กัมพุชาเป็นประเทศที่ประสบกับภาวะความขัดแย้งทางการเมืองและสงครามกลางเมืองอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 150 ปี ซึ่งได้สร้างประสบการณ์และได้ทิ้งร่องรอยของความบอบช้ำจากสงครามภายในประเทศไว้มากมาย เช่น ปัญหาคอรัปชั่น ปัญหาเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ปัญหาความยากจนและปัญหาสิ่งแวดล้ม เป้นต้น ดังนั้นจากสภาพความไม่มั่นคงทางการเมืองในระดับชาติจึงกลายเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ส่งผลให้แนวคิดการกระจายอำนาจให้กับการปกครองท้องถิ่นของกัมพูชานับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1863-1991 ไม่ได้รับความสนใจหรือไม่มีการสนัสนุนให้เกิดการกระจายอำนาจอย่างจริงจังจากทั้งเจ้าอาณานิคมและรัฐบาลในแต่ละช่วงเวลาอย่างที่ควรจะเป็น กระทั่งสงครามกลางเมืองสิ้นสุดลงตามขช้อตกลงสันตุภาพที่กรุงปารีส ที่เปิดทางให้กับการเข้ามาของ UNTAC เพื่อทำการฟื้นฟูประเทศกัมพุชาและนำไปสุ่การเลือกตั้งระดับชาติที่เป็นประชาธิปไตยครั้งแรกของกัมพูชา ซึ่งเป็นภารกิจหลัก นอกจากนั้น UNTAC และประเทศผุ้ให้การสนับสนุนก็ยังให้ความสำคัญกับการแห้ไขปัญหาความยากจน (อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการออกไปของอาณานิคม) โดยมีความเชื่อพื้นฐานว่า การพัฒฯาประชาธิปไตยระดับชาติให้เป็ฯพหุประชาธิปไตย และการลดปัญหาความยากจน ในกัมพุชาควรจะมีการปฏิรูปรัฐบาลพัฒนาสถาบันทางกรเมือง ปกิรูประบบราชการ สร้างและปรับปรุงระบบธรรมาภิบลาลในภาครัฐรวมไปถึงการกระจายอำาจสู่ท้องถิ่น
ดังนั้น จากหลักการดังกล่าวจึงนำไปสู่การจัดตั้งโครงการการร่วมือระหว่างรัฐบาลกัมพุชาและผุ้ให้การสนับสนุน เพื่อทำารศึกษาและทำการจัดการทอลองการนำรูปแบบสภาท้องถิ่นไปใใช้ในท้องถิ่น ซึ่งได้กำหนดแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ส่วนที่สำคัญได้แก่ ระดับชาติ (พิจารณาจุดแข็งและจุดอ่อนของนโยบาย รวมทั้งวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในการปฏิรูป) ความสัมพันธ์ระหว่งรัฐบาลกลางกับท้องถ่ิน (การดำเนินการออกแบบกำหนดให้ีการบรรลุถึงเป้าหมายของการปฏิรูป) และคามสัมพันะ์ระหว่างท้องถิ่นกับท้องถิ่น ผความร่วมมือระหว่างประชาชนในคอมมูน ความสัมพันธ์ระหว่างคอมมูน และคามอิสระของท้องถิ่น)
โครงการดังกล่าวจัดว่าเป็ฯโครงการพัฒนาชนบทที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด โดยรัฐบาลกัมพุชาได้เริ่มทอลองให้มีการกระจายอำนาจให้กบท้องถิ่นกว่าร้อยละ 20 ของประเทศ และมีการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาชนบทประจำตำบลและหมู่บ้านทั่วประเทศกว่า 1,000 หมู่บ้านและกว่า 100 ตำบล เพื่อทำแผนการพัฒนาประจำปมู่บ้านและตำบล โดยเฉพาะการสร้างดครงสร้างพื้นฐานสาธาณณูปโภคต่างๆ ทั้งนี้จะประสบการณ์จากโครงการดังกล่าวจึงทำให้รัฐบาลกัมพุชาได้รับประสบการณ์ในเบื้องกต้นสำหรับการจัดให้มีการเลือกต้งสภาท้องถิ่นซึ่งเป็นขึ้นตอนแรกของการกระจายอำนาจจากส่วนหลางสู่ท้องถิ่นและนำไปสู่การจัดร่างกฎหมายเพื่อสนับสนุนการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นของกัมพุชาทั้งกฎหมายการเลือกตั้งและกฎหมายในการบริหารและจัดการท้องถิ่น กฎหมายเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สมบัติของจังหวัด/กรุง เป็นต้น
ทั้งนี้ดูเหมือนว่าการกระจายอำนาจในกัมพูชามีการกำหนดทิศทางและกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน แต่ทว่าความตั้งใจดังกล่าวกับไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้การกระจายอำนาจยังคงดำเนินไปยอ่างล่าช้าเนื่องจากว่าภายหลงการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1993 มีการจัดตั้งรัฐบาลผสมเป็นรัฐบาลแห่งชาติของ 4 พรรคได้แก่พรรคซีพีพี CPP พรรคฟุนซินเปค พรรคพุทธเสรีประชาธิปไตยและพรรคโมลินาคา มีนายกรัฐมนตรี 2 คน แต่อำนาจกลับอยู่ในมือของสมเด็๗ฮุนเซนมากกว่า และส่งผลให้กลไกของรัฐไม่สามารถทำงานได้ตามปกตออำนาจในท้องถิ่นก็อยู่ภายใต้การควบคุมของพรรคซีพีพี เพราะได้ร่วมกับประชานนการสู้รบกับเขมรแดงจึงทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่งสองขััวอำนาจ เพราะแต่ละพรรคต่างก็ต้อกงการสรางอำนาจฐานการเมืองในระับท้องถิ่นให้เข้มแขงเพื่อเตียมพร้อมกับการเลือกตั้งทั่วไปที่กำหนดให้มีขึ้นในปี ค.ศ. 1998 ท้ายที่สุดชนวนความขัดแย้งในการแบ่งสรรอำนาจระหว่างพรรคประชาชนกัมพุชา CPP แลพพรรคฟุนซินเปค ก็ดำเนินมาสู่จุดแตกหัแกละนำไปสู่การรัฐประหารโดยนายฮุน เซนในปี ค.ศ. 1997 แต่ดวยแรงกดดันจากนานาชาติและการดำเนินนโยบายการแทรกแซงอย่างสร้างสรรค์ จากอาเซียจึงทำให้พรรคประชาชนกัมพูชา ยอมไใ้มการเลือกต้้งระดับชาติครั้งที่ 2 ในปี คซศ. 1998จากความไร้เสถียรภาพทางการเมืองระดับชาติจึงกำหนดการเดิมซึ่งกำหนดให้มีการเลือกตังระดับท้องถิ่นในปี ค.ศ. 1999 ต้องเลื่อนออกไปเป็นเดือนมีนาคม ค.ศ. 2000
โดยภายหลังจากการเลือกตั้งทั่วไปในกัมพุชาในปี ค.ศ. 1998 รัฐบาลกัมพูชามีความพยายามในการฟื้นฟุประเทศขึ้นมาใหม่อีกครั้งและการให้คำมั่นสัญญาต่อนานาประทเศที่ให้ความช่วยเหลือต่อกัมพุชาในการพัฒนาประเทศ และรัฐบาลกัมพุชาก็มีความจำเป้นต้องมีการปฏิรูปการบริหารประเทศในหลายๆ ด้านเพื่อการปกครองที่บริสุทธิ์ยุตธรรมเช่น การปฏิรูประบบการเงินกาีคลังของประเทศ การปฏิรูประบบการบริหารประเทศและกำลังทหาร การปฏิรูปการกระจาอำนาจการปกครอง สำหรับแนวคิดการกรจายอำนาจเกิดขึ้นมาจากหลักธรรมาภิบาล เนื่องจากรัฐบาลมีความเชื่อว่าการกระจายอำนาจเป้นการปกครองที่รัฐมสมารถ่ายโอนอำนาจการบังคับบัญ๙าและากรมอบหมายความับผิดชอบในการบางอย่างให้กับท้องถิ่นดำเนินกาจัดการภายในท้องถิ่นเอง โดยจุดมุ่งหมายสภคัญเพื่อให้ประชาชนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีส่วนร่วมและรับผิดชอบร่วมกันในการดูแลกิจการท้องถิ่นของตนเอง แต่อย่งไรก็ตาม แม้ว่าการปฏิรูประบบราชการ การกระจายอำนาจจะดำเนินไป แต่ก็ปรากฎสิ่งที่ท้าทายกระบวนการปฏิรูปด้วยเชช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นในด้านของโครงสร้างกฎหมายของประบวนการกระจาย ความสัมพันธ์ของโครงสร้งกฎหมายของกระบวนการกระจาย ความสัมพันธ์กับกระบวนการแบ่งอำนาจรวมไปถึงเร่ิมมีการข่มขู่คุกคามทางการเมืองแม้ว่าจะยังไม่มีกำหนดการเลือกตั้งที่ชัดเจน โดยเดือนสิงห่คม ค.ศ. 2000 ผุ้ที่คดว่าจะลงใาัครแข่งขันรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น ของพรรคฟุนซินเปค 1 คนและของพรรคสม รังสี อีก 2 คน ถูกลอบยิงเสียชีวิตในจังหวัดกำปอต จังหวัดกำปง จาม และสังหวัดไพรเวงตามลำดับ
กระทั่งปี ค.ศ. 2001 มีการผ่านกฎหมายท้องถิ่น ออกมา 2 ฉบับได้แก่ กฎมหายการบริหารและจัดการท้องถิ่น และกฎมายการเลือกตั้งท้องถิ่น ซึ่งเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจกับสภาท้องถ่ินในการวางแผนพัฒนาและบริหารแผนพัฒนาท้องถิ่นรวมไปถึงการมีวบประมาณเป็ฯของตัวเองและนำไปสู่การเลือกตั้งระดับท้องถ่ินในเือนกุมภมพันธ์ ปี 2002 และเกิดปรากฎหารณ์การเคลื่อนไหวทางการเืองท้องถ่นนของกัมพูชาเป็นอย่างมากหว่าคือ ตัวแทนจากพรรคการเมืองต่างๆ ของกัมพุชาได้เข้าร่วมในการเลือตั้งในระดับสภาพท้องถิ่นทั่วทุกแห่งของประเทศ ซึ่งกอ่นหน้านี้ผุ้นำท้องถ่ินเหล่านี้ต่างก็คือ บุคคลที่เคยได้รบแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 ภายใหต้การีนำของพรรค PRK ที่ได้ร่วมต่อสู้กับประชาชนในช่วงที่เขมรแดงยังปกครอง และถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนชื่อพรรคมาเป้ฯพรรคประชาชนกัมพุชา ผุ้นำเหล่านี้ก็ยังคงมีความจงรักภักดีทางการเืองอย่งต่อเนื่อง ขณะเดี่ยวกันพรรคประชาชนกัมพูชา เองก็พยายามที่จะรักษาอำนาจและคงอิทธิพลฝังรากตั้งแต่ระดับำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน ซึ่งนับได้ว่ากลายเป็นกลไกสำคัญแลทำให้พรรรคประชาชนกัมพุชามีเสถียรภาพทางการเมืองสูงจวบจนปัจจุบัน
ผู้นำชุมชนที่มาจากการแต่งตั้ง เพื่อให้ภาพการพัฒนาการการกระจายอำนาจและกรปกครองท้องถิ่นของกัมพูชาที่ชัดเจน จำเป็จ้องนำเสอนการปกครองท้องถิ่นของกัมพูชาตั้งแต่อดีตที่มาจาการแต่งตั้งจนกระทั่งก่อนจะมีเลือกตั้งในปี ค.ศ. 2002
กัมพูชานช่วงที่ตกอยุ่ใต้อาณัติของฝรั่เศส มีการเหล่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่งมาก โดยเฉพาะการที่พระมหากษัตริย์จำต้องลงรพนามในกฎหมายและประกาศหลายฉบับในปี ค.ศ. 1884 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ให้ผลประโยชน์แก่ฝรั่งเศสทั้งส้ินเช่น ข้อตกลงฉบับหนึ่งที่มีข้อสัญญาบางข้อที่เป้ฯการวบอำนาจในกัมพุชาไฝ้ในมือของฝรั่งเศสอย่างเบ็ดเสร็จ ราชธานีพนมเปญอยุ่ภายใต้การปคกรองโดยตรงจากฝรั่งเศส แระชาชนทุกชนชั้นวรรณะต้องตกเป้นผุ้คอนรับใช้เพื่อสนองผลประดยชน์แก่เจ้าอาณานิคม ฝรั่งเศสมีอสิระอย่างเต็มี่ในการเก้บภาษีอากรทุกประเะภทแงะมี่สิทธิแต่งตั้งผ้ดูแลที่เป็นคนฝรังเศส 1 คนหรือรองอีก 1 คนให้ทำหน้าที่เป้ฯเจ้านายตรวจตราข้าราชการในจังหวัดหนึ่งๆ และในุทกๆ แห่งที่ฝรั่งเศสเห็นว่าจะมีประโยชน์ต่อตนเองราชธานีพนมเปญอยุ่ภายใต้การปกครองโดยตรงของฝ่ายฝรั่งเศสพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ได้รับเงินเบี้ยหวัดเป็นรายไปจากฝรั่งเศสจำนวน 550,000 เรียล กิจการภายในประเทศและนอกประเทศของกัมพุชาอยู่ในการกำกับดุแลของฝรั่งเศส พระมหากษัตริย์ไม่มีอำนาจในการแต่างตั้งขช้าราชการเหมือนที่เคยปฏิบัติมาฝรั่งเศสแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสให้เป็นที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์กัมพุชา พร้อมทั้งเป็นผู่จัดแจงกิจการต่างๆ ภายใต้การแนะนำของเทศาภิบาลชาวฝรั่งเศสแห่งอินโดจีน ส่วนการปกครองในระดับจังหวัดต่างก็ตกอยู่ภายใต้การดูแลของฝรังเศส ชาวเขมรต้องอยุ่ภายใต้การบังคับบัญชาของฝรั่งเศสมีเพียงในระดับำเภอลงไปจนถึงตำบลและหมุ่บ้านเท่านั้นที่อำนาจในการปกครองเป็นของขาวเขมรรับผิดชอบและจัดแลงกิจการได้เองภต่ต้องอยู่ภายใต้การตรวจตราอย่างใกล้ชิดของฝรั่งเศส
หากกล่าวถึงการปกครองในระดับท้องถิ่นของกัมพูชาจริงๆ แล้วปรากฎข้อมูลทางการปกครองในระดับตำบล ระดับหมู่บ้านในกัมพูชา มีมาตั้งแต่ก่อนที่ฝรั่งเศสจะเข้ามายึดครองกัมพูชา ในอีกด้านหนึ่งแม้ว่ากัมพุชาจะตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของฝรั่งเศส แต่ประเทศอาณานิคมยังได้วางรากฐานที่สำคัญเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่นไวเช่นเดี่ยวกัน โดยสิ่งที่ฝรั่งเศสทำการปฏิรูปการบริหารงานที่สำคัญที่สุดก็คือการสร้างหน่วยการบริหารงานในระดับหมู่บ้านหรือคอมมูน และมีพระราชกฤษฎีการกำหนดให้มีการเลือกตั้งผุ้ใหญ่บ้านในปี 1908 ซึ่งคอมมูน มีโครงสร้างการทำงานที่เชื่อมโยงระหว่างการปกครองด้วยหลักศีลธรรมผ่านผุ้นำในระดับหมุ่บ้านที่มีความเป็นผุ้นำและได้รับการยอมรับจากประชาชนในหมุ่บ้าน และการควบคุมผ่านระบบราชการในระดับอำเภอ ซึ่งนายอำเภอจะได้รับการแต่งตั้งจากผู้ว่าราชการจังหวัดนั้นๆ ซึ่งโครงสร้างเดิมของคอมมูนนั้นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือคอมมูนจะต้องมาจากากรเลือตตั้งซึ่งประชาชนเพศชายและหญิงที่มีการจ่ายภาษีเท่านั้นจึงจะมีสิทธิในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือคอมมูน และในปี ค.ศ. 1919 พระราชกฤษฎีกายังได้กำหนดให้มีการแบ่งอำนาจในการจัดการทางด้านการเงินและทรัย์สินไปใไ้กับตำบล และมีพระราชกฤษฎีการกำหนดให้มีการเลือกตั้งสภาตำบลและมอบหมายงานที่ชัดเจนในการจักการด้านการเงินและการบริหารงานทั่วไป ทั้งนี้ได้มีการจัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการปฏิบัตงานระดับตำบล/แขวง และสภาตำบลมีหลักเกณฑ์และการบิรหารจัดการที่คล้ายคลึงกบประเทศฝรั่งเศส
นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 1960 สภาตำบลได้ถูกยกเลิกไป โดยหัวหน้าคอมมูนหรือกำนัน ผุ้ช่วยกำนันผุ้ใหญ่บ้านจะมาจาการแต่งตั้งโดยผุ้ว่าราชการจังหวัด ผุ้ช่วยกำนันผุ้ใหญ่บ้านจะมาจากการแต่งตั้งโดยผุ้ว่าราชการจังหวัด และในสมัยแขมรแดงปกครอง ก็ได้ทกการยกเลิกสถาบัน และรูปแบบของกิจกรรมทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมที่มีอยุ่เิมทั้งหมด การปกครองในระดับภูมิภาคลงไปจนถึงระดับหมู่บ้านอำนาจทังหมดจะอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างใกล้ชิดจาก "องค์การ" ซึ่งเป็นหน่วยงานการปกครองโดยตรงของรัฐที่มีอำนาจทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ทางด้านสังคม ทางด้านตุลาการ โดยรวมแล้วองค์การในทุกระดับชั้นจะมีสิทธิอำนาจในกาตัดสินใจในทุกเรื่องและในทุกกิจการของรัฐทั้งนี้องค์การในระดับหมุ่บ้านจะมี "ประธานสหกรณ์" ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากองค์การให้มีอำนาจอย่งเบ็ดเสร็จเด็ดขาดและมีการปฏิบัติต่อประชาชนอย่างโหดร้ายและป่าเถื่อนอันนำไปสู่การฆ่าล้างเผ่าพันู์อย่างเลวร้ายที่สุดนประวัติศาสตร์การเมืองของกัมพุชา ในอีกด้านหนึ่งนั้นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกัมพูชายังหลายเป็นปัญหาสำคัญที่สุ่งต่อมายบังปัจจุบันหล่าวได้ว่ากลุ่มประชากรซึงเป็นกลุ่มชนชั้นกลาง ส่วนใหญ่จะถูกฆ่าตายหรือไม่ก็พอพยพหลบหนีนอกนอกประเทศดังนั้นจึงทำให้โครงสร้างประชกรของกัมพุชาในปัจจุบันประกอบไปด้วยวัยเด็กและผู้หญิงเป็นจำนวนมาก ซึ่งก็กลายเป็นอุปสรรคสำคัญอีกประการหนึ่งในการพัฒนาประชาธิปำตยในกัมพูชา..
การเลือกตั้งสภาตำบล การผ่านกฎหมายการเลือกตีั้งท้องถ่ินและฏำหมายการบริหารและจัดการท้องถิ่น เป็นตรั้งแรกในปี ค.ศ. 2002 ซ่งนับว่าเป็นก้าวแรกของการพัฒนาประชาธอปไตยในระดับ้องถิ่นของกัมพูชา ได้ทำให้เกิดการะแสการที่ตัวแทนจากพรรคการมืองต่างๆ ของกัมพุชาได้เขาร่วมการเลือกตั้งสภาท้องถิ่นทุกแห่งทั่วปะเทศ ในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี ค.ศ. 2002 พรรคฟุนซินเปคต้องพ่ายแพ้แก่พรรคประชาชนกัมพูชา เพราะได้รับคะแนนเสียงเพียงร้อยละ 22 เท่านั้นทำให้พรรคต้องประเมินสถานะของตนเมื่อจัดการประชุมสมัชชาพรรคประจำปีขึ้นในเดือนมีนาคม 2002 สมาชิกพรรคหลายคนไม่พอใจข้อเสียเปรีบและได้รับผลประโยชน์น้อยมากจากการเป็นรัฐบาลผสมกับพรรคประชาชนกัมพุชาอย่างไรก็ตามสมเด็จกรมพระรณฤทธิ์ยังคงแถลงยืนยันว่าพรรคฟุนซินเปคจะไม่ถอนตัวออกจากการเป็นรัฐบาลผสมแต่จะพยายามเรียกร้องให้พรรคมีอำนาจบริหารเพ่ิมขึ้น
ทั้งนี้การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นเป็นตัวแปรที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการเลือกตั้งในระดับชาติในปี ค.ศ. 2003 เพราะการที่ตัวแทนของพรรคฟุนซิเปคและพรรคสมรัสี ที่ได้รับการเลือกตั้้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นทีั่วประเทศ่อมเป้นสิ่งที่เปิดโอกาสให้พรรคต่างๆ เหล่านี้สามารถหาเสียงในระดับชาติได้ด้วย แมว่าจะยังคงปรากฎความไม่ไว้วางใจระหว่างหัวคะแนนในระดับท้องถ่ินของพรรคการเมืองต่างๆ แต่ก็ยังคงเป็นที่ยอมรับร่วมกนว่าพรรคการเมืองใหญ่ ๆ ต่างก็สามารถได้ที่นั่งในสภาท้องถ่ินในทุกๆ คร้งากน้อยต่งกัน ซึ่งเป็นภาพการเมืองระดับท้องถิ่นที่แตกต่่างจากก่อนการเลือกตั้งปี ค.ศ. 1998 ซึ่งมีการเน้นเแพาะบทบาทของผุ้ใหญ่บ้าน ผุ้นำชุมชน และตำรวจ ในการทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร จัดสมาชิกพรรคออกไปหาเสียงให้กับพรรคการเมืองของตนร่วมไปถึงการข่มขู่คุกคามผุ้ที่สนับสนุนพรรคฝ่ายค้านในอีกด้านหนึ่งย่อมชัดเนว่า ปัจจุบันผุ้นำท้องถินมีบทบาทสำคัญต่อการเมืองระดับท้องถิ่นมากว่าสถาบันข้าราชการ
ระบบกรปกครองท้องถิ่น
โครงสร้างขององค์กรปกคอรงส่วนท้องถิ่น รัฐธรรมนูญกัมพูชาฉบับปัจจุบัน 1999 หมวดที่ 13 การบริหารราชการ ได้บัญญัติเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่นไว้ดังนี้
มาตรา 145 ดินแดนของราชอาณาจักรกัมพูชาแบ่งออกเป็นจังหวัด และกรุง เขตพื้นที่แต่ะจังหวัดแบ่งเป็นอำเภอ และพื้นที่แต่ละอำเภอแบ่งเป็นตำบล เขชตพื้นที่แต่ละกรุงแบ่งเป็นเขต และเขตพื้นที่แต่ละเขต แบ่งเป็นแขวง
มาตรา 146 การปกครองจังหวัด กรุง อำเภอ เขตและแขวงให้เป็นไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
ปัจจุบันกัมพูชาแบ่งโครงสร้างการบริหารราชแผ่นดินออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยโครงสร้างส่วนกลางแบ่งออกเป็นกระทรวงและสำนักงานอิสระ และโครงสร้างส่วนภูมิภาคได้แก่จังหวัด/กรุง อำเภอ/เขต ตำบล/แขวง และหมู่บ้าน ดดยจังหวัด/กรุง และอำเภอ/เขต เป็นหน่วยงานบริหารราชการส่วนภูมิภาคของรัฐ ซึ่งผุ้ว่าราชการ จังหวัด /กรุง นายอำเภอ จะมาจาการแต่างตั้งโดยกระทรวงมหาดไทย ปัจจุบัน กัมพูชามีทั้งหมด 24 จังหวัด และ 1 เทศบาลนคร จำนวนสมาชิกสถาท้องถิ่นแตกต่างกันดังนี้
สภาเมืองหลวง มีจำนวนสมาชิกสภาได้ไม่เกิดน 21 คน พนมเปญ
สภาจังหวัด มีจำนวนสมาชิกสภาได้ตั้งแต่ 9-21 คน
สภากรุง มีจำนวนสมาชิกสภาได้ตั้งแต่ 7-15 คน
สภาอำเภอและสภาเขต มีจำนวนสมาชิกสภได้ตั้ง 7-19 คน
ส่วนการปกครองในระดับตำบล/แขวง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือกำนันจะต้องมจาการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนในลักษณะของการรับสมัครเลือกตั้งในนามของพรรคการเมือง และสมาชิกสภาท้องถิ่นยังเป็นผุ้มีสิทธิ์ในการออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาอีกด้วยจึงทำให้โครงสร้างในระดับท้องถิ่นมีความเชื่อโยงกับสภานิติบัญญัติและสมาชิกวุฒิสภา ส่วนตำแหน่งผุ้ใหญ่บ้านในแต่ละหมู่บ้านจะมาจากการเลือกตั้งทางอ้อมและแต่งตั้งโดยสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือกำนันและไม่มีวาระในการดำรงตำแหน่ง
สภาตำบลเป็นหน่วยงานระดับล่างสุดที่มีบทบาทในการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างธรรมาภิบาลโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยุ่เพื่อตอบสนองควาต้องการของประชาชนในคอมมูน/แขวง โดยคำนึงถึงนโยบายของรัฐเป็นสำคัญ เดิมบทบาทอำนาจหน้าที่ไม่ชัดเจนเท่าใดนักกระทั่งผ่านกฎหมายในปี ค.ศ. 2001 กฎหมายฉบับดังกล่าวได้กำหนดบทบาทและอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในหมวดที่ 4
ภารกิจและอำนาจหน้าที่ของสภาตำบลสามารถแบ่งออกเป็น 2 ด้านที่สำคัญ คือ หน้าที่ในการตอบสนองความต้องการของประชาชน ในแต่ละคอมมูน และหน้าที่ในการเป็นหน่วยงานตัวแทนของรัฐและทำหน้าที่ตามที่ได้รับการมอบอำนาจจากรัฐบาลกลางทั้งหน้าที่ในการตอบความต้องการของประชาชนจะเกี่ยวข้องกับเรื่องดังนี้
- หน้าที่ในการธำรงและรักษาความสงบเรียบร้อย วึ่งในที่จะเกี่ยวข้องกับการลดจำนวนการเกิดอาชญากรรมและความรุนแรงและรวมไปถึงการทำงานร่วมกับตำรวจ
- หน้าที่ในการจัดเตรียมสิ่งจำเป็นต่างๆ ในการบริการสาธารณะและมีความรับผิดชอบและดำเนินงานเป็ฯอย่างดี เช่น ด้านสุขอนามัยของน้ำ การสร้างและซ่อมแซมถนน ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา และการจัดการน้ำเสีย เป็นต้น
- หน้าที่ในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกที่ให้ความสุขกับประชาชนเช่นการจัดตั้งสวนสาธารณะเป็นต้น
- หน้าที่ในการส่งเสริมการพัฒนทางสังคมและเศรษบกิจรวมไปถึงการยกระดับความเป็นอยู่อขงประชาชให้ดีขึ้นเช่นการชักจูงนักลงทุนให้มาลงทุนโครงการต่างๆ ในท้องถิ่น
- หน้าที่ในการปกป้องและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม, ทรัพยากรธรรมชาติ, วัฒนธรรมและมรดกของชาติ โดยอาจจะเกี่ยวกับการดำเนินโครงการปกป้องสัตว์ป่าท้องถิ่นและพืชประจำถิ่นและการจัการทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น
- หน้าที่ในการปะสานไกล่เหล่ยความขัดแย้งภายในท้องถิ่นให้ประชาชนมีความเข้าใจและอดทนต่อกันและกันเช่นการช่วยแก้ปัญหาข้อพิพาทในท้องถ่ิน
- หน้าที่ในการค้นหาและติดตามความต้องการของประชาชน
ทั้งนี้ หน้าที่ในการเป็นหน่วงานตัวแทนของรัฐและทำหน้าที่ตามที่ได้รับการมอบอำนาจจากรัฐบาลกลางตามกฎหมาย พระราชบัญญัติพระราชกฤษฎีกาหรือการประกาศต่างๆ โดยสภาตำบลจะไม่มีอำนาจหน้าที่ในเรื่องดังต่อไปนี้คือ ด้านป่าไม้, ด้านการไปรษณีย์และการบริหารทางโทรคมนาคม, การปกป้องประเทศ, ความมั่นคงของประเทศ,ด้านการเงิน, นโยบายต่างประเทศ, นโยบายทางด้านภาษีและอื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนด โดยสภาตำบลมีอำนาจอย่างอิสระในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายต่างๆ ซึ่งจะต้องได้รับเสียงข้างมากในสภาตำบล เช่น การนุมัติแผนการพัฒนตำบลระยะ 5 แี และจะต้องมีการปรับปรุงแผนพัฒนาตำบลทุก 1 ปี การอนุมัติวบประมาณของตำบล การจัดเก็บภาษีและการบริการอื่นๆ การอนุมัติกฎหมายต่างๆ ของท้องถิ่นและเรื่องๆ อื่นที่ได้รับการแนะนำจากกระทรรวงมหาดไทย ซึ่งในแต่ละคอมมูนจะต้องแต่งตั้งบุคคล 2 คนอาจจะเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรืประชาชนในการทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบประเมินโครงการพัฒนาตำบล ดดยโครงการพัฒนาท้องถ่ินต่างๆ ต้องประกาศหรือนำเสนอต่อสาธารณะเพื่อให้ประชาชนสมารถเข้าถึงข้อมุลดังกล่าวได้ยอ่างอิสระ และสภาตำบลเปิดโอกาศให้ประชาชนเขามีส่วนร่วมใหนการจัดำโครงการพัฒนา ตำบล การนำไปสุ่ปฏิบัติใช้และพัฒนาโครงงการต่างๆ ในท้องถิ่นใหมีความสอดคล้องกับกระทรวงและภาคส่วนอื่นๆ ด้วย
การเงินและการคลังของท้องถิ่น คอมมูน/แขวง ถุกบัญญํติไว้ในกฎหมายการบริหารและจักดารคอมมูน/แขวง สรุปความได้ว่ สภาตำบลมีทรัพยากรทางการเงิน ,วบประมษณและทรัพย์สินเป็นของตัวเองที่เหมาะสมสำหรับการดูแลจัดการและทำหน้าที่ตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้และทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติย่างเหมาะสมและสนับสนุนกาพัฒนาประชาธปิไตยภายในท้องถ่ินน้นๆ สภาท้องถิ่นมีอำนาจที่จะเก็บภาษีโดยตรงจากภาษีการเงินและภาษีที่ไม่ใช้การเงินและจกการบริการอื่นๆ ซ฿่งภาษีดังกล่าวก็จะรวมไปถึงภาษีที่ดิน ภาษีจากทรัพย์สินอื่นๆ ที่เคลื่อนที่ไม่ได้และภาษีค่าเช่าหรืออาจจะได้เงินงบประมาณมาจากการสนับสนุของงบประมาณระดับชาติหรืออาจจะมาจากการบริจาก การให้ความช่วยเลหื่อจากองค์กรพัฒนเอกชนตามที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเป็รจ้ร สภาท้องถิ่นไม่มีสิทธิ์ในการกู้หรือไใ้กู้ยืมเงนิไม่มีสิทธิืในการทำธุรกรรมทางกาเงินไดๆ ทั้งสิ้น นอกจานั้นสภาท้องถ่ิน จะต้องมีการบริาหรการเงินและการคลังของคอมูน/แขวงอย่งโปร่งใส มีประสิทธิภาพและสามารถตรวจสอบได้
การบริหารงานบุคคลท้องถิ่น สภาตำบลจะมีเจ้าหน้าที่เป้ฯของตนเอง พนักงานของสภาท้องถ่ินจะต้องมาจากากรแข่งขันการับสมัครบุคคลและแต่งตั้งบุคคลจากสภาท้องถ่ินหรือฝ่ายบริหารงานบุคคลเพื่อทำงานในสภาท้องถิ่นอย่างโปร่งใสตามกฎหมาย โดยพนักงานของสภาท้องถิ่นจะอยู่ภายใตก้าบริหารงานโดยตรงและการดุแลตรวจสอบจากประธานสภาตำบลหรือกำนัน ยกเว้นแต่เจ้าหน้าที่บางประเภทเช่นเลขานุการสภาตำบล จะมาจาการแต่างตั้งโดยรัฐบาลกลาง
ความสัมพันธ์ระหว่างราชการสวนกลาง ส่วนภูมิภาคและสภาตำบล โดยความสัมพันธ์ระหว่างราชการส่วนกลาง ส่วนภุมิภาค และสภาตำบลสืบเนื่องมาจากการวางโครงสร้างการปกครองท้ถงถ่ินทีแม้ว่าจะมีการกระจายอำนาจให้กับท้องถ่ินให้ีการเลือตั้งอบ่งอิสระมีการบริหารกิจการภายในท้องถ่ินและมีงบประมาณเป็นตัวเอง แต่ในอีกด้านหนึ่งกลับกำหนดให้สภาตำบล ในบางกรณีจะต้องอยู่ภายใต้การกำกับควบคุมและทแรกแซงโดยการแต่างตั้งข้าราชการที่ได้รับการแต่างต้งโดยกระทรวงมหาดำทย ยิงไปกว่านั้นด้วยลักษณธเฉพาะของรุ)แบบการเลือกตั้งสภตำบลที่ผุ้สมัตรรับเลือกตังจะตอ้งสมัตรในนามของพรรคการเมืองจึงเป็นเหตุให้การปกครองท้องิ่นไม่สามรถแยกออกจากการเมืองระดับชาติได้ในแง่ที่ว่าปัจจัยของพรรคหรือพรรครัฐบาลบ่อมมีผลต่อการเลือกตั้งในแต่ละครั้งหรือแม้แต่ในด้านของการบริหารงานภายในท้องถิ่นย่อมมีปัญหาในการบริหารงานที่อาจจะเป็นเพรียงกลไกในระดับล่างของพรรคการเมืองหนึ่งเพื่อเป็นฐานสนับสนุนหรือสร้างความเข้มแข็งทางการเมืองในระดับชาติ นอกจากนั้นสภาท้องถ่ินยังถูกกำหนดให้มีบทบาทและขอบเขตหน้าที่มากไปกว่าขอบเขตพื้นที่ในแต่ละท้องถิ่นเท่านั้น สมาชิกสภาท้องถิ่นยังมีอีกสภานะ คือ สถานะของผุ้มีสิทธิ์ในการเลือตั้งวุฒิสภาและมีสิทธิ์ในการแต่งตั้งผุ้ใหญ่บ้านไปพร้อมๆ กัน ฉะนั้นจากลักษณะเฉพาะของโครงสร้างอำนาจและหน้าที่ของสภาท้องถิ่นจึงทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและสภตำบล ไม่สามารถแยกออกจากกันอย่างอิสระ หากแต่มีสิ่งหนึ่งที่เป็นตัวกลางในการ้อยรัอความสัมพันะ์ระหว่งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคแะสภาตำบลเข้าไว้ด้วยกัยอย่าวแนบแน่นนั่นก็คือพรรคการเมือง
การตรวจสอบ ควบคุมและการกำกับท้องถิ่น การกำหนดกลไกในการติดตาม แทรกแซง ตรวจสอบการทำงานของสภาตำบลตามกฎหมายการบริหารจัดคอมมูน/แขวง โดยหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่ดุแลหน่วยการปกครองท้องถิ่นคือกระทรวงมหาดไทยโดยมีทยวงการบริหารท้องถิ่น ทำหน้าที่ดูแลทั่วไปเกี่ยวกับการกระจายอำนาจคำสั่งของกระทรวงมหาดไทยทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการติดต่อส่อสารระหวางนโยบายการกระจายอำนาจของรัฐบาลกลางและท้องถ่ินในแต่ละระดับรวมไปถึวตัวแทนของ รัฐ ภาคเอกชน ประชาสังคมและอื่นๆ ทำหน้าที่ติดตามควบคุมและประเมินการดำเนินนโยบายการกระจายอำนาจและำหน้าที่ในการติดตามควบคุมและเพ่ิมประสิทธิภาพของท้องถภิ่น ซึ่งกระทรวงมหาดไทยอาจจะมอบอำนาจให้กับตัวแทนของรัฐในระดับจังหวัด/กรุง หรือตำบล/เขต เข้าไปให้ความช่วยเหลือแก่ท้องถ่ิน และในขณะเดียวกันถ้าหากคอมมูน/แขวง ล้มเหลวในการทำหน้าที่และไม่สามาถแก้ไขความล้มเหลวดังกล่วได้ภายใน 6 เดือน ตามกฎหมายกระทรวงมหาดไทยก็สามารถเข้าำปแทรกแซงในกิจการภายในท้องถิ่นอย่างทันทีนอกจากนั้นกระทรวงมหาดไทยยังได้กำหนดให้มีการติดตามการดำเนินงานและปรเมินการใช้งบประมาณในโครงการการพัฒนาต่างๆ ของคอมมูน /แขวงเพื่อมิให้มีการใช้งบประมาณไปในทางที่มิชอบซึ่ง คอมมูน/แขวงมีหน้าที่ต้องเตียมรายงานการใช้จ่ายเงินประจำปีให้แล้วเสร็จภายใน 45 วันหลังหมดปีงบประมาณและนำเสนอรายงานดังกล่าวให้กับกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยต่อสาธารณะและองค์กรสมาคมต่างๆ
ส่วนกลไกในการตรวจสอบจากประชานยังคงมีข้อจำกัดอยู่มาก เนื่องจากความยากจนเป็นอุสรรคต่อการกระจายอำนาจสู่ท้องถ่ิน ประชาชนผุ้มีสิทธิ์เลือกตังส่วนใหญ่ไม่ได้รัการศึกษาทำให้ระดับการมีส่วนร่วมทากงารเมืองอยู่ในระดับต่ำ มีช่องทางมากมายสำหรับการซ้อสิทธิ์ขายเสียงของพรรคการเมืองโดยไม่ถูกตรวจสอบความสัมพันธ์แบบระบบอุปถัมภ์ระหว่างพรรคการเมืองกับประชาชนระหว่าผุ้นำท้องถิ่นกับประชาชน รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐที่วางตัวไม่เป็นกลางกับประชชน อีกทังยังมีการติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐในท้องถิ่นตัวอย่างหน่งที่แสดงการใช้กลไกของรัฐกลยุทธ์ทงการเมืองในการควบคุมวิะีคิดหรือการตัดสินใจทางการเมืองของประชาชนอันเป็นสิ่งที่ยืนยันลชัดเจนถึงขีดความสามารถในการตรวจสอบการทำงานของท้องถิ่นโดยประชาชนได้ในระดับหนึ่งดังปรากฎข่าวว่าผุ้ใหญ่บ้านได้เรียกให้ประชาชนที่อาศัยอยุ่ในปมูาบ้านทั้งหมดมาพิมพ์ลายนิ้มือและให้สัญญาว่าจะเลือพรรคประชาชนกัมพูชา CCP เนื่องจากการเลือกตั้งในครั้งก่อนมีผุสนับสนุนพรรคเป็นจำนวนมากแต่ผลคะแนนเสียงที่ได้รับกลับมีจำนวนน้อยไม่สอดคล้องกับความช่วยเหลือที่พรรคได้ให้กับประชาชน
- พินสุดา วงศ์อนันต์, "ระบบการปกครองท้องถิ่น ประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน : ราชอาณาจักรกัมพูชา", วิทยาลัยพัฒนการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า, 2556.
วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2560
Local government in Myanmar
อำนาจทางเศรษฐกิจของประเทศเมียนมาร์อยู่ในการควบคุมของรัฐบาล กลุ่มชนชั้นนำของผุ้นำทหาร ละุ้ร่วมธุรกิจและ้ว พม่ายังมีนโยบายเศรษฐกิจที่ไม่มีประสิทธิภาพ ยบังคงมีการทุจริต ส่งผลให้ประชาชนในชนบทยังคงอดอยากและยากจน ในปี ค.ศ. 2010-2011 มีการโอนทรัพย์สินของรัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ครอบครัวทหารภายใต้การอ้างนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ซึ่งย่ิงทำให้ช่องว่าระหว่างชนชั้นนำทางเศราฐกิจและประชาชนกว้างยิ่งขึ้น
ประเทศพม่ายังเผชิญกับความไม่สมดุลของเศรษฐกิจมหภาคที่ร้ายแรง อันได้แก่ อัตรแลกเปลี่ยนแทางการที่กำหนดค่าเงินจั็ตสูงเกินไป การขาดดุลการคลัง การขาดเครดิตการค้าซึ่งถูกบิดเบือนหนักขึ้นไปอีกอัตราดอกเบี้ยนอกตลาด เงินเฟ้อที่่คามเดาไม่ได้ ข้อมูลทางเศราฐกิจที่ไม่น่าเชื่อถือ และความไม่สามารถที่จะจัดทำบัญชีประชาชาติให้ถูกต้องตรงกัน นอกจากนี้ ปัญหาโครงสรี้้างพื้นฐาน นโยบายการค้าที่คาดเดาไม่ได้ทรัพยากรบุคคลที่ยังไม่ได้รับการพัฒนา (เป็นผลจากการละเลยระบบสุขภาพและระบบการศึกษา) ปัญหาการทุจริต และการเข้าไม่ถึงเงินทุนสำหรับการลงทุน ธนาคารเอกชนยังคงดำเนินงานภายใต้ข้อห้ามที่เข้มงวดของทั้งในและต่างประเทศ ทำให้ภาคเอกชนเข้าถึงเครดิตได้อย่างจำกัด ประกอบกับการควำ่บาตรทางการเงินและเศรษฐกิจจากนานาประเทศ เช่น สหภาพยุโรป แคนาดา และสหรัฐอเมริกา ทำให้สภาพทางเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำอย่างต่อเนื่อง
สหรัฐอเมริกาได้ห้ามการทำธุรกรรมทางการเงินกับหน่วยงนส่วนใหญ๋ของพม่า ห้ามผู้นำทหารและผุ้นำพลเรือนอาวุโสของพม่าและผุ้นำที่มีความเชื่อมโยงกับระบอบทหารเดินทางเข้าสหรัฐฯ และห้ามนำเข้าผลิตภัฒฑ์ของพม่า การคว่ำบาตรเหลานี้มีผลต่าุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของประเทศ ทำให้ภาคธนาคารถุกโดดเดี่ยวและต้องดิ้นรนมากขึ้น และยังเป็นการเพ่ิมต้นทุนในการทำธุรกิจกับบริษัทพม่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัมที่เชื่อมโยงกับผุ้นำระบอบการปกครองพม่าการโอนเงินเข้าประทเศจากแรงงานพม่าในต่างประเทศส่งมาให้ครอบครั้วของพวกเขา เป็นตัวขับเคลื่อนที่ทำให้การกระวงการคลังพม่าอนุญาตให้ธนาคารในประเทศดำเนินการกิจการด้านต่างประเทศ
ในปี ค.ศ. 2011 รัฐบาลได้ริเริ่มการปฏิรูปแลเปิดเศรษฐกิจของประเทศโดยการลดภาษีการส่งออก ลดข้อห้ามต่างๆ ในภาคการเงินและขอความช่วยเลหือจากองคกรระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม การสร้างบรรยากาศทางการเมืองที่ดียังคงมีความจำเป้ฯอย่างยิ่ง ในการฟื้นฟผูสภาพทางเศรษฐกิจ ผ่านการส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ
หลังจากฝ่ายทหาร(นำโดยนายพล เน วิน) เข้ายึอำนาจรัฐบาลพลเรือนของอนายอู นุ ในปี 1952 ได้มีการจัดตั้งรับบาลใหม่ซึ่งเรียกตัวเองว่า "รัฐบาลปฏิวัติของสหภาพพม่า" และมีการจัดต้งสภาคณะปฏิวัติ ซึ่งประกอบด้วยนายทหารคนสำคัญ 17 นาย ที่นำพม่าเข้าสู่ประเทศีี่มีการปกครองแบบรวมศูนย์อย่างเบ็ดเสร็จ สภาคณะปฏิวติได้ยกเอาคำประกาศของคณะปฏิวัติเป็นตัวบทกฎหมายในการบริหารประเทศ และนั่นหาายถึงการทำให้พม่าเดินอยุ่บนเสส้นทางของ "วิ๔ีทางของพม่าสู่ลัทธิสังคมนยิม" ตามเอกสารที่ออกมาอย่างเป้ฯทางการในเดือนเมษายน ค.ศ. 1962
วิถีสู่ลัทธิสังคมนิยมนั้น เป็นการหลอมรวมหลักการแห่งมาร์กซ์และเลนินเข้ามาเป้ฯแกนหลักแห่งอุดมกาณณ์ และผนวกกับหลักการความเป็นเอกราชของพม่า ที่นายออก ซานได้วางไว้ก่อนหน้านี้ นอกจาเอกสารประมวลปรัชญา แห่งลัทธิสังคมนิยมของพม่าแล้ว เดือนกรกฎาคม 1962 รัฐบาลปฎิวัติฯ ยังออก "ธรรมนูญของพรรคโครงกานสังคมนิยมพม่าสำหรับช่วงแรกแห่งการเปลี่ยนไปสู่การสร้างสรรค์" และเอกสารว่าด้วย "ระบบแห่งสหสัมพันธ์ของมุษย์กับสิ่งแวดล้อม" รวมถึงเอกสรเารื่อง "ลักษระเฉพาะของพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า" ซึ่งสาระสำคัญของเอกสารทั้งหมดนี้ คือการนำระบอบประชาธิปไตยแบบสังคมนิยม เข้ามาแทนที่ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดครงสร้างและากรดำเนินงานของฝ่ายรัฐบาลถูกแทนที่ดดยสภาคณะปฏิวัติ ซึ่งเป็นองค์กรเดียวที่เอกสารเหล่านี้กล่าวถึง เป็ฯระบอบรวมศูนย์ที่ผุ้นำ ในขณะที่ปัจเจกชนหรือกลุ่มประชาชนเป็นเพียงผุ้ติดตามผุ้นำสังคมนิมเท่านั้น
จึงไม่น่าแปลกใจที่รัฐที่มีการปกครองแบบรวมศุนย์อำนาจเบ็ดเสริจเช่นพม่านี้ จะไม่มีระบบการปกครองท้องถิ่น เมื่อทุกนโยบายถูกกำหนดมากจากส่วนกลางทั้งสิ้น
ดังได้กล่าวมาแล้วในบที่ก่อนหน้า แม้ว่ารัฐบาลทหารจะประกาศให้การร่างรัฐธรรมนูญขึ้น และได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการในปี 1974 นั้น แต่เมื่อพิจารณาถึงเนื้อหาของรัฐธรรมนูญแล้ว ก็ทำให้เห็นได้ถึงข้อจำกัดของระบบการปกครองท้องถิ่นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น รัฐธรรมนูญกลายเป็นเครื่องมือของคณะปฏิวัติในการหาความชอบธรรมในการปกครอง สิ่งที่นายพลเน วิน ต้องการกำหนดไว้ใรัฐธรรมนูญ นั่นคื อเป้าหมายของรัฐสังคมนิยม ที่มีเศรษฐฏิจแบบสังคมนิยม ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบสังคมนิยม และทหารเพียงกลุ่มเดี่ยวเท่านั้นที่ครอบงำอำนาจทั้งหมดรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงเสมือนการสร้างฐานในการครองอำนาจอย่างชอบธรรมและสามารถขจัดอำนาจอื่นที่จะมาสั่นคลอนฝ่ายทหารได้เป็นระบบการปกครองแบบพรรคการเมืองพรรคเดียว ควบคุมจากส่วนกลางโดยไม่มีอำนาจใดมาดุลหรือคาน
ดังน้้น อำนาจในกาบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ จึงอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างสิ้นเชิงขององค์กรของพรรค ไม่มีการกำหนดอำนาจอิสระในระดับใด ไม่ว่าจะเป็นระดับต่ำสุดจากหมู่บ้าน เมือง หรือสภาประชาชน การเลือกตั้งผุ้แทนประชาชนเข้าไปทำหน้าที่ในสภาประชาชนในระดับต่างๆ เป็นแต่การคดเลือกตัวแทนที่พรรรคส่งไปให้ประชาชนรับรองเท่านั้น โดยรวมแล้วทุกหน่วยงานในระดับท้องถิ่น ไม่มีอำนาจใดๆ นอกเหนือจากการรับคำสั่งจากพรรค่วนกลางนั่นเอง
ในสมัยรัฐบาล ตัน ฉ่วย มีความเคลื่อนไหวสมัชชาแห่งชาติที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อร่างรัฐะรรมนูญ และการประชุมทั้ง 8 ครั้งของสมัชชาร่างรัฐธรรมนูญนั้น ก็เป็นเพียงความพยายามในการยืนยันความชอบธรรมของการมีส่วนร่วมของทหารในการมีบทบาทนำในกิจการของรัฐและการเมืองชองชาติใอนาคต เท่านั้น รัฐะรรมนูญของ ตัน ฉ่วย จึงไม่ได้แตกต่างกันเลยกับรัฐธรรมนูญขชองนายพลเน วิน แม้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ (ค.ศ. 2008 จะระบุให้มีการจัดการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 2010 แต่ภายหลังการเลือกตั้ง ก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ระบบการปกครองยังคงรวมศูนยอยู่ที่ส่วนกลาง(ทหาร)เช่นเดิม เนื้อหาส่วนใหญ๋ของรัฐธรรมนูญชี้ให้เห็นถึงอำนาจทหารอย่างชัดเจนในหลายๆ มาตรา ส่วนหนึ่ง เป็นเพราะสมาชิกสมัชชาแห่งชาติเืพ่อร่างรัฐธรรมนูญคือกลุ่มผุ้แทนที่กลุ่มอำนาจจัดตั้งเข้าไป ในขณะที่ตัวแทนของพรรคการเมืองต่างๆ ถูกเลือกเข้าไปน้อยมาก รวมถึงพรรคสันนิบาตชาติเพื่อประชาธิปไตยของนางอองซาน ซุจีที่ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุด ด้วยเช่นกัน
มาตราการต่างๆ ชี้ว่าระบบการปกครองท้องถิ่นของสาธารณรัฐแห่งสหภาพม่านั้น เป้นระบบที่ไม่เกิดขึ้น และอาจจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้ง่ายๆ เนืองด้วยกลุ่มอำนาจทางการทหารนั้น ย่อมไม่สละอำนาจที่เคยมีอยุ่ในมืออกไปง่ายๆ
อย่างไรก็ตาม วีแววของกิจกรรมทางการเมืองที่ดุเหมือนจะเกี่ยวข้องกับระบบการปกครองท้องถิ่น มีให้เห็นตั้งแต่ในสมัยสภาปฏิวัต นเรื่องของการมีส่วนร่วมในการจัดการัฐของประชาชนในภาคส่วนต่างๆ รวมถึงในระดับท้องถิ่น โดยสามารถสรุปใจความสำคัญได้ดังนี้
สภาปฏิวัติ ได้พมัฯาระบบการคัดลือกบุคคลเข้าสุ่องค์กรบริหารระดับต่างๆ ผ่านการเลือกตั้งสมาชิกองค์กรระดับท้องถิ่น อย่างสภาประชาชน ในระดับบนสุด รวมถึง สภาประชาชนระดับปมู่บ้าน ระับตำบล ระดับจังหวัด ระดับรัฐย่อย ระดับเขตปกครองด้วย ดังนั้น ประชาชนจะมีส่วนร่วมในรัฐสภาได้ก็โดยผ่านการเลือกตั้ง สมาชิกสภาฯมีหน้าที่รายงานผลการประชุม ต่อเขตเลือกตั้งของตนโดยการเรียกประชาชนมาประชุม ถือเป็นการเชื่อโยงประชาชเข้ากับศูนย์กลางของรัฐอย่างเป็นทางการ
การเลือกตั้งสมาชิกสภาประชานมีขึ้นทุกๆ 4 ปี พร้อมๆ กับการเลือกตั้งสมาชิกสภาประชาชนประจำหมุบ้าน ตำบล จังหวด รํฐย่อยและเขตปกครองพิเศษ และเฉพาะผู้มีสัญชาติพม่าเท่านั้นที่มีคุณสมบัติรับเลือกตั้งได้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ผุ้สมัครรบเลือกตั้งคือบุคคลที่มีตำแหน่งอยุ่แล้ว นั่นหมายถึงส่วนหนึ่งก็เป็นคนของพรรคในระดับต่างๆ อย่างไรก็ตาม ก็ยังปรากฎกรณีของผุ้ที่รัฐสนับสนุนแต่พ่ายแพ้การเลือกตั้งดังนั้น ผู้ที่ได้รับเลือกจึงต้องเป็นคนที่ทั้งพรรคและประชาชนในท้องถิ่นยอมรัีบได้
กระนั้นการเลือกตั้งดังกล่าว เป็นเพียงพิธีกรรมสร้างความชอบธรรมและรับรองอำนาจที่มีอยุ่แล้ว มากกว่าที่จะเป้นการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นอย่างแท้จริง ดงสะท้อนได้จากจำนวนของผุ้ที่ได้รับเลือก นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1985 จำนวนสมาชิกสภาผุ้แทนราษ๓รในสภาประชาชนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่จำนวนผุ้ได้รับการเลือกตัี้งเข้าสภาประชาชนระัดับจังหวัด รัฐบ่อยและเขตปกครองนั้นคงตัว ส่วนผุ้ได้รับเลือกต้งเข้าสภาประชาระดับตำบลและปมุ่บ้านมีจำนวนลดลงเรื่อยๆ ชี้ให้เห็นถึงการทำงานในหน่วยงานระดับท้องถิ่นที่หนัก ส่งผลถึงการชักจูงประชาชนให้รับตำแหน่งจึงเป็นเรื่องไม่ง่ายนัก
ในระดับประเทศ นอกจากผุ้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของรัฐอยู่ก่อนแล้ว ยังปรากฎว่าเประชาชนที่เข้าไปร่วมกิจกรรมสาธารณะนั้นมีจำนวนที่น้อยมาก และกองทัพยังครอบงำการบริหารประเทศตลอดมารวมถึงนายทหารหรืออดีตนายทหารที่เข้าไปเป็นสมาชิกสภาฯ การที่บุคลากรชั้นนำระดับภูมิภาคมักมีตำแหน่งซ้อนทับระหว่งการเป็นทหาร เจ้าหน้าที่รัฐ และบุคลากรของพรรค สะท้อนเจตนาของการควบคุมมากกว่าการมีส่วนร่วมขงอภาคประชาชนได้อย่างชัดเจน
ในส่วนของสภาประชาชนระดับจังหวัด ตำบล และหมู่บ้าน นั้น มีหน้าที่หลัก 3 ประการ คือ ควบคุมประชาชน การจัดกิจกรรมให้แก่พรรค และองค์กรชนชั้นและจัดการประชุมและรณรงค์ เพื่อนำไปสู่การมีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง
สภาประชาชนระดับท้องถิ่นนั้น ไม่มีอำนาจด้านนิติบัญญัติ และไม่มีการประชุมเพื่อกำหนดนโยบายแต่อย่างใด แต่เป็นสถาบันที่ตั้งขึ้นเพื่อรองรับความต้องการของรัฐบาลกลางและกระจายสู่ท้องถิ่น ซึ่งเป็นไปตามอุดมการณ์สังคมนิยมประชาธิปไตยที่รัฐบาลใหความหายไว้และเป็นหลักการสำคัญในรัฐธรรมนูญ
ความพยายามให้ประชาชนระดับท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการรัฐจึงไม่ค่อยประสอบความสำเร็จมากนัก รัฐยังคงต้องการกำกับดูแลกิจการทุกอย่างเพื่อให้แน่ใจว่าการตัดสินใจในทุกระดับจะไม่ขัดแย้งกับสิ่งที่รัฐบาลกลางชี้นำและกำหนดไว้ การพัฒนาความคิดริเริ่มในท้องถิ่นจึงถูกสอดส่องอยู่ตลอดเวลา รัฐมนตรีมหาดไทยมีอำนาจในการปลดสมาชิกสภาประชาชนระดัยท้องถิ่นทั่วประเทศที่ถูกมองว่าขาดความเหมาะสม หรือทกหน้าที่ไม่มีประสิทธิภาพ
ดังนั้นการกระจายอำนาจสู่ท้องถ่ินนั้น แม้จะมีให้เห็ฯในเชิงรูปแบบแต่ในรายละเอียดแล้ว ไม่เกิดขึ้จริง องค์กรต่างๆ ระดับท้องถิ่นมีหน้าที่เพียงนำการตัดสินจของคณะผุ้ปกครองจากองค์การระดับสูงในส่วนกลางเท่านั้น เช่น การปฏิบัติงานของสภาประชาชนระดับตำบลในนครย่างกุ้ง ใช้เวลาส่วนใหญ่ดำเะนินการตามแผนงานที่สภาประชาชนระดับจังหวัดจัดเตรียมไวให้ ซึ่งสภาประชาชนระดับจังหวัดก็ได้รับคำสั่งจากสาประชาชนระดับรัฐย่อยหรือเขตปกครองมาอีกที เพื่อบรรลุเป้าหมายตามที่รัฐบาลกลางวางไว้เท่านั้น กระนั้น สถานการร์ทางการเมืองของพม่าได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบันหลังการเลือกตั้งครั้งล่าสุด และการปลดปล่อยนางอองซาน ซูจี ใไ้เข้าสู่เส้นทางทางการเมือง ประอบกับปัจจัยภายนอกประเทศต่างๆ ทำให้ในมุมมองของหลายภาคส่วนในสังคมระหว่างประเทศมองการเมืองพม่าว่าอยุ่ในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่เส้นทางประชาธิปไตย ในส่วนของระบบการปกครองท้องุถิ่นก็มีความเคลื่อนไหวด้วยเช่นกัน จากการศึกษาพบว่า มีการเตรียมการเพื่อการพัฒนาบุคลากรในระดับท้องถิ่น โดยการส่งนัการเมืองท้องถ่ินเข้ามาอบรม ณ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ตัวแสดงที่สำคัญที่สุดในระบบการเมืองการปกครองของสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่านั้นมีเพียงกลุ่มเดียว นั่นคือ กลุ่มอำนาจทางการทหาร ที่รวมศูนย์อำนาจทางการปกครองทั้งหมดเข้าสู่ศูนย์กลาง องค์กรทางการเมืองอื่นๆ ในระดับต่างๆ ต่างถุกควบคุมโดยกลุ่มอิทธิพลนี้ด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงใดๆ ของระบบบริหารประเทศย่อมขึ้นอยู่กับกลุ่มทหารเพียงฝ่ายเดี่ยว เมื่อตัวแสดงในภาคส่วนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการพลเรือน พรรคการเมืองอื่นๆ ประชาชน พระสงฆ์ ชนกลุ่มน้อย แม้จะออกมาเคลื่อนไหว แต่ท้ายสุดก็มีความเสี่ยงที่จะถูกรัฐบาลทหารกำจักหรือลิดอนสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง รัฐบาลทหารจึงถือเป็นปัจจัยเหนี่ยวรั้งที่สำคัญที่สุดต่อการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ระบบการปกครองส่วนท้องถิ่นจะเกิดขึ้นหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับท่าทีของกลุ่มอำนาจทางการทหารด้วยกันทั้งสิ้น
อย่างไรก็ตาม สาธารณรับแห่งสไภาพพม่าในปัจจุบันนั้นมิได้เป็นประเทศปิดอย่างเช่นในอดีต การเข้าสู่เวทีความสัมพันธ์ระหว่งประเทศในระดับต่างๆ ไม่ว่าจะเป้ฯระดับภูมิภาคอย่างอาเซียน หรือการมีความสัมพันธ์กับประเทศภายนอก ทั้งในภูมิภาคเอเชีย และภูมิภาคอื่นๆ ส่งผลทำให้ปัจจัยภายนอกประเทศเข้ามาีมีอิทธิพลต่อทัศนะของกลุ่มผุ้นำของพม่าในยุคปัจจุบัน แรงกรุตุ้นจากรัฐมหาอไนาจ องค์การระหว่างประเทศ องค์การเอกชน(NGOs) หรือรัฐอื่นๆ ที่พุ่งเป้ามายังกระบวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยในพม่า อาจส่งผลต่อการตัดสินใจในการกำหนดนโยบายของกลุ่มผุ้นำในสภาพพม่าไม่มากก็น้อย แต่นโยบายหรือตัวบทกฎหมายที่ถูกบัญัติขึ้นมาจากแรงผลักดันและการตวรจสอบจากตัวแสดงภายนอกนั้น จะถูกนำไปปฏิบัติจริงมากน้อยเพีงใดในมุมองของผุ้เขียนแล้ว ในเรื่องการกระจายอำนาจหรือระบบการปกครองท้องถิ่นนั้น ยังเป้ฯเรื่องที่เป็ฯไปได้ยาก แม้จะดูเหมือนวามีกิจกรรมทีดูเหมือนการเตรียมความพร้อมให้กับบุลากรที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานต่างๆ ในประเด็นเรื่องระบบการปกครองท้องถิ่น ก็ใช่ว่าจะการันตีว่าการปกครองในระดับท้องถิ่นจะเกิดขึ้นได้จริง ดั่งในประเทศเสรีประชาธิปไตยทั่วไป
- ผณิตา ไชยศร,"ระบบการปกครองท้องถิ่น ประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน : สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า", วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า, 2556.
ประเทศพม่ายังเผชิญกับความไม่สมดุลของเศรษฐกิจมหภาคที่ร้ายแรง อันได้แก่ อัตรแลกเปลี่ยนแทางการที่กำหนดค่าเงินจั็ตสูงเกินไป การขาดดุลการคลัง การขาดเครดิตการค้าซึ่งถูกบิดเบือนหนักขึ้นไปอีกอัตราดอกเบี้ยนอกตลาด เงินเฟ้อที่่คามเดาไม่ได้ ข้อมูลทางเศราฐกิจที่ไม่น่าเชื่อถือ และความไม่สามารถที่จะจัดทำบัญชีประชาชาติให้ถูกต้องตรงกัน นอกจากนี้ ปัญหาโครงสรี้้างพื้นฐาน นโยบายการค้าที่คาดเดาไม่ได้ทรัพยากรบุคคลที่ยังไม่ได้รับการพัฒนา (เป็นผลจากการละเลยระบบสุขภาพและระบบการศึกษา) ปัญหาการทุจริต และการเข้าไม่ถึงเงินทุนสำหรับการลงทุน ธนาคารเอกชนยังคงดำเนินงานภายใต้ข้อห้ามที่เข้มงวดของทั้งในและต่างประเทศ ทำให้ภาคเอกชนเข้าถึงเครดิตได้อย่างจำกัด ประกอบกับการควำ่บาตรทางการเงินและเศรษฐกิจจากนานาประเทศ เช่น สหภาพยุโรป แคนาดา และสหรัฐอเมริกา ทำให้สภาพทางเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำอย่างต่อเนื่อง
สหรัฐอเมริกาได้ห้ามการทำธุรกรรมทางการเงินกับหน่วยงนส่วนใหญ๋ของพม่า ห้ามผู้นำทหารและผุ้นำพลเรือนอาวุโสของพม่าและผุ้นำที่มีความเชื่อมโยงกับระบอบทหารเดินทางเข้าสหรัฐฯ และห้ามนำเข้าผลิตภัฒฑ์ของพม่า การคว่ำบาตรเหลานี้มีผลต่าุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของประเทศ ทำให้ภาคธนาคารถุกโดดเดี่ยวและต้องดิ้นรนมากขึ้น และยังเป็นการเพ่ิมต้นทุนในการทำธุรกิจกับบริษัทพม่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัมที่เชื่อมโยงกับผุ้นำระบอบการปกครองพม่าการโอนเงินเข้าประทเศจากแรงงานพม่าในต่างประเทศส่งมาให้ครอบครั้วของพวกเขา เป็นตัวขับเคลื่อนที่ทำให้การกระวงการคลังพม่าอนุญาตให้ธนาคารในประเทศดำเนินการกิจการด้านต่างประเทศ
ในปี ค.ศ. 2011 รัฐบาลได้ริเริ่มการปฏิรูปแลเปิดเศรษฐกิจของประเทศโดยการลดภาษีการส่งออก ลดข้อห้ามต่างๆ ในภาคการเงินและขอความช่วยเลหือจากองคกรระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม การสร้างบรรยากาศทางการเมืองที่ดียังคงมีความจำเป้ฯอย่างยิ่ง ในการฟื้นฟผูสภาพทางเศรษฐกิจ ผ่านการส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ
หลังจากฝ่ายทหาร(นำโดยนายพล เน วิน) เข้ายึอำนาจรัฐบาลพลเรือนของอนายอู นุ ในปี 1952 ได้มีการจัดตั้งรับบาลใหม่ซึ่งเรียกตัวเองว่า "รัฐบาลปฏิวัติของสหภาพพม่า" และมีการจัดต้งสภาคณะปฏิวัติ ซึ่งประกอบด้วยนายทหารคนสำคัญ 17 นาย ที่นำพม่าเข้าสู่ประเทศีี่มีการปกครองแบบรวมศูนย์อย่างเบ็ดเสร็จ สภาคณะปฏิวติได้ยกเอาคำประกาศของคณะปฏิวัติเป็นตัวบทกฎหมายในการบริหารประเทศ และนั่นหาายถึงการทำให้พม่าเดินอยุ่บนเสส้นทางของ "วิ๔ีทางของพม่าสู่ลัทธิสังคมนยิม" ตามเอกสารที่ออกมาอย่างเป้ฯทางการในเดือนเมษายน ค.ศ. 1962
วิถีสู่ลัทธิสังคมนิยมนั้น เป็นการหลอมรวมหลักการแห่งมาร์กซ์และเลนินเข้ามาเป้ฯแกนหลักแห่งอุดมกาณณ์ และผนวกกับหลักการความเป็นเอกราชของพม่า ที่นายออก ซานได้วางไว้ก่อนหน้านี้ นอกจาเอกสารประมวลปรัชญา แห่งลัทธิสังคมนิยมของพม่าแล้ว เดือนกรกฎาคม 1962 รัฐบาลปฎิวัติฯ ยังออก "ธรรมนูญของพรรคโครงกานสังคมนิยมพม่าสำหรับช่วงแรกแห่งการเปลี่ยนไปสู่การสร้างสรรค์" และเอกสารว่าด้วย "ระบบแห่งสหสัมพันธ์ของมุษย์กับสิ่งแวดล้อม" รวมถึงเอกสรเารื่อง "ลักษระเฉพาะของพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า" ซึ่งสาระสำคัญของเอกสารทั้งหมดนี้ คือการนำระบอบประชาธิปไตยแบบสังคมนิยม เข้ามาแทนที่ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดครงสร้างและากรดำเนินงานของฝ่ายรัฐบาลถูกแทนที่ดดยสภาคณะปฏิวัติ ซึ่งเป็นองค์กรเดียวที่เอกสารเหล่านี้กล่าวถึง เป็ฯระบอบรวมศูนย์ที่ผุ้นำ ในขณะที่ปัจเจกชนหรือกลุ่มประชาชนเป็นเพียงผุ้ติดตามผุ้นำสังคมนิมเท่านั้น
จึงไม่น่าแปลกใจที่รัฐที่มีการปกครองแบบรวมศุนย์อำนาจเบ็ดเสริจเช่นพม่านี้ จะไม่มีระบบการปกครองท้องถิ่น เมื่อทุกนโยบายถูกกำหนดมากจากส่วนกลางทั้งสิ้น
ดังได้กล่าวมาแล้วในบที่ก่อนหน้า แม้ว่ารัฐบาลทหารจะประกาศให้การร่างรัฐธรรมนูญขึ้น และได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการในปี 1974 นั้น แต่เมื่อพิจารณาถึงเนื้อหาของรัฐธรรมนูญแล้ว ก็ทำให้เห็นได้ถึงข้อจำกัดของระบบการปกครองท้องถิ่นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น รัฐธรรมนูญกลายเป็นเครื่องมือของคณะปฏิวัติในการหาความชอบธรรมในการปกครอง สิ่งที่นายพลเน วิน ต้องการกำหนดไว้ใรัฐธรรมนูญ นั่นคื อเป้าหมายของรัฐสังคมนิยม ที่มีเศรษฐฏิจแบบสังคมนิยม ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบสังคมนิยม และทหารเพียงกลุ่มเดี่ยวเท่านั้นที่ครอบงำอำนาจทั้งหมดรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงเสมือนการสร้างฐานในการครองอำนาจอย่างชอบธรรมและสามารถขจัดอำนาจอื่นที่จะมาสั่นคลอนฝ่ายทหารได้เป็นระบบการปกครองแบบพรรคการเมืองพรรคเดียว ควบคุมจากส่วนกลางโดยไม่มีอำนาจใดมาดุลหรือคาน
ดังน้้น อำนาจในกาบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ จึงอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างสิ้นเชิงขององค์กรของพรรค ไม่มีการกำหนดอำนาจอิสระในระดับใด ไม่ว่าจะเป็นระดับต่ำสุดจากหมู่บ้าน เมือง หรือสภาประชาชน การเลือกตั้งผุ้แทนประชาชนเข้าไปทำหน้าที่ในสภาประชาชนในระดับต่างๆ เป็นแต่การคดเลือกตัวแทนที่พรรรคส่งไปให้ประชาชนรับรองเท่านั้น โดยรวมแล้วทุกหน่วยงานในระดับท้องถิ่น ไม่มีอำนาจใดๆ นอกเหนือจากการรับคำสั่งจากพรรค่วนกลางนั่นเอง
ในสมัยรัฐบาล ตัน ฉ่วย มีความเคลื่อนไหวสมัชชาแห่งชาติที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อร่างรัฐะรรมนูญ และการประชุมทั้ง 8 ครั้งของสมัชชาร่างรัฐธรรมนูญนั้น ก็เป็นเพียงความพยายามในการยืนยันความชอบธรรมของการมีส่วนร่วมของทหารในการมีบทบาทนำในกิจการของรัฐและการเมืองชองชาติใอนาคต เท่านั้น รัฐะรรมนูญของ ตัน ฉ่วย จึงไม่ได้แตกต่างกันเลยกับรัฐธรรมนูญขชองนายพลเน วิน แม้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ (ค.ศ. 2008 จะระบุให้มีการจัดการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 2010 แต่ภายหลังการเลือกตั้ง ก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ระบบการปกครองยังคงรวมศูนยอยู่ที่ส่วนกลาง(ทหาร)เช่นเดิม เนื้อหาส่วนใหญ๋ของรัฐธรรมนูญชี้ให้เห็นถึงอำนาจทหารอย่างชัดเจนในหลายๆ มาตรา ส่วนหนึ่ง เป็นเพราะสมาชิกสมัชชาแห่งชาติเืพ่อร่างรัฐธรรมนูญคือกลุ่มผุ้แทนที่กลุ่มอำนาจจัดตั้งเข้าไป ในขณะที่ตัวแทนของพรรคการเมืองต่างๆ ถูกเลือกเข้าไปน้อยมาก รวมถึงพรรคสันนิบาตชาติเพื่อประชาธิปไตยของนางอองซาน ซุจีที่ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุด ด้วยเช่นกัน
มาตราการต่างๆ ชี้ว่าระบบการปกครองท้องถิ่นของสาธารณรัฐแห่งสหภาพม่านั้น เป้นระบบที่ไม่เกิดขึ้น และอาจจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้ง่ายๆ เนืองด้วยกลุ่มอำนาจทางการทหารนั้น ย่อมไม่สละอำนาจที่เคยมีอยุ่ในมืออกไปง่ายๆ
อย่างไรก็ตาม วีแววของกิจกรรมทางการเมืองที่ดุเหมือนจะเกี่ยวข้องกับระบบการปกครองท้องถิ่น มีให้เห็นตั้งแต่ในสมัยสภาปฏิวัต นเรื่องของการมีส่วนร่วมในการจัดการัฐของประชาชนในภาคส่วนต่างๆ รวมถึงในระดับท้องถิ่น โดยสามารถสรุปใจความสำคัญได้ดังนี้
สภาปฏิวัติ ได้พมัฯาระบบการคัดลือกบุคคลเข้าสุ่องค์กรบริหารระดับต่างๆ ผ่านการเลือกตั้งสมาชิกองค์กรระดับท้องถิ่น อย่างสภาประชาชน ในระดับบนสุด รวมถึง สภาประชาชนระดับปมู่บ้าน ระับตำบล ระดับจังหวัด ระดับรัฐย่อย ระดับเขตปกครองด้วย ดังนั้น ประชาชนจะมีส่วนร่วมในรัฐสภาได้ก็โดยผ่านการเลือกตั้ง สมาชิกสภาฯมีหน้าที่รายงานผลการประชุม ต่อเขตเลือกตั้งของตนโดยการเรียกประชาชนมาประชุม ถือเป็นการเชื่อโยงประชาชเข้ากับศูนย์กลางของรัฐอย่างเป็นทางการ
การเลือกตั้งสมาชิกสภาประชานมีขึ้นทุกๆ 4 ปี พร้อมๆ กับการเลือกตั้งสมาชิกสภาประชาชนประจำหมุบ้าน ตำบล จังหวด รํฐย่อยและเขตปกครองพิเศษ และเฉพาะผู้มีสัญชาติพม่าเท่านั้นที่มีคุณสมบัติรับเลือกตั้งได้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ผุ้สมัครรบเลือกตั้งคือบุคคลที่มีตำแหน่งอยุ่แล้ว นั่นหมายถึงส่วนหนึ่งก็เป็นคนของพรรคในระดับต่างๆ อย่างไรก็ตาม ก็ยังปรากฎกรณีของผุ้ที่รัฐสนับสนุนแต่พ่ายแพ้การเลือกตั้งดังนั้น ผู้ที่ได้รับเลือกจึงต้องเป็นคนที่ทั้งพรรคและประชาชนในท้องถิ่นยอมรัีบได้
กระนั้นการเลือกตั้งดังกล่าว เป็นเพียงพิธีกรรมสร้างความชอบธรรมและรับรองอำนาจที่มีอยุ่แล้ว มากกว่าที่จะเป้นการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นอย่างแท้จริง ดงสะท้อนได้จากจำนวนของผุ้ที่ได้รับเลือก นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1985 จำนวนสมาชิกสภาผุ้แทนราษ๓รในสภาประชาชนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่จำนวนผุ้ได้รับการเลือกตัี้งเข้าสภาประชาชนระัดับจังหวัด รัฐบ่อยและเขตปกครองนั้นคงตัว ส่วนผุ้ได้รับเลือกต้งเข้าสภาประชาระดับตำบลและปมุ่บ้านมีจำนวนลดลงเรื่อยๆ ชี้ให้เห็นถึงการทำงานในหน่วยงานระดับท้องถิ่นที่หนัก ส่งผลถึงการชักจูงประชาชนให้รับตำแหน่งจึงเป็นเรื่องไม่ง่ายนัก
ในระดับประเทศ นอกจากผุ้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของรัฐอยู่ก่อนแล้ว ยังปรากฎว่าเประชาชนที่เข้าไปร่วมกิจกรรมสาธารณะนั้นมีจำนวนที่น้อยมาก และกองทัพยังครอบงำการบริหารประเทศตลอดมารวมถึงนายทหารหรืออดีตนายทหารที่เข้าไปเป็นสมาชิกสภาฯ การที่บุคลากรชั้นนำระดับภูมิภาคมักมีตำแหน่งซ้อนทับระหว่งการเป็นทหาร เจ้าหน้าที่รัฐ และบุคลากรของพรรค สะท้อนเจตนาของการควบคุมมากกว่าการมีส่วนร่วมขงอภาคประชาชนได้อย่างชัดเจน
ในส่วนของสภาประชาชนระดับจังหวัด ตำบล และหมู่บ้าน นั้น มีหน้าที่หลัก 3 ประการ คือ ควบคุมประชาชน การจัดกิจกรรมให้แก่พรรค และองค์กรชนชั้นและจัดการประชุมและรณรงค์ เพื่อนำไปสู่การมีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง
สภาประชาชนระดับท้องถิ่นนั้น ไม่มีอำนาจด้านนิติบัญญัติ และไม่มีการประชุมเพื่อกำหนดนโยบายแต่อย่างใด แต่เป็นสถาบันที่ตั้งขึ้นเพื่อรองรับความต้องการของรัฐบาลกลางและกระจายสู่ท้องถิ่น ซึ่งเป็นไปตามอุดมการณ์สังคมนิยมประชาธิปไตยที่รัฐบาลใหความหายไว้และเป็นหลักการสำคัญในรัฐธรรมนูญ
ความพยายามให้ประชาชนระดับท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการรัฐจึงไม่ค่อยประสอบความสำเร็จมากนัก รัฐยังคงต้องการกำกับดูแลกิจการทุกอย่างเพื่อให้แน่ใจว่าการตัดสินใจในทุกระดับจะไม่ขัดแย้งกับสิ่งที่รัฐบาลกลางชี้นำและกำหนดไว้ การพัฒนาความคิดริเริ่มในท้องถิ่นจึงถูกสอดส่องอยู่ตลอดเวลา รัฐมนตรีมหาดไทยมีอำนาจในการปลดสมาชิกสภาประชาชนระดัยท้องถิ่นทั่วประเทศที่ถูกมองว่าขาดความเหมาะสม หรือทกหน้าที่ไม่มีประสิทธิภาพ
ดังนั้นการกระจายอำนาจสู่ท้องถ่ินนั้น แม้จะมีให้เห็ฯในเชิงรูปแบบแต่ในรายละเอียดแล้ว ไม่เกิดขึ้จริง องค์กรต่างๆ ระดับท้องถิ่นมีหน้าที่เพียงนำการตัดสินจของคณะผุ้ปกครองจากองค์การระดับสูงในส่วนกลางเท่านั้น เช่น การปฏิบัติงานของสภาประชาชนระดับตำบลในนครย่างกุ้ง ใช้เวลาส่วนใหญ่ดำเะนินการตามแผนงานที่สภาประชาชนระดับจังหวัดจัดเตรียมไวให้ ซึ่งสภาประชาชนระดับจังหวัดก็ได้รับคำสั่งจากสาประชาชนระดับรัฐย่อยหรือเขตปกครองมาอีกที เพื่อบรรลุเป้าหมายตามที่รัฐบาลกลางวางไว้เท่านั้น กระนั้น สถานการร์ทางการเมืองของพม่าได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบันหลังการเลือกตั้งครั้งล่าสุด และการปลดปล่อยนางอองซาน ซูจี ใไ้เข้าสู่เส้นทางทางการเมือง ประอบกับปัจจัยภายนอกประเทศต่างๆ ทำให้ในมุมมองของหลายภาคส่วนในสังคมระหว่างประเทศมองการเมืองพม่าว่าอยุ่ในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่เส้นทางประชาธิปไตย ในส่วนของระบบการปกครองท้องุถิ่นก็มีความเคลื่อนไหวด้วยเช่นกัน จากการศึกษาพบว่า มีการเตรียมการเพื่อการพัฒนาบุคลากรในระดับท้องถิ่น โดยการส่งนัการเมืองท้องถ่ินเข้ามาอบรม ณ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ตัวแสดงที่สำคัญที่สุดในระบบการเมืองการปกครองของสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่านั้นมีเพียงกลุ่มเดียว นั่นคือ กลุ่มอำนาจทางการทหาร ที่รวมศูนย์อำนาจทางการปกครองทั้งหมดเข้าสู่ศูนย์กลาง องค์กรทางการเมืองอื่นๆ ในระดับต่างๆ ต่างถุกควบคุมโดยกลุ่มอิทธิพลนี้ด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงใดๆ ของระบบบริหารประเทศย่อมขึ้นอยู่กับกลุ่มทหารเพียงฝ่ายเดี่ยว เมื่อตัวแสดงในภาคส่วนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการพลเรือน พรรคการเมืองอื่นๆ ประชาชน พระสงฆ์ ชนกลุ่มน้อย แม้จะออกมาเคลื่อนไหว แต่ท้ายสุดก็มีความเสี่ยงที่จะถูกรัฐบาลทหารกำจักหรือลิดอนสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง รัฐบาลทหารจึงถือเป็นปัจจัยเหนี่ยวรั้งที่สำคัญที่สุดต่อการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ระบบการปกครองส่วนท้องถิ่นจะเกิดขึ้นหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับท่าทีของกลุ่มอำนาจทางการทหารด้วยกันทั้งสิ้น
อย่างไรก็ตาม สาธารณรับแห่งสไภาพพม่าในปัจจุบันนั้นมิได้เป็นประเทศปิดอย่างเช่นในอดีต การเข้าสู่เวทีความสัมพันธ์ระหว่งประเทศในระดับต่างๆ ไม่ว่าจะเป้ฯระดับภูมิภาคอย่างอาเซียน หรือการมีความสัมพันธ์กับประเทศภายนอก ทั้งในภูมิภาคเอเชีย และภูมิภาคอื่นๆ ส่งผลทำให้ปัจจัยภายนอกประเทศเข้ามาีมีอิทธิพลต่อทัศนะของกลุ่มผุ้นำของพม่าในยุคปัจจุบัน แรงกรุตุ้นจากรัฐมหาอไนาจ องค์การระหว่างประเทศ องค์การเอกชน(NGOs) หรือรัฐอื่นๆ ที่พุ่งเป้ามายังกระบวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยในพม่า อาจส่งผลต่อการตัดสินใจในการกำหนดนโยบายของกลุ่มผุ้นำในสภาพพม่าไม่มากก็น้อย แต่นโยบายหรือตัวบทกฎหมายที่ถูกบัญัติขึ้นมาจากแรงผลักดันและการตวรจสอบจากตัวแสดงภายนอกนั้น จะถูกนำไปปฏิบัติจริงมากน้อยเพีงใดในมุมองของผุ้เขียนแล้ว ในเรื่องการกระจายอำนาจหรือระบบการปกครองท้องถิ่นนั้น ยังเป้ฯเรื่องที่เป็ฯไปได้ยาก แม้จะดูเหมือนวามีกิจกรรมทีดูเหมือนการเตรียมความพร้อมให้กับบุลากรที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานต่างๆ ในประเด็นเรื่องระบบการปกครองท้องถิ่น ก็ใช่ว่าจะการันตีว่าการปกครองในระดับท้องถิ่นจะเกิดขึ้นได้จริง ดั่งในประเทศเสรีประชาธิปไตยทั่วไป
- ผณิตา ไชยศร,"ระบบการปกครองท้องถิ่น ประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน : สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า", วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า, 2556.
วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2560
Bureaucracy : Myanmar
ข้าราชการในยุคก่อนตกเป็นอาณานิคม หรือยุคที่กษัตรยิ์เมียนม่าร์ยังดำรงอยู่ เป็ฯที่เคารพยกยองของผุ้คน ถึงแม้ว่าการคัดเลือก การแต่างตั้งและเงื่อนไขการให้บริการไม่เข้มวงด กษัตรยิ์เป็นผุ้แต่างตั้งผุ้คงแก่เรียนที่มีความรู้ความสามารถและผุ้เชี่ยวชาญการบริหารบ้านเมือง ดูได้จากการตัดสินของศาล คำสั่ง และกิจกรรมต่างๆ เป็นเรื่องสามัญทั่วไป ได้มีการจดบันทึกอย่างละเอียด ซึ่งสะท้อนภาพให้เห็นว่าพื้นความรู้ของเมียนมาร์อยุ่ในระดับสูง แม้เป็นช่วงเวลาที่อังกฤษเข้ยึดครอง ก็ต้องยอมรับว่าความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ของชาวเมียนมาร์อยุ่ในระดับสูงกวาคนในอาณานิคมอื่นๆ ของอังกฤษ ความสำเณ้จในภาษาและวรรณกรรมเป้ฯเรื่องที่ผุ้คนต้องยกย่องและกล่าวถึง
หลังตกเป็นอาณานิคม สำนักงานของบริษัท บริติส อี อินเดีย ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กักัตตาเป็นผู้บริหารเขตปกครองในปี พ.ศ. 2428 เมียนมาร์ทั้งหมดถูกผลักดันให้อยุ่ใต้กฎระเบียบของอาณานิคมระหว่างปี พ.ศ. 2429-2480 เมียนมาร์ถูกจดการดูแลให้เป็นเพียงหนึงจังหงัดของอินเดีย และถูกปกครองโดยอุปราชของอังกฤษในอินเดีย
จากรายงานของคณะกรรมการชุด Mac Aulay Jowelt ในปี พ.ศ. 2368 ว่าหน่ออ่อนของระบบการบริหารจัดการได้ถูกกำหนดให้ไปใช้ในอินเดียและเมียนมาร์ โดยบุคลากรขาวอังกฤษกับชาวพื้นเมืองอีกบางส่วน ข้าราชการขั้นหัวหน้าในแต่ละระดับชั้นและข้าราชการอินเดียต่างมีความสุขกับอภิสิทธิ์ต่าๆง และคำนึงถึงการเป้ฯชนชั้นนำ ในปี พ.ศ. 2480 เมียนมาร์ถูกแยกออกจากอินเดีย คณะกรรมการบริการภาครัฐที่แยกออกมาถูกจัดตั้งขึ้นในเมียนมาร์ เพื่อสรรหาและบรรจุข้าราชกาเมียนมาร์ หลังจากประสบความสำเร็จได้เอกราชในเดือนมกราคม พ.ศ. 2491 เมียนมาร์ยังคงใช้โครงการบริหารจัดการที่ส่งมอบโดยอังกฤษ และอิสรภาพที่ตามมา คือ มีข้าราชการเมียนมาร์เกือบทังหมดเป็นชาวเมียนมาร์ (ยกเว้นการบริการที่อาศัยผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ)
ในปี พ.ศ. 2496 มีประกาศใช้กฎหายข้าราชการพลเรือน และคณะกรรมการสไภาพข้าราชการเป็นเรื่องที่มาก่อนของคณะกรรมการการคัดเลือกและการฝึกอบรมข้าราชการพลเรือน ถูกจัดตั้งในปี พ.ศ. 2520 มีการประกาศใช้กฎหมายคณะกรรมการการคัดเลือกและการฝึกอบรมข้าราชการพลเรือน และมีการแต่างตั้งคณะกรรมการการคัดเลือกและการฝึกอบรมข้าราชการพลเรือน
สถาบนการฝึกอบรมข้าราชการ Phaung gyi ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2508 ภายใต้การกกับของกระทรวงมหาดไทย และถูกย้ายไปอยู่ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการการคัดเลือกและฝักอบรมข้าราชการพลเรือน ในปี พ.ศ. 2520 ซึงตั้งแต่ดำเนินงานมามีประธานมาแล้ว ึ คน ในนามของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและคณะกรรมการการคัดเลือกและฝึกอบรมข้าราชาการพลเรือน อีกทั้งสำนักงานใหญ่ของคณะกรรมการการคัดเลือกและฝึกอบรมข้าราชการพลเรือน ที่รวมถึงกรมการคัดเลือกและการฝึกอบรมข้าราชการพลเรือน และกรมการข้าราชการพลเรือน ได้เปิดทำการใหม่ที่กรุงเนปิดอร์ ในพป 2549 เป็นต้นมา
นอกจานี้รัฐบาลเมียนมาร์ได้รับการช่วยเหลือในการพัฒนาบุคลากรภาครัฐโดยความช่วยเหลือจากต่างประเทศมาโดยตลอด อย่างโครงการความร่วมมือกับมูลนิธิสันติภาพซาซากาว่า ของญี่ปุ่น ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการให้แก่บุคลากรภาครัฐปีละ 120 คน ในหัวข้อ "การฝึกอบรมเชิปฏิบัติการ การเพ่ิมประสิทธิภาพของข้าราชการพลเรือนเมียนมาร์"ในระหว่างปี พ.ศ. 2545-2547 ซึ่งการฝึกอบรมนี้ประสสบความสำเร้๗ในส่วนที่เพ่ิมประสิทธิภาพข้าราชการพลเรือนในการทำงานร่วมกัน และในปี พ.ศ. 2545 ประเทศสิงคโปร์ได้บริจาคเงินช่วยเหลือจัดตั้งโรงเรียนการฝึกอบรมเมียนมาร์สิงคโปร์ ในย่างกุ้งตามโปรแกรมเริ่มต้นเพื่อการรวมกลุ่มอาเชี่ยน โดยมีเนื้อหาครอบคลุมความหลากหลายในการพัฒนาทรัยากรมนุษย์ ไม่ว่าด้านภาษาอังกฤษเทคโนโลยีสารสนเทศ การบริหารภาครัฐ การคั้า และากรท่องเที่ยว
โรงเรียนการฝึกอบรมเมียนมาร์สิงคโปร์นี้ ยังมีโปรแกรมที่ได้มาตรฐานยกระดับสำหรับครูผู้ฝึกอบรมด้านต่างๆ จึงมีการส่งครูผุ้ฝึกอบรมมาเรียนในหลายหลักสูตรที่โรงเรียนนี้ และยังมีการส่งครูผุ้ฝึกอบรมเด่นๆ ให้มีโอกาสได้เขาร่วมหลักสูตรการฝึกอบรมต่างๆ และเป็นตัวแทนไปดูงานในต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลี จีน และฯลฯ
เมียนมาร์ เป็นประเทศที่เป้นจุดเชื่อมระหว่างภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และเอเลชียตะวันออกเฉียงใต้ ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน และค่าแรงต่ำ ประกอบกับมีทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมาก เช่น พลังงาน แร่ธาตุ ป่าไม้ พื้นที่การเพาะปลูก ตลอดจนทรัพบยากรทางทะเล และจัดเป็นประเทศในกลุ่มประเทศที่ยากจนที่สุด ซึ่งได้รับการยกเว้นภาษี และสิทธิพิเศษทางการค้าจากหลายประเทศ ประกอบกับเมียนมาร์ได้เปลี่นแปลงการปกครองเป้นระบอบประชาธิปไตยและเปิดประเทศให้ผุ้สนใจเข้าไปลงทุนได้เสรีมากขึ้น โดยผ่านนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศของเมยนมาร์ การพัฒนาภาคการเงิน การเดินหน้าปฏิรูป และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและัแรงงน การสร้างบรรยากาศการลงทุน รวมทั้งกาพัฒนโครงข่ายคมนาคมในประเทศเชิงรุกทั้งทางถนน รถไฟ และท่าเรือ ทำให้เมียนมร์มีการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2555 คิดเป็ร้อยละ 6.3 ซึงสูงกว่าค่าเฉลี่ยของ 5 ปี ที่ผ่านมาที่อยู่ร้อยละ 54 อย่างไรก็ดีระบบการเมืองและนโยบายขอวเมียนมาร์ยังไม่แน่นอน ระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานยังขาดแคลนและมีราะคาสูง รวมถคึงเครื่อข่ายคมนาคมยังไม่สมบูรณ์ นอกจากนี้เมยนมร์มีข้อจำกัดทางด้านนเงินุนและระบบการเงินที่ไม่สามารถเคลื่อยย้ายได้ปย่างเสรี ประกอบกับในอดีตที่ผ่ารมาเาียนมาร์ได้รับผลกระทบจากมาตรการควำบาตรของประชาคมโลก จึงทำใ้ห้ค่าใช้จายในการลทุนของภาครัฐและภาคเอกชนมีต้นทุนเฉลี่ยสูงกว่าประทเศอื่นๆ ในภูมิภาค ดังนั้น เมียนมาร์จึงด้มีการกำหนดแนวทางในการพัฒนาเศษรกิจและโดยกำหนดประเด็นสำคัญๆ ดังนี้
- การจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 20 ปี
- ให้ความสำคัญต่อภาคการค้าและการลงทุน รวมถึงการระดมการลงทุนระหวางประเทศ
- การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
- การบริหารจัดการความช่วยเหลือจากต่างชาติให้มีประสิทธิภาพและสอดคลองกับเป้าหมายของประเทศในการปฏิรูประยะที่ 2 คือ การพัฒนาเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนขาวเมียนมาร์ให้ดีขึ้น
- สำหรับการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดังกลาวข้างต้นเมียนมา์มีเป้าประสงค์ยึดหลักประชาชนระดับรากหญ้า ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการบริหารจัดการของรัฐ และมีส่วนร่วมในการกำหนทิศทาง นโยบายและกระบวนการในการพัฒนา ซึ่งมีปัจจัยสำคัญในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตด้านต่างๆ เช่น ด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินสภาพความเป็นอุ่ภายในชุมชน เป็นต้น ซึ่ตามกรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จะมีโครงการเร่งด่วนเพื่อให้เกิดความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องดังนี้
ปฏิรูปภาษีและการเงิน , ปฏิรูปภาคการคลังและการเงิน รวมถึงธนาคารกลาง เปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน พัฒนาธุรกิจภาคเอกชน โดยปฏิรูปกฎหมายและระเบียบที่สำคัญสำหรับภาคการท่องเที่ยว, พัฒนาระบบโทรคมนาคมและการสื่อสารให้ทันสมัย, พัฒนาสาธารณสุขและการศึกษา,สร้างความม่ั่นคงด้านอาหารและความเจริญเติบโตภาคการเกษตร,สร้างระบบบริหารจัดการให้มีความโปร่งใส โดยเน้นความโปร่งใสในการจัดทำและดำเนินงานที่ใช้จ่ายจากเงินวบประมาณภาครัฐ, พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยปรับปรงระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะและพลังงานรวมท้งปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกบการจ้างงานและากรให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ, สร้างคามมีประสทิธิภาพและประสิทธิผลจากการดำเนินงานของรัฐ และสำหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 20 ปี ตามกรอบดังกล่าวข้าตัน เมียนมาร์ได้กำหนดเป้าหมายที่สำคัญไว้คือ
- ปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวเมียนมาร์
- เพ่ิมรายได้ประชากร
- พัฒนาโครงการสร้างพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสาธารณูปโภค เช่น การคมนาคม แหล่งน้ำและสุขาภิบาล พลังงานไฟฟ้าการศึกษา การสาธารณสุข และระบบประกันสังคม เป็นต้น
- จัดให้มีการจ้างงานเพ่ิมากขึ้น
-อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
- บรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ ตามวัตถุประสงค์ของสหประชาชาติและประชาคมอาเซียน
- "ระบบบริหารราชการของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์" สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ.
หลังตกเป็นอาณานิคม สำนักงานของบริษัท บริติส อี อินเดีย ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กักัตตาเป็นผู้บริหารเขตปกครองในปี พ.ศ. 2428 เมียนมาร์ทั้งหมดถูกผลักดันให้อยุ่ใต้กฎระเบียบของอาณานิคมระหว่างปี พ.ศ. 2429-2480 เมียนมาร์ถูกจดการดูแลให้เป็นเพียงหนึงจังหงัดของอินเดีย และถูกปกครองโดยอุปราชของอังกฤษในอินเดีย
จากรายงานของคณะกรรมการชุด Mac Aulay Jowelt ในปี พ.ศ. 2368 ว่าหน่ออ่อนของระบบการบริหารจัดการได้ถูกกำหนดให้ไปใช้ในอินเดียและเมียนมาร์ โดยบุคลากรขาวอังกฤษกับชาวพื้นเมืองอีกบางส่วน ข้าราชการขั้นหัวหน้าในแต่ละระดับชั้นและข้าราชการอินเดียต่างมีความสุขกับอภิสิทธิ์ต่าๆง และคำนึงถึงการเป้ฯชนชั้นนำ ในปี พ.ศ. 2480 เมียนมาร์ถูกแยกออกจากอินเดีย คณะกรรมการบริการภาครัฐที่แยกออกมาถูกจัดตั้งขึ้นในเมียนมาร์ เพื่อสรรหาและบรรจุข้าราชกาเมียนมาร์ หลังจากประสบความสำเร็จได้เอกราชในเดือนมกราคม พ.ศ. 2491 เมียนมาร์ยังคงใช้โครงการบริหารจัดการที่ส่งมอบโดยอังกฤษ และอิสรภาพที่ตามมา คือ มีข้าราชการเมียนมาร์เกือบทังหมดเป็นชาวเมียนมาร์ (ยกเว้นการบริการที่อาศัยผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ)
ในปี พ.ศ. 2496 มีประกาศใช้กฎหายข้าราชการพลเรือน และคณะกรรมการสไภาพข้าราชการเป็นเรื่องที่มาก่อนของคณะกรรมการการคัดเลือกและการฝึกอบรมข้าราชการพลเรือน ถูกจัดตั้งในปี พ.ศ. 2520 มีการประกาศใช้กฎหมายคณะกรรมการการคัดเลือกและการฝึกอบรมข้าราชการพลเรือน และมีการแต่างตั้งคณะกรรมการการคัดเลือกและการฝึกอบรมข้าราชการพลเรือน
สถาบนการฝึกอบรมข้าราชการ Phaung gyi ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2508 ภายใต้การกกับของกระทรวงมหาดไทย และถูกย้ายไปอยู่ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการการคัดเลือกและฝักอบรมข้าราชการพลเรือน ในปี พ.ศ. 2520 ซึงตั้งแต่ดำเนินงานมามีประธานมาแล้ว ึ คน ในนามของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและคณะกรรมการการคัดเลือกและฝึกอบรมข้าราชาการพลเรือน อีกทั้งสำนักงานใหญ่ของคณะกรรมการการคัดเลือกและฝึกอบรมข้าราชการพลเรือน ที่รวมถึงกรมการคัดเลือกและการฝึกอบรมข้าราชการพลเรือน และกรมการข้าราชการพลเรือน ได้เปิดทำการใหม่ที่กรุงเนปิดอร์ ในพป 2549 เป็นต้นมา
นอกจานี้รัฐบาลเมียนมาร์ได้รับการช่วยเหลือในการพัฒนาบุคลากรภาครัฐโดยความช่วยเหลือจากต่างประเทศมาโดยตลอด อย่างโครงการความร่วมมือกับมูลนิธิสันติภาพซาซากาว่า ของญี่ปุ่น ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการให้แก่บุคลากรภาครัฐปีละ 120 คน ในหัวข้อ "การฝึกอบรมเชิปฏิบัติการ การเพ่ิมประสิทธิภาพของข้าราชการพลเรือนเมียนมาร์"ในระหว่างปี พ.ศ. 2545-2547 ซึ่งการฝึกอบรมนี้ประสสบความสำเร้๗ในส่วนที่เพ่ิมประสิทธิภาพข้าราชการพลเรือนในการทำงานร่วมกัน และในปี พ.ศ. 2545 ประเทศสิงคโปร์ได้บริจาคเงินช่วยเหลือจัดตั้งโรงเรียนการฝึกอบรมเมียนมาร์สิงคโปร์ ในย่างกุ้งตามโปรแกรมเริ่มต้นเพื่อการรวมกลุ่มอาเชี่ยน โดยมีเนื้อหาครอบคลุมความหลากหลายในการพัฒนาทรัยากรมนุษย์ ไม่ว่าด้านภาษาอังกฤษเทคโนโลยีสารสนเทศ การบริหารภาครัฐ การคั้า และากรท่องเที่ยว
โรงเรียนการฝึกอบรมเมียนมาร์สิงคโปร์นี้ ยังมีโปรแกรมที่ได้มาตรฐานยกระดับสำหรับครูผู้ฝึกอบรมด้านต่างๆ จึงมีการส่งครูผุ้ฝึกอบรมมาเรียนในหลายหลักสูตรที่โรงเรียนนี้ และยังมีการส่งครูผุ้ฝึกอบรมเด่นๆ ให้มีโอกาสได้เขาร่วมหลักสูตรการฝึกอบรมต่างๆ และเป็นตัวแทนไปดูงานในต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลี จีน และฯลฯ
เมียนมาร์ เป็นประเทศที่เป้นจุดเชื่อมระหว่างภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และเอเลชียตะวันออกเฉียงใต้ ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน และค่าแรงต่ำ ประกอบกับมีทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมาก เช่น พลังงาน แร่ธาตุ ป่าไม้ พื้นที่การเพาะปลูก ตลอดจนทรัพบยากรทางทะเล และจัดเป็นประเทศในกลุ่มประเทศที่ยากจนที่สุด ซึ่งได้รับการยกเว้นภาษี และสิทธิพิเศษทางการค้าจากหลายประเทศ ประกอบกับเมียนมาร์ได้เปลี่นแปลงการปกครองเป้นระบอบประชาธิปไตยและเปิดประเทศให้ผุ้สนใจเข้าไปลงทุนได้เสรีมากขึ้น โดยผ่านนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศของเมยนมาร์ การพัฒนาภาคการเงิน การเดินหน้าปฏิรูป และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและัแรงงน การสร้างบรรยากาศการลงทุน รวมทั้งกาพัฒนโครงข่ายคมนาคมในประเทศเชิงรุกทั้งทางถนน รถไฟ และท่าเรือ ทำให้เมียนมร์มีการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2555 คิดเป็ร้อยละ 6.3 ซึงสูงกว่าค่าเฉลี่ยของ 5 ปี ที่ผ่านมาที่อยู่ร้อยละ 54 อย่างไรก็ดีระบบการเมืองและนโยบายขอวเมียนมาร์ยังไม่แน่นอน ระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานยังขาดแคลนและมีราะคาสูง รวมถคึงเครื่อข่ายคมนาคมยังไม่สมบูรณ์ นอกจากนี้เมยนมร์มีข้อจำกัดทางด้านนเงินุนและระบบการเงินที่ไม่สามารถเคลื่อยย้ายได้ปย่างเสรี ประกอบกับในอดีตที่ผ่ารมาเาียนมาร์ได้รับผลกระทบจากมาตรการควำบาตรของประชาคมโลก จึงทำใ้ห้ค่าใช้จายในการลทุนของภาครัฐและภาคเอกชนมีต้นทุนเฉลี่ยสูงกว่าประทเศอื่นๆ ในภูมิภาค ดังนั้น เมียนมาร์จึงด้มีการกำหนดแนวทางในการพัฒนาเศษรกิจและโดยกำหนดประเด็นสำคัญๆ ดังนี้
- การจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 20 ปี
- ให้ความสำคัญต่อภาคการค้าและการลงทุน รวมถึงการระดมการลงทุนระหวางประเทศ
- การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
- การบริหารจัดการความช่วยเหลือจากต่างชาติให้มีประสิทธิภาพและสอดคลองกับเป้าหมายของประเทศในการปฏิรูประยะที่ 2 คือ การพัฒนาเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนขาวเมียนมาร์ให้ดีขึ้น
- สำหรับการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดังกลาวข้างต้นเมียนมา์มีเป้าประสงค์ยึดหลักประชาชนระดับรากหญ้า ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการบริหารจัดการของรัฐ และมีส่วนร่วมในการกำหนทิศทาง นโยบายและกระบวนการในการพัฒนา ซึ่งมีปัจจัยสำคัญในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตด้านต่างๆ เช่น ด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินสภาพความเป็นอุ่ภายในชุมชน เป็นต้น ซึ่ตามกรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จะมีโครงการเร่งด่วนเพื่อให้เกิดความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องดังนี้
ปฏิรูปภาษีและการเงิน , ปฏิรูปภาคการคลังและการเงิน รวมถึงธนาคารกลาง เปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน พัฒนาธุรกิจภาคเอกชน โดยปฏิรูปกฎหมายและระเบียบที่สำคัญสำหรับภาคการท่องเที่ยว, พัฒนาระบบโทรคมนาคมและการสื่อสารให้ทันสมัย, พัฒนาสาธารณสุขและการศึกษา,สร้างความม่ั่นคงด้านอาหารและความเจริญเติบโตภาคการเกษตร,สร้างระบบบริหารจัดการให้มีความโปร่งใส โดยเน้นความโปร่งใสในการจัดทำและดำเนินงานที่ใช้จ่ายจากเงินวบประมาณภาครัฐ, พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยปรับปรงระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะและพลังงานรวมท้งปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกบการจ้างงานและากรให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ, สร้างคามมีประสทิธิภาพและประสิทธิผลจากการดำเนินงานของรัฐ และสำหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 20 ปี ตามกรอบดังกล่าวข้าตัน เมียนมาร์ได้กำหนดเป้าหมายที่สำคัญไว้คือ
- ปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวเมียนมาร์
- เพ่ิมรายได้ประชากร
- พัฒนาโครงการสร้างพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสาธารณูปโภค เช่น การคมนาคม แหล่งน้ำและสุขาภิบาล พลังงานไฟฟ้าการศึกษา การสาธารณสุข และระบบประกันสังคม เป็นต้น
- จัดให้มีการจ้างงานเพ่ิมากขึ้น
-อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
- บรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ ตามวัตถุประสงค์ของสหประชาชาติและประชาคมอาเซียน
- "ระบบบริหารราชการของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์" สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ.
วันเสาร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2560
Bureaucracy : Cambodia
ภาวะสงครามในกัมพูชาทำให้ประเทศชาติล้มสลาย สหประชาชาติได้ยืนมือเข้ามาช่วยชุบชีวิตกัมพูชาให้ผื้นคือชีพอีกครั้งเมื่อสงครามกลางเมืองสิ้นสุดลงอย่างเป็นทาการในปี พ.ศ. 2534 พร้อมกับการลงนามในข้อตกลงสันติภาพที่กรุงปารีส อันได้ปูทางไสู่การเข้ามาของ UNTAC โดยข้อตกลงสันตุภาพฯ ได้มีการจัดทำข้อเสนอแนะให้ทำการฟื้อนฟูประเทศกัมพูชาไปพร้อมๆ กับการสร้างชาติขึ้นหม่อีกครัี้งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นแผนแม่บทในการเข้ามาขององค์การระหว่างประเทศในการจัดการเลือกตั้งระดับชาติขึ้นในกัมพูชา โดยในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2536 กัมพูชาได้จัดให้มีการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยขึ้นภายใต้การกำกับดูแลของสหประชาชาติ ซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกที่มีพรรคกรเมืองหลายพรรคสมัครเข้ารับเลือกตั้ง โดยมีพรรคการเมืองเข้าร่วมการแข่งขันถึง 20 พรรคแต่พรรคการเมืองที่โดเด่น คือ พรรคประชาชนกัมพุชา CPP นำโดย สมเด็จฮุน เซน พรรคฟุนซินเปก FUNCINPEC นำโดยเจ้ารณฤทธิ์
ภายใต้รัฐบาลผสมระหว่างพรรคประชาชนกัมพุชา และ ฟุนซินเปค ได้ดำเนินการเร่งปฏิรูประบบราชการเนื่องจากกลุ่มประเทศผุ้ให้ความช่วยเหลือ แก่กัมพูชาได้ตั้งเงือนไขให้รัฐบาลกัมพูชาต้องปฏิรนูประบบงานบริหารราชการ ระเบียบการคลัง ระบบภาษี กองทัพ กรมตำรวจ กฎกมายการกระจายอำนาจ และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อเป็ฯการแลกเปล่ยนความช่วยเหลือ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดธรรมาภิบาล มีความโปร่งใสในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล และเืพ่อแก้ไขปัญหาคอรัปชั่นที่มีอยุ่มากในกัมพูชาให้หมดไป
โดยภายหลังจากการเลือกตั้งทั่วไปในกัมพูชาในปี พ.ศ. 2541 ประเทศกัมพุชามีรัฐบาลใหม่ที่มีความพยายามในการยกระดับฟื้นฟูประเทศ และปะกาศให้คำมั่นสัญญาต่อนานาชาติที่ให้ความช่วยเลืหอต่อกัมพูชาในการพัฒนาประเทศ่ารัฐบาลกัมพูชายังคงมีเจรนาเดินหน้าในากรปฏิรูปแการบริหารประเทศ และยังมีความจำเป็นที่จะรับความช่วยเหลือจากนานาประเทศ
ปัญหารการพัฒนาระบบราชการกัมพูชา ปัจจัยทางการเมืองที่เกิดท่ามกลาวสภาวะสงครามกลางเมืองมายาวนานเกือบ 3 ทศวรรษ ได้ทำให้กัมพูชาไม่สามารถพัีฒนาระบบราชการได้ และยังควต้องพึงพาการพัฒนาเศราฐกิจจากองค์การด้านการเงินระหว่างประเทศ รวมถึงการขาดแคลนทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพแม้ว่ารัฐบาลและองค์การระหว่างประเทศได้เข้ามาช่วยเหลือฟื้นฟูโดยตลอดนับแต่สงครามภายในได้ยุติลงเมื่อปี พ.ศ. 2534 แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ และถือว่ากัมพุชาป็นประเทศพัฒนาน้อยที่สุด รายจ่ายประจำและรายจ่ายด้านการลงทุนคิดเป็สัดส่วนร้อยละ 59.8 และ 38.2 ของรายจ่ายรวมตามลำดบ รายจ่ายประจำที่สำคัญคือ การปฏิรุประบบราชการ การปลกทหาร และการเลือกตั้ง เป็นต้น แม้เกิดแนวคิดการกระจายอำนาจเกิดขึ้นมาจากหลักธรรมภิบาล
เนื่องจากรัฐบาลมีความเชื่อว่าการกระจายอำนาจเป็นการปกครองที่รัฐสามารถถ่ายโอนอำนาจการบังคับบัญชา และมอบหมายความารับผิดชอบในกิจการบางอยางให้ท้องถิ่นดำเนินการจัดการภายในเอง โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อให้ประชาชนช่วยเลหือซึ่งกันและกัน มีส่วนร่วมและรับผิดชอบร่วมกันในการดูแลกิจการท้องถิ่นของตนเอง แต่ในทางปฏิบัติแม้ว่าการปฏิรูประบบราชการ การกระจายอำนาจจะดำเนินไป แต่ก็ปรากฎสิ่งท้าทายที่สวนทางกับกระบวนการปฏิรูปด้วยเช่นกัน มีการแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองบางกลุ่ม ไม่ว่าจะเป้นการกำหนดตัวคนในด้านโครงสร้างกฎหมายหรือกำหนดกฎเกณฑ์ในกระบวนการกระจาย รวมไปถึงการข่มขู่คุกคามทางการเมือง
ในช่วงเปิดประเทศหรือประมาณปี พ.ศ. 2533 ข้าราชการระดับสูงทังส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ส่วนใหญ่ได้รับการแต่งตั้งจากพรรคการเมืองโดยมีวาระตามการตัดสินใจของผุ้บริหารพรรคการเมือง ซึ่งเป็นผุ้บริหารประเทศ นักการเมือง และข้าราชการระดับสูงกลุ่มนี้ต่างมีรายได้มาจากการให้เช่าบ้านและที่ดิน ซึ่งได้รับการอำนวยความสะดวกในเรื่องกฎระเบียบของรัฐ รวมถึงเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศในโครงการพัฒนาต่างๆ ที่ยังมีปัญหาคอรัปชั่นอยู่มากในกัมพูชา ซึ่งทางธนาคารโลกได้รายงานว่าการทุจริตในหน้าที่ของบุคคลในรัฐบาลมีอย่างกว้างขวางและแพร่หลายภาคธุรกิจเอกชนส่วนใหญ่ยอมรับว่าจำเป็ฯต้องจ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลเพียงแค่ทำหน้าที่ตามปกตอ และต้องจ่ายสินบบนถึงร้อยละ 85 ของรายจ่ายนอกระบบ หรือตั้งแต่ร้อยลุ 5-6 ของรายรับจากการขายและเพิ่มขึ้นตามขนาดของธุรกิจซึ่งถือเป็นรายการใหญ่ของต้นทุนการผลิต โดยทั่วไปแล้วเงินรายจ่ายที่ไม่เป็นทางการนี้ ถือเป็นค่าตอบแทนให้เจ้าหน้าที่เพื่อให้ได้บริการที่รวดเร้ซขึ้น แต่ในกัมพูชาการติดต่อขอรับบริการจากเจ้าหน้าที่รัฐบาลต้องจ่ายเงินประเภทนี้ คล้ายกับเป็นค่าธรรมเนียมตามปกตอ เพียงแต่เงินที่จ่ายไปไม่ได้นำส่งเข้ารัฐ
รัฐบาลกัพูชาในปัจจุบันภายใตการปกครองของ ฯพณฯ ฮุนเซน นายกรัฐมนตรีปัจจุบันมีนโยบายดังนี้
จากการที่กัมพูชาได้ดำเนินการตามแผนพัฒนายุทธศาสตร์แห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2449-2553 ตามยุทธศาสตร์ลดความยากจนแก่งชาติ รวมทั้งป้าเมหายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษของกัมพูชา ซึ่งล้วนเป็นยุทธศาสตร์หลักที่รัฐบาลกัมพูชาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายให้กัมพูชาเดินหน้าไปสู่การพัฒนาและความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน และใช้พื้นฐานในการแก้ไขปัญหาสำคัญในการพัฒนาประเทศ 4 ด้าน คือ ด้านการเกษตร, ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน, ด้านการพัฒนาภาคเอกชนเพื่อการสร้างงานและด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่รวมถึงด้านการศึกษาและสาธารณสุข แม้ทั้งสี่ด้านที่กล่าวข้างต้นเป้ฯปัจจัยที่ผลักดันสังคมกัมพุชาให้ไปข้างหน้าแต่สังคมกัมพุชายังต้องอาศัยปัจจัยภายนอกมาช่วยเสริมกระตุ้นอย่างนโยบายการค้าตาบแบบเสรีโดยอาศัยกลไกตลาดเพื่อเปิดโอกาสให้แข่งขันได้อย่างเสรี และเป็นการระดมทุนจากต่างประเทศใหมาลงทุนในประเทศ นโยบายวันนี้ของประเทศกัมพูชาคือช่วยชี้แนะแนวนโยบายด้านการค้าแก่นักธุรกิจภายในและชาวต่างชาติให้ประกอบธุรกิจสอดคล้องกับทิศทางนโยบาย และตามกฎหมายของประเทศ มีการปรับปรุงการบังคับใช้กฎหมายธุรกิจการค้า กฎหมายตราสารหนี้และการชำระเงิน กฎหมายหลักทรัพย์ กฎหมายความปลอดภัยด้านธุรกรรมการเงิน ปรับปรุงและแก้ไขขั้นตอนศุลกากรการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา เช่น กฎหมายสิทธิบัตรกฎหมายเครื่องหมายการค้า และกฎหมายลิขสิทธิ์ เป็นต้น
เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและส่งเสริมบรรยากาศการค้าการลงทุนและทิศทางใหม่ของประเทศ นายกรัฐมนตรีฮุน เซน ได้แถลงหาความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงคู่ค้าต่างประเทศเพื่อพัฒนาและเพิ่มความมั่นคงด้านการค้า โดยมุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและการค้าของประเทศ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้รุดหน้า พัฒนการส่งออกให้มีคุณภาพมากขึ้น เพื่อให้กัมพูชาได้รับผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจและการค้ามากที่สุด ถือเป็นแผนยุทธศาสตร์ที่แตกต่างจากแผนเดิม น่นคือมุ่งดำเนินวิธีการต่างๆ ให้ประเทศกัมพูชาได้รับผลประดยชน์จากการเข้ร่วมเป้นสมาชิกประชาคมอาเซียนและเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับมาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาลอย่างเต็มรูปแบบในอนาคต
นอาจากนี้ประเทศกัมพุชายังมีแนวทางในการปฏิรูปและพัฒนาศักยภาพการแข่งขันภายใน 5 ปี ขางหน้า เพื่อให้สอดคล้องกับการรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อละสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก ซึ่งรวมถึงการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ การค้า การลงทุน การส่งเสริมธรรมาภิบาล และหลักนิติธรรมการเพิ่มโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริหารต่างๆ ได้มากขึ้นการพัฒนาคุณภาพและให้โอกาสด้านการศึกษาแก่เยาชนกัมพูชาเพื่อสร้างบุคลากรที่มีศักยภาพและสอดคล้องกับความต้องการของตลาด
ระบบราชการของราชอาณาจักรกัมพูชาพบว่าหน่วยงานด้านการลงทุนให้ความเห้ฯที่เป็นไปในทิศทางเดี่ยวกันว่ากัมพูชาถือเป็นประเทศหนึ่งที่น่าลงทุน แต่ยังมีข้อเสียที่มีการทุจริตในวงราชการค่อนข้องมาก โดยจีรนันท์ วงษ์มงคล อัครราชทูตที่ปรึกษา(ฝ่ายการพาณิชย์) สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงพนมเปญประเทศกัมพูชา ได้กล่าวถึงข้อเสียการลงทุนในกัมพุชาไว้ในปี พ.ศ. 2553 ว่า "มีความไม่โปร่งใสของขั้นตอนและระบบราชการซึ่งตรงกับสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงพนมเปญที่กล่าวไว้ในปี พ.ศ. 2547 ว่า "ปัญหาคอรัปชี่นและความไม่โปร่งใสในระบบราชการเป้นภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น" ตรงกันกับสำนักงานส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศไทย ที่ได้วิเคราะห์ศักยภาพด้านการลงทุนว่าจุดอ่อนข้อที่ 17 ของกัมพูชาคือ ระบบราชการกัมพุชามีการคอรัปชั่นสูง นอกจากนี้ยังมีการศึกษาถึงการคอรัปชั่นในประเทศกัมพูชา กล่าวถึงการคอรัปชั่นในกัมพูชาไว้ว่า
คอรัปชั่นเกิดได้หลากหลายรูปแบบทั้งการให้สินบน การเล่นพรรคเล่นพวกการหลีกเลี่ยงภาษี ฯลฯ โดยกมาทุจริตนั้นจะเกิดจากปัจจัยดังนี้
- ปัจจัยด้านการเมือง ระดับการคอรัปชั่นขึ้นอยุ่กับความเข้มแข็งของสังคม อิสระของสื่อมวลชนใบริบทของกัมพูชาจากความจริงที่ว่ารัฐบาลเิดขึ้นและได้รับอิทธิพลทางการเมืองเพือเป้าหมายและกลยุทธ์ทางการเมือง โดยรัฐบาลมีบทบาทโดดเด่นในการับและการใช้จ่ายทรัพยากรของพวกตน บางครั้งวงจรการทุจริตดูเหมือนว่าจะปรกฎตัวขึ้นเป็นครั้งคราวและกลายเป็นระบบ
- ปัจจัยทางกฎหมายและจริยธรรม ปัจจัยสำคัญที่เชื่อมโยงกับการทุจริตคือคุณภาพระบบกฎหมายของประเทศเพื่อการดำรงอยู่ของกฎหมายต่อต้านการทุจริตที่มีประสิทธิภาพและความสามารถในการบังคับใช้กฎหมาย การคอรัปชั่นยังเกี่ยวกับสถานที่ที่ทมีคุณค่าทางจริยธรรมที่ถูกละเลยโดยผุ้ทีกกระทำการทุจริตละเลยศักดิ์ศรีและทำตามความเห็นแก่ตัวของตน
- ปัจจัยระบบราชการ ในการออกกฎการแทรกแซงและกฎระเบียบราชการในระบบเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการทุจริตทีมีแนวโน้มจะสูงขึ้น จากการที่ภาครัฐเรียกเก็บเงินจำนวนมาจากรกฎระเบียบที่เือ้อต่อเจ้าหน้าที่รัฐในการหาประโยชน์ส่วนตัว ในขณะที่การเพ่ิมขึ้นหรือลอลงของความรับผิดชอบอาจก่อใไ้เกิดการคอรัปชั่น
- ปัจจัยด้านผลตอบแทนจากการที่เจ้าหน้ารัฐมีรายได้อยู่ในระดับต่ำ หรือแตกต่างจากค่าจ้างของภาคเอกชนค่อนข้างมาก ทำให้ข้าราชการเกิดการคอรัปชั่นได้
- ปัจจัยด้านเศรษฐกิจการคอรัปชั่นมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นจากากรมี่รัฐสร้างเศรษฐฏิจแบบผูกขาด จะเห็นได้ว่าจากการศึกษาดังกล่าวระบบราชการภายในราชอาณาจักรกัมพูชายังมีากรคอรัปชั่นอยู่ค่อนข้างสูงจากปัจจัยสนับสนุนที่หลากหลาบ ถือเป็นอีกหนึ่งจุดเด่นของระบบราชการราชอาณาจักรกัมพูชาโดยในปัจจุบันรัฐบาลกัมพูชามีนโยบายปราบปรามการทุจริตอย่างจริงจังมากย่ิงขึ้น
- "ระบบบริหาราชการของอาณาจักรกัมพูชา" สภาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ.
ภายใต้รัฐบาลผสมระหว่างพรรคประชาชนกัมพุชา และ ฟุนซินเปค ได้ดำเนินการเร่งปฏิรูประบบราชการเนื่องจากกลุ่มประเทศผุ้ให้ความช่วยเหลือ แก่กัมพูชาได้ตั้งเงือนไขให้รัฐบาลกัมพูชาต้องปฏิรนูประบบงานบริหารราชการ ระเบียบการคลัง ระบบภาษี กองทัพ กรมตำรวจ กฎกมายการกระจายอำนาจ และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อเป็ฯการแลกเปล่ยนความช่วยเหลือ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดธรรมาภิบาล มีความโปร่งใสในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล และเืพ่อแก้ไขปัญหาคอรัปชั่นที่มีอยุ่มากในกัมพูชาให้หมดไป
โดยภายหลังจากการเลือกตั้งทั่วไปในกัมพูชาในปี พ.ศ. 2541 ประเทศกัมพุชามีรัฐบาลใหม่ที่มีความพยายามในการยกระดับฟื้นฟูประเทศ และปะกาศให้คำมั่นสัญญาต่อนานาชาติที่ให้ความช่วยเลืหอต่อกัมพูชาในการพัฒนาประเทศ่ารัฐบาลกัมพูชายังคงมีเจรนาเดินหน้าในากรปฏิรูปแการบริหารประเทศ และยังมีความจำเป็นที่จะรับความช่วยเหลือจากนานาประเทศ
ปัญหารการพัฒนาระบบราชการกัมพูชา ปัจจัยทางการเมืองที่เกิดท่ามกลาวสภาวะสงครามกลางเมืองมายาวนานเกือบ 3 ทศวรรษ ได้ทำให้กัมพูชาไม่สามารถพัีฒนาระบบราชการได้ และยังควต้องพึงพาการพัฒนาเศราฐกิจจากองค์การด้านการเงินระหว่างประเทศ รวมถึงการขาดแคลนทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพแม้ว่ารัฐบาลและองค์การระหว่างประเทศได้เข้ามาช่วยเหลือฟื้นฟูโดยตลอดนับแต่สงครามภายในได้ยุติลงเมื่อปี พ.ศ. 2534 แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ และถือว่ากัมพุชาป็นประเทศพัฒนาน้อยที่สุด รายจ่ายประจำและรายจ่ายด้านการลงทุนคิดเป็สัดส่วนร้อยละ 59.8 และ 38.2 ของรายจ่ายรวมตามลำดบ รายจ่ายประจำที่สำคัญคือ การปฏิรุประบบราชการ การปลกทหาร และการเลือกตั้ง เป็นต้น แม้เกิดแนวคิดการกระจายอำนาจเกิดขึ้นมาจากหลักธรรมภิบาล
เนื่องจากรัฐบาลมีความเชื่อว่าการกระจายอำนาจเป็นการปกครองที่รัฐสามารถถ่ายโอนอำนาจการบังคับบัญชา และมอบหมายความารับผิดชอบในกิจการบางอยางให้ท้องถิ่นดำเนินการจัดการภายในเอง โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อให้ประชาชนช่วยเลหือซึ่งกันและกัน มีส่วนร่วมและรับผิดชอบร่วมกันในการดูแลกิจการท้องถิ่นของตนเอง แต่ในทางปฏิบัติแม้ว่าการปฏิรูประบบราชการ การกระจายอำนาจจะดำเนินไป แต่ก็ปรากฎสิ่งท้าทายที่สวนทางกับกระบวนการปฏิรูปด้วยเช่นกัน มีการแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองบางกลุ่ม ไม่ว่าจะเป้นการกำหนดตัวคนในด้านโครงสร้างกฎหมายหรือกำหนดกฎเกณฑ์ในกระบวนการกระจาย รวมไปถึงการข่มขู่คุกคามทางการเมือง
ในช่วงเปิดประเทศหรือประมาณปี พ.ศ. 2533 ข้าราชการระดับสูงทังส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ส่วนใหญ่ได้รับการแต่งตั้งจากพรรคการเมืองโดยมีวาระตามการตัดสินใจของผุ้บริหารพรรคการเมือง ซึ่งเป็นผุ้บริหารประเทศ นักการเมือง และข้าราชการระดับสูงกลุ่มนี้ต่างมีรายได้มาจากการให้เช่าบ้านและที่ดิน ซึ่งได้รับการอำนวยความสะดวกในเรื่องกฎระเบียบของรัฐ รวมถึงเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศในโครงการพัฒนาต่างๆ ที่ยังมีปัญหาคอรัปชั่นอยู่มากในกัมพูชา ซึ่งทางธนาคารโลกได้รายงานว่าการทุจริตในหน้าที่ของบุคคลในรัฐบาลมีอย่างกว้างขวางและแพร่หลายภาคธุรกิจเอกชนส่วนใหญ่ยอมรับว่าจำเป็ฯต้องจ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลเพียงแค่ทำหน้าที่ตามปกตอ และต้องจ่ายสินบบนถึงร้อยละ 85 ของรายจ่ายนอกระบบ หรือตั้งแต่ร้อยลุ 5-6 ของรายรับจากการขายและเพิ่มขึ้นตามขนาดของธุรกิจซึ่งถือเป็นรายการใหญ่ของต้นทุนการผลิต โดยทั่วไปแล้วเงินรายจ่ายที่ไม่เป็นทางการนี้ ถือเป็นค่าตอบแทนให้เจ้าหน้าที่เพื่อให้ได้บริการที่รวดเร้ซขึ้น แต่ในกัมพูชาการติดต่อขอรับบริการจากเจ้าหน้าที่รัฐบาลต้องจ่ายเงินประเภทนี้ คล้ายกับเป็นค่าธรรมเนียมตามปกตอ เพียงแต่เงินที่จ่ายไปไม่ได้นำส่งเข้ารัฐ
รัฐบาลกัพูชาในปัจจุบันภายใตการปกครองของ ฯพณฯ ฮุนเซน นายกรัฐมนตรีปัจจุบันมีนโยบายดังนี้
จากการที่กัมพูชาได้ดำเนินการตามแผนพัฒนายุทธศาสตร์แห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2449-2553 ตามยุทธศาสตร์ลดความยากจนแก่งชาติ รวมทั้งป้าเมหายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษของกัมพูชา ซึ่งล้วนเป็นยุทธศาสตร์หลักที่รัฐบาลกัมพูชาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายให้กัมพูชาเดินหน้าไปสู่การพัฒนาและความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน และใช้พื้นฐานในการแก้ไขปัญหาสำคัญในการพัฒนาประเทศ 4 ด้าน คือ ด้านการเกษตร, ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน, ด้านการพัฒนาภาคเอกชนเพื่อการสร้างงานและด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่รวมถึงด้านการศึกษาและสาธารณสุข แม้ทั้งสี่ด้านที่กล่าวข้างต้นเป้ฯปัจจัยที่ผลักดันสังคมกัมพุชาให้ไปข้างหน้าแต่สังคมกัมพุชายังต้องอาศัยปัจจัยภายนอกมาช่วยเสริมกระตุ้นอย่างนโยบายการค้าตาบแบบเสรีโดยอาศัยกลไกตลาดเพื่อเปิดโอกาสให้แข่งขันได้อย่างเสรี และเป็นการระดมทุนจากต่างประเทศใหมาลงทุนในประเทศ นโยบายวันนี้ของประเทศกัมพูชาคือช่วยชี้แนะแนวนโยบายด้านการค้าแก่นักธุรกิจภายในและชาวต่างชาติให้ประกอบธุรกิจสอดคล้องกับทิศทางนโยบาย และตามกฎหมายของประเทศ มีการปรับปรุงการบังคับใช้กฎหมายธุรกิจการค้า กฎหมายตราสารหนี้และการชำระเงิน กฎหมายหลักทรัพย์ กฎหมายความปลอดภัยด้านธุรกรรมการเงิน ปรับปรุงและแก้ไขขั้นตอนศุลกากรการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา เช่น กฎหมายสิทธิบัตรกฎหมายเครื่องหมายการค้า และกฎหมายลิขสิทธิ์ เป็นต้น
เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและส่งเสริมบรรยากาศการค้าการลงทุนและทิศทางใหม่ของประเทศ นายกรัฐมนตรีฮุน เซน ได้แถลงหาความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงคู่ค้าต่างประเทศเพื่อพัฒนาและเพิ่มความมั่นคงด้านการค้า โดยมุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและการค้าของประเทศ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้รุดหน้า พัฒนการส่งออกให้มีคุณภาพมากขึ้น เพื่อให้กัมพูชาได้รับผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจและการค้ามากที่สุด ถือเป็นแผนยุทธศาสตร์ที่แตกต่างจากแผนเดิม น่นคือมุ่งดำเนินวิธีการต่างๆ ให้ประเทศกัมพูชาได้รับผลประดยชน์จากการเข้ร่วมเป้นสมาชิกประชาคมอาเซียนและเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับมาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาลอย่างเต็มรูปแบบในอนาคต
นอาจากนี้ประเทศกัมพุชายังมีแนวทางในการปฏิรูปและพัฒนาศักยภาพการแข่งขันภายใน 5 ปี ขางหน้า เพื่อให้สอดคล้องกับการรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อละสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก ซึ่งรวมถึงการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ การค้า การลงทุน การส่งเสริมธรรมาภิบาล และหลักนิติธรรมการเพิ่มโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริหารต่างๆ ได้มากขึ้นการพัฒนาคุณภาพและให้โอกาสด้านการศึกษาแก่เยาชนกัมพูชาเพื่อสร้างบุคลากรที่มีศักยภาพและสอดคล้องกับความต้องการของตลาด
ระบบราชการของราชอาณาจักรกัมพูชาพบว่าหน่วยงานด้านการลงทุนให้ความเห้ฯที่เป็นไปในทิศทางเดี่ยวกันว่ากัมพูชาถือเป็นประเทศหนึ่งที่น่าลงทุน แต่ยังมีข้อเสียที่มีการทุจริตในวงราชการค่อนข้องมาก โดยจีรนันท์ วงษ์มงคล อัครราชทูตที่ปรึกษา(ฝ่ายการพาณิชย์) สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงพนมเปญประเทศกัมพูชา ได้กล่าวถึงข้อเสียการลงทุนในกัมพุชาไว้ในปี พ.ศ. 2553 ว่า "มีความไม่โปร่งใสของขั้นตอนและระบบราชการซึ่งตรงกับสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงพนมเปญที่กล่าวไว้ในปี พ.ศ. 2547 ว่า "ปัญหาคอรัปชี่นและความไม่โปร่งใสในระบบราชการเป้นภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น" ตรงกันกับสำนักงานส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศไทย ที่ได้วิเคราะห์ศักยภาพด้านการลงทุนว่าจุดอ่อนข้อที่ 17 ของกัมพูชาคือ ระบบราชการกัมพุชามีการคอรัปชั่นสูง นอกจากนี้ยังมีการศึกษาถึงการคอรัปชั่นในประเทศกัมพูชา กล่าวถึงการคอรัปชั่นในกัมพูชาไว้ว่า
คอรัปชั่นเกิดได้หลากหลายรูปแบบทั้งการให้สินบน การเล่นพรรคเล่นพวกการหลีกเลี่ยงภาษี ฯลฯ โดยกมาทุจริตนั้นจะเกิดจากปัจจัยดังนี้
- ปัจจัยด้านการเมือง ระดับการคอรัปชั่นขึ้นอยุ่กับความเข้มแข็งของสังคม อิสระของสื่อมวลชนใบริบทของกัมพูชาจากความจริงที่ว่ารัฐบาลเิดขึ้นและได้รับอิทธิพลทางการเมืองเพือเป้าหมายและกลยุทธ์ทางการเมือง โดยรัฐบาลมีบทบาทโดดเด่นในการับและการใช้จ่ายทรัพยากรของพวกตน บางครั้งวงจรการทุจริตดูเหมือนว่าจะปรกฎตัวขึ้นเป็นครั้งคราวและกลายเป็นระบบ
- ปัจจัยทางกฎหมายและจริยธรรม ปัจจัยสำคัญที่เชื่อมโยงกับการทุจริตคือคุณภาพระบบกฎหมายของประเทศเพื่อการดำรงอยู่ของกฎหมายต่อต้านการทุจริตที่มีประสิทธิภาพและความสามารถในการบังคับใช้กฎหมาย การคอรัปชั่นยังเกี่ยวกับสถานที่ที่ทมีคุณค่าทางจริยธรรมที่ถูกละเลยโดยผุ้ทีกกระทำการทุจริตละเลยศักดิ์ศรีและทำตามความเห็นแก่ตัวของตน
- ปัจจัยระบบราชการ ในการออกกฎการแทรกแซงและกฎระเบียบราชการในระบบเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการทุจริตทีมีแนวโน้มจะสูงขึ้น จากการที่ภาครัฐเรียกเก็บเงินจำนวนมาจากรกฎระเบียบที่เือ้อต่อเจ้าหน้าที่รัฐในการหาประโยชน์ส่วนตัว ในขณะที่การเพ่ิมขึ้นหรือลอลงของความรับผิดชอบอาจก่อใไ้เกิดการคอรัปชั่น
- ปัจจัยด้านผลตอบแทนจากการที่เจ้าหน้ารัฐมีรายได้อยู่ในระดับต่ำ หรือแตกต่างจากค่าจ้างของภาคเอกชนค่อนข้างมาก ทำให้ข้าราชการเกิดการคอรัปชั่นได้
- ปัจจัยด้านเศรษฐกิจการคอรัปชั่นมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นจากากรมี่รัฐสร้างเศรษฐฏิจแบบผูกขาด จะเห็นได้ว่าจากการศึกษาดังกล่าวระบบราชการภายในราชอาณาจักรกัมพูชายังมีากรคอรัปชั่นอยู่ค่อนข้างสูงจากปัจจัยสนับสนุนที่หลากหลาบ ถือเป็นอีกหนึ่งจุดเด่นของระบบราชการราชอาณาจักรกัมพูชาโดยในปัจจุบันรัฐบาลกัมพูชามีนโยบายปราบปรามการทุจริตอย่างจริงจังมากย่ิงขึ้น
- "ระบบบริหาราชการของอาณาจักรกัมพูชา" สภาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ.
วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2560
Bureaucracy : Laos
การบริหารราชการในประเทศลาวเป็นหารบริหารแบบรวมศุนย์ โดยมีการดำเนินการแบบเดียวกันทั่วประเทศ โดยมีการแบ่งระดับการบริหารงานได้แก่
การฝึกอบรมข้ารชาการในสปป.ลาวแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
- ระดับกลาง ประกอบด้วย สำนกนายกรัฐมนตรี
- ระดับภาคส่วน ประกอบด้วย ประทรวงหรือองค์การที่อยู่ในระดับเดียวกัน สำนักงานประธานประเทศ องค์การพรรคการเมืองกลุ่มแนวลาวสร้างชาติ ศาลประชาชน และศาลอุทธรณ์
- ระดับท้องถิ่น ข้าราชการในสปป.ลาว หมายถึง เจ้าหน้าที่ในองค์การพรรครัฐบาลกลุ่มแนวลาวสร้างชาติ องค์การมวลชนทั้งในระดับส่วนกลาง แขวง และเมือง รวมถึงสำนักงานตัวแทนของสปป.ลาวในต่างประเทศ ซึ่งไม่รวมถึงสมาชิกสภาที่มิได้เป็ฯสมชิกรรค ทหาร ตำรวจ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และลูกจ้างชั่วคราว โดยข้าราชการในสปป.ลาวแบ่งออกเป็น 6 ระดับ ได้แก่ ระดับ 1 และ 2 เป็นกลุ่มพนักงานธุรการ ระดับ 3,4 และ 5 เป็นกลุ่มพนักงานระดับผุ้เชี่ยวชาญ และระดับ 6 เป็นระดับสุงสุดสไหรับตำแหน่งผุ้บริหารระดับสุงในรัฐบาล เช่น รัฐมนตรี ผุ้ช่วยรัฐมนตรี และที่ปรึกษาอาวุโส
ในสปป.ลาวนอกจากข้าราชการที่มีดำแหน่งภาวร (การจ้างงานตลอดชีพ) ที่ได้รับค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่นๆ ตามที่กำหนดอย่างเป็นทางการแล้ว ยังมีตำแหน่งในระบบข้าราชการสปป.ลาวอีก 3 ประเภท
ประเภทแรก คือ แบบสัญญาร้อยละ 95 โดยผุ้ปฏิบัติงานจะได้รับเงินค่าจ้างคิดเป้นร้อยละ 95 ของตำแหน่งถาวร แต่ไม่ได้รับประโยชน์ด้านสวัสดิการอื่นๆ ผุ้ปฏิบัติงานแบบการทำสัญานี้ ส่วนใหญ๋จะถือว่ามีคุณสมบัติเพียงพอที่จะบรรจุเข้าในตำแหน่งแบบถาวร แต่จำเป็นต้องรอเนื่องจากอัตราการจ้างมีจำกัด
ประเภทที่2 คือ แบบอาสาสมัคร ไม่มีการการันตีรายรับ แต่ผุ้ปฏิบัติงานจะได้รับเงินค่าจ้างตางานที่ทำและตามงบประมาณที่มีในหน่วยงานนั้น ประภทสุดท้าย คื อแบบสัญญาจั้งงานชัวคราว การจ้างงานรูปแบบนี้เคยบรรจุอย่างเป็นทางการ ซึ่งรัฐบาลสปป.ลาว ค่อยๆ ลดจำนวนลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 แต่ยังคงพบการจ้างงานประเภทนี้อยุ่ในบางจังหวัดและบางภาคส่วนผุ้ปฏิบัติงานรูปแบบนี้จะได้รัเงินเดือนต่ำกว่าระดับสัญญาร้อยละ 95 และไม่ได้รับสทิะิประโยชน์อื่นๆ และระยะเวลาของสัญญามีจำกัด แม้ว่าส่วนใหญ่จะมีการต่อสัญญาเสมอก็ตาม
รายงานของสปป.ลาวระบุว่า สปป.ลาว อยู่ในช่วงของการปฏิรูประบบราชการให้มีความทันสมัย สอดคล้องกบสภาพการณ์ที่เปลี่นแปลงไป อย่างไรก็ตามปัญหาที่ภาคราชการสปป.ลาว กำลังประสบอยุ่ คือ การสรรหาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้าสู่ภาคราชการ โดยเฉพาะราชการส่วนท้องถิ่น ดังนั้นการพัฒนาข้าราชการให้มีทักษะและภาวะผุ้นำโดยวิธีการพัฒนาในการจัดหลักสูตรการศึกษา การจัดฝึกอบรม รวมถึงการจัดให้มีเวทีแสดงความคิดเห็นร่วมระหว่งภาคราชการและเอกขชนจะเป็นการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
1 การฝึกอบรมขั้นพื้นฐาน หมายถึง การอธิบายให้ข้าราชการเข้าใหม่เข้าใจเกี่ยวกับกฎระเบียบสำหรับขช้าราชการในสปป.ลาว กฎการบริหารจัดการภายในองค์การ ตำแหน่ง บทบาท หน้าที่และโครงสร้างองค์การของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระบบการประสานงานและประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวกับบทบาทและหน้าทีที่เกี่ยวข้องในองค์การ
2 การฝึกอบรมระหว่างการประจำการ หมายถึง การฝึกอบรม การเสริมสร้างขีดความสามารถเกี่ยวกับทฤษฎีด้านการเมือง ความรู้ด้านเทคนิคเฉพาะสำหรับข้าราชการ โดยดุจากผลการประเมินการปฏิบัติงานประจำปีและแผนการฝึกอบรม
3 การฝึกอบรมก่อนเข้ารับตำแหน่งใหม่ หมายถึง การฝึกอบรม การเสริมสร้างขีดความสามารถเกี่ยวกับทฤษฎีด้านการเมือง ความรู้เทคนิคและความรู้พื้นฐานที่จำเป้นอื่นๆ เพื่อเตียมความพร้อมสำหรับตำแหน่งหน้าที่ใหม่และซับซ้อนมากขึ้น หรือการเข้ารับตำแหน่งฝ่ายบริหารในระดับที่สูงขึ้น
โดยการคัดเลือกข้าราชการเพื่อเข้ารับการฝึกอบรมหรือเสริมสร้างขีดความสามารถจะพิจารณาจากปัจจัยดังต่อไปนี้
1 ผลการประเมินการปฏิบัติงานที่ผ่านมา
2 ความจำเป้นต่อหน่วยงานและงานที่รับผิดชอบ
3 มีจุดมุ่งหมายที่จะรับหน้าที่ในตำแหน่งที่ว่างหรือตำแหน่งผุ้บริหาร
สำหรับผุ้สมัครเพื่อจะเข้ารับการศึกษาต่อเป็นเวลา 3 ปีขึ้นไป จะต้องมีความต้องการที่จะพัฒนาตนเอง มีสุขภาพแข็.แรง และอายุไม่เกิดน 45 ปี
อุปสรรคในการพัฒนาข้าราชการลาว โดยประเด็นหลักๆ ได้แก่
- ค่ำตอบแทนอยู่ในระดับต่ำ ทำให้เกิดคามยากลำบากในการคัดสรรพนักงานที่มีคุณภาพ และการรักษาระดับผลการปฏิบัติงานด้วยระดับการศึกษาในสปป.ลาว และจำนวนผุ้ทีผ่านการฝึกอบรมมาเป็นดียังมีไม่มาก จำนวนของบุคลากรที่มีคุณสมบัติสำหรับตำแหน่งในภาครัฐก็ยิ่งมีจำนวนจำกัดยิ่งขึ้น
- การบริหารทรัพยากรบุคคลที่ไม่เชื่อมโยงผลการปฏิบัติงานกับผลตอบแทน
- ขาดการบริหารผลการปฏิบัติงานที่มีมตรฐาน ซึ่งไม่มีความสอดคล้องกับการทำงาน อาทิ หน้าที่ความรับผิดชอบ
- การกระจายข้อราชการทั่วประเทศเป็นไปอย่างไม่เหมาะสม ทำให้ในบางพื้นที่มีเจ้าหน้าที่รัฐมกเกินความจำเป้ฯ ในขณะที่บางแห่งยังขาดแคลน
- ฐานข้อมูลของข้าราชการที่ยังไม่มีคุณภาพ
เป้าหมายการพัฒนาระยะยาวของสปป.ลาว คือการหลุดพ้นจากการเป็นประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ภายในปี พ.ศ. 2563 การที่จะบรรลุเป้าหมายที่ท้าทายได้ สปป.ลาวจะต้องมีระบบราชการที่สามารถสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างรวดเร็ว ด้ววยเหตุผลนี้การปฏิรุปราชการจึงเป็นกิจกรรมหลักของระบบาราชกาในสปป.ลาว ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2533 การพัฒนาด้านการบริหากลายเป็นองค์ประกอบหลักในการพัฒนาแผนขจัดความยากจนแห่งชาติ การพัฒนาคุณภาพของข้าราชการเองถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป้นอันดับแรกในกระบวนการปฏิรูประบบราชการ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างการบริการของรัฐที่มีประสิทธิภาพ ประสทิธิผล ผ่านการอบรม สุจริต และมีจรรยาบรรณซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนสปป.ลาว ที่มีหลากหลายภายในสังคมที่มั่นคงและสันติ และสามารถสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยือนึ่งเป็นพื้นฐานในการกำจัดความยากจนและสร้างประเทศให้ทันสมัย
ในปัจจุบันกระทรวงที่รับผิดชอบโดยรงในด้านกรพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ คือ กระทรวงกิจการภายใน หรือทบวงการปกครองและคุ้มครองรัฐกรเดิม โดยมีหน่วยงานสนับสนุนในด้านต่างๆ มุ่งเน้นการปฏิรูประบบราชการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงานภาครัฐทั้งในระดับส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนให้ได้อย่างเท่าเที่ยม มีการตั้งศูนย์การฝึกอบรมข้าราชการ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาและส่งมอบโปรแกรมการฝึดอบรมภายใน รวมถึงการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งการฝึดอบรมในภาครัฐของสปป.ลาว จะมีการฝึกอบรมตั้งแต่การฝึกอบรมขั้นพื้นฐาน การฝึกอบรมระหว่างประจำการ และการฝึกอบรมก่อนเข้ารับตำแหน่งใหม่ ซึ่งในแต่ละกระทรวงก็จะมีแปนการฝึกอบรม เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรในสังกัดของตนเอง อย่างไรก็ดี การพัฒนาข้อาราชการในสปป,ลาว ยังคงมีประเด็มท้าทายในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าตอบแทนหรือการขาดแคลนบุคลากรที่มีคุณภาพ
องค์การมวลชน สปป.ลาวมีการจัดดครงสร้างเพิ่มขึ้นจากองค์การทางการเมืองในรูปแบบการแบ่งอำนาจ ดดยทั่วไปนั่นคืองค์การมวลชนที่มีบทบาทในการปลุกระดมประชาชกลุ่มอาชีพและชนชั้นต่่างๆ เพื่อสรับสนุนการดำเนินงาน และร่วมกัิกรรมทางการเมืองของพรรคประชาชนปฏิวัติสปป.ลาว ได้แก่
- องค์การแนวลาวสร้างชาติ เป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นในช่วงสงครามปฏิวัติสปป.ลาว เมื่อปี พ.ศ. 2493 ในชื่อเดิม คือ "แนวลาวรักชาติ" ซึ่งมีภารกิจสำคัญในการสร้างความสามานฉันท์ให้เกิดแก่ประชาชนสปป,ลาวทุกชนชาติลแะทุกชนชั้นของสังคม เพื่อยกระดับสำนึกทางการเมืองของประชาชและระมมวลชนในการปกิบัติงานร่วมกัน โดยมีการจัดดครงร้างองค์การเป็นช่วงชั้น ที่ประชุมสมัชชาของแนวลาวสร้างชาติเป็นองค์การสูงสุด ซึ่งจะมีการเลือกคณะกรรมการกลางมีการจัดตั้งคณะกรรมการระดับแขวงและระดับอื่นๆ เพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นแนวร่วมไปจนถึงระดับท้องถิ่น ทั้งนี้แนวลาวสร้างชาติถื่อเป็นองค์การมวลชนเดี่ยวที่เปิดโอกาสให้คนทุกลุ่มโดยเฉพาะนักธุรกิจและปัญญาชนที่ได้รับการศึกษจากตะวันตกให้เข้าเป็นสมาชิกได้
- สหพันธ์กรรมกรลาว เป้ฯองค์การของกลุ่มผุ้ใช้แรงงานและลูกจ้างในภาคการผลิตต่างๆ แต่ผุ้ใช้แรงงานทั่วประเทศไม่ได้เป็นสมาชิกสหพันธ์ทั้งหมด เนื่องจากบางแห่งมีจำนวนผุ้ใช้แรงงานน้อย และไม่มีการจัดตั้งองค์การที่ดี
- องค์การเยาวชนปฏิวัติลาว เป้ฯส่วนหนึ่งของแนวลาวรักชาติที่จัดตั้งมากกว่า 30 ปี โดยเร่ิมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 ได้มีการจัดตั้งองค์การตามเมืองใหญ่ซึ่งมีเป้าหมายในการบ่มเพาะให้ยุวชนเป็นผุ้นำในการสร้างระบบสังคมนิยม ซึ่งองค์การเยาวชนปฏิวัติลาวจะมีหน้าที่ในการสร้างเยาวชนให้มีสัมพันธ์ภาพทางการปลิต 3 ประการของการปฏิวัติ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วัฒนธรรม และอุดมการณ์ รวมทั้งปลูกฝังให้เยาวชนต่อต้านอำนาจจักรวรรดินิยมจากต่างชาติ
- สหภาพแม่หญิงลาว เป้นองค์การส่วนหนึ่ง อันเกิดจากแนวลาวรักชาติ ซึ่งเป็นผลมาจากแนวคิดของนาย ไกสอน พมวิหาน ที่ต้องการยกระดับสำนึกทางการเมืองของสตรี เพื่อให้ร่วมสร้างการปฏิวัติสังคมนิยม รวมทั้งการเป้นแรงงานที่สร้างผลิตผลและมบทบาทที่แข็งขันในพรรคการเมือง ตลอดจนกาทำหน้าที่มารดาในการบ่มเพาะบุตรให้เป็นสังคมนิยมรุ่นใหม่ ท้งนี้ภารกิจเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป้นต่อการปกป้องและสร้างชาติของสปป.ลาว
- "ระบบบริาหราชการของ สาธารณรัฐปรชาธิปไตยประชาชนลาว", สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ.
วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2560
Bureaucracy : Vietnam
เวียดนามปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม โดยมีพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม เป็นพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวของประเทศ โดครงสร้างการปกครองของเวียดนามแบ่งออกเป็น3 ระดับคือ
- ฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่ สภาแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นฝ่านนิติบัญญัติ มีอำนาจสูงวสุดในการกำหนดนโยบายทั้งภายในและต่างประเทศ มีหน้าที่บัญญํติลแก้ไขกฎหมาย แต่งตั้เงประธานาธิบดีตามพที่พรรคคอมมิวนิสต์เสนอ ให้การรับรอง หรือถอดถอนนายกรัฐมนตรีตามที่ประธานาธิบดีเสนอ รวมทั้งแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ อันเป็นระบบกรบริหารแบบผุ้นำร่วม
- ฝ่ายบริหาร หรือรัฐบาลส่วนกลาง ประกอบด้วย ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี รวมไปถึงตำแหน่งสำคัญในพรรคคอมมิวนิสต์ เชน สมัชชาของพรรคคอมมิวนิสต์ มีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี มีหน้าที่พิจารณา ให้ความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์กรบริหารระดับสูง เลขาธิการ พรรคคอมมิวนิสต์ เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดของพรรค คณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์ ทำหน้าที่กำหนดนโยบายด้านการเมือง เศราฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม กรมการเมือง เป็นองค์กรบริหารสูงสุด เป้ฯศูนย์ กลางอำนาจในการกำหนดนโยบาย และควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนด
- การปกครองท้องถิ่น ในแต่ละจังหวัดจะมีคณะกรรมการประชาชน ทำหน้าที่บริหารงานภายในท้องถิ่นให้เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ นโยบายและกฎระเบีบยต่างๆ ที่บัญญัติโดยองค์กรของรัฐที่อยู่ในระดับสูงกว่า ระบบการบริาหราชการท้องถิ่นของเวียดนามแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
ระดับจังหวัดและเที่ยบเท่า มี 59 จังหวัด กับอี 5 นคร คือ ฮานอย โฮจิมินห์ ไฮฟอง ดานัง และเกินเทอ ซึ่งจะได้รับงบลประมาณจากส่วนกลางโดยตรง รวมทั้งข้าาชาการจะได้รับการแต่งตั้งโดยตรงจากส่วนกลาง จึงมีอำนาจในการตัดสินใจอย่างเต็มที่ ช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงาน
เวียดนามได้ทำแผนงานการปฏิรูประบบราชการสำหรับปี พ.ศ. 2544-2553 โดยเน้น 4 ประเด็น ได้แก่ การปฏิรูประบบกฎหมาย การปฏิรูปโครงสร้างองค์กร การยกระดับความสามารถของข้าราชการ การปฏิรูปด้านการคลัง และได้มีการออกกฎหมายใหม่สำหรับหน่วยงานของรัฐและข้าราชการพลเรือนโดยเริ่มมีผลบังคับ เมื่อ พ.ศ. 2553
เห็นได้ชัดว่าการปฏิรูปเวียดนามน้นเป็นช่วงการนำบทเรียนหรือข้อสรุปมาสู่การปฏิบติโดยการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่สำคัญของเวียดนามจำเป็นต้องผ่านการประชุมใหญ่หรือ "สมัชชา"พรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งจัดขชึ้นทุกๆ 5 ปี ครั้งล่าสุดจัดเมื่อ ปี 2554 โดยไม่มีนโยบายที่จะปฏิรูประบบราชการใหม่ ดังนั้นคงต้องติดตมการประชุมใญ่ในปี 2559
การปฏิรูประบบราชการส่วนกลาง ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ พ.ศ. 2554-2563 ของเวียดนามได้ระบุชัดถึงการปฏิรูประเบียบราชการให้สมบูรณ์โดยเน้นในการสร้างระบบราชการให้บริสุทธิ์ตามแผนการปฏิรูประเบียบราชการในทุกด้าน ไม่ว่าจะในด้านระบบราชการ กลไก บุคลากร และการพัฒนาระบบราชการของชาติให้ทันสมัย ได้มีการปฏิรูประเบียบราชการตามแบบการบริหารแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ มีการตรวจสอบการประกาศระเบียบราชการอย่างเปิดเผย ตลอดจนติดตามตรวจสอบเจ้าหน้าที่ข้าราชการของกระทรวงและหน่วยงานในการพบปะแก้ไขปัญหาของประชาชนและผุ้ประกอบการ
เวียดนามกำลังสร้างระเบียบราชการที่มประชาธิปไตย มืออาชีพ และมีประสิทธิภาพ อันเป็นการมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอรัปชั้น การใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย และการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมเพื่อตอบสนองความต้องการในการปรับตัวให้ทันโลก
กากรปฏิรูประบบาราชการส่วนท้องถ่ิน โครงการปฏิรูปการบริหาราชการในประทเศเวียดนาม เป้ฯโครงการที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้เกิดการใช้หลักนิติธรรมในการบริหารจัดการส่วนกลาง เป็นมาตรการโดยพรรคการเมืองหลักและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อปฏิรูปให้เกิดเป็นระบบสถาบันและระบบตามกฎหมายให้เป็นเศรษฐกิจแบบตลาดสังคมนิยมโดยการสร้างระบบการบริหารจัดการสาธารณะที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์เรื่องการจักการสาธารณะของเวียดนามเป็นเรื่องที่ยังมีความขัดแย้งภายในอยู่ มีหลายแง่มุมที่กระทบกระเทือนผลประโยชน์ของนักการเมืองบางฝ่าย จึงเป็นเหตุให้การปฏิรูปยังคงมีปัญหาตามมา
ทั้งนี้ มีผู้สนับสนุนหลายฝ่ายทั้งจากองค์กรในประเทศและต่างประเทศให้มีการปฏิรูปอย่างลึกและเร็ว การปฏิรูปนี้ได้รับการผลักดันโดยนักการเมืองชั้นนำของประเทศเวียดนาม ดดยมีความมุ่งหมายที่จะส่งเสริมความสำเร็จในทางเศรษฐกิจเป็นหลัก และการปรับปรุงระบบราชการเวียดนามให้เป็นระบบที่ประสิทธิภาพและไม่คดโกง โดยขณะนี้เจ้าหน้าที่รัฐกำลังดำเนินการตามโครงการนี้อย่างหนัก แต่เนื่องจากความมีอิทธิพลอย่างมากของระบบสังคมนิยม จึงทำให้ยังเกิดข้อขัดแย้งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้บ้าง
เวียดนามปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ มีการรวมศูนย์อำนาจของเวียดนามไว้ที่รัฐบาบลส่วนกลาง โครงสร้างของอำนาจหน้าที่ถูกจัดเรียงจากบนลงล่าง การบริาหรส่วนกลางแบ่งงานตามหน้าที่ของแต่ละกระทรวง ซึ่งดำเนินงานไปตามแผนนโยบายของรัฐบาลและอำนาจในส่วนกลางนี้ คือ การเป็นหน่วยดูแลประเด็นเรื่องการเมืองเศรษฐกิจ วัฒนธรรม สังคม การป้องกันประเทศ ความมั่นคง และกิจการระหว่างประเทศ
- ฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่ สภาแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นฝ่านนิติบัญญัติ มีอำนาจสูงวสุดในการกำหนดนโยบายทั้งภายในและต่างประเทศ มีหน้าที่บัญญํติลแก้ไขกฎหมาย แต่งตั้เงประธานาธิบดีตามพที่พรรคคอมมิวนิสต์เสนอ ให้การรับรอง หรือถอดถอนนายกรัฐมนตรีตามที่ประธานาธิบดีเสนอ รวมทั้งแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ อันเป็นระบบกรบริหารแบบผุ้นำร่วม
- ฝ่ายบริหาร หรือรัฐบาลส่วนกลาง ประกอบด้วย ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี รวมไปถึงตำแหน่งสำคัญในพรรคคอมมิวนิสต์ เชน สมัชชาของพรรคคอมมิวนิสต์ มีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี มีหน้าที่พิจารณา ให้ความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์กรบริหารระดับสูง เลขาธิการ พรรคคอมมิวนิสต์ เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดของพรรค คณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์ ทำหน้าที่กำหนดนโยบายด้านการเมือง เศราฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม กรมการเมือง เป็นองค์กรบริหารสูงสุด เป้ฯศูนย์ กลางอำนาจในการกำหนดนโยบาย และควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนด
- การปกครองท้องถิ่น ในแต่ละจังหวัดจะมีคณะกรรมการประชาชน ทำหน้าที่บริหารงานภายในท้องถิ่นให้เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ นโยบายและกฎระเบีบยต่างๆ ที่บัญญัติโดยองค์กรของรัฐที่อยู่ในระดับสูงกว่า ระบบการบริาหราชการท้องถิ่นของเวียดนามแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
ระดับจังหวัดและเที่ยบเท่า มี 59 จังหวัด กับอี 5 นคร คือ ฮานอย โฮจิมินห์ ไฮฟอง ดานัง และเกินเทอ ซึ่งจะได้รับงบลประมาณจากส่วนกลางโดยตรง รวมทั้งข้าาชาการจะได้รับการแต่งตั้งโดยตรงจากส่วนกลาง จึงมีอำนาจในการตัดสินใจอย่างเต็มที่ ช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงาน
เวียดนามได้ทำแผนงานการปฏิรูประบบราชการสำหรับปี พ.ศ. 2544-2553 โดยเน้น 4 ประเด็น ได้แก่ การปฏิรูประบบกฎหมาย การปฏิรูปโครงสร้างองค์กร การยกระดับความสามารถของข้าราชการ การปฏิรูปด้านการคลัง และได้มีการออกกฎหมายใหม่สำหรับหน่วยงานของรัฐและข้าราชการพลเรือนโดยเริ่มมีผลบังคับ เมื่อ พ.ศ. 2553
เห็นได้ชัดว่าการปฏิรูปเวียดนามน้นเป็นช่วงการนำบทเรียนหรือข้อสรุปมาสู่การปฏิบติโดยการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่สำคัญของเวียดนามจำเป็นต้องผ่านการประชุมใหญ่หรือ "สมัชชา"พรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งจัดขชึ้นทุกๆ 5 ปี ครั้งล่าสุดจัดเมื่อ ปี 2554 โดยไม่มีนโยบายที่จะปฏิรูประบบราชการใหม่ ดังนั้นคงต้องติดตมการประชุมใญ่ในปี 2559
การปฏิรูประบบราชการส่วนกลาง ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ พ.ศ. 2554-2563 ของเวียดนามได้ระบุชัดถึงการปฏิรูประเบียบราชการให้สมบูรณ์โดยเน้นในการสร้างระบบราชการให้บริสุทธิ์ตามแผนการปฏิรูประเบียบราชการในทุกด้าน ไม่ว่าจะในด้านระบบราชการ กลไก บุคลากร และการพัฒนาระบบราชการของชาติให้ทันสมัย ได้มีการปฏิรูประเบียบราชการตามแบบการบริหารแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ มีการตรวจสอบการประกาศระเบียบราชการอย่างเปิดเผย ตลอดจนติดตามตรวจสอบเจ้าหน้าที่ข้าราชการของกระทรวงและหน่วยงานในการพบปะแก้ไขปัญหาของประชาชนและผุ้ประกอบการ
เวียดนามกำลังสร้างระเบียบราชการที่มประชาธิปไตย มืออาชีพ และมีประสิทธิภาพ อันเป็นการมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอรัปชั้น การใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย และการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมเพื่อตอบสนองความต้องการในการปรับตัวให้ทันโลก
กากรปฏิรูประบบาราชการส่วนท้องถ่ิน โครงการปฏิรูปการบริหาราชการในประทเศเวียดนาม เป้ฯโครงการที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้เกิดการใช้หลักนิติธรรมในการบริหารจัดการส่วนกลาง เป็นมาตรการโดยพรรคการเมืองหลักและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อปฏิรูปให้เกิดเป็นระบบสถาบันและระบบตามกฎหมายให้เป็นเศรษฐกิจแบบตลาดสังคมนิยมโดยการสร้างระบบการบริหารจัดการสาธารณะที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์เรื่องการจักการสาธารณะของเวียดนามเป็นเรื่องที่ยังมีความขัดแย้งภายในอยู่ มีหลายแง่มุมที่กระทบกระเทือนผลประโยชน์ของนักการเมืองบางฝ่าย จึงเป็นเหตุให้การปฏิรูปยังคงมีปัญหาตามมา
ทั้งนี้ มีผู้สนับสนุนหลายฝ่ายทั้งจากองค์กรในประเทศและต่างประเทศให้มีการปฏิรูปอย่างลึกและเร็ว การปฏิรูปนี้ได้รับการผลักดันโดยนักการเมืองชั้นนำของประเทศเวียดนาม ดดยมีความมุ่งหมายที่จะส่งเสริมความสำเร็จในทางเศรษฐกิจเป็นหลัก และการปรับปรุงระบบราชการเวียดนามให้เป็นระบบที่ประสิทธิภาพและไม่คดโกง โดยขณะนี้เจ้าหน้าที่รัฐกำลังดำเนินการตามโครงการนี้อย่างหนัก แต่เนื่องจากความมีอิทธิพลอย่างมากของระบบสังคมนิยม จึงทำให้ยังเกิดข้อขัดแย้งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้บ้าง
เวียดนามปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ มีการรวมศูนย์อำนาจของเวียดนามไว้ที่รัฐบาบลส่วนกลาง โครงสร้างของอำนาจหน้าที่ถูกจัดเรียงจากบนลงล่าง การบริาหรส่วนกลางแบ่งงานตามหน้าที่ของแต่ละกระทรวง ซึ่งดำเนินงานไปตามแผนนโยบายของรัฐบาลและอำนาจในส่วนกลางนี้ คือ การเป็นหน่วยดูแลประเด็นเรื่องการเมืองเศรษฐกิจ วัฒนธรรม สังคม การป้องกันประเทศ ความมั่นคง และกิจการระหว่างประเทศ
ฺBureaucracy : Philippines
ฟิลิปปินส์ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในรูปแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาช อยุ่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี ดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิดน 1 วาระวุฒิสภามีสมาชิก 24 คน มาจากการเลือกตั้งจากผุ้มีสิทธิออกเสียงทั่วประเทศ มีาระ 6 ปี และรัฐบาลจะจัดให้มีการเลือกตั้งวุฒิสภาจำนวนครึ่งหนึ่ง 12 คน ทุก 3 ปี ฟิลิปปินส์แบงเขตการปกครองออกเป็น 17 เขต 80 จังหวัด และ 120 เมือง โดยแบ่งการปกครองย่อยออกเป็น 1,499 เทศบาล และ 41,969 บารังไก ซึ่งเที่ยงบท่าตำบลหรือหมู่บ้าน ฟิลิปปินส์จัดการเลือกตั้งประธานาธิบดี วุฒิสภา สภาผุ้แทนราษฎร และสภาผุ้แทรท้องถิ่นทั่วประเทศ รวม 17.996 ตำแหน่งในคราวเดียวกัน เมื่อปี พ.ศ. 2553 มีผู้ลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 50.7 ล้านคน ในจำนวนนี้ มีผุ้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งประมาณ 38 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 75 ของผุ้ลงทะเบียนทั้งหมด โดยนายเบนิกโน เอส อาคีโน ที่สาม ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี และนายเจโจมา บิโน อีดตนยกเทศมนตรีเมืองมากาติได้รบเลือกตั้งเป็ฯรองประธานาธิบดี
รัฐบาลภายใต้การบริหารงานของประธานาธิบดี อาคีดน ที่สาม มุ่งให้ความสำคัญกับการปกิรูประบบริหารประเทศเพื่อปราบปรามการฉ้อราษฎร์บังหลวงและขจัดความยากจน จึงได้รับความนิยม จากประชาชนและมีสภานะความมั่นคงทางการเมืองสูง ทั้งนี้ รัฐบาลมีมาตรการเร่งด่วน ได้แก่ การส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ การสร้างมาตรฐานกฎระเบียบด้านวบประมาณ การปรับปรุงระบบข้าราชการพลเรือน และการปรับปรุงระบบการศึกษา ส่วนประเด็นด้านความสัมพันะ์ระหว่างระเทศรัฐบาลฟิลิปปินส์เน้นการ่งเสริมความร่วมมือในหัวข้อท้าทายต่างๆ เช่น การก่อการร้ายอาชญากรรมข้ามชาติ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การระบาดของโรคติดต่อ การฟื้นฟูสภาพเศรษฐิจ และการสร้างพลังประชคมระหว่างประเทศในทุกภาคส่วนเพื่อบรรลุเป้ามหายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ
หลังจากฟิลิปปินส์ได้รับอิสรภาพจากสหรัฐอเมริกา ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่างๆ มากมาย ในส่วนของระบบราชการเองก็เช่นกันในช่วงปี พ.ศ. 2515 ฟิลิปปินส์ได้มีการปฏิรูประบบราชการที่สำคัญครั้งใหญ่ โดยมีสาระสำคัญในการปฏิรูป ดังนี้
- ปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการในสำนักงานประธานาธิบดี มีจุดมุ่งหมายเพื่อลอหน่วยงานที่สังกัดสำจักงานประธานาธิบดี โดยกำหนดหลักเกณฑ์ให้แก่หน่วยงานที่สังกัดสำนักงานประธานาธิบดี ดังนี้
1) ส่วนราชการหรือองค์กรที่ทำหน้าทีให้คำปรึกษาแก่ฝ่ายบริหารในเรื่องที่มีคามสำคัญต่อการบริหารราชการเท่านั้น
2) ส่วนราชการหรือองค์กรที่ทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ หรือด้านอำนวยการแก่ผุ้บริหารโดยตรง
3) ส่วนราชการหรือองค์กรที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับหลายส่วนราชการ
4) ส่วนราชการ หรือองค์กรที่ผุ้บริหารประเทศต้องดูแลอย่างใกล้ชิด
- กำหนดรูปแบบโครงสร้างส่วนราชการภายในกระทรวง โดยให้ทุกกระทรวงแบ่งส่วนราชการที่ทำหน้าที่อำนายการและวิชาการ ออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ งานวางแผน, งานคลังและการจัดการ, งานบริหารทั่วไปและงานวิชาการ
ด้านงานหลักหรือด้านการปฏิบัติการ จะแบ่งออกเป็นกรม และสำนักงานเขต กระทั่งปี พ.ศ. 2529 ได้มีการปฏิรูประบบราชการอีกครั้ง ดดยมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นหนึ่งชุด และได้มีการปรับปรุงสวนราชการและการบริหาร เพื่อเน้นด้านการริหารการพัฒนา และสอดรับกักบการให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารประเทศ ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ในสมัยของประธานาธิบดีฟิเดล รามอส ได้มีการปฏิรูประบบราชการอีกครั้งหนึ่ง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อความมีประสทิธิภาพและประสิทธิผลของระบบราชการ ปรับเปลี่ยนภาคราชการให้เกิดความเข้มแข็ง และให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยการกระจายงานระหว่างหน่วยงานของรัฐในระดับต่างๆ ให้เหมาะสม และขจัดการปฏิบัติงานที่ไม่จำเป็นออกไป
ในการปฏิรูประบบราชการในแต่ละครั้ง จะต้องมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อนำเสนอนโยบาย หลักการ แนวทาง มาตรการ และแผนการดำเนินงาน เสนอต่อประธานาธิบดี จากนั้นคณะกรรมการชุดดังกล่าวจะถูกยุบตัวลง และมีกระทรวงงบประมาณและการจัดการ เข้ามทำหน้าที่เป้นฝ่ายเลขานะการของคณะกรรมการและรับผิดชอบในการศึกษา วิเคราะห์และจัดทำรายงานสรุปข้อเสนอเกี่ยวกับนโยบาย แนวทาง มาตรการและแผนการดำเนินการตามมติของคณะกรรมการ เพื่อเสนอประธานาธิบดีพิจารณาสั่งการให้กระทรวงต่างๆ ไปดำเนินการต่อ ตลอดจนมีหน้าที่ให้คำปรึกษา แนะนำ ติดตาม เร่งรัดให้กระทรวงต่างๆ ตำเนินการตามนโยบาย หลักการ มาตรการ และแผนการดำเนินการตามที่ประธา่นาธิบดีเห็นชอบ และมีคำสั่งให้กระทรวงต่างๆ ดำเนินการ
ระบบอุปถัมภ์ สังคมฟิลิปปินส์เป้นสังคมเหครือญาติ มีการอบรมสั่งสอนในครอบครัวให้ช่วยเหลือกันและกันระหว่างเครือญาติ พี่น้อง เพื่อนฝูง และให้สำนึกบุญคุณผุ้ที่ช่วยเหลือตน เกิดเป็นค่านิยมที่ติดในเรื่องการเป็นหนี้บุญคุณ รวมทั้งการกล่อมเกลบาทางสังคม ดดยมีค่านิยมทางศษสนาตั้งแต่ยุคสเปน คือ พ่อ แม่ อุปถมภ์ที่คอยช่วยเหลือเกื้อกูลกันในทุกวิ๔ีทาง โดยมีเงินและอำนาจเป็นปัจจัยสนับสนุน ทำให้ความช่วยเหลือไม่จำกัดขอบเขตและเวลา ทั้งการตอบแทนบุญุนที่ไม่จำแนกว่าเหมาะสมหรือไม่แระการใด จึงกลายเป็นระบบอุปถัมภ์ที่ทำให้เกิดการติดสินบนการทุจริตในทุกวงการ
ในยุคสมัยก่อนสเปนเข้ามาปกครอง ญานะของสตรีฟิลิปปินส์มีสิทธิเท่าเทียมชาย สตรีสามารถมีสมบัติเป็นของตัวเองและรับมรดกที่เป้ฯทรัพย์สิน ทั้งสามารภทำการค้าขายด้วยตัวเอง รวมถึงการสืบทอดตำแหน่งหัวหน้าเผ่าจากบิดาได้ อีกท้งมารดามีสิทธิที่ตั้งชื่อให้ลูกด้วยตนเอง และจากการศึกษาของสีดา สอนสี พบสถานภาพของสตรีฟิลิปปินส์เป้นที่ยอมรับจากสังคมมากว่าประเทศใดๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่สมัยสเปนเข้ามาครอบครอง สตรีก็มีอำนาจและบทลาทในการควบคุมการเงินในครอบครัว เมื่อสหรัฐอเมริกาเข้าครอบครองการยอมรับสตรีก็มีสูงมากขึ้นทั้งในวงกาเมืองและการศึกษาในปี พ.ศ. 2443 มีสตรีเป็ฯผุ้รู้หนังสือสูงกว่าบุรุษในฟิลิปปินส์ และสตรีสามารถก้าวเข้าสู่ตำแหน่งปรธานาธิบดี วุฒิสมาชิก พิพากษาศาลฎีกา ประธานคณะกรรมการเลือกตั้ง ฯลฯ และหากเกิดปัญหากับสตรีก็มีองค์กรสตรีที่เข้มแข็งและรัฐยอมรับ
รัฐบาลภายใต้การบริหารงานของประธานาธิบดี อาคีดน ที่สาม มุ่งให้ความสำคัญกับการปกิรูประบบริหารประเทศเพื่อปราบปรามการฉ้อราษฎร์บังหลวงและขจัดความยากจน จึงได้รับความนิยม จากประชาชนและมีสภานะความมั่นคงทางการเมืองสูง ทั้งนี้ รัฐบาลมีมาตรการเร่งด่วน ได้แก่ การส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ การสร้างมาตรฐานกฎระเบียบด้านวบประมาณ การปรับปรุงระบบข้าราชการพลเรือน และการปรับปรุงระบบการศึกษา ส่วนประเด็นด้านความสัมพันะ์ระหว่างระเทศรัฐบาลฟิลิปปินส์เน้นการ่งเสริมความร่วมมือในหัวข้อท้าทายต่างๆ เช่น การก่อการร้ายอาชญากรรมข้ามชาติ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การระบาดของโรคติดต่อ การฟื้นฟูสภาพเศรษฐิจ และการสร้างพลังประชคมระหว่างประเทศในทุกภาคส่วนเพื่อบรรลุเป้ามหายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ
หลังจากฟิลิปปินส์ได้รับอิสรภาพจากสหรัฐอเมริกา ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่างๆ มากมาย ในส่วนของระบบราชการเองก็เช่นกันในช่วงปี พ.ศ. 2515 ฟิลิปปินส์ได้มีการปฏิรูประบบราชการที่สำคัญครั้งใหญ่ โดยมีสาระสำคัญในการปฏิรูป ดังนี้
DEPARTMENT OF THE INTERIOR AND LOCAL GOVERNMENT ORGANIZATIONAL STRUCTURE |
1) ส่วนราชการหรือองค์กรที่ทำหน้าทีให้คำปรึกษาแก่ฝ่ายบริหารในเรื่องที่มีคามสำคัญต่อการบริหารราชการเท่านั้น
2) ส่วนราชการหรือองค์กรที่ทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ หรือด้านอำนวยการแก่ผุ้บริหารโดยตรง
3) ส่วนราชการหรือองค์กรที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับหลายส่วนราชการ
4) ส่วนราชการ หรือองค์กรที่ผุ้บริหารประเทศต้องดูแลอย่างใกล้ชิด
- กำหนดรูปแบบโครงสร้างส่วนราชการภายในกระทรวง โดยให้ทุกกระทรวงแบ่งส่วนราชการที่ทำหน้าที่อำนายการและวิชาการ ออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ งานวางแผน, งานคลังและการจัดการ, งานบริหารทั่วไปและงานวิชาการ
ด้านงานหลักหรือด้านการปฏิบัติการ จะแบ่งออกเป็นกรม และสำนักงานเขต กระทั่งปี พ.ศ. 2529 ได้มีการปฏิรูประบบราชการอีกครั้ง ดดยมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นหนึ่งชุด และได้มีการปรับปรุงสวนราชการและการบริหาร เพื่อเน้นด้านการริหารการพัฒนา และสอดรับกักบการให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารประเทศ ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ในสมัยของประธานาธิบดีฟิเดล รามอส ได้มีการปฏิรูประบบราชการอีกครั้งหนึ่ง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อความมีประสทิธิภาพและประสิทธิผลของระบบราชการ ปรับเปลี่ยนภาคราชการให้เกิดความเข้มแข็ง และให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยการกระจายงานระหว่างหน่วยงานของรัฐในระดับต่างๆ ให้เหมาะสม และขจัดการปฏิบัติงานที่ไม่จำเป็นออกไป
ในการปฏิรูประบบราชการในแต่ละครั้ง จะต้องมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อนำเสนอนโยบาย หลักการ แนวทาง มาตรการ และแผนการดำเนินงาน เสนอต่อประธานาธิบดี จากนั้นคณะกรรมการชุดดังกล่าวจะถูกยุบตัวลง และมีกระทรวงงบประมาณและการจัดการ เข้ามทำหน้าที่เป้นฝ่ายเลขานะการของคณะกรรมการและรับผิดชอบในการศึกษา วิเคราะห์และจัดทำรายงานสรุปข้อเสนอเกี่ยวกับนโยบาย แนวทาง มาตรการและแผนการดำเนินการตามมติของคณะกรรมการ เพื่อเสนอประธานาธิบดีพิจารณาสั่งการให้กระทรวงต่างๆ ไปดำเนินการต่อ ตลอดจนมีหน้าที่ให้คำปรึกษา แนะนำ ติดตาม เร่งรัดให้กระทรวงต่างๆ ตำเนินการตามนโยบาย หลักการ มาตรการ และแผนการดำเนินการตามที่ประธา่นาธิบดีเห็นชอบ และมีคำสั่งให้กระทรวงต่างๆ ดำเนินการ
ระบบอุปถัมภ์ สังคมฟิลิปปินส์เป้นสังคมเหครือญาติ มีการอบรมสั่งสอนในครอบครัวให้ช่วยเหลือกันและกันระหว่างเครือญาติ พี่น้อง เพื่อนฝูง และให้สำนึกบุญคุณผุ้ที่ช่วยเหลือตน เกิดเป็นค่านิยมที่ติดในเรื่องการเป็นหนี้บุญคุณ รวมทั้งการกล่อมเกลบาทางสังคม ดดยมีค่านิยมทางศษสนาตั้งแต่ยุคสเปน คือ พ่อ แม่ อุปถมภ์ที่คอยช่วยเหลือเกื้อกูลกันในทุกวิ๔ีทาง โดยมีเงินและอำนาจเป็นปัจจัยสนับสนุน ทำให้ความช่วยเหลือไม่จำกัดขอบเขตและเวลา ทั้งการตอบแทนบุญุนที่ไม่จำแนกว่าเหมาะสมหรือไม่แระการใด จึงกลายเป็นระบบอุปถัมภ์ที่ทำให้เกิดการติดสินบนการทุจริตในทุกวงการ
ในยุคสมัยก่อนสเปนเข้ามาปกครอง ญานะของสตรีฟิลิปปินส์มีสิทธิเท่าเทียมชาย สตรีสามารถมีสมบัติเป็นของตัวเองและรับมรดกที่เป้ฯทรัพย์สิน ทั้งสามารภทำการค้าขายด้วยตัวเอง รวมถึงการสืบทอดตำแหน่งหัวหน้าเผ่าจากบิดาได้ อีกท้งมารดามีสิทธิที่ตั้งชื่อให้ลูกด้วยตนเอง และจากการศึกษาของสีดา สอนสี พบสถานภาพของสตรีฟิลิปปินส์เป้นที่ยอมรับจากสังคมมากว่าประเทศใดๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่สมัยสเปนเข้ามาครอบครอง สตรีก็มีอำนาจและบทลาทในการควบคุมการเงินในครอบครัว เมื่อสหรัฐอเมริกาเข้าครอบครองการยอมรับสตรีก็มีสูงมากขึ้นทั้งในวงกาเมืองและการศึกษาในปี พ.ศ. 2443 มีสตรีเป็ฯผุ้รู้หนังสือสูงกว่าบุรุษในฟิลิปปินส์ และสตรีสามารถก้าวเข้าสู่ตำแหน่งปรธานาธิบดี วุฒิสมาชิก พิพากษาศาลฎีกา ประธานคณะกรรมการเลือกตั้ง ฯลฯ และหากเกิดปัญหากับสตรีก็มีองค์กรสตรีที่เข้มแข็งและรัฐยอมรับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...