Nationalism

           ชาตินิยม Nationalism คืออุดมการณ์ที่สร้างและบำรุงรักษาชาติในลักษณะที่เป็นมโนทัศน์ แสดงอัตลักษณ์ ของกลุ่มของมนุษย์ ตามบางทฤษฎี การรักษาลักษณะพิเศษของอัตลักษณ์ การเป็นอิสระในทุกๆ เรื่อง การกินดีอยู่ดี และการชื่นชมควมยิ่งใหญ่ของชาติตนเอง ล้วนจัดว่าเป็นคุณค่าพื้นฐานของความเป็นชาตินิยม
           นักชาตินิยมวางพื้นฐานของความเป็นชาติอยู่บนแนวคิดเกี่ยวกับความชอบธรรมทางการเมืองหลายๆ ประการโดยความชอบธรรมนั้นอาจสร้างขึ้นผ่านทางทฤษฎีโรแมนตกิของ "ดัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม" การให้เกตุผลเชิงเสรีนิยมที่กล่าวว่า ความชอบธรรมทางการเมืองนั้น เกิดจากการยอมรับของประชากรในท้องถ่ินนั้นๆ หรืออาจจะเป็ฯการผสมผสานระหว่างสองสิ่งนี้ การใช้คำว่า ชาติดนิยม ในสมัยใหม่ มักหมายถึงการใช้อำนาจทางการเมือง(และทหาร) ของกลุ่มชาตินิยมเชิงชาติพันธุ์ หรือเชิงศาสนา นักรัฐศาสตร์โดยทั่วไปแล้วมีแนวโน้มที่จะวิจัยและมุ่งเป้าไปที่รูปแบบสุดขั้วของชาตินิยมซึ่งมักเกี่ยวข้องกับสังคมนิยมเชิงชาตินิยม การแบ่งแยกดินแดน และอื่นๆ
           เสรีนิยม Liberalism เป็นปรัชญาการเมืองหรือมุมมองทางดลกซึ่งตั้งอยู่บนความคิดเสรีภาพและความเสมอภาค นักเสรีนิยมยอมรับมุมมองหลากหลายขึ้นอยู่กับความเข้าใจหลักการเหล่ารนั้น แต่โดยทั่วไปสนับสนุนความคิดอย่างเสรภาพในการพูดเสรีภาพสื่อ เสรีภาพทางศาสนา ตลาดเสรี สิทธิพลเมือง สังคมประชาธิปไตย รัฐบาล ฆราวาส ความเสมอภาคทางเพศและการร่วมือระหว่างประเทศ
          เสรีนิยม เป็นขบวนการทางการเมืองต่างหากระหว่งยุคเรืองปัญญา เมื่อได้รับความิยมในหมู่นักปรัญาและนักเศรษฐศาสตร์ในโลกตะวันตก เสรีนิยมปฏิเสธความคิดซึ่งสามัญในเวลานั้น เช่น เอกสิทธิ์แบบสืบเชื้อสาย ศาสนาประจำชาติ สมบูรณาญาสิทธิราชและเทวสิทธิ์ของกษัตริย์ มักยกย่อง จอห์น ล็อก นักปรัชญาสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ว่าเป็นผู้ก่อตั้งเสรีนิยมเป็นพระเพณีและมุ่งเปลี่ยนสมบูรณาญาสิทธิ์ในการปกครองเป็นประชาธิปไตยแบบมีผุ้แทน และหลักนิติธรรม
           นักปฏิวัติผู้โด่งดังในการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ การปฏิวัติอเมริกา และการปฏิวัติฝรั่งเศสใช้ปรชญาเสรีนิยมเพื่ออ้างความชอบธรรมการโค่นสิ่งที่มองว่าเป็นการปกครองทรราชด้วยอาวุธ เสรีนิยมเริ่มลามอย่างรวดเร็วโยเฉพาะหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีการตั้งรัฐบาลเสรีนิยมในประเทศต่างๆ ทั้งในทวีปยุโรป อเมริกาใต้และอเมริกาเหนือในช่วงนี้คู่แข่งอุดมการณ์หลัก คือ อนุรักษนิยม แตะภายหลังเสรีนิยมรอดการท้าทายทางอุดมการณ์สำคัญจากคู่แข่งใหม่อย่างฟาสซิสต์และลัทธิคอมมิวนิสต์ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความคิดเสรีนิยมยิ่งลามอีกเมื่อประชาธิปไตยเสรีนิยมเป็นฝ่ายชนะสงครามโลกทั้งสองครั้ง ในทวีปยุโรปและอเมริกาการสถาปนาเสรีนิยมสังคม เป็ฯองค์ประกอบสำคัญของการขยายรัฐสวัสดิการ ปัจจุบันพรรคการเมืองเสรีนิยมยังครองอำนาจและอิทธิพลทั่วโลก
           รัฐชาติ Nation state หรือเรียกว่ารัฐประชาชาติ เป็นรูปแบบหนึ่งอันแน่นอนของหน่วยการปกครองระดับประเทศในปัจจุบัน เปนมโนทัศน์ทางรัฐศาสตร์ที่กำหนดว่าประเทศนั้นมีองค์ประกอบสามประการ คือ มีประชากรแน่นอน มีดินแดนแน่นอน และมีรัฐบาลหรืออำนาจอธิปัตย์แน่นอนเป็นของตนเอง ซึ่งเป็นมโนทัศน์ที่จำแนกประเทศในอดีตออกจากประเทศในปัจจุบัน เนื่องจากในอดีตนันมโนทัศน์ เช่นนี้หามีความแน่นอนไม่ อาทิ สยามเดิมมิได้มีอาณาเขตแน่นอน ขยายออกหรือหดเข้าได้ตามอำนาจของพระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาล กับทั้งประชากรก็ไม่แน่นอน ในยามชนะสงครามมักมีการอพยพเทครัวชนชาติอื่นเข้ามาในแว่นแคว้นของตน เป็นต้น เนื่องจากความหลากความหมายของคำ "รัฐ" เช่นรัฐในสหรัฐอเมริกาที่มีระดับเป็นหน่วยการปกครองย่อยๆ จึงมีการประดิษฐ์คำ "รัฐชาติ" ขึ้นในห้หมายถึงประเทศที่เป็หน่วยการปกครองใหญ่ดังมีองค์ประกอบข้าต้นเท่านั้น
         สงครามโลกครั้งที่ 2 ... ความสำเร็จของเยอมนีในทวีปยุโรปได้กระตุ้นให้ญี่ปุ่นพิ่มการกดดันต่อรัฐบาลยุโรปเอเชียตะวันออกเฉียงใตจ้ รัฐบาลดัตช์ยินยิมที่จะส่งมอบทรัพยากร้ำมันจากหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์ แต่ปฏิเสธที่จะยินยิมให้ญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงทางการเมืองภายในอาณานิคม ตรงกนข้ามกับฝรั่งเศสเขตวีซี ซึ่งยินยอมให้ญี่ปุ่นยึดครองอินโดจีนฝรั่งเศส รัฐบาลสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรและประเทศตะวันตกตอบโต้การยึดครองดังกล่าวด้วยการอายัดทรัพย์สินของญี่ปุ่น ในขณะที่สหรัฐอเมริกา (ซึ่งญี่ปุ่นอาศัยนำเข้าน้ำมันเป็ฯปริมาณกว่า 80 ) ตอบสนองโดยการห้ามขนส่งน้ำมันไปยังญี่ปุ่นอย่างสมบูรณ์ ญี่ปุ่นถูกบีบให้เลือกว่าจะล้มเลิกความทะเยอะทะยานในการจึดครองทวีปเอเซียและหันกลับไปดำเนินการรบในจีนต่อไป หรือเข้ายึดแหล่งทรัพยากรที่ต้องการด้วยกำลังทหาร กองทัพญี่ปุ่นไม่พิจารณาถึงทางเลือกแรก และนายทหารระดับสูงจำนวนมากพิจารณราว่าการห้ามขนสงน้ำมันไปยังญี่ปุ่นเป็นการประกาศสงครามโดยนัย
         ญี่ปุ่นได้วางแผนในการยึดครองอาณานิคมของชาติยุโรปในทวีปเอเชียอย่างรวดเร็ซเพื่อที่จะสร้างแนวป้องกันขนาดใหญ่ซึงลากยาวฝ่านมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลาง เพื่ออำนวยความสะดวกในการแสวงหาทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างอิสระขณะทำสงครามป้องกันตนเองจนทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรที่ต้องสู้รบเป็นอาณาบริเวณกว้างเหนื่อยล้า และเพื่อการป้องกันการเข้าแทรกแซงของภายนอก ญี่ปุ่นจึงพยายามวางแผนที่จะทำลายกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาเป็นอันอับแรก ญี่ปุ่นโจมตีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลางในเวลาเดียวกัน รวมไปถึง โจมีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ล และยกพลขึ้นบกในไทยและมาลายา ทำให้สหรัฐอเมริกา สหรราชอาณาจักร ออสเตรเลีย จีน และฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกประกาศสงครามกับฐี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ
          วงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา The Greater East Asia-Prosperity Sphere เป็นความพยายามของญี่ปุ่นที่จะรวบรวมและสร้างแนวป้องกันแห่งชาติเอเชียเพื่อหลุดพ้นจากอิทธิพลของชาติตะวันตก โดยเป็นความคิดริเริ่มของนายพล ฮะชิโร อะริตะ ซึ่งในขชณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเ?สและมีอุดมการณ์ทางการทหารอย่างแรงกล้าที่จะสร้างมหาเอเชียตะวันออก "Greater East Asia"
          ในระหว่างที่สงครามกลังดำเนินอยู่นั้น ญี่ปุ่นได้พยายามโฆษณาชวนเชื่อ โดยมีประโยคที่ว่า "เอเชียเพื่อชาวเอเชีย" โดยเนื้อหานั้นจะพูดถึงเกี่ยวกับการปลกปล่อยชาติในเอเชียให้หลุ่มพ้นจากลัทธิจักรวรรดินิยม โดยการบุกประเทศเพื่อนบ้านและขัยไล่ทหาร อังกฤษ ฝรั่งเศสและอเมริกา ออกไปจากภูมิภาคนี้
         ... ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถูกกองทัพญี่ปุ่นเข้ายึดครอง ญี่ปุ่นเข้ามาพร้อมกับแนวคิดในการปลดปล่อยชาติในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ให้เป็ฯเอกราชจากชาติตะวันตก เพื่อให้เข้ามาอยู่ใน ไวงศ์ร่วมพไบูลย์มหาเอเบียบูรพา" ขบวนการชาตินเยมเพื่อต่อต้านตะวันตกจึงได้รับกสนับสนุนจากกองทัพญี่ปุ่นในขณะเดียวกันก็เกิดชยงนการชาตินิยมที่ต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นพร้อมๆ กับการต่อต้านจักรวรรดินิยม ขบวนการคอมมิวนิสต์ได้ใช้เรื่องชาตินิยมสร้างแรงสนับสนุนจากชาวพื้นเมือง..

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)