วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2560

Local government in Cambodia

            กัมพุชาเป็นประเทศที่ประสบกับภาวะความขัดแย้งทางการเมืองและสงครามกลางเมืองอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 150 ปี ซึ่งได้สร้างประสบการณ์และได้ทิ้งร่องรอยของความบอบช้ำจากสงครามภายในประเทศไว้มากมาย เช่น ปัญหาคอรัปชั่น ปัญหาเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ปัญหาความยากจนและปัญหาสิ่งแวดล้ม เป้นต้น ดังนั้นจากสภาพความไม่มั่นคงทางการเมืองในระดับชาติจึงกลายเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ส่งผลให้แนวคิดการกระจายอำนาจให้กับการปกครองท้องถิ่นของกัมพูชานับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1863-1991 ไม่ได้รับความสนใจหรือไม่มีการสนัสนุนให้เกิดการกระจายอำนาจอย่างจริงจังจากทั้งเจ้าอาณานิคมและรัฐบาลในแต่ละช่วงเวลาอย่างที่ควรจะเป็น กระทั่งสงครามกลางเมืองสิ้นสุดลงตามขช้อตกลงสันตุภาพที่กรุงปารีส ที่เปิดทางให้กับการเข้ามาของ UNTAC เพื่อทำการฟื้นฟูประเทศกัมพุชาและนำไปสุ่การเลือกตั้งระดับชาติที่เป็นประชาธิปไตยครั้งแรกของกัมพูชา ซึ่งเป็นภารกิจหลัก นอกจากนั้น UNTAC และประเทศผุ้ให้การสนับสนุนก็ยังให้ความสำคัญกับการแห้ไขปัญหาความยากจน (อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการออกไปของอาณานิคม) โดยมีความเชื่อพื้นฐานว่า การพัฒฯาประชาธิปไตยระดับชาติให้เป็ฯพหุประชาธิปไตย และการลดปัญหาความยากจน ในกัมพุชาควรจะมีการปฏิรูปรัฐบาลพัฒนาสถาบันทางกรเมือง ปกิรูประบบราชการ สร้างและปรับปรุงระบบธรรมาภิบลาลในภาครัฐรวมไปถึงการกระจายอำาจสู่ท้องถิ่น
               ดังนั้น จากหลักการดังกล่าวจึงนำไปสู่การจัดตั้งโครงการการร่วมือระหว่างรัฐบาลกัมพุชาและผุ้ให้การสนับสนุน เพื่อทำารศึกษาและทำการจัดการทอลองการนำรูปแบบสภาท้องถิ่นไปใใช้ในท้องถิ่น ซึ่งได้กำหนดแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ส่วนที่สำคัญได้แก่ ระดับชาติ (พิจารณาจุดแข็งและจุดอ่อนของนโยบาย รวมทั้งวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในการปฏิรูป) ความสัมพันธ์ระหว่งรัฐบาลกลางกับท้องถ่ิน (การดำเนินการออกแบบกำหนดให้ีการบรรลุถึงเป้าหมายของการปฏิรูป) และคามสัมพันะ์ระหว่างท้องถิ่นกับท้องถิ่น ผความร่วมมือระหว่างประชาชนในคอมมูน ความสัมพันธ์ระหว่างคอมมูน และคามอิสระของท้องถิ่น)
              โครงการดังกล่าวจัดว่าเป็ฯโครงการพัฒนาชนบทที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด โดยรัฐบาลกัมพุชาได้เริ่มทอลองให้มีการกระจายอำนาจให้กบท้องถิ่นกว่าร้อยละ 20 ของประเทศ และมีการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาชนบทประจำตำบลและหมู่บ้านทั่วประเทศกว่า 1,000 หมู่บ้านและกว่า 100 ตำบล เพื่อทำแผนการพัฒนาประจำปมู่บ้านและตำบล โดยเฉพาะการสร้างดครงสร้างพื้นฐานสาธาณณูปโภคต่างๆ ทั้งนี้จะประสบการณ์จากโครงการดังกล่าวจึงทำให้รัฐบาลกัมพุชาได้รับประสบการณ์ในเบื้องกต้นสำหรับการจัดให้มีการเลือกต้งสภาท้องถิ่นซึ่งเป็นขึ้นตอนแรกของการกระจายอำนาจจากส่วนหลางสู่ท้องถิ่นและนำไปสู่การจัดร่างกฎหมายเพื่อสนับสนุนการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นของกัมพุชาทั้งกฎหมายการเลือกตั้งและกฎหมายในการบริหารและจัดการท้องถิ่น กฎหมายเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สมบัติของจังหวัด/กรุง เป็นต้น
             ทั้งนี้ดูเหมือนว่าการกระจายอำนาจในกัมพูชามีการกำหนดทิศทางและกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน แต่ทว่าความตั้งใจดังกล่าวกับไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้การกระจายอำนาจยังคงดำเนินไปยอ่างล่าช้าเนื่องจากว่าภายหลงการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1993 มีการจัดตั้งรัฐบาลผสมเป็นรัฐบาลแห่งชาติของ 4 พรรคได้แก่พรรคซีพีพี CPP พรรคฟุนซินเปค พรรคพุทธเสรีประชาธิปไตยและพรรคโมลินาคา มีนายกรัฐมนตรี 2 คน แต่อำนาจกลับอยู่ในมือของสมเด็๗ฮุนเซนมากกว่า และส่งผลให้กลไกของรัฐไม่สามารถทำงานได้ตามปกตออำนาจในท้องถิ่นก็อยู่ภายใต้การควบคุมของพรรคซีพีพี เพราะได้ร่วมกับประชานนการสู้รบกับเขมรแดงจึงทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่งสองขััวอำนาจ เพราะแต่ละพรรคต่างก็ต้อกงการสรางอำนาจฐานการเมืองในระับท้องถิ่นให้เข้มแขงเพื่อเตียมพร้อมกับการเลือกตั้งทั่วไปที่กำหนดให้มีขึ้นในปี ค.ศ. 1998 ท้ายที่สุดชนวนความขัดแย้งในการแบ่งสรรอำนาจระหว่างพรรคประชาชนกัมพุชา CPP แลพพรรคฟุนซินเปค ก็ดำเนินมาสู่จุดแตกหัแกละนำไปสู่การรัฐประหารโดยนายฮุน เซนในปี ค.ศ. 1997 แต่ดวยแรงกดดันจากนานาชาติและการดำเนินนโยบายการแทรกแซงอย่างสร้างสรรค์ จากอาเซียจึงทำให้พรรคประชาชนกัมพูชา ยอมไใ้มการเลือกต้้งระดับชาติครั้งที่ 2 ในปี คซศ. 1998จากความไร้เสถียรภาพทางการเมืองระดับชาติจึงกำหนดการเดิมซึ่งกำหนดให้มีการเลือกตังระดับท้องถิ่นในปี ค.ศ. 1999 ต้องเลื่อนออกไปเป็นเดือนมีนาคม ค.ศ. 2000
           โดยภายหลังจากการเลือกตั้งทั่วไปในกัมพุชาในปี ค.ศ. 1998 รัฐบาลกัมพูชามีความพยายามในการฟื้นฟุประเทศขึ้นมาใหม่อีกครั้งและการให้คำมั่นสัญญาต่อนานาประทเศที่ให้ความช่วยเหลือต่อกัมพุชาในการพัฒนาประเทศ และรัฐบาลกัมพุชาก็มีความจำเป้นต้องมีการปฏิรูปการบริหารประเทศในหลายๆ ด้านเพื่อการปกครองที่บริสุทธิ์ยุตธรรมเช่น การปฏิรูประบบการเงินกาีคลังของประเทศ การปฏิรูประบบการบริหารประเทศและกำลังทหาร การปฏิรูปการกระจาอำนาจการปกครอง สำหรับแนวคิดการกรจายอำนาจเกิดขึ้นมาจากหลักธรรมาภิบาล เนื่องจากรัฐบาลมีความเชื่อว่าการกระจายอำนาจเป้นการปกครองที่รัฐมสมารถ่ายโอนอำนาจการบังคับบัญ๙าและากรมอบหมายความับผิดชอบในการบางอย่างให้กับท้องถิ่นดำเนินกาจัดการภายในท้องถิ่นเอง โดยจุดมุ่งหมายสภคัญเพื่อให้ประชาชนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีส่วนร่วมและรับผิดชอบร่วมกันในการดูแลกิจการท้องถิ่นของตนเอง แต่อย่งไรก็ตาม แม้ว่าการปฏิรูประบบราชการ การกระจายอำนาจจะดำเนินไป แต่ก็ปรากฎสิ่งที่ท้าทายกระบวนการปฏิรูปด้วยเชช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นในด้านของโครงสร้างกฎหมายของประบวนการกระจาย ความสัมพันธ์ของโครงสร้งกฎหมายของกระบวนการกระจาย ความสัมพันธ์กับกระบวนการแบ่งอำนาจรวมไปถึงเร่ิมมีการข่มขู่คุกคามทางการเมืองแม้ว่าจะยังไม่มีกำหนดการเลือกตั้งที่ชัดเจน โดยเดือนสิงห่คม ค.ศ. 2000 ผุ้ที่คดว่าจะลงใาัครแข่งขันรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น ของพรรคฟุนซินเปค 1 คนและของพรรคสม รังสี อีก 2 คน ถูกลอบยิงเสียชีวิตในจังหวัดกำปอต จังหวัดกำปง จาม และสังหวัดไพรเวงตามลำดับ
            กระทั่งปี ค.ศ. 2001 มีการผ่านกฎหมายท้องถิ่น ออกมา 2 ฉบับได้แก่ กฎมหายการบริหารและจัดการท้องถิ่น และกฎมายการเลือกตั้งท้องถิ่น ซึ่งเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจกับสภาท้องถ่ินในการวางแผนพัฒนาและบริหารแผนพัฒนาท้องถิ่นรวมไปถึงการมีวบประมาณเป็ฯของตัวเองและนำไปสู่การเลือกตั้งระดับท้องถ่ินในเือนกุมภมพันธ์ ปี 2002 และเกิดปรากฎหารณ์การเคลื่อนไหวทางการเืองท้องถ่นนของกัมพูชาเป็นอย่างมากหว่าคือ ตัวแทนจากพรรคการเมืองต่างๆ ของกัมพุชาได้เข้าร่วมในการเลือตั้งในระดับสภาพท้องถิ่นทั่วทุกแห่งของประเทศ ซึ่งกอ่นหน้านี้ผุ้นำท้องถ่ินเหล่านี้ต่างก็คือ บุคคลที่เคยได้รบแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 ภายใหต้การีนำของพรรค PRK ที่ได้ร่วมต่อสู้กับประชาชนในช่วงที่เขมรแดงยังปกครอง และถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนชื่อพรรคมาเป้ฯพรรคประชาชนกัมพุชา ผุ้นำเหล่านี้ก็ยังคงมีความจงรักภักดีทางการเืองอย่งต่อเนื่อง ขณะเดี่ยวกันพรรคประชาชนกัมพูชา เองก็พยายามที่จะรักษาอำนาจและคงอิทธิพลฝังรากตั้งแต่ระดับำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน ซึ่งนับได้ว่ากลายเป็นกลไกสำคัญแลทำให้พรรรคประชาชนกัมพุชามีเสถียรภาพทางการเมืองสูงจวบจนปัจจุบัน
            ผู้นำชุมชนที่มาจากการแต่งตั้ง เพื่อให้ภาพการพัฒนาการการกระจายอำนาจและกรปกครองท้องถิ่นของกัมพูชาที่ชัดเจน จำเป็จ้องนำเสอนการปกครองท้องถิ่นของกัมพูชาตั้งแต่อดีตที่มาจาการแต่งตั้งจนกระทั่งก่อนจะมีเลือกตั้งในปี ค.ศ. 2002
            กัมพูชานช่วงที่ตกอยุ่ใต้อาณัติของฝรั่เศส มีการเหล่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่งมาก โดยเฉพาะการที่พระมหากษัตริย์จำต้องลงรพนามในกฎหมายและประกาศหลายฉบับในปี ค.ศ. 1884 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ให้ผลประโยชน์แก่ฝรั่งเศสทั้งส้ินเช่น ข้อตกลงฉบับหนึ่งที่มีข้อสัญญาบางข้อที่เป้ฯการวบอำนาจในกัมพุชาไฝ้ในมือของฝรั่งเศสอย่างเบ็ดเสร็จ ราชธานีพนมเปญอยุ่ภายใต้การปคกรองโดยตรงจากฝรั่งเศส แระชาชนทุกชนชั้นวรรณะต้องตกเป้นผุ้คอนรับใช้เพื่อสนองผลประดยชน์แก่เจ้าอาณานิคม ฝรั่งเศสมีอสิระอย่างเต็มี่ในการเก้บภาษีอากรทุกประเะภทแงะมี่สิทธิแต่งตั้งผ้ดูแลที่เป็นคนฝรังเศส 1 คนหรือรองอีก 1 คนให้ทำหน้าที่เป้ฯเจ้านายตรวจตราข้าราชการในจังหวัดหนึ่งๆ และในุทกๆ แห่งที่ฝรั่งเศสเห็นว่าจะมีประโยชน์ต่อตนเองราชธานีพนมเปญอยุ่ภายใต้การปกครองโดยตรงของฝ่ายฝรั่งเศสพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ได้รับเงินเบี้ยหวัดเป็นรายไปจากฝรั่งเศสจำนวน 550,000 เรียล กิจการภายในประเทศและนอกประเทศของกัมพุชาอยู่ในการกำกับดุแลของฝรั่งเศส พระมหากษัตริย์ไม่มีอำนาจในการแต่างตั้งขช้าราชการเหมือนที่เคยปฏิบัติมาฝรั่งเศสแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสให้เป็นที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์กัมพุชา พร้อมทั้งเป็นผู่จัดแจงกิจการต่างๆ ภายใต้การแนะนำของเทศาภิบาลชาวฝรั่งเศสแห่งอินโดจีน ส่วนการปกครองในระดับจังหวัดต่างก็ตกอยู่ภายใต้การดูแลของฝรังเศส ชาวเขมรต้องอยุ่ภายใต้การบังคับบัญชาของฝรั่งเศสมีเพียงในระดับำเภอลงไปจนถึงตำบลและหมุ่บ้านเท่านั้นที่อำนาจในการปกครองเป็นของขาวเขมรรับผิดชอบและจัดแลงกิจการได้เองภต่ต้องอยู่ภายใต้การตรวจตราอย่างใกล้ชิดของฝรั่งเศส
              หากกล่าวถึงการปกครองในระดับท้องถิ่นของกัมพูชาจริงๆ แล้วปรากฎข้อมูลทางการปกครองในระดับตำบล ระดับหมู่บ้านในกัมพูชา มีมาตั้งแต่ก่อนที่ฝรั่งเศสจะเข้ามายึดครองกัมพูชา ในอีกด้านหนึ่งแม้ว่ากัมพุชาจะตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของฝรั่งเศส แต่ประเทศอาณานิคมยังได้วางรากฐานที่สำคัญเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่นไวเช่นเดี่ยวกัน โดยสิ่งที่ฝรั่งเศสทำการปฏิรูปการบริหารงานที่สำคัญที่สุดก็คือการสร้างหน่วยการบริหารงานในระดับหมู่บ้านหรือคอมมูน และมีพระราชกฤษฎีการกำหนดให้มีการเลือกตั้งผุ้ใหญ่บ้านในปี 1908 ซึ่งคอมมูน มีโครงสร้างการทำงานที่เชื่อมโยงระหว่างการปกครองด้วยหลักศีลธรรมผ่านผุ้นำในระดับหมุ่บ้านที่มีความเป็นผุ้นำและได้รับการยอมรับจากประชาชนในหมุ่บ้าน และการควบคุมผ่านระบบราชการในระดับอำเภอ ซึ่งนายอำเภอจะได้รับการแต่งตั้งจากผู้ว่าราชการจังหวัดนั้นๆ ซึ่งโครงสร้างเดิมของคอมมูนนั้นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือคอมมูนจะต้องมาจากากรเลือตตั้งซึ่งประชาชนเพศชายและหญิงที่มีการจ่ายภาษีเท่านั้นจึงจะมีสิทธิในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือคอมมูน และในปี ค.ศ. 1919 พระราชกฤษฎีกายังได้กำหนดให้มีการแบ่งอำนาจในการจัดการทางด้านการเงินและทรัย์สินไปใไ้กับตำบล และมีพระราชกฤษฎีการกำหนดให้มีการเลือกตั้งสภาตำบลและมอบหมายงานที่ชัดเจนในการจักการด้านการเงินและการบริหารงานทั่วไป ทั้งนี้ได้มีการจัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการปฏิบัตงานระดับตำบล/แขวง และสภาตำบลมีหลักเกณฑ์และการบิรหารจัดการที่คล้ายคลึงกบประเทศฝรั่งเศส
             นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 1960 สภาตำบลได้ถูกยกเลิกไป โดยหัวหน้าคอมมูนหรือกำนัน ผุ้ช่วยกำนันผุ้ใหญ่บ้านจะมาจาการแต่งตั้งโดยผุ้ว่าราชการจังหวัด ผุ้ช่วยกำนันผุ้ใหญ่บ้านจะมาจากการแต่งตั้งโดยผุ้ว่าราชการจังหวัด และในสมัยแขมรแดงปกครอง ก็ได้ทกการยกเลิกสถาบัน และรูปแบบของกิจกรรมทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมที่มีอยุ่เิมทั้งหมด การปกครองในระดับภูมิภาคลงไปจนถึงระดับหมู่บ้านอำนาจทังหมดจะอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างใกล้ชิดจาก "องค์การ" ซึ่งเป็นหน่วยงานการปกครองโดยตรงของรัฐที่มีอำนาจทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ทางด้านสังคม ทางด้านตุลาการ โดยรวมแล้วองค์การในทุกระดับชั้นจะมีสิทธิอำนาจในกาตัดสินใจในทุกเรื่องและในทุกกิจการของรัฐทั้งนี้องค์การในระดับหมุ่บ้านจะมี "ประธานสหกรณ์" ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากองค์การให้มีอำนาจอย่งเบ็ดเสร็จเด็ดขาดและมีการปฏิบัติต่อประชาชนอย่างโหดร้ายและป่าเถื่อนอันนำไปสู่การฆ่าล้างเผ่าพันู์อย่างเลวร้ายที่สุดนประวัติศาสตร์การเมืองของกัมพุชา ในอีกด้านหนึ่งนั้นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกัมพูชายังหลายเป็นปัญหาสำคัญที่สุ่งต่อมายบังปัจจุบันหล่าวได้ว่ากลุ่มประชากรซึงเป็นกลุ่มชนชั้นกลาง ส่วนใหญ่จะถูกฆ่าตายหรือไม่ก็พอพยพหลบหนีนอกนอกประเทศดังนั้นจึงทำให้โครงสร้างประชกรของกัมพุชาในปัจจุบันประกอบไปด้วยวัยเด็กและผู้หญิงเป็นจำนวนมาก ซึ่งก็กลายเป็นอุปสรรคสำคัญอีกประการหนึ่งในการพัฒนาประชาธิปำตยในกัมพูชา..

         
              การเลือกตั้งสภาตำบล การผ่านกฎหมายการเลือกตีั้งท้องถ่ินและฏำหมายการบริหารและจัดการท้องถิ่น เป็นตรั้งแรกในปี ค.ศ. 2002 ซ่งนับว่าเป็นก้าวแรกของการพัฒนาประชาธอปไตยในระดับ้องถิ่นของกัมพูชา ได้ทำให้เกิดการะแสการที่ตัวแทนจากพรรคการมืองต่างๆ ของกัมพุชาได้เขาร่วมการเลือกตั้งสภาท้องถิ่นทุกแห่งทั่วปะเทศ ในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี ค.ศ. 2002 พรรคฟุนซินเปคต้องพ่ายแพ้แก่พรรคประชาชนกัมพูชา เพราะได้รับคะแนนเสียงเพียงร้อยละ 22 เท่านั้นทำให้พรรคต้องประเมินสถานะของตนเมื่อจัดการประชุมสมัชชาพรรคประจำปีขึ้นในเดือนมีนาคม 2002 สมาชิกพรรคหลายคนไม่พอใจข้อเสียเปรีบและได้รับผลประโยชน์น้อยมากจากการเป็นรัฐบาลผสมกับพรรคประชาชนกัมพุชาอย่างไรก็ตามสมเด็จกรมพระรณฤทธิ์ยังคงแถลงยืนยันว่าพรรคฟุนซินเปคจะไม่ถอนตัวออกจากการเป็นรัฐบาลผสมแต่จะพยายามเรียกร้องให้พรรคมีอำนาจบริหารเพ่ิมขึ้น
           ทั้งนี้การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นเป็นตัวแปรที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการเลือกตั้งในระดับชาติในปี ค.ศ. 2003 เพราะการที่ตัวแทนของพรรคฟุนซิเปคและพรรคสมรัสี ที่ได้รับการเลือกตั้้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นทีั่วประเทศ่อมเป้นสิ่งที่เปิดโอกาสให้พรรคต่างๆ เหล่านี้สามารถหาเสียงในระดับชาติได้ด้วย แมว่าจะยังคงปรากฎความไม่ไว้วางใจระหว่างหัวคะแนนในระดับท้องถ่ินของพรรคการเมืองต่างๆ แต่ก็ยังคงเป็นที่ยอมรับร่วมกนว่าพรรคการเมืองใหญ่ ๆ ต่างก็สามารถได้ที่นั่งในสภาท้องถ่ินในทุกๆ คร้งากน้อยต่งกัน ซึ่งเป็นภาพการเมืองระดับท้องถิ่นที่แตกต่่างจากก่อนการเลือกตั้งปี ค.ศ. 1998 ซึ่งมีการเน้นเแพาะบทบาทของผุ้ใหญ่บ้าน ผุ้นำชุมชน และตำรวจ ในการทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร จัดสมาชิกพรรคออกไปหาเสียงให้กับพรรคการเมืองของตนร่วมไปถึงการข่มขู่คุกคามผุ้ที่สนับสนุนพรรคฝ่ายค้านในอีกด้านหนึ่งย่อมชัดเนว่า ปัจจุบันผุ้นำท้องถินมีบทบาทสำคัญต่อการเมืองระดับท้องถิ่นมากว่าสถาบันข้าราชการ
            ระบบกรปกครองท้องถิ่น
            โครงสร้างขององค์กรปกคอรงส่วนท้องถิ่น รัฐธรรมนูญกัมพูชาฉบับปัจจุบัน 1999 หมวดที่ 13 การบริหารราชการ ได้บัญญัติเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่นไว้ดังนี้
            มาตรา 145 ดินแดนของราชอาณาจักรกัมพูชาแบ่งออกเป็นจังหวัด และกรุง เขตพื้นที่แต่ะจังหวัดแบ่งเป็นอำเภอ และพื้นที่แต่ละอำเภอแบ่งเป็นตำบล เขชตพื้นที่แต่ละกรุงแบ่งเป็นเขต และเขตพื้นที่แต่ละเขต แบ่งเป็นแขวง
             มาตรา 146 การปกครองจังหวัด กรุง อำเภอ เขตและแขวงให้เป็นไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
             ปัจจุบันกัมพูชาแบ่งโครงสร้างการบริหารราชแผ่นดินออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยโครงสร้างส่วนกลางแบ่งออกเป็นกระทรวงและสำนักงานอิสระ และโครงสร้างส่วนภูมิภาคได้แก่จังหวัด/กรุง อำเภอ/เขต ตำบล/แขวง และหมู่บ้าน ดดยจังหวัด/กรุง และอำเภอ/เขต เป็นหน่วยงานบริหารราชการส่วนภูมิภาคของรัฐ ซึ่งผุ้ว่าราชการ จังหวัด /กรุง นายอำเภอ จะมาจาการแต่างตั้งโดยกระทรวงมหาดไทย ปัจจุบัน กัมพูชามีทั้งหมด 24 จังหวัด และ 1 เทศบาลนคร จำนวนสมาชิกสถาท้องถิ่นแตกต่างกันดังนี้
            สภาเมืองหลวง มีจำนวนสมาชิกสภาได้ไม่เกิดน 21 คน พนมเปญ
            สภาจังหวัด มีจำนวนสมาชิกสภาได้ตั้งแต่ 9-21 คน
            สภากรุง มีจำนวนสมาชิกสภาได้ตั้งแต่ 7-15 คน
            สภาอำเภอและสภาเขต มีจำนวนสมาชิกสภได้ตั้ง 7-19 คน
            ส่วนการปกครองในระดับตำบล/แขวง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือกำนันจะต้องมจาการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนในลักษณะของการรับสมัครเลือกตั้งในนามของพรรคการเมือง และสมาชิกสภาท้องถิ่นยังเป็นผุ้มีสิทธิ์ในการออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาอีกด้วยจึงทำให้โครงสร้างในระดับท้องถิ่นมีความเชื่อโยงกับสภานิติบัญญัติและสมาชิกวุฒิสภา ส่วนตำแหน่งผุ้ใหญ่บ้านในแต่ละหมู่บ้านจะมาจากการเลือกตั้งทางอ้อมและแต่งตั้งโดยสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือกำนันและไม่มีวาระในการดำรงตำแหน่ง
            สภาตำบลเป็นหน่วยงานระดับล่างสุดที่มีบทบาทในการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างธรรมาภิบาลโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยุ่เพื่อตอบสนองควาต้องการของประชาชนในคอมมูน/แขวง โดยคำนึงถึงนโยบายของรัฐเป็นสำคัญ เดิมบทบาทอำนาจหน้าที่ไม่ชัดเจนเท่าใดนักกระทั่งผ่านกฎหมายในปี ค.ศ. 2001 กฎหมายฉบับดังกล่าวได้กำหนดบทบาทและอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในหมวดที่ 4
           ภารกิจและอำนาจหน้าที่ของสภาตำบลสามารถแบ่งออกเป็น 2 ด้านที่สำคัญ คือ หน้าที่ในการตอบสนองความต้องการของประชาชน ในแต่ละคอมมูน และหน้าที่ในการเป็นหน่วยงานตัวแทนของรัฐและทำหน้าที่ตามที่ได้รับการมอบอำนาจจากรัฐบาลกลางทั้งหน้าที่ในการตอบความต้องการของประชาชนจะเกี่ยวข้องกับเรื่องดังนี้
              - หน้าที่ในการธำรงและรักษาความสงบเรียบร้อย วึ่งในที่จะเกี่ยวข้องกับการลดจำนวนการเกิดอาชญากรรมและความรุนแรงและรวมไปถึงการทำงานร่วมกับตำรวจ
              - หน้าที่ในการจัดเตรียมสิ่งจำเป็นต่างๆ ในการบริการสาธารณะและมีความรับผิดชอบและดำเนินงานเป็ฯอย่างดี เช่น ด้านสุขอนามัยของน้ำ การสร้างและซ่อมแซมถนน ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา และการจัดการน้ำเสีย เป็นต้น
              - หน้าที่ในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกที่ให้ความสุขกับประชาชนเช่นการจัดตั้งสวนสาธารณะเป็นต้น
              - หน้าที่ในการส่งเสริมการพัฒนทางสังคมและเศรษบกิจรวมไปถึงการยกระดับความเป็นอยู่อขงประชาชให้ดีขึ้นเช่นการชักจูงนักลงทุนให้มาลงทุนโครงการต่างๆ ในท้องถิ่น
              - หน้าที่ในการปกป้องและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม, ทรัพยากรธรรมชาติ, วัฒนธรรมและมรดกของชาติ โดยอาจจะเกี่ยวกับการดำเนินโครงการปกป้องสัตว์ป่าท้องถิ่นและพืชประจำถิ่นและการจัการทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น
            - หน้าที่ในการปะสานไกล่เหล่ยความขัดแย้งภายในท้องถิ่นให้ประชาชนมีความเข้าใจและอดทนต่อกันและกันเช่นการช่วยแก้ปัญหาข้อพิพาทในท้องถ่ิน
            - หน้าที่ในการค้นหาและติดตามความต้องการของประชาชน
            ทั้งนี้ หน้าที่ในการเป็นหน่วงานตัวแทนของรัฐและทำหน้าที่ตามที่ได้รับการมอบอำนาจจากรัฐบาลกลางตามกฎหมาย พระราชบัญญัติพระราชกฤษฎีกาหรือการประกาศต่างๆ โดยสภาตำบลจะไม่มีอำนาจหน้าที่ในเรื่องดังต่อไปนี้คือ ด้านป่าไม้, ด้านการไปรษณีย์และการบริหารทางโทรคมนาคม, การปกป้องประเทศ, ความมั่นคงของประเทศ,ด้านการเงิน, นโยบายต่างประเทศ, นโยบายทางด้านภาษีและอื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนด โดยสภาตำบลมีอำนาจอย่างอิสระในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายต่างๆ ซึ่งจะต้องได้รับเสียงข้างมากในสภาตำบล เช่น การนุมัติแผนการพัฒนตำบลระยะ 5 แี และจะต้องมีการปรับปรุงแผนพัฒนาตำบลทุก 1 ปี การอนุมัติวบประมาณของตำบล การจัดเก็บภาษีและการบริการอื่นๆ การอนุมัติกฎหมายต่างๆ ของท้องถิ่นและเรื่องๆ อื่นที่ได้รับการแนะนำจากกระทรรวงมหาดไทย ซึ่งในแต่ละคอมมูนจะต้องแต่งตั้งบุคคล 2 คนอาจจะเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรืประชาชนในการทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบประเมินโครงการพัฒนาตำบล ดดยโครงการพัฒนาท้องถ่ินต่างๆ ต้องประกาศหรือนำเสนอต่อสาธารณะเพื่อให้ประชาชนสมารถเข้าถึงข้อมุลดังกล่าวได้ยอ่างอิสระ และสภาตำบลเปิดโอกาศให้ประชาชนเขามีส่วนร่วมใหนการจัดำโครงการพัฒนา ตำบล การนำไปสุ่ปฏิบัติใช้และพัฒนาโครงงการต่างๆ ในท้องถิ่นใหมีความสอดคล้องกับกระทรวงและภาคส่วนอื่นๆ ด้วย
                การเงินและการคลังของท้องถิ่น คอมมูน/แขวง ถุกบัญญํติไว้ในกฎหมายการบริหารและจักดารคอมมูน/แขวง สรุปความได้ว่ สภาตำบลมีทรัพยากรทางการเงิน ,วบประมษณและทรัพย์สินเป็นของตัวเองที่เหมาะสมสำหรับการดูแลจัดการและทำหน้าที่ตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้และทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติย่างเหมาะสมและสนับสนุนกาพัฒนาประชาธปิไตยภายในท้องถ่ินน้นๆ สภาท้องถิ่นมีอำนาจที่จะเก็บภาษีโดยตรงจากภาษีการเงินและภาษีที่ไม่ใช้การเงินและจกการบริการอื่นๆ ซ฿่งภาษีดังกล่าวก็จะรวมไปถึงภาษีที่ดิน ภาษีจากทรัพย์สินอื่นๆ ที่เคลื่อนที่ไม่ได้และภาษีค่าเช่าหรืออาจจะได้เงินงบประมาณมาจากการสนับสนุของงบประมาณระดับชาติหรืออาจจะมาจากการบริจาก การให้ความช่วยเลหื่อจากองค์กรพัฒนเอกชนตามที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเป็รจ้ร สภาท้องถิ่นไม่มีสิทธิ์ในการกู้หรือไใ้กู้ยืมเงนิไม่มีสิทธิืในการทำธุรกรรมทางกาเงินไดๆ ทั้งสิ้น นอกจานั้นสภาท้องถ่ิน จะต้องมีการบริาหรการเงินและการคลังของคอมูน/แขวงอย่งโปร่งใส มีประสิทธิภาพและสามารถตรวจสอบได้
              การบริหารงานบุคคลท้องถิ่น สภาตำบลจะมีเจ้าหน้าที่เป้ฯของตนเอง พนักงานของสภาท้องถ่ินจะต้องมาจากากรแข่งขันการับสมัครบุคคลและแต่งตั้งบุคคลจากสภาท้องถ่ินหรือฝ่ายบริหารงานบุคคลเพื่อทำงานในสภาท้องถิ่นอย่างโปร่งใสตามกฎหมาย โดยพนักงานของสภาท้องถิ่นจะอยู่ภายใตก้าบริหารงานโดยตรงและการดุแลตรวจสอบจากประธานสภาตำบลหรือกำนัน ยกเว้นแต่เจ้าหน้าที่บางประเภทเช่นเลขานุการสภาตำบล จะมาจาการแต่างตั้งโดยรัฐบาลกลาง
             ความสัมพันธ์ระหว่างราชการสวนกลาง ส่วนภูมิภาคและสภาตำบล โดยความสัมพันธ์ระหว่างราชการส่วนกลาง ส่วนภุมิภาค และสภาตำบลสืบเนื่องมาจากการวางโครงสร้างการปกครองท้ถงถ่ินทีแม้ว่าจะมีการกระจายอำนาจให้กับท้องถ่ินให้ีการเลือตั้งอบ่งอิสระมีการบริหารกิจการภายในท้องถ่ินและมีงบประมาณเป็นตัวเอง แต่ในอีกด้านหนึ่งกลับกำหนดให้สภาตำบล ในบางกรณีจะต้องอยู่ภายใต้การกำกับควบคุมและทแรกแซงโดยการแต่างตั้งข้าราชการที่ได้รับการแต่างต้งโดยกระทรวงมหาดำทย ยิงไปกว่านั้นด้วยลักษณธเฉพาะของรุ)แบบการเลือกตั้งสภตำบลที่ผุ้สมัตรรับเลือกตังจะตอ้งสมัตรในนามของพรรคการเมืองจึงเป็นเหตุให้การปกครองท้องิ่นไม่สามรถแยกออกจากการเมืองระดับชาติได้ในแง่ที่ว่าปัจจัยของพรรคหรือพรรครัฐบาลบ่อมมีผลต่อการเลือกตั้งในแต่ละครั้งหรือแม้แต่ในด้านของการบริหารงานภายในท้องถิ่นย่อมมีปัญหาในการบริหารงานที่อาจจะเป็นเพรียงกลไกในระดับล่างของพรรคการเมืองหนึ่งเพื่อเป็นฐานสนับสนุนหรือสร้างความเข้มแข็งทางการเมืองในระดับชาติ นอกจากนั้นสภาท้องถ่ินยังถูกกำหนดให้มีบทบาทและขอบเขตหน้าที่มากไปกว่าขอบเขตพื้นที่ในแต่ละท้องถิ่นเท่านั้น สมาชิกสภาท้องถิ่นยังมีอีกสภานะ คือ สถานะของผุ้มีสิทธิ์ในการเลือตั้งวุฒิสภาและมีสิทธิ์ในการแต่งตั้งผุ้ใหญ่บ้านไปพร้อมๆ กัน ฉะนั้นจากลักษณะเฉพาะของโครงสร้างอำนาจและหน้าที่ของสภาท้องถิ่นจึงทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและสภตำบล ไม่สามารถแยกออกจากกันอย่างอิสระ หากแต่มีสิ่งหนึ่งที่เป็นตัวกลางในการ้อยรัอความสัมพันะ์ระหว่งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคแะสภาตำบลเข้าไว้ด้วยกัยอย่าวแนบแน่นนั่นก็คือพรรคการเมือง
             การตรวจสอบ ควบคุมและการกำกับท้องถิ่น การกำหนดกลไกในการติดตาม แทรกแซง ตรวจสอบการทำงานของสภาตำบลตามกฎหมายการบริหารจัดคอมมูน/แขวง โดยหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่ดุแลหน่วยการปกครองท้องถิ่นคือกระทรวงมหาดไทยโดยมีทยวงการบริหารท้องถิ่น ทำหน้าที่ดูแลทั่วไปเกี่ยวกับการกระจายอำนาจคำสั่งของกระทรวงมหาดไทยทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการติดต่อส่อสารระหวางนโยบายการกระจายอำนาจของรัฐบาลกลางและท้องถ่ินในแต่ละระดับรวมไปถึวตัวแทนของ รัฐ ภาคเอกชน ประชาสังคมและอื่นๆ ทำหน้าที่ติดตามควบคุมและประเมินการดำเนินนโยบายการกระจายอำนาจและำหน้าที่ในการติดตามควบคุมและเพ่ิมประสิทธิภาพของท้องถภิ่น ซึ่งกระทรวงมหาดไทยอาจจะมอบอำนาจให้กับตัวแทนของรัฐในระดับจังหวัด/กรุง หรือตำบล/เขต เข้าไปให้ความช่วยเหลือแก่ท้องถ่ิน และในขณะเดียวกันถ้าหากคอมมูน/แขวง ล้มเหลวในการทำหน้าที่และไม่สามาถแก้ไขความล้มเหลวดังกล่วได้ภายใน 6 เดือน ตามกฎหมายกระทรวงมหาดไทยก็สามารถเข้าำปแทรกแซงในกิจการภายในท้องถิ่นอย่างทันทีนอกจากนั้นกระทรวงมหาดไทยยังได้กำหนดให้มีการติดตามการดำเนินงานและปรเมินการใช้งบประมาณในโครงการการพัฒนาต่างๆ ของคอมมูน /แขวงเพื่อมิให้มีการใช้งบประมาณไปในทางที่มิชอบซึ่ง คอมมูน/แขวงมีหน้าที่ต้องเตียมรายงานการใช้จ่ายเงินประจำปีให้แล้วเสร็จภายใน 45 วันหลังหมดปีงบประมาณและนำเสนอรายงานดังกล่าวให้กับกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยต่อสาธารณะและองค์กรสมาคมต่างๆ
            ส่วนกลไกในการตรวจสอบจากประชานยังคงมีข้อจำกัดอยู่มาก เนื่องจากความยากจนเป็นอุสรรคต่อการกระจายอำนาจสู่ท้องถ่ิน ประชาชนผุ้มีสิทธิ์เลือกตังส่วนใหญ่ไม่ได้รัการศึกษาทำให้ระดับการมีส่วนร่วมทากงารเมืองอยู่ในระดับต่ำ มีช่องทางมากมายสำหรับการซ้อสิทธิ์ขายเสียงของพรรคการเมืองโดยไม่ถูกตรวจสอบความสัมพันธ์แบบระบบอุปถัมภ์ระหว่างพรรคการเมืองกับประชาชนระหว่าผุ้นำท้องถิ่นกับประชาชน รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐที่วางตัวไม่เป็นกลางกับประชชน อีกทังยังมีการติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐในท้องถิ่นตัวอย่างหน่งที่แสดงการใช้กลไกของรัฐกลยุทธ์ทงการเมืองในการควบคุมวิะีคิดหรือการตัดสินใจทางการเมืองของประชาชนอันเป็นสิ่งที่ยืนยันลชัดเจนถึงขีดความสามารถในการตรวจสอบการทำงานของท้องถิ่นโดยประชาชนได้ในระดับหนึ่งดังปรากฎข่าวว่าผุ้ใหญ่บ้านได้เรียกให้ประชาชนที่อาศัยอยุ่ในปมูาบ้านทั้งหมดมาพิมพ์ลายนิ้มือและให้สัญญาว่าจะเลือพรรคประชาชนกัมพูชา CCP เนื่องจากการเลือกตั้งในครั้งก่อนมีผุสนับสนุนพรรคเป็นจำนวนมากแต่ผลคะแนนเสียงที่ได้รับกลับมีจำนวนน้อยไม่สอดคล้องกับความช่วยเหลือที่พรรคได้ให้กับประชาชน


                                    - พินสุดา วงศ์อนันต์, "ระบบการปกครองท้องถิ่น ประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน :  ราชอาณาจักรกัมพูชา", วิทยาลัยพัฒนการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า, 2556.

           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...