วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2560

Political and National Security

              ความมั่นคงแห่งชาติด้านการเมือง
              ความหมาย
              - ความมั่นคงแห่งชาติด้านการเมือง คือ สถานการณ์ทางการเมืองที่ทำให้ประชากรมีความเชื่อถือและศรัทธาต่อระบอบการปกครอง ต่อรัฐบาลผู้บริหารการปกครองประชาชร มีความเคารพเชื่อฟัง และยอมปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล และปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่รัฐบาล มีความเชื่อมั่นในรัฐบาลว่าจะสามารถสร้างความเป็นธรรมในหมู่ประชากร และสามารถป้องกันความแตกแยกระหว่างชนในชาติ สามารถรักาดินแดนให้ปลอดภัยจากการแบ่งแยกยึดครอง มีเอกภาพ และรักษาศักดิ์ศรีของชาติในวงการเมืองระหว่างประเทศ รัฐบาลมีความชอบธรรม สามารถบริหารประเทศ ได้อย่างมีประสิทธิผล มีอิสระปลอดจากอิทธิพล และกรบวนการในการดำเนินนโยบายของประเทศ ประชากร ดินแดน รัฐบาล อำนาจอธิปไตย ตลอดจนเสถียรภาพของประเทศ ปลอดจากการคุกคามทั้งภายในและภายนอกและปฏิบัติการภายใต้อิทธิพลของต่างประเทศ
              - การเมืองคือแบบแผนของความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่เกี่ยกับอำนาจและการปกครองและการใช้กำลังอำนาจเป็นประการสำคัญ
             องค์ประกอบต่างๆ ที่เป็นพืนฐานของการเมืองไทยที่ควรรู้ และวิเคราะห์ผกระทบขององค์ประกอบต่างๆ เหล่านี้ต่อกระบวนการทางการเมืองของไทย และความมั่นคงของชาติ คือ รัฐธรรมนูญ สถาบันการเือง รัฐบาล รัฐสภา ข้าราชการ สื่อมวลชน กลุ่มอิทะิพลและกลุ่มผลประโยชน์ วัฒนธรรมทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
              ลักษณะวิชาการเมือง มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น การปฏิรูประบบราชการ การกระจายอำนาจ การตวรจราชการ การตรวจเงินแผ่นดิน การบริหารที่ดี การบริหารงานบุคคล การบริาหรแบบใหม่ งานนิติตบัญญัติ พรรคการเมือง การเลือกตั้ง งานตุลาการ องค์กรอิสระ อุดมการณ์ทางการเมือง การปกครอง คามเป็นชาตินิยม องค์กรระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การทูต
             เครื่องมือทางการเมือง การดำเนินการทางการทูตถือได้ว่าเป็นหัวของเครื่องมือทางการเมือง การทูตมีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินการระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลโดยตรงที่ว่าโดยตรงก็เนื่องจากการทูตสามารถสร้างความกดดันต่อเจ้าหน้าที่สำคัญๆ ของรัฐอื่นโดยตรงได้ นอกจากนั้นการทูตก็เป็นเครื่องมือซึ่งอาจใช้เทคนิคหล่ยๆ ประการ เช่น ทางด้านเศรษฐฏิจ จิตวิทยาห หรือแม้แต่การทหาร เพื่อกดันรัฐเป้าหมายได้ด้วย
             ความสัมพันธ์กับพลังอำนาจของชาติด้านอื่น
             - ปัจจัยภายนอกประเทศมีความสำคัญต่อการกำหนดแนวนโยบายต่างประเทศของประเทศหสึ่งให้สอดคล้องกับสภาวะทางการเมืองระหว่างประเทศในขณะใดขณะหนึ่งอย่างไร การตัดสินใจของคณะผู้กำหนดนโยบายหรือของตัวผุ้นำอาจต้องอาศัยปัจจัยอื่นๆ การกำหนดนโยบายต่างประเทศนั้นต้องยึคดผลประโยชน์แห่งชาติเป็นหลัก การกำหนดนโยบายต่างประเทศนั้นขขึ้นอยุู่กับขีดความสามารถของชาติ คือกำลงอำนาจของชาติ ในด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมจิตวิทยาและด้านการทหาร
            - เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการด้านการเมืองระหว่างประเทศ ประกอบด้วย
                  เครื่องมือทางการเมืองและการทูต เป็ฯเครื่องมือที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไปการใช้มักพยายามใ้กลวิีหลายประการเข้ามาประกอบเพื่อทำให้ประเทศคุ่เจรจาหรืออีกฝ่ายใหนการลงความเห็น ลงคะแนนเสียง หรือดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามความต้องการของฝ่ายตน
                  เครื่องมือทางเศรษฐกิจ อาจหมายถึง การค้าขาย การให้ความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐฏิจ โดยใช้พลานะภาพทางเศรษฐกิจที่ตนมีอยู่เป็นเครื่องมือให้ประเทศที่ด้อยกว่าทางด้านเศรษบกิจตกอยู่ายใต้อิทะิพลของตนได้
                 เครื่องมือทางจิตวิทยา ได้แก่ การโฆษณาจูงใจ การทำสงคราม จิตวิทยา เป้าหมาย คือ ควาพยายามที่จะสร้างความรู้สึกและภาพพจน์ที่ดีเก่ยวกับประเทศตนให้เข้าใจแพร่หลายในหมู่ประชาช และผุ้นำของประเทศอื่นๆ
                เครื่องมือทางการทหาร ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่สุดและมักใช้เป็นเครื่องมือสุดท้ายในการตัดสินข้อขัดแย้งระหว่างประเทศและช่วยรักษาผลประโยชน์ของประเทศตนไว้ เมื่อไม่สามารถจะตกลงกนได้ด้วยวิธีการเจรจาทางการทูต
              เครื่องมือทางวิทยาศาสตร เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศนั้นๆ จะส่งผลโดยตรงต่อความมีเสถียรภาพของรัฐบาล ก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีทางการเมืองกับประเทศต่างๆ
              ปัจจัยการเมืองภายในประเทศ จะเป็นผู้จัดสรรทรัพยากรของประเทศทั้งงบประมาณ คน และทรัพยากรให้กับพลังอำนาจด้านเศรษฐฏิจ ด้านสังคมจิตวิทยา ด้านการทหารและด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี รวมทั้งเป็นผู้บริหารจัดการในภาพรวมของประเทศ..(คู่มือ ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาตามหลักสูตร ของ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร 2553-2554,น.10 -12,)
           การรวมกลุ่มระหว่างประเทศ เฮร์นศ์ บี ฮาส กล่าวว่า "การรวมกลุ่มเป็นกระบวนการที่ผุ้ใช้อำนาจทางการเมือง ที่มีอำนาจหน้าที่ในตำแหน่งต่างๆ ถูกชักนำให้เปลี่ยนผัน ความจงรักภักดี ความคาดหมายและกิจกรรมทางการเมืองไปสู่ศูนย์อำนาจแห่งใหม่ ซึ่งสถาบันหลังนี้ดำรงไว้ซึ่งอำนาจหน้าที่อยู่เหนือชาติรัฐที่มีอยู่แต่เดิม".. ลีออน เอน ลินด์เบิร์ก ยกตัวอย่าง การรวมกลุ่มเศรษฐกิจยุโรปโดยให้อรรถาธิบายความหายการรวมกลุ่มดังนี้
           - กรรมวิธีที่ชาติหลายๆ ชาติเต็มใจสละเจตจำนงและความสามารถในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ และนโยบายที่สำคัญบางประเภทภายในประเทศของตนไปสู่การตัดสินใจในนโยบายเลห่านั้นร่วมกัน หรือยินยอมมอบอำนาจกรรมวิธีในการตกลงใจของแต่ละชาติให้เป็นขององค์การศูนย์กลางแห่งใหม่ และ
          - กรรมวิธีที่ผู้ใช้อำนาจทางการเมือง ในระดับต่างๆ ของชาติที่มารวมกลุ่ม ถูกชักจูงให้ผันแปรความคาดหมายและกิจกรรมทางการเมืองไปสู่ศูนย์กลางแห่งใหม่
          ในกรณี  มีการรวมกลุ่มเกิดขึ้นแล้ว ยังต้องคำนึงกันต่อไปว่ากลุ่มหรือองค์การระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นนั้นจะดำเนินการไปได้ราบรื่นและก่อให้เกิดสันติภาพขึ้นมากน้อยเพียงใด แต่เป็นที่เชื่อกันได้อย่างแน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าหากไม่ได้จัดให้มีการผสมผสานเข้ากันได้ระหว่างผลประโยชน์ของรัฐกับผลประโยชน์ขององค์การระหว่างประเทศ รวมทั้งการจัดระเบียบและให้อำนาจขององค์การระหว่างประเทศที่เป็นองค์การใหม่นั้นสอดคล้อง ต้องกันกับความต้องการส่วนรวมของรัฐมาชิก

        ซึ่งจะเห็นได้ว่า สิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องหรือเป็นปัจจัยต่อความมั่นคง แข็งแกร่งของการรวมกลุ่มห รือองค์การระวห่างประเทศนั้นได้แก่ ผลประโยชน์ อำนาจและอิทธิพลของรัฐสมาชิกของกลุ่มประเทศนั้นเอง และหากพิจารณาอย่างลึกซึ้งจะเห็นว่า การถ่ายเทผลประโยชน์ระหว่างรัฐต่อรัฐจะบังเกิดผลเท่าเที่ยมกันได้ก็แต่โดยรัฐเหล่านนั้นมีความร่วมมือกันและตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเกื้อหนุนกันด้วยความเป็นธรรมแต่หากฝ่ายหนึ่งฝ่านใดมีกิจกรรมไม่ว่าในทางใด ๆ เหนือกว่าอีกฝ่ายหนึ่งหรือได้รับประดยชน์ไปมากกว่าอีกฝ่าย ย่อมจะทำให้เการร่วมกลุ่มนี้ไม่มั่นคง แข็งแรง
       "อำนาจรัฐ"อำนาจคือความสามารถในการที่จะเอาชนะอุสรรคต่างๆ แต่เพียงการที่รัฐใช้อำนาจของรัฐเพื่อชนะอุสรรคภายในรัฐของตน ก็ย่อมจะไม่กระทบหรือมีผลต่อรัฐอื่น แต่พฤติกรรมของรัฐที่ใช้อำนาจของรัฐเหนือกว่ารัฐอื่น และกระทำต่อรัฐที่มอำนาจรัฐน้อยกว่านั้น ทำให้ความหมายของคำว่าอำนาจของรัฐกลายเป็นความสามารถในการทำให้รัฐอื่นทำตามหรือยอมตามสิ่งที่ตนปรารถนา
        การใช้ความสามารถในการทำให้รัฐอื่นกระทำตามหรือยอมทำตามสิ่งที่ตนปรารถนาได้นี้ก็คือการใช้อิทธิพล ฉะนั้น จึงถื่อได้ว่า "อิทธิพลเป็นส่วนประกอบอันดับแรกของความคิดเกี่ยวกับอำนาจ"
        การที่รัฐสมาชิก กระทำต่อรัฐอื่นในกลุ่มรัฐสมาชิกโดยอาศัยอิทธิพลของรัฐไม่ว่าทางใดก็ตาม ผลกระทบที่เกิดจากรัฐอื่นนั้นยอ่มจขะมีขึ้นเป็นธรรมดา ท้งนี้ถือว่าเป็นไปตามทฤษฎีปฏิกริยาต่อกัน ในความร่วมมือระหว่างประเทศจะถึงระดับที่เรียกว่าเป็นการรวมกลุ่มระเทศขึ้นนั้น แมว่าโดยเจตนารมณ์ในเบื้องต้นรัฐสมาชิกประสงค์จะแสวงหานโยบายที่สอดคล้องกัีน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่งหนึค่งอย่างไดของกลุ่มประเทศนั้นก็ตาม แต่ในการศึกษาตามสภาพความเป็นจริง แล้วรัฐอื่นที่ถูกกระทำต่อย่อมจะเกิดปฏิกริยาตอบโต้ ในทางใดทางหนึ่ง เช่น การแข่งขัน การร่วมมือ การต่อรอง หรือความขัดแย้ง สภาวะการณ์ที่เกิดขึ้นเหล่านนี้เป็ฯส่ิงทีเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ แม้ว่ารัฐผู้แสดงหรือผู้มีบทบาท ในกลุ่มประเทศที่รวมกันอยู่จะพยายามหลีกเลี่ยงหรือจะพยายามปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ปฏิกิริยา เช่นที่กว่างแล้วลดน้อยลงก็ตาม ตามทฤษฎีปฏิกิริยาต่อกันนี้ยอมรับว่าปัจจัยภายนอกที่เกิดจากรัฐหนึ่งกระทำต่ออีกรัฐหนึ่งนั้นย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ แม้รัฐที่รวงมกลุ่มหรืออยู่นอกกลุ่ม อย่างไรก็ตามการที่รัฐต่างๆ ยังมีความร่วมมือกันอยู่เนื่องจากรัฐบาลต่างๆ เหล่านั้นยังคงต้องการรักษาอำนาจและอิทธิพล รวมถึงความต้องการที่จะให้ได้มาซึ่งอำนาจและอิทธิพล
           ดังนั้น ในพฤติกรรมระหว่างประเทศที่ผ่านมาจึงมีความพยายามที่จะรักษาอำนาจของรัฐหรือกลุ่มของรัฐให้อยู่ในลักษณะทัดเทียมกัน หรืออยู่ในลักษณะทัดเทียมกัน หรืออยู่ในลัษณะที่ได้ดุลยภาพ ซึ่ได้ก่อให้เกิดทฤษฎีดุลอำนาจ
          อรุณ ภาณุพงศ์ ให้ความเห็นว่า "เรื่องของดุลแห่งอำนาจ เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจมากที่สุดเรื่องหนึค่ง ทั้งของนักทฤษฎีด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และของผุ้ที่ปฏิบัติงานหรือเกี่ยวข้องกับงานด้านต่างประเทศ ทั้งของนักทฤษฎีด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และของผุ้ที่ปฏิบัติงานหรือเกี่ยวข้องกับงานด้านต่างประเทศ ทั้งนี้โดยความเชือ่ว่าดุลแห่งำนาจจะทำให้เกิดสันติภาพในความสัมพันะ์ระหว่างประเทศทั่วไป และทำให้เกิดความมั่นคงแห่งชาติ สำหรับผู้ที่สามารถจะปรับดุลแห่งอำนาจให้เป็นคุณแก่ตน..."
        ดุลอำนาจมีความหมายที่ใช้กันอยู่ 2 ลักษณะที่แตกต่างกัน ความหมายแรกมองจากแง่ สภานะเชิงส่วนสัดของอำนาจว่ากระจายกันอย่างไร และอีกความหมายหนึ่ง มองดุลแห่งอำนาจในฐานทางปฏิบัติตามนโยบาย
            การรวมกลุ่มอันเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศตามทฤษฎีความมั่นคงร่วมกัน ศาสตราจารย์ โจเซฟ ไนย์ ให้ความเห็นว่า
            " แนวความคิดในการรวมกลุ่มระหว่างประเทศ เมื่อจะต้องแยกพิจารณาในแง่ส่วนประกอบของรัฐแต่ละรัฐเพื่อจัดรวมขึ้นเป็นองค์กรระหว่างรัฐองค์กรใหม่แล้ว ก็อาจจะแยกออกได้เป็นการรวมกลุ่มในทางเศรษฐกิจ การรวมกลุ่มในทางสังคม และการรวมกลุ่มในทางการเมือง การรวมกลุ่มทั้งสามลักษณะนี้ ในทางปฏิบัติอาจจะแยกออกเป็นการรวมกลุ่มในเรื่องย่อยอื่น ๆ ที่อยุ่ในความสนใจร่วมกัน ในลักษณะที่หวังผลแน่นอนเป็นเรื่องๆ ไป"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...