- ระดับกลาง ประกอบด้วย สำนกนายกรัฐมนตรี
- ระดับภาคส่วน ประกอบด้วย ประทรวงหรือองค์การที่อยู่ในระดับเดียวกัน สำนักงานประธานประเทศ องค์การพรรคการเมืองกลุ่มแนวลาวสร้างชาติ ศาลประชาชน และศาลอุทธรณ์
- ระดับท้องถิ่น ข้าราชการในสปป.ลาว หมายถึง เจ้าหน้าที่ในองค์การพรรครัฐบาลกลุ่มแนวลาวสร้างชาติ องค์การมวลชนทั้งในระดับส่วนกลาง แขวง และเมือง รวมถึงสำนักงานตัวแทนของสปป.ลาวในต่างประเทศ ซึ่งไม่รวมถึงสมาชิกสภาที่มิได้เป็ฯสมชิกรรค ทหาร ตำรวจ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และลูกจ้างชั่วคราว โดยข้าราชการในสปป.ลาวแบ่งออกเป็น 6 ระดับ ได้แก่ ระดับ 1 และ 2 เป็นกลุ่มพนักงานธุรการ ระดับ 3,4 และ 5 เป็นกลุ่มพนักงานระดับผุ้เชี่ยวชาญ และระดับ 6 เป็นระดับสุงสุดสไหรับตำแหน่งผุ้บริหารระดับสุงในรัฐบาล เช่น รัฐมนตรี ผุ้ช่วยรัฐมนตรี และที่ปรึกษาอาวุโส
ในสปป.ลาวนอกจากข้าราชการที่มีดำแหน่งภาวร (การจ้างงานตลอดชีพ) ที่ได้รับค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่นๆ ตามที่กำหนดอย่างเป็นทางการแล้ว ยังมีตำแหน่งในระบบข้าราชการสปป.ลาวอีก 3 ประเภท
ประเภทแรก คือ แบบสัญญาร้อยละ 95 โดยผุ้ปฏิบัติงานจะได้รับเงินค่าจ้างคิดเป้นร้อยละ 95 ของตำแหน่งถาวร แต่ไม่ได้รับประโยชน์ด้านสวัสดิการอื่นๆ ผุ้ปฏิบัติงานแบบการทำสัญานี้ ส่วนใหญ๋จะถือว่ามีคุณสมบัติเพียงพอที่จะบรรจุเข้าในตำแหน่งแบบถาวร แต่จำเป็นต้องรอเนื่องจากอัตราการจ้างมีจำกัด
ประเภทที่2 คือ แบบอาสาสมัคร ไม่มีการการันตีรายรับ แต่ผุ้ปฏิบัติงานจะได้รับเงินค่าจ้างตางานที่ทำและตามงบประมาณที่มีในหน่วยงานนั้น ประภทสุดท้าย คื อแบบสัญญาจั้งงานชัวคราว การจ้างงานรูปแบบนี้เคยบรรจุอย่างเป็นทางการ ซึ่งรัฐบาลสปป.ลาว ค่อยๆ ลดจำนวนลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 แต่ยังคงพบการจ้างงานประเภทนี้อยุ่ในบางจังหวัดและบางภาคส่วนผุ้ปฏิบัติงานรูปแบบนี้จะได้รัเงินเดือนต่ำกว่าระดับสัญญาร้อยละ 95 และไม่ได้รับสทิะิประโยชน์อื่นๆ และระยะเวลาของสัญญามีจำกัด แม้ว่าส่วนใหญ่จะมีการต่อสัญญาเสมอก็ตาม
รายงานของสปป.ลาวระบุว่า สปป.ลาว อยู่ในช่วงของการปฏิรูประบบราชการให้มีความทันสมัย สอดคล้องกบสภาพการณ์ที่เปลี่นแปลงไป อย่างไรก็ตามปัญหาที่ภาคราชการสปป.ลาว กำลังประสบอยุ่ คือ การสรรหาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้าสู่ภาคราชการ โดยเฉพาะราชการส่วนท้องถิ่น ดังนั้นการพัฒนาข้าราชการให้มีทักษะและภาวะผุ้นำโดยวิธีการพัฒนาในการจัดหลักสูตรการศึกษา การจัดฝึกอบรม รวมถึงการจัดให้มีเวทีแสดงความคิดเห็นร่วมระหว่งภาคราชการและเอกขชนจะเป็นการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
1 การฝึกอบรมขั้นพื้นฐาน หมายถึง การอธิบายให้ข้าราชการเข้าใหม่เข้าใจเกี่ยวกับกฎระเบียบสำหรับขช้าราชการในสปป.ลาว กฎการบริหารจัดการภายในองค์การ ตำแหน่ง บทบาท หน้าที่และโครงสร้างองค์การของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระบบการประสานงานและประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวกับบทบาทและหน้าทีที่เกี่ยวข้องในองค์การ
2 การฝึกอบรมระหว่างการประจำการ หมายถึง การฝึกอบรม การเสริมสร้างขีดความสามารถเกี่ยวกับทฤษฎีด้านการเมือง ความรู้ด้านเทคนิคเฉพาะสำหรับข้าราชการ โดยดุจากผลการประเมินการปฏิบัติงานประจำปีและแผนการฝึกอบรม
3 การฝึกอบรมก่อนเข้ารับตำแหน่งใหม่ หมายถึง การฝึกอบรม การเสริมสร้างขีดความสามารถเกี่ยวกับทฤษฎีด้านการเมือง ความรู้เทคนิคและความรู้พื้นฐานที่จำเป้นอื่นๆ เพื่อเตียมความพร้อมสำหรับตำแหน่งหน้าที่ใหม่และซับซ้อนมากขึ้น หรือการเข้ารับตำแหน่งฝ่ายบริหารในระดับที่สูงขึ้น
โดยการคัดเลือกข้าราชการเพื่อเข้ารับการฝึกอบรมหรือเสริมสร้างขีดความสามารถจะพิจารณาจากปัจจัยดังต่อไปนี้
1 ผลการประเมินการปฏิบัติงานที่ผ่านมา
2 ความจำเป้นต่อหน่วยงานและงานที่รับผิดชอบ
3 มีจุดมุ่งหมายที่จะรับหน้าที่ในตำแหน่งที่ว่างหรือตำแหน่งผุ้บริหาร
สำหรับผุ้สมัครเพื่อจะเข้ารับการศึกษาต่อเป็นเวลา 3 ปีขึ้นไป จะต้องมีความต้องการที่จะพัฒนาตนเอง มีสุขภาพแข็.แรง และอายุไม่เกิดน 45 ปี
อุปสรรคในการพัฒนาข้าราชการลาว โดยประเด็นหลักๆ ได้แก่
- ค่ำตอบแทนอยู่ในระดับต่ำ ทำให้เกิดคามยากลำบากในการคัดสรรพนักงานที่มีคุณภาพ และการรักษาระดับผลการปฏิบัติงานด้วยระดับการศึกษาในสปป.ลาว และจำนวนผุ้ทีผ่านการฝึกอบรมมาเป็นดียังมีไม่มาก จำนวนของบุคลากรที่มีคุณสมบัติสำหรับตำแหน่งในภาครัฐก็ยิ่งมีจำนวนจำกัดยิ่งขึ้น
- การบริหารทรัพยากรบุคคลที่ไม่เชื่อมโยงผลการปฏิบัติงานกับผลตอบแทน
- ขาดการบริหารผลการปฏิบัติงานที่มีมตรฐาน ซึ่งไม่มีความสอดคล้องกับการทำงาน อาทิ หน้าที่ความรับผิดชอบ
- การกระจายข้อราชการทั่วประเทศเป็นไปอย่างไม่เหมาะสม ทำให้ในบางพื้นที่มีเจ้าหน้าที่รัฐมกเกินความจำเป้ฯ ในขณะที่บางแห่งยังขาดแคลน
- ฐานข้อมูลของข้าราชการที่ยังไม่มีคุณภาพ
เป้าหมายการพัฒนาระยะยาวของสปป.ลาว คือการหลุดพ้นจากการเป็นประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ภายในปี พ.ศ. 2563 การที่จะบรรลุเป้าหมายที่ท้าทายได้ สปป.ลาวจะต้องมีระบบราชการที่สามารถสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างรวดเร็ว ด้ววยเหตุผลนี้การปฏิรุปราชการจึงเป็นกิจกรรมหลักของระบบาราชกาในสปป.ลาว ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2533 การพัฒนาด้านการบริหากลายเป็นองค์ประกอบหลักในการพัฒนาแผนขจัดความยากจนแห่งชาติ การพัฒนาคุณภาพของข้าราชการเองถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป้นอันดับแรกในกระบวนการปฏิรูประบบราชการ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างการบริการของรัฐที่มีประสิทธิภาพ ประสทิธิผล ผ่านการอบรม สุจริต และมีจรรยาบรรณซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนสปป.ลาว ที่มีหลากหลายภายในสังคมที่มั่นคงและสันติ และสามารถสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยือนึ่งเป็นพื้นฐานในการกำจัดความยากจนและสร้างประเทศให้ทันสมัย
ในปัจจุบันกระทรวงที่รับผิดชอบโดยรงในด้านกรพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ คือ กระทรวงกิจการภายใน หรือทบวงการปกครองและคุ้มครองรัฐกรเดิม โดยมีหน่วยงานสนับสนุนในด้านต่างๆ มุ่งเน้นการปฏิรูประบบราชการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงานภาครัฐทั้งในระดับส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนให้ได้อย่างเท่าเที่ยม มีการตั้งศูนย์การฝึกอบรมข้าราชการ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาและส่งมอบโปรแกรมการฝึดอบรมภายใน รวมถึงการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งการฝึดอบรมในภาครัฐของสปป.ลาว จะมีการฝึกอบรมตั้งแต่การฝึกอบรมขั้นพื้นฐาน การฝึกอบรมระหว่างประจำการ และการฝึกอบรมก่อนเข้ารับตำแหน่งใหม่ ซึ่งในแต่ละกระทรวงก็จะมีแปนการฝึกอบรม เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรในสังกัดของตนเอง อย่างไรก็ดี การพัฒนาข้อาราชการในสปป,ลาว ยังคงมีประเด็มท้าทายในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าตอบแทนหรือการขาดแคลนบุคลากรที่มีคุณภาพ
องค์การมวลชน สปป.ลาวมีการจัดดครงสร้างเพิ่มขึ้นจากองค์การทางการเมืองในรูปแบบการแบ่งอำนาจ ดดยทั่วไปนั่นคืองค์การมวลชนที่มีบทบาทในการปลุกระดมประชาชกลุ่มอาชีพและชนชั้นต่่างๆ เพื่อสรับสนุนการดำเนินงาน และร่วมกัิกรรมทางการเมืองของพรรคประชาชนปฏิวัติสปป.ลาว ได้แก่
- องค์การแนวลาวสร้างชาติ เป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นในช่วงสงครามปฏิวัติสปป.ลาว เมื่อปี พ.ศ. 2493 ในชื่อเดิม คือ "แนวลาวรักชาติ" ซึ่งมีภารกิจสำคัญในการสร้างความสามานฉันท์ให้เกิดแก่ประชาชนสปป,ลาวทุกชนชาติลแะทุกชนชั้นของสังคม เพื่อยกระดับสำนึกทางการเมืองของประชาชและระมมวลชนในการปกิบัติงานร่วมกัน โดยมีการจัดดครงร้างองค์การเป็นช่วงชั้น ที่ประชุมสมัชชาของแนวลาวสร้างชาติเป็นองค์การสูงสุด ซึ่งจะมีการเลือกคณะกรรมการกลางมีการจัดตั้งคณะกรรมการระดับแขวงและระดับอื่นๆ เพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นแนวร่วมไปจนถึงระดับท้องถิ่น ทั้งนี้แนวลาวสร้างชาติถื่อเป็นองค์การมวลชนเดี่ยวที่เปิดโอกาสให้คนทุกลุ่มโดยเฉพาะนักธุรกิจและปัญญาชนที่ได้รับการศึกษจากตะวันตกให้เข้าเป็นสมาชิกได้
- สหพันธ์กรรมกรลาว เป้ฯองค์การของกลุ่มผุ้ใช้แรงงานและลูกจ้างในภาคการผลิตต่างๆ แต่ผุ้ใช้แรงงานทั่วประเทศไม่ได้เป็นสมาชิกสหพันธ์ทั้งหมด เนื่องจากบางแห่งมีจำนวนผุ้ใช้แรงงานน้อย และไม่มีการจัดตั้งองค์การที่ดี
- องค์การเยาวชนปฏิวัติลาว เป้ฯส่วนหนึ่งของแนวลาวรักชาติที่จัดตั้งมากกว่า 30 ปี โดยเร่ิมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 ได้มีการจัดตั้งองค์การตามเมืองใหญ่ซึ่งมีเป้าหมายในการบ่มเพาะให้ยุวชนเป็นผุ้นำในการสร้างระบบสังคมนิยม ซึ่งองค์การเยาวชนปฏิวัติลาวจะมีหน้าที่ในการสร้างเยาวชนให้มีสัมพันธ์ภาพทางการปลิต 3 ประการของการปฏิวัติ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วัฒนธรรม และอุดมการณ์ รวมทั้งปลูกฝังให้เยาวชนต่อต้านอำนาจจักรวรรดินิยมจากต่างชาติ
- สหภาพแม่หญิงลาว เป้นองค์การส่วนหนึ่ง อันเกิดจากแนวลาวรักชาติ ซึ่งเป็นผลมาจากแนวคิดของนาย ไกสอน พมวิหาน ที่ต้องการยกระดับสำนึกทางการเมืองของสตรี เพื่อให้ร่วมสร้างการปฏิวัติสังคมนิยม รวมทั้งการเป้นแรงงานที่สร้างผลิตผลและมบทบาทที่แข็งขันในพรรคการเมือง ตลอดจนกาทำหน้าที่มารดาในการบ่มเพาะบุตรให้เป็นสังคมนิยมรุ่นใหม่ ท้งนี้ภารกิจเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป้นต่อการปกป้องและสร้างชาติของสปป.ลาว
- "ระบบบริาหราชการของ สาธารณรัฐปรชาธิปไตยประชาชนลาว", สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น