วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Nationalism :King Norodom Sihanouk I

              แม้ฝรั่งเศสจะเข้าควบคุมทางการทหาร การบิหาร และการเมืองทั้งหมด กีดกันกษัตริย์ที่ได้รับอิทธิพลอินเดียออกไปจากการมอำนาจที่แท้จริงโดยสิ้นเชิง แต่ฝรั่งเศสก็ช่วยป้องกันกัมพูชาให้พ้นจากความต้องการแลการบีบที่ีอยู่ตอดเวลาจากประเทศที่มีอำนาจมากกว่า คือ เวียดนามและไทย ดังนั้นการคคุ้มครองของฝรั่งเศสทำให้การสืบสันตติวงศ์คงมีอยู่ต่อไป และมีความสงบสุขภายในประเทศ การเปลี่ยนแปลงจากประเทศในอาณานิคมไปเป็นรัฐอิสระจึงเป็นไปอย่างราบรื่น ยิ่งกว่านั้นการเศรษฐกิจแบบชนบทของกัมพูชาไม่ได้ดึงดูดใจนักลงทุนชาวฝรั่งเศ ดังนั้นชาวชนบทจึงไม่ต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ดังที่พม่าและเวียดนามได้ประสบ กัมพูชากอ่รูปแบบ "การปกครองทางอ้อม" ขึ้นโดยมีวัฒนธรรมสมัยใหม่เข้าไปเพียงเล็กน้อย การศึกษาแบบฝรั่งเศสให้ประโยชน์แก่สมาชิกแต่เพียงจำนวนน้อยทีเลือกสรรแล้วจากราชสำักและพวกขุนาง ความจริงแล้ว การศึกาาระดับสูงกว่ามีให้เพียงในเวียดนาม แต่ไม่มีในกัมพูชาเอง ชาวต่างชาติคือชาวจีนและชาวเวียดนาม มากว่าจะเป็นคนพื้นเมือง ที่เป็นผุ้ให้บริการทางด้านการบริหารและการเศรษฐกิจที่เป็นแบบสมัยใหม่
             การหมดอำนาจลงอย่างกะทันหันของฝรั่งเศสเมื่อตกอยุ่ในกำมือของญี่ปุ่นในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1945 ไม่ได้ทำให้กัมพูชากระทบกระเทือนมากนัก แม้ว่าญี่ปุ่นได้ทำการเหลี้ยกล่อมกษัตริย์หนุมคือ เจ้านโรดมสีหนุให้ประกาศอิสรภาพของกัมพูชา สมัยหลังสงครามใหม่ ๆ ได้มีการต่อสู้กันทางการเมืองในเมืองหลวงโดยมีฝ่ายตรงข้ามปลุกปั่นและได้รับการสนับสนุนจากไทยหรือคอมมิวนิสต์เวียดนาม แต่สีหนุสามารถเอาชนะในเชิงเล่ห์เหลี่ยนมไปได้ด้วยการใช้นโยบายทางการทูตที่ฉลาดมีเล่ห์เหลี่ยมและอดทน พระองค์สามารถป้องกันรักษาอิสรภาพของกัมพูชาจากฝรั่งเศสไว้ได้ และในเวลาเดียวกัน จากการต่อรองที่่ื้ดื้อดึง กัมพูชาสามารถทำให้กลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ยอมรับความเป็นหลางของกัมพูชาในการประชุมที่เจนีวา กัมพูชาสามารถทำให้กลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ยอมรัับความเป็นหลางของกัมพูชาในการประชุมที่เจนีวา อำนาจทางการทหารของอเมริกันได้เจริญงอกงามขึ้นอย่างรวดเร็วในภูมิภาคแถบนี้โดยเฉพาะการอุปถัมภ์ของอเมริกันต่อประเทศคู่แข่งโบราณของกัมพูชา คือ ไทยและเวียดนาม ซึ่งในสายตา
ของสีหนุรู้ว่า เป็ฯอัจตรายอย่างร้ายแรงต่อความเป็นกลางของกัมพูชา หลังจากที่ได้ยอมรับการช่วยเหลือทั้งจากจีนและอเมริกาอยู่หลายปี ในที่สุดเจ้าสหนุตัดความสัมพันะ์ทางการทูตกับสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้มิใช่จะปิดประตูตายตัดการติดต่อกับตะวันตก ความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสยงคงเป้นไปอย่างมีไมตรีจิต ความผุกพันทางด้านวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศกลับมั่นคงยิงขึ้นในขณะนี้ยิ่งกว่าแต่ก่อน จำนวนนักศึกษาของกัมพูชาที่ไปศึกษาต่อในประเทศฝรังเศสยิ่งเพิ่มมากขึ้น แม้ทางการทุตสีหนุต้องพึ่งการสนับสนุนจากฝรั่งเศสอยู่มาในทศวรรษที่ 1960
             หลักสำคัญของนโยบายทางการเมืองภายในของกัมพูชาก็คือการอยู่รอดและความมั่นคงของประเพณีต่างๆ เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีพระในพุทธศาสนาเป็นผุ้ค้ำจุน และพุทะศาสนาเองก็ผูกพันและขึ้นอยู่กับกษัตริย์ด้วยเช่นกัน เป็นเรื่องผิดธรรมดาอยู่ที่สีหนุสละราชสมยัริในฐานะกษัตริย์เพื่อที่จะเป็นผุ้นำทางการเมืองอย่างแท้จริงของประเทศ แต่เป็นด้วยบุญบารมีของความเป็นกษัตริย์แต่เก่าก่อนผสมกบอำนาจดึงดูดของสีหนุเอง และความมีฝีมือได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเป็นที่ยึดเหนี่ยวที่แข็.แรงของกัมพูชาอิสระได้
              หลังจากการทดลองระยะสั้นในแบบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญได้อัปปางลงด้วยการต่อสู้ทางการเมืองหลายฝ่าย สีหนุจึงได้ก่อตั้งแนวหน้าแห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรก คือ "ชุมชนสังคมนิยมของประชาชน" และหลังจากนั้นไม่นาม สีหนุได้เริ่มต้นรูปแบบรัฐบาลที่เป็นปบบเฉพาะตัวยิ่งขึ้น มีการพัฒนาทางการเมืองในระดับต่ำ การครองอำนาจเด็ดขาดและสมบูรณ์โดยแท้ของอดีตกษัตริย์เผชิญกับการต่อต้านน้อยมาก ถึงกระนั้นจำนวนคนหนุ่มสาวกัมพูชาที่กลับจากศึกษาในฝรั่งเศสทวีจำนวนมากขึ้น พวกนีไม่ได้ถูกกีดกันจากชนชั้นที่มสิทธิ์มีเสียงที่สุดของประเทศอีกต่อไปแล้ว แต่ได้เกิดมีความแตกร้าวตึงเครียดระหว่างวัยขึ้น เป็นที่รู้กันในส่วนอื่นๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ตาม อาจเป็นระยะหนึ่งก่อนที่พวกคนหนุ่มเหล่านี้สามารถท้าทายสีหนุและพรรคพวกใกล้ชิดได้สำเร็จ..
             ฝรั่งเศสมีปัจจัยในการเลือกพระองค์ขึ้นครองราช อันเนื่องมรจากพระองค์ได้สืบเชื้อสายจากสองราชสกุล คือ นโรดมจากพระบิดา และสีสุวัตถิ์จากพระมารดา เมื่อเลือกพระองค์เป็นกษัตริย์ถือเป็นการประนีประนอมแก่ทั้งสองราชสกุล และพระองค์ก็ใช้เหตุผลนี้อ้างเช่นกัน แจ่ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริงเพราะมีเชื้อพระวงศ์อีกหลายพระองค์ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากทั้งสองราชสกุล และอยู่กล้การสืบสันตติวงศ์มากกว่าพระองค์ด้วยซ้ำ
              ในช่วงฝรังเศสอ่อนแอหลังจขากความพ่ายแพ้ต่อเยอรัมน และการที่ฝรั่งเศสยอมโอนอ่อนให้ญี่ปุ่นเข้ามตั้งกองทหารในอาณานิคมอินโดจีนปลายปีเดียวกย ตามด้วยการไกล่เกลี่ยสงครามฝรั่งเศสกับไทยช่วงต้นปี ซึ่งลงเอยด้วยการเสียดินแดน และการยอมให้ทหารญี่ปุ่นเข้ามาตั้งในกัมพูชา แม้ฝรั่งเศสจะประนีประนอมกับกัมพูชา แต่กระนั้นก็มิได้ลดความเข้มงวดลงนักโดยเฉพาะสถาบันพระมหากษัตริย์ เนื่องจากฝรั่งเศสต้องการใช้สถาบันกษัตริย์เพื่อเป็นเครื่องมือต่อการธำรงอำนาจของจนต่อไป
              หลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มนีวงศ์ ฝรั่งเศสจึงส่งราชสมบัติไปยัง นักองราชวงศ์ นโรดม สีหนุ เชื้อพระวงศ์หนุ่มที่กำลังศึกษาอยู่ในลีเซ ไซ่ง่อน นักองคราชวงศ์นโรดม สีหนุ จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติครั้งแรกเมือเดือนกันยายน 1941 ทำให้การสืบราชสันตติวงศ์ของกัมพุชากลังมายังสายของพระบาทสมเด็จพระนโรดม พรหมบริรักษ์ หรือนักองตาชาวดีอีกครั้งหนึ่ง ด้วยฝรั่งเศสมั่นใจอย่างยิ่งยวอว่าจะสามารถคุมสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ได้
             ในชวงที่พระงอค์ครองราชย์นั้นเป็นช่วงที่มีการต่อต้านฝรั่งเศสและเกิดกระแสชาตินิยม แต่ฝรั่งเศสก็ยังมีความสามารถที่จะปกป้องระบบการปกครองของตนดังเมื่อเกิดการประท้วงในเดือนกรกฎาคม 1942 เนืองจากการที่ฝรั่งเศส จับกุมพระภิษุรูปหนึ่งในข้อหาวางแผนรัฐประหารโดยมิให้ลาสักขา ฝรั่งจึงใช้กำลังสลายกลุ่มผุ้ชุมนุมกว่าพันคนอย่างรวดเร็ว ต่อมามีการชุมนุมเรียกร้องเอกราชที่พระตะบอง นำโดย ปก คุณ และรัฐบาลไทยในช่วง ค.ศ. 1940-1948 ต่างสนับสนุนทุน, ฐาน และอื่นไ แก่เขมรอิสระ จึงมีการติดอาวุธต่อส้กับฝรั่งเศสแถบชายแดนไทยอยู่เนืองๆ แต่ภายหลังเมือรัฐบาไทยยุติการสนับสนุเขมรอิสระจึงแตกเป็นหลายกลุ่ม เช่น ฝ่ายซ้ายเข้ากับเวียดมินห์ ส่วนฝ่ายวาก็ทำการต่อต้านฝรั่งเศสและสีหนุ เป็นอาทิ
            ปี 1945 กองทหารญีุ่ปุ่นที่ยึดครองอินโดจีนของฝรั่งเศสอย่างหลวมๆ ได้เข้าปลดอาวุธฝรั่งเศสทั่วอินโดจีน และให้เจ้าหน้าที่ชาวฝรั่งเศสลาออกจาตำแหน่งการปกครอง รวมทั้งมีการติดอาวุธให้แก่ชาวกัมพูชา และปลุกกระแสชาตินิยมต่อต้านฝรั่งเศสมาใช้เพื่อทานการรุกของฝ่ายสัมพันธมิตรที่าดว่าจะเกิดในปีนั้น ดยพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุทรงออกมาประกาศเอกราชและยกเลิกสนธิสัญญาและพันธะกรณีทั้งปวงที่มีต่อฝรั่งเศส และสร้างข้อตกลงกับญี่ปุ่นแทน
           สิงหาคม 1945 มีการรัฐประหารต่อต้านกษัตริย์ซึ่งเป็นพวกของเซิง งอกทัญขณะที่เซิง งอกทัญ ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในเดือนเดียวกัน หลังจากการรัฐประหารที่คลุมเครือ และไม่กีวันต่อมาญี่ปุ่นก็ยอมแพ้แก่สัมพันธมิตรให้หยั่งเสียงการสนับสนุนเอกราช ซึ่งเป็นไปอย่างท่วมท้น แต่ภายหลงนายกเซิง งอกทัญ ก็ถูกปลดออก และฝรั่งเศสก็กลับมามีอำนาจแทนที่
           ทรงสละราชสมับัติ เพื่อทรงดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นนายกรัฐมนตรีของปรเทศกัมพูชา เมื่อทรงเวนราชสมบัติ ทรงดำรงฐานันดรศักดิ์ที่พระมหาอุปยุวราชในพระนามสมเด็จพระนโรดมสีหนุ เมื่อพระราชบิดาเสด็จสุรคต ก็ได้มีคณะผุ้สำเร็จราชการแผ่นดิแทนพระองค์พระมหากษัตริย์ขึ้น มีสมเด็นกรมพระสีัสุวัตถิ์มนีเรศเป็นองค์ประธาน ต่อมา สมเด็จพระนโรดม สีหนุตัดสินพระทัยให้มีตำแหน่งประมุขของรัฐขึ้นมาแทนที่พระมหากษัตริย์ โยพระองค์ได้ทรงดำรงตำแหน่งนั้น แต่สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ยังคงอยู่โดยมีพระราชชนนีของพระองค์เองเป็นพระนิมิตรูปหรือสัญลักษณ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์
            สมเด็จพระนโรมดม สีหนุได้ตัังพรรคการเมืองสังคมราษฎร์นิยม ขึ้นมาเพื่อเลือกตั้งและทรงชนะการเลือกตั้ง ได้ทรงบรหารดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีบ้าง ประมุขแห่งรัฐบ้างไปอีกถึง 15 ปี
             ปี 1970 สมาชิกสภาแห่งชาติลงมติปลดสมเด็จพระนโรดม สีหนุออกจากตำแหน่งประมุขรัฐขณะเสด็จเยือนต่างประเทศ แผนการรัฐประหารครั้งนี้นำโดยนักองค์ราชวงศ์สีสุวัตถิ์ สิริมตะ และมี ลอน นอล เป็นผู้ลงนามประกาศสนับสนุนการปลดพระองค์ในสภาแห่งชาติ และมีการสถาปนาสาธรณรับเขมรขึ้นมา
            สาธารณรัฐเขมร ได้มีการประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐเขมรอย่างเป็นทางการ โดยกลุ่มฝ่ายขวาที่นิยมสหรัฐอเมริกา นำโดย ลน พล และนักองค์ราชวงศ์สีสุวัตถิ์ สิริมตะ ซึ่งได้อำนาจมาจากการรัฐประหาร ล้มล้างรัฐบาลราชอาณาจักรกัมพูชาของสมเด็จพระนโรดม สีหนุ สาเหตุจากการที่สมเด็จพระ นโรดม สีหนุ หันไปสนับสนุนกิจกรรมของเวียดนามเหนือตามแนวชายแดนกัมพูชา ยอมให้มีการขนส่งอาวุธหนึกของฝ่ายคอมมิวนิสต์ฝ่านพ้นที่กัมพูชาตะวันออก และเศรษฐกิจของกัมพูชาได้รับผลกรทบจานโยบายของสีหนุที่ประกาศเป็นกลางและต่อต้านสหรัฐอเมริกา
            เมื่อสมเด็จพระนโรดม สีหนุ พ้นจากอำนาจ การปกครองของกัมพูชาจึงเปลี่ยนจากราชอาณาจักรมาเป็นสาธารณรัฐ แม้ว่าราชบัลังก์จะว่างมาหลายปี ลักษระของระบอบใหม่เป็นชาตินิยมฝ่ายขวา เป็นการสิ้นสุดความร่วมมือกับเวียดนามเหนือและเวียดกงในยุคสมเด็จพระนโรดม สีหนุกับเวยดนามหนือ และเวีดกง ในยุคสมเด็จพระนโรดม สีหนุและเป็ฯพันธมิตรกับเวียดนามทใต้ในสงครามอินโดจีนที่กำลังดำเนินอยู่ สาธารณรับเขมรได้ประกาศเป็นฝ่ายตรงข้ามกับแนวร่วมสหภาพแห่งชาติเขมร ซึ่งเป็นพันธมิตรในแนวชายแดนระหว่างฝ่ายของสมเด็จพระนโรดม สีหนุ กับพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา ฝ่ายทหารขององค์กรดังกล่าวคือ กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติประชาชนกัมพูชา ซึ่งได้รับการสรับสนุนจากกองทัพประชาชนเวียดนามและแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้หรือเวียดกง ซึ่งเข้ามาใช้พื้นที่ของกัมพุชาเพื่อเข้ายึดครองเวียดนใต้
           
แม้ว่ารัฐบาลของสาธารณรัฐเขมรจะเป็นรัฐบาลทหารและได้รับการสนับสนุนทางทหารและการเงินจากสหรัฐอเมริกา แต่กองทัพของรัฐบาลนี้กลับอ่อนแอ ไม่ได้รับการฝึกฝนที่พอเียง ทำให้พ่ายแพ้ต่อกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติประชาชนกัมพุชา กองทัพประชาชนเวียดนาม และเวียกง สาธารณรัฐเขมรจึงล่มสลาย...
               ในช่วง ปี 1975 กองกำลังเขมรแดงได้ยกเข้ามาล้อมพนมเปญไว้ มีผุ้อพยพเข้าในเมืองหลวงมากขึ้น ลน นล ได้สั่งให้ส่งเฮลิคอบเตอร์ไปคุ้มกันประชาชนเหล่านั้น การได้รับการสนับสนุนจากจีนทำให้ฝ่ายเขมรแดงมีความเข้มแข้.มากว่า การพยายามเจรจาสันติภาพล้มเหลวเพราะสีหนุปฏิเสธที่จะเจรากับ ลน นล โดยตรง แผนสันติภาพที่ฝรังเศสเสนอต่อจีนใหสีหนุกลับไปเป็นประมุขของสาธารณรัฐเขมรล้มเหลวเช่นกัน
               เมษายน ปีเดียวกัน ลน นล ได้ประกาศลาออกและลี้ภัยออกนอกประเทศ กองทัพฝ่ายสาธาณรัฐสลายตัวไป เจ้าสิริมตุ, ลอ ฌบเรต, ลน นน และนักการเมืองอื่นๆ ยังคงอยู่ในเมืองหลวงเพื่อจะพยายามเจรจาสงบศึกกับฝ่ายเขมรแดง จนกระทั่งเมืองพนมเปญแตกในวันที่ที่ 17 ฝ่ายเขมรแดงได้ประหารชีวิตนัการเมือง ในระบอบเก่าทั้งหมด สาธารณรัฐเขชมรจึงล่มสลายลง บริวเณสุดท้ายที่อยู่ภาภยมต้อำนาจของฝ่ายสาธาณรัฐเขมรคือบริเวณปราสามเขาพระวิหาร บนเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งกองทัพฝ่ายสาธารณรัฐสามรถยึดครองไว้ได้ในปลายเดือนเมษายน และฝ่ายเขมรแองแย่งชิงมาในเดือนพฤษภาคม
               กัมพูชาประชาธิปไตย ด้วยการสนับสนุนของชาวกัมพูชาในชนบท เขมรแดงจึงสามารถเข้าสู่กรุงพนมเปญ และให้พระนโรดม สีหนุ เป็นผุ้นำปรเทศจึงถึง เมษายน 1976 หลังจากนั้น สีหนุถูกกัก
บริเวณในพนมเปญ จนกระทั่งเกิดสงครามกับเวียดนาม พระองค์จึงลี้ภัยไปจีน อำนาจที่แท้จริงเเป็นของคณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์และเจ้าหน้าที่ระดับสุงของรัฐและนายกรัฐมนตรี พล พต รองเลขาธิการพรรคือ นวน เจีย และคนอื่นๆ อีก 7 คน สำนักงานต้ั้งอยู่ที่กรุงพนมเปญ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในขณะนั้นว่า ศูนย์กลาง, องค์กรหรืออังการ์ เขมรแดงทำลายระบบกฎหมายและระบบศาลของสาธารณรับเขมร ไม่มีศาล ผุ้พิพากษาหรือกฎหมายใดๆ ในกัมพูชาประชาธิปไตย
               ทันทีที่พนมเปญแตก เขมรแดงสั่งให้อพยพประชาชจำนวนมากออกจากเมืองโดยกล่าวอ้างว่าสหรัฐฯมาทิ้งระเบิด การอพยพประชาชนเช่นนั้เกิดขึ้นในอีกหลายเมือง แขมรแดงจัดให้ประชาชนเหล่านี้ออกมาอยู่ในนิคมในชนบท ให้อาหารแต่เพียงพอรับประทาน ไม่มีการขนส่ง บังคับให้ประชาชนทำการเกษตรเพื่อผลิตอาหารให้เพียงพอ เขมรแดงต้องการเปลี่ยนประเทศไปสู่ความบริสุทธิ์ที่ไม่มีการฉ้อราษฎร์บังหลวงและปรสิตในสังคมเมือง นิคมที่สร้างขึ้นบังคับให้ทั้งชายหญิงและเด็กออกไปอำงานในทุ่งนา ทำลายชีวิตครอบครัวดั้งเดิมซึ่งเขมรแดงกล่าวว่าเป็นการปลดแอกผู้หญิง
             
หลังจากได้ชัยชนะในสงครามกลางเมืองไม่นาน เกิดการปะทะระหว่างเวียดนามกับทหารเขมรแดง พล พต และ เอียง ซารี เดินทางไปฮานอย ทำให้ความขัอแย้งสงบลงในขณะที่เขมรแดงครองอำนาจในกัมพูชา ผุ้นำเวียดนามตัดสินใจสนับสนุนกลุ่มค่อต้าน พล พต ในกัมพูชาเมื่อต้นปี 1978 ทำให้กัมพูชาตะวันออกเป็นเขตที่ได้รับการสนับสนุจากเวียดนาม เดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน เกิดการลุฮือในกัมพูชาตะวันออก มีการฆ่าชาวเวียดนามในกัมพูชาตะวันออกเป็นจำนวนมาก และยังแสดงความต้องการจะยึดดินแดนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงมาเป็ฯของกัมพูชา ในเดือนพฤศจิการยนปีเดียวกัน วอน เว็ต ก่อรัฐประหารแต่ล้มเหลว ชาวเวียดนามและชาวกัมพูชานับหมืนคนอพยพเข้าสู่เวียดนาม ธันวาคมปีเดียวกัน วิทยุฮานอยประกาศจัดตั้งแนวร่วมสามัคคีประชาชาติกู้ชาติกัมพูชา ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของกลุ่มต่อต้านพล พต ทั้งที่นิยมและไม่นิยมคอมมิวนิสต์ โดยมีกองทัพเวียดนามหนุนหลัง เวยดนามเร่ิมรุกรามกัมพูชาเพื่อโค่นล้มเขมรแดงและสามารถเข้าสู่กรุงพนมเปญขับไล่เขมรแดงไปได้ในเดือนธันวาคม ปีต่อมา จัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนกัมพุชา


                     - (www.th.wikipedia.org/..,พระบาทสมเด็จพระนโรดม_สีหนุ, สาธารณรัฐเขมร, กัมพูชาประชาธิปไตย, ประเทศกัมพูชา)
                   

วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Nationalism : The Red Prince

            ลาวขึ้นมาจากความไม่มีชื่อเสียงในฐานะประเทศอาณานิคมมาสู่สายตาของคนทั้งหลายจากเรื่องการขัดแย้งระหว่างชาติในทศวรรษที่ 1950 นั้น กรณีของลาวแสดงให้เห็นว่าการปกครองแบบอาณานิคมทางอ้อมก็ดี หรือความสสงบในทองถ่ินก็ดีไม่ได้ทำให้เกิดเสถียรภาพขึ้นได้ในปลายศตวรรษที่สิบเก้า ฝรั่งเศสได้ตัดอาณานิคมลาวตามอำเภอใจ ลาวในสมัยปัจุจบันมีอยู่ตามสภาพทางภูมิศาตร์มากกว่าทางด้านการเมือง ไม่เหมือนกับกัมพุชาและเวียดนาม ลาวเป็นประเทศที่ 5 ของอินโดจีนของฝรั่งเศสสมัยก่อน ทำให้ขาดการรวมกันเป็นกลุ่มก้อนทางประวัติศาสตร์และขาดความรู้สึกในการวมกันเป็นชาติ การอยู่ในอารักขาของฝรั่งเศส ทำให้การบาดหมางระหว่างราชตระกูหรือระหว่างบุคคลสงบลงได้ แม้จะมไ่หมดสิ้นไป สิ่งทสำคัญที่ทัดเทียมกันอีกอย่างหนึ่งคื พวกลาวที่อยู่ในที่ลุ่มเป็นเพียงชนกลุ่มน้อยของประเทศ (พวกลาวส่วนใหญ่ที่จริงแล้วอยู่ในประเทศไทย) ส่วนพวกชาวเขาเผ่าต่างๆ ได่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับการปกครองของราชอาณาจักรที่ฝรั่งเศสก่อตั้งขึ้นมาเลย
           แม้ก่อนหน้าที่ฝรัง่เศสจะปล่อยให้ลาวเป็นอิสระใน ค.ศ.1954 ประเทศเพื่อบ้านของลาว คือ เวียดนามและไทย เริ่มหาประโยชน์อย่างลับๆ จากการชิงดีกันในหมู่ชนชั้นนำในประเทศการที่อเมริกาข้ามาในแถบนี้ิ่งทำให้การแข่งขันเหล่านี้ยุงยากและรุนแรงยิ่งขึ้น ตั้งแต่ได้รับอิสรภาพเป็นจ้รมา กษัตริย์ลาวเองมีบทบาทเพียงเล็กน้อย พระอนุชา 3 ประองค์เป็นบุคคลสำคัญทางการเมืองของลาว องค์หนึ่งพึ่งอเมริกัน-ไทย อีกองค์หนึ่งได้รับการสนับสนุนจากเวียดนามเหนือ ส่วนองค์ที่ 3 คือเจ้าสุวรรณภูมา นายกรัฐมนตรีในทศวรรษที่ 1950 และ 1960 แสวงหาทางสายกลางระหว่าง "ขวา"และ "ซ้าย" ซึ่งเสียงอัจตราย ฉากการเมืองยิ่งยุ่งยากมากขึ้นเนื่องจากการชิงดีกันในระหว่างหลายก๊กหลายเหล่าในกองทัพ
            ในระยะ 2-3 ปีที่รัฐบาลผสมประกอบด้วยพวกใหญ่ ๆ 3 พวกด้วยกัน แต่แนวลาวรักาชาติ Neo Lou Hak Xat-Patriotic Front ซึ่งมีคอมมิวนิสต์เป็นผู้นำ และมีฐานปฏิบัติการทางทหารและเขตแดนที่มั่นคงอยู่ทางเหนือ ปรากฎว่าเป็นกลุ่มที่มีระเบียบการปกครองดีที่สุดใน 3 กลุ่ม พวกคอมมิวนิสต์ได้รับแรงสนับสนุนจากเวยดนามเหนือ สามารถดึงดูดความสนใจจากชนกลุ่มน้อยได้ ลาวซึ่งได้รับการยืนยันในความเป็นกลางจากการประชุมเจนีวาครั้งที่ 2 ในค.ศ. 1962 เป็นประเทศที่ถูกแบ่งแยก อิทธิพลอเมริกาแข็งแกร่งอยู่ทางใต้ ส่วนคอมมิวนิสต์อยู่ทางเหนือ ความเป็นจริงข้อนี้บดบังวิถีทางการเมืองที่มีมาแต่เดิมึ่งพัฒนาไปอย่างช้าๆ เช่นเดียวกับปัญหาอื่นๆ
            การเปลี่ยนแปลงเป็นเครื่องหมายของการสลายตัวของลัทธิอาณานิคมในพม่า อินโดนีเซีย และเวียดนาม เนื่องจากประเทศทั้งสามตกอยู่ภายใต้การปกครองอาณานิคมโดยตรง ดังนั้นระบบการเืองที่เคยมีมาแต่เก่าก่อนถูกทำลายไป นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1930 บรรดผู้นำใหม่ๆ และพวกปัญญาชนที่มีพลังความสามารถได้เริ่มปรากฎขึ้นมาอยู่ในระดับแนวหน้า แต่ในช่วงระยะระหว่างสงครามดลกครั้งที่สองเท่านั้นที่บุคคลเหล่านี้ได้เข้ามีตำแหน่งเป็นผุ้นำประชาชนอย่างเป็นทางการในพม่าและอินโดนีเซีย แม้ว่าจะตกอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นอย่างใกล้ชิดก็ตามในเวียดนามบุคคลชั้นนำเหล่านี้ได้ปรากฎตัวขึ้นหลังจากการยอมจำนนของญี่ปุ่นที่มีต่อกลุ่มศาสนาต่างๆ เหล่านี้ ในหลายๆ บริเวณที่ส่วนช่วยร่นระยะเวลาให้แนวคิดนั้นสำเร็จเร็วขึ้น ข้อสำคัญประการสุดท้าย การที่ฝ่ายตะวันตกเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในด้านเศรษฐกิจอย่งกว้างขวางทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญๆ ในหมู่ชาวนาพม่า อินโดนีเซย (โดยเฉพาะในชวา และสุมาตรา) และเวียดนาม คงจำกันได้ว่าสถานการณ์ของขาวนาในประเทศทั้งสมนั้นได้เลวลงไปมากในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
         ...การยอมจำนนของญี่ปุ่นในเดือนสิงหสคม 1954 ทำให้พลังและควมทะเยอทะยาที่ซ่อนเร้นอยู่ของพวกผุ้นำทางการเมืองและการศาสนาได้ปรากฎออกมา เป็นชนวนทำให้ชาวนาเกิดความหวังที่จะได้รับการปลดปล่อยจากภาระอันหนักอึ้งในระหว่างสงคราม การสู้รบอย่างเปิดเผยเริ่มจากการบุกเข้าไปในพม่าอีกครั้งหนึ่งของอังกฤษในปี 2944 ในขณะที่กองทหารฝรั่งเศสและฮอลันดาพยายามที่จะให้ได้บัยชนะเหนืออาณานิคมอีกครั้งหนึ่งในอินโดนีเซียและเวียดนามทั้นที่ที่สิ้นสุดสงคราม ดังนั้นการต่อสู้เพื่อสิทธิเสรภาพจึงจุดประกายของความรุนแรงที่หวังจะทำการปฏิวัติอย่างเร่าร้อน ตราบใดที่การต่อสู้นี้ยังคงมีอยู่ พวกผุ้นำชั้นยอดและมวลชนในชนบทจะมีความสามัคคีกันเนืองจากมีเป้าหมายร่วมกัน ถึงกระนั้นก็ตาม การจะให้ได้มาซึ่งเสรีภาพทั้งในพม่าและอินโดนีเซีย ได้ไม่ได้อะไรมากไปกว่าเป็นแต่เพียงลมปากเท่านั้น ซึ่งในไม่ช้าก็เกิดการจลาจลติดตามมา เวียดนามเองก็แทบจะไม่มีเวลาชื่นชมกับความสงบสุขภายในเลยสังชัวระยะเดียว
           ในประเทศใหม่ๆ เหล่านี้ การผลัดเปลี่ยนกันขึ้นมามีอำนาจของพวกผู้นำของชาติเป็นลักษณะที่เด่นชัดที่สุด ทั้งนี้ไม่นับเวียดนามเหนือซึ่งกลุ่มผุ้ปกครองคอมมอิวนิสต์มีอำนาจอยู่เต็มเปี่ยมบริบูรณ์ ไม่มีผุ้นำคนใดเลยที่ได้นเสรภาพมาให้แล้วจะยังคงอยู่ในอำนาจได้ถึงช่วงทศวรรษที่ 1960 การปลกดพลกผุ้นำเหล่านี้ซึ่งเป็นบุคคลที่มีภูมิความรู้และมีความสามารถพิศษไม่ได้เป็นเรื่องส่วนบุคคล แต่เป็นเครื่องหมายของการเปลี่ยนแปลงขั้นต่อไปในรูปแบบการปกครองชั้นผุ้นำ ปัจเจกชนระดับสุงจะมีความสำคัญเพียงไรก็ตามในการชุมนุมชาวชนบทให้ต่อสู้เพื่อเอกราช แต่เขาก็ได้พิสูจน์ให้เห็นว่ายังไม่มีกำลังพอในการที่จะแบกภาระงาน "สร้างชาติ" เอาไว้ ความเข้าใจอันดีเกี่ยวกับบรรดาผู้นำเปล่านั้นมีแนวโน้มทีจะทำให้กลุ่มปัญญาชนทางการเมืองซึ่งตนก้าวออกมานั้นเสียเกียรติไปได้ กลุ่มบุคคลที่เข้ายึดอำนาจในทศวรรษที่สองของการสลายตัวของลัทธิอาณานิคมส่วนใหญ่เป็นพวกกุล่มทหารที่มีฐานอำนาจมั่นคงซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างสงคราม พวกนี้มิใช่แต่จะเป็นตัวแทนของพวกรุ่นเด็กว่าเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวแทนของพวกที่มีการศึกษาน้อยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย  

                           
การเปลี่ยนแปลงระบบการปกคอรงจาฝ่ายพลเรือนมาเป็นฝ่ายทหารนั้น มีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญตามมาด้วย ถึงจะมีความพยายามต่อต้านฝ่ายตะวันตกอย่างเข้มแข็งอยู่ในแนวความคิดแบบชาตินิยมของตนก็ตาม แต่พวกผุ้นำซึ่งเป็นปัญญาชนส่วนใหญ่ก็ยังผูกพันอยู่กับแบบการปกครองแบบตะวันตก ยกเว้นพวกคอมมิวนิสต์วึ่งยึดอยู่ลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างเดียวเท่านั้นลัทะิประชาธิปไตยแบบตะวันตกเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าเป็นลัทธิการปกครองที่สมัยใหม่ที่สุดสำหรับ ทุกประเทศ และหลังจากที่ฝ่ายพันธมิตรได้ชัยชนะในสงครามโลกครั้งท่สองแล้ว ก็เป็นกลุ่มประเทศที่ประสบความสำเร็จมากที่สุ เพราะฉะนันจึงไม่เป็นที่ประหลาดใจเลยที่ทังพม่าและอินโดนีเซีย (และแม้แต่เวียดนามในระดับหนึ่ง) หลังจากที่ได้เอกราชแล้ว ได้รับเอารัฐธรรมนูญตามแบบอย่างของฝ่ายตะวันตก ยังเป็นที่สงสัยกันอยู่ว่าระบบการปกครองแบบเสรีประชาธิปไตยนั้นจะใช้ได้เป็นผลสำเร็จหรือไม่ในประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้สภาพที่คิดว่าดีที่สุดแล้ว ถึงจะมีการเลือกตั้งอย่างขาวสะอาดพอใช้ในพม่าและอินโดนีิเซีย (แต่ไม่มีในเวียดนามทั้งสอง) แต่ก็ทำให้เกิดการแตกแยกกันในทางเชื้อชาติและความคิดเห็นทางเมืองและอื่นๆ มากกว่างจะเป็นการส่งสเริมให้เกิดเแกภาพของประเทศ เมื่อเป็นเช่นนั้นฝ่ายทหารโดยส่วนใหญ่จึงไม่ชอบลัทะิประชาธิปไตยแบบรัฐสภา และเมื่อตนได้มีอำนาจฝ่ายทหารก็ได้นำเอาระบบอำนาจนิยม มาใช้แทน ในขณะเดียวกันก็คงไว้ซึ่งศิลปะการจูงใจในกรปฏิวัติและแม้กระทั่งการปฏิวัติเืพ่อไปสู่ลัทะิสังคมนิยมด้วย
               การที่ทหารขึ้มามีอำนาจในการปกครองนั้นไม่ใช่สิงที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญในประวัติศาสตร์ของประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศที่ถูกปกครองโดยตรงทหารเป็นกลุ่มที่รวมตัวกันและมีความสามัคคี มีระเบียบวินัยที่ดีเยี่ยม (เช่นเดียวกบพรรคคอมมิวนิสต์ที่มีองค์ประกอบเป็นกลุ่มที่มีโครงสร้างอย่างเหนียวแนนในเวียดนามเหนือ) ยิ่งกว่านั้นอำนาจของทหารที่มช้บังคับกันตามลำดับชั้น โดยทางปฏิบัติแล้วยังเป็นหลักประกันถึงความยิ่งใหญ่ในการดำเนินงานของพวกทหาร เมื่อเทียบกับฝ่ายตรงข้ามที่เป็นพลเรือน ตัวอย่างของไทยได้แสดงให้เห็นชัดถึงความยิ่งใหญ่ที่ว่านี้อยู่ถึง 30 ปีเศษ การยึดครองของพวกทหารกระทำได้สำเร็จอย่างว่ายดาย เนื่องจากพวกนักการเมืองพลเรือนไม่มีรากฐานทางการเมืองที่มั่นคง และไม่มีกำลังในการจัดการต่างๆ
              อย่างไรก็ตาม วิวัตฒนาการทางด้านการเมืองระหวางประเทศเหล่านี้ก็ถึงจุดหยุดชะงักลงชั่วคราวสาเหตุหนึ่ง คือ ทหารเหล่านี้เป็นพวกทหารหนุ่มๆ ซึ่งเกิดมาเพื่อทำการปฏิวัติ และทำสงครามต่ต้านลัทธิอาณานิคมมากกว่าที่จะเกิดมาเป็นทหารอาชีพ มีระเบียบวินัยตามแบบทหาร บรรดานายทหารและลูกน้องจึงสะท้อนให้เห็นถึงความตึงเครียดและการบาดหมางกัน ทั้งทางด้านการเมืองและสังคมเช่นเดียวกับที่มีในหมู่เพื่อร่วมชาติพลเรือนของตน อีกสาเหตุหนึ่งพยกทหาไม่มีความรู้ความชำนาญ และไม่มีประสบการณ์ทั้งทางด้านการปกครอง เศรษฐกิจ และการเมือง
             ความไม่มั่นคงของพวกผู้นำฝ่ายทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางด้านเศรษฐกิจผสมผสานกันอย่างดีกับการพลิกแพลงทางด้านการเมืองและสังคมในพม่า อินโดนีเซย และเวียดนามใต้ การปราบปรามองค์การพลเรือนต่างๆ พวกผุ้นำฝ่ายตรงข้ามที่สงบเงียบ พวกนักศึกษามหาวิทยาลัยและเตรียมอุดมที่หมดความอดทนและทำการเรียกร้อง และข้อสุดท้ายสวัสดิการในชนบทที่เลวลงทุกทีรวมกับอัตราการเกิดที่สูง ทั้งหมดนี้เป็นเครื่องชี้ให้เก็นถึงเสถียรภาพที่ไม่มั่นคงที่แอบแฝงอยู่มากกว่าจะเป็นระบอบการปกครองปบบใหม่ที่กึ่งภาวร แลจะต้องไม่ลืมวา เช่นเดียวกับประเทเอเชียตะวันออกเแียงใต้อ่น พวกจัต้า juntas หรือฝ่ายทหารในประเทศเหล่านีมีปัญหารุล้มอยุ่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ส่วนน้อยที่มีอยู่ ความจริงที่ว่าพม่าและอินโดนีเซียได้มีมตรการที่รุนแรงที่สุดสำหรับจัดการกับพวกินเดียและจีนที่อาศัยอยุ่ใม่าและอินโดนีเซียนั้นเป็นเคร่้องชี้ให้เห็นถึงความผิดฟวังที่รัฐบาลกับพวกอินเดียและจีนที่อาศัียอยุ่ในพม่าและอินโดนีเซียนั้นเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงความผิดหวังที่รัฐบาลใหม่ได้รประสบนับแต่ได้เข้ามามีอำนาจในการปกครอง
             ประเทดลาว เป็นชื่อของขบวนการปฏิวัติลาวที่เป็ฯพันธมิตรกับพรรคคอมมิวนิสต์เวยดนามในสมาคมอินโดจีน ช่วงแรก กลุ่มนี้มีความสัมพันธ์กับพรรคคิมมิวนิสต์เวยดนามตั้งแต่ พงศ. 2487 กำเนิดของกลุ่มนี้เริ่มจากการที่เจ้า "สุพานุวง" ได้ต่อต้านการฟื้นฟูลัทธิจักรวรรดินิยมของฝรั่งเซส จนต้องเข้ามาลี้ภัยในไทยและออกไปเวียดนาม เมื่อมีการประนีประนอมระหว่างกลุ่มชาตินิยมลาวกับฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2493 เจ้าสุพานุวงจึงจัดตั้งสมัชชาต่อต้านขึ้นที่แนวชายแดนเวยดนาม และตั้งกลุ่มต่อต้านรัฐบาลแห่งชาติที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อประเทศลาว
            กลุ่มประเทดลาวถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าร่วมการประชุมเพื่อทำข้อตกลงเจนีวาว่าด้วยอินโดจีน หลังจากนั้นกลุ่มนี้ได้ก่อตั้งแนวลาวฮักชาดเป็นแนวร่วมของพรรคปฏิวัติประชาชนลาวหรือพรรคคอมมิวนิสต์ และยังเป็นชื่อเรียกของชบวนการปฏิวัติยึดอำนาจได้เด็ดขาเมื่อเดือนธันว่าคม พ.ศ. 2518
           ฝรั่งเศสได้จัดตั้งรัฐบาลลาวขึ้น อยู่ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีหลายท่านที่เป็นพวกอนุรักษนิยม ไดแก่เจ้าสุวรรณราช และเจ้าสุวรรณภูมา ส่วนพระองค์นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์จนได้สมญานามว่า "เจ้าชายแดง"
           ในปี พ.ศ. 2517 พระองค์เสด็จคืนเวียงจันทน์ ทรงดำรงตำแหน่งปรธานสภาาที่ปรึกษาแห่งชาติอยู่ 18 เดือนจนสถาปนาประเทศเป็น "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว" พระองค์ได้รับเลือกเป็นประธานประเทศและประธานสภาประชาชนสูงสุดคนแรก พร้อมกนนั้น พระองค์ได้สลาะฐานันดรศักดิ์ทั้งปวงในสมัยระบอบเก่า เจ้าสุภานุวงศเป็นที่รักของประชาชนชาวลาว จนเรียกขานกันว่า "ลุงประธาน"
          ..จากการประชุมที่เจนีวา ชื่อขบวนการประเทดลาว ได้กำเนิดขึ้นเพราะแนวลาวอิดสะละได้เขียนคำว่า "ประเทดลาว" ไว้ที่หัวกระดาษของเอกสารและจดหมายเพื่อชี้ให้เห็นว่าคือประเทศลาวที่เป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศอินโดจีน ทำให้ชื่อ กลุ่มประเทดลาว กลายเป็นชื่อเรียกในทางสากลแทน แนวลาวอิดสะละ แต่สำหรับการเคลื่อนไหวในประเทศลาวก็ยังคงใช้ชื่อว่าแนวลาวอิดสละ กระทั้งภายหลังรัฐบาลของกระต่าย โดนสะสอลิด เตรียมจัดการเลือกตั้งแนวลาวอิสะละได้เปลี่ยนชื่อเป็น แนวลาวฮักชาด ส่วนหนึ่งเพื่อให้ รัฐบาลลาว วางใจว่ากลุ่มแนว ลาวอักซาดไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มคอมมิวนิสต์จนรัฐบาลลาว ยินยอมให้เข้าร่วมรัฐบาลผสมและลงเลือกตั้งในนาม พรรรค
           แม้ว่าเจ้าเพ็ดซะราดจะประกาศไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองหลังจากการแตกแยกของขบวนการลาวอิดสะละ แต่สมาชิกของแนวลาวอิดสะละโดยเฉพาะ เจ้าสุพานุวง และพูมี วงวิจิด ก็ยังใหความเคารพพระองค์และยังปรึกษาพ่ระองค์เกี่ยวกับการดำเนินการเคลื่อนไหวต่อต้านฝรั่งเศสอยู่บ่อยครั้งส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเจ้าสุพานุวงเชื่อว่า แนวลาวอิสะละ เป็นการสืบทอดอุดมการณ์ของรัฐบาลลาวอิสะละ ดังจะเห็นได้จาก เจ้าสถพานุวงเกิฐธงสามสีที่เป็นสัญลักษณ์ของรัฐบาลลาวอิดสะละไว้และยังนำธงผืนนี้มาใช้เป็นสัญลักษณ์การเคลื่อนไหวของแนวลาว ฮักซาดตลอดจนธงดังกล่าวยังเป็ฯธงขาติลาวในปัจจุบนด้วย
          สงครามแย่งชิงประชาชนระหว่างรัฐบาลลาวกับแนวลาวฮักซาด สมาชิกของกลุ่มลาวอิสะละเลือกเส้นทางเดินตามแต่แนวคิดทางการเมืองที่แตกต่างซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ แลุ่มแรกเชื่อมั่นในเส้นทางเสรีประชาธอปไตยแม้จะต้องอยู่ภายใต้อิทธิพลของฝรั่งเศสหรือสหรัฐฯ ส่วนกลุ่มที่สอง แม้จะเลือกเส้นทางเดียวกับเวียดนาม คือ เส้นทางสังคมนิยม แต่ในขณะน้นอาจจะต้องกล่าวว่าพวกเขาสนใจเพียงแต่ว่าเส้นทางใดจะทำให้ขับไล่ศตรูที่รุกรานแผ่นดินลาวออกไปได้ ด้วยเหตุนี้เ พมือ่พิจารณราแนวทางการต่อสู้แย่งชิงประชาชนระหว่างฝ่าย รัฐบาลลาว และกลุ่มแนวลาวฮักซาดจะเห็นได้ว่า ทั้งสองใช้สถาบันพุทธศาสนาและสถาบันกษัตริย์ เป็นสิ่งจูงใจให้ประชชนเข้าร่วมกลุ่ม เพียงแต่การอธิบายลักษณะสังคมที่ประชาชนต้องการ ฝ่ายแนวลาวฮักชาอกลับทำใได้ดีกว่าเพราะเป็นแนวทางที่เป็ฯระบบและให้ความสนใจต่อชนกลุ่มน้อยซึ่งเป็นปชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ผนวกกับภาพลักษณ์ของรัฐบาลลาว ที่ไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากความขัดแน้งทางการเมืองภายในรัฐบาลลาวเอง และปัญหาการคอรัปชั่น ทำให้ภายหลัง ประชาชนจำนวนหนึ่งให้การสนับสนุนและเข้าร่วมสนับสุนแนวลาวฮักซาด
         ชัยชนะของแนวลาวฮักซาด
         สถานะการณ์ทางการเมืองโลก กระตุ้นให้ผู้นำลาว เช่น กะต่างโดนสะสอลิดตัดสินใจเป็นฝ่ายเสรีนิยมและเศรษฐกิจกลบกลายเป็นการเื้อผลประโยชน์ให้กับนัการเมือง, ทหารบางกลุ่ม, เจ้าหน้าที่ลาว และพ่อค้าด้วยเหตุนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวจะเห็นความร่ำรวยของกลุ่มคนเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น เช่นบ้านหลีังใหญ่, รถยนต์ราคาแพง, ลูกหลานไปเรียนเมืองนอก และตัวอย่างทางการเมืองที่เห็นได้ชัดเจนคือการใช้อำนาจและเงินซึ่งส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนของสหรัฐฯ ของนายพลพูมี หน่อสะหวันโกงการเลือกตั้ง หรือภาพลัษณ์นัการเมืองธุรกิจของเจ้าบุนอุ้ม ณ จำปาสัก ซึ่งเป็นเจ้าของกิจการต่างๆ มากมายไม่ว่าจะเป็นบ่อนคาสิโนในเมืองปากเซและสะหวันนะเขต, สายการบินลาว, การลักลอบขนไม่เถื่อน รวมทั้ง ตระกูลซะนะนิกอนตระกูลนักการเมืองซึ่งใช้ความสัมพันธ์กับกนักการเมืองและข้าราชการระดับสูงช่วยให้บริษัทของตระกูลได้รับสิทธิพิเศษ เช่น การสัมปทานบริษัทยาสูฐ 555 และการยกเว้นภาษี
           นอกจากนั้น ยิ่ง "สงครามลับ" ของสหรัฐฯ ในลาวทวีความรุนแรงขึ้นมากเท่าไร ประชาชนก็ยิ่งไม่พอใจมากขึ้น โดยเฉพาะใช่วงต้นปี ค.ศ. 1968 เมื่อขบวนการเวียดมินห์โจมตีเวียดนามใต้ได้ใน "การโจมตีวันตรุษญวน" และฝ่ายสหรัฐฯตอบโต้ด้วยการโจมตีพื้นที่ของกลุ่มเวียดมินห์และกลุ่มประเทดลาวทางตอนเหนือของลาวมากขึ้น ทำให้พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นพื้นที่สงครามเต็มตัวโดยเฉพาะบริเวณทุ่งไหหิน ซึ่งในขณะนั้น สหรัฐฯ ส่งเครื่องบิน B52 ทิ้งระเบิดที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงเพื่อมากจากเดิม ในบริเวณทางภาคเหนือ
          ภาพลักษณ์ของนักการเมืองที่ร่ำรวยและผลลัพธ์จากสงครามเป็น้อด้อยที่ทำให้แนวลาวฮักซาดโจมตี รัฐบาลลาวและเริ่มเอนเอียงไปสนับสนุนแนวลาวฮักซาด ตัวอย่างเช่นสมพะวัน นักเขียนในวารสาร "มติตะสอน" กล่าวสนับสนุนการต่อต้านสหรัฐฯ สมพะวันยังชี้ให้เห็นว่า "สหรัฐฯ"เป็นภัยร้ายใกล้ตัวมากกว่าเวียดนามที่รัฐบาลลาว มัวแต่หวาดระแวงการคุกคามของเวียดนามเหนือรวมทั้ง ลมพะวันยังแสดงความห่วงใยต่อสงครามที่เกิดขึ้นในลาวในบทกลอนที่กล่าวถึงผู้เสียชีวิตในสงครามอย่างเศร้าสลด ในอีกแง่มุมหนึ่ง ผลลัพธ์ของสงครามมีผลกระทบต่อคนในพื้ที่เกิดสงครามโดยเฉพาะตามแนวชายแดนมากว่าประชาชนที่อยู่ในเวียงจัน หรือ พื้นที่ที่ไม่ไ้รับปลกระทบโดยตรง ฉะนั้ ปัญหาสงครามจึงเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับคนเหล่านี้แตคนในเมืองวิตกกังวลและสังสนมากกว่า คือ ความเปลี่ยนแปลงของสังคมและวัฒนธรรม ในทศวรรษที่ 1970 โดยเฉพาะปัญหาจริยธรรมและสังคมที่กำลังเสื่อมโทรมลงซึ่งปัฐหาเหล่านี้ถูกหยิยกมาวิพากษ์วิจารณ์อย่างไรก็ดี อฟเวนส์ ชี้ให้เห็นความเปลี่ยนแปลงและความสับสนของสังคมผ่านคนสองกลุ่มจากบทความในหนังสือพิมพ์ "เยียวยาหังใจที่แตกร้าว ซึ่งกล่าวถึง "รสนิยคาวบอย" ของกลุ่มวัยรุ่นในเวียจันว่าเป็นพวกนอกรีต..
                ความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาสังคมยังสะท้อนในวรรณกรรมต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะบอกเล่าเรื่องราวและปัญหาที่พบเห็นได้ในสัง เช่น การทรยศรัก, สามีนอกใจและการมีภรรยาน้อย หรือความแตกต่างระหว่างเมืองและชนบทก็สะท้อนให้เห็นใวรรณกรรมช่วงเวลาดังกล่าวเช่นกัน เช่น "พ่อยังไม่ตาย" หรือปัญหาโสเภณีที่คาดกันว่าในปี ค.ศ. 1970 จำนวนโสเภณีในเวียงจันมากว่า 1,000 คน ในเรื่องสั้นลูกสาวที่เสียไป อนึ่ง ทัศนะเหล่านี้ได้สะท้อนความจริงแห่งยุคสมัยของสังคมลาวได้อย่างชัดเจน ผุ้คนตั้งคำถามกับความเจริญที่เกิดขึ้นในเวียงจันและตระหนักถึงปัญหาความด้อยพัฒนาและทัศนคติอันล้าหลังของลาว ซึ่งความวิตกกังวลเหล่านี้เองที่กลายเป็นพลังสนับสนุนแนวลาวฮักซาดและเร่ิมต่อต้าน รัฐบาลลาว ที่กลุ่มนี้มองว่าเพิกเฉยต่อปัญหาที่เกิดขึ้นและยิ่งผนวกับภาพลักษณ์นัการเมืองที่ทุจริตและการสนับสนุนสหรัฐฯ ในการทำสงคราม ก็ยิ่งเป้ฯการทำลายตัวเองเร็วขึ้นและส่งผลใหประชาชนเข้าร่วมกับแนวลาวฮักซาดเพิ่มขึ้น
              นอกจากนั้น การดำเนินงานด้านการขยายมวลชนของแนวลาวฮักซาดก็มีลัษณะที่เป็นระบบและมีเอกภาพเดียวกัน แม้ว่าจะถูกโจมตีบ่อยครั้งว่าเป็นตัวแทนทของเวียดนามเข้ามากลืนชาติลว แต่แนวลาวฮักซาด ก็สามารถโต้กลับได้ว่าการเคลื่อนไหวของแนวลาวฮักซาดและกลุ่มเวียดมินห์มีลักษณะเป็นกลุ่มชาตินิยมที่ต่อต้านสหรัฐฯ ในฐานะของศัตรูรุกรานชาติลาวมอกกว่าศัตรูของฝ่ายคอมมิวนิสต์ อีกทั้งแนวลาวฮักซาด ยังมีดครงการทางการเมืองซึ่งกล่าวถึงการสนับสนุนศาสนาพุทธและยกย่องเจ้ามหาชีวิตเป็นผุ้นำเพื่อจูงใจให้ประชาชนในเขต รัฐบาลลาว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวลาวลุ่มเข้าร่วมด้วยได้..
           
"สาธุเจ้าชายอุดทอง สุภานุวงศ์" หรือ เจ้าสุภานุวงศ์ หรือ ประธานสุภานุวงศ์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2452 ที่เมืองหลวงพระบาง เป็นเชื้อพระวงศ์ราชวงส์ล้านช้างหลวงพระบาง เป็นประธานประเทศ (ประธานาธิบดี) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คนแรกหลังจากลาวเปลี่ยนแปลงการปกครองจากราชอาณาจักมาเป็นสาธารณรัฐเมื่อปี พ.ศ. 2518 ทั่วโลกรู้จักในสมญานาม "เจ้าชายแดง" หรือ "The Red Prince"
           พระองค์ทรงเข้าร่วมขบวนการต่อต้านฝรั่งเศสเพื่อเอกราช จนได้รับาดเจ็บในการต่อสู้กับฝรั่งเศสที่เมืองท่าเเขก ระหว่างหนีข้ามแม่น้ำโขงเข้ามายังฝั่งไทย ทรงก่อตั้งกองทัพปลดปล่อยประชาชนลาวในพื้ที่ซำเหนือ ภายใต้การสนับสนุนของโอจิมินห์ ซึ่งต่อมาเป็นขบวนการคอมมิวนิสต์ประเทศลาว ต่อมาอีกสองปี ขบวนการประเทศลาวก็สามารถครองพื้นที่ 1  ใน 3 ของประเทศได้ และต้งฐานที่มั่นที่ยากแก่การทำลายในถ้ำหินปูนที่แขวงหัวพันกับพงสาลี
            ทั่วโลกรู้จักเจ้าสุภานุวง์ในสมญานาม "เจ้าชายแดง"เนืองจากเป็นเจ้าผุ้ยอมเสยลสละแยกตัวเองออกจากชนชั้นศักดินามาร่วมก่อตั้งขบวนการปฏิวัติลาว ซึ่งจากการที่ ราชตระกูลหันมาเป็นนักปฏิวัตินี่เอง ที่ทำให้นักวิลาการทางด้านมานุษยวิทยาชาวต่างชาติคนหนึ่งที่ทำการศกษาเรื่องประเทศลาวมาอย่างยาวนาน มีความเห็นว่าเจ้าสุภานุวงศ์ถือเป็นบุคคลชนชั้นนำที่มีสถานะกำกวมยากแก่การทำความเข้าใจมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสรต์การเมืองลาวสมัยใหม่ กล่าวคื อแม้ภายหลงการปฏิวัติลาวในปี พ.ศ. 2518 รัฐบาลลาจะพยายามปราบปรามบุคคลที่อยู่ฝ่ายกษัตริย์นิยมอย่างหนัก ทว่าหนึ่งในผุ้นำการปฏิวัติอย่างเจ้าสุภานุวงศ์เอง กลับมีฐานะเป็นผู้ธำรงรักษาลักษณะอันสูงส่งบางด้านของราชวงศ์ลาวในอดีตให้คงอยู่ต่อไป
              และให้ทัศนะว่า เจ้าสุภานุวงศ์ถือเป็นสัญลักษณ์ที่มีัพลังอำนาจสูงมากเนื่องจากผุ้นำของลาวคนนี้เป็นตัวแทนที่แสดงให้เห็นถึง "ภาวะอันสอดคล้องต้องกันของคู่ตรงข้ามที่มีความหมายยขัดแย้งกันอย่างตึงเครียด" กล่าวคือ เขามีสถานะเป็นทั้งตัวแทนของราชวงศ์ลาวที่เลือนหายแลกลุ่มผุ้ยึดกุมอำนาจรัฐใหม่อย่างพรรคประชาชนปฏิวัติลาว
              ด้วยสถานะที่ยึดโยงกับราชวงศ์ลาวในอดีตอย่างเด่นชัด เมื่อเจ้าสุภานุวงศ์เสียชีวิตลง จึงมีผุ้คาดหมายว่า ภาวะโหยหาอดีตถึงราชวงศ์ลาวที่ไม่ไ้ดำรงอยู่จะหลังไหลเข้ามาอย่างเอ่อล้นในพิธีศพขอผู้นำลาวคนนี้ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลลาวได้เข้ามาควบคุมพิธีศพดังกล่าวอย่างเข้มงวด กล่าวคือ แม้จะมีการคาดการณ์ว่าพิธีศพของเจ้าสุภานุวงศ์อาจถูกจัดขึ้นที่เมืองหลวงพระบางหรือเถ้ากระดูกของเขาอาจถูกส่งกลบไปยังเมืองดังกล่าว แต่พิธีการทั้งหมดกลับถูกจัดขึ้นที่นครเวียงจันทรน์ และเถ้ากระดูกของเจ้าสุภานุวงศ์ก็ถูกบรรจุอยู่ในสถูปที่ธาตุหลวงในนครเวียงจันทน์เช่นกัน โดยมีคครอบครัวของเขา ประธานประเทศลาวในยุคนั้น คือ นายหนูฮัก พูมสะหวัน และบรรดาผุ้นำพรรคประชาชนปฏิวัติลาว ร่วมเป็นสักขีพยานทั้งนี้เพราะหากมีการจัดพิธีศพของเจ้าสุภานุวงศ์ขึ้นที่เมืองหลวงพระบางก็อาจจะเป็นการตอกย้ำถึงสถานะความเป็นศูนย์กลางแห่งราชวงศ์ล้านช้างหลวงพระบางและพิธีกรรมดั้งเดิมอันเก่าแก่ของเมืองดังกล่าว
             ดังนั้น การบรรจุเถ้ากระดูกของเจ้าสุภานุวงศ์ไว้ในบริเวณเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์ประจำ"ชาติ" (ในยุคหลังการปฏิวัติ) คือธาตุหลวง ณ นครเวียงจันทน์ จึงเปรียบเสมือนการพยายามบดบังรัศมีของระบอบราชาธิปไตยแบบพุทธที่เคยดำรงอยุ่ในลาวและมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองหลวงพระบาง โยการเมืองทางโลกย์ของพรรคประชาชนปฏิวัติลาวที่มีฐานที่ันอยู่ในนคราเวียงจันททน์ ทว่าในทางประวัติศาสตร์แล้ว ธาตุหลวงก็ถูกสร้างขึนโดยกษัตริย์องค์หนึ่งของลาวเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ สถนะแก่งควาาลักลั่นกำกวมยาแก่การทำความเข้าใจ หนรือสถานะที่เป็นทั้งตัวแทนของการ "อนุรักษ์" และ "ปฎิวัติ" จึงยังคงดำรงอยู่ในตัวตนของเจ้าสุภานุวงศ์ แม้เจ้าชายแดงผุ้นำการปฏิวัติลาวคนนี้จะเสียชีวิตไปแล้วก็ตาม

                 - (www.matichon.co.th, เจ้าสุภานุวงศ์ : นักปฏิวัติและสัญลักษณ์แห่งความกำกวมลักลั่น)
                 - "ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยใหม่ ลัทธิอาณานิคม ลัทธิชาตินิยม และการสลายตัวของลัทธิอาณานิคม", จอห์น แบสติน แฮรี่ เจ.เบ็นดา.
                 - ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยสังเขป, ผศ.สิวพร ชัยประสิทธิกุล, พ.ศ. 2531

Nationalism : Thakin

               กลุ่มนักศึกษาและปัญญาชนชาวพม่าที่ได้รับกาศึกษาแบบตะวันตก และพวกที่ไปศึกษาในอังกฤษได้เห็นระบบการปครองของยุโรปกลับมาเปียบเทียบกับการปกครองของอังกฤษในพม่า ซึ่งอังกฤษไม่ค่อยเปิดโอกาสให้ชาวพม่ามีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง จะเปิอโอกาสให้บ้างแต่ก็เป็นเพรียงตำแหน่งข้าราชการเล็กๆ ซึ่งไม่ความำคัญอะไร นอกจากนั้นพวกปัญญาชนที่จบจากมหาวิทยาลัยร่างกุ้งหางานทำใไม่ได้ จึงทำให้เกิดการรวมกลุ่มกันต่อต้านอังกฤษ ประกอบกับในระยะสงครามโลกครั้ง ที่ 1 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ข้าวขายไม่ออก ชาวนามีหนี้สินมาก ขณะที่นายทุนชาวอินเดียและพวกอังกฤษไม่เกิดความเดือนร้อน นอกจากนั้นก็ยังได้เห็นตัวอย่างการต่อสู้ของมหาตมะคานธีในอิเดีย ทำให้พม่ามีกำลังใจที่จะต่อสู้เพื่อเอกราช โดยได้รับการกระตุ้นจากพวกนัการเมืองอินเดียหัวรุนแรง ที่องักฤษเนรเทศเข้ามาอยู่ในพม่า
            ปลายปี 1930 พวกนักศึกษาในมหาวิทยาลัยร่างกุ้งได้จัตกลุ่มตะขิ่น ขึ้นมา คำว่า ตะขิ่น มีความหมายว่านาย ซึ่งอังกฤษให้ชาวพม่าเรียกอังกฤษ่า ตะขิ่น เพราะฉะนั้น จึงใช้คำว่าตะขิ่นนำหน้าชื่อ เพื่อแสดงให้เห็นว่า คนพม่าเท่าเทียมกับอังกฤษ ผุ้นำของตะขิ่นที่สำคัญมี 2 คือ อูนุ U-nu และอองซาน U-Aung San พวกตะขิ่นได้ชักจูงให้ชาวพม่า เป็นจำนวนมากเข้าร่วมสนับสนุนบทบาททางการเมืองของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยร่างกุ้ง นักศึกษาก็ได้รับความนิยมจากประชาชน ในฐานะที่เป็นนักชาตินิยม ไม่ต้องการเป็นนักการเมืองและข้าราชการซึ่งทั้งสองพวกนี้ให้ความร่วมมือกับอังกฤษ มีการคอรัปชั่นและไม่มีอุดมการณ์ทางการเมือง ทำให้ประชาชนไม่ชอบ พวกตะขิ่มีความสนใจในลัทะิมาร์คในแง่ที่นำมาใช้กับการก่อให้เกิดความรู้สึกชาตินิยมในคนหมู่มาก เพื่อจะขับไล่อังกฤษและอินเดียออกไป ไม่สนใจเรื่องคอมมูนิสต์อย่างจริงจัง พวกนี้ถือว่าพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่คู่กับชาวพม่า แต่ก็ไม่ชอบให้พระมายุ่งกับการเมือง
            ในปี ค.ศ. 1936 พรรคตะขิ่นได้รับเลือกเข้าไปอยู่ในคณะกรรมการทุกที่นั่งของสโมสรนักศึกษา มีอูนุเป็นายกสโมสนนักศึกษา อองซานเป็นบรรณาธิการนักศึกษา และได้ออกวารสารโจมตีผุ้บิรหารมหาวิทยาลัย ทำให้ถูกพักการเรียนและบรรดานิสิตนักศึกษาได้ทำการประท้วงดร.บามอ ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ทำการสอบสวนแต่ไม่เป็นที่พอใจของนักศึกษา และเกิดการประท้วงทั่วไป เกิดการปะทะกันระหว่างนักศึกษาและตำรวจ เกิดอุบัติเหตุนักศึกษาตาย และบาดเจ็บทำให้การเจรจรระหว่างนักศึกษากับรัฐบาลตกลงกันไม่ได้ ซึ่งเหตุการณ์นั้กว่าจะสงบได้กินเวลาถึงปี ค.ศ. 1939 โดยรัฐบาลออกพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยใหม่ และยกเลิการไล่อูนุออกพวกตะขิ่นก็เลยขยายอิทธิพลออกไปอีก คือ เข้าไปรวมกลุ่มกรรมกรให้เป็นสหภาพแรงงาน ยุยงให้มีการนัดหยุดงาน ประท้วงค่าจ้างแรงงาน ตลอดจนไปจัดตั้งองค์การชาวนา และให้พวกนี้เข้ามาอบรมทางการเมือง
            นอกจากกลุ่มนักศึกษาแล้ว ก็ยังมีกลุ่มของพระที่มายุ่งเกียวกับการเมือง มีอูซอ U-saw  เป็ฯผุ้นำ ไม่มีบทบาทในการต่อต้านชาวอินเดีย และก่อจลาจลทำร้ายชาวอินเดีย ทำให้รัฐบาลอังกฤษและรัฐบาลพม่าร่วมกนหาสาเหตุของการจลาจล และการประท้วงต่างๆ ที่เกิดขึ้นว่าเป็นเพราะสภาพเศรษฐกิจของพม่าที่ตกอยู่ในมือของชาวอินเดีย แต่อังกฤษก็ยังไม่ได้จักการแก้ไขอย่างไร พอดีเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อน
           ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นไ้เข้ายึดครองอำาจ และของความร่วมมือจากพวกตะขิ่น โดยสัญญาว่าจะให้เอกราชแก่พม่า ญี่ปุ่นได้เอาพวกตะขิ่น 30 คนไปฝึกอาวุธที่เกาะไหหลำเพื่อตั้งกองทัพ BIA Burma Independence Army มีบุคคลชั้นนำของตะขิ่นหลายคน เช่น อองซาน เนวิน กลุ่มนี้ได้ตั้งกองทพม่าอิสระขึ้น เพื่อขัไล่อังกฟษ แต่พวกตะขิ่นเองียงซ้ายไม่สนใจ เพราะไม่ไว้ใจญี่ปุ่น ในเดือนสิงหาคม 1943 ญี่ปุ่นได้ให้เอกราชจอมปลอมแก่พม่า คือ ญี่ปุ่นคุมกิจการทุกอย่าง แต่การให้เอกราชแก่พม่านี เป้ฯการทำให้พวกตะขิ่นเข้ามาีบทบาทางการเมืองเพิ่มขึ้น อองซานได้ตั้งกองทัพพม่าแห่งชาติขึ้น BIA เมื่อญีปุ่นแสดงตนว่า ต้องการผลประดยชน์ทางเศรษฐกิจของพม่าและใช้พม่าเป็นปจจันใการขยายอำนาจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้นผุ้นำของ BIA และกลุ่มชาตินิยมต่างๆ ได้รวมกันจัดตั้งขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นขึ้น Anti Fascist People's Freedom League AFPFL จุดประสงค์คือขับไล่ญี่ปุ่น และต่อสุ้เพื่อเอกราชของพม่า
           ในขณะที่ญี่ปุ่นยึดครอง อังกฤษก็ได้ให้ข้าหลวง กลับไปคัดเลือข้าราชการพม่าที่ฝักใฝ่กับอังกฤษไปตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นที่เมืองสิมะลา และให้สัญญากับชาวพม่าในการที่จะฟื้นฟูพม่าหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นแพ้สงคราม อังกฤษกลับมาปกครองตามเดิม และพยายามรื้อฟื้นอำนาจของอังกฤษ โดยการฟื้นฟูเศรษฐกิจของพม่าหลังสงคราม แต่ไม่ได้ผลนักเพราะเศรษฐกิจพม่าภายหลังสงครามเสียหายอย่างหนัก นอกจากนั้นอังกฤษยังนำระบบการปกครองแบบ Dyaarchy มาใช้ต่อไปโดยไม่กำหนเวลา และให้ข้าหลวงอังกฤษเข้ามปกครองโดยตรง AFPFL ได้ประกาศต่อต้านการกลับมาของอังกฤษ ดังนั้นอังกฤษจึงเตรีมการที่จะให้เอกราชแก่พม่า ในปี ค.ศ. 1946 อังกฤษยินยอมให้ชาวพม่าเข้ามาปกครองทั่วไปได้ โดย AFPFL ได้กุมเสียงข้ามากในรัฐบาล และอองซานได้เป็นประธานสภาฝ่ายบริหาร สามารถเจรจาตกลงกับอังกฤษได้ในการเตรียมการร่างรัฐธรรมนูญ ในเดือนเมษายน 1947 มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้รวมผุ้แทนของชนหมู่น้อยด้วย AFPFL ชนะการเลือกตั้งและมีกาประชุมสภาพร่างรัฐธรรมนูญเพื่อวางรากฐานของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่...
         
.. ฉะนั้นการได้เอกราชครั้งนี้เป็นไปอย่างราบรื่นและปราศจากการนองเลือด และสหภาพพม่าใหม่ก็ได้ถือกำเนินขึ้นตอนต้น ปี 1948 แต่ก่อนที่สหภาพพม่าจะอุบัติขึ้น ประเทศพม่าก็ต้องเผชิญกับโศกนาฎกรรมครั้งยิ่งใหญ่ คือการลอบสังหารอองซานอย่างโหดร้ายทารุณที่สุดอองซานนักศึกษาที่กลายมาเป้นวีรบุรุษของชาติ เป็นผู้ก่อตั้งและผู้นำของ AFPFL เป็นผุ้บัญชากการกองทพัพทา และอองซานในฐานะนายกรัฐมนตรีได้เปิดการเจรจาหลายครั้งกับทางลอนดอนจวนจะประสบความสำเร็จ (แผนการลอฆ่านี้ อูซอ เป็นผุ้วางแผน อูซอเป็นนัการเมืองพม่าสมัยก่อนสงครามที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่ง การฆาตกรรมเกิดขึ้นในห้องประชุมคณะรัฐมนตรีรัฐมนตรีอื่นๆ อีก 9 คนถูกฆ่าด้วยในขณะเดียวกัน
              การประกาศอิสรภาพยังไม่ทันจะเสร็จสิ้นดี การวิวาทในเรื่องส่วนตัวและอุดมการณ์เมืองก็เริ่มเกิดขึ้น มีการแบ่งแยกกันเป็นหลายก๊กหลายเหล่า พวกที่นิยมคอมมิวนิสต์ก็แยกตัวออกจาก AFPFL กลุ่มหนึ่งดำเนินการแบบใต้ดินและทำสงครามกับรัฐบาลผสมที่อ่นนแด กลุ่มที่มีอาวุธก็เกิดขึ้นราวกับดอกเห็ด บางกลุ่มเป็นพวกกะเหรี่ยง บางกลุ่มเป็นพวกทหารผ่านศึกษถูกปลดประจำการแล้ว และบางพวกก็เป็นพวกโจรที่ฉวยโอกาสจกการสับสนอลหม่านที่แผ่กระจายไปทั่วประเทศ นับตั้งแต่อองซานตาย รัฐบาลซึ่งนำโดยเพื่อของอองซาน คือ อูนุ ต้องใช้เวลาหลายปีในการฟื้นฟูความสบงเรียบร้อย และหันกลับไปมีชีวิตใหม่แบบรัฐบาลพลเรือน องค์การสันนิบาต AFPFLเริ่มต้นโครงสร้างการสวัสดิการอันสุงส่งตามแบบนโยบายของฝ่ายซ้าย แต่นอกเหนือจากการโอนกิจการที่มีต่างชาติเป็นเจ้าของเข้าเป็นของรัฐแล้ว องค์การนี้ก็ไม่ได้ทำให้สังคมและเศรษฐกิจเจริญก้าวหน้าขึ้นเท่าไรเลย
              ถึงแม้กฎหมายและระเบียบปฏิบัติต่างๆ จะดีขึ้น การฉ้อรษฎร์บังหลวงก็ได้ทำให้ราษฎรหมดความเชื่อมันในรัฐบาล หมดความอดทนต่อสันนิบาต AFPFL และต่อรัฐบาลระบอบรัฐธรรมนูญ สิ่งที่เกิดขึ้นคือความไม่สามัคคีกันภายใน AFPFL ซึ่งมีโครงสร้างอย่างหลวมๆ และมีพรรคสังคมนิยมเล็กๆ เป็นกลุ่มนำมาจนกระทั่งถึงปลายทศวรรษที่ 1950 สันนิบาต AFPFL ได้เป็นผู้คอรบครองวิถีการเมืองอย่างแท้จริง มีขอบข่ายของงานแผ่กระจายไปตามสาขาต่างๆ ในชนบท เช่นเดียวกับตามสมาคมต่างๆ ของพวกเยาชน ชาวนา และกรรมกร แต่เมื่อได้รับเอกราชแล้ว และการไม่ลงรอยกันที่สำคัญจนถึงขั้นก่อการวุ่นวายก็สงบลงได้ หรือไม่ก็สามารถปรองดองกันได้แล้ว บรระดาผู้นำของรัฐบาลปสมก็ไม่สามารถปิดบังการเป็นปรกปักษ์กันเป็นส่วนตัวไว้จากประชาชนได้อีกต่อไป ในปี 1958 เมื่อรอยแตกร้าวได้ค่อยๆ กร่อนลงจนกลายเป็นการแตกแยกอย่างกว้างขวาง AFPFL ก็แตกออกเป็น 2 กลุ่มที่ทำสงครามกัน
              กองทหารภายใต้การนำของนายพันโทเนวิน (ต่อมาได้เป็นนายพล)ได้เข้าแทรกแซงในเรื่องกิจการการเมือง ถึงแม้วานายทหารส่วนใหญ่ซึ่งแต่เดิมเป็นสมาชิกของกลุ่มปัญญาชนยะขิ่นยังคงมีความคิดร่วมกันกับนัการเมืองพลเรือนในเรื่องของนโยบายการปกครองแต่กองทัพบกโดยส่วรวมก็ได้แยกตัวเองออกไป การรังเกียจเพื่อร่วมงานที่ไม่ใช่ทหารมีมากขึ้นทุกที และความอดทนที่มีต่อพวกนี้ก็น้อยลงทุกที แต่พวกทหารก็ยังไม่เต็มใจที่จะให้มีการแตกแยกกันถึงที่สุดซึ่งมีขึ้นในปี 1960 หลังจากที่ได้มีการปรึกษาหารือกับพวกผู้นำทางการเมืองแล้วฝ่ายทหารก็จัดให้มีรัฐบาลรักษาการณ์ชั่วคราวขึ้น ความจริงแล้วพวกนายทหารได้รักษาสัญญาของพวกเขาในอันที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ขึ้น การเลือกตั้งได้จักให้มีขึ้นตามกำหนดเวลาในปี 1960 ซึ่งกลุ่มที่แตกมาจาก AFPFL ของอูนุได้ชัยชนะอย่างท่วมท้น เป็นอภนันทนาการจากการที่ผุ้นำของกลุ่มเป็นบุคคลที่มีผู้นิยมอย่างกว้างขวาง
             แต่อย่างไรก็ตาม การฟื้นฟู้รัฐบาลตามวิถีทางแห่งรัฐธรรมนูญก้ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นได้เพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ  2 ปีต่อมาเนวินและพรรคพวกของเขาก็ได้ล้มรัฐบาล คราวนี้ไม่มีการให้สัญญาหรือให้ความหวังใดๆ ในอันที่จะคืนอำนาจให้แก่ฝ่ายพลเรือนอีกต่อไป นักการเมืองจำนวนมากรวมทั้งอูนุด้วยถูกกักตัวอยู่ในค่านกัดกัน ในขณะที่บรรดานายทหารได้เข้าดำรงตำแหน่งต่างๆ ทั้งทางด้านการบริหารและการปกครอง มีการห้ามการตั้งพรรคการเมือง ฝ่ายทหารได้จัดให้มีแนวร่วมแห่งชาติเพียงอย่างเดียวภายใต้การปกครองอย่างเข้มงวดของรัฐบาลขึ้นแทนที่พรรคการเมืองต่างๆ สภาการปฏิวัติเป็นผุ้ดำเนินการปกครองประเทศโดยมีเนวินเป็นประธานสภา คำขวัญของสภาที่ว่า ไทางของพม่าที่จะพาไปสู่ลัทธิสังคมนิย" เป็นนโยบายทางการเมืองที่ยอมรับกันเป็นทางการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม การขับไล่คนอินเดียส่วนน้อยที่มีอยู่ในพม่าเป็นผลงานที่สำคัญของรัฐบาลใหม่ และผลที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งคือทำให้การผลิตทางเกษตรกรรมลดน้อยลง ในขณะเดียวกันการปกครองที่เข้มงวดของรัฐบาลก็ไม่ได้ทำให้ภาวะเงินเฟ้อหรือการคอรับลันยุติลงเลย
 ถ้าประเทศพม่าภายใต้การปกครองของทหารซึ่งใช้วิธีปราบนักศึกษาซึ่งเป็นฝ่ายค้านด้วยวิธีรุนแรงนั้น ไม่ใตร่เจิรญรุ่งเรือเท่าไร ทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเมือง ก็เป็นเพราะว่าเนวินและพรรคพวกของเขาได้เข้าบริหารประทเศในขณะที่ประเทศพมาอยู่ห่างไกลจากความเจริญรุ่งเรืองและความเป็นระเบยบเรียบร้อย ถึงแม้ว่าอูนุจะมีนิสัยส่วนตัวและกาแสดงออกทางด้านประชธิปไตยของเขาอยู่เหนือข้อตำหนิติเตียนใดๆ แต่การกรทำในฐานะนายกรัฐมนตรีของเขาก็ได้ก่อให้เกิดความหวาดหวั่นระแวงสงสัยอย่างมาก การบริหารประเทศแบบไม่มีหลักเกณฑ์ ทำอะไรตามอำเภอใจ และไม่มีความอดทนต่อเรื่องละเอียดปลีกย่อยต่างๆ ของอูนุ ทำให้เกิดการบาดหมางกันขึ้น แม้ในหมู่สมัครพรรคพวกเพื่อสนิทของเขา การมีอคติต่อลัทธิศาสนาอื่นๆ มีมากขึ้นทุกที ในที่สุดอุนุก็ประกาศให้พุทธศาสราเป็นศาสนาประจำชาติซึ่งก่อให้เกิดความขุ่นเคืองใจแก่ชาวพม่าสวนหใญ๋ยิ่งกว่านั้นยังทำให้ความตึงเครียดระหว่างชาวพุทธส่วนใหญ่กับชนส่วนน้อยที่ไม่ใช่พุทธทวีความรุนแรงขึ้น
          ในขณะเดียวกัน อูนุยังเต็มใจให้สิทธิมากมายแก่ชนกลุ่มน้อยที่ตนพอใจโดยเฉพาะพวกฉานมากเสียจนกระทั่งความสามัคคีของประเทศโดยเฉพาะในหมู่ทหารตกอยู่ในอัตราย เศรษฐกิจก็เช่นเดียวกันต้องประสบความลำบากเพราะการปบริหารประเทศที่ไม่ดี เพื่อที่จะให้ได้รบเสียงสนับสนุนด้านความนิยมอูนุได้จัดให้มีการผันเงินออกไปสู่ชนบท ซึ่งทำให้เกิดการใช้เงินที่ผิดพลาดอย่างกว้างขวาง โดยไม่ได้มีการส่งเสริมให้มีการปลูกข้าวเพ่ิมขึ้นเลย การส่วข้าวออกจะช่วยให้ได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศที่จำเป็นเพื่อใช้ในการลงทุนด้านอื่นๆ เช่นที่ได้กระทำกันในประเทศไทยตั้งแต่ปี 1945 เป็นต้นมาอย่างไรก็ตาม เนวินก็ได้จัการแก้ปัญหาทางด้านความมั่นคง และด้านการเมองที่บีบรัดอยู่อย่างได้ผล ถึงแม้จะต้องใช้อำอำนาจบังคับก็ตาม เนวินได้พยายามใชชั้นเชิงรักษาความเป็นกลางของพม่าไว้ได้โดยการหันกลับไปสู่สมัยก่อนอาณานิคม คืออยู่อย่างสันโดษ มีความเกลียดกลัวคนต่างชาติ โดยขณะที่แผ่นดินใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในทศวรรษ 1960 ถูกห้อมล้อมด้วยการติดต่อพวพันอย่างใกล้ชิดกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก แต่อย่างไรก็ตามความพยายามของเนวินก็ถูกคุกคามที่จะทำให้เกิดการแตกแยกเนื่องจากตึงเครียดกับจีนแดง..


                      - "ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยใหม่ ลัทธิอาณานิคม ลัทธิชาตินิยม และการสลายตัวของลัทธิอาณานิคม", จอห์น แบติส แฮรี เจ.เบ็นดา, ชื่นจิตต์ อำไพพรรณ ภร๊ กาญจนัษนิติ ผุ้แปล.
                      - "ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยสังเขป" ผศ.สิวพร ชัยประสิทธิกุล.

วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Nationalism : Vietnames Nationalist Movement

              การปกครองอาณานิคมของฝรั่งเศส ได้จำกัดชาวเวียดนามทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ, วัฒนธรรม และทำลายโครงสร้างทางสังคม โดยเฉพาะระบบความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้าหมู่บ้านกับลูกบ้านของชาวพื้นเมือง ประชาชนต้องถูกใช้แรงงาน และเสียภาษี ถ้าใครไม่เห็นด้วยก็จะถูกจับกุมท ทำให้ชาวนาเกลียดชังระบบการปกครองของฝรั่งเศสมาก ชนชั้นกลางเป็นพวกเดียวที่มีโอกาสส่งลูกหลานของตนให้มีการศึกษาแบบตะวันตก แต่พวกปัญญาชนเหล่านี้จบออกามาแล้วปฏิเสธที่จะทำงานกับฝรังเศส เพราะได้รับค่าจ้างต่ำกว่าชาวฝรั่งเศสในระดับเดียวกันพวกนี้เห็นอกเห็นใจชาวและเร่ิมก่อต้งขึ้นเป็นชวบนการชาตินิยมที่ต่อต้านระบบการปกครองของฝรั่งเศส
               แนวคิดชาตินิยมเป็นแนวคิดที่สืบทอดมาจากการกำเนิดของรัฐชาติแบบสมัยใหม่ ที่มีอาณาเขตพรมแดนของอำนาจการบริหารปกครองกลุ่มชนทุกเผ่าที่มีทั้งวัฒนธรรมตางกันและร่วมหัน โดยพลเมืองของรัฐอยู่ภายใต้รูปแบบการปกครองและระบบกฎหมายเดียวกัน แนวคิดการสถาปนารัฐชาติกำเนิดในภูมิภาคยุโรปในคริสต์ศตรวรรษที่ 18 ผลของการเกิดรัฐชาติก็ปรากฎเป็นแผนที่ที่นำมาสู่การรับรู้เขตแตนที่กำนหดเป็นประเทศต่อมาได้มีผลกระทบต่อแนวความคิดในการแบ่งแยกกลุ่มคนที่อยู่อีกฟากเขตแดนกลายเป็นพวกเขาที่มิใช่พวกเราทั้งๆ ที่ในอดีตคนเหล่านี้อยู่ร่วมวัฒนธรรมเดียวกัน อทาทิ การแบ่งแยกชาวโคชินจีนด้วยสัญชาติฝรั่งเศสออกจากชาวอันนัมสัญชาติเวียดนาม
             แนวคิดพื้นฐาน ในลัทธิชาตินิยมประกอบด้วย ธรรมชาติของมนุษย์ ที่ต้องอยู่ในชุมชนหรือชาติ ที่มีความเป็นอิสระในการสร้างสรรค์ความต้องการของมนุษย์โดยใช้เครื่องมือ เช่น เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ชีวประวัติและเพื่อการใช้ภาษในการสือสารและสร้างความรับรู้ร่วมกัน วัฒนธรรมโรแมนติกที่ทำหน้าทีแทนศาสนาที่ถูกลดบทบาทลงไปในยุคแห่งการรู้แจ้ง ภายหลังยุคกลางของยุโรป รัฐประชาชาติ ชุมชนทางการเมืองของมนุษย์ที่ถือตนเป็นสมาชิกของขาติหรือประชาคมเกียวกัน โดยมีเจตนาราย์ร่วมเห็นเครื่องมือในการพัฒนาศักยภาพ อำนาจอธิปไตยขอ
ปวงชน โดยให้อำนาจประชาชนในด้านการปกครองและการออกกฎหมายเพื่อความอิสระสูงสุด เศรษฐกิจแห่งชาติ ที่เน้นถึงผลประโยชน์ของชาติเป็นสิงสูงสุด และความเป็นอินทรียภาพ คือการมองว่าชาติเป็นหน่วยหนึ่งของสิ่งมีชีวิตที่ต้องพัฒนาตัวเองสู่ความเข้มแข็งเฉกเช่นเีดยวกับชีวิตมนุษย์
              ลัทธิชตินิยมแบ่งได้ 4 ประเภทคือ ชาิตนิยมแนนวเสรี ชาิตนิยมแนวอนุรักษ์ ชาตินิยมขชยายอำนาจและชาตินิยมต่อต้านการล่าอาณานิคม แนวคิดนี้เกิดขึ้นในประเทศที่ถูกจักรวรรดินิยมครอบครอง .โดยการต่อสู้มุ่งไปที่เอกราชและการพัฒนาระบบเศรษฐกิจควบคู่ไปด้วย ดังนั้นการปลกปล่อยชาติจึงดำเนินการเคลื่อนไหวทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ นักชาตินิยมที่ต่อต้านการล่าอาณานิคมจะได้รับการช่วยเหลือทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ นักชาตินิยมที่ต่อต้านการล่าอาณานิคมที่นำระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมมาบริหารอาณานิคม
             ลัทธิชาตินิยมเวียดนามที่ตรงกับประวัติศาสตร์เวียดนามในช่วงฝรั่งเศสปกครองคือลัทธิชาตินิยมต่อต้านการล่าอาณานิคมดังจะเห็นจได้จากใน ค.ศ. 1883 เส้นเขตแดนเวียดนามเริ่มปรากฎชัดเจนขึ้นเมือถูกฝรั้่งเศสยึดครองและเข้าปกครองอย่างสมบูรณ์ การปรากฎของเส้นเขตแดนของแต่ละเคว้นเมื่อฝรั่งเศสนำรูปแบบการปกครองที่ต่างกันมราใช้ปกครองภูมิภาคทั้งสามของเวียดนาม อาทิ ตังเกี๋ย อันนัม และโคชินจีน ซึ่งแคว้นเหล่านี้เคยเป็นศูนย์อำนาจอิสระในการบริหารพลเมืองในอาณาจักร ของเวียดนามในสมัยจารีตเส้นเขตแดนของเวียดนามปรากฎชัดเจนเป็นหนึ่งเกียวเมื่อฝรั่งเศสยึดลาวจากสยามใน ค.ศ. 1893 สรุป่าเขตแดนทุกด้านขงเวียนามได้ถูกกำหนดลงอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้แล้ว และพื้นฐานของแนวคิดชาตินิยมก็ได้กำเนิดขึ้นในดินแดนเวียดนาม
           
 ลัทธิเสรีนิยมเกิดขึ้นครั้งแรกในยุโรป เกิดจากการท้าทายทางความคิดต่อแวคิดรัฐชาติสมัยใหม่ ที่เน้น "การอ้างเหตุผลของรัฐ" เพื่อต้องการแทรกแซงแนวทางปฏิบัติของพลเมืองและองค์กรต่างๆ ซึ่งมุ่งสร้างความมั่นคงและความมั่งคั่งของรัีฐ แต่ในทัศนะของนักคิดเสรีนิยมถือว่า รัฐเป็นสิ่งชั่วร้าย
             การรับแนวคิดเสีนิยมของชาวเวียดนามมีลักาณะพิเศษคือไม่ได้รับจากการศึกษาแนวคิดจากชาวตะวันตกโดยตรงแต่รับผ่านนักคิดจากจีนที่มีอิทธิพลต่อปัญาชนเวียดนามในยุคนั้น การรับแนวคิดชาตินิยมเวียดนามเกิดจากบริบททางประวัติศาสตร์ของเวียดนามในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 29 เป็นบริบทที่ใกล้เคียงกับชาวยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 18 กล่าวคือชาวยุโรปได้ตกอยู่ภายใต้การครอบครองผ่านกลไกต่างๆ ของรัฐชาติ สส่วนชาวเวียดนามถูกครอบครองโดยกองกำลังฝรั่งเศสโพ้นทะเล เมื่อทั้งสอรับแนวคิดเรื่องเสรีภาพ ความเท่าเทียม และความภราดรภาพที่จะนำไปสู่ความเสารีชน จากแนวคิดเหล่านนี้ทั้งชาวยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 18 กล่าวคือชาวยุโรปได้ตกอยู่ภายใต้การครอบครองผ่านกลไกต่างของรัฐชาติ ส่วนชาวเวียดนามถูกครอบครองโดยกองกำลังฝรังเศสโพ้นทะเล เมื่อทั้งสองรับแนวคิดเรื่องเสรภาพ ควาเท่าเทียม และควาภราดรภาพที่จะนำไปสู่ควาเป็นเสรีชน จากแนวคิดเหล่านี้ทั้งชาวยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และชาวเวียดนามในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 จึงยอมรับแนวความคิดแบบเสรีนิยม อย่างไรก็ตามการรับแนวควาิคิดเสรีนิยมและเรื่องราวที่นำไปสู่การต่อต้านอาณานิคมของชาวเวียดนามเป็นไปอย่างช้าๆ เพราะฝรั่งเศสพยายามปิดกั้นเพื่อป้องกันการต่อต้านที่เกิดตามา แต่อย่างไรก็ตามด้วยสภาพภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตติดต่อกันระหว่างภาคเหนือของเวียดนามกับภูมิภาคจีนตอนใต้ การส่งผ่านทางวัฒนธรรมจึงสามารถข้ามผ่านเขตแดนการปกครองที่ปรากฎบนแผนที่ชาติรัฐ ที่รับการพัฒนาเทคโนโลยีการพิมพ์จากตะวันตกเข้ามารอบรับเส้นเขตแดนใหม่ ชนพื้ตเมืองที่ร่วมวัฒนธรรมเดีวกันมีชุมชนในจิตนาการที่ถูกสร้างขึ้นพร้อมๆ กับวัฒนธรรมของภูมิภาค ดังนั้นความสัมัพนธ์ทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของกลุ่มชนบริเวณชายแดนที่มีมานานนับศตงวรรษจึงอยู่เหนือเส้นเขตคแดนที่เพิ่งสร้างโดยเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส วัฒนธรรมร่วมระหว่างคนชายแดนจีนและเวียดนามเกิดจากกรสื่อสารแลกเปลี่ยนปรัชญาจากตะวันตก งานเขียนปรัชญาเมธีที่มีแนวความคิดทางการเมือง ชเ่น รุสโซ วอลแตร์ มองเตสกิเออร์ เฮอร์เบริต สเปนเซอร์ ได้แพร่เข้ามาใจนคนและมีการแปลออกเแ็นภาษาจีน เนื่องจากปัญญาชนเวียดนามสามารถอ่ารนภาษาจีนได้ ปัญญาชนเวียดนามจึงรับแนวความคิดทางการเมืองผ่านงานแปลของปัญญาชนชาวจีน
             แนวคิดสังคมนิยม ปรากฎครั้งแรกในารสารภาษาฝรั่งเศส ซึ่งมีรากฐานมาจากภาษาละติน แปลว่า "รวม"หรือ "ร่วมกัน" ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นคำว่า "สังคม" ที่มีความหมายว่าการ่วมกันทำกิจกรรมของมนุษย์ ส่วนอีกแนวความคิดเชื่อว่าเป็นภาษากฎหมายอขงยุโรปในยุคกลางโดยแปลว่า ควาเ็นเพื่อ หรือสหาย ซึ่งต่อมาพัมนามาเป็นคำว่า "สังคม" ที่หมายถึงการทำสัญญาด้วยความสัมัตรใของเสรีชน ซึ่งการให้ความหมายใหม่นี้ท้าทายความหมายของ "รัฐ" ที่หมายถึงการรวมโดยการใช้อำนาจบังคับ
            ความหมายของคำว่า "สังคมนิยม" ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถูกนำมาประยุกต์เข้ากับระบบการเมืองโดยเน้นถึงการปฏิวัติทางการเมือง และการปฏิวัติทางสังคมท เพื่อมุ่งสู่สงคมแห่งความเท่าเทียมทางชนช้้น โดยแนวคิดสังคมนิยมให้ความสำคัญต่อ ชุมชน ภราดรภาพ ความเสมอภาคทางสังคม ตความจำเป็น ชนชั้นทางสังคม กรรรมสิทธิ์ร่วมและความก้าวหน้าของสังคม
            แนวคิดสังคมนิยม เกิดจาการท้าทายทางความคิดต่อแนวคิดรัฐชาติสมัยใหม่ และแนวคิดเสรีนิยม นักคิดคนสำคัญของแนวคิดนี้ คือ เฮเกล และคาร์ล มาร์กซ์ มี่มุ่งโต้แย้งต่อแนวคิดรัฐชาติสมัยใหม่และแนวคิดเสรีนิยม มาร์กซ์ให้ความสำคัญกับจริยธรรมของนักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์สังคม เขาเสนอว่ารัฐพยายามลดทอกความคิดของมนุษย์และเพ่ิ่มศักยภาพการทำงานของมนุาย์ มาร์กซ์วางกรอบพื้นฐานและตีความบริบทในสังคมมนุษย์ภายใต้การแข่งขันอย่างเสรี ว่าลัทธิเสรีนิยมเป็นปนวทางเศรษฐกิจทีที่จะนำไปสู่ความแตกต่างในสังคมระบบชนชั้นตามลัทธิดาร์วินนิสม์ทางสังคม ซึ่งมองว่าชาติพันะ์ที่แข็งแรงกว่างจะแผ่ขยายขึ้นครอบงำเหนือชาิตพันะ์ที่อ่นแอกว่า ดังนั้นการแข่งขันที่ไม่อยู่บนฐานของความเท่าเทียมจะทำให้ชนชั้นแรงงานและชนชั้นล่างพ่ายแพ้ต่อชนชั้นำ และเมือชนชั้นนำประสบความสำเร็จขเขาก็จะออกกฎหมายเพื่อควบคุมและจำกัดสิทธิของชนชั้นแรงงานนเช่นเดิม โดยมาร์กซ์เสนอทางงออกว่าโครงสร้างของสังคมมนุษย์ที่สองส่วนคือโครงสร้างส่วนบนซึ่งประกอบก้วยระบบกฎหมาย ระบบสังคม ระบบการเมือง ระบบภูมิปัญญาและความคิด และโครงสร้างพื้นฐานวึ่งประกอบด้วยความสัมพันะ์ทางกาผลิตและพลังการผลิต มาร์กซ์ชีวาโครงสร้างพื้นฐานมีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างส่วนบนด้วยวิธีการต่อสู้ทางชนชั้น โดยมีชนชั้นกรรมาชีพเป็ฯหลักในการปฏิวัติสังคม ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อชัยชนะของชนชั้นกรรรมาชีพ
              ชาวเวียดนามรับแนวความคิดสังคมนิยมในในทศวรรษ 1920 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากแนวความคิดชาตินิยมของขบวนการชาตินิยมถูกระบบอาณานิคมท้าทายและไม่สามารถหาทางออกให้กับนักชาตินิยมและชาวเวยดนามได้ แนวความคิดสังคมนิยมจึงถูกนำเข้าสู่เวียดนามโดย โฮจิมินห์ผู้มีประสบการณ์ในโลกตะวันตกและองค์การโคมินเทิร์นตลอดต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20
             ขบวนการชาตินิยมในเวียดนาม 

             ในระยะแรกมีนักชาตินิยมที่คิดจะปฏิรูปประเทศเวียดนามตามแบบสมัยใหม่ คือในปี ค.ศ. 1905 เมื่อญี่ปุ่นได้รับชัยชนะต่อรัสเซีย ปัญญาชนเวียดนามสองคนคือ พาน บอ เช๋า และ พาน เ๋า ติ๋น มีความเห็นว่า วิทยาการและความก้ายหน้าทางเทคนิคจากตะวันตกจะช่วยให้เวียดนามเจริญก้าวหน้าขึ้น หลุดพ้นจากการปกครองอันกดขี่ของฝรั่งเศส และพยายามของความช่วยเหลือจากญี่ปุ่น ในเวลานั้นมีนักชาตินิยมชาวเวียดนามหลายคนที่เดินทางไปญี่ปุ่น ในปี 1913 ได้ตั้งขบวนการชาตินิยร แรกขึ้นมา คือ สมาคมฟื้นฟูเวียดนาม โดยกระตุ้นให้ชาวเวียดนามเกิดความรู้สึกชาตินิยม ต่อต้านฝรั่งเศสและก่อกวนฝรั่งเศส เบ๋า ช๊วน ถูกฝรั่งเศสจับและจำคุก
           ในขณะเดียวกันนี้เอง บรรดาปัญญาชนเวียดนามซึ่งได้รับการศึกษาจากฝรั่งเศส ได้รับอิททธิพลจากข้อเขียน ของ รุสโซ มองเตสกิเออ และวอลแตร์ พวกเขาเหลานี้มีความค้นเคยกับคำว่า เสรีภาพ, ภราดรภาพ และเสมอภาค คำขวัญของการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี 1789 แต่สิ่งเหล่านี้หาไม่พบในการปกครองเวียดนามของฝรั่งเศส ชาวเวียดนามไม่มีเสรีภาพแม้แต่การจะจัดตั้งพรรคการเมือง
            สงครามโลกครั้งที่ 1 ฝรั่งเศสเกณฑ์ชาวเวียนาม 100,000 คน ไปใช้งานในกองทัพฝรั่งเศสในยุโรป คนงานเหล่านีั้ได้ไปเห็นระบบการปกครองในยุโรปและพรรคการเมืองและนำกลับมาเผยแพร่ในเววียดนาม นอกจานั้นพวกนี้ยังได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคออมูนสิต์ของฝรั่งเเศส และรรคคอมมูนิสต์ในฝรั่งเศสสัญญาว่าจะช่วยต่อสู้เรียกร้องเอกราชให้กับเวียดนาม อุดมการ์ของพวกพรรคคอมมูนิสต์เป็นที่ถูกใจคนเวียดนามในเลานั้น
            นอกจากขบวนการชาตินิยมในเวียดนามจะรับอุดมกาณณ์ของพวกคอมมูนิสต์แล้ว ยังมีอิทธิพลจากองค์การทางพุทธศาสนาทำให้เกิดขบวนการปฏิรูปทางพุทธศาสราขึ้น เช่น องค์การเกาได๋ เป็นชบวนการทางพุทธศาสนา ซึ่งมีจุดมุ่งหมายทางการเมืองและต่อต้านฝรั่งเศสโดยใช้วิะีการรุนแรง เพพื่อที่จะฟื้นฟูระบบกษัตริย์ของเวียดนาม โดยไม่ได้ที่จะมุ่งปฏิรูปประเทศเหมือนขบวนการอื่นๆ
            พรรคชาตินิยมเวียดนาม นำโดย เหงียน ไทย ฮอค ในปี 1927  จุดประสงค์คือล้มล้างฝรั่งเศสและตั้งรัฐบาลสาธารณรัฐแบบจน ดดยได้รับการสนับสนุจากพรรก๋กมินตั๋งของจีน เพื่อทำการขับลไล่ฝรั่งเศสออกจากเวียดนาม พรรคนี้มีศูนย์กลางดำเนินงาอู่บริเวณตอนเหนือของเวยดนามมีขอบเขตการดำเนินงานกว้างขวง มีสมาชิกเป็นจำนวนมากได้เตรียมที่จะทำการปฏิวัติต่ิต้านฝรั่งเศสก่อการจลาจล แต่ถูกฝรั่งเศสปราบได้ในระยะเวลาสั้น ฝรั่งเศสทำการกวาดล้างอย่างรุนแรงทำให้พรรคที่เป็นขวยการชาตินิยที่ใหญ่และเป็นพรรคที่ไม่นิยมคอมมูนิสต์ต้องสลายตัวลง ชาวเวยดนามหลายพันคนต้องเสียชีวิต และคนที่รอดตายหลบหนีไปได้ก็หันไปเข้าร่วมจัดตั้งพรรคคิมมิวนิสต์อินโดจีนขึ้น
              พรรคคอมมูนิสต์อินโดจีน เนื่องจากอุดมการ์ของมาร์กซิส และเลนินได้เข้าเผยแพร่ในเวยดนามดังกล่าวแลว และจากการที่พรรคชาตินิยมเวียดนามถูกฝรั่งเศสปราบอย่างรุนแรง ทำให้พวกชาตินิยมยิ่งแสดงความเคลื่อนไหวรุนแรงมากขึ้น และต่อต้านฝรั่งเศสอย่างเปิดเผยภายใต้การนำของ โอ จิ มินต์ เขาได้รับอทธิพลของลัทธิมาร์คและเลนินในระหว่างที่เขาอยุ่ในฝรั่งเศสใรระยะสงครามโลกครั้งที่ 1 และได้ไปอบรมที่เกี่ยวกับปัญหาอาณานิคมในฐานะที่เขาเป็นสมาชิกพรรคออมูนิสต์ของฝรั่งเศส โฮจิมินห์ได้กลับมาจัดตั้งพรรคอมมูนิสต์เวียดนามขึ้นในฮ่องกง มีชื่อว่า พรรคคอมมูลนิสต์อินโดจีน โดยวางเป้าหมายเพื่อเกอราชของเวียดนามเป็น 2 ขั้นคือ
             - เพื่อให้เวยดนามเป็นรัฐประชาธิปไตยของชชั้นกลาง
             - ทำการปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ
              พรรคคอมมูนิสต์อินโดจีนดำเนิงานได้ผลดีและมั่นคงกว่าพรรคชาตินิยมเวียดนาม เพราะได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การคอมมูนิสต์สากล ได้รับความช่วยเหลือจากรัศเซีย และพรรคคอมูนิสต์จีน จนสามารถจัดตั้งองค์กรชาวนาขึ้นทั่วประเทศได้ โดยเฉพาะในอันนัม และตังเกี๋ย ได้ชักชวยให้ชาวนาและกรรมกรก่อความวุ่นวายขัดขวางการปกครองของฝรั่งเศส ฝรั่งเศสปราบปรามอย่างรุนแรง พรรคคอมมูนิสต์จึงซบเซาลงไปชั่วระยะหนึ่ง โอจิมินห์หนีไปอยู่ฮ่องกง ถูกดังกฤษจับได้แลต่อมาเขาก็หนีไปมอสโคว์ พรรคคอมมูนิสต์ก็ยุติบทบาทของตนเองลง กระทั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 ยี่ปุ่นเข้ายึดครองเวียดนาม พรรรคอมมูนิสต์จึงได้รื้อฟื้นอำนาจขึ้นใหม่
            ในระยะนี้เกิดคอมมูนิสต์กลุ่มใหม่ทางตอนใต้ของเวียดนาม จักรวรรดิเบาได๋ซึ่งเป็นจัพรรดิที่ฝรัง่เศสตั้งให้เป็นผุ้นำเวียดนามได้กลับจากศึกษาต่อต่างประเทศ ก็มีผุ้ติดตามเข้ามาสองคนเป็นปัญญาชนทึ้งคู่ คือ ทราน แวน กิอัว ซึ่งจบการศึกษาได้จัดตั้งกลุ่มทรอตสกี้ขึ้น พวกคอมมูนิสต์มีเสรภาพในการดำเนินการได้อย่างเปิผยใรระยะนี้ เนื่องจากรัฐบาลใหม่ของฝรั่งเศสเป็นพรรคแนวร่วมประชาชน ซึ่งมีกลุ่มสังคมนิยม และคอมมูนิสต์รวมอู่ด้วย ทำให้ลัทธิคอมมูนิสต์แพร่หลายไปทั่วประเทศ พรรคแนวร่วมประชาชนซึ่งเป็นรัฐบาลของฝรั่งเศสสลายตัลว พรรคคอมมูนิสต์ในฝรั่งเสสถูกกำจัด เป็นผลต่อพรรคอมมูนิสต์ในเวียดนามด้วย กลุ่มคอมมูนิสต์ของ กิอั ได้ก่อการจลาจล ทำให้ฝรังเศสปราบอย่งรุนแรง พวกคอมมูนิสต์จึงต้องไปดำเนินการใต้ดินต่อต้านฝรั่งเสส
           ญี่ปุ่นเข้ายึดครองอินโดจ โดยต้องการมีชัยชนะเหนือจีแนและมหาอำนาจตะวันตำ โดยต้องการหาแหล่งทรัพยากรเป็นปัจจัยที่จะใช้ในกาองทัพของญี่ปุ่น ญี่ปุ่นได้ล้มล้างรัฐบาลฝรั่งเศสในอเนโดจีนลง และตั้งรับบาลขึ้น ดดยมีจักรพรรดิเบาได๋เป็นประมุขภายใต้การควบคุมของญี่ปุ่น และหใ้ แตาน ตรง คิม เป็นายกรัฐมนตรี คณะรัฐบาลนี้เ่ากับเป็นรัฐบาหุ่น ของญี่ปุ่นนั่นเอง ญี่ปุ่นได้มีอไนาจค่บคุมอยู่ในบริเวณโคลินไชน่า ซึ่งเป็นอู้ข้าวุโน้ำสำคัญ ่วนเขตอื่นญีปุ่นไม่่อยควบคุม จึงเปิดโอกาสให้พวกคอมมูนิสต์ เข้ายึดครองทางตอนเหนือของเวียดนาม รัฐบาลก๊กมินตั๋งของจีนได้ใไ้ความช่วยเหลือโฮจิมินห์ จัดตั้งสันนิบาตเพื่อเอกราชของเวียดนามขึ้น หรือ เวียดมินต์ ระหว่างปลายปี 1942 31945 ได้ยึดครองดินแดนในลุ่มแม่น้ำแดงจากญี่ปุ่น และประกาศเขตปลดปล่อยขึ้นในเดวียดนามเหนือและเมือ่ญี่ปุ่นประกาศให้เอกราชจอมปลอมแก่เวียดนาม ในปี ค.ศ. 1945 โดยมีจักพรรดิเบาได๋ เป็นผุ้นำรัฐบาลหุ่น ดังนั้น เวียดมินห์จึงประกาศไม่ยอาบรัฐบาลของจักพรรดิเาได๋ และจัดตั้งรัฐบาลขึ้นในเวยดนามเนหือ ในวันที่ 2
กันยายน  1945 และลงมายึดเขตแดนทางใต้ในเขตยึดครองของญี่ปุ่นได้ในขณะที่ญี่ปุ่นกำลังจะแพ้สงครามโดยคาดว่าเมื่อสิ้นสุดสงคราสโลกครั้งสองแลงวมหาอไนาจางๆ ต้องปล่อยเลยจตคามเลย ให้โฮจิมินห์ปกครองประเทศในช่วงที่มีช่วงว่าทางการเมือง แต่โฮจิมินห์คากการ์ผิด ภายหลังสงครามโลกครั้ง
ที่สอง อังฏฟษเข้าปลดอาวุธญี่ปุ่นทางใต้และจนปลดอาวุธที่ญี่ปุ่นทางเหนือ พวกเวียดนามยังคงเป็นที่ยอมรับของจีนและประชชนในเวยดนามเหนือ แต่กอังกฤษกลับปล่อยให้ฝรั่งเศสกลับเข้าปกครองทางใต้ตามเดิม ขณะที่เวียดมินห์กำลังปราบพวกกุล่มชาตินิยมดทีที่ไม่ยอมเข้าร่วมกับพวกตน ฝรั่งเศสเลยฉวย
โอกาสเข้ายึดเวียดนามทางใต้และเกิดจลาจลขึ้นในหมู่ชาวเวียดนามที่ไม่ชอบฝรั่งเศส เวียดมินห์คุมสถานการณ์ไม่อยู่ใรเดอืนตุลาคา 194 ฝรั่งเศสก็สามาถยึดดินแดนใต้เส้นขนานที่ 16 คือนมา และประกาศไม่ยอรับรัฐบาลของพวกเวียดมินห์ เวียดมินห์ได้จัดการบริหารในเวียดนามตอนเหนือได้เรียบร้อยดี แต่มีปัญหาเรื่อขุนศึกจีนที่อยู่ในเวียดนามเหนือ เวียดมินห์จึงยอมเจรจากับฝรั่งเศสเพื่อหใ้ฝรังเศสรับรองรัฐบาลของพวกเวียดมินห์ในเวียดนามเหนือ แต่การเจรจาทางการทูตระหว่งเหวียดมินห์กับฝรั่งเศสล้มเหลว ทำให้เกิดสงครามขึ้นระหว่างฝรั่งเศสกับเวียดมินต์ คือสงครามอินโดจีน


                  - "ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยสังเขป" ผศ.ศิวพร ชัยประสิทธิกุล.
                  -  "ขบวนการชาตินิยมเวียดนาม กรณีศึกษาขบวนการชาตินิยมซุยเติน ค.ศ.1904-1925", สารนิพนธ์ ของ กฤษณะ ทองแก้ว, 2550.

           

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Nationalism

           ชาตินิยม Nationalism คืออุดมการณ์ที่สร้างและบำรุงรักษาชาติในลักษณะที่เป็นมโนทัศน์ แสดงอัตลักษณ์ ของกลุ่มของมนุษย์ ตามบางทฤษฎี การรักษาลักษณะพิเศษของอัตลักษณ์ การเป็นอิสระในทุกๆ เรื่อง การกินดีอยู่ดี และการชื่นชมควมยิ่งใหญ่ของชาติตนเอง ล้วนจัดว่าเป็นคุณค่าพื้นฐานของความเป็นชาตินิยม
           นักชาตินิยมวางพื้นฐานของความเป็นชาติอยู่บนแนวคิดเกี่ยวกับความชอบธรรมทางการเมืองหลายๆ ประการโดยความชอบธรรมนั้นอาจสร้างขึ้นผ่านทางทฤษฎีโรแมนตกิของ "ดัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม" การให้เกตุผลเชิงเสรีนิยมที่กล่าวว่า ความชอบธรรมทางการเมืองนั้น เกิดจากการยอมรับของประชากรในท้องถ่ินนั้นๆ หรืออาจจะเป็ฯการผสมผสานระหว่างสองสิ่งนี้ การใช้คำว่า ชาติดนิยม ในสมัยใหม่ มักหมายถึงการใช้อำนาจทางการเมือง(และทหาร) ของกลุ่มชาตินิยมเชิงชาติพันธุ์ หรือเชิงศาสนา นักรัฐศาสตร์โดยทั่วไปแล้วมีแนวโน้มที่จะวิจัยและมุ่งเป้าไปที่รูปแบบสุดขั้วของชาตินิยมซึ่งมักเกี่ยวข้องกับสังคมนิยมเชิงชาตินิยม การแบ่งแยกดินแดน และอื่นๆ
           เสรีนิยม Liberalism เป็นปรัชญาการเมืองหรือมุมมองทางดลกซึ่งตั้งอยู่บนความคิดเสรีภาพและความเสมอภาค นักเสรีนิยมยอมรับมุมมองหลากหลายขึ้นอยู่กับความเข้าใจหลักการเหล่ารนั้น แต่โดยทั่วไปสนับสนุนความคิดอย่างเสรภาพในการพูดเสรีภาพสื่อ เสรีภาพทางศาสนา ตลาดเสรี สิทธิพลเมือง สังคมประชาธิปไตย รัฐบาล ฆราวาส ความเสมอภาคทางเพศและการร่วมือระหว่างประเทศ
          เสรีนิยม เป็นขบวนการทางการเมืองต่างหากระหว่งยุคเรืองปัญญา เมื่อได้รับความิยมในหมู่นักปรัญาและนักเศรษฐศาสตร์ในโลกตะวันตก เสรีนิยมปฏิเสธความคิดซึ่งสามัญในเวลานั้น เช่น เอกสิทธิ์แบบสืบเชื้อสาย ศาสนาประจำชาติ สมบูรณาญาสิทธิราชและเทวสิทธิ์ของกษัตริย์ มักยกย่อง จอห์น ล็อก นักปรัชญาสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ว่าเป็นผู้ก่อตั้งเสรีนิยมเป็นพระเพณีและมุ่งเปลี่ยนสมบูรณาญาสิทธิ์ในการปกครองเป็นประชาธิปไตยแบบมีผุ้แทน และหลักนิติธรรม
           นักปฏิวัติผู้โด่งดังในการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ การปฏิวัติอเมริกา และการปฏิวัติฝรั่งเศสใช้ปรชญาเสรีนิยมเพื่ออ้างความชอบธรรมการโค่นสิ่งที่มองว่าเป็นการปกครองทรราชด้วยอาวุธ เสรีนิยมเริ่มลามอย่างรวดเร็วโยเฉพาะหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีการตั้งรัฐบาลเสรีนิยมในประเทศต่างๆ ทั้งในทวีปยุโรป อเมริกาใต้และอเมริกาเหนือในช่วงนี้คู่แข่งอุดมการณ์หลัก คือ อนุรักษนิยม แตะภายหลังเสรีนิยมรอดการท้าทายทางอุดมการณ์สำคัญจากคู่แข่งใหม่อย่างฟาสซิสต์และลัทธิคอมมิวนิสต์ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความคิดเสรีนิยมยิ่งลามอีกเมื่อประชาธิปไตยเสรีนิยมเป็นฝ่ายชนะสงครามโลกทั้งสองครั้ง ในทวีปยุโรปและอเมริกาการสถาปนาเสรีนิยมสังคม เป็ฯองค์ประกอบสำคัญของการขยายรัฐสวัสดิการ ปัจจุบันพรรคการเมืองเสรีนิยมยังครองอำนาจและอิทธิพลทั่วโลก
           รัฐชาติ Nation state หรือเรียกว่ารัฐประชาชาติ เป็นรูปแบบหนึ่งอันแน่นอนของหน่วยการปกครองระดับประเทศในปัจจุบัน เปนมโนทัศน์ทางรัฐศาสตร์ที่กำหนดว่าประเทศนั้นมีองค์ประกอบสามประการ คือ มีประชากรแน่นอน มีดินแดนแน่นอน และมีรัฐบาลหรืออำนาจอธิปัตย์แน่นอนเป็นของตนเอง ซึ่งเป็นมโนทัศน์ที่จำแนกประเทศในอดีตออกจากประเทศในปัจจุบัน เนื่องจากในอดีตนันมโนทัศน์ เช่นนี้หามีความแน่นอนไม่ อาทิ สยามเดิมมิได้มีอาณาเขตแน่นอน ขยายออกหรือหดเข้าได้ตามอำนาจของพระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาล กับทั้งประชากรก็ไม่แน่นอน ในยามชนะสงครามมักมีการอพยพเทครัวชนชาติอื่นเข้ามาในแว่นแคว้นของตน เป็นต้น เนื่องจากความหลากความหมายของคำ "รัฐ" เช่นรัฐในสหรัฐอเมริกาที่มีระดับเป็นหน่วยการปกครองย่อยๆ จึงมีการประดิษฐ์คำ "รัฐชาติ" ขึ้นในห้หมายถึงประเทศที่เป็หน่วยการปกครองใหญ่ดังมีองค์ประกอบข้าต้นเท่านั้น
         สงครามโลกครั้งที่ 2 ... ความสำเร็จของเยอมนีในทวีปยุโรปได้กระตุ้นให้ญี่ปุ่นพิ่มการกดดันต่อรัฐบาลยุโรปเอเชียตะวันออกเฉียงใตจ้ รัฐบาลดัตช์ยินยิมที่จะส่งมอบทรัพยากร้ำมันจากหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์ แต่ปฏิเสธที่จะยินยิมให้ญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงทางการเมืองภายในอาณานิคม ตรงกนข้ามกับฝรั่งเศสเขตวีซี ซึ่งยินยอมให้ญี่ปุ่นยึดครองอินโดจีนฝรั่งเศส รัฐบาลสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรและประเทศตะวันตกตอบโต้การยึดครองดังกล่าวด้วยการอายัดทรัพย์สินของญี่ปุ่น ในขณะที่สหรัฐอเมริกา (ซึ่งญี่ปุ่นอาศัยนำเข้าน้ำมันเป็ฯปริมาณกว่า 80 ) ตอบสนองโดยการห้ามขนส่งน้ำมันไปยังญี่ปุ่นอย่างสมบูรณ์ ญี่ปุ่นถูกบีบให้เลือกว่าจะล้มเลิกความทะเยอะทะยานในการจึดครองทวีปเอเซียและหันกลับไปดำเนินการรบในจีนต่อไป หรือเข้ายึดแหล่งทรัพยากรที่ต้องการด้วยกำลังทหาร กองทัพญี่ปุ่นไม่พิจารณาถึงทางเลือกแรก และนายทหารระดับสูงจำนวนมากพิจารณราว่าการห้ามขนสงน้ำมันไปยังญี่ปุ่นเป็นการประกาศสงครามโดยนัย
         ญี่ปุ่นได้วางแผนในการยึดครองอาณานิคมของชาติยุโรปในทวีปเอเชียอย่างรวดเร็ซเพื่อที่จะสร้างแนวป้องกันขนาดใหญ่ซึงลากยาวฝ่านมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลาง เพื่ออำนวยความสะดวกในการแสวงหาทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างอิสระขณะทำสงครามป้องกันตนเองจนทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรที่ต้องสู้รบเป็นอาณาบริเวณกว้างเหนื่อยล้า และเพื่อการป้องกันการเข้าแทรกแซงของภายนอก ญี่ปุ่นจึงพยายามวางแผนที่จะทำลายกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาเป็นอันอับแรก ญี่ปุ่นโจมตีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลางในเวลาเดียวกัน รวมไปถึง โจมีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ล และยกพลขึ้นบกในไทยและมาลายา ทำให้สหรัฐอเมริกา สหรราชอาณาจักร ออสเตรเลีย จีน และฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกประกาศสงครามกับฐี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ
          วงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา The Greater East Asia-Prosperity Sphere เป็นความพยายามของญี่ปุ่นที่จะรวบรวมและสร้างแนวป้องกันแห่งชาติเอเชียเพื่อหลุดพ้นจากอิทธิพลของชาติตะวันตก โดยเป็นความคิดริเริ่มของนายพล ฮะชิโร อะริตะ ซึ่งในขชณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเ?สและมีอุดมการณ์ทางการทหารอย่างแรงกล้าที่จะสร้างมหาเอเชียตะวันออก "Greater East Asia"
          ในระหว่างที่สงครามกลังดำเนินอยู่นั้น ญี่ปุ่นได้พยายามโฆษณาชวนเชื่อ โดยมีประโยคที่ว่า "เอเชียเพื่อชาวเอเชีย" โดยเนื้อหานั้นจะพูดถึงเกี่ยวกับการปลกปล่อยชาติในเอเชียให้หลุ่มพ้นจากลัทธิจักรวรรดินิยม โดยการบุกประเทศเพื่อนบ้านและขัยไล่ทหาร อังกฤษ ฝรั่งเศสและอเมริกา ออกไปจากภูมิภาคนี้
         ... ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถูกกองทัพญี่ปุ่นเข้ายึดครอง ญี่ปุ่นเข้ามาพร้อมกับแนวคิดในการปลดปล่อยชาติในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ให้เป็ฯเอกราชจากชาติตะวันตก เพื่อให้เข้ามาอยู่ใน ไวงศ์ร่วมพไบูลย์มหาเอเบียบูรพา" ขบวนการชาตินเยมเพื่อต่อต้านตะวันตกจึงได้รับกสนับสนุนจากกองทัพญี่ปุ่นในขณะเดียวกันก็เกิดชยงนการชาตินิยมที่ต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นพร้อมๆ กับการต่อต้านจักรวรรดินิยม ขบวนการคอมมิวนิสต์ได้ใช้เรื่องชาตินิยมสร้างแรงสนับสนุนจากชาวพื้นเมือง..

The Wars

          สงครามโลกครั้งที่ 1 หากพิเคราะห์เหตุความขัดแย้งที่เป็นเหตุที่ทำให้เกิดสงครามนั้น ก็จะเห็นได้ว่า ความขัดแย้งโดยแท้จริงนั้นเกิดเฉพาะประเทศในยุโรป  อันเกิดจากลัทธิชาตินิยมและการสิ้นสุด หลังจากที่ฝรั่งเศสพ่ายแพ้แก่ปรัสเซีย ในสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย นำมาซึ่งการสถาปนาอาณาจักรเยอรมันในเวลาต่อมา เกิดลัทธิชาตินิยมในหมู่ชาวฝรั่งเศส รวมไปถึง ชาวเยอรมัน ชาวอิตาลี ที่มีการรวมชาติหลังจบสงครามฝรั่งเศสปรัชเซีย รวมถึงชาวสลาฟในคาบสมุทรบอลข่าน การแข่งขันกันทางด้านการค้าเสรี การสแวงหาอาณานิคมเจริญถึงที่สุดในตอนต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ทำให้ ทวีปเอเชยและทวีปแอฟริกาตกเป็นอาณานิคมของชาวยุโรปเกือบทั้งหมด แบ่งเป็นอินแดนในอแฟริกาตกเป็นอาณานิคมของ อังกฤษ ฝรั่เศส  ดัตช์ (เนเธอร์แลนด์) เยอรมนี อิตาลี เบลเยียม และโปรตุเกส ทวีปเอเชียอังกฤษครอบครอง อินเดีย พม่า มลายู บอร์เนียว ออกสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ฝรั่งเศสปกครองลาว เขมรญวน รวมเป็นอินโดจีนฝรั่งเศส ตะวันออกกลางเป็นดินแดนแข่งขันอิทธิพลระหว่างอังกฤษ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต และตุรกี การแข่งขันกันทางด้านนี้จึงทำให้การมีอาณานิคมเป็นเครื่องมือความยิ่งหใญ่ ของชาติ ชาวยุโรป จึงได้มีการตกลงแบ่งเขตอิทธิพลในที่ต่างๆ เืพ่อไม่ใหมีปัญหาขัดแย้งกัน ภายหลัง
              มหาอำนาจแตกแยกเป็น 2 ฝ่าย แบ่งเป็น เยอรมนี ออสเตรีย- ฮังการีผเป็นจักรวรรดิที่มี ระบอบการปกครองแบบควบคู่ และอิตาลี ได้ทำสนธิสัญญาพันธไมตรีไตรภาคี ฝรั่งเศส รัศเซีย และอังกฤษ เกิดเป็นกลุ่ม ประเทศความตกลงไตรภาคี มหาอำนาจทั้ง 2 กลุ่มมีการโน้มน้าวประเทศ อื่นๆ มาเป็นพันธ์มิตร เมื่อเกิดข้อขัดแย้งต่างๆ ประเทศในกลุ่มพันธมิตรก็จะมาช่วยกันในการทำสงคราม ความไม่มั่นคงทางการเมืองในคาบสมุทรบอลข่าน การเกิดสงครามระหว่างบัลแกเรีย-เซอร์เบีย กรีซ  หลังจากสงครามทำให้เซอร์เบียเป็นแค้วนที่มีอิทธิพลมากที่สุดในกลุ่มชาวสลาฟ
             เมื่อรัชของออสเตรีย-ฮังการีและพระชายถูกลอบปลงพระชนม์ ดดยชาวบอสเนย ซึ่งมีเชื่อสายเซอร์เบีย เหตุเพราะโกรธแค้นที่จักรวรรดิ์ออสเตรีย-ฮังการีเข้ายึดครองบอสเนย และขัดขวางการรวมตัวของชาวสลาฟกับเซอร์เบีย มือสังหารถูกจับกุมทันที่หลังลอบปลงพระชน
 ออสเตรีย-ฮังการี ประกาศสงครามกับเซอร์เบีย เยอรมนีเข้าร่วมกับออสเตรีย-ฮังการี รัสเซียเข้าร่วมกับเซอร์เบีย อังกฤษและฝรั่งเศสเข้ามาช่วยจากการทำพันธะสัญญากับรัสเซีย
             สงครามโลกครั้งที่ 1 หรือมักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" ก่อน ค.ศ. 1914 เป็นสงครามใหญ่มีศูนย์กลางในยุโรประหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ.1914-11 พฤศจิการยน ค.ศ. 1918
              ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อเกิดสงคราม ไทยังคงยึดมั่นอยู่ในความเป็นกลาง แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสัเกตุความเคลื่อนไหวของคู่สงครามอย่างำกล้ชิดการสงครามได้รุนแรงขึนเป็นลำดั ทรงเห็นว่าฝ่ายเยอรมนีเป็นฝ่ายรุกราน จึงทรงตัดสินพระทัยประกาศสงครามกับเยอมนี และออสเตรีย-ฮังการี แล้วประกาศเรียพลทหารอาสา สำหรับกองบินและกองยานยนต์ทหารบก เพื่อส่งไปช่วยสงครามยุดรป การส่งทหาไปรบครั้งนี้ นับว่าเป็นประโยชน์ เพราะเท่ากับได้เรียรู้วิชาการทางเทคนิคการรบ และการช่างในสมรภูมิ
            หลังจบสิ้นสงคราม สัมพันธมิตรเป็นฝ่ายชนะ ประเทศไทยได้ส่งผุ้แทนเข้ประชุม ณ พระราชวังแวร์ซาย ด้วยผลพลอยได้จากการเข้าสงครามนี้ ก็คือ สัญญา ต่างๆ ที่ไทยทำ กับเยอรมนี และออสเตรีย - ฮังการี ย่อมสิ้นสุดลง ตั้งแต่ไทยประกาศสงครามกับประเทศ นั้น และไทยก็ได้พยายามของเจรจา ข้อแก้ไขสนธิสัญญาฉบับเก่า ซึ่งทำไว้กับอังกฤษฝรั่งเศส และชาติอื่นๆ แต่ก็ประสบควายากลำบากอย่างมาก อาศัยที่ไทยได้ความช่วย เหลือ จากดร. ฟราน ซิส บีแซยร์ ชาวอเมริกา ซึ่ง เคยเป็นที่ปรึกษา ต่างประเทศ จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็นพระยากลัยา ณไมตรี ในที่สุ ประเทศต่างๆ 13 ประเทศ รวมทั้งอังกฤษ ตามสนธิ สัญญา พ.ศ. 2468 และ ฝรั่งเศส ตามสนธิสัญญ พงศ. 2467 ตกลงยอมแก้ไขสัญญา โดยมีเงื่อนไขบางประการ เช่น จะยอมยกเลิกอำนาจศาลกงสุล เมื่อ ไทยมีประมวลก
ำหมายครอบถ้อย และยอมให้อิสรภาพ ในการเก็บภาษีอากร ยกเว้น บางอย่างที่อังกฤษขอลดอย่นตอไ ปอี 10 ปี เช่น ภาษี สินค้า ฝ้าย เหล็ก ไทยพยายามเร่งชำระประมวลกฎหมายต่างๆ ต่มาจนแล้วเสร็จ และเปิดการเจรจาอีกครั้งหนึ่ง ในที่สุดประเทศต่างๆ ก็ยอมทำสัญญาใหม่ กับไทย ไทยจึงได้อิสรภาพทางอำนาจศาลและภาษีอากร คือมาโดยสมบูรณ์
           สงครามโลกครัั้งที่ 1 นำมาซึ่งกาเปลี่ยนแปลงดินแดนอย่างใหญ่หลวงในยุโรป ด้วยความพ่ายแพ้ของฝ่ายมหาอำนาจกลาง รวมทั้งการล่มสลายของรัฐจักรวรรดิที่สำคัญ ได้แก่ จักรวรรดิเยอรมัน จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และจักวรรดิออกตโตมัน ตลอดจนจักรวรรดิรัสเซีย ขณะเดียวกัน ความสำเร็จของฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งประกอบด้วยสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา อิตาลี เซอร์เบียและโรมาเนีย รวมถึงการก่อตั้งรัฐใหม่หลังจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี รัสเซียและออตโตมันล่มสลาย หลังสงคราม ชาตินิยม อุดมการณ์เรียกร้องดินแดน และลัทธิแก้แค้น กลายมามีความสำคัญในหลายประเทศยุโรป อุดมการณ์เรียกร้องดินแดนและลัทธิแก้แค้นแรงกล้ามากในเยอรมนี เพราะเยอมนีถูกบังคับตามสนธิสัญญาแวร์ซาย เป็นผลให้เอยรมนีเสียดินแดนของประเทศไปร้อยละ 13 รวมทังอาณานิคมโพ้นทะเลทั้งหมด การรวมเยอมนีเข้ากับประเทศอื่นถูกห้าม ซึ้งต้องแบกภาระชำระค่าปฏิกรรมสงครามมหาศาล และถูกจำกัดขนาดและขีดความสามารถของกองทัพอย่างมาก ขณะเดียวกัน สงครามกลางเมืองรัสเซีย ได้นำปสู่การก่อตั้งสหภาพโซเวียต นำโดยพรรคบอลเซวิค ภายใต้การปกครองระบอบคอมมิวนิสต์
         สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นความขัดแย้งทางทหารระดับโลก ตั้งแต่ปี ค.ศ.1939-1945 ซึ่งเกี่ยวข้องกับประเทศส่วนใหญ่ในโลก รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด ประเทศผุ้ร่วมสงครามรวมตัวกันเป็ฯพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธ์มิตรทางทหารคู่สงคามสองฝ่าย คือฝ่ายสัมพันธมิตร และ ฝ่ายอักษะ ระหว่างสงครามมีการระดมทหารกว่า 100 ล้านนาย ด้วยลักษณะของสงคราม "สงครามเบ็ดเสร็จ" ประเทศผุ้ร่วมสงครามหลักได้ทุ่มเอทขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์เพื่อความพยายามของสงครามทั้งหมด โดยลยเส้นขีดแบ่งระหว่งทรัพยากรของพลเรือนหรือทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่่สุด และนองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ประเมินกันว่ามีผุ้เสียชีวิตระหว่าง 40-มากกว่า 70 ล้านคน
         ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้เกิดสงครามในระดับโลกถึงสองครั้ง โดยสงครามโลกคร้งแรกเป็นสงครามที่เกิดขี้นเฉพาะในยุโรปเ็นสำคัญเท่านั้น แต่ในสงครามดลกครั้งที่สองนับได้ว่าเป็นสงครามที่ลุกลามไปทั่วโลกอย่างแท้จริง และพบว่าสงครามโลกทั้งสองครั้งมีความแตกต่างกันอยู่หลายประการที่เดียว
         สงครามโลกครั้งที่สองกลายเป็นการรบซึ่งตั้งอยุ่บนแนวคิดพื้นฐานสองประการซึ่งแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ฝ่ายหนึ่ง คือ ฝ่ายหนึ่งต้องการจะเปลี่ยนแปลงโลกใหม่ (ฝ่ายอักษะ)และอีกฝ่ายี่พยายามจะรักษาแนวทางเดิมของโลกเอาไว้ (ฝ่ายสัมพันธมิตร) หรือกาจแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มตามอาณานิคมและทรัพยากรธรรมชาติในครอบครองของตน ได้แก่ "กลุ่มประเทศมี" (Have Countries) กับ "กลุ่มประเ้ทศไม่มี" (Have not Countries) อย่างไรก็ตาม พันธมิตรทางทหารทั้งสองฝ่ายก็มิได้ให้ควารวมมือกันอย่างแน่นแฟ้นมากนัก เพราะทั้งสองฝ่ายเพียงร่วมมือกันระหว่างประเทศคู่สงครามเพื่อทำลายอีกคู่สงครามฝ่ายลงอย่างรอบคาบเท่านั้น
         การรบในสงครามโลกครั้งที่สองนั้นมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งยุทธศาสตร์ ยุทโธปกรณ์และยุทธวิธี จนมีนักประวัติศาาสตร์ผุ้หนึ่งกล่าวไว้ว่า สงครามโลกครั้งที่สอง "เป็นการรบที่กระทำอย่างกะทันหันโดยปราศจากการวางแผนอย่างยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ เพราะไม่อาจกำหนดได้อย่างชัดเจนวว่าที่ใดคือจุแตกหักของสงคราม อาวุธใดโดดเด่นที่สุดในสงครามและข้อสรุปทางประวัติศาสตร์อื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก
          หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง ทวีปยุโรปไม่เหลือพลังอำนาจที่จะดำเนินนโยบายของตนในภูมิภาคอื่นๆ ของโลกได้อีกต่อไป ดังที่เห็นได้จากสถานการณ์ของฝ่ายสัมพันธมิตรกลับมาเป็นฝ่ายได้เปรียบฝ่ายอักษะหลังสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตเข้าสู่สงคราม ดังนั้น สหรัฐอเมริกาและสภาพโซเวียตจึงก้าวขึ้นเป็นสองประเทศอภิมหาอำนาจที่ดำเนินนโยบายของโลกในเวลาต่อมา
         
           
                          (www.th.wikipedia.org/.., สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)
                          (www.th.wikipedia.org/..,สงครามโลกครั้งที่สอง)
                          (knowleadge.eduzone.com/.."ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 1)
                          (www.slidesshare.net/.."ความขัดแย้ง (สงครามโลกครั้งที่ 1/ สงครามโลกครั้งที่ 2/ สงครามเย็น)

วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Thai_Tai

             "There are only four countries that escaped European colonialism, completely. Japan and Korea successfully staved off European domination, in part due to their strength and diplomacy, their isolationist policies, and perhaps their distance. Thailand was spared their distance.Thailand was spared when the British and French Empires decided to let it remained independent as a buffer between British-controlled Burma and French Indochina.Japan, However, colonized both Korea and Thailand itself during its early-20th-century  imperial period.
             "มีเพียง 4 ประเทศเท่านั้นที่ไม่ถูกยึดครองไม่ว่าในรูปแบบใดเลย ได้แก่ ญี่ปุน และเกาหลี(เหนือ-ใต้) นั้นรอดพ้นจากการถูกยึดครองโดยชาติยุโรปด้วยนโยบายโดเดียวตนเอง ส่วนหนึ่งก็ต้องยกเครดิตให้กับความเข้มแข็งและนโยบายทางการทูต..บางที่อาจจะรวมไปถึงข้อได้เปรีบบทางภูมิศาสตร์
              ไทยแลนด์นั้นถูกยกเว้นเอาไว้ไม่ถูกยึดครอง เนื่องจากเป็นการตกลงร่วมกันระหว่าง 2 มหาอำนาจได้แก่อังกฤษและฝรั่งเศส อังกฤษนั้นยึดครองพม่าไว้ทั้งหมด ส่วนฝรั่งเศสยึดครองอินโดจีนไว้ทั้งหมด
              แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งไทยและเกาหลี ก็ล้วนแล้วแต่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของญี่ปุ่น ในสมัยที่ญี่ปุ่นปกครองโดยระบอบจักรพรรพิ์ช่วงศตวรรษที่ 20"
             "Entente cordiale 8 April 1904. The final declaration  concerned Siam (Thailand), Madaascar and the New Hebrides (vanuatu).In Siam, the British recognised a French sphere of influennce to the east of the River Menam's basin;in turn, the French recognised British influence over the territory to the west of the Menam basin. Both parties disclaimed any idea of annexing Siamese territory.
             อังกฤษยอมรับอิทธิพลของฝรั่งเศสในพื้ที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และฝรั่งเศสก็ยอมรับอิทธิพลของกฤษที่ฝั่งตะวันตก(ฝั่งซ้าย) และทั้งคู่ตกลงจะไม่สนใจที่จะนำสยามเป็นเมืองขึ้น..(http//pantip.com "โลกนี้มีเพียง 5 ประเทศที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของชาติยุโรปและไทยเป็น 1 ในนั้น)
         
              การสูญเสียแผ่นดินครั้งทั้ง 14 ครั้งของไทย

           
                  การเสียดินแดนในสมัยกรุงรัตนโกสินต์ ในครั้งแรกเสียดินแดน (ปีนัง)ให้กับอังกฤษในสมัยรัชกาลที่ 1 ครั้งที่ 2 มะริด ทวาย ตะนาวศรี ให้กับพม่า ในสมัยเดียวกัน 3 บันทายมาส (ฮาเตียน) ให้กับฝรั่งเศส สมัยรัชกาลที่ 2, 4) แสนหวี เมืองพง เชียงตุง ให้กับพม่า เป็นดินแดนที่ตีได้จาพม่ามนสมัยรัชกาลที่ 1, 5) รัฐเปรัค เสียให้กับอังกฤษ ในรัชสมัยเดียวกันในระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี 6) สิบสองปันนา ในกับจีน เมืองเชียงรุ้งเป็นเมือง หลวงของไทยสมัยรัชกาลที่ 1 ต่อมาเกิดการแย่งชิงราชสมบัติกันเอง แสนหวีฟ้า มหาอุปราชหนีลงมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เกณฑ์ทัพเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน ไปตีเมืองเชียงตุง(เมืองหน้าด่านเชียงรุ้ง) แต่ไม่สำเร็จ และในสมัยรัชกาลที่ 4 ยกไปตีอีกครั้งแต่ไม่สำเร็จจึงต้องเสียให้จีนไป ครั้งที่ 6 เสียเขมรและเกาะ 6 เกาะให้กับฝรั่งเศส ในสมัยรัชกาลที่ 4 ฝรั่งเศสบังคับให้เขมรทำสัญญารับความคุ้มครองจากฝรั่งเศส หลังจากนั้นได้ดำเนินการทางการทูตกับไทย ขอให้มีการปักปันเขตแดน เขมรกับญวน แต่กลับตกลงกนไม่ได้ ขณะนั้นพระปิ่นเหล้า แม่ทัพเรือสวรรคต ไทยจึงอ่อนแอฝรั่งเศสจึงฉวยโอกาสบังคัยทำสัญญารับรองความอารักขอจาก ฝรั่งเศสต่อเขมร ในช่วงนี้ อังกฤษกับฝรั่งเศสได้ทำสัญญกันเมื่อ 15 มกราคม 2438 โดยตกลงกันให้ไทยเป็นรัฐกันชน ประกอบกับ การดำเนินนโยบายของ รัชการลที่ 5 และการเสด็จประพาศยุโรปถึง 2 ครั้ง เยื่อนรัสเซียและเยอรมัน
                ครั้งที่ 8 สิบสองจุไทย (เมืองไล เมืองเชียงค้อ) ให้กับฝรั่งเศส ในรัชสมัยเดียวกัน ฮ่อก่อกบฎ ทางทางฝ่ายไทยจัดกำลังไปปราบ 2 กองทัพ แต่แม่ทัพทั้งสองไม่ถูกกัน ปฏิบัติเป็นอิสระแก่กัน ฝรั่งเศสส่งทหารเข้าเมืองไล อ้างว่า มาช่วยไทยทราบฮ่อ แต่หลังจากปราบได้แล้วไม่ยอมยกทัพกลับ อีกทั้งไทยก็ไม่ได้จักกำลังไว้ยึดครองอีกด้วย ในที่สุด ไทยกับฝรั่งเศสได้ทำสัญญากันที่เมืองแถง (เบียนฟู) ยอมให้ฝรั่งเศสรักษา เมืองไลและเมืองเชียงค้อ
                ครั้งที่ 9 เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ทางด้านรัฐศาสตร์ เศรษฐกิจและทรัพยากร อันอุดม ด้วยดินแดผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ยิ่ง คือการเสียดินแดนฝั่งซ้ายลุ่มน้ำสาละวิน ( 5 เมืองเงี้ยว และ 13 เมื่องกะเหรี่ยง) ให้แก่อังกฤษ
                ครั้งที่ 10 เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่นำ้โขง (อาณาจักรล้านชาง หรือประเทศลาว)ให้กับฝรั่งเศสในสมัยเดียวกัน ซึ่งเป็นของไทยมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวร และฝรั่งเศสเรียเงินจาไทย 1 ล้านบาท เป็นค่าเสียหายที่ต้องรบกับไทย ค่าประกันว่าไทยต้องปฏิบัติตามสัญญาอีก 3 ล้านบาท และยึดเมืองจันทบุรีและตราด ไว้ถึง 15 ปี
              ครั้งที่ 11 ดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง (ตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง ดินแดนในทิศตะวันออกของน่านคือ จำปาสัก และไชยะบุลี) ให้กับฝรั่งเศส ในสมัยเดียวกัน  ไทยได้ทำสัญญากับฝรั่งเศส เพื่อขอให้ฝรั่งเศสคืน จันทบุรีให้ไทย แต่ฝรั่งเศสถอนไปจากจันทบุรีแล้วไปยึด เมืองตราดแทนอีก 5 ปี และเมือฝรั่งเศสได้หลวงพระบางแล้วยังล้ำย่านนาดี,ด่านซ้าย จ.เลย
              ครั้งที่ 12 มลฑลบูรพา (พระตระบอง, เสียมราฐ,ศรีโสภณ) ใหกับฝรั่งเศส ไทยทำสัญญาเพื่อแลกกับตราด, เกาะกง, ด่านซ้าย ตลอดจนอำนาจศาลไทยที่จะบังคับต่อคนในบังคับ ของฝรั่งเศส ในประเทศไทย เพราะขณะนั้นมีคนจีนญวนไปพังธงฝรังเศสกันมากเพื่อสิทธิการค้าขายฝรั่งเศสก็เพียงแต่ถอนทหาออกจากตราด กับด่านซ้าย คงเลหือแต่เกาะกงที่ไม่คืนให้ไทย
                 ครั้งที่ 13 เสียรัฐกลันตัน, ตรังกานู, ไทรบุรี,ปริส ให้กับอังกฤษ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ ศาลไทยที่จะบังคับคดีความผิดของคนอังกฤษในไทย
                ครั้งที่ 14 เสียเขาพระวิหารให้กับเขมรเมื่อ 15 มิถุนายน 2505 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 9 ตามคำพิพากษาของศาลโลกให้เขาพระวิหารตกเป็นของเขมร เนื่องมาจาก หลักฐานสำคัญของเขมร ในสมัยที่เป็นของฝรั่งเศส (www.rungnapa-astro.com/.., ประวัติศาสตร์ไทยการเสียดินแดนไทย 14 ครั้งเด็กรุ่นใหม่ควรศึกษาไว้เป็นบทเรียน)

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...