หลังตกเป็นอาณานิคม สำนักงานของบริษัท บริติส อี อินเดีย ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กักัตตาเป็นผู้บริหารเขตปกครองในปี พ.ศ. 2428 เมียนมาร์ทั้งหมดถูกผลักดันให้อยุ่ใต้กฎระเบียบของอาณานิคมระหว่างปี พ.ศ. 2429-2480 เมียนมาร์ถูกจดการดูแลให้เป็นเพียงหนึงจังหงัดของอินเดีย และถูกปกครองโดยอุปราชของอังกฤษในอินเดีย
จากรายงานของคณะกรรมการชุด Mac Aulay Jowelt ในปี พ.ศ. 2368 ว่าหน่ออ่อนของระบบการบริหารจัดการได้ถูกกำหนดให้ไปใช้ในอินเดียและเมียนมาร์ โดยบุคลากรขาวอังกฤษกับชาวพื้นเมืองอีกบางส่วน ข้าราชการขั้นหัวหน้าในแต่ละระดับชั้นและข้าราชการอินเดียต่างมีความสุขกับอภิสิทธิ์ต่าๆง และคำนึงถึงการเป้ฯชนชั้นนำ ในปี พ.ศ. 2480 เมียนมาร์ถูกแยกออกจากอินเดีย คณะกรรมการบริการภาครัฐที่แยกออกมาถูกจัดตั้งขึ้นในเมียนมาร์ เพื่อสรรหาและบรรจุข้าราชกาเมียนมาร์ หลังจากประสบความสำเร็จได้เอกราชในเดือนมกราคม พ.ศ. 2491 เมียนมาร์ยังคงใช้โครงการบริหารจัดการที่ส่งมอบโดยอังกฤษ และอิสรภาพที่ตามมา คือ มีข้าราชการเมียนมาร์เกือบทังหมดเป็นชาวเมียนมาร์ (ยกเว้นการบริการที่อาศัยผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ)
ในปี พ.ศ. 2496 มีประกาศใช้กฎหายข้าราชการพลเรือน และคณะกรรมการสไภาพข้าราชการเป็นเรื่องที่มาก่อนของคณะกรรมการการคัดเลือกและการฝึกอบรมข้าราชการพลเรือน ถูกจัดตั้งในปี พ.ศ. 2520 มีการประกาศใช้กฎหมายคณะกรรมการการคัดเลือกและการฝึกอบรมข้าราชการพลเรือน และมีการแต่างตั้งคณะกรรมการการคัดเลือกและการฝึกอบรมข้าราชการพลเรือน
สถาบนการฝึกอบรมข้าราชการ Phaung gyi ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2508 ภายใต้การกกับของกระทรวงมหาดไทย และถูกย้ายไปอยู่ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการการคัดเลือกและฝักอบรมข้าราชการพลเรือน ในปี พ.ศ. 2520 ซึงตั้งแต่ดำเนินงานมามีประธานมาแล้ว ึ คน ในนามของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและคณะกรรมการการคัดเลือกและฝึกอบรมข้าราชาการพลเรือน อีกทั้งสำนักงานใหญ่ของคณะกรรมการการคัดเลือกและฝึกอบรมข้าราชการพลเรือน ที่รวมถึงกรมการคัดเลือกและการฝึกอบรมข้าราชการพลเรือน และกรมการข้าราชการพลเรือน ได้เปิดทำการใหม่ที่กรุงเนปิดอร์ ในพป 2549 เป็นต้นมา
นอกจานี้รัฐบาลเมียนมาร์ได้รับการช่วยเหลือในการพัฒนาบุคลากรภาครัฐโดยความช่วยเหลือจากต่างประเทศมาโดยตลอด อย่างโครงการความร่วมมือกับมูลนิธิสันติภาพซาซากาว่า ของญี่ปุ่น ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการให้แก่บุคลากรภาครัฐปีละ 120 คน ในหัวข้อ "การฝึกอบรมเชิปฏิบัติการ การเพ่ิมประสิทธิภาพของข้าราชการพลเรือนเมียนมาร์"ในระหว่างปี พ.ศ. 2545-2547 ซึ่งการฝึกอบรมนี้ประสสบความสำเร้๗ในส่วนที่เพ่ิมประสิทธิภาพข้าราชการพลเรือนในการทำงานร่วมกัน และในปี พ.ศ. 2545 ประเทศสิงคโปร์ได้บริจาคเงินช่วยเหลือจัดตั้งโรงเรียนการฝึกอบรมเมียนมาร์สิงคโปร์ ในย่างกุ้งตามโปรแกรมเริ่มต้นเพื่อการรวมกลุ่มอาเชี่ยน โดยมีเนื้อหาครอบคลุมความหลากหลายในการพัฒนาทรัยากรมนุษย์ ไม่ว่าด้านภาษาอังกฤษเทคโนโลยีสารสนเทศ การบริหารภาครัฐ การคั้า และากรท่องเที่ยว
โรงเรียนการฝึกอบรมเมียนมาร์สิงคโปร์นี้ ยังมีโปรแกรมที่ได้มาตรฐานยกระดับสำหรับครูผู้ฝึกอบรมด้านต่างๆ จึงมีการส่งครูผุ้ฝึกอบรมมาเรียนในหลายหลักสูตรที่โรงเรียนนี้ และยังมีการส่งครูผุ้ฝึกอบรมเด่นๆ ให้มีโอกาสได้เขาร่วมหลักสูตรการฝึกอบรมต่างๆ และเป็นตัวแทนไปดูงานในต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลี จีน และฯลฯ
เมียนมาร์ เป็นประเทศที่เป้นจุดเชื่อมระหว่างภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และเอเลชียตะวันออกเฉียงใต้ ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน และค่าแรงต่ำ ประกอบกับมีทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมาก เช่น พลังงาน แร่ธาตุ ป่าไม้ พื้นที่การเพาะปลูก ตลอดจนทรัพบยากรทางทะเล และจัดเป็นประเทศในกลุ่มประเทศที่ยากจนที่สุด ซึ่งได้รับการยกเว้นภาษี และสิทธิพิเศษทางการค้าจากหลายประเทศ ประกอบกับเมียนมาร์ได้เปลี่นแปลงการปกครองเป้นระบอบประชาธิปไตยและเปิดประเทศให้ผุ้สนใจเข้าไปลงทุนได้เสรีมากขึ้น โดยผ่านนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศของเมยนมาร์ การพัฒนาภาคการเงิน การเดินหน้าปฏิรูป และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและัแรงงน การสร้างบรรยากาศการลงทุน รวมทั้งกาพัฒนโครงข่ายคมนาคมในประเทศเชิงรุกทั้งทางถนน รถไฟ และท่าเรือ ทำให้เมียนมร์มีการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2555 คิดเป็ร้อยละ 6.3 ซึงสูงกว่าค่าเฉลี่ยของ 5 ปี ที่ผ่านมาที่อยู่ร้อยละ 54 อย่างไรก็ดีระบบการเมืองและนโยบายขอวเมียนมาร์ยังไม่แน่นอน ระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานยังขาดแคลนและมีราะคาสูง รวมถคึงเครื่อข่ายคมนาคมยังไม่สมบูรณ์ นอกจากนี้เมยนมร์มีข้อจำกัดทางด้านนเงินุนและระบบการเงินที่ไม่สามารถเคลื่อยย้ายได้ปย่างเสรี ประกอบกับในอดีตที่ผ่ารมาเาียนมาร์ได้รับผลกระทบจากมาตรการควำบาตรของประชาคมโลก จึงทำใ้ห้ค่าใช้จายในการลทุนของภาครัฐและภาคเอกชนมีต้นทุนเฉลี่ยสูงกว่าประทเศอื่นๆ ในภูมิภาค ดังนั้น เมียนมาร์จึงด้มีการกำหนดแนวทางในการพัฒนาเศษรกิจและโดยกำหนดประเด็นสำคัญๆ ดังนี้
- การจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 20 ปี
- ให้ความสำคัญต่อภาคการค้าและการลงทุน รวมถึงการระดมการลงทุนระหวางประเทศ
- การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
- การบริหารจัดการความช่วยเหลือจากต่างชาติให้มีประสิทธิภาพและสอดคลองกับเป้าหมายของประเทศในการปฏิรูประยะที่ 2 คือ การพัฒนาเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนขาวเมียนมาร์ให้ดีขึ้น
- สำหรับการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดังกลาวข้างต้นเมียนมา์มีเป้าประสงค์ยึดหลักประชาชนระดับรากหญ้า ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการบริหารจัดการของรัฐ และมีส่วนร่วมในการกำหนทิศทาง นโยบายและกระบวนการในการพัฒนา ซึ่งมีปัจจัยสำคัญในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตด้านต่างๆ เช่น ด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินสภาพความเป็นอุ่ภายในชุมชน เป็นต้น ซึ่ตามกรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จะมีโครงการเร่งด่วนเพื่อให้เกิดความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องดังนี้
ปฏิรูปภาษีและการเงิน , ปฏิรูปภาคการคลังและการเงิน รวมถึงธนาคารกลาง เปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน พัฒนาธุรกิจภาคเอกชน โดยปฏิรูปกฎหมายและระเบียบที่สำคัญสำหรับภาคการท่องเที่ยว, พัฒนาระบบโทรคมนาคมและการสื่อสารให้ทันสมัย, พัฒนาสาธารณสุขและการศึกษา,สร้างความม่ั่นคงด้านอาหารและความเจริญเติบโตภาคการเกษตร,สร้างระบบบริหารจัดการให้มีความโปร่งใส โดยเน้นความโปร่งใสในการจัดทำและดำเนินงานที่ใช้จ่ายจากเงินวบประมาณภาครัฐ, พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยปรับปรงระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะและพลังงานรวมท้งปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกบการจ้างงานและากรให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ, สร้างคามมีประสทิธิภาพและประสิทธิผลจากการดำเนินงานของรัฐ และสำหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 20 ปี ตามกรอบดังกล่าวข้าตัน เมียนมาร์ได้กำหนดเป้าหมายที่สำคัญไว้คือ
- ปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวเมียนมาร์
- เพ่ิมรายได้ประชากร
- พัฒนาโครงการสร้างพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสาธารณูปโภค เช่น การคมนาคม แหล่งน้ำและสุขาภิบาล พลังงานไฟฟ้าการศึกษา การสาธารณสุข และระบบประกันสังคม เป็นต้น
- จัดให้มีการจ้างงานเพ่ิมากขึ้น
-อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
- บรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ ตามวัตถุประสงค์ของสหประชาชาติและประชาคมอาเซียน
- "ระบบบริหารราชการของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์" สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ.