วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

The Story of Thai' Identity

          คำถามว่าอัตลักษณ์ของคนไทยคืออะไร และคนไทยจะสามารถรักาาอัตบักาณ์ของตนไว้ได้นานเพียงไรในกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงเช่นทุกวันนี้
          คำว่า "อัตลักษณ์" นั้นหมายถึงอะไร ซึ่งถ้าพูดกันง่ายๆ ก็คือสิ่งที่แสดงถคึงความเป็นตัวตนของตนไทย ซึ่งส่วนหนึ่งก็จะเป็นลักษณะของตัวตนภายนอก เช่น กิริยาท่าทาง ภาษา และการแสดงออกต่อบุคคลอื่น กับลักษณะของตัวตนภายใน ได้แก่ ความรู้สึกนึกคิด นิสัยใจคอ คตินิยม ความเชื่อ และส่ิงยึดเหนี่ยวจิตใจ
          ในสมัยก่อนนั้น เมื่อพูดถึงคนไทยในสายตาของชาวต่างประเทศ ก็คือการย้ิมแย้ม จนไ้ดรับสมญาว่า เป็น แลนด์ออฟสไมล์ หรือ ดินแดนแห่งรอยยิ้ม ถัดมาก็คือ การเป็นมิตรกับชาวต่างชาติ และความเอื้ออารี
          โดยปกติคนไทยมักจะเป็นคนที่สุภาพเรียบร้อย รักสนุก ชอบความสะดวกสบาย และเก็บความรู้สึก..นอกจากรอยยิ้มแล้ว คนไทยไม่ค่อยแสดงอะไรออกมาทางสีหน้าหรือากัปกิริยา ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบ จะเห้นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ดังนั้น จึงออกจะเป็นการยากที่จะคาดเดาความหมายจากรอยยิ้มของคนไทย
           ขณะเดียวกันก็มีบางคนที่มองโลกในแง่ร้ายดล่าวว่า ลักาณะสำคัญของคนไทยได้แก่ การไม่เคารพกฎเกณฑ์กติกา และถือเอาความพอใจของตนเป็นหลัก การเจ็บแล้วไม่รู้จักจำ การไม่รักษาเวลา และไม่รักษาคำพูด
         
สำหรับลักษณะของตัวตนภายในก็มาจกการอบรมสั่งสอนจากครอบครัวและโรงเรียนในวัยเด็ก ขนบธรรมเียมต่างๆ ศาสนา และลหักปรัชญาที่นับถือ เนื่องจากคนไทยส่วนใหย่นับถือพุทธศาสนา ดังนั้น คำสอนทางศาสนาพุทธจึงเป็นส่ิงที่อยุ่ภายในจิตใจของคนไทยจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศีลเรื่องธรรม รวมทั้งแนวคิดในเรื่องกฎแห่งกรรม ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่วการให้อโหสิกรรมหรือการปล่อยวาง จนบางครั้งดูเหมือนคนไทยจะเป็นคนที่เรียบเฉพย ปราศจากอารมณ์และความรู้สึกที่รุนแรงเช่นคนชาติอื่น
           ย้อนกลัยมาถึงเรื่องอัตลักษณ์ของคนไทย แน่นอนว่าสังคมไทยในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต และคนไทยก็มิได้มีสภาพชีวิตที่่คล้ายคลึงดันเช่นอดีต แต่มีความแกตต่างกันทางอาชีพสถานะเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ และความคิดเห็น ค่อนข้างสูง ดังนั้นการที่จะระบุว่าสิ่งใดคืออัตลักาณืของคนไทยในปจจุบัน จึงเป็นเรื่องยากกว่าในอดีต อย่างไรก็ตาม อาจจะกล่าวโดยรวมได้ว่าคนไทยเป้นคนที่มีพื้นฐานจิตใจที่ดี เป้นพวกสุขนิยม ชอบอะไรที่ง่ายๆ สบายๆ ไม่ชอบเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อน
          ความจริงไทยก็เป็นคนแบบนี้มานมนานกาเล อย่าน้อยๆ ก็นานก่อนที่จะมีคนคิดเรื่องอัตลักษณ์นี้ขึ้นมา ส่วนลักาณะเฉพาะตัวของคนไทยจะดีหรือไม่ดีอย่างไรในสายตาของคนอื่น ก็อย่าไปสนอกสนใจมันเลยครับ เพราะยังไงเราก็เป็นของเราแบบนี้ไม่สามารถแก้ไขให้เป็นแบบอื่นได้และมีควมสุขตามอัตภาพกับการเป็นตัวตนของตัวเอง
          ส่วนข้อห่วงกังวลที่ว่าเราจะสามารถรักษาอัตลักษณ์ของเราไว้ได้นานเพียงไรนั้น ก็อย่าเป็นกังวลไปเลยครับ เพราะคุณสมบัติประการหนึ่งของคนไทยก็คือ การปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลง จากขอม เป็นอินเดีย เป็นจีน เป็นฝรั่ง ถ้าจะเป็นอาเซียนอีกสักที ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก
          คิดอีกด้านหนึง ประเทศอาเซียนอื่นๆ ต่างหาก ที่น่าจะเป็นห่วงเรื่องการรักษาอัตลักษณ์ของพวกเขา เมื่อมาใกล้ชิดสนิทสนมกับไทยhttp://www.komchadluek.net/news/politic/165772
       
  อัตลักษณ์ไทยอะไรกัน...นิธินันท์ยอแสงรัตน์(ผู้เขียน)
           เขียนเรื่องอัตลักษณ์ไทยเพราะมีผุ้ถามว่า ทำไมชอลตั้งข้อสงสยเรื่องความเป็นไทย ไม่ดีหรือที่ไทยมีความเป็นไทย หรือมีอัตลักา์ไทยที่แสดงให้เห็นความยิ่งใหญ่ไม่เหมือนใครของไทย
           อันที่จริง "อัตลักษณ์ชาติ" เคยเป็นหัวข้อสำคัญในการสนทนาของผุ้คนแทบทุกชาติเมื่อหลายสิบปีมาแล้ว ปัจจุบัน มุมมองเรื่องนี้เปลี่ยนไปมาก ผุ้คนเลิกพูดเรื่องอัตลักษณ์เดียวจากส่วนกลาง แต่หันไปพูดเรื่อง "ความหลากหลาย" ด้วยเหตุที่ว่า ผู้คนในแต่ละชาติล้วนมีความเป้นมาหลากหลายจึงมีวิถีชีวิตหลากหลาย
           คำอธิบายชุดเดียวเรื่องอัตลักษณ์ ย่อมไม่สามารถอธิบายอัตลักษณ์ของคนทั้งชาติซึ่งล้วนเป็นองค์ประอบสำคัญของชาติ น่าคิดว่าเรามักคิดถึง "อัตลักษณ์" เมื่อจะต้องพุดเรื่องความย่ิงใหญ่ของชาติ ไม่ว่าเพื่อปลุกใจให้ฮึกเหิมยามสงคราม หรือเมื่อผู้ปกครองต้องการให้ประชาชนรวมพลังเป็นปึกแผ่นเพื่อกระทำการบางอย่างตามความประสงค์ของผุ้ปกครอง ผุ้ปกครองคือผุ้กำหนดอัตลักษณ์ชาติให้ประชาชนเชื่อและยึดถือ มิใช่ประชาชนกำหนดให้ผุ้ปกครองเชื่อและยึดถือ
           ผุ้ปกรองจึงสามารถอ้างอัตลักษณ์ชาติ เข้าควบคุมหรือำหนดพฤติกรรมคนในชาติซึ่งถือเป็บริวาร "ภายใต้" การปกครอง ให้ประพติปฏิลติตนตามแบแผนที่ผุ้ปกครองกำหนด เพื่อ "ความเป็นหนึ่งเดียว" หรือ "ความมั่นคง" ของชาติ(อันหมายถึงกลุ่มผู้ปกครอง)
         
ปัจจุบัน ผู้คนจำนวนมากในสังคมดลก เชื่อเรื่องการยอมรับและเคารพความเสมภาคเท่าเทียม ตลอดจนความแตกต่างหลากหลายของผุ้คน มากกว่าเรื่อง "หนึ่งเดียวอันมั่นคง" หรือ "ฉันเท่านัน ดีที่สุดในโลก" หลายๆ ประเทศเช่น อังกฤษ คนส่วนมากเลิกพุดเรื่อง "อัตลักษณ์เดียว" ของชาติกันไปแล้ว ซึ้ยังเสนอเรื่องอัตลักษณ์นอกกรอบคิดเดิมที่เกาะเกี่ยวอยู่แต่กับเรื่องวศาสนา ความเชื่อ พิธีกรรม การแต่งกาย ศิลปะการแสดง เสื้อผ้า อาหารฯลฯ ไปเป็นเรื่องบทบาทการเชิดชูเสรีภาพ ประชาธิปไตย และศักดิ์สรีมนุษย์ ของผู้คนในประเทศ เป็นต้น
           https://www.matichon.co.th/news/524462
ส่วนคนไทยจำนวนหนึ่ง ยัวอยากเชื่อว่าไทยมีอัตลักษณ์ "แช่แข็ง" สืบทอดจากอดีตอันรุ่งเรืองและยิ่งใหญ่กว่าใครๆ ไม่เคยเปลี่ยนแปลง เชน มีความเป็นพุทธแท้ มีอาหารไทยแท้ มีชุดไทยแท้ มีบ้านเรือนแบไทยแท้ และมียิ้มสยามแท้ซึ่งงดงามที่สุดในโลก รวมถึงเชื่อว่าอัตลักษณ์แช่แข็งคือความมั่นคง ใครตั้งคำถามเกี่ยวกับอัตลักาณ์แช่แข็งจึงอาจถูกชีหน้าว่าเลว ไม่รักชาติ ไม่ยินดีทำความเข้าใจว่า อัตลักาณืของแต่ละสังคมมีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่นเดียวกับชีวิตผุ้คน ดังนั้น อัตลักาณ์ไทยปัจจุบันย่อมไม่เหมือนอัตลักษณ์อยุธยาเมื่อหลายร้อยปีกอ่น อีกทั้งไม่เหมือนอัตลักษณ์รัตนโกสินทนยุครัชกาลที่ 1
         

วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

Malaysia and Identification

           ความพยายามของมาเลเซียในกสรสร้างอัตลักษณ์ของชาติผ่านระบบการศึกษา
           มาเลเซียนมีความพยายามอย่างย่ิงที่จะปับแนวทางการศึกษาของประเทศให้มีความสอดคล้องกับความแตกต่างหลากหลายทางเชื้อชาติ สังคมและวัฒนธรรมซึ่งเป้นหัวใจหลักที่ีความสำคัญต่อการปยุ่รดของความเป้ฯประเทศมาเลเซียโดยเฉพาะอย่งยิ่งการนำเาอแนวคิดศาสนาอิสลาม มาปรับใช้ตั้งแต่ปี 1979 รวมทั้งการวงหลักสูตรภาษาต่างผระเทศที่สะท้อนความหลกหลายของความเป้ฯมาเลเซีย เพื่ตอกย้ำความเป้นอันหนึ่งอันเดียวกันของประเทศได้กลายนาเป็นปรคัชญาทางการศึกษาที่สำคัญมาจนถึงปัจจุบัน
            แรงผลักดันที่สำคัญ นอกเหนือไปจากความเป็นพหุสังคมของมาเเซียนแล้ว ปัจจัยด้เานการเป็นประเทศมุสลิม รวมถึงการเปลี่ยนสแปลทืางการเมืองภายในและภายนอกประเทศก็ล้วนแล้วแตผลักดันห้มาเลเซียต้องพยายามแสวงหาเครื่องมือหรือกลไกในการผลัดันความเป้นเอกภาพผ่านหลักสูตรทางการศึกษาของชาติ
           ดังนั้น ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายซึ่งได้จากบทเรียนของความสำเร็จของมาเลเซีย ซึ่งสามารถปรับใช้กับประเทสไทยรวมทั้งสามจังหวัดชายแดน มีดังนี ้ คือ 1) วางปรัชญาทางการศึกษาของชาติให้มีความชัดเจน 2)ดำเนินการอย่างเป้นรูปธรรมในนโยบายปฏิรูปการศึกษาที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน 3) สร้างความสมดุลระหว่งความรู้างวิชากรสมัยใหม่กับค่านิยมและจริยธรรม และ 4) การพัฒนาบุคลากรผุ้สอนวิธีการสอนและสื่อการเรียนการสอนสมัยใหม่
          มาเลเซียเป็นประเทศที่มีลักษณะเฉพาะ เนื่องจากความแตกต่างด้านชาติพันธ์ุ เชื้อชาติและวัฒนธรรมภายในประเทศ ทำให้มาเเว๊ยพยายามหาแนวทางในการสร้างเบ้าหลอมของความแตกต่างให้อยู่ภายใต้ความเป้นชาติที่มีอุดมกาณณ์เดียวกันคือความเป็นมาเเซียน ไม่ว่าจะมีควารมแตกต่างกันด้วยสาเหตุใดก็ตาม แร่การที่มาเลเซียนมีคนส่วนใหย่ที่เป้ฯชาวมลายู และนับถือศาสนาอิสลาม ทำให้การสร้างเบ้าหลอมทางการศึกษาได้เน้นไปสู่แนวทางของศาสนาอิสลามเพ่ิมขึ้ ดดยเฉพาะอย่างยิงในช่วงหลังปี 1979 ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากากรเปลี่ยนแปลงทางการเมืองระหว่างประเทศและการเมืองภายในประเทศ
         
ภาษาอังกฤษนอกจากจะเป้นกลไกสำคัญในการยกระดับการเรียนรุ้ภาษาต่างปะเทศของนักเรียนชาวมาเลเซียแล้ว ยังถุกใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างอัตลักาณ์ของชาวมาเลเซียผ่านหลักสุตรการศึกษาของชาติและการสร้างรูปะรรมในนโยบายปฏรูปการศึกาาที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน..
           วิธีการสร้างอัตลักาณ์ผ่านระบบการศึกษาของมาเลเซีย
            การปรับใช้แนวคิดทางศาสนาในระบบการศึกาา อ่กนปี 1979 มาเลเซียจัดการศึกษาแบบสองระบบ คือการศึกษาแบบศาสนาและการศึกษาปบบปกติที่แยกจากกัน ซึ่งเป้นผลจากอิทธิพลของการวางระบบการศึกษาของประเทศอังกฤษในช่วงอาณานิคม อย่างไรก็ตามจุดเปลียนทางการศึกาาของมาเลเซียเกิดขึ้นเมือมาเลเซีนได้รับเอาข้อชเสนอแนะกระบวนการทำให้เป็นอิสลามหรืออสลามานุวัติ ด้านการศึกาา จากการประชุมโลกมุสลิมเมื่อปี 1977 รัฐบาลในขณะนั้นได้มีการทบทวนนโยบายการศึกาาและนำมาสู่การปฏิรูประบบการศึกษาเมือปี 1979 และการปรับเปลี่ยนหลักสูตรการศึกษาเมือปี 1983 ดังนั้นโรงเรียนทุกระดับจึงเน้นรูปแบบการศึกาาแบบบูรณาการบนพื้นฐานความศรัทธาและระบบค่านิยมที่มีลักาณะครอบคลุมและเป็นองค์รวม ว฿่งเป้นการเน้นการสร้างปัเจกบุคคลที่มีความสมดุลและเอกภาพทั้งทางด้านสติปัญญา จิตวัญญาณ อารมณ์ และร่างกาย มีความเชื่อที่มั่นคงและนอบน้อมต่อพระผุ้เป็นเจ้า ปรัชญาทางการศึกษาแห่งชาติและหลักสูตรบูรณาการสำหรับโรงเรียนมัะยมศึกษาที่ปฎิรูปขึ้นมใหม่นี้เปิดช่องทางทีเท้อต่อการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยใช้อิสลามมานุวัตร
            การนำเอาแนว่าวประยุกต์เข้ากับระบบการศึกษาของมาเลเซียได้ดำเนินการต่อเนื่อมาจนถึงปัจจุบันและกลายเป็นแนวทางต่อการศึกษาทุกระดับของมาเลเซีย โดยเฉพาะเป้าหมายการพัฒนาประเทศไปสู่สังคมที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างยั่งยืนต้องสร้งความสมดุลระหว่งความเชื่อและความศรัทะาทางศาสนาเข้ากับองค์ความรู้สมัยใหม่ จากการวิจัยพบว่าโรงเรียนของมาเลเซีนไ้ผสมผสานแนวคิดทงศาสนาอิสลามเข้าสู่กระบวนการวางแผนและการเรียมการสอน การำนเข้าสุ่บทเรียน กิจกรรมการจัดการเรียนการสอน การปฏิสัมพันะ์ระหว่างครุกับนักเรียนการสรุปบทเรียน การใช้สื่อการเรียนรู้ ขณะที่ข้อจำกัดที่เกิดขึ้นของการประยุกต์ใช้คือผุ้สอนขาดความรู้ทางศษสนาอย่างึกซคึ้งทำให้อาจเกิดการตีควาที่ไมตรงกับหลักศาสนาที่ถูกต้องได้
           การปรับใชภาษาต่างประเทศนระบบการศึกษา หลักสุตรกภาษอังกฤษของมเเลซีย วางอยุ่บนหลักพื้นฐานของปรัชญาการศึกาาที่เน้นคึวามเป็นชาติ และหบักสูตรแห่งชาติ ในฐานะกลไกหนึ่งของระบบการศึกาาภาคบังคับ หลักสุตรภาษาอังกฤษได้รับการออกแบบภายใต้กรอบแนวคิดของปรัชญาการสึกาาแห่งชาติ อันได้แก่ความมีเอกภาพแห่งชาติ กาศึกษาตลอดชีพ และการพัฒนาปัจเจกชนแบบองค์รวมและบูรณาการซึ่งเป็นอุดมการณ์ที่เกิดจากวัฒนธรรมทงสังคม เสณาฐฏิจ แารเมืองการปกครอง และจากความต้องการของประเทศมาเลเซียในยุคโลกาภิวัตน์ ด้วยเหตุนี้หลักสูตรภาษาอังกฤษของมาเเซียจึงแสดงออกถึงความเป้นชาตอและลักษระทีแกต่างหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรม
            มาเลเซียพยายามปรับหลักสุตรภาษาอังกฤษให้สะท้อผ่านทุกส่ิงทีสะท้อนความเป้นชาติมาเเซีย เช่นลักระดฑาะทางภูมิศาสตร์ วิถีชีิวิตใน้องถ่ิน วิทยาศาสตร์เทพโนโลยี ขณะเดียวกันก็เชื่อมเข้ากับระบบการเรียรุ้แบบสากลที่เน้นผุ้เรียนเป็นสูรย์กลา และเชื่อมเข้ากับการเรียนรู้รอบตัว ซึ่งเป็นฤษฎีการเรียรู้แบบพหุปัญญาที่รัฐบาลมาเลเซียให้ความสำคัญ
            ภาษาอังกฤษได้ถูกผนวกเข้ากับทัการะทงสารสนเทศ มีกิจกรรมการเรียนรุ้สมัยใหม่ที่เรยกว่าการวิจัยเพ่อการวางแผนอนาคตดดยใช้ชุมชนของนักรเียนเป้นแหล่งเรียนรู้ปัญหาและต้นเหตุของปัญหาผ่านการจัดทำโครงงานภาษาอังกฤษ นอกจากนี้หลักสุตรภาษาอังกฤษยังถูกปรับให้เขากับ้องถ่ินแต่ละแห่งที่มีความแตกต่างหลากหลายด้านสังคมและวัฒนธรรม เช่น กรใช้ภาษาอังกฤษในลักษระพิเศษด้วยกาปสมปสานคำที่มีนัยเชิงวัฒนธรรในภาษาแม่และภาาาอังกฤจากงานวิจัยพบว่าแม้หลักสูตรดังกล่วจะมีแนวคิดที่ดีแต่ด้วยปัจจัยหลายด้าน เชน สภาพพื้นี่เมืองและชนบท ผุ้สอนสื่อการเรียนการสอน ทรัพยากร และวัฒนธรรมการเรียนรู้ ก็อาจำให้เกิดอุปสรรคได้
         
- ปัจจัยสำคัญในการสร้างอัตลักษณ์ผ่านระบบการศึกษา
            ความเป็นพหุสังคมในมาเลเซีย ความแตกต่างด้านชาติพันธ์ุ ศาสนาและวัฒนธรรมในมาเลเซียถือว่าเป็นประเด็นที่มีความสำคัีญมากที่สุดของมาเลเซีย เนื่องจากการก่อัวของความเป็นชาติมาเลเซียมิได้เกิดขึ้นด้วยชาวมลายูแต่เพียงอย่างเดียวชาติพันธุ์จีงนและอินเดียต่างก็เป็นอีกสองเชื้อชาติที่มีความสำคัญทางการเมืองและเศราฐกิจของมาเลเซีย ไม่ด้อยไปกว่าชาวมลายูที่เป็นเจ้าของประเทศ ด้วยเหตุนี้ัฐบาลมาเลเซียจึงดำเนินนโยบายด้านความเป้นอันหนึ่งอันเดี่ยวกันของความเป้นชาติอย่างระมัดระวังทั้งนี้เนื่องกจามาเลเซียเคยมีบทเรียนความขัดแย้งด้านเชื้อชาติอย่างรุนแรงเมื่อปี 1969 เนื่องจากรัฐบาลมาเลเซียมองว่าความมั่นคงของประเทศขึ้นอยู่กับความกลมกลืนระหว่างเชื้อชาติมลายู อินเดียและจีนดังนั้น นัฐบาลจึงไห้ความสำคัญกับการสร้างรัฐที่สะท้อนความแตกต่างหลฃากหลายในสังคมผ่านระบบการศึกษาของชาติ ซึ่งถือเป็นเบ้าหลอมสำคัญที่จะทำให้เกิดอุดมการณ์ของคนในชาติแบบเดียวกัน ดดยมองข้ามความแตกต่างทางเชื้อชาติและัศาสนา
          - ความเป็นประเทศที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาอิสลาม มาเลเซียเป้นประเทศที่มีชาวมลายูมากที่สดเมื่อเปรียบเที่ยบกับเชื้อชาติอื่นใปรเทศดังนั้นศาสนาหลักของประเทศจึงเป้นศาสนาอิสลาม แม้มาเลเซียจะเป้ประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยโดยมีนายกรัฐมนตรและสุลตานในฐานะประมุขแห่งรัฐ และแยกศาสนาอิสลามออกจากการเมืองอย่างชัดเจน(ซึ่งเป็นผลจาการวางระบบการปกครองของอังกฤษ) แต่มาเลเซียก็ไม่ได้ละท้องหลักการของศาสนาอิสลามที่ได้ผนวกหลักทางศาสนาเข้ากับบริบทของชีงิตประจำวันของชามุสลิม ซึ่งตามหลักการหลักาสนาก้คือบทบัญญัติของชีวิตที่ชาวมุสลิมจะต้องปฏิบัติตามโดยเฉาพอย่างยิ่งการเคารพนอบน้อมต่อพระเจ้า การมีจริยธรรมแบะศับธรรมอันดี
           สิ่งที่น่าสนใจคือ รัฐบาลมาเลเซียได้นำแนวคิดทางศาสนาปรับเข้ากับหลักสูตรการศึกษาแบบตะวันตกเพื่อหวังว่าจะสร้างความสมดุลระหว่างเทคโนโลยีและองค์ความรู้สมัยใหม่เข้กับหลักคำสอนศาสนาอิสลามและได้ประกาศแนวทางดังกล่าวเป้นปรัชญาการศึกษาของประเทศเมื่อปี 1979 ในกรณีดังกล่าวมาเลเซียถือว่าประสบความสำเร็จในการนำแนวทางศาสนาของศาศนามาใช้ควบคู่กีบระบบการศึกษาของชาติ โดยไม่ได้กระทบกลุ่มเชื้อชาติอื่นที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม นอกจากนียังแสดงให้เห็นว่ามาเลเซียเป้นประเทศมุสลิมสายกลาง ี่มไ่ปฏิเสธความเป็นสมัยใหม่
          - การเมืองภายในและภายนอกมาเลเซีย ปัจจัยด้านการเมืองทั้งภายในและภายนอกเป็นส่วนสำคัญที่ผลักดันให้มาเลเซียต้องหาเครื่องมือในการสร้างอัตลักาณ์ความเป็นชาติผ่านหลักสูตรการศึกษาไม่แพ้กับปัจจัยอื่นๆ ขช้าต้น ปัจจัยด้านการเมืองภายในที่สำคัญคือการแข่งขนและช่วงชิงอำนาจระหว่างพรรคอัมโน และพรรค PAS พรรคอัมโมเป้ฯพรรคแนวร่วมเชื้อชาติต่างๆ ในมาเลเซียซึ่งผุกขาดการปกครองมานับแต่ได้รัีบเอกราชจากอังกฤษเมื่อปี 1957 อย่างไรก็ตาม ในภายหลังกระแสความนิยมในพรรค PAS ซึ่งมีฐานทีมั่นอยู่ทางตอนเหนือของประเทส เช่น กลันตัน ตรังกานู เปอร์ลิสและสลังงอ ได้เพ่ิมมากขึ้น โดยรรค PAS เป็นพรรคที่ยึดแนวทางด้านศาสนาอสลามเป็ฯหลักในการปกครองและมีอิทธิพลในรัฐทางตอนหเนือประเทศมาเลเซีย
       
ด้วยหตุที่พรรค่ PAS ได้ัอิทธิพลมากขึ้นจากการเน้นแนวทางอิสลาม ทำให้รัีฐบาลมาเลเซียที่มาจากพรรคอัมโม ต้องแข่งขันเลิงนโยลายเพื่อแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลให้ความสนใจกับการนำเอาหลักศาสนาอิสลามมาปรับช้กับชีวิตความเป็นอยู่ทั่วไป ทำให้แนวทางเชิงนโยลายสะท้อนผ่านค่านิยมและความเชื่อทางศาสนาไปโดยปริยาย
          นอกจากการเมืองภายในแล้ว กระแสการเมืองระหว่างประเทศก็มีผลต่อการใช้แนวทางอิสลามในการจัดการเรียนการสอนเช่นเดียวกัน กล่าวคือเมื่อปี 1979 อิหร่านสามารถโค่นล้มอำนาจกษัตรยิ์และเปียยนประเทศเป็นรัฐอิสลามสำเร็จ ทำใหเกิดกระแสความนิยมและเลียนแบบการปฏิวัติในอิหร่าน เกิดกระบวนการทำให้เป็นปิสลามพร่กระจายไปทีั่วภูมิภาคต่างๆ ดดยเฉาพประเทศที่มีชาวมุสลิมอาศัยอยู่ประกอบกับการยึดครองอัฟานิสถานของสหภาพโซเวียนในปีเดี่ยวกันทำหใ้เกิดความรู้ึกร่วมของชาวมุสลิมที่รู้นึกว่าถูกเอาเปรียบจามหาอำรสจจนมาสู่การประกาศสงครามทางศาสนา และเหกิดนักรบชาวมุสลิมจากประเทศต่างๆ ที่ไปร่วมรบในสมรภุมิิัฟกานิสถาน ด้วยการะแสการเมืองระหว่างประเทศดังกล่าวรัฐบาลมาเลเซียจึงได้ปรัีบเปลี่ยนปรัชญาการศึกาาและหลักศุตรการศึกษาของชาติให้สอดคล้องกับหลักการศาสนาอสลามเมือปี 1979 เป็นต้นมาhttp://prp.trf.or.th/trf-policy-brief/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%83/

วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ASEAN Committee on Culture and Information : ASEAN-COCI

            นับเป็นเวลาเกือบ 40 ปี ที่ประเทศไทยมีควาร่วมมือทางด้านวัฒนธรรมกับประเทศต่างๆ ใอาเซียนผ่านกลไกความร่วมมือของคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศ โดยมีผลงานที่สำคัญในการเผยแพร่เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจให้กับบุคคลทั่วไปเกี่ยวกับวัฒธรรมของอาเซียน ได้แก่การรวบรวมและจัดทำหนังสือเพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ด้ารวัฒนธรรมที่ได้มีการค้นคว้าและรวบรวมเอาไว้ ซึ่งครอบคลุมมิติต่าง ๆทางวัฒนธรรม ได้แก่ วรรณกรรม อาเซียนศึกษา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปะร่วมสมัย มรดกทางวัฒนธรรม ฯลฯ ดังนี้
          1 งานด้านวรรณกรรม เป็นการรวบรวมวรรณกรรมประเทสต่างๆ ทั้งงานวรรณกรรมพื้นบ้าน วรรณกรรมศษสนา วรรณกรรมการเมือง งานด้านประวัติศาสตร์ ซึ่งแสดงให้เห็นวิถีชีวิตในแต่ละยุคสมัย ของผุ้คนในที่ต่างๆ ที่มีควมหลากหลายทางวัฒนธรรม ตลอดจนเห้นถึงพัฒนากรของงานวรรณกรรมในอาเซียน
           2 งานอาเซียน เป็ฯการรวบรวมเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ด้านการจัดการทางวัฒนธรรมของประเทศในอาเวียนโดยเฉพาะงานด้านพิพุิธภัณฑ์ ตลอดจนงานึกาาเกี่ยวกับสื่อในอาเซียนทั้งในแง่ของประเภท รูปแบบ ตลอดจนการวิเคราะห์ถึงความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมวัฒนธรรมในอาเวียน นอกจากนี้ ยังรอบรวมงานศึกาาบางส่วนเกี่ยวกับพัฒนากาและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในอาเซียน
       
3 งานด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี เป้นงานเกี่ยวกับการนำเสอนประวัติศาสตร์ของประเทศในอาเว๊ยน ตอลดจนพัฒนาการที่สำคัญของอารยธรรมต่าง ๆผ่านทางรูปแบบสถาบปัตยกรรมโบราณ การรวมรวมประวัติศาสรตืของพัฒนาการของอาเวีนผ่านคำบอกเล่าจากบุคคลสำคัญจากประเทศต่างๆ ที่มีบทบาทสำคัญในการทำงานและกำหนดนโยบายของอาเว๊ยน นอกจากนี้ ยังมีการศึกาาและแลกเปียนประสบการ์ด้านงานโบราณคดีทั้งงานด้านอนุรักษณ์และงานฟื้นฟู
          4 งานด้านศิลปะร่วมสมัย เป้ฯการรวบรวมศิลปะสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นในอาเว๊ยน ซึ่งเป้นผลจากกาต่อยอดพื้นฐานมรดกทางวัฒนธรรมเดิมที่มีอยู่ ร่วมกับการับและประยุต์ใช้วัฒนธรรมจากภายนอก กลายเป็นรูปแบบศิลปะร่วมสมัยของอาเซียนในปัจจุบัน ได้แก่ การรวบรวมบทละครที่สำคัญของประเทสต่างๆ มหรสพและการละคร ตลอดจรงานด้านภาพยนตร์
          5 งานด้านมรดกวัฒนธรรม เป้นงานรวบรวมและศึกษาวัฒนธรรมดังเดิมของประเทศในอาเซียน อาทิ ดรจรี ศิลปะและหัตภกรรม การละเล่นพื้นเมือง อาหาร และเทศกาลประเพณีต่างๆ ตลอดจนศึกาาถึงลักษณะนิสัยของผุ้คนในอาเซียนที่มีร่วมกัน เช่น ลักษณะของอัธยาศัยไม่ตรี เป้นต้น
          นับเป็นความสำเร็จ ของ ASEAN-COCI ที่ได้ดำเนินกิจกรรมมากว่า 35 ปี และสามารถสั่งสมองค์ความรู่ซึ่งตรอบคลุมสาขาและความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในอาเวียน อย่างไรก็ดี การรวบรวมองค์ความรู้ดังกล่าวส่วนใหย่ครอบคลุมเฉพาะกลุ่มประเทศในระยะเริ่มก่อตั้งอาเซียน ได้แก่ อินโดนีเซีน มาลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย รวมถึงบรูไนดารุสซาลาม ในขณะที่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน ได้แก่ กัมพุชา ลาว พม่า และเวียดนาม จะีการรวบรวมข้อมุลทางวัฒนธรรมได้น้อยกว่า กลุ่มแรก ซึ่งประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในแถบภาคพื้นทวีป และเป็นกลุ่มประเทศที่มีความคล้ายคลึงกันทางวัฒนธรรม และมีควมแกต่างจากกลุ่มประเทศในแถบภาคพื้นสมุทร
          ดังนั้น แม้องค์ความรู้ที่มีจะคอบคลุมหัวข้อทางวัฒนธรรมที่สำัย หากแต่ยังำม่สามารถให้ภาพรวมทั้งหมดของวัฒนธรรมทีเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมอาเซียนได้ การทำงานในระยะต่อไปเกี่ยวกับเรื่องของการรวบรวมองค์ความรู้นั้นจึงควรที่จะให้ความสำคัญกับการสนับสนุนให้ประเทศในแถบภาคพื้นทวีปเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น เพื่อพัฒนาองค์ความรุ้ทีมีอยุ่ในสามารถเป้นจัวแทนภาพของอาเซียนอย่างแท้จริง และเป็นฐานที่แข็งแกร่งสู่การสร้างอัตลักษณ์อาเซีญนในอนาคต
       
นอกจากการพัฒนาด้านองค์ความรุ้แล้ว การทำงานในระยะต่ไปควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้เหล่านี้ เพื่อตอบโจทย์ยุทธศสตร์ของการเข้าสูประชาคมสังคมวัฒนธรรมอาเซียน โดยเฉพาะในแผนงานสร้างอัตลักาณ์อาเซียน ซึ่งเป็นภารกิจทีสำคัญของกระทรงวัฒนธรรม ดังนี้
          - การส่งเาริมการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียนและความรุ้สึกของการเป็นประชาคม การต่อยอองค์ความรู้ที่มีโดยการประชสัมพันธ์และจัดการถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านี้ต่อประชาชนดดยทั่วไป เพื่อทำให้เกิดความรับรุ้และความเข้าใจที่ถุกต้องของประชาชนเกี่ยวักบวัฒนธรรมของประเทศอื่นๆ ในอาเซียนความรับรู้และความเข้าใจดังลกาวจะเป้นขั้นอนที่สำคัญของการยอมรับและเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่มีอยุ่ ซึ่งเป้นความจริงที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ของอาเซียน และเป็นก้าวแรกสู่การอยูร่วมในประชาคมและสร้างความรู้สึกของการเป็นประชาคมร่วมกันในอนาคต
          - การอนุรักษณ์และส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรรมของอาเซียน การรวบรวมองค์ความรู้ที่ผ่านมาถือเป็นงานสำคัญของการอนุรักษณ์มรดกทางวัฒนะรรม ซึ่งถือว่าเป็นงานที่ ASEAN-COCI ได้ให้การสนับสนุนมากที่สุดอย่างไรก็ดี ที่ผ่านมาการทำงานยังอยู่ในขั้นของการรวบรวมข้อมูลทางวัฒนธรรมที่มีอยู่เท่านั้น การทำงานในระยะยถัดไปจึงควรให้ความสำคัญกับการศึกษาถึงระบบวิธีคิดและแบบแผนทางวัฒนธรรในอดีต ตลอดจนความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพื่อทำความเข้าใจกับพลวัตรของวัฒนธรรมอาเซียน เพื่อเป็นประโยชน์ในการกำหนดทิศทางและนโยบายทางวัฒนธรรมในแง่ของการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมดั้งเดิมเพื่อให้ดำรงอยู่ได้ท่ามกลางการเปลียนแปลง         - ส่งเสริมการส้างสรรค์ดานวัฒนธรรมและอุตสาหกรรม ข้อมูลทางวัฒนธรรมทีได้รวบรวมไว้วามารถเป็นพื้นฐานสำคัญในการต่อยอดธุรกิจเชิงวฒนธรรม ทั้งในแง่ของการสร้างสรรค์สินค้าทางวัฒนธรรมหรือการสร้างแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมใหม่ๆ เป็นต้น อย่างไรก็ดี การจะสามารถนำองค์ความรู้ที่มีไปสู่ผลในทางปฏิบัติได้นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการสร้างเครือข่ายภาคีจากภาคธุรกิจเอกชนและภาคประชสังคม ในฐานะผุ้ดำเนินการและร่วมรับผลประโยชน์ที่แ้จริงของการดำเนินงาน ดังนั้น การดำเนินการในระยะต่อไป จึงควรเน้นที่การสร้างเครือข่ายภาคีทางวัฒนธรรมที่ไม่จำกัดเฉพาะในหนวงานภาครัฐเท่าัน หากแต่ควรขยายขอบเขตไปสู่ภาคธุรกิจเอกชนและภาคประชาสังคมด้วย...

               
                     บางส่วนจาก..รายงานการศึกษาส่วนบุคคล เรื่อง "แยผยุทธศาสตร์กระทรวงวัฒนธรรมในการเตียมความพร้อสู่ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน" จัดทำโดย นางสาวดารุณี ธรรมโพธิ์ดล, หลักสูตรนักบริหารกาทูต สภาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กรทรงการต่างประเทศ, 2556.

              การสร้างอัตลักษณ์อาเซียนเป็นหนึ่งใน 6 วัตถุประสงค์หลักในการดำเนินการตามกรอบประชาคมอาเซียนด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน นอกเหนือจากการพัมนาทรัพยากรมนุษย์ การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม ความยุติะรรมและสิทธิ การส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและการลดข่องว่างทางการพัฒนา ทั้งนี้ การติดตามผลความก้าวหน้าการดำเนินการสามารถศึกษาได้จากรายงาน ซึ่งได้มีการวัดผลความก้าวหน้าตามแผยงานประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 2016-2025 ผ่านการประเมินผลดัชนีชี้วัดเชิงปริมาณและเชงคุณภาพถภึง 208 ตัวชี้วัด
             
การสร้างอัตลักษณ์อาเซียนนั้นมุ่งเน้นในเรื่องของการส่งเสริมการตะหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนและความรุ้สึกของการเป็นประชาคมอาเซียนการปนุรักษ์และส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรม การส่งเสริมการสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรมและอุตสาหกรรม และการมีส่วนเกี่ยวข้องกับชุมชน ของประเทศในกลุ่มอาเวียน ซึงผลรายงานล่าสุดพบว่า ค่อนข้างประสบความสำเร็จเป้อย่างมากโดยเแฑาะอย่างยิ่งในปะเด้นการส่งเสริมการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเวียนและความรู้สึกของการป็นประชาคม
              ผลจากการสำรวจทัศนคติในช่วงปี 2014 โดยความร่วมมือ อินสติทิวส์ ออฟ เซอท์อีสท์ เอเซย สตัดดี้ อิน คอลลอโบเรชั่น และ อาเซียน ฟันด์เดชั่น สำรวจจากกระหนักรู้และทัศนคติของเยาวชนต่ออาเซียน ดดยสำรวจจากนักศึกษาระดับปริญญาตรีใน 10 ชาติอาเซียน จำนวน 4,623 คน เพื่อวัดทัศนคติและความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียน พบว่ เยาชนส่วนใหย่มีทัศนคติในทงบวกต่อการรวมกลุ่ม โดยมากกว่า ร้อยละ 80 เห็นด้วยกับประโยคที่ว่า "ไอ ฟิล ไอ แอม อ ซิติเซ็น ออก อาเซียน" ซึ่งสะท้อนถึงความตระหนักรู้และทัศนคติที่ดีมากต่ออาเวียนของเยาวชนในภูมิภาคซึ่งผลการสำรวจนี้ก็สอดคล้องกับการสำรวจ ซึ่งเน้นสำรวจทัศนคติการตะหนักรู้ของภาคธุรกิจ หน่วยงานราชการ และสาธารณชน ในประเด็นการริ่เร่ิมสรค้างความรุ้สึกการเป็นปรชาคมอเซียนวึ่งผลการสำรวจพบว่าร้อยละ 81 มีความคุ้นเคยกับเชื่ออาเซียนและมีทัศนคติว่า การรวมกลุ่มนันจะส่งผลกระทบทางบวกต่อชาติอาเวียน
              ความสำเร็จที่น่ากล่าวถึงอีกประเด็นหนึงคื อการอนุรักษรืและส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมของอาเซียน โดยพบวา ปัจจุบันอาเว๊ยมีแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่ได้รับการขึ้นทะเพบียนกับองค์การการศึกาา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ  (ยูเนสโก) มากกว่า 20 ปแห่ง ซึ่งภายในอาเวียนเองมีความหลากหลาย มีความเป้นเอกลักษณ์สะท้อนวัฒนธรรมของเาซียน ยกตัวอย่างเช่น เมื่องพระนคร (อังกอร์) ในกัมพูชา หลวงพระบางในลาว หมู่โบราณสภานเมืองเว้ว้ในเวียดนาม เป็นต้น
              นอกจากนั้นแล้ว ในส่วนภาพรวมผลสำเร็จการดำเนินงานความร่วมมือด้านวัฒธรรม และสนเทศอาเซียนพิจารณาจากผลงานของคณะกรรมการอาเวียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเท รหือ ASEAN-COCI ก็มีความเป็นรูปธรรมและหลากหลาย ยกตัวอย่งเช่น หนังสือเด็ก ผลงานวิชาการเอกสารสิ่งพิมพ์ เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมของอาเวียนนิทรรศการจิตรกรรมร่วมสมัยซึ่งจัดแสดงในประเทศต่างๆ นอกอาเวียน และปฏิญญาญาอาเซียน่ว่าด้วยมรดกวัฒนธรรม เพื่อนุรักษรืและพัฒนามรดกวัฒนะรรมของประเทศสมาชิก เป็นต้น...
            ที่มา http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=6677&filename=index

วันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

Cultural Production

            (กาจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน) ได้อธิบายแนวคิดเรื่องการปลิตทางวัตถุองมาร์กเพ่ิมเติมว่าไ่เพียงแต่วัตถุท่านั้นที่ต้องมีการผลิต แม้แต่วัฒนธรรม อุดมการ์จิตสำนึกก็ต้องผ่านกระบวนการผลตเช่นเดียวกัน โดยวัฒนธรรมแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ วัมนธรรมที่มีชีวิตอยู่ หมายถึงวัฒนธรรมทุกอย่งอยู่ในช่วงเวลาหนึง สถานที่หนึ่งและเฉพาะคนที่มีชีวิตอยุ่ใยช่วงเวลานั้นเท่านั้นที่จะเข้าถึงและสัมผัสวัฒนธรรมดังกล่าวได้ และ วัฒนธรรมที่ได้รับการบันทถกไว้ หมายถคง บางส่วนของวัฒนธรรมที่ีชีวิตอยุ่และได้รับการบันทุกหรือผลิตซ้ำเพื่อสืบทอดต่อมา หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วัฒนะรรมแห่งยุคสมัย" ซึ่งถื่อเป็นส่วนหนึ่งขง "ประเพณีในการเลือกสรร" เนื่องจากว่าในชีวิตประจำวันอขงคนเรามีวัฒนธรรมทีถูกสร้างขึ้นใหม๋ตลอดเวลา แต่ประเพณีในการเลือกสรรจะทำหน้าที่คัดเลือกให้วัฒนะรรมบางอย่างถุกผลิตซำ้ให้มีชีวิตยืนยาวต่อไปและทุกครั้งที่มีประเพณีในการเลือกสรรเกิดขึ้น จะมีการตีความหมายให้กับวัฒนะรรมที่จะถุกบันทึกไว้เสมอ ทั้งนี้สถาบันหรือบุคคลที่มีอำนาจจะเป้ฯผุ้ชี้ขาดความยืนยงของวัฒนธรรมและแต่ละกลุ่ม
             จากการนำเสอนความมหายของการผลิตซื้ำทางวัฒนธรรมดามแนวคิดของนักวิชาการดังกลร่าวข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า การผลิตซ้ำทางวัฒนธรรม หมายยถึงการปกป้อง ดำรงรัษาหรือเพ่ิมพุนวัฒนธรรมที่มีการผิตขึ้นในกลุ่มสังคม เมื่อเกิดการผลิตและสร้างควมมหายทางวัฒนธรรมใหม่ขึ้นม สาชิกจะทำการคัดลือกความคิด ความเชื่อ ค่านิยมหรือการปฎิบัติที่เหมาะสมและทำการผลิตซ้ำด้วยวิะีการต่างๆ จนเกิดการยอมรับเป็นบรรทัดฐานเพื่อการอยุ่ร่วมกันแสดงถึงความเป้ฯหนึ่งเดี่ยวของกลุ่ม สร้างคามแกต่างระหว่างกลุ่ม วัฒนธรรมใดที่มีการผลติขึ้นแล้วไม่ได้รับการอมรับ วัฒนธรรมนั้นก็จะตายไปในที่สุด ทั้งนี้ สถาบันยหนอบุคคลที่มีอำนาจจะเป็นผุ้ชี้ขาดความยืนยงของวัฒนธรรมและแต่ละกลุ่มสังคมก็จะมีแนวทางปฏิบัติด้านวัฒนธรรมแตกต่างกัน
             การผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมเป็นความสัมพันะขององค์ประกอบการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมทั้งในระดับที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม ประกอบไปด้วยผู้ผลิตวัฒนธรรม เนื้อหาสาระ สถานที่สื่อที่ใช้ในการนืบทอดและผุ้มีส่วนเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม การผลิตซ้ำทางวัฒธรรมจึงเกิดการสื่อสารขึ้นเพื่อสืบทอดหรอืขยายผุ้เผยแพร่วัฒนธรรมเพ่ิมช่องทางในการสื่อสารทางวัมนธรรมและเพิ่มสมาชิกใหม่ในองค์การ การผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมจะมีความหมายสมบูรณืก็ต่อเมื่อเป็นการผลิตซ้ำที่มีรหัส ความหมายหรือความเชื่อบางประการแผงอยู่เบื้องหลัง ดังนั้น กาญจนรา แก้วเทพ และสมสุขหินวิมา จึงเสนอแนวทางการศึกษากระบวนการผลิตและผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมซึ่งมีองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ การผลิต การเผยแพร่ การบริโภคและการผลิตซ้ำ ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการศึกษาวัมนธรรมองค์การ โดยพิจารณาว่าวัฒนธรรมในองค์การถูกผลิตขึ้นมาได้อย่างไร ใครเป็นผู้ผลติวัฒนธรรม วัฒนธรรมดังกล่าวมีการเผยแพร่หรือสื่อสารในองค์การอย่างไร สมาชิกในกลุ่มรับรู้และข้าใจวัฒนธรรมเหล่านี้อย่างไร อีกทั้งสมาชิกในกลุ่มมีวิธีการผลิตซ้ำวัฒนธรรมองค์การอย่างไร 
            การญจนา แก้วเทพ และสมสนุข หินวิมาน จะได้ให้แนวทางในการวิเคราะห์กระบวนการผลิตและผลิตซ้ำทางวัฒนธรรม อะิบายเพ่ิมเติมถึงกระบวการผลิตและผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมทั้ง 4 ด้านดังนี้
            1. ด้านการผลติ คือการพิจารณาว่าวัฒนธรรมได้รับการผลิตและสร้างความหมายขึ้นมาได้อย่างไร ใครเป็นผู้ผลิตทางวัฒนธรรม ผุ้ผลิตสร้างสัญลักษณ์หรือสิ่งประดิษฐ์ทางวัฒนธรรมอย่างไรทั้งนี้ กริสเวิร์ล ได้อธิบายว่าการผลิตวัฒนธรรมทีความสัมพันะ์กับการเปลี่ยนแผลงสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กา เช่น ระบบการตลาด ผุ้ซื้อผู้บริโภค ผุ้ที่มีอำนาจทางการตลาด รวมทั้งโครงสร้างทางการเมือง สงคมและวัฒนธรรม ผุ้ผลิตวัฒนธรรมจะำทการตรวจสอบสภพแวดล้อมอย่งรอบคอลเพื่อที่จะผลิตวัมนธรรมให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของผุ้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อต่อสุกับคู่เข่งขัน การผลิตวัฒนธรรมจะนำไปสู่การสร้างความมาหยยองวัตถุทาง วัฒนธรรม โดยากรสร้างความหาายทางวัฒฯธรรมต้องอาศัยอความเข้าใจที่ตรงกันทั้งผุ้ผลิตเลแะผุ้รั้บด้วย
สวยดอก: การผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมหัตถศิลป์งานใบตองล้านนา
           2. ด้านการเผยแพร่ คือการพิจารณาว่าผุผลิตวัฒนะรรมดำเนินการเผยแพร่วัฒนธรรมให้เป็นที่รับรู้กันในองค์การอย่งไร โดยกล่าวถึงการเผยแพร่วัฒนธรรมว่าเกิดมาจากการที่แต่ละกลุ่มสังคพยายามที่จะผลติวัฒนธรรให้เป้นของตนเอง ดังนั้นึงทำให้ผุ้ผลิตวันธรรมและสมาชิกในกลุ่มร่วมกันสร้างความหายและวิ๔ีทางการับรู้วัถุทางวันธรรม และดำเนินการแบ่งปันความหายทางวัฒนรรมที่มีอยุ่ด้วยวิธิการต่างๆ ให้เป็นทีรัรุกันภายในหลุ่ ซึ่งอาจจะทำใ้เกิผลประดยชน์หรือเป้นอุปสรรคตอการขับเคลื่อนกลุ่มก็ได้ การเผยแพร่วัฒนธรรมเนกิจกรรมการแลกเปลี่ยนความรุ้ในระดับปัเจจกบุคคล ระดับกลุ่มย่อยและระพับกลุ่มใหญ่ของสมาชิกทั้งหมดในกลุ่ม เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มรับรุ้ความหมายทางวัฒนธรรมขององค์การ ผุ้ผลิตวัฒนะรรมจะดำเนินการกระตุ้นเตือนให้สมาชิกในกลุ่มประพฤติตามเป้าหมายเสมอ
           3.ด้านการบริโภค คือการพิจารษว่าสมาชิกในกลุ่มบริโภคหรือรับรุวัฒนธรรมที่ถุกเผยแพร่อย่งำร และความมหายของวัฒนธรรมทีสมาชิกในกลุ่มรับปรุ้มีการเปลี่ยนแปลงจากส่ิงที่ผุ้ผลิตวัฒนธรรม ได้สร้างขึ้นไว้อย่งไรบ้างทั้งนี้การับรุ้ของปัจเจกบุคคลเกี่ยวช้องกับการรับรุ้ทางสังคม ในฐานุสมาชิกของกลุ่มี่เข้าไปมีสวนร่วม ซึงเกิดข้นมาจากการเสื่อสารระหว่งบุคคลอันจะทำให้เกิดความคิดที่แตกต่างเมื่อมาร่วมอยุ่กันเป้นหมุคณะ เนื่อจากการคับรุ้ท่างสังคมที่มีมาจากความสนใจเแพาะส่วยบุคคล อารมณ์ความรุ้สึกและการทำความเข้าใจความาหยจาสัญลักษรืหรือวัตถุที่รัีบรุ้และมองเห้นความแตกต่างของระดับชนชั้นในใัีงคมและประสบการณ์ที่สะสมมาจะส่งผลให้แต่ละคนมีการับรุ้ทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน 
          4. ด้านการผลติซ้ำคือการพิจารณาว่าวัฒนธรรมถูกผลิตซ้ำต่อเนื่องเพื่อให้ดำรงอยุ่อย่างไรทั้งน การผลิตซ้ำความมีความเกี่ยข้องกับการสื่อสารทางวัฒนธรรมซึงมีผลต่อการับรุ้ความหายทางวัฒนธรรมโดยเทคโนโลี กลุ่มคนและสัคมความสัมพันะ์ต่อการสร้างและการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ของกลุ่มเพราะสมาชิกในกลุ่มมีการแลกเปลียนข้อมุลข้าวสารและความรุ้ทางวัฒนธรรมตลอดเวลาซึ่งการผลิตซำสาารถทำได้โดยากรสื่อสารผ่านตัวบุคคลหรือการใช้สื่อเทคโนโลนีด้วยวิธีต่างๆ...

               " การสืบทอดอัตลักษณ์ของคนอีสานในชุมชนตำบลสะตอน อ.สอยดาว จ.จันทบุรี" ภาคนิพนธ์  ของ สุทธิ กาบพิลา ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี, มิถุนายน 2558.
              




วันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

Define " ASEAN identity

           นิยามของอัตลักษณ์และวัฒนธรรมและความท้าทายในแผนงานการสร้างอัตลักษณ์อาเซีียน
           ความท้าทายของยุทธศาสตร์ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเวียนกิดจากคำถามสำคัญที่ว่าอาะไรคือมรดกร่วมทางวัฒนธรรมของอาเซียนและเราจะกำหนดมรดกทางวัฒนะรรมของอาเซียนจากอะไร เนื่องจากวันธรรมเป็นคำที่มีความมหายซัล้อนและมีการตีความมัีหลากหลายจึคงยกที่จะกำหนดกรอบความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่าวัฒนธรรม กรอบความเข้าใจในเชิงความหายของัฒนธรรมซึ่งไม่ได้จำกัอยยุ่เฉพาะแต่ในความ่หมายของการเป็นจารีตหรือการคัดกรองสิ่งดีงาม สิ่งที่ควรอนุรักาณ์เท่าน้นหากในปัจจุันความมหายของวัฒนธรรมยังะรรมยังขยายวงกว้างไปสู่การเป็นครรลองหรือวิถีแห่งการทำงาน และการใช้ชีวิต เช่น ครรลองการบริหารงาน วิถีการใช้ชีวิต ครรลองของการดำเนินะุรกิจและการทำงาน เป้นต้น นอกจากนี้ ยังครอบคลุมความหมายถึงสิ่งที่มองเห็นและมองไม่เห็น เช่น ระบบคุณค่าหรือค่านิยมในสังคมนั้น วัฒนะรรมจึงมีความมหาย ที่ซับซ้อนและกว้างไกลกว่าการอนุรัษณ์ ปฏิสังขรณ์ และการดุแลรักษามรดกร่วมทางวัฒนธรรมที่เป็นสิ่งปลูกสร้งหรือสิ่งที่มองเห็นเท่านั้น
       
 ดังนั้น เราจึงเห็นว่าวัฒนะรรมมีความมหายกว้างขวางครอบคลุมถึงวิถีชิีวิตของผุ้คนในสังคมทุกด้าน ตั้งแต่ขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันตามมาแต่ในอดีต วิถีการทำงาน วิถีการปฏิบัตรนและการดำรงตนในสัีงคมร่วมสมัย ทั้งส่ิงที่จับต้องได้ และสิ่งที่จับต้องไม่ได้ วัฒนธรรมยังมีการปรับเปล่ยนแยุ่ตลอดเวงาทั้งใน่ส่วนที่เป็นเนื้อหาและรูปแบบให้เหมาะสมกับยุคสมัยและบริบททมางสังคมี่เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ขึ้นอยุ่กับกลไกในการถ่ายทอดและสืบทอดวัฒนะรรมชของชุมชนหรือังคมหนึ่งๆ นอกจากนี้ กระแสดลกาภิวัตน์และเทคโนโลยีที่ทัสมัยก็เป็นอีกปัจจัยนหนึ่งที่ส่งผล่อรุปแบบของการสืบสานและสืบทอดวัฒนธรรมในปัจจุบันด้วยเช่นกัน ดังนั้น อัตลักาณืทางวัฒนะรรมจึงเป้นส่งิที่ไม่หยุดน่ิง ไม่ตายตัว แลมีการปรับเปล่ยนแบุตลอดเวลา
         ประเทศในอาเซียนมีพัฒนาการทางปรวัติศาสตร์แลลัการะทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกนซึ่งส่งผลต่อวัฒนะรรมและวิถีการดำเนินชีวิตของุ้คนในประทเศนั้นๆ เช่น ความแตกต่างระหว่างประเทสในภาคพื้น
ทวีปกับประเทศในหมู่เกาะ หรือประเทศที่นับถือศาสนาพุทธกับประเทสที่นับถือศาสนาอิสลาม เป้นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผต่อการสร้างจิตสำนึกร่วทางวัฒนธรรมของคนในสังคม ความท้าทายประการหนึ่งชองประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเวียนโดยเฉาพะงานด้านการส่งเริมอัตลักาณ์อาเซียนคงอยู่ที่กระบวนการกำนหดอัตลัการืร่วมและการสร้างจิตสำนึกร่วมทางวัฒนะรรมของอาเวียนซึ่งตั้งอยุ่บนฐานของความหลากหลายทางวัฒนะรรม จึงทำให้เกำหนดลักษระร่วม างวัฒนะรรมได้ยากซึ่งลางคร้ง อัตลักษรืบางอย่งก้มีลักษณะร่วมกันเแพาะบางประทศที่มีความคล้ายคลึงกันทงประวัติศาสตร์ หรือมีลัีกษระร่วมทางภูมิศาสตร์แต่ไม่สามรถครอบคลุมทุกประเทศในภุมิภาคอาเซียนได้จนบางร้งนำไปสู่คำถามที่ว่าอัตลักษณ์อาเซียนมีอยุ่จริงหรือไม่ เมื่อเป้นเช่นนี้แล้ว นอกเหนือไปจากการกำหนดอัตลักษณืร่วมของอาเวียนบนฐานวัฒนะรรมเดินที่มีอยูอยุ่เราอาจต้องพิจารกษถึงการกำหนดคุณค่าหรืออัตลักษณ์ใหม่สำหรับอาเซียนด้วย ซึ่งอาจเป้นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้หลีกเลี่ยงปัญหาและความมขัดแย้งกทางวัฒนธรรม
            นอกจากนี้ การกำหนดลักษณะร่วทางวัฒนะรรมที่ปรากฎในวัฒนธรรมของไทยและประเทสเพื่อบ้านอาจนไไปสู่ความขัแย้งระหว่างอัตลักาณ์ของชาติและอัตลักษณ์ของภูมิภาคและการอ้างกรรมสิทธิ์ของความเป้นเจ้าของวัฒนาะรรมที่มีความดล้ายคลงกันได้ เช่น นาฎศิลป์ (ไทย-กัมพุชา) สัมตำ (ไทย-ลาว) หรือกร๊พิพาทระหว่างมาเลเซียและอินดดนีเซยเกี่ยวกับผ้าบาติกเนื่องจากในปี พงศ. 2552 ผุเนสโกได้ประกาศให้ผ้าบาติกเป็นมรดกทางวัฒนะรรมทีจับต้องไม่ได้ ของอินโดนีเซีย ซึ่งน้างความมไ่พอใจให้กับชาวมาเลเซีย
            รายงานการศึกษาส่วนบุคคล "แผนยุทะศาจร์กระทรวงวัฒนะรรมในการเตียมความพร้อสู่ประชาคมสังคมและวัฒนะรรมอเซียน" นางสาว ดารุณี ธรรมโพธิ์ดล, หลักสุตรนักบริหารการทูต.,

วันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

build... "Corporate identity" II

             ผลที่องค์กรจะได้รับจากการมีอัตลักาณ์องค์กรที่ดี : ภาพลักษณ์และอัตลักษณ์ที่ดีจององค์กรจะให้ประโยชน์แก่องค์กรดังนี้
             องค์กรนั้นได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง การยอมรับจากสังคมจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยระยะเวลาทีผลิตภัณฑ์นั้นๆ สามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงคุณภาพที่ดีและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง.., แดสงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ขององค์กรผุ้บริโภคล้วนต้องการความรู้สึกถึงพลังความย่ิงใหญ่ขององกรผ่านทางสินค้า
หรือบริการขององค์กรนั้นๆ.., ความรู้สึกเชื่อมันในความมีประสบการณ์และความเก่าขององค์กร สิ่งเหล่านนี้เป็นส่ิงที่ต้องสังสมมาเป็ฯระยะเวลานานกว่าองค์กรจะสามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ได้.., แสดงให้เห็นถึงการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง การสร้างภาพลักษณ์..เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ ต้องอาศัยระยะเวลาพอควรที่จะแสดงให้เห็นถึงความสม่ำเสมออย่างต่อเนื่องขององค์กรนั้นๆ .., กระตุ้นให้บุคลากรมีส่วนร่วม อัตลักษณ์องค์กรจะเป็นตัวกระตุ้นให้ทุกคนตื่นตัวกระตุ้นให้เกิดความคิดที่สองนโยบายขององค์กรตามทิสทางและแผนี่วางไว้อันจะก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแก่องค์กร.., ได้บุคคลากรที่เป็นบุคคลชั้น "หัวกะทิ".., สร้างเครือข่ายได้ง่าย.., แสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะขององค์กร..,
             โครงสร้างองค์กร : แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
              1. บริษัททีามีดโครงสร้งเดียว มักเปนบริษัทที่ประกอบธุรกิจเพียงประเภทเดียว เช่น บริษัท อเสแอนด์พี จำกัด, บริษัทเทสโกโลตัสจำกัดเป็นต้น
              2. บริษัทที่ขยายกิจการโดยการลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ  บริษัทที่มีโครงสร้างแบบนี้ส่วนใหญจะมีลักษณะดังต่อไปนี้เป็นบริษัทที่เติบโตขึ้นจากการนำผลกำไรไปลงทุนในธุรกิจประเภทอื่นเป็นธุรกิจที่ประกอบด้วยหลายบริษัทซึ่งส่วนใหญ่จะดำเนินธุรกิจในรูปแบบที่แต่ละบริษัทเป็นผุ้ดำเนินการเองทุกขึ้นตอนนับตั้งแต่การผลิตไปถึงการจัดจำหน่ายบริษัทแม่ที่ต้องการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีกับบริษัทสาขาด้วยการเชื่อมโยงเข้ากับตราสินค้า
             3. บริษัทร่วมธุรกิจ บริาัทประเภทนี้คือบริษัทหรือกลุ่มบริษัทซึ่งประกอบธุรกิจหลายประเภทโดยธุรกิจเหล่านั้นอาจมีความเกี่ยวข้องกันหรือไม่ก็ได้บริษัทประเภทนี้ต้อการสร้างอัตลักษณ์อันทรงพลังสำหรับตนเอง และแผ่ขวรยความเป็นอัตลักาณ์นี้ไปสู่บริษัทสาขาภายใต้ชื่อและอัตลักาณ์ของบริษัทเดียวกัน
          รุปแบบของอัตลักษณ์องค์กร : ระบบอัตลักษณ์
           1.  อัตลักษณ์แบบเดียว เป็นการวางระบบ อัตลักษณ์ที่กำหนดให้บริษัทสาขาทุกแห่งรวมทั้งบริษัทแม่ใช้รุปบบสัฐลักาณและองค์ประกอบกราฟฟิก แบบเดียวกันทั้งหมดในการสื่อสรภาพลักษณ์เดียวกันไปสู่ผุ้บริโภค ซึ่งจะเป็นการแสดงออกถึงความเป็นอัตลักษณ์ที่ชัดเจนที่สุดและประหยัดทีุ่สดในการที่จะแสดงให้เห็นถึงสมมติฐานเดียวกันของสินึค้าหรือบริการที่ให้แก่ผุ้บริโภค ในทางกลับกันการที่จะสร้างระบบอัตลักษณ์ในลักาณะนี้ได้จำเป็นต้องการศัยการแสดงออกซึ่งบุคลิกละคุณภาพที่น่าเชื่อถือรวมทังไม่หยุดพัฒนาด้วย
         
 2. อัตลักษณ์แบบมีการรับรอง เป็นรูปแบบของการสร้างระบบ อัตลักษณ์องค์กรให้กับองค์กรที่ประกอบธุรกิจหลายประเภทหรือเป็นลักษณะกลุ่มบริษัทการสร้างระบบ อัตลักษณ์ฯ  แบบนี้มีรากฐานมาจากแนวคิดที่วาแต่ละบริษัทในเครือควรมีอัตลักษณ์ของตนเองโดยที่อัตลักาณ์นั้นจะต้องแสดงถึงความเป็นส่วนหนึ่งของภาพรวมขององค์กรนั้นๆ ด้วยบริษัทประเภทนี้มัจะใช้สัลักษณ์ของบริษัทแม่รวมกับสัฐลักษณ์ของแต่ละบริษัทที่แสดงให้เห็ฯถึงคุณสมบัติทางการภายของสินค้า..
           3. อัตลักษณ์ที่ใช้ตราหรือชื่อของสินค้าเป็นตัวสร้างเอกลักษณ์ ระบบอัตลักาณ์ประเภทนี้จะใช้กับบริษัทที่เป็นผลิตสินคึ้าหลายๆ ชนิดซึ่งอาจอยู่ในสายผลิตภัณฑ์เดียวกันหรือไม่ก็ได้และมักนิยมใช้กิบัสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นหลัก..
            องค์ปรกอบของอัตลักษณ์ :
            1. ชื่อ ชื่อของบริษัทเป็นส่ิงที่มีความสำคัญเป็นลำดับแรกก็ว่าได้ดังนั้นจึงใคร่ขอทำความเข้าใจถึงที่มาของชื่อต่างๆ
            2. เครื่องหมาย ไม่ว่าจะเป็นองค์กรที่มีขนาดใหญ่หรอืขนาดเล็กเครื่องหมายนับเป็นกุญแจสำคัญที่จะก่อให้เกิดระบบอัตลักษณ์ที่มีประสิทธิภาพเครื่องหมายที่สร้างขึ้นอาจเป็นเพียงการใช้ชื่อตัวอังษรหรืออาจเป็นการผสมผสานระหว่างภาพกับตัวอักษรหรือภาพที่เิดจาองค์ปรกอบกราฟิกเพียงลำพังก็ได้...
            3. ตัวอักษร ในการวางระบบอัตลักษณ์จำเป็นต้องมีการกำหนด แบบตัวอังษรที่ใช้ในงานทั้งระบบโดยทั่วไปแล้วนักออกแบบจะกำหนดแบบตัวอักษร ทีใช้กับสัญลักษณ์และเลือกแบบอื่นๆ ที่เข้ากันได้ดีกับแบบตัวอักษรนั้นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ..
            4. สีอัตลักษณ์ สัจัดว่าเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ใช้เป็นตัวแทนองค์กรได้เป็นอย่างดีมักมีมาจากสีของสัญลักษณ์ที่นักออกแบบสร้างให้เกิดการจดจำขึ้นในใจผุ้บริโภค
            5. ข้อความประกอบ จะเป็นข้อความสั้นๆ ทีอธิบายถึงความเป็นองค์กรที่วาอยุ่ใต้ชื่อหรือสัญลักษณ์เพื่อเป็นการอธิบายถึงคุณลักษณะเฉพาะขององค์กรสินค้าหรือบริการนั้นๆ
             ตราสัญลักษณ์ : หรือ โลโก้ ตัดทอนมาจาก โลโก้ไทป์ หมายถึงเครื่องหมายตราสัญลักษณ์ซึ่งสื่อความมหายเฉพาะถึงส่วนราชการมูลนิธิสมาคม บริษัทห้างร้าน ฯลฯ อาจจะเป็นตัวอักษรหรือรูป-ภาพหรือทั้งสองอย่างประกอบกันมัจะเป็นลักษณเลขศิลป์ (กราฟฟิก อาร์ต) ..

              ภานุพงศ์ คณนานุกูลชัย 2555 "โครงการออกแบบโครงการสร้างอัตลักษณ์และออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์เืพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ สำหรับบิรษัทรับทรัพย์แกรนด์ จังหวัดขอนแก่น. 

วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

build... "Corporate identity"

           การออกแบบอัตลักษณ์องค์กร
           อัตลักษณ์องค์กร : หรือ Corporate Identity, CI หมายถึงการแสดงออกให้เห็นถึงภาพลักษณ์ ทีปรากฎต่อสายตามผู้อื่นพร้อมๆ กับแสดงถึงความเป็นอัตลักษณ์ ขององค์กรนั้นโยอาศัยองค์ประกอบกราฟฟิก หรืออาจกล่าวไให้เข้าใจงายๆ ก็คือ หมายถึงการสื่อาราพลักษณ์องค์กรอย่างเป้นระบบและเป็นูรปธรรมที่ชัดเจนเพื่อสร้าวความเป็นอัตลักษณ์และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันรวมทั้งสร้างความเข้าใจอันดีให้เกิดดแก่องค์กรบุคลากรตลาอจนบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรนั้น ๆจะเห็นได้ว่าอัตลักษณ์องค์การเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์การโดยเฉพาะในโลกที่มีการแข่งขันกันอย่าบมากเช่นปัจจุบัน...เนื่องจากองค์การบางแห่งอาจให้ความสำคัญกับตรสินค้ามากกว่าชื่อขององค์กรจึงเป้ฯที่มของการสร้างระบบอัตลักษณ์ให้กับสินค้า Brand Identity ดังนั้นคงพบว่ามีบางคน้คำนี้แทน คำว่า Corporate Identity
       ความเป็นมาของ อัตลักษณ์องค์กร : เป็นการยากที่จะกล่าว่ามีจุดเริ่มต้นจากใครเมื่อไรแต่ก็พอจะกล่าวสรุปได้ว่ามีต้นกำเนิดในทวีปยุโรปแห่งแรกในราวศตวรรษที่ 19 โดยเริ่มจากความต้องการของผุ้ค้าซึ่งมีความประสงค์ที่จะแสดงความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะตัวในสินค้าหรือบริการที่ให้แก่ผู้ซื้อ โดยมีการใช้กับสินค้าหัตกรรมเป็นสินค้าประเภทแรกสัญลักษณ์ที่แสดงความเป็นอัตลักาณ์เหล่านี้จะปรากฎอยู่บนสิ่งของทุกอย่างไม่ว่าจะเป้นกระดาษเขียนจดหมายขจองจดหมายจนถึงป้ายหน้ร้านเป็นต้น ในสหรัฐอเมริกาได้มีการใช้สัฐญลักษ์เพื่อแสดงความเปนเจ้าของในกลุ่มผุ้ประกอบอาชีพปศุสัตว์ทางภาคตะวันตกของประเทศที่เรียกว่าเครื่องหมาย cattle Brand ได้แก่เครื่องหทมาบที่ใช้ตรตราสัตว์เลี้ยงในฟาร์มโดยจะใช้เคื่องมหายหรือสัฐลักาณ์อย่างง่ายๆ หรือใช้ตัวอักษรชื่อย่อเจัาฟาร์มเป็นจ้นในเวลานนั้นยังไม่มีผุ้ใดให้ความสนใจในเรืองอขงรูปแบบและความงามตราบจนกระทั้งได้มีการดำเนินธุรกิจและเกิดการแข่งขันกันอย่างแพร่หลารยนักธุรกิจทั้งหลายจึงหันมาให้ความสนใจและเห็นความสำคัญของการออกแบบซึ่งมีส่วนช่วยในการเพ่ิมยอดขายจึงได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในช่วงทศวรรษ 1930 หลังช่วงเศราฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในสหรัฐอเมริการไ้มีบริษัทบางบริษัทซึ่งได้กลายมาเป็นยกษ์ใหญ่ในเวลาต่อมาเล็งเห็นถึงควาสำคัญดังกล่าวและพร้อมที่จะปรับปรุงการออกแบบสินคาของตนรวมทั้งประับกลุยะทธ์ทางการตลาเสียใหม่จึงทำให้สินึค้าเหล่านั้นประสบความสำเร็มีชื่อเสียงเป็นที่รุ้จักแพร่หลาย

           ความสำคัญของ อัตลักษณ์องค์กร : แม้ว่าองค์การจะมีภาพลักษณ์ที่ดีเพียงใดแต่ถ้าภาพลักาณ์นั้นมิได้รับการเผยแพร่สู่สาธารณะชนหรือผุ้บิรโภคกลุ่มเป้าหมายภาพลักาณ์ที่ดีนั้นย่อมำม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่องค์กรเท่าที่ควรด้วยเหตุนี้องค์กรที่ประสบความสำเร็จหลายแห่งจึงได้กำหนดให้มีแผนสำหรับ อัตลักษณ์องกค์ รวมอยุ่ในแผนการบริหารงานขององค์กร ด้วยการเปลี่ยนแปลงซึ่งส่งผลต่อความสำเร็ขององค์การนั้นมิได้เกิดขึ้นจากการบริหารงานภายในองค์กรเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงการเปล่่ยนแปลงปัจจัยภายนอกด้วย..
           องค์ที่ต้องการสร้างอัตลักษณ์ขององค์กรอาจเกิดจากสาเหตุ คือ
           - เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นใหม่และมีคู่แข่งในธุรกิจนั้นเป็นจำนวนมากจึงต้องสร้างอัตฃลักณษ์เฉพาะสำหรับองค์กร
           - องคกรนั้นเป็นองค์กรที่ตั้งนานพอสมควรและเห็นความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนารูปแบบเสียใหม่ซึ่งระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเปลี่ยนแปลง อัตลักษณ์นั้ขึ้นอยงูกับ ลักษณะของธุรกิจแต่ละประเภทเชนถ้าเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับแฟชั่นเครื่องแต่งกายเครื่องสำอางฯลฯ อาจมีความจำเป็นที่จะต้อง
ปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ฯ บ่อยครั้งกว่างรูรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเงิน เป็นต้น และแผนการตลาดองค์กรต่างๆ ความมีแผนกรบริหารงานระยะยาวซึ่งรวม อัตลักษณ์องกรค์ อยู่ในแผนนั้นๆ ด้วยเพื่อให้การสร้างอัตลักษณ์ฯ เป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีทิศทางที่น่าสนใจ
           ภาพลักษณ์ขององค์กรคืออะไร : องค์กรต่างๆ เปรียบได้กับมนุษย์ซึ่งตางก็มีบุคลิกลักษณะที่แตกต่างมีคุณสมบัติเฉพาะตัวและมีประวัติความเป็นมาอันน่าภาคภูมิใจร่วมถึงมีปรัชญาในการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน องค์กรต่างๆ ก้เช่นเดี่ยวกันล้วนแล้วแต่มีวมแตกต่างกันทั้งสิ้นดังนั้นการที่บุคคลทั่วไปจะได้ม่โอาสรับรุ้และเข้าใจถึงความเป็นองค์กรนั้นๆ จึงต้องอาศัยการแสดงออกอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนและแสดงถึงภาพลักษณ์ (อิมเมจ) ขององค์กรนั้นๆ ได้ป็นอย่างดี "ภาพลักษณ์องค์กร" หมายถึง "ภาพ" ที่บุคคลทั่วไปไม่ว่าจะเป็นผุ้บริโภคถู่แข่งผุ้ค้าปลีกหรือสังคมดดยรวมเข้าใจว่าองค์กรนั้นเป็นอย่างไรเช่นน้ำมันบางจากมีภาพลักษณ์ของการช่วยเหลือสังคม เป็นต้น "อัตลักษณ์องค์กร" กมายถึงการสร้างความเป็นอัตลักษณแด่องค์กรโดยอาศัยเครื่องหมายการค้าหรือสัญลักษณ์ที่สามารถสะท้อนภาพที่องค์กรนั้น ๆ ต้องกานำเสนอต่อสังคมเพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจและการยอมรับอัตลักษณ์ขององค์กรจะต้องมีความชัดเจนมิใช่เป้ฯเพียงช่อหรือคำขวัญ (สโลแกนป สั้นๆ แต่จะต้องเป็นส่ิงที่เป็ฯจริงมองเห็นได้และเป็นยอมรับเป็ฯพื้นฐานของการกำหนดรูปแบบของสินค้าหรือบริการรวมถึงอาคารสำนักงาน...ฯลฯควมเป็นอัตลกษณ์อาจแสดงออกในรูปของช่อสัญลักษณ์สี และรูปแบบที่มีลักษณะเฉพาะตัวจะเป้นปัจจัยที่สร้างกรอบให้กับองค์กรรวมท้งสร้างความภักดีให้เกอดแก่องค์กรอีกด้วย..
          กระบวนการออกแบบอัตลักษณ์องค์กร : มีด้วยกัน 3 ขั้นตอน ดังนี้

           ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนในการประเมินวิเคราห์และเสนอแนะ รายละเอียดของขั้นตอนดังต่อไปนี่
                              - การิวเคราะห์อุตสากหรรมเชิงกลยุทธ์
                              - การกำหนดตำแน่งทางการตลาด
                              - ค้นหาอัตลักษณ์ที่ดำรงอยุ่ขององค์กร
                              - การตรวจสอบด้านการออกแบบการสื่อสารและพฤติกรรมขององค์กร
                              - การพิจารณาภาพลักาณ์องค์กร
                               - การกำหนดวัตุประสงค์ของการทำอัตลักษณ์ขององค์กร
           ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาความคิดในการออกกแบบกำหนดพฤติกรรมและโปรแกรมการสื่อสาน ดังนี้
                              - กระบวนการการออกแบบ
                              - ส่วนประสมปัตลักาณขององค์กร
                              - การสื่อสารอัตลักาณ์ขององค์กร
            ขั้นตอนที่ 3 เปิดตัวและดำเนินการ
                              - การวางแผนการดำเนินการ
                              - การเปิดตัว
                              - การบริหารด้านเอกลักษณ์ขององค์กรอย่างต่อเนื่อง
                              - การสร้างความเป็นเจ้าของอัตลักษณ์ขององค์กร.... ( to be continue...)

                 
 ภานุพงศ์ คณนานุกูลชัย 2555 "โครงการออกแบบโครงการสร้างอัตลักษณ์และออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์เืพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ สำหรับบิรษัทรับทรัพย์แกรนด์ จังหวัดขอนแก่น. 
          
           

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...