วันเสาร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2560

Bureaucracy : Cambodia

           ภาวะสงครามในกัมพูชาทำให้ประเทศชาติล้มสลาย สหประชาชาติได้ยืนมือเข้ามาช่วยชุบชีวิตกัมพูชาให้ผื้นคือชีพอีกครั้งเมื่อสงครามกลางเมืองสิ้นสุดลงอย่างเป็นทาการในปี พ.ศ. 2534 พร้อมกับการลงนามในข้อตกลงสันติภาพที่กรุงปารีส อันได้ปูทางไสู่การเข้ามาของ UNTAC โดยข้อตกลงสันตุภาพฯ ได้มีการจัดทำข้อเสนอแนะให้ทำการฟื้อนฟูประเทศกัมพูชาไปพร้อมๆ กับการสร้างชาติขึ้นหม่อีกครัี้งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นแผนแม่บทในการเข้ามาขององค์การระหว่างประเทศในการจัดการเลือกตั้งระดับชาติขึ้นในกัมพูชา โดยในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2536 กัมพูชาได้จัดให้มีการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยขึ้นภายใต้การกำกับดูแลของสหประชาชาติ ซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกที่มีพรรคกรเมืองหลายพรรคสมัครเข้ารับเลือกตั้ง โดยมีพรรคการเมืองเข้าร่วมการแข่งขันถึง 20 พรรคแต่พรรคการเมืองที่โดเด่น คือ พรรคประชาชนกัมพุชา CPP นำโดย สมเด็จฮุน เซน พรรคฟุนซินเปก FUNCINPEC นำโดยเจ้ารณฤทธิ์
           ภายใต้รัฐบาลผสมระหว่างพรรคประชาชนกัมพุชา และ ฟุนซินเปค ได้ดำเนินการเร่งปฏิรูประบบราชการเนื่องจากกลุ่มประเทศผุ้ให้ความช่วยเหลือ แก่กัมพูชาได้ตั้งเงือนไขให้รัฐบาลกัมพูชาต้องปฏิรนูประบบงานบริหารราชการ ระเบียบการคลัง ระบบภาษี กองทัพ กรมตำรวจ กฎกมายการกระจายอำนาจ และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อเป็ฯการแลกเปล่ยนความช่วยเหลือ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดธรรมาภิบาล มีความโปร่งใสในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล และเืพ่อแก้ไขปัญหาคอรัปชั่นที่มีอยุ่มากในกัมพูชาให้หมดไป
            โดยภายหลังจากการเลือกตั้งทั่วไปในกัมพูชาในปี พ.ศ. 2541 ประเทศกัมพุชามีรัฐบาลใหม่ที่มีความพยายามในการยกระดับฟื้นฟูประเทศ และปะกาศให้คำมั่นสัญญาต่อนานาชาติที่ให้ความช่วยเลืหอต่อกัมพูชาในการพัฒนาประเทศ่ารัฐบาลกัมพูชายังคงมีเจรนาเดินหน้าในากรปฏิรูปแการบริหารประเทศ และยังมีความจำเป็นที่จะรับความช่วยเหลือจากนานาประเทศ
          ปัญหารการพัฒนาระบบราชการกัมพูชา ปัจจัยทางการเมืองที่เกิดท่ามกลาวสภาวะสงครามกลางเมืองมายาวนานเกือบ 3 ทศวรรษ ได้ทำให้กัมพูชาไม่สามารถพัีฒนาระบบราชการได้ และยังควต้องพึงพาการพัฒนาเศราฐกิจจากองค์การด้านการเงินระหว่างประเทศ รวมถึงการขาดแคลนทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพแม้ว่ารัฐบาลและองค์การระหว่างประเทศได้เข้ามาช่วยเหลือฟื้นฟูโดยตลอดนับแต่สงครามภายในได้ยุติลงเมื่อปี พ.ศ. 2534 แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ และถือว่ากัมพุชาป็นประเทศพัฒนาน้อยที่สุด รายจ่ายประจำและรายจ่ายด้านการลงทุนคิดเป็สัดส่วนร้อยละ 59.8 และ 38.2 ของรายจ่ายรวมตามลำดบ รายจ่ายประจำที่สำคัญคือ การปฏิรุประบบราชการ การปลกทหาร และการเลือกตั้ง เป็นต้น แม้เกิดแนวคิดการกระจายอำนาจเกิดขึ้นมาจากหลักธรรมภิบาล
          เนื่องจากรัฐบาลมีความเชื่อว่าการกระจายอำนาจเป็นการปกครองที่รัฐสามารถถ่ายโอนอำนาจการบังคับบัญชา และมอบหมายความารับผิดชอบในกิจการบางอยางให้ท้องถิ่นดำเนินการจัดการภายในเอง โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อให้ประชาชนช่วยเลหือซึ่งกันและกัน มีส่วนร่วมและรับผิดชอบร่วมกันในการดูแลกิจการท้องถิ่นของตนเอง แต่ในทางปฏิบัติแม้ว่าการปฏิรูประบบราชการ การกระจายอำนาจจะดำเนินไป แต่ก็ปรากฎสิ่งท้าทายที่สวนทางกับกระบวนการปฏิรูปด้วยเช่นกัน มีการแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองบางกลุ่ม ไม่ว่าจะเป้นการกำหนดตัวคนในด้านโครงสร้างกฎหมายหรือกำหนดกฎเกณฑ์ในกระบวนการกระจาย รวมไปถึงการข่มขู่คุกคามทางการเมือง
          ในช่วงเปิดประเทศหรือประมาณปี พ.ศ. 2533 ข้าราชการระดับสูงทังส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ส่วนใหญ่ได้รับการแต่งตั้งจากพรรคการเมืองโดยมีวาระตามการตัดสินใจของผุ้บริหารพรรคการเมือง ซึ่งเป็นผุ้บริหารประเทศ นักการเมือง และข้าราชการระดับสูงกลุ่มนี้ต่างมีรายได้มาจากการให้เช่าบ้านและที่ดิน ซึ่งได้รับการอำนวยความสะดวกในเรื่องกฎระเบียบของรัฐ รวมถึงเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศในโครงการพัฒนาต่างๆ ที่ยังมีปัญหาคอรัปชั่นอยู่มากในกัมพูชา ซึ่งทางธนาคารโลกได้รายงานว่าการทุจริตในหน้าที่ของบุคคลในรัฐบาลมีอย่างกว้างขวางและแพร่หลายภาคธุรกิจเอกชนส่วนใหญ่ยอมรับว่าจำเป็ฯต้องจ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลเพียงแค่ทำหน้าที่ตามปกตอ และต้องจ่ายสินบบนถึงร้อยละ 85 ของรายจ่ายนอกระบบ หรือตั้งแต่ร้อยลุ 5-6 ของรายรับจากการขายและเพิ่มขึ้นตามขนาดของธุรกิจซึ่งถือเป็นรายการใหญ่ของต้นทุนการผลิต โดยทั่วไปแล้วเงินรายจ่ายที่ไม่เป็นทางการนี้ ถือเป็นค่าตอบแทนให้เจ้าหน้าที่เพื่อให้ได้บริการที่รวดเร้ซขึ้น แต่ในกัมพูชาการติดต่อขอรับบริการจากเจ้าหน้าที่รัฐบาลต้องจ่ายเงินประเภทนี้ คล้ายกับเป็นค่าธรรมเนียมตามปกตอ เพียงแต่เงินที่จ่ายไปไม่ได้นำส่งเข้ารัฐ
             รัฐบาลกัพูชาในปัจจุบันภายใตการปกครองของ ฯพณฯ ฮุนเซน นายกรัฐมนตรีปัจจุบันมีนโยบายดังนี้
            จากการที่กัมพูชาได้ดำเนินการตามแผนพัฒนายุทธศาสตร์แห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2449-2553 ตามยุทธศาสตร์ลดความยากจนแก่งชาติ รวมทั้งป้าเมหายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษของกัมพูชา ซึ่งล้วนเป็นยุทธศาสตร์หลักที่รัฐบาลกัมพูชาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายให้กัมพูชาเดินหน้าไปสู่การพัฒนาและความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน และใช้พื้นฐานในการแก้ไขปัญหาสำคัญในการพัฒนาประเทศ 4 ด้าน คือ ด้านการเกษตร, ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน, ด้านการพัฒนาภาคเอกชนเพื่อการสร้างงานและด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่รวมถึงด้านการศึกษาและสาธารณสุข แม้ทั้งสี่ด้านที่กล่าวข้างต้นเป้ฯปัจจัยที่ผลักดันสังคมกัมพุชาให้ไปข้างหน้าแต่สังคมกัมพุชายังต้องอาศัยปัจจัยภายนอกมาช่วยเสริมกระตุ้นอย่างนโยบายการค้าตาบแบบเสรีโดยอาศัยกลไกตลาดเพื่อเปิดโอกาสให้แข่งขันได้อย่างเสรี และเป็นการระดมทุนจากต่างประเทศใหมาลงทุนในประเทศ นโยบายวันนี้ของประเทศกัมพูชาคือช่วยชี้แนะแนวนโยบายด้านการค้าแก่นักธุรกิจภายในและชาวต่างชาติให้ประกอบธุรกิจสอดคล้องกับทิศทางนโยบาย และตามกฎหมายของประเทศ มีการปรับปรุงการบังคับใช้กฎหมายธุรกิจการค้า กฎหมายตราสารหนี้และการชำระเงิน กฎหมายหลักทรัพย์ กฎหมายความปลอดภัยด้านธุรกรรมการเงิน ปรับปรุงและแก้ไขขั้นตอนศุลกากรการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา เช่น กฎหมายสิทธิบัตรกฎหมายเครื่องหมายการค้า และกฎหมายลิขสิทธิ์ เป็นต้น
             เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและส่งเสริมบรรยากาศการค้าการลงทุนและทิศทางใหม่ของประเทศ นายกรัฐมนตรีฮุน เซน ได้แถลงหาความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงคู่ค้าต่างประเทศเพื่อพัฒนาและเพิ่มความมั่นคงด้านการค้า โดยมุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและการค้าของประเทศ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้รุดหน้า พัฒนการส่งออกให้มีคุณภาพมากขึ้น เพื่อให้กัมพูชาได้รับผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจและการค้ามากที่สุด ถือเป็นแผนยุทธศาสตร์ที่แตกต่างจากแผนเดิม น่นคือมุ่งดำเนินวิธีการต่างๆ ให้ประเทศกัมพูชาได้รับผลประดยชน์จากการเข้ร่วมเป้นสมาชิกประชาคมอาเซียนและเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับมาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาลอย่างเต็มรูปแบบในอนาคต
            นอาจากนี้ประเทศกัมพุชายังมีแนวทางในการปฏิรูปและพัฒนาศักยภาพการแข่งขันภายใน 5 ปี ขางหน้า เพื่อให้สอดคล้องกับการรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อละสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก ซึ่งรวมถึงการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ การค้า การลงทุน การส่งเสริมธรรมาภิบาล และหลักนิติธรรมการเพิ่มโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริหารต่างๆ ได้มากขึ้นการพัฒนาคุณภาพและให้โอกาสด้านการศึกษาแก่เยาชนกัมพูชาเพื่อสร้างบุคลากรที่มีศักยภาพและสอดคล้องกับความต้องการของตลาด
             ระบบราชการของราชอาณาจักรกัมพูชาพบว่าหน่วยงานด้านการลงทุนให้ความเห้ฯที่เป็นไปในทิศทางเดี่ยวกันว่ากัมพูชาถือเป็นประเทศหนึ่งที่น่าลงทุน แต่ยังมีข้อเสียที่มีการทุจริตในวงราชการค่อนข้องมาก โดยจีรนันท์ วงษ์มงคล อัครราชทูตที่ปรึกษา(ฝ่ายการพาณิชย์) สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงพนมเปญประเทศกัมพูชา ได้กล่าวถึงข้อเสียการลงทุนในกัมพุชาไว้ในปี พ.ศ. 2553 ว่า "มีความไม่โปร่งใสของขั้นตอนและระบบราชการซึ่งตรงกับสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงพนมเปญที่กล่าวไว้ในปี พ.ศ. 2547 ว่า "ปัญหาคอรัปชี่นและความไม่โปร่งใสในระบบราชการเป้นภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น" ตรงกันกับสำนักงานส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศไทย ที่ได้วิเคราะห์ศักยภาพด้านการลงทุนว่าจุดอ่อนข้อที่ 17 ของกัมพูชาคือ ระบบราชการกัมพุชามีการคอรัปชั่นสูง นอกจากนี้ยังมีการศึกษาถึงการคอรัปชั่นในประเทศกัมพูชา กล่าวถึงการคอรัปชั่นในกัมพูชาไว้ว่า
            คอรัปชั่นเกิดได้หลากหลายรูปแบบทั้งการให้สินบน การเล่นพรรคเล่นพวกการหลีกเลี่ยงภาษี ฯลฯ โดยกมาทุจริตนั้นจะเกิดจากปัจจัยดังนี้
             - ปัจจัยด้านการเมือง ระดับการคอรัปชั่นขึ้นอยุ่กับความเข้มแข็งของสังคม อิสระของสื่อมวลชนใบริบทของกัมพูชาจากความจริงที่ว่ารัฐบาลเิดขึ้นและได้รับอิทธิพลทางการเมืองเพือเป้าหมายและกลยุทธ์ทางการเมือง โดยรัฐบาลมีบทบาทโดดเด่นในการับและการใช้จ่ายทรัพยากรของพวกตน บางครั้งวงจรการทุจริตดูเหมือนว่าจะปรกฎตัวขึ้นเป็นครั้งคราวและกลายเป็นระบบ
            - ปัจจัยทางกฎหมายและจริยธรรม ปัจจัยสำคัญที่เชื่อมโยงกับการทุจริตคือคุณภาพระบบกฎหมายของประเทศเพื่อการดำรงอยู่ของกฎหมายต่อต้านการทุจริตที่มีประสิทธิภาพและความสามารถในการบังคับใช้กฎหมาย การคอรัปชั่นยังเกี่ยวกับสถานที่ที่ทมีคุณค่าทางจริยธรรมที่ถูกละเลยโดยผุ้ทีกกระทำการทุจริตละเลยศักดิ์ศรีและทำตามความเห็นแก่ตัวของตน
           - ปัจจัยระบบราชการ ในการออกกฎการแทรกแซงและกฎระเบียบราชการในระบบเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการทุจริตทีมีแนวโน้มจะสูงขึ้น จากการที่ภาครัฐเรียกเก็บเงินจำนวนมาจากรกฎระเบียบที่เือ้อต่อเจ้าหน้าที่รัฐในการหาประโยชน์ส่วนตัว ในขณะที่การเพ่ิมขึ้นหรือลอลงของความรับผิดชอบอาจก่อใไ้เกิดการคอรัปชั่น
          - ปัจจัยด้านผลตอบแทนจากการที่เจ้าหน้ารัฐมีรายได้อยู่ในระดับต่ำ หรือแตกต่างจากค่าจ้างของภาคเอกชนค่อนข้างมาก ทำให้ข้าราชการเกิดการคอรัปชั่นได้
          - ปัจจัยด้านเศรษฐกิจการคอรัปชั่นมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นจากากรมี่รัฐสร้างเศรษฐฏิจแบบผูกขาด จะเห็นได้ว่าจากการศึกษาดังกล่าวระบบราชการภายในราชอาณาจักรกัมพูชายังมีากรคอรัปชั่นอยู่ค่อนข้างสูงจากปัจจัยสนับสนุนที่หลากหลาบ ถือเป็นอีกหนึ่งจุดเด่นของระบบราชการราชอาณาจักรกัมพูชาโดยในปัจจุบันรัฐบาลกัมพูชามีนโยบายปราบปรามการทุจริตอย่างจริงจังมากย่ิงขึ้น



                         - "ระบบบริหาราชการของอาณาจักรกัมพูชา" สภาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...