วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Nationalism : Vietnames Nationalist Movement

              การปกครองอาณานิคมของฝรั่งเศส ได้จำกัดชาวเวียดนามทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ, วัฒนธรรม และทำลายโครงสร้างทางสังคม โดยเฉพาะระบบความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้าหมู่บ้านกับลูกบ้านของชาวพื้นเมือง ประชาชนต้องถูกใช้แรงงาน และเสียภาษี ถ้าใครไม่เห็นด้วยก็จะถูกจับกุมท ทำให้ชาวนาเกลียดชังระบบการปกครองของฝรั่งเศสมาก ชนชั้นกลางเป็นพวกเดียวที่มีโอกาสส่งลูกหลานของตนให้มีการศึกษาแบบตะวันตก แต่พวกปัญญาชนเหล่านี้จบออกามาแล้วปฏิเสธที่จะทำงานกับฝรังเศส เพราะได้รับค่าจ้างต่ำกว่าชาวฝรั่งเศสในระดับเดียวกันพวกนี้เห็นอกเห็นใจชาวและเร่ิมก่อต้งขึ้นเป็นชวบนการชาตินิยมที่ต่อต้านระบบการปกครองของฝรั่งเศส
               แนวคิดชาตินิยมเป็นแนวคิดที่สืบทอดมาจากการกำเนิดของรัฐชาติแบบสมัยใหม่ ที่มีอาณาเขตพรมแดนของอำนาจการบริหารปกครองกลุ่มชนทุกเผ่าที่มีทั้งวัฒนธรรมตางกันและร่วมหัน โดยพลเมืองของรัฐอยู่ภายใต้รูปแบบการปกครองและระบบกฎหมายเดียวกัน แนวคิดการสถาปนารัฐชาติกำเนิดในภูมิภาคยุโรปในคริสต์ศตรวรรษที่ 18 ผลของการเกิดรัฐชาติก็ปรากฎเป็นแผนที่ที่นำมาสู่การรับรู้เขตแตนที่กำนหดเป็นประเทศต่อมาได้มีผลกระทบต่อแนวความคิดในการแบ่งแยกกลุ่มคนที่อยู่อีกฟากเขตแดนกลายเป็นพวกเขาที่มิใช่พวกเราทั้งๆ ที่ในอดีตคนเหล่านี้อยู่ร่วมวัฒนธรรมเดียวกัน อทาทิ การแบ่งแยกชาวโคชินจีนด้วยสัญชาติฝรั่งเศสออกจากชาวอันนัมสัญชาติเวียดนาม
             แนวคิดพื้นฐาน ในลัทธิชาตินิยมประกอบด้วย ธรรมชาติของมนุษย์ ที่ต้องอยู่ในชุมชนหรือชาติ ที่มีความเป็นอิสระในการสร้างสรรค์ความต้องการของมนุษย์โดยใช้เครื่องมือ เช่น เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ชีวประวัติและเพื่อการใช้ภาษในการสือสารและสร้างความรับรู้ร่วมกัน วัฒนธรรมโรแมนติกที่ทำหน้าทีแทนศาสนาที่ถูกลดบทบาทลงไปในยุคแห่งการรู้แจ้ง ภายหลังยุคกลางของยุโรป รัฐประชาชาติ ชุมชนทางการเมืองของมนุษย์ที่ถือตนเป็นสมาชิกของขาติหรือประชาคมเกียวกัน โดยมีเจตนาราย์ร่วมเห็นเครื่องมือในการพัฒนาศักยภาพ อำนาจอธิปไตยขอ
ปวงชน โดยให้อำนาจประชาชนในด้านการปกครองและการออกกฎหมายเพื่อความอิสระสูงสุด เศรษฐกิจแห่งชาติ ที่เน้นถึงผลประโยชน์ของชาติเป็นสิงสูงสุด และความเป็นอินทรียภาพ คือการมองว่าชาติเป็นหน่วยหนึ่งของสิ่งมีชีวิตที่ต้องพัฒนาตัวเองสู่ความเข้มแข็งเฉกเช่นเีดยวกับชีวิตมนุษย์
              ลัทธิชตินิยมแบ่งได้ 4 ประเภทคือ ชาิตนิยมแนนวเสรี ชาิตนิยมแนวอนุรักษ์ ชาตินิยมขชยายอำนาจและชาตินิยมต่อต้านการล่าอาณานิคม แนวคิดนี้เกิดขึ้นในประเทศที่ถูกจักรวรรดินิยมครอบครอง .โดยการต่อสู้มุ่งไปที่เอกราชและการพัฒนาระบบเศรษฐกิจควบคู่ไปด้วย ดังนั้นการปลกปล่อยชาติจึงดำเนินการเคลื่อนไหวทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ นักชาตินิยมที่ต่อต้านการล่าอาณานิคมจะได้รับการช่วยเหลือทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ นักชาตินิยมที่ต่อต้านการล่าอาณานิคมที่นำระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมมาบริหารอาณานิคม
             ลัทธิชาตินิยมเวียดนามที่ตรงกับประวัติศาสตร์เวียดนามในช่วงฝรั่งเศสปกครองคือลัทธิชาตินิยมต่อต้านการล่าอาณานิคมดังจะเห็นจได้จากใน ค.ศ. 1883 เส้นเขตแดนเวียดนามเริ่มปรากฎชัดเจนขึ้นเมือถูกฝรั้่งเศสยึดครองและเข้าปกครองอย่างสมบูรณ์ การปรากฎของเส้นเขตแดนของแต่ละเคว้นเมื่อฝรั่งเศสนำรูปแบบการปกครองที่ต่างกันมราใช้ปกครองภูมิภาคทั้งสามของเวียดนาม อาทิ ตังเกี๋ย อันนัม และโคชินจีน ซึ่งแคว้นเหล่านี้เคยเป็นศูนย์อำนาจอิสระในการบริหารพลเมืองในอาณาจักร ของเวียดนามในสมัยจารีตเส้นเขตแดนของเวียดนามปรากฎชัดเจนเป็นหนึ่งเกียวเมื่อฝรั่งเศสยึดลาวจากสยามใน ค.ศ. 1893 สรุป่าเขตแดนทุกด้านขงเวียนามได้ถูกกำหนดลงอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้แล้ว และพื้นฐานของแนวคิดชาตินิยมก็ได้กำเนิดขึ้นในดินแดนเวียดนาม
           
 ลัทธิเสรีนิยมเกิดขึ้นครั้งแรกในยุโรป เกิดจากการท้าทายทางความคิดต่อแวคิดรัฐชาติสมัยใหม่ ที่เน้น "การอ้างเหตุผลของรัฐ" เพื่อต้องการแทรกแซงแนวทางปฏิบัติของพลเมืองและองค์กรต่างๆ ซึ่งมุ่งสร้างความมั่นคงและความมั่งคั่งของรัีฐ แต่ในทัศนะของนักคิดเสรีนิยมถือว่า รัฐเป็นสิ่งชั่วร้าย
             การรับแนวคิดเสีนิยมของชาวเวียดนามมีลักาณะพิเศษคือไม่ได้รับจากการศึกษาแนวคิดจากชาวตะวันตกโดยตรงแต่รับผ่านนักคิดจากจีนที่มีอิทธิพลต่อปัญาชนเวียดนามในยุคนั้น การรับแนวคิดชาตินิยมเวียดนามเกิดจากบริบททางประวัติศาสตร์ของเวียดนามในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 29 เป็นบริบทที่ใกล้เคียงกับชาวยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 18 กล่าวคือชาวยุโรปได้ตกอยู่ภายใต้การครอบครองผ่านกลไกต่างๆ ของรัฐชาติ สส่วนชาวเวียดนามถูกครอบครองโดยกองกำลังฝรั่งเศสโพ้นทะเล เมื่อทั้งสอรับแนวคิดเรื่องเสรีภาพ ความเท่าเทียม และความภราดรภาพที่จะนำไปสู่ความเสารีชน จากแนวคิดเหล่านนี้ทั้งชาวยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 18 กล่าวคือชาวยุโรปได้ตกอยู่ภายใต้การครอบครองผ่านกลไกต่างของรัฐชาติ ส่วนชาวเวียดนามถูกครอบครองโดยกองกำลังฝรังเศสโพ้นทะเล เมื่อทั้งสองรับแนวคิดเรื่องเสรภาพ ควาเท่าเทียม และควาภราดรภาพที่จะนำไปสู่ควาเป็นเสรีชน จากแนวคิดเหล่านี้ทั้งชาวยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และชาวเวียดนามในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 จึงยอมรับแนวความคิดแบบเสรีนิยม อย่างไรก็ตามการรับแนวควาิคิดเสรีนิยมและเรื่องราวที่นำไปสู่การต่อต้านอาณานิคมของชาวเวียดนามเป็นไปอย่างช้าๆ เพราะฝรั่งเศสพยายามปิดกั้นเพื่อป้องกันการต่อต้านที่เกิดตามา แต่อย่างไรก็ตามด้วยสภาพภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตติดต่อกันระหว่างภาคเหนือของเวียดนามกับภูมิภาคจีนตอนใต้ การส่งผ่านทางวัฒนธรรมจึงสามารถข้ามผ่านเขตแดนการปกครองที่ปรากฎบนแผนที่ชาติรัฐ ที่รับการพัฒนาเทคโนโลยีการพิมพ์จากตะวันตกเข้ามารอบรับเส้นเขตแดนใหม่ ชนพื้ตเมืองที่ร่วมวัฒนธรรมเดีวกันมีชุมชนในจิตนาการที่ถูกสร้างขึ้นพร้อมๆ กับวัฒนธรรมของภูมิภาค ดังนั้นความสัมัพนธ์ทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของกลุ่มชนบริเวณชายแดนที่มีมานานนับศตงวรรษจึงอยู่เหนือเส้นเขตคแดนที่เพิ่งสร้างโดยเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส วัฒนธรรมร่วมระหว่างคนชายแดนจีนและเวียดนามเกิดจากกรสื่อสารแลกเปลี่ยนปรัชญาจากตะวันตก งานเขียนปรัชญาเมธีที่มีแนวความคิดทางการเมือง ชเ่น รุสโซ วอลแตร์ มองเตสกิเออร์ เฮอร์เบริต สเปนเซอร์ ได้แพร่เข้ามาใจนคนและมีการแปลออกเแ็นภาษาจีน เนื่องจากปัญญาชนเวียดนามสามารถอ่ารนภาษาจีนได้ ปัญญาชนเวียดนามจึงรับแนวความคิดทางการเมืองผ่านงานแปลของปัญญาชนชาวจีน
             แนวคิดสังคมนิยม ปรากฎครั้งแรกในารสารภาษาฝรั่งเศส ซึ่งมีรากฐานมาจากภาษาละติน แปลว่า "รวม"หรือ "ร่วมกัน" ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นคำว่า "สังคม" ที่มีความหมายว่าการ่วมกันทำกิจกรรมของมนุษย์ ส่วนอีกแนวความคิดเชื่อว่าเป็นภาษากฎหมายอขงยุโรปในยุคกลางโดยแปลว่า ควาเ็นเพื่อ หรือสหาย ซึ่งต่อมาพัมนามาเป็นคำว่า "สังคม" ที่หมายถึงการทำสัญญาด้วยความสัมัตรใของเสรีชน ซึ่งการให้ความหมายใหม่นี้ท้าทายความหมายของ "รัฐ" ที่หมายถึงการรวมโดยการใช้อำนาจบังคับ
            ความหมายของคำว่า "สังคมนิยม" ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถูกนำมาประยุกต์เข้ากับระบบการเมืองโดยเน้นถึงการปฏิวัติทางการเมือง และการปฏิวัติทางสังคมท เพื่อมุ่งสู่สงคมแห่งความเท่าเทียมทางชนช้้น โดยแนวคิดสังคมนิยมให้ความสำคัญต่อ ชุมชน ภราดรภาพ ความเสมอภาคทางสังคม ตความจำเป็น ชนชั้นทางสังคม กรรรมสิทธิ์ร่วมและความก้าวหน้าของสังคม
            แนวคิดสังคมนิยม เกิดจาการท้าทายทางความคิดต่อแนวคิดรัฐชาติสมัยใหม่ และแนวคิดเสรีนิยม นักคิดคนสำคัญของแนวคิดนี้ คือ เฮเกล และคาร์ล มาร์กซ์ มี่มุ่งโต้แย้งต่อแนวคิดรัฐชาติสมัยใหม่และแนวคิดเสรีนิยม มาร์กซ์ให้ความสำคัญกับจริยธรรมของนักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์สังคม เขาเสนอว่ารัฐพยายามลดทอกความคิดของมนุษย์และเพ่ิ่มศักยภาพการทำงานของมนุาย์ มาร์กซ์วางกรอบพื้นฐานและตีความบริบทในสังคมมนุษย์ภายใต้การแข่งขันอย่างเสรี ว่าลัทธิเสรีนิยมเป็นปนวทางเศรษฐกิจทีที่จะนำไปสู่ความแตกต่างในสังคมระบบชนชั้นตามลัทธิดาร์วินนิสม์ทางสังคม ซึ่งมองว่าชาติพันะ์ที่แข็งแรงกว่างจะแผ่ขยายขึ้นครอบงำเหนือชาิตพันะ์ที่อ่นแอกว่า ดังนั้นการแข่งขันที่ไม่อยู่บนฐานของความเท่าเทียมจะทำให้ชนชั้นแรงงานและชนชั้นล่างพ่ายแพ้ต่อชนชั้นำ และเมือชนชั้นนำประสบความสำเร็จขเขาก็จะออกกฎหมายเพื่อควบคุมและจำกัดสิทธิของชนชั้นแรงงานนเช่นเดิม โดยมาร์กซ์เสนอทางงออกว่าโครงสร้างของสังคมมนุษย์ที่สองส่วนคือโครงสร้างส่วนบนซึ่งประกอบก้วยระบบกฎหมาย ระบบสังคม ระบบการเมือง ระบบภูมิปัญญาและความคิด และโครงสร้างพื้นฐานวึ่งประกอบด้วยความสัมพันะ์ทางกาผลิตและพลังการผลิต มาร์กซ์ชีวาโครงสร้างพื้นฐานมีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างส่วนบนด้วยวิธีการต่อสู้ทางชนชั้น โดยมีชนชั้นกรรมาชีพเป็ฯหลักในการปฏิวัติสังคม ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อชัยชนะของชนชั้นกรรรมาชีพ
              ชาวเวียดนามรับแนวความคิดสังคมนิยมในในทศวรรษ 1920 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากแนวความคิดชาตินิยมของขบวนการชาตินิยมถูกระบบอาณานิคมท้าทายและไม่สามารถหาทางออกให้กับนักชาตินิยมและชาวเวยดนามได้ แนวความคิดสังคมนิยมจึงถูกนำเข้าสู่เวียดนามโดย โฮจิมินห์ผู้มีประสบการณ์ในโลกตะวันตกและองค์การโคมินเทิร์นตลอดต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20
             ขบวนการชาตินิยมในเวียดนาม 

             ในระยะแรกมีนักชาตินิยมที่คิดจะปฏิรูปประเทศเวียดนามตามแบบสมัยใหม่ คือในปี ค.ศ. 1905 เมื่อญี่ปุ่นได้รับชัยชนะต่อรัสเซีย ปัญญาชนเวียดนามสองคนคือ พาน บอ เช๋า และ พาน เ๋า ติ๋น มีความเห็นว่า วิทยาการและความก้ายหน้าทางเทคนิคจากตะวันตกจะช่วยให้เวียดนามเจริญก้าวหน้าขึ้น หลุดพ้นจากการปกครองอันกดขี่ของฝรั่งเศส และพยายามของความช่วยเหลือจากญี่ปุ่น ในเวลานั้นมีนักชาตินิยมชาวเวียดนามหลายคนที่เดินทางไปญี่ปุ่น ในปี 1913 ได้ตั้งขบวนการชาตินิยร แรกขึ้นมา คือ สมาคมฟื้นฟูเวียดนาม โดยกระตุ้นให้ชาวเวียดนามเกิดความรู้สึกชาตินิยม ต่อต้านฝรั่งเศสและก่อกวนฝรั่งเศส เบ๋า ช๊วน ถูกฝรั่งเศสจับและจำคุก
           ในขณะเดียวกันนี้เอง บรรดาปัญญาชนเวียดนามซึ่งได้รับการศึกษาจากฝรั่งเศส ได้รับอิททธิพลจากข้อเขียน ของ รุสโซ มองเตสกิเออ และวอลแตร์ พวกเขาเหลานี้มีความค้นเคยกับคำว่า เสรีภาพ, ภราดรภาพ และเสมอภาค คำขวัญของการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี 1789 แต่สิ่งเหล่านี้หาไม่พบในการปกครองเวียดนามของฝรั่งเศส ชาวเวียดนามไม่มีเสรีภาพแม้แต่การจะจัดตั้งพรรคการเมือง
            สงครามโลกครั้งที่ 1 ฝรั่งเศสเกณฑ์ชาวเวียนาม 100,000 คน ไปใช้งานในกองทัพฝรั่งเศสในยุโรป คนงานเหล่านีั้ได้ไปเห็นระบบการปกครองในยุโรปและพรรคการเมืองและนำกลับมาเผยแพร่ในเววียดนาม นอกจานั้นพวกนี้ยังได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคออมูนสิต์ของฝรั่งเเศส และรรคคอมมูนิสต์ในฝรั่งเศสสัญญาว่าจะช่วยต่อสู้เรียกร้องเอกราชให้กับเวียดนาม อุดมการ์ของพวกพรรคคอมมูนิสต์เป็นที่ถูกใจคนเวียดนามในเลานั้น
            นอกจากขบวนการชาตินิยมในเวียดนามจะรับอุดมกาณณ์ของพวกคอมมูนิสต์แล้ว ยังมีอิทธิพลจากองค์การทางพุทธศาสนาทำให้เกิดขบวนการปฏิรูปทางพุทธศาสราขึ้น เช่น องค์การเกาได๋ เป็นชบวนการทางพุทธศาสนา ซึ่งมีจุดมุ่งหมายทางการเมืองและต่อต้านฝรั่งเศสโดยใช้วิะีการรุนแรง เพพื่อที่จะฟื้นฟูระบบกษัตริย์ของเวียดนาม โดยไม่ได้ที่จะมุ่งปฏิรูปประเทศเหมือนขบวนการอื่นๆ
            พรรคชาตินิยมเวียดนาม นำโดย เหงียน ไทย ฮอค ในปี 1927  จุดประสงค์คือล้มล้างฝรั่งเศสและตั้งรัฐบาลสาธารณรัฐแบบจน ดดยได้รับการสนับสนุจากพรรก๋กมินตั๋งของจีน เพื่อทำการขับลไล่ฝรั่งเศสออกจากเวียดนาม พรรคนี้มีศูนย์กลางดำเนินงาอู่บริเวณตอนเหนือของเวยดนามมีขอบเขตการดำเนินงานกว้างขวง มีสมาชิกเป็นจำนวนมากได้เตรียมที่จะทำการปฏิวัติต่ิต้านฝรั่งเศสก่อการจลาจล แต่ถูกฝรั่งเศสปราบได้ในระยะเวลาสั้น ฝรั่งเศสทำการกวาดล้างอย่างรุนแรงทำให้พรรคที่เป็นขวยการชาตินิยที่ใหญ่และเป็นพรรคที่ไม่นิยมคอมมูนิสต์ต้องสลายตัวลง ชาวเวยดนามหลายพันคนต้องเสียชีวิต และคนที่รอดตายหลบหนีไปได้ก็หันไปเข้าร่วมจัดตั้งพรรคคิมมิวนิสต์อินโดจีนขึ้น
              พรรคคอมมูนิสต์อินโดจีน เนื่องจากอุดมการ์ของมาร์กซิส และเลนินได้เข้าเผยแพร่ในเวยดนามดังกล่าวแลว และจากการที่พรรคชาตินิยมเวียดนามถูกฝรั่งเศสปราบอย่างรุนแรง ทำให้พวกชาตินิยมยิ่งแสดงความเคลื่อนไหวรุนแรงมากขึ้น และต่อต้านฝรั่งเศสอย่างเปิดเผยภายใต้การนำของ โอ จิ มินต์ เขาได้รับอทธิพลของลัทธิมาร์คและเลนินในระหว่างที่เขาอยุ่ในฝรั่งเศสใรระยะสงครามโลกครั้งที่ 1 และได้ไปอบรมที่เกี่ยวกับปัญหาอาณานิคมในฐานะที่เขาเป็นสมาชิกพรรคออมูนิสต์ของฝรั่งเศส โฮจิมินห์ได้กลับมาจัดตั้งพรรคอมมูนิสต์เวียดนามขึ้นในฮ่องกง มีชื่อว่า พรรคคอมมูลนิสต์อินโดจีน โดยวางเป้าหมายเพื่อเกอราชของเวียดนามเป็น 2 ขั้นคือ
             - เพื่อให้เวยดนามเป็นรัฐประชาธิปไตยของชชั้นกลาง
             - ทำการปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ
              พรรคคอมมูนิสต์อินโดจีนดำเนิงานได้ผลดีและมั่นคงกว่าพรรคชาตินิยมเวียดนาม เพราะได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การคอมมูนิสต์สากล ได้รับความช่วยเหลือจากรัศเซีย และพรรคคอมูนิสต์จีน จนสามารถจัดตั้งองค์กรชาวนาขึ้นทั่วประเทศได้ โดยเฉพาะในอันนัม และตังเกี๋ย ได้ชักชวยให้ชาวนาและกรรมกรก่อความวุ่นวายขัดขวางการปกครองของฝรั่งเศส ฝรั่งเศสปราบปรามอย่างรุนแรง พรรคคอมมูนิสต์จึงซบเซาลงไปชั่วระยะหนึ่ง โอจิมินห์หนีไปอยู่ฮ่องกง ถูกดังกฤษจับได้แลต่อมาเขาก็หนีไปมอสโคว์ พรรคคอมมูนิสต์ก็ยุติบทบาทของตนเองลง กระทั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 ยี่ปุ่นเข้ายึดครองเวียดนาม พรรรคอมมูนิสต์จึงได้รื้อฟื้นอำนาจขึ้นใหม่
            ในระยะนี้เกิดคอมมูนิสต์กลุ่มใหม่ทางตอนใต้ของเวียดนาม จักรวรรดิเบาได๋ซึ่งเป็นจัพรรดิที่ฝรัง่เศสตั้งให้เป็นผุ้นำเวียดนามได้กลับจากศึกษาต่อต่างประเทศ ก็มีผุ้ติดตามเข้ามาสองคนเป็นปัญญาชนทึ้งคู่ คือ ทราน แวน กิอัว ซึ่งจบการศึกษาได้จัดตั้งกลุ่มทรอตสกี้ขึ้น พวกคอมมูนิสต์มีเสรภาพในการดำเนินการได้อย่างเปิผยใรระยะนี้ เนื่องจากรัฐบาลใหม่ของฝรั่งเศสเป็นพรรคแนวร่วมประชาชน ซึ่งมีกลุ่มสังคมนิยม และคอมมูนิสต์รวมอู่ด้วย ทำให้ลัทธิคอมมูนิสต์แพร่หลายไปทั่วประเทศ พรรคแนวร่วมประชาชนซึ่งเป็นรัฐบาลของฝรั่งเศสสลายตัลว พรรคคอมมูนิสต์ในฝรั่งเสสถูกกำจัด เป็นผลต่อพรรคอมมูนิสต์ในเวียดนามด้วย กลุ่มคอมมูนิสต์ของ กิอั ได้ก่อการจลาจล ทำให้ฝรังเศสปราบอย่งรุนแรง พวกคอมมูนิสต์จึงต้องไปดำเนินการใต้ดินต่อต้านฝรั่งเสส
           ญี่ปุ่นเข้ายึดครองอินโดจ โดยต้องการมีชัยชนะเหนือจีแนและมหาอำนาจตะวันตำ โดยต้องการหาแหล่งทรัพยากรเป็นปัจจัยที่จะใช้ในกาองทัพของญี่ปุ่น ญี่ปุ่นได้ล้มล้างรัฐบาลฝรั่งเศสในอเนโดจีนลง และตั้งรับบาลขึ้น ดดยมีจักรพรรดิเบาได๋เป็นประมุขภายใต้การควบคุมของญี่ปุ่น และหใ้ แตาน ตรง คิม เป็นายกรัฐมนตรี คณะรัฐบาลนี้เ่ากับเป็นรัฐบาหุ่น ของญี่ปุ่นนั่นเอง ญี่ปุ่นได้มีอไนาจค่บคุมอยู่ในบริเวณโคลินไชน่า ซึ่งเป็นอู้ข้าวุโน้ำสำคัญ ่วนเขตอื่นญีปุ่นไม่่อยควบคุม จึงเปิดโอกาสให้พวกคอมมูนิสต์ เข้ายึดครองทางตอนเหนือของเวียดนาม รัฐบาลก๊กมินตั๋งของจีนได้ใไ้ความช่วยเหลือโฮจิมินห์ จัดตั้งสันนิบาตเพื่อเอกราชของเวียดนามขึ้น หรือ เวียดมินต์ ระหว่างปลายปี 1942 31945 ได้ยึดครองดินแดนในลุ่มแม่น้ำแดงจากญี่ปุ่น และประกาศเขตปลดปล่อยขึ้นในเดวียดนามเหนือและเมือ่ญี่ปุ่นประกาศให้เอกราชจอมปลอมแก่เวียดนาม ในปี ค.ศ. 1945 โดยมีจักพรรดิเบาได๋ เป็นผุ้นำรัฐบาลหุ่น ดังนั้น เวียดมินห์จึงประกาศไม่ยอาบรัฐบาลของจักพรรดิเาได๋ และจัดตั้งรัฐบาลขึ้นในเวยดนามเนหือ ในวันที่ 2
กันยายน  1945 และลงมายึดเขตแดนทางใต้ในเขตยึดครองของญี่ปุ่นได้ในขณะที่ญี่ปุ่นกำลังจะแพ้สงครามโดยคาดว่าเมื่อสิ้นสุดสงคราสโลกครั้งสองแลงวมหาอไนาจางๆ ต้องปล่อยเลยจตคามเลย ให้โฮจิมินห์ปกครองประเทศในช่วงที่มีช่วงว่าทางการเมือง แต่โฮจิมินห์คากการ์ผิด ภายหลังสงครามโลกครั้ง
ที่สอง อังฏฟษเข้าปลดอาวุธญี่ปุ่นทางใต้และจนปลดอาวุธที่ญี่ปุ่นทางเหนือ พวกเวียดนามยังคงเป็นที่ยอมรับของจีนและประชชนในเวยดนามเหนือ แต่กอังกฤษกลับปล่อยให้ฝรั่งเศสกลับเข้าปกครองทางใต้ตามเดิม ขณะที่เวียดมินห์กำลังปราบพวกกุล่มชาตินิยมดทีที่ไม่ยอมเข้าร่วมกับพวกตน ฝรั่งเศสเลยฉวย
โอกาสเข้ายึดเวียดนามทางใต้และเกิดจลาจลขึ้นในหมู่ชาวเวียดนามที่ไม่ชอบฝรั่งเศส เวียดมินห์คุมสถานการณ์ไม่อยู่ใรเดอืนตุลาคา 194 ฝรั่งเศสก็สามาถยึดดินแดนใต้เส้นขนานที่ 16 คือนมา และประกาศไม่ยอรับรัฐบาลของพวกเวียดมินห์ เวียดมินห์ได้จัดการบริหารในเวียดนามตอนเหนือได้เรียบร้อยดี แต่มีปัญหาเรื่อขุนศึกจีนที่อยู่ในเวียดนามเหนือ เวียดมินห์จึงยอมเจรจากับฝรั่งเศสเพื่อหใ้ฝรังเศสรับรองรัฐบาลของพวกเวียดมินห์ในเวียดนามเหนือ แต่การเจรจาทางการทูตระหว่งเหวียดมินห์กับฝรั่งเศสล้มเหลว ทำให้เกิดสงครามขึ้นระหว่างฝรั่งเศสกับเวียดมินต์ คือสงครามอินโดจีน


                  - "ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยสังเขป" ผศ.ศิวพร ชัยประสิทธิกุล.
                  -  "ขบวนการชาตินิยมเวียดนาม กรณีศึกษาขบวนการชาตินิยมซุยเติน ค.ศ.1904-1925", สารนิพนธ์ ของ กฤษณะ ทองแก้ว, 2550.

           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...