมุขและพระราชวงศ์จากราชอาณาจักรตา่งๆ เสด็จมาประชุม ณ ราชอาณาจักรไทยโดยพร้อมเพรียงกัน สิ่งนั้นย่อมเป็นปัจจัยสำคัญอีกส่วนหนึค่งที่จะเกื้อกูลให้สัมพันธภาพ มิตรภาพ และความร่วมมือระหว่างราชตระกูล และความร่วมมือระหว่างตาชตระกูล ปละราชอาณาจักรทั้งปวงดำรงมั่นคง ทั้งเจริญงอกงามและแน่นแฟ้นยิ่งๆ ขึ้นไป " ซึ่งในครั้งนั้นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไน ดารุสซาลาม ในฐานะทรงเป็นผุ้แทนพระประมุขและพระราชวงศ์ต่างผระเทศ ได้ถวายพระพรชยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งบรมราชสถิตยมมโหฆาร เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2549 มีใจความว่า " ข้าพระองค์ องค์พระประมุข และพระราชอาคัฯตุกะทุกพระองค์ ได้มาพร้อมเพรียงกัน ณ ที่นี้ ก็เพื่อถวายพระพรแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตพระบรมราชินีนาถ ผู้เป็นที่รักของพระองค์ด้วยความเคารพ ชืนชมในพระบารมีล้นพ้น ตลอดจนเพื่อความปรารถนาดีอย่างจริงใจ ให้แก่ปวงชนชาวไทยทุกคน
             60 ปี ที่พระองค์ทรงครองสิริรราชสมบัติ มิได้เป็นเพียง 60 ปี ในประวัติศาสาตร์ของชาติไทย แต่เป็น 60 ปี ที่ประวัติศาสตร์ของเราทุกคน เป็นประวัติศาสตร์ที่ประสบทั้งสิ่งที่ดีและสิ่งร้าย ทั้งความปลื้มปิติ และความโศกเศร้า ทั้งเรื่องที่น่าตื่นเต้นยินดี และเรื่องที่น่าสิ้นหวังและทุกครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้พระราชปรีชาญาณ พระสติปัญญา พระวิริยะ อุตสาหะ ตลอดจนความองอาจและกล้าหาญที่พระองค์ทรงมีอยู่อย่างท่วมท้น ในการนำประเทศให้พ้นภัย พรเปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นศูนย์รวมแห่งแรงบันดาลใจให้แก่ประชาชนของพระองค์ตลอดมา.. 
            วันนี้ ประชาคมโลกต่างตระหนักถึงความสำเร็จทั้งหลายทังปวงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หม่อมฉัน องค์พระประมุขและพระราชาอาคันตุกะทุกพระองค์ ที่มาพร้อมเพียงกัน ณ ที่นี้ จึงมีความปลาบปลื้มปิติยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่องค์การสหประชาชาติทูลเหล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลความสำเร็จอันสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์แด่ฝ่าพระบาท แต่หม่อมฉันตลอดจรองค์พระประมุขและพระราชอาคัฯตุกะทุกพระองค์ที่มีไมตรีจิต พรั่งพร้อมกันมาร่วมงานในวันนี้ ของวถายพระราชสมัญญาที่เรียบง่าย แต่มีค่า และสะท้อนถึงความรู้สึกของหม่อมฉันและทุกพระองค์ ณ ที่นี้ คือ ฝ่าพระบาททรงเป็นมิตรที่รัก และพึงเคารพอย่างที่สุดของพวกเรา"
       
                       

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...