Bureaucracy : Vietnam

           เวียดนามปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม โดยมีพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม เป็นพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวของประเทศ โดครงสร้างการปกครองของเวียดนามแบ่งออกเป็น3 ระดับคือ
          - ฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่ สภาแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นฝ่านนิติบัญญัติ มีอำนาจสูงวสุดในการกำหนดนโยบายทั้งภายในและต่างประเทศ มีหน้าที่บัญญํติลแก้ไขกฎหมาย แต่งตั้เงประธานาธิบดีตามพที่พรรคคอมมิวนิสต์เสนอ ให้การรับรอง หรือถอดถอนนายกรัฐมนตรีตามที่ประธานาธิบดีเสนอ รวมทั้งแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ อันเป็นระบบกรบริหารแบบผุ้นำร่วม
         - ฝ่ายบริหาร หรือรัฐบาลส่วนกลาง ประกอบด้วย ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี รวมไปถึงตำแหน่งสำคัญในพรรคคอมมิวนิสต์ เชน สมัชชาของพรรคคอมมิวนิสต์ มีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี มีหน้าที่พิจารณา ให้ความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์กรบริหารระดับสูง เลขาธิการ พรรคคอมมิวนิสต์ เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดของพรรค คณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์ ทำหน้าที่กำหนดนโยบายด้านการเมือง เศราฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม กรมการเมือง เป็นองค์กรบริหารสูงสุด เป้ฯศูนย์ กลางอำนาจในการกำหนดนโยบาย และควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนด
        - การปกครองท้องถิ่น ในแต่ละจังหวัดจะมีคณะกรรมการประชาชน ทำหน้าที่บริหารงานภายในท้องถิ่นให้เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ นโยบายและกฎระเบีบยต่างๆ ที่บัญญัติโดยองค์กรของรัฐที่อยู่ในระดับสูงกว่า ระบบการบริาหราชการท้องถิ่นของเวียดนามแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
           ระดับจังหวัดและเที่ยบเท่า มี 59 จังหวัด กับอี 5 นคร คือ ฮานอย โฮจิมินห์ ไฮฟอง ดานัง และเกินเทอ ซึ่งจะได้รับงบลประมาณจากส่วนกลางโดยตรง รวมทั้งข้าาชาการจะได้รับการแต่งตั้งโดยตรงจากส่วนกลาง จึงมีอำนาจในการตัดสินใจอย่างเต็มที่ ช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงาน
          เวียดนามได้ทำแผนงานการปฏิรูประบบราชการสำหรับปี พ.ศ. 2544-2553 โดยเน้น 4 ประเด็น ได้แก่ การปฏิรูประบบกฎหมาย การปฏิรูปโครงสร้างองค์กร การยกระดับความสามารถของข้าราชการ การปฏิรูปด้านการคลัง และได้มีการออกกฎหมายใหม่สำหรับหน่วยงานของรัฐและข้าราชการพลเรือนโดยเริ่มมีผลบังคับ เมื่อ พ.ศ. 2553
          เห็นได้ชัดว่าการปฏิรูปเวียดนามน้นเป็นช่วงการนำบทเรียนหรือข้อสรุปมาสู่การปฏิบติโดยการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่สำคัญของเวียดนามจำเป็นต้องผ่านการประชุมใหญ่หรือ "สมัชชา"พรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งจัดขชึ้นทุกๆ 5 ปี ครั้งล่าสุดจัดเมื่อ ปี 2554 โดยไม่มีนโยบายที่จะปฏิรูประบบราชการใหม่ ดังนั้นคงต้องติดตมการประชุมใญ่ในปี 2559
          การปฏิรูประบบราชการส่วนกลาง ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ พ.ศ. 2554-2563 ของเวียดนามได้ระบุชัดถึงการปฏิรูประเบียบราชการให้สมบูรณ์โดยเน้นในการสร้างระบบราชการให้บริสุทธิ์ตามแผนการปฏิรูประเบียบราชการในทุกด้าน ไม่ว่าจะในด้านระบบราชการ กลไก บุคลากร และการพัฒนาระบบราชการของชาติให้ทันสมัย ได้มีการปฏิรูประเบียบราชการตามแบบการบริหารแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ มีการตรวจสอบการประกาศระเบียบราชการอย่างเปิดเผย ตลอดจนติดตามตรวจสอบเจ้าหน้าที่ข้าราชการของกระทรวงและหน่วยงานในการพบปะแก้ไขปัญหาของประชาชนและผุ้ประกอบการ
          เวียดนามกำลังสร้างระเบียบราชการที่มประชาธิปไตย มืออาชีพ และมีประสิทธิภาพ อันเป็นการมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอรัปชั้น การใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย และการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมเพื่อตอบสนองความต้องการในการปรับตัวให้ทันโลก
         กากรปฏิรูประบบาราชการส่วนท้องถ่ิน โครงการปฏิรูปการบริหาราชการในประทเศเวียดนาม เป้ฯโครงการที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้เกิดการใช้หลักนิติธรรมในการบริหารจัดการส่วนกลาง เป็นมาตรการโดยพรรคการเมืองหลักและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อปฏิรูปให้เกิดเป็นระบบสถาบันและระบบตามกฎหมายให้เป็นเศรษฐกิจแบบตลาดสังคมนิยมโดยการสร้างระบบการบริหารจัดการสาธารณะที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์เรื่องการจักการสาธารณะของเวียดนามเป็นเรื่องที่ยังมีความขัดแย้งภายในอยู่ มีหลายแง่มุมที่กระทบกระเทือนผลประโยชน์ของนักการเมืองบางฝ่าย จึงเป็นเหตุให้การปฏิรูปยังคงมีปัญหาตามมา
         ทั้งนี้ มีผู้สนับสนุนหลายฝ่ายทั้งจากองค์กรในประเทศและต่างประเทศให้มีการปฏิรูปอย่างลึกและเร็ว การปฏิรูปนี้ได้รับการผลักดันโดยนักการเมืองชั้นนำของประเทศเวียดนาม ดดยมีความมุ่งหมายที่จะส่งเสริมความสำเร็จในทางเศรษฐกิจเป็นหลัก และการปรับปรุงระบบราชการเวียดนามให้เป็นระบบที่ประสิทธิภาพและไม่คดโกง โดยขณะนี้เจ้าหน้าที่รัฐกำลังดำเนินการตามโครงการนี้อย่างหนัก แต่เนื่องจากความมีอิทธิพลอย่างมากของระบบสังคมนิยม จึงทำให้ยังเกิดข้อขัดแย้งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้บ้าง
           เวียดนามปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ มีการรวมศูนย์อำนาจของเวียดนามไว้ที่รัฐบาบลส่วนกลาง โครงสร้างของอำนาจหน้าที่ถูกจัดเรียงจากบนลงล่าง การบริาหรส่วนกลางแบ่งงานตามหน้าที่ของแต่ละกระทรวง ซึ่งดำเนินงานไปตามแผนนโยบายของรัฐบาลและอำนาจในส่วนกลางนี้ คือ การเป็นหน่วยดูแลประเด็นเรื่องการเมืองเศรษฐกิจ วัฒนธรรม สังคม การป้องกันประเทศ ความมั่นคง และกิจการระหว่างประเทศ
       

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)