วันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2561

Europol

             หน่วยงานทีมีหน้าที่บังคับใช้ กฎหมายของสหภาพยุโรป ก่อตั้งขึ้นในปี พงศ. 2541 เพื่อจักการกับการสืบราชการลับทางอาชญากรรม เป็นหน่วยงานด้านความร่วมมือด้านการบังคับใช้กฎหมายของสหภาพยุโรป ซึ่งเดิมเป็นสำนักงานตำรวตจแห่งยุโรป และ Europol Drugs Unit EDU ซึ่งต่อสู้กับอาชญากรรม และ การก่อการร้ายระหว่างประเทศ ด้วยความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้ที่ผุ้มีอำนาจของประเทศสมาชิก
             หน่วยงานไม่มีอำนาจบริหารและเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่มีสิทธิจับกุม ผุ้ต้องสงสัยหรือกระทำการใดๆ โดยไม่ได้รับอนุมัติจากเจ้าหน้าที่ผุ้มีอำนาจในประเทศสามาชิก
             สำนักงานด้านการบังคับใช้กฎหมายแห่งสหภาพยุโรป (Europol) ตั้งอยู่ใน กรุงเฮก ประเทศฮอลแแลนด์ ประกอบด้วยพนักงาน 1065 คนในปี พ.ศ. 2559
             EU Critical Threat Assessment (SOCTA) และ Critical Threat Assessment (SOCTA) ซึ่งในปี พ.ศ. 2560 ระบุถถึงอาชญากรรมสำคัญ 8 ประการ ได้แก่ อาชญากรรมทางไซเบอร์ การผลิตยาเสพติดการต้า มนุษย์และการจัดจำหน่ายการลักลอบขนแรงงานข้ามชาติ สถานบริการ การค้ามนุษย์ อาชญากรรมทางการเงิน และการฟอกเงิน การปลอมแปลงเอกสาร และการต้าสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมาย
ในปีงบประมาณ 2017 งบปรมาณของหน่วยงานอยู่ที่ประมาณ 116 ล้านยู่โร ทางยูโรโพลรายงานว่าจะมุ่งเน้นการต้อต้านอาชญากรรมทางไซเบอร์ องค์กรอาชญากรรม และการก่อการร้าย เช่นเดียวกับการสร้างความความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศใน ยูโรโพล ยังกล่าวด้วยว่ ในช่วง 2010-2014 ได้ว่างรากฐานสำหรับ หน่วยงานในฐานะศูนย์กลางข้อมูลอาชญากรรมในยุโรป
            ยุโรโพล มีต้นกำเนินใน TREVI ซึ่งเป็นเวทีสำหรับความร่วมมือด้านความมั่นคงที่เกิดขึ้นภายในกระทรวงภายในและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติะรรมของยุโรป ในปี พ.ศ. 2519 ตอนแรก TREVI มีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นไปที่การก่อการร้ายระหว่างประเทศ แต่ไม่นานขยายขอบเขตเข้าสุ่ อาชาญกรรมข้ามพรมแดนอื่นๆ
             ในการประชุมสุดยอดยุโรปในเมืองลักเซมเบิร์ก เมื่อ มิถุนายน พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรีเยอรมัน เฮลมุท โคฮ์ล เรียร้องให้มีการจัดตั้งหน่วยงานตำรวจแห่งชาติยุดรปเช่นเดียวกับสำนักงานสืบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (FBI) ซึ่งเป็นการหว่านเมล็ดพันธ์ุของความร่วมมือของตำรวจทั่วยุดรป ที่ประชุมสุดยอดสภายุโรป ตกลงที่จะจัดตั้ง "สำนักงานสืบสวนอาชญากรรมกลางยุโรป (Euripol) ภายในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2536
           มติของที่ประชุมสุดยอดลักเซมเบิร์กที่ได้รับการชี้แจงเพ่ิมเติมในที่ประชุมสภายุโรป เพื่อร่างสนธิสัญญา Maastricht สภายุดรปตกลงที่จะสร้าง "สำนักงานตำรวจแห่งยุโรป Europol" ซึ่งหน้าที่อันดับแรกคือการจัดระเบียบการแลกเปลี่ยนข้อมุลเกี่ยวกับบยาเสพติด" คณะมนตรีฯ ได้มีคำสั่งในรัฐมนตรว่าการกรทรวงศึกษาธิการของ TREVI มีมาตรการในการจัดตั้งสำนักงานขึ้น เมื่อ ปี พ.ศ. 2544 ยูโรโพล ได้รับการลงมติไว้ใน K.1 รวมกับมติอื่นๆ ในมาตรา 9 แห่งสนธิสัญญา Maastricht
            [...] ประเทสสมาชิกจะพิจารณาเรื่องราวต่อไปนี้ร่วมกัน : ความร่วมมือระหว่งตำรวจเพื่อจุดประสงค์ในการป้องกันและต่อต้านการก่อการร้ายการต้ายาเสพติดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและรูปแบบอื่นๆ ที่ร้ายแรงของอาชกรรมระหว่างประเทศ รวมทั้งถ้ามีความจำเป็นบางประการ จะมีการเชื่อต่อกับองค์กรของระบบยูเนี่ยนเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในสำนักงานตำรวจแห่งยุโรป"
            โดยพฤตินัย ยูโรโพล จัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2536 ในฐานะหน่วยงาน Europol Drugs Unit (EDU)ในสตราสบุร์ก โดยมีคำสั่งเพื่อช่วยตำรวจแห่งชาติในการสืบสยอาชญากรรม และจัดตั้งสำนักงานขึ้นที่  Raamweg 47 ในปี พ.ศ.2537
            อนุสัญญา ยูโรโพล ได้ลงนามเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ที่กรุงบัสเซลส์และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 หลังจาได้รับการอนุมัติจากประเทศมาชิกทั้งหมดแล้ว สำนักงานตำรวจยุโรป เร่ิมกิจกรรมอย่างเต็มรูปแบบในวันที่ 1 กรกฎาคม 1999
           
ยูโรโพล ได้รับกาผนวกเข้ากับสหภาพยุโรปโดยมีการตัดสินใของคณะมนตรี ในปี 2009 แทนที่อนุสัญญา ยูโรโพล และปฏิรูป ยูโรโพลให้เป็นหน่วยงานของสหภาพยุโรป
            ด้วยหน้าที่ที่เกี่ยวกับการปราบปรามอาชญากรรมร้ายแรงและอาชญากรรมการควบคุมงบประมาณของรัฐสภายุโรป และการลดความซับซ้อนด้านการบริหาร สำนักงานใหญ่แห่งใหม่จึงได้ถึงตั้งขึ้นใหม่ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2011 ที่กรุงเฮก
             11 มกราคม 2013 ผู้บริหาร และคณกรรมาธิการยุโรปฝ่ายกิจการภายใน ได้เปิดตัว European Criminal Center EC3 ซึ่งเป็นหน่วยงานของ ยูโรโพล มีหน้าที่ให้
ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมไซเบอร์ที่กระทำโดยองค์กรนอกกฏหมาย เพื่อแสวงหาผลกำไร เช่น การแ้อโกงทางออนไลน์ การแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศต่อเด็กทางออนไลน์ หือผลกระทบต่อโครงน้างพื้นฐานที่สำคัญและระบบในสหภาพยยุโรป
             วัตถุปรสงค์คือการประสานงานการบังคัยใช้กฎหมายข้ามพรมแดนกับอาชญากรรมในโลกไซเบอร์และทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเช่นการพัฒนาเครื่องมือและทักษะ ผู้บัญชาการ ยูโรโพล ระบุว่าจำเป็นต้องมีศูนย์อาชญากรรทางไซเบอร์ในยุโรป "เพื่อปกป้องเอินเทอร์เน็ตแบบเปิดกว้างและฟรี"
           25 มกราคม 2016 ศุนย์การต่อต้านการก่อการรายในยุโรป ECTC เปิดตัวแพลตฟอร์มยุทธศาสตร์ใหม่ภายใน ยูโรโพล เพื่อการแบ่งปันข้อมูลระหว่างประเทศภายในสหภาพยุโรปในกาติดตามความเคล่อนไหวของขาวยุโรปเข้าและออกจาก "ซีเรีย" รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อินเทอร์เน็ตของผุ้ก่อการรายและการใช้อนิเทอร์เน็ตของพวกก่อการร้าย
          ภายใต้กรอบการทำงานใหม่ ยูโรโพลได้รับมอบอำนาจเพิ่มเติมในการต่อต้านการก่อการร้าย และยังรวมถึงการเพ่ิมการฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนบุคลากร ในการสร้างระบบป้องกันข้อมมุล และเสริมสร้างความเข้มแข็งในการควบคุมหน่วยงาน
           - https://en.wikipedia.org/wiki/Europol

วันพุธที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561

Euro II

         บทความเรื่อง "เงินสกุลยูโร 1999" ได้ทำการวิเคริาห์ถึงบทบาทของเงินยูโรในเวทีเศณาฐกิจโลก โดยเฉพาะเมื่อเที่ยวกับเงินตราสกุลเเข็งอีกสองสกุล คือ ดอลลาร์ สหรัฐฯ และ เงินเยน ญีุ่ปุ่น ซึ่งเปรียบเทียบความสำคัญจากตัวเลขเศรษฐกิจและผลกระทบที่คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นเมือเงินยูโรถูกนอมาใช้อย่างแรพ่หลาย ซึ่งผลกระทบ EMU ที่มีต่อเศณาฐกิจโลกจะขึ้นอยู่กับ "เอ็กเทอนอล สปริลโอเวอร์" ที่เกดจากสถานการณ์เศราฐกิจในยุโรปและความเป็นที่นิยมของการใช้เงินสกุลยูโรในการชำระรายการระหวางประเทศ
          ฐานและขนดเสราฐกิจที่ใหญ่ขึ้นของ EU และการขนัดต้นทุนด้านธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการปริวรรตเงินตราในยุโรปจะส่งผลให้ยูโรมีบทบาทมากขึนในการเป็นเงินสกุลที่ใช้ในการต้าขายระหว่างประเทศ โดยคาดว่าจะขยายบทบาทเพ่ิมขึ้นก่อนในการทำธุรกรรมระหว่าง EMU และประเทศกำลังพัมฯารวมทั้งประเทศในค่ายสังคมนิยมในอดีต การรวมตัวกันของตลาดการเงินยุโรปด้วยการใช้เงินสกุลเดียวกันจะลดต้นทุนธุรกรมด้านการเงิน ลดส่วนต่างของอัตราอดกเบี้ยและขยายปริมาณสินทรัพย์ที่คิดมูลค่าในรูปยูโร นอกจากนี้ยูโรจะมีบทบาทมากขึ้นในการเป็นเงินสกุลหลักที่ใช้เป็นทุนสำรองระหว่งประเทศร่วมกับการใช้ดอลลารืสหรัฐ ทั้งนี้เนื่องจกาแนวโน้มของการใช้ยูโระมีมากขึ้นในตลาดการเงินและการค้าระหว่างประเทศ
            การพัฒนาของ อียู จนถึง อีเอ็มยู และใช้เงินสกุลยูโรจะทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสมาชิกใน อีเอ็มยู เนื่องจาก อียู ดพเนินการเปิดเสรีระหว่างกันเองจนถึงขั้นทรัพยากรต่างๆ สามารถเคลื่อนย้ายภายใน อียู เองได้อย่างเสรี ภายใน อียู เองก็จะปรับปุลยภาพการผลิตตามความได้เปรียบ โดยเปรียบเทียบ เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดระหว่างกัน  เช่น เยอรมันมัความได้เปรียบในการผลิตยานยนต์ ในขณะที่ฝรังเศสมีความสามารถในการผลิตเครื่องแต่างกาย ย่อมจะเดิกการปรับเปบียนประเภทการผลิตในแต่ละประเทศสมาชิก ซึ่งจะเป็นการเพ่ิมความสามารถในการแข่งขันมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นด้านราคมหรือคุณภาพที่เป็นปัจจัยสำคัญในการแข่งขันและค้าขายกับต่างประเทศ
          การ สเปเชี่ยลไลเซชั่น ในการปลิตในกลุ่ม อียู จะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างการนำเข้าและสงออกของกลุ่มและสงผลกระทบต่อประเทศผู้ผลิตที่เป็นคู่แข่งที่สำคัยตางๆ ของ อียู ดดย อียู จะแย่งสัดส่วนทางการตลาดในตลาดการต้า ย่อมส่งผลกระทบต่อตลาดการต้าทำให้ความได้เปรีบดุลการต้าไปอยู่ี อียู อย่างไรก็ตามบทาทของเงินยูโรคงจะไม่เกิดขึ้นและบดบังความสำคัญของค่าเงนิดอลลาร์สหรัฐ หรือค่าเงินเยนในทันทีทันใด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสำเร็จของการดำเนินการของ อีเอ็มยู และ และ เคดิบิลิที้ ของ อีซีบี
       
 สมชัย สัจจพงษ์, สุรศักดิ์ พิชิตผองกิจ และ สุภชัย ศรีสถาพร (2541)

          "ยูโร (Euro) เงินตราสกุลเดียวแห่งสหภาพยุโรป" ได้กล่าวถึงประโยชน์จากการใช้เงินยูโรที่สำำคัีญ 2 ประการ ประการแรกคอ จะทำให้ต้นทุนธุรกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ อัตราแลกเปลียนลดลง การใช้เงินยูโรเพียงสกุลเดียวเป็นการลดความเสี่ยงที่เกิดจากอัตราแลกเปลียน ทำใหบริหารความเสี่ยงได้ง่ายข้นอีกทั้งสหภาพยุโรปก็มุ่งมั่นทีจะสร้างเสถียรภาพของเงินยูโรและให้ยูโรเปนอัตราแลกเปลียยนระหว่างประเทศอีกสกุลหนึ่่ง คู่เคียงไปกับเงินเยนญี่ปุ่นและดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจะเดื้อประโยชน์โดยตรงต่อธุรกรรมภายในประเทศสมชิกสหภาพญ และธุรกรรมกระหว่างประเทศที่ใช้เงนิยูโร
          ประโยชน์อีกประการหนึงคือ ยูดร จะเพิ่มความโปร่งใสภายในยุโรปตลอดเดียแวและจะเป็นแรงผลักดันให้มีการลดเลิกอุปสรรคต่างๆ ในตลาดยุโรปเดียว เพราะจะทำให้การเปรีบเทียบต้นทุนและราคาสินค้าระหว่างประเทศสมาชิกง่ายขึ้น ซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างกันได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ยุูโรจึงนับเป็นตัวเร่งให้ยูโรปตลาดเดียวมีความสมบูรณ์ขึ้น
         เมทินี มีนะกนิษฐ (2541)

          "ยูโร..ความเป้ฯมาและผลกระทบ" ซึ่งวิเคราะห์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการประกาศใช้เวินยูโร ออกเป็น 5 ด้านคือ
           1. ผลกระทบของสกุลเงินยูโรต่อประเทฬในกลุ่มยูโร ซึ่งจะก่อให้เกิดการปฏิรูปทางการเงินครั้งสำคัญในสหาพยุโรปและต่อนโยบายทางเศณาฐกิจของภาครัฐ และต่อภาคธุรกิจอื่นๆ ดังนี้
            1.1 นโยบายทางเศณฐกิจ ประเทศสมาชิกสหภาพการเงินยุโรป ท้ง 11 ประเทศต้องยอมสละอำนาจอธิปไตยสูงสุดทางเศรษฐกิจของตน นั่นคื อสิทะิในการออกเงินตราประจำชาติ โดยมีข้อตกลงให้ธนาคารกลางของยุโรปเข้ามาทำหน้าที่บริหารและนั่นย่อมหมายถึงว่า บรรดาประเทศสมาชิกได้ประกาศสละอำนาจอันทรงพลังในการปกป้องเศรษฐกิจใน 2 ประเด็นหลักคือสิทธิในการลดค่าเงินตราเมือมีความจำเป็น และสิทธิที่จะทำงบประมาณขาดดุลเมื่อภาวะการวางงานขยายตัว ประเทศสมาชิกต้องยอมรับและพร้อมทีจะปรับตัวเมื่อถูกริดรอนอธิไปตยทางเสราฐกิจไม่วาจะเป็นเรื่องของงบประมาณรายจ่ายของรัฐ หรือนโยบายทางการเงินต่างๆ ทีจะต้องขึ้นอยุ่กับธนาคารกลางยุดรปเพียงสภาบันเดียว
          ผลกระทบในการปรับโครงสร้างของภาพรัฐ มิได้เกี่ยวเนื่องเฉพาะนโยบายทงเศรษฐฏิจเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างในด้นอื่นๆ ด้วย เช่น เมื่อประเทศสมชิกเปลี่ยนมาใช้เงินสกุลยูโรก็จะมีการเปรีบเทียบอัตราภาษีและการใช้จ่ายของแต่ละประเทศ ประเทศที่มอัตราภาษีเงินได้นิติบุคลสูงย่อมจะได้รับผลกระทบมากเมือมีการใช้เงินสกุลเดียวกันอย่างเต็มรูปแบบหรืออีกนัยหนึ่ง รัฐบาลของประเทศสมาชิกจะต้องตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพือเพิ่มประสิทะิภาพในการแช่งขันกับประเทศอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นนธยบายในเรื่องภาษีอัตราต่ำ การโยกยายตลาดแรงงาน และการตั้งระเบียบกฎเกณฑ์ที่น่าพึงพอใจมากขึ้นในธุรกิจประเภทต่างๆ
         1.2 . ภาคอุตสาหกรรม การใช้เงินสกุลยูโรจะทำให้เกิดกระแสการควบกิจการและการปิดโรงงานขึ้น กล่าวคือ เมื่อความเสี่ยงในเรื่องเงินตราหมดไปจากการเปลี่ยนมาใช้เงินสกุลเดียวกันบริษัทเอกชนก็ไม่จำเป็นต้องเปิดกิจการในหลายๆ ประเทศดังเช่นทีทำอยู่ในปัจจุบัน แต่ขณะเดียวกันกระแสการเปลี่ยนแปลงนี้ก็จะทำให้เกิดปัญหาการว่างงานมากขึ้น
         
อย่างไรก็ตาม ผลประดยชน์ที่ภาคอุตสาหกรรมจะได้รับคือ สกุลเงินยูโรจะช่วยลดค่าใช้จายที่ลริษัทจะต้องเสียไปกับการแลกเปลียนเงินตราต่างประเทศและการป้องกันความเสี่ยง และเมื่อความเสี่ยงในเรื่องเงินตราหมดไป สหภาพยุโรปก็จะกลายเป็นตลาดขนาดใหย่ที่น่าสนใจมากขึ้น
         1.3 ภาคธุรกิจที่สำคัญ เช่นเดียวกับการปรับโครงสร้างด้านอื่นๆ กลุ่มธนาคารก็เป็นอีกสภาบันหนึ่งที่ต้องปรับตัวเนื่องจากได้รับผลกระทบโดยตรงจากการปฏิรูปเศรษบกิจครั้งนี้ ดดยภาคการคลังจะถือเสมือนเร่ิมจากศูนย์เมื่อเปลี่ยนมาใช้สกุลเงินยูโร
         ขณะเดียวกันค่าใช้จ่ายในด้านธุรกรรมด้านอัตราแลกเปลี่ยนจะลดลงกว่า 65 พันล้านดอลลาร์ในแต่ละปี พร้อมกับช่วยกำจัดคนกลางออกจากธุตกรรมต่างๆ คิดเป็นมูลค่าหลายล้านล้านอดลลาร์ นั่นย่อมทำให้เกิดเงินทุนมหาศาลและช่วยใก้เกิดความคล่อตัวยิ่งขึ้นกว่าเดม แต่ธนาคารจำต้องสูญเสียรายได้ที่เคยได้เป็นกอบเป็นกำจาการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงนิตราต่างประเทศนับเป็นการเพิ่มความกดดันให้กับธนาคารลและสถาบันการเงินต่างๆ โดยบทบาทในฐานะเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับภาคอุตสาหกรรมจะลดลงเนื่องจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของตลาดทุน โดยเฉาพะตลาดพันะบัติและตลาดหลักทรัพย์ ในขณะที่ธนาคารต่างๆ จะมีการปรับโครงสร้างเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ และรองรับการแข่งขันจากธนาคารข้ามชาติขนาดใหญ่
        1.4 ภาคแรงงาน ยุคสกุลเงนิยูโรถือเป็นยุคแห่งการสับสนของบรรดาผู้ใช้แรงงาน คนงานในโรงงานอุตสาหกรรมต้องล้มเลิกความคิดฝันในเรื่อง "ความมั่นคง" ในการมีรายได้ดีตลอดชีวิต ขณะที่อุปนิสัยของคนยุโรปไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงงานหรือไปทำงานในประเทศอื่นที่ต้องมีการปรับตัวในการดำรงชีวิตประจำวัน
         มีการคาดการณ์ว่าคนงานกว่าสิบล้านคน หรือร้อยละ 5 จะตกงานภายในช่วง 18 เือน แต่เมื่อวิกฤตการณ์ด้านากรว่างงานทุเลาลง ตลาดแรงงานของยุโรปจะได้รับการแปรรูป คือ ในอีก 10 ปีข้างหน้า จะเกิดการจ้างงานใหม่ในบริษัทเอกชนขนาดเล็กและการจ้างงานทางด้านบริการเพิ่มมากขึ้นในเขตภาคพื้นทวีปยุโรป แต่สหภาพต่างๆจะมีบทบาทลดลง
          โดยสรุปแล้ว การใช้เงินยูโรน่าจะอำนวยประโยชน์ให้ประเทศสมาชิกในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะการขยายตัวทางเศราฐกิจและการจ้างงาน อยางไรก็ดีผลกระทบในเชิงบวกอาจไม่เป็นไปตามที่คาด เนืองจากปัจจัยความผันผวนต่างๆ ...

               - บางส่วนจาก วิทยานิพนธ์ เรื่อง "ผลกระทบของการใช้เงินยูโรต่อระบบเสณาฐกิจของสหภาพยุโรป" โดยอบลศรี สุขถาวร, 2542.
         
         

วันอังคารที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561

Economic integration

           กลุ่มความร่วมมือทางเศราฐกิจของโลกในปัจจุบัน

           1. สหภาพยุโรป EU
           สหภาพยุโรป เป็นพัฒนาการในการรวมกลุ่มที่เกิดจากการรวมตัวของประชคมยุโรปซึ่งดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานานเร่ิมจาการรวมตัวของประชาคมสามแห่งเข้าด้วยกัน คือ ประชาคมถ่านหินและเหล็ก ประชาคมเสณาฐกิจยุโรป และประชาคมพลังงานปรมาณูยุโรป ถือเป็นกลุ่มการต้าที่มีความสำคัญของโลก แนวความคิดในการวมหลุ่มของประเทศในยุโรปได้เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีวัตุประสงค์เร่ิมแรกเพื่อป้องกันความขัดแย้งแบะการทำสงครามระหว่างประเทศสมาชิกและส่งเสริมความเป็นปึกแผ่นภายในกลุ่มเพื่อต่อสู้ด้านเสณาฐกิจกับสองประเทศมหาอำนาจ คื อสหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต
          การรวมตัวของ อีย ที่จะพัฒนาการเป็นสหภายเศรษฐกิจและการเงินแห่งยุโรปคือการที่ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปหันมาใช้เงินตราสกุลเดียวและมีธนาคารกลางแห่งเดียว ซึ่งจะทำให้ อียู ที่มีประชากรถึง 370 ล้านคน กลายเป็ฯตลาดธุรกิจขนาดใหญ่ที่สามารถดำเนินธุรกิจการต้า การลงทุน และการเงินระหว่างกันได้อย่างเสรี ด้วยเงินตราสกุลเดียว และมีความใกล้เคยงกันมากขึ้น ดดยเฉพาะอย่างิย่งประเทศสมาิกที่มีฐานะที่มั่นคงกว่าจะต้องให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ประเทศสมาชิกที่มีสภาพเศณาฐกิจอ่อนแอ ซึ่งรวมถึงระเทศที่อยู่ใไกลจากศูนย์กลางของสมาชิกสหภาพยุโรป
         
ปัจจุบัน สหภาพยุโรปได้ขยายความร่วมมือไปยังประเทศต่าง ในภุมิภาคยุโรป ตามกรอบทฤษฎีการรวกลุ่มทีเรียกว่าหน้าที่นิยมใหม่ อาจกล่าวได้ว่าเป้นปวคิดที่ใช้ในการก่อตั้งสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นปนวคิดที่ต้งอยู่บนพื้นฐนของความเชื่อที่วา การวมกลุ่มใดๆ ที่จะประสบความสำเร็จั้นจะต้องตั้งอยู่บนข้อเท็จจริงที่ว่าเงื่อนไขความพร้อมในการรวมกลุ่มที่เร่ิมต้นจากจุดเล็กๆ ในการวมกลุ่มและการรวมกลุ่มนั้นแตต่ละประเทศได้ผลประโยชน์ต่างตอบแทนจากลุ่มย่อยๆ แล้วขยายตัวมากขึ้น มีการพึ่งพาอาศัยกันใแนวกว้างแลแนวลึกมากขึ้นซึ่งสหภาพยุโรปเร่ิมแรกก็มีการรวมตัวกันด้วยสมาชิกเพียง 6 ประเทศ โดยรเ่ิมจากสมาคมถ่านหินและเหล็แล้วขยายไปสู่การรวมกลุ่มสภาพเศณาฐกิจอื่นๆ และมีสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 15 ประเทศ และมีการขยายความร่วมมือจากทางด้านเสณาฐกิจไปสู่ด้านการเมืองและด้านอื่นๆ จนก่อให้เกิดความร่วมมืออย่างแน่นแฟ้นของกลุ่ม ซึ่งถือได้ว่าพัฒนาการของสหภาพยุโรปนั้นมีลักษณะเป็นไปตามแนวทฤษฎีหน้าที่นิยมใหม่และมีการขยายตัวเป้นไปตามลำับของทฤษฎีการรวมกลุ่มตามแนวคความคิดของ "บาร์ลาซซ่า" ที่เร่ิมจากขั้นต้อนสหภาพศุลกากร และพัฒนาไปสู่ตลาดรวมในกรอบของตลาดยุโรปเดี่ยว ปัจจบันพัฒนาการสู่การเป็นสหภาพทางเศณาฐกิจและการเงินที่เรียกว่าสหภาพเศรษฐกิจและการเงินยุโรป
               2. ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ NAFTA
                พัฒนาการของการรวมกลุ่ม
                จุดเริ่มต้นของกระบวนการ การรวมกลุ่มทางเศณษฐกิจในภูมิภาคอเมิรกาเหนือได้ก่อตัวขึ้นนบตังแต่ที่ประะานาธิบดีไบรอัน มัลโรนีย์ แห่งแคนาดาได้ประกาศเจตนารมย์ที่จะเจรจาข้อตกลงการต้าเสรีกับสหรัฐอเมริกาในเดือนมิถูนายน พ.ศ. 2538 หลังจากนั้นตัวแทนทางการต้าของทั้งสองฝ่ายก็ได้มีการเจรจาต่อรองกันอย่างเข้มข้นจนหระทั่งบรรลุข้ตกลงกันได้ เมื่อปี ค.ศ. 1987 และข้อตกลงการต้าเสรีระหว่างสหรัฐฯ และแคนาดาไ้เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ ปี 1989 เป็นต้นมา
              ขณะเดียวกันในปี ค.ศ. 1985 รัฐบาลสหรัฐฯไ้เจรจาทำความเข้าใจกับเม็กซิโกในเรื่องการอุดหนุนและภาษีตอบโต้การอุดหนุนซึ่งต่อมาในปี ค.ศ.1986 เม็กซิโกก็ไดเ้ขาเป็นสมรชิกขององค์กรความตกลงทั่วไปว่าด้วยอัตราภาษีสุลกากรและการต้า และได้เริ่มดำเนินการเปิดเสรีทางเศณษฐกิจโดยลดอุสรรคกีดขวางทางการต้าแต่เพียงฝ่ายเดียวอย่งรวดเร็ซ ตอมาสหรัฐฯ และเม็กซิโกก็ไดลงนามในข้อตกลงเืพ่อกำหนดกรอบในการเจรจาเกี่ยวกับการเปิดเสรีทางการต้าและการสถาปนากลไกทวิภาีที่มีผลต่อความสัมพันะ์ทางการต้าของทังสองประเทศ
            ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1990 ประธานาธิบิีจอร์จ บุช และประธานาธิบดีชาลี สาส แห่งเม็กซิโก ได้ประกาศเจตจำนงค์ร่วมกัที่จะจัดตั้งเขตกาต้าเสรีระหว่างประเทศทั้งสอง ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1991 แคนาดาก้เข้าร่วมการเจรจาด้วยและนำไปสู่การเจรจาสามฝ่ายเพื่อก่อตั้งเขตการต้าเสรีแห่งภูมิภาคอเมิรกาเหนือ โดยการเจรจาอย่างเป็นทางการเริ่มขึ้นเมื่อ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1991 หลังจากที่รัฐบาลสวหรัฐฯ ได้ลงมติต่อายุการใช้อำนาจการเจรจาอย่างรวบรัดให้แก่ฝ่ายบิหาร เพ่อใช้ในกาเจรจาจัดทำความตกลงการต้าเสรีอเมริกาเหนือซึ่งเป็นนดยบายของประโานาธิดีจอร์ช บุช ที่จะใช้เป็นกลุยุทธ์ทางการต้าแนวใหม่ของสหรัฐฯ
            หลังจากได้มีการเจรจาต่อรองระหว่างผุ้แทนด้านการต้าของสหรฐฯ แคนนาดา และเม็กซิโกเป็นเวลานานถึง14 เดือนในที่สุดผู้แทนการต้าของทั้งสามประเทศก็สามารถบรรละข้อตกลงในการก่อตั้งเขตการต้า เมื่อ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1992 และข้อตกลงดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม ค.ศ. 1994 ซึ่งนับเป็นการก่อตั้งเขตการต้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลกขณะนี้ โดยจะสร้างตลาดการต้าซึ่งมีผุ้บริโภคถึง 360 ล้านคน และมีปริมาณการต้ากว่า 6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี...
           การรวมกลุ่มเขตการต้าเสรีอเมริกาเหนือเป็นกลุ่มความร่วมมือที่มีการก่อตัวมาจากระดับทิวภาคีที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นแกนกลางซึ่งแต่เดิมสหรัฐฯเป้ฯประเทศที่ให้วามรวมมือกบเคนาดา และสหรฐฯ ก็เป็นประเทศภาคกับเม็กซิโกมาก่อน เมื่อมีการเปลียนแปลงของระบบการต้าโลก ทั้งสามประเทศจึงมีการรวมตัวกันในระดับพหุภาคีเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในขณะนั้นประกอบกับการเจรจา QATT ไม่ประสบผลสำเร็จตามกำหนดเวลาและมีแนวโนมว่าจะล้มเหลว เนื่องจากมีประเทศสมาชิกจำนวนมากและข้อต่อรองไม่เป็นไปตามความต้องากรจงมีการเจรจายืดเยื้อในรอบอุรุกวัย ทำให้ประเทศต่างๆ หันมารวมตัวกันในระดับภูมิภาคเพื่อที่จะแก้ปัญหาเศรษฐกิจของตนโดยใช้การรวมกลุ่มภูมิภาคเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ให้ลุล่วงไปในระดับหนึ่ง..
            หากพิจารณาจากแนวคิดและทฤษฎีการรวกลุ่มถือว่ อยุ่ในขั้นของการวมกลุ่มเสณาฐกิจที่ใช้ปฏิบติก่อนเข้าสุ่ขั้นตอนของแนวคิดของ บาลาสซ่า ซึ่งเป็นขั้นตอนก่อนที่จะเริ่มเป้นเตการต้าเสรี คือ ขั้นตอนของการเป็นเขตการลดพิกัดอัตราภาษี อันเป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจอย่างหลวมๆ กล่าวคอ ประเทศสมาิชกจะตกลงกันเพิียงแต่ลดหย่อนภาษีศุลกากรให้แก่กันแต่ไม่ถึงกับไม่เก็บกันเลยซึ่งเขตการต้าเสรีอมิรกาเหนือก็เข้าสู่ขั้นตอนนี้เช่นกัน และหากมีการตกลงกันประสบผลก็คาดว่าจะเข้าสู่ขั้นตอนของการรวมกลุ่มในระดับเขตการต้าเสรีเต็มรูปแบบที่จะไม่มีการตั้งกำแพงภาษีและการกำหนดโควต้าสำหรับสินค้าที่ส่งจากประเทศสมาชิกด้วยกันเองแต่ภาษีสำหรับประเทศที่สามก็ขึ้นอยู่กับสมาขชิกแต่ละประเทสจะกำหนดซึ่งจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป...
             3. สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ASEAN
              พัฒนาการการรวมกลุ่มของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันอกเฉียงใต้สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จัดตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพ เมื่อ ปี ค.ศ. 1967 มีสมาชิกเร่ิมก่อตั้งจำนวน 5 ประเทศ ฌเยมีจุดเร่ิมต้นมาจาการจัดตั้งสมาคมอาสา ที่มีการลงนามกันเมือ ปี ค.ศ. 1961 ที่ประเทศไทย ดดยมีสมาชิกในขณะนั้น 3 ประเทศ  คือ มลายา (มาเลเซีย) ฟิลิปปินส์ และไทย ซึ่งมีวัตถุประสงคืเพื่อจัดตั้งจักรกลการปรึกษาหารือ การช่วยเหลือย่างฉันมิตรทางเศราฐฏิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ และการบริหาร เนื่องจากในขณะนั้นเกิดการประจันหน้ากันระหว่ง อินโดนีเซีย กับมาเลเซีย ฟิลิปปินส์และสิงคโรป์ในเรื่องเกี่ยวกับรัฐซาลาวัค ทำให้อาณาบริเวณเอเชียตะวันออกเแียงใต้ประสบปัญหาการไปมาหาสู่ไม่สะดวกในการเดินเรือในมหาสมุทรแปซิฟิก ความบาดหมางระหว่างประเทศเพื่อบ้านในภูมิภาคนี้ ทำให้ ASA ต้องยุติลง ต่อมาในเดรือนสิงหาคม ปี ค.ศ. 1966 ได้มีการฟื้นฟูความสัมพันะ์ระหว่างกันใหม่โดยไทยได้เชิญรัฐมนตรีต่งประเทศของอินโดนีเซีย ฟิลิปินส์ มาเลเซีย และสิงคโปร์ มาร่วมประชุมในไทย ผละการประชุมทุกฝ่ายมีความพร้อมใจกันประกาศปฏิญญาอาเซียน เมื่อ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1967 ซึ่งเป้ฯการริเร่ิมจัดตั้งสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบัน ASEAN มีสมาชิก 10 ประเทศ..
         
 การรวมกลุ่ม ASEAN เป็นกุ่มคามร่วมมือที่มีการรวมกลุ่มกันในระดับภูมิภาคที่แต่ละประเทศมีความใกล้เคียงกันในลัษณะภูมิประเทศแต่มีความแตกต่างกันทั้งทางเศรษฐกิจ การเมืง ขณะเดียวกันก็มีพื้นฐานการผลิตที่ คล้ายคลึงกันคือด้านการเกษตร เมื่อมีการรวตัวกันระห่างประเทศที่มีปัจจัยการผลิตขึ้นปฐมภุมิ เพื่อที่จะจำหน่ายกับประเทศที่เป้นผุ้ผลิตสินค้าทุติยภูมิ อำนาจการต่อรองก็มากขึ้นดีก่าที่จะต่อรองเพียงประเทศเดียว
            การรวมกลุ่ม ASEAN เป้นการรวมกลุ่มเข้าสู่กลุ่มการต้าเสรีและไทยก้เป็นส่วนหนึ่งขอ ASEAN ที่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงต่างๆ ให้สอดคล้องกับกลุ่มซึ่งการวมกลุ่มก็เพื่อที่จะเสริมสร้างและรักษาผลประโยชน์ทางเศราฐกจร่วมกันโดยเฉพาะขยายลู่ทางการค้าระหว่างกันให้มีขอบเขตกว้างขวางยิ่งขึ้น ดดยลดหรือยกเลิกอุปสรรคตลอดจนข้อกีดขวางทางการต้าทั้งอุปสรรคที่อยู่ในรูปภาษีศุลกากรและอุปสรรคที่มิใช่ภาษีศุลกากร ซึ่งการรวมกลุ่มได้มีการกำหนดการใช้อัตราภาษีพิเศษร่วมกันอันเป็นกลไกสำคัญในการลดภาษีสินค้าที่มีการเปิดตลาอแก่กันซึ่งเป้นเส่งิที่ประเทศสมาชิกต้องปฏิบัติตาม และปจจุบันับว่า ASEAN เป้นกลุ่มความร่่วมมือที่ประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง
          การรวมกลุ่มของ ASEAN ยังคงยึดแนวหน้าที่นิยม โดยยังไม่่อยมีทิศทางหือเป้าหมายเด่นชัดนักเพราะส่วนใหญ่แต่ละประเทศต่างก็มุ่งแต่ประโยชน์สู่ประเทศตนเพระระดับการพัฒนาไม่แตกต่างกันมากนักประกอบกับเป็นประเทศที่มีลักษณะการประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมที่มีปัจจัยการผลิตพื้นฐานคล้ายๆ กันจึงทำให้การส่งออกสินค้าทักจะเป้นสินค้าประเภทเดียวกันย่อมทำให้เกิดการแข่งขันแย่งตลาดสินค้ากัน ไม่สามารถจะนำสินค้ามาแลเปลี่ยนกันได้ และยะวยึดแนวของทฤษฎีสัมพันธ์นิยม ที่มีการติดต่อสื่อสารตลอดจนความสัมพันะ์ต่อกันระหว่างปะชาชนประเทศสมาชิกน้อยมาก เนื่องจากขาดวัฒนธรรมร่วมกันประกอบกับความรู้สึกชาตินิยมีมาและยัวไม่ค่อยพร้อมมนการรวมกลุ่มเนื่องจกาขาดสามัญสำนึกของภูมิภาคนิยมจึงหาความเป็นเอกภาพได้ยาก

             - บางส่วนจาก วิทยานิพนธ์ "ผลกระทบของการใช้เงินสกุลยูโรต่อการต้าระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป" โดย สุเทพ วันอ่อน.
         

วันจันทร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2561

Integration Theory

            ทฤษฎีการรวมกลุ่ม
            เชิงรัฐศาสตร์ แนวควาคิดของการรวกลุ่มระหว่างประเทศเร่ิมต้นตรั้งแรกในทวีปยุโรปในช่วงศตวรรษที่ 14-16 โดยมีจุดประสงค์เพื่อที่จะรวมยุโรปตะวันตกเข้าด้วยกัย การรวมตัวดังกล่าวมีลักษณะของการผสมผสานกันในทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม โดยมีนักทฤษฎีต่างๆ ให้ความหมาย ดังนี้
          - "เดวิด มิทรารี้ นับเป็นผู้บุกเบิกงานค้นคว้าเกี่ยวกับทฤษฎีการรวมตัวระหว่างประเทศโดยได้อาศัยประสบการณ์จากสงครามโลกทั้งสองครั้งมาสรุปและตั้งเป็นข้อสมมุติฐานว่า ระบบรัฐชาติเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดสงครามขึ้น เนื่องจากแต่ละรัฐจำเป็นต้องแข่งขันกันเืพ่อผลประโยชน์ทางเศณาฐกิจสังคม และเพื่อการส่งเสริมสวัสดิการภายในของแต่ละรัฐ การแข่งขันระหว่างรัฐต่างๆ นี้เองที่เป้นชนวนของสงครามและความขัดแย้งระหว่างประเทศ ดังนั้นหนทางจรรโลงสันติภาพของโลกจึงอาจกระทำได้โดยการจัดตั้งองค์กรกลางเฉพาะกิจขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่แบ่งสรรผลประโยชน์และแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่นานาชาติเผชิญอยู่ร่วมกัน
           และเสนว่าความร่วมมือในสาขาใดสาขาหนึ่งจะ่งเสริมให้เกิดความร่วมือในสาขาอื่นๆ ติดตามา..ทั้งนี้ แนวคิดของการรวมกลุ่มของ มิแทรนี้ สามารถนำมาอธิบายลักษณะการรวมตัวของสหภาพยุโรป
         
- คาร์ล ดับเบิลยู. เดียทสซ์ ได้ให้ความมาหยขงอากรรวมกลุ่มว่าหมายถึง การสร้างประชาคมที่มีความมั่นคง ดดยการทำให้ผยู้ที่อยุ่ในประชาคมมีความรุ้สึกว่าอยู่ในประชาคมเดียวกันและประชาคมประกอบด้วยสภาบันต่างๆ ที่กำหนดขึ้นอย่างเป้นทางการและไม่เป็นทางการภายในประชาคมมีประเพณีต่างๆ ที่ปฏิบัติต่อกันมานาน สภาบันและประเพณีปฏิบัติเหล่านี้จะต้องแข็งแรงและครอบคลุมขอบเขตกว้างขวางพอที่จะควบคุมให้การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆที่จะเกิดขึ้นภายในกลุ่มสมาชิกเป็นไปอย่างสันติและมีลักษรแน่นอนในช่วงที่นานพอสมควร เขาเสนอข้อสมมุติฐานของตนไว้ว่าประชาคมระหว่างประเทศ จะเกิดขึ้นเมื่อใดนั้นสามารถตัดสินใได้จากปริมาณการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างที่เป้นสมาชิกของประชาคมนั้น ๆที่จะเกิดขึ้นภายใกลุ่มสมาชิกเป็นไปอย่างสันติและมีลักษณะแน่นอนในช่วงที่นานพอสมควร เดียทสซ์ ได้เสอนข้อสมมติฐานของตนว่าประชาคมระหว่งประเทศ จะเกิดขึ้นเมื่อใดนั้นสามารถตัดสินได้จากปริมาณการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เป็นสมาชิกของประชาคมนั้นๆ นอกจากนี้ เขาเชื่อว่า เงื่อนไขที่จะทำใหหน่วยการเมืองต่างๆ รวมกลุ่มเป็นประชาคมที่มีความมั่นคงได้นั้นประกอบด้วย
            การมีค่านิยมสำคัญๆ สอดคล้องกันและมีวิถีชีวิตในลักษณะดียวกัน
            การตั้งความหวังร่วมแันบางประการเพื่อรวมตัวกัน และพร้อมที่จะร่วมรับภาระอันเกิดจากการรวมตัวกันนั้น
           เมื่อรวมกันแล้วหน่วยที่เป็นสมาชิกอย่างน้อยบางหน่วย จะต้องมีความสามารถด้านการบริหาร และด้านการเมืองสูงขึ้น
           หน่วยที่เป็นสมาชิกอย่างน้อยบางหน่วย จะต้องมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงขึ้น และจะต้องจัดตั้งแขตแกนกลางภายใน
            สมาชิกของหน่วยการเมืองมีการติดต่อกันระหว่างหน่วยอย่างต่อเนื่อง
            ชนชั้นนำทางสังคม จะต้องเพิ่มจำนวนมากขึ้น อันเป็นผลของการรวมตัวกันในหมู่ชนชั้นนำทางสังคมจากแต่ละหน่วยการเมือง
            การติดต่อสัมพันะ์กันระหว่างสมาชิกประชาคมจะมีหลายลักษณะด้วยกัน
            มีการเคลื่อนไหวของสมาชิกในประชาคึม อยุ่เสนอ
            ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการรวมตัวกันเป็นกลุ่มประชาคมจะต้องรูปแบบของการรวมตัวกันที่มีลักษณะของค่านิยมวิถีชีวิตต่างๆ คล้ายคลึงกัน มีการติดต่อสื่อสารกันและมักจตะมีหน่วยงานขององค์กรกลางที่เป็นหน่วยงานหลักตั้งอยุ่ รวมทั้งมีการเคลื่อนไหวของสมาชิกระหว่างชนชั้นที่เีก่่ยวข้องโดยมีการติดตอสื่อสารเป็นตัวบ่งชีถึงการก่อตั้งประชาคม ซึ่งในกรณีของกลุ่มสหภาพยุดรป จะพบว่ามัลักษณธของการรวมกลุ่มที่ใกล้เคียงกันด้านพื้นฐานอาชีพและเป็นกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมเป้นส่วนใหญ่ถึงแม้บางประเทศจะมีความแตกต่างกันในด้านระดับการพัฒนาแต่ก็ยังมีความใกล้เคียงกันเพราะมีการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีระหว่งกัน...
          - โจฮาน กาลทัง ได้อาศัยแนวทางการศึกษาตามแบบของ เดียทสซ์ โดยใช้การติดต่อสื่อสารเป็นสื่อในการรวมตัวระหว่งชาติต่างๆ และได้เสนอนแวความคิดของตนโดนแยกการรวมตัวระหว่างประเทศออกเป็น 4 ระดับได้แก่
              1. การรวมตัวทางค่านิยม คือการรวมตัวของชาติต่างๆ โดยถือเอาค่านิยมเป็นหลักสำคัญในการรวมตัว เขาได้สร้างตัวแบบการรวมตัวประเภทนี้ไว้ด้วยกัน 2 ประเภทคือ
                  1.1 โมเดลการรวมตัวของหน่วยการเมืองที่มีความสอดคล้องกันในค่านิยมเกี่ยวกับผลประโยชน์ และ
               
1.2 โมเดลการรวมตัวกันซึ่อยู่บนพื้นฐานของการจัดลำดับแนวความคิดในการแห้ปัญหาโดยสันติวะฺีเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ร่วมกัน
              2. โมเดลการรวมตัวของหน่วยการเมือง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
                           - โมเดลการรวมตัวของหน่วยการเมืองที่มีลักษณธคล้ายคลึงกัน ซึ่งมีเงื่อนไขที่จำเป็น ได้แก่ ความคล้ายคลึงกันด้านโครงสร้างของประชากรการเมือง และเศรษฐกิจ
                           - โมเดล กระบวนการพึ่งพาทางการเมือง เศราฐกิจและวัฒนธรรมระหว่างตัวแดงทางการเมืองต่างๆ ที่เพ่ิมขึ้นจนทำให้ตัวแสดงต่างๆ เหล่านั้นมีความผุกพันกันมากขึ้นจนกระทั่ง สาถนการณ์ที่เกิดกับตัวแสดงตัวหนึ่งมีผลกระทบกระเทือนถึงตัวแสดงอื่นๆ ด้วย
              3. การรวมตัวในลักษณะของการแลกเปลี่ยนระหว่างสวยย่อยกับส่วนรวม หมายถึง การรวมตัวของหน่วยการเมืองใดก็ตามเข้าสู่โครงสร้างทางการเมืองที่ใหญ่กว่าและก้าวหน้ากว่าเช่น การรวมตัวระหว่างประเทศที่กำลังพัฒนากับประเทศอุตสาหกรรม การรวมตัวลักษะนี้สามารถแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ
                   3.1 โมเดลการรวมตัวของัฐต่างๆ โดยแต่ละรัฐสมาชิกเป็นผุ้จัดสรรทรัพยากรของตนป้อนให้แก่หน่วยการเมืองกลาง เพื่อให้หน่วยการเมืองนั้นดำรงอยู่ได้
                   3.2 โมเดล มีลักษณะในทางตรงกันข้ามกับกรณีแรก คือหน่วยการเมืองกลางที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นใหม่จะเป้นผู้จัดสรรผลประโยชน์ให้แก่องค์ประกอบย่อยเพื่อให้ระบบสามารถอยู่ได้
                  อมิไท เอ็ทไซนิ อธิบายว่าการรวมตัวของรัฐต่างๆ เข้าด้วยกันจำเป็นต้งมีเงื่อนไขเบื้องต้นต่างๆ ดังนี้
                          1. มีเจตนารมณ์ของผุ้นำทางการเมืองของหน่วยการเมืองย่อย เป็นเงื่อนไขสำคัญที่สุดและนับเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการรวมตัว
                          2. มีการติดต่อสื่อสารและการตอบสนองต่อสภานการณ์ใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กล่าวคือ มีการผนึกำลังเพ่อตอบโต้สถานกาณ์ที่เกิดขึ้ร่วมกัน นอกจากนั้น ยังจำเป้นต้องมีการสร้างระบบผู้แทน ซึ่งจะเป็นตัวเร่งการรวมตัวให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
                - เอินซ์ บี. แฮซ ได้เสนอข้อสมมุติฐานที่แตกต่างไปจากแนวความคิดของนักวิชาการต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างตน โดย แฮซ เชื่อว่ารัฐต่างๆ รวมตัวเข้าด้วยกันก็เพราะต่างหวังผลตอบแทน มิใช่การตระหนักถึงผลประโยชน์ร่วมกัน และการขยายความร่วมมือกันออกไปนั้นก็มิได้เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติแต่เกิดขึ้นเพราะการเรียกร้องและความประสงค์ ของหน่วยงการเมืองที่รวมตัวเข้าด้วยกัน แฮซ กล่าวเนาิมแนวคิดของ เดวิด มิแทนี้ ว่าการร่วมมือกันทางเศราฐกิจและสังคมนั้นจำเป็นต้องมีองค์กรคอยเสริมความร่วมมือกันทางด้านนี้และด้านอื่นๆ ให้มากขึ้นจนกลายเป็นองค์กรที่มีอำนาจทางการเมืองในที่สุดและในการรวมตัวระหว่างประเทศนั้นสามารถทได้อย่างรวดเร็วถ้าทุ่งความสนใจไปที่เรื่องสวัสดิการ โดยได้เสนอว่าประเทศที่รวมตัวกันควรจะอยู่ในภูมิภาคเดียวกันแ ะลมีสภาพแวดล้อมที่คล้ายคลึงกันขณะที่เจ้าหน้ที่และผุ้ชำนาญการเกี่ยวข้องกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งควรจะร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐด้้วยเพื่อทำหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด....
               จะเห็นได้ว่าจากคำนิยามเกี่ยวกับการรวมกลุ่มข้างต้นสอดคล้องกับการรวมตัวของกลุ่มสหภาพยุโรป เนื่องจากกลุ่มประเทศใน อียู ที่รวมตัวกันจะมลัษะทางด้านสังคม การเมือง และเสณาฐกิจที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ การเป็นประเทศอุตสาหกรรม ซึ่งจะต้องมีการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีระหว่างกัน และในการรวมกลุ่มจะมีส่วนช่วยให้เกิดการแบ่งแยกกันผลิตตามความถนัดของแต่ละประเทศ ซึ่งนับเป็นการประสานผลประโยชน์ภายในกลุ่ม ขณะที่ในด้านเศราฐกิจของ อียู ถือว่ามีระดับของการพัฒนาที่ใกล้เคียงกันทำให้สามารถออกกฎระเบียบมาบังคับใช้ร่วมกันโดยไม่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไ้เรียบหรือเสียเรปียบ และภายหลังจากการรรวมกลุ่มกันแล้วก็มีการจัดตั้งองค์กรกลาง คือ คณะมนตรียุโรป ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมและประสานความร่วมมือระหว่างสมาชิกภายในกลุ่ม....
 
            - บางส่วนจาก วิทยานิพนธ์ "ผลกระทบของการใช้เงินสกุลยูโรต่อการต้าระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป" โดย สุเทพ วันอ่อน 

วันอาทิตย์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2561

Euro

       
ระบบเงินตราสกุลเดียว กรณีเงินยูโรแนวคิดในการใช้เวินรตราสกุลเดียวร่วมกันในกลุ่มประเทศต่งๆ มีมานแล้ว เช่น สหภาพยุโรปกลุ่มประเทศใลาตินอเมริกา เอเชียบางประเทศ และแฟริกา เป็นต้น แต่กลุ่มประเทศที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการใช้เงินตราสกุลเดียวร่วมกันก็คือ กลุ่มสหภาพยุโรป โดยเงินสกุลดังกล่าวเรียกว่า "เงินยูโร"
            เงินยูโร เป็นเงินตราสกุลหนึ่งที่ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปนำมาใช่ร่วมกัน โดยเร่ิมนำมาใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2542 กับสมาชิก 11 ประเทศ โดยในช่วง 3 ปีแรกของการนำมาใช้นั้นการทำธุรกรรมต่างๆ จะเลือกใช้ได้ทั้ง เงินยูโร เงินยูโรและเงนสกุลท้องถ่ินของแต่ละประเทศและเงินสกุลท้องถ่ินของแต่ละประเทศและตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2545 การทำธุรกรรมต่างๆ จะถูกเปลี่ยนเป็นเงินยุโรเท่าน้น ต่อมามีการเข้าร่วม เพิ่มเติมอีก และนอกจากนั้นยังมีประเทศนอกกลุ่มสหภาพยุโรปบางประเทศร่วมใช้ด้วยhttp://www.stou.ac.th/Study/Services/Sec/60340(2)/SingleCurr4.html
            ทวีปยุโรปนับเป็นกลุ่มแรกที่เข้าสูระบบเงินตราสกุลเดียวได้สำเร็จและทำให้ระบบนี้เป็นที่รู้จักอยร่างแพร่หลาย จากการที่ยุโรปเป็นตลาดการต้าใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกและเจริญรุ่งเรื่องมานาน มีการค้าระหว่างประเทศอย่างกว้างขวาง แต่การใช้สกุลเงินที่แตกต่างกันทำให้การต้าขายในแถบยนี้ยุ่งยากซับซ้อน ต้องมีการแลกเปลี่ยนเงินตราจากสกุลหนึ่งไปเป็นอีกสกุลกนึ่งเพื่อใช้ใการชำระค่าสนิค้าและบริกาต่างๆ ทำให้เกิดต้นทุนทางธุรกรรมและความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ดังนั้นในทศวรรษ ที่ 1930 องค์การสันนิบาตชาต ิไ้พิจารณาถึงแนวทางี่จะให้ประเทศสมาชิกในยุโรปรวมตัวกันทั้งด้านเศรษฐศาสตร์และการเงินเพื่อลดปัญหาดังกล่าว แต่สงคามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ความพยายามนีนีต้องหยุดชะงักลง และภายหลังทีมีการรวมตัวกันของประเทศกลุ่มหนึ่งในยุโรปเป็ประชาคมเศราฐกิจยุโรป แนวคิดเรื่องความร่วมมือทางเศราฐกิจและการเงินได้ถูกนำกลับมาพิจารณาอีกครั้ง โดยมีแนวคิดที่จะให้ประเทศในยุโรปใช้นโยบายทางการเงินร่วมกัน เพราะนักวิชาการต่างมองวารปะชาคมเศรษฐกิจยุโรปมีความพร้อมที่จะพัฒนาไปสูการเป็นสหภาพเศรษบกิจได้ จึงทำให้ความคิดเรื่องสกุลเงินกลางและธานาคารกลางหนึ่งเดียวของประเทศในกลุ่มยุดรปถูกนำมาพิจารณาร่วมกัน
            ในทศวรรษที่ 1980 เป็นช่วงที่แนวคิดังกล่าวมีการพัฒนาอย่งเป็นรูปธรรม โดยมารวางแผนเพื่อก่อตั้งองค์กรด้านเศรษฐกิจและการเงินร่วมกัน กฎหมายยุโรปตลาดเดียว ที่ได้รับการบลวนามเมื่อ ค.ศ. 1986 ได้ขยายขอบเขตความร่วมมือทางด้านเสณาฐกิจและการเมืองระห่างปรเทศสมาชิกในกลุ่มประชาคมเสณาฐกิจยุโรป จนกระทั่งใน ค.ศ. 1992 ได้มีการลงนามร่วมกันในสนธิสัญญามาสตชท์ ให้มีการก่อตั้งสหภาพยุโรป ขึ้น หมายถึง การรวมยุดรปเป็นหนึ่งเดียวหรือเรยกว่า เป็นตลาดเดียว โยข้อกีดกันระหว่างประเทศทางเศณาฐกิจถูกยกเลิกไป เรงงาน สินค้า และงเนทุนสมารถเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศอย่างเสรี และกำหนดให้ ค.ศ. 1999 เป็นปีที่เร่ิมใช้สกุลเงินกลาง รวมทั้งวางรากฐานยุทธศาสตร์ทางการเงินร่วมกัน โยสกุลเงินกลางนี้ต่อมาเรียกว่า เงินยูโร เป้นสกุลเงินที่ปรเทศในกลุ่มยูโรโซนใช้ร่วมกัน ประเทศกลุ่มยูโรโซนประกอบได้ด้วยประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป ที่ใช้เงินสกุลยูโรร่วมกันและเป็นสกุลเงินเดียวที่สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายhttp://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/Lom20/05-

03.html
           พัฒนาการและแนวคิดการจัดตั้งสกุลเงินแห่งยุโรป
           สนธิสัญญามาสทริชต์ เป้นข้อตกลงที่จัดทำขึ้นโดยคณะมตรียุโรปกรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 17 มิถูนายน พ.ศ. 2549 และเป้นจุดเร่ิมจ้รของการเกิดสกุลเงินยุโรป ภายใต้ข้อตกลงมาสทริชต์ การดำเนินนโยบายการคลังของประเศสมาชิกในกลุ่มสหภาพยุโรปจะต้องเป้นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีเป้าหมายหลักในการควบคุมเงินเฟ้อ
          การจัดทำโครงการสร้างเสถียรภาพ พ้อมกับการปรับระดับเสถียรภาพเศราฐกิจของกลุ่มประเทศที่มีพื้นฐานเศรษฐกิจแตกต่างจากประเทศเศณาฐฏิจชั้นนำในกลุ่มยุโรป ประเทศสมาชิกต้องดำเนินนธยบายการเงินในการควบคุมภาวะเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำและสร้างเสถียรภาพของราคาอักทั้งมีการปรัปรุงระเบียบกฎเกณฑ์ให้เกิดการโอนย้ายปัจจัยกาผลิต โดยเฉาพะเรื่องแงานอยางเสีเพื่อส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวของการจ้างงาน
          แนวคิดริเร่ิมมาจั้งแต่สิ้นสุดระบบอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงกับทองคำ แต่สภาพแวดล้อมทางการเมืองไมเดือ้อำนวย แต่ก็ตระหนักถึงการที่จะต้องรักษาอัตราแลกเปลี่ยนระหว่งกลุ่มประเทศสมาชิกให้มีความผันผวนน้อยที่สุด เพ่อสร้างความสามารถในการแข่งขันกับประเทศเสณาฐกิจชั้นนำต่างๆ โดยริเริ่มเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนให้อยูในช่วงแคบๆ ไม่ให้ผันผวนมากนัก ซึ่งเป็นแนวคิดของการกำหนดกรอบความเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้เกิดนโยบายแนวคิดของการจัดตั้งระบบการเงินแห่งยุดป เพ่อให้ต้นทุนการปรับของอัตราและเปลี่ยนระหว่างประเทศสมาชิกลดลงปัจจัยหลักคือ การรักษาอัตราเงินเฟ้อของอลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ให้อยู่ในระดับที่ต่ำ มีอัตราใกล้เคียงกันระหว่างประเทศสมาชิก
        การปรับเข้าหากันของโครงสร้างพื้นฐาน
         - เป็นช่วงบูรณาการของการเป็นหนึ่งเดียวของตลาดยุโรป ทั้งตลาอกสินคาแท้จิรงและตลาดสินทรัพย์ทางการเงินเปิดเสรีการค้า การบริการ การลงทุนระหว่างประเทศ โดยมีปััจัยความเสี่ยงคือการเก็งกำไร ค่าสกุเงินท้องถ่ินต่างๆ เนื่องจากความแตกต่างของปัจจัยพื้นฐานทางเศษรฐกิจ
         - สร้างมาตรฐษนของการปรับตัวเข้าหากันจดตั้งธนาคารกลางแห่งยุโรป
         - ใช้เงินสกุลยูโรอย่างสมบูรณ์ และให้ ECB เป็นผุ้กำหนดนโยบายทงการเงินภายในขอบเขตทของประเทศสมาชิกการจัดตั้งเงินยูโร ลดต้นทุน ทางกรเงินอันเนื่องมาจากอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างปะเทศสมาชิกของประเทศยุโรป
         
การปรับเปลี่ยนเข้าสู่การใช้เงินสกุลยูโร เร่ิมตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2542 ประเทศมาชิกในกลุ่มยูโรโซนจะทำการแปลงค่าภายใต้อัตราแลกเปลี่ยนตายตัว ดดยแสดงราคสินค้าสองสกุถล ระยะเวลาที่ 2 เงินยูโรถูกนำมาใช้ภายใต้ระบบราคาค๔ู่เป็นเวลา 3 ปี ธนาคารแห่งยุโรป จะเริ่มรับโอนบทบาทการกำหนดนโยบายการเงินจากธนาคารกลางของประเทศสมาชิก, ช่วงระยะเวลาที่ 3 ธนาคารกลางแห่งยุโรปจะเร่ิมนำเงินยูโรเข้าสูระบบการซื้อขายแลกเปลี่ยนประจำวันในขอบเขตประเทศสมาชิกในกลุ่มยูโรโซน
          บทบาทของเงินยูโร
          - การใช้เป็นหน่วยราคาสินค้าและบริการ เงินสกุลกลางของประเทศสมาชิกใช้เป็นเงินอ้างอิงหลักสำหรับการกำหนดราคา สินค้า ช่วยลดต้นทุนในการดำเนินธุรกรรมระหว่งประเทศสมาชิก
          - การดำรงฐานะเป็นเงินทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ การดำรงเงินทุนสำรองระหว่างประเทศแต่ละประเทศพิจารณาจากธุรกรรมการต้าของประเทศตนเองกับประเทศคู่ค้าเป็นสำคัญ
          - การเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หมายถึงความสามารถในการแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงิน เช่นเปลี่ยนเงินยูโรเป็นเงินท้องถ่ินที่ยอมรับได้ เสมือนกับเงินยูโรเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน...http://fin.bus.ku.ac.th/thai/pdf/ch21.pdf
           ข้อตกลง แมสทริตช์ ได้เห็นชอบสนธิสัญญาว่าด้วยสหภาพเศรษบกิจและการเงิน กำหนดเป้าหมายที่จะรวมเศรษบกิจและการเงินของยุโรปเป็นหนึ่งเดียว และกำหนดแนวทางการใช้เงินสกุลเดียวภายในปี 1999 ทั้งนี้จะดำเนินการจัดตั้งธนาคารกลางยุโรป เพื่อดุแลนธายการเงินร่วมกัน เช่น ดูแลเรื่องปริมาณและอัตราแลกเปลี่ยนของเงิน ยูโร และกำหนดอัตราดอกเบี้ยของประเทศสมาชิก เป็นต้น และกำหนดเงืินไขให้ประเทศที่จะเข้าร่วมต้องปรับระบบเสราฐกจิของแต่ละประเทศให้อยู่ในระดับเดียวกัน ก่อนที่จะร่วมกันใช้เงินสกุลเดียว ดังนี้
         - การขาดดุลงบประมาณประจำปีต้องไมเ่กินร้อยละ 3 ของ จีดีพี
         - ยอดคงค้างหนี้รัฐบาลต้องไม่เกินร้อยละ 60 ของ จีดีพี
         - อัตราเงินเฟ้อจะสูงกว่าอัตราเฉลี่ยของ 3 ประเทศสมาชิกที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำสุดได้ไม่เกิน ร้อยละ 1.5
         - อัตราดอกเบียระยะยาว (พันธบัตรรัฐบาล) จะสูงกว่าอัตราเฉลี่ยของ 3 ประเทศสมาชิกที่มี อัตราเงินเฟ้อต่ำสุดได้ไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปี
         - อัตราแลกเปลี่ยนจะต้องมีเสถียรภาพ โดยเคลื่อนไหวในกรอบของกลไก อีอาร์เอ็ม ไม่ต่ำหว่า 2 ปี ประเทศสมาชิกต้องไม่ลดค่าเงินภายใน 2 ปี ก่อนการตัดสินใจเข้าร่วม
          - อย่างไรก็ตามเงื่อนไขหรือเกณฑ์ดังกล่วยือหยุ่นได้บ้าง โดยพิจารณาแนวโน้มในอนคต ว่าโอกาสที่แต่ละประเทศจะมีโอกาสปรับตัวเข้าสู่เกณฑ์ในที่สุด
           ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปได้เริ่มนำเงินยูโรมาใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 1999 โดยเป็นการใช้เงินทางระบบบัญชี ตราสาร และการโอนเงินเท่าน้ัน ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ของเงินยูโรได้เร่ิมนำมาใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2002 ปัจจุบันมีประเทศมาชิกสหภาพยุโรปที่เป็นสมาชิก อีเอ็มยู และร่วใช้เงินยูโร 12 ประเทศ ...https://sites.google.com/site/thnkvt32435/rabb-ngein-shphaph-yurop
            กลไกอัตราแลกเปลี่ยนยุโรป
            กลไกอัตราแลกเปลี่ยนยุโรป เป็ฯระบบซึ่งริเร่ิมโดยประชาคมยุโรป ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2522 โดยเป็นส่วนหนึงของระบบการเงินยุโรป เพื่อลดความแปรปรวนของอัตราแลกเปลี่ยนและบรรลุเสถียรภาพการเงินในยุโรป เพื่อลดความแปรปรวนของอัตราแลกเปลี่ยนและบรรลุเสถียรภาพการเงินในยุโรป เพื่อเป้ฯการเตรียมการสำหรับสหภาพยเศรษฐกิจและการเงิน และการริ่เร่ิมเงินยูโรสกุลเดียว ซึงมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2542 หลังเร่ิมใช้เงินยูโรนโยบายได้เปลียนเป็นการเชื่อมโยงสกุลเงินของประเทศนอกยูโรโซนเข้ากับเงินสกุลยูโรโดยมีสกุลเงินกลางเป็นจุดกลาง เป้าหมายคือ เพื่อปรับปรุงเสถียรภาพของค่าเงินเหล่านี้เช่นเีดยวกับการเพ่ิมกลไกการประเมินสำหรับสมาชิกยูโรโซนที่มีศักยภาพ กลไกนี้รู้จักกันในชื่อ อีอาร์เอ็ม 2
           อีอาร์เอ็ม ตั้งอยุบนแวคิดของอัตราการแลกปลี่ยนเงินตราควที่ แต่โดยอัตราแลกเปลี่ยผันแปรได้ภายในขอบเขต ซึ่งแนวคิดดังกล่วยังได้ชือว่า ระบบกค่งอิงเงินสกุลอื่น ก่อนเริ่มใช้เงินสกุลยูโร อัตราแลกเปลี่ยนขึ้นอยู่กับหน่วยเงินตรายุโรป ซึ่งมูลค่าพิจารณาจาอค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของเศรษฐกิจประเทศผู้เข้าร่วม
       
กริด ของอัตราทวิภาคี คำนวณได้จากพื้นฐานของอัตรากลางเหล่านี้ที่แสดงใน อีซียู และความผันผวนสกุลเงินต้องถุกจำกัดภายในขอบ 2.25% ทั้งสองฝ่ายของอัตาทวิภาคี (ยกเว้นสกุลบีร่าอิตาลี ซึงอนุญาตให้ขอบเป็น 6%) การแทรกแซงที่กำหนดและข้อตกลงกู้ยืมคุ้มครองสกุลเงินที่เข้าร่วมมิให้มีอัตรแลกเปลี่ยนผันผวนมากขึ้น ในพ.ศ. 2538 ขอบเขตดังกล่าวขยายเป็น 15% เพื่อจัดให้เหมาะสมกับเงินฟรังก์ฝรั่งเศสและสกุลอื่น
         การถูกบีบออาจาก อีอาร์เอ็ม ของปอนด์สเตอร์ลิง สหราชอาณาจักรเข้า อีอาร์เอ็มในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2533 แต่ถูกบีบให้ออกจากโครงการภายในสองปีหลังปอนด์สเตอร์ลิงได้รับแรงกดดันอย่างหนักจากผุ้สังเกตุการเงินตรา รวมทั้งจอร์จ โซรอส เหตุการณ์ตลาดหลักทรัพย์ตกเมือวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2535 ที่เกิกขึนตามมา ถูกขนานนามภายหลังว่า "วัพุธทมิ)" มีการทบทวนทัศนะต่อเหตุกาณณ์นี้โดยแสดงสมารรถนะทางเศรษฐกิจอันเเข็งแกร่งของสหราชอาณาจักรหลัง พ.ศ. 2535 โดยมีผุ้วิจารณืเรียกว่า "วันพุธขาว" นักวิจารณืบางคน หลังนอร์แมน มเท็บบิต เรียก อีอาร์เอ็มว่าเป็น "กลไกถดถอยตลอดกาล" หลังสหราชอาณษจักรเข้าสู่ห้วยเศรษฐกิจตกต่ำในช่วงต้นคริสต์สตวณรษ 1990 สหราชอาราจักรใช้เงินกว่า หกพันล้านปอนด์พยายามรักษาค่าเงินให้อยู่ในชีดจำกัดแคบๆ โดยมีรายงานกว้างขวางว่ารายได้ส่วนตัวของโซราอสมีถึง 1 พันล้านปอนด์ เที่ยบกับ 12 ปอนด์ของประชากรอังกฤษแต่ละคน และขนานนามโซรอสว่าเป็น "ชายผู้ทุบธนาคารอังกฤษ"...https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%9B
       

วันเสาร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2561

European Union law

         แหล่งที่มาของกฎหมายสหภาพยุโรปนั้นมี 2 แหล่ง คื อกฎหมายหลัก หรือสนธิสัญญา ซึ่งนับแต่การก่อกตั้งประชาครเศรฐกิจยุโรป โดยสนธิสัญญากลุ่ดรม ซึ่งได้ลงนาในปี ค.ศ. 1951 และสธิสัญญาสหภาพยุโรปฉบับปัจจบุันคือสนธิสัญญาลิสบอน ซึ่งไดลงนามในปี ค.ศ. 2003 ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าสธิสัญญายุโรปเปรียบเสมือนว่าเป็นรัฐธรรมนูญของสหภาพยุโรปนั้นเอง ส่วนแหล่งที่สอง คือ กฎหมายรองของสหภาพยุโรปซึ่งออกโดยสถาบันที่ของยุรปนั้นตามนัยแห่งมาตรา 288 ของสนธิสัญญาว่าด้วยการบริหารงานของสหภาพยุโรป มีอยู่ 3 ประเภทคือ
        - ข้อบังคับสหภาพยุโรป เป็นกฎหมายอันดับรองจากสนะิสัญญายุโรปที่มีผลผูกพันตามกฎหมาย ตอรัฐสมาชิก ที่จะต้องนำไปปฏิบัติโดยตรงทั้งหมดทุกบทมาตราหลังจากที่ข้องบังคับได้รับความเห็นชอบร่วมกันโดยคณะมนตรียุโรป และรัฐสภายุโรป หรือผ่านความเห็นชอบโดยลำพังของคณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งผลโดยตรงทางกฎหมาย ต่อรัฐสมาชิกนั้นหมายความว่ารัฐบาลของรัฐสมาชิกนั้นๆ ไม่ต้องออกกฎหมายภายในบังคัยใช้อีกและไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงบทมาตราในข้อบังคับได้
         ดังนั้นเมื่อข้อบังคับหรือกฎระเบียบสหภาพยุโรปได้พิมพ์ประกาศลงในจุสารทางการ ก้มีผลยังคัยใช้แล้วนั้นผลทางกฎหมายก็คือว่าจะมีฐานะทางกฎหมายทีู่กว่ากฎหมายภายใน หล่าวอีกนั้นหนึ่งก็คือว่าข้องบังคับจะมีสภาพบังคับยที่เหนือกว่ากฎหมายภายในเรื่องเีดยวกน หากฎมหมายภายในรัฐสมาชิกขัดหรือแย้งกับข้อบังคับสหภาพยุโรปแล้วจะไม่มีผลบังคับแต่อย่างใด ดังนั้นรัฐมสมาชิกต้องออกฎหมายให้สอดคล้องกับกฎระเบียบยุโรป
     
จะเห็นว่ากฎหมายของรัฐสมาชิกใช้บังคับภายในรัฐอยู่นั้นส่วนใหญ๋มาจากข้อบังคับยุโรปและเป็นส่วนน้องเท่าน้นที่รัฐสมาชิกออกกฎหมายภายในเอง ผลทางกฎหมายเมือเกิดกรณ๊ที่รัฐสมาชิกไม่ปฏิบัติตามข้อบังคัยยุโรป คือคณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งมีหน้าที่ในการดูแลการบังคับใช้กฎมหยยุโรปของรัฐสมาชิกและสามารถที่จะฟ้องต่อศาลยุติธรรมยุโรปเพื่อให้มีการพิจารณพิพากษา หากพบว่ารัฐสมาชิกละเมิดไม่ปฏิบัติตามกฎหมายยุโรปแล้วผลก็คือจะมีการปรับเป็นตัวเงินแก่รัฐสมาชิกที่ละเมิด
       - ข้อกำหนดยุโรป เป้ฯการกำหนแนวทาแก่รฐสมาชิกที่จะนำไปดำเนินการจัดทำเป็นกฎหมายหรือแก้ไขกฎหมายภายในของตนเอง ซึ่งไม่ปฏิบัติตามคณะกรรมธิการยุโรปมีอำนาจที่จะตักเตือนรัฐนั้นให้ดำเนินการตามข้อกำหนดหรืออาจจะฟ้องรัฐดังกล่าวต่อศาลยุติธรมยุโรปเพื่อให้ปฏิบัติตามข้อกำหนด ข้อกำหนดมีจุดประสง์ให้รัฐสมาชิกได้มีกฎหมายหรือหลักปฏิบัติที่สอดคล้องกันและข้อกำหนดนั้นมีผลผุกพันเป็นกฎหมายแก่รัฐที่ข้อกำหนดได้ระบุไว้ ดังนั้นข้อกำหนดนั้นจะทำให้รัฐสมาชิกปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ได้แล้วออก ซึ่งรัฐสมาชิกสามารถปรับใช้เป็นกฎระเบียบภายในโดยคำนึงถึงข้อจำกัดและความเป็นไปได้ภายในรัฐของตนดังนั้น การนำเอาข้อกำหนดสหภาพยุโรปของรัฐสมาชิกนั้จะมีการปฏิบติที่แตกต่างกันไป
           สำหรับข้อกำหนดยุโรปต่างจากข้อบังคับยุโรปในแง่ที่่ว่า ข้อกำหนดยุดรปจะมีการออกข้อกำหนดไปยังผุ้มีอำนาจในรัฐสมาชิกที่จะทำให้ข้อกำหนดยุโรปให้ถูกบังคับใช้เป็นส่นหนึ่งของกฎหมายยภายใน โดยข้อกำหนดนั้นอาจจะมีไปยังรัฐสมาชิกรัฐใดัฐหนึ่งหรือหลายๆ รัฐก็ได้และกำหนดระยะเวลาให้รัฐเหล่าน้ั้นพิจารณาว่าจะใช้วิธีการออกกฎหมายด้วยวิธีใด ซึ่งข้อกำหนดมักจะเป้นการทำให้กฎหมายภายในของรัฐสมาชิกมีความใหล้เคียงกัน อย่างเช่น ข้อกำหนเกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยของผลิตภัฒฑ์ ข้อกำหนเรื่องการยอมรับระหว่างกันซึ่คุณสมบัติเกี่ยวกับทันตกรรม
          - คำสั่ง เป็นระเบียบข้อบังคัยที่ใช้บังคับแก่รัฐบาลของรัฐสมาชิก บริษัท หรือองค์กรเอกชนจ่างๆ ถือว่าเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่มีผลผุกพันเฉพาะปัจเจกชนที่ระบุไว้ในคำสัง ว฿่งคำสั่งนั้นอาจจะถูกออกโดยการพิจาณร่่วมกันของคณะมนตรียุดรปและรัฐสภายุโรปหรือจากคณะกรรมาธิการยุดรป ซึ่คำสั่งนั้นมีจุดประสงค์เพื่อที่จะให้เจ้าหน้าที่ผุ้มีอนำาจหรือพลเมืองในรัฐกระทำการหรือหยุดกรทะำการอย่างหนึ่งอย่างใด ึ่งคำสั่งจะออกคำตัดสินไปยังคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งและมีผลผุกพันทางกฎมหายอย่่างสมบูรณ์
         นอกจานี้ แล้วยังมีคำแนะนำ และความเห็นไม่มีผลผุกพันสถาบันหรือปัเจกชนใด หล่าวคือไม่มีสภาพบังคับ ดดยต่างไปจากระเบียบข้อบังคับ ข้อกำหนซึ่งออกโดยสหภาพยุโรปที่มีสภาพบังคับ แลมีผลผูกพันทางกฎมหายต่อประเทศสมาชิกแต่อย่างใดแตกก็ให้ผลในเชิงโน้มน้าวการตัดสินใจของรัฐสมาชิกเท่านั้นนอกจานี้ แล้วคำพิพากษาซึ่งเป็นควาเห้นของศาลยุติธรรมยุโรปก็ถือว่าเป็นแหล่งที่มาของกฎมหายแห่งสหภาพยุโรปอีกด้วย
     
 สำหรับกระบวนการออกข้อบังคับ ของสหภาพยุโรป สถาบันที่มีอำนาจนการเสนอกฎระเบียบได้คือคณะกรรมาธิการยุโรป ดดยจะมีกระบวนการเป็น 2 ขั้นตอน คือ
         - การร่างข้อบังคับ สนธิสัญญาก่อตั้งสหภาพยุโรป ได้กำหนดให้คณะกรรมาธิการยุโรป เท่านั้นที่มีอำนาจในการเสนอร่างข้อบังคับแก่คณะรัฐมนตรียุโรปและสภายุโรปเป็นผุ้ร่วมพิจารณาให้การรับรองเพื่อที่จะออกเป็นข้อบังคัยแก่คณะรัฐมนตรียุโรปและสภายุโรปเป้นผู้ร่วมพิจารณาให้การรับรองเพื่อที่จะออกเป็นข้อบังคับให้ประเทศสมาชิกนำไปปฏิบัติ สำหรับขั้นตรอการร่างข้อยังคัยนั้นจะมีอยู่สองระดับคือระดับเทคนิคและระดับการเมือง สำหรับในระดับเทคนิคนั้นเจ้าหน้าที่หรือข้ราชการในคณะกรรมาธิการยุโรปผู้ที่ได้รับมอบหายจะเป็นผุ้ร่างกฎมหายข้อบังคับขึ้นแล้วส่งให้แก่ เพื่อขอคำปรึกษาซึ่งถือว่าเป้นความลับของทางราชการมาก และต่อมาร่างดังกล่าวก็จะถูกส่งต่อมายังระดับการเมืองคือให้คณะกรรมธิการยุโรปในการพิจษณาเพื่อที่จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรียุโรปและสภายุโรปในการพิจารณาต่อไป
       
- ขั้นตอนรับรองข้อบังคับ หลังจากที่ร่างข้อบังคับได้ถูกส่งมายังคณรัฐมนจรียุโรปหรือสภายุโรปในการให้การรับรองร่างข้อบังคับ ซึ่งคณะรัฐมนตรียุโรปมีอำนาจที่จะให้การรับรองแบบ ซึ่งเป็ฯการับรองแบบเสียงเอกฉันท์หรือเสียงข้างมากก็ได้โดยจะเป็นการให้การรับรองแบบกระบวนการพิศษ ส่วนการให้การรับรองตามกระบวนการปกติหรือแบบ โค-ดิไซชั่น นั้นคณะรัฐสภายุโรปจะไใก้การรับรองร่างข้อบังคัยแบบลงเสียงข้ามากโดยะต้องผ่าน 2 ขั้นตอน และการไม่สามาหาข้อสรุปได้จะเข้ากระบวนการ คอนไซเลชั่น
          การบังคับยใช้กำหมายยุโรปกำหนดไว้ตามมาตรา 258 แห่งสนธิสัญญาว่าด้วยการกำหนหน้าที่สหภาพยุโรป ให้คณะกรรมาธิการยุโรป มีหน้าที่ที่จะกำกดับดูแล และหากว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม แล้วก็จะมีการเจรจาให้รัฐสมาชิก สถาบันหรือเอกชนเหล่านั้น ปฏิบติตามด้วยความเต็มใจ หรืออาจจะทำการแซงชั้น ต่อผู้ฝ่าฝืนเหล่านั้นหรืออาจจะนำกรณีดงหล่าขึ้นสู่าลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรปในการพิจารณวินิจฉัยต่อไป...

           บางส่วนจาก วิทยานิพนธ์ "สภานะเหนือกว่าของพันธกรณีตามกฎบัตรสหประชาชาติต่อพันธกรณีตามข้อตกลงตามกฎหมายระหว่างประเทศอื่น :  กรณีศึกษาข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้ายและคำวินิจฉัยของศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป" โดย ร้อยตำรวจเอกเมือง พรมเกษา.

วันศุกร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2561

European Union Structure

           การขยายตัวของยุโรปทำให้ตลาดยุดรปเข้มแข็ง มีประชากรกว่า 500 ล้านคน ที่มีศํกยภาพกำลังซื้อที่เข้มแข็ง มีการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตอย่างเสรี มีระบอบการปกครอง และ การเมืองที่เแข็.แกร่งและมีบทบาทในเวทีโลกอย่างสำคัญยิ่ง
          โครงสร้างของสหภาพยุโรป สหภาพยุโรปมีสถาบันหลักที่สำคัญ 5 สถาบัน คือ
          1. คณะมนตรีแห่งยุโรป The European Council
          2. สภารัฐมนตรี The Council of Ministers
          3. คณะกรรมาธิการยุโรป The European Commission
          4. สภายุโรป The European Parliament
          5. ศาลยุติธรรมยุโรป The Court of Justice of the European Union
          1. คณะมนตรีแห่งยุโรป The European Council 

           คณะมนตรีแห่งยุโรป หรือ ที่ประชุมสุดยอดแห่งยุโรป เป็นที่ประชุมของประมุขของรัฐ หรือหัวหน้าคณะรัฐบาลของประเทศสมาชิกทุกประเทศของสหภาพยุโรป คณะมนตรีแห่งยุโรปมีหน้าที่ดำเนินมาตรการต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาสหภาพยุโรป และ กำหนดแนวนโยบายความัมพันะ์กบประเทศนอกกลุ่มสมาชิกโดยมีสถาบันอื่นๆ เช่นคณะกรรมาธิการยุโรป สภาพยุโรป และสภารัฐมนตรี เป้ฯสถาบัทีปฏิบัติการเพื่อให้เป้นไปตามนโยบายของคณมนตรียุโรป
         
 ธรรมนูญแห่งยุโรปได้กำหนดให้ ำสั่ง ของสหภาพยุโรปในบางเรื่องจะต้องดำเนินการโดยคณะมนตรีแห่งยุโรป นอกจากนี้คณะมนตรีแห่งยุโรป ยังมีบทบาทในการเสนอชื่อบุคคลที่เหมาะสมให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ โดยเสนอให้สภาแห่งยุโรปพิจารณา แต่คณะในตรีแห่งยุโรปไม่มีอำนาจในทางนิติบัญญัติดังนั้นกฎ ข้อบังคับต่างๆ ของสหภาพยุโรป จะถูกบัญญัติขึ้นโดยสภารัฐมนตรี ด้วยความเห็นชอบของสภายุโรปแต่คณะมนตรีแห่งยุโรปมีอำนาจในการคัดค้านบทบัญญัติบางข้อได้ เฉพาะข้อที่อนุญารไว้ในรัฐธรรมนูญ ที่เรียกว่าการระงับโดยฉุกเฉิน นอกจากนี้ ธรรมนูญเพื่อยุโรปยังบัญญัติว่ คำสั่ง ของคณะมนตรีแห่งยุโรปจะต้องได้รับความเห้นชอบโดยมติเอกฉันท์ เว้นแต่มธรรมนูญแห่งยุโรปบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
          คณะมนตรีแห่งยุโรปเป็นเวทรหลักในการประสานความร่วมมือระห่างรัฐบาลของประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์ระหว่าประเทศอย่างมประสิทธิภาพ โดยผลของการประชุมที่เมืองนี้ส คณะมนตรีแห่งยุโรปได้ลงมติจัดตั้งองค์การถาวรทางการเมือง และ การทหารภายในสภารัฐมนตรีแห่งยุโรป องค์กรดังกล่าวคือ
          - คณะกรรมการ การเมือง และความมั่นคง
          - คณะกรรมการ การทหารของสหภาพยุโรป
          - เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการทางทหารของสหภาพยุโรป
         
2. สภารัฐมนตรีแห่งสหภาพยุโรป The Council of Ministers สภารัฐมนตรีแห่งสหภายยุดรประกอบด้วยผุ้แทนจากประเทศสมาชิกในระดับรัฐมนตรี ทีอำนาจในการตัดสินใจและ ทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติร่วมกับสภายุโรป ดูแลเรื่องงบประมาณ และเป็นองค์กรประสานงานการประชุมของสภารัฐมนตรีแหงสหภายยุโรป ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกที่มาประชุมในเรื่องต่างๆ ซึ่งปกติแล้วจะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ แต่ อาจจะเป็นรัฐมนตรีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่มาประชุมการออกเสียงของสภารัฐมนตรจะใช้มติเสียงข้างมากพิเศษ ประเทศสมาชิกจะมีเสียงไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรของแต่ละประเทศ นอกจากนั้นยังเป็นผู้แทนในระัดบคณะทำงาน เอกอัครราชทูตและ ระดับรัฐมนตรีค่างๆ ว฿่งมีอยู่ 9 คณะ คือ
           - คณะรัฐมนตรีว่าด้วยกิจการทั่วไป และความสัมพันธ์ภายนอก
           - คณะมนตรีว่าด้วยเศรษฐกิจและการเงิน
           - คณะมนตรีว่าด้วยงานยุติธรรมและกิจการภายในประเทศ
           - คณะมนตรีว่าดวยการจ้างงาน นโยบายสังคม สุขภาพ และผู้บริโภค
           - คณะมนตรีว่าด้วยการแข่งขันทางด้านตลาอดภายใน อุตสาหกรรมและ การวิจัย
           - คณะมนตรีว่าด้วยการขนส่ง การสื่อสารโทรคมนาคม และพลังงาน
           - คณะมนตรีว่าด้วยการเกษตรกรรม และการประมง
           - คณะมนตรีว่าด้วยสิ่งแวดล้อม
           - คณะมนตรีว่าด้วยการศึกษา เยาวชน และวัฒนธรรม
          สภารัฐมนตรีแห่งยุโรป มีหน้าที่สำคัญโดยสรุป คือ ออกกฎ ขอ้บัญญัติต่างดๆ ของสหภาพยุโรป กล่าวคือ มีอำนาจในการออกคำสั่ง ข้อบังคับ และข้อกำหนดนับว่าสภารัฐมนตรีเป็องค์กรที่ทำหน้าที่นิติบัญญัติของสหภาพยุโรป ทั้งนี้โดยความเห้ฯชอบของสภายุโรป และนำเสนอคณะกรรมาธิการ ซึ่งข้อบัญญัติเหล่านี้เมื่อประกาศใช้แบ้วจะมีผลบังคับทันที่ ดดยมีคณะกรรมาธิการทำหน้าที่ังับให้รัฐสมาชิกทั้งหลายปฏิบัติตาม หน้าที่ประการต่อมาคือการทำหน้าที่ประสานนโยบายเศราฐกิจกับประเทศสมชิก และหน้าที่ ที่สำคัญคือเป็นองค์กรที่มีอำนาจในการทำหความตกลงระหว่างประเศ หลังจากที่คณะกรรมาธิการยุโรปได้ดำเนินการเจรจา เมื่อสภาคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วว และได้ลงนามในความตกลงแล้วจะมีผลบังคับสถาบันต่างๆ ของสหภาพยุโรปและ รัฐสมาชิกทั้งหลายโดยรวมและ แต่ละรัฐด้วย นอกจากนี้ก็มีหน้าที่ในการอนุมัติงบประมารของสหภาพยุโรป มีหน้าที่พัฒนานโยบายต่างประเทศ และ หน้าที่ในด้านงานยุติธรรมและ กิจการภายใน
          3. คณะกรรมธิการยุโรป  The European Commission ซึ่งเป้นฝ่ายบริหาร และบริการทั่วไปของสหภาพยุดรป และที่สำคัญสภายุโรปเป็นสถบนเียวที่มีอำนาจในการเสนอกฎหมาย และรับผิดชอบงาน
ด้านกฎหมายของสหภาพยุโรป ทั้งในรูปของ เลคกูเลชั่น, ได้เรคทีฟ และ ดีไซด์ชั่น ที่เห็นชอบโดย สภายุโรป และสภารัฐมนตรียุโรป คณะกรรมาธิการยุโรปทำหน้าที่ปกป้อง หรือทำให้สนธิสัญญามีผลบังคับใช้ นอกจากนี้ยังทำงานร่วมกับศาลยุติธรรมยุโรป ในส่วนของความร่วมมือระหว่างประเทศนอกกลุ่มสหภาพนั้น คณะกรรมะิการยุดรปทำหน้าที่เจรจความตกลง และสนธิสัญญา ทั้งหลาย
        คณะกรรมาธิการยุโรปประกอบด้วยสมชิก 25 คน โดยรัฐบาลของแต่ละประเทศสมาชิกแต่งตั้งเข้ามา ดำรงตำแหน่งวาระ 5 ปี เมื่อครบวาระแล้วสามารถได้รับการแต่งตั้งเข้ามาหใา่ได้ กรรมาธิการนี้จะต้องดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับสูง หรือ เป็นรัฐมนตรีในคณะรัฐบาล และเมื่อได้รับการแต่างตั้งเป็นกรรมาธิการแล้วจะต้องทำหน้าที่เพื่อสหภาพยุโรปโดยรวม และเป็นอิสระจากรัฐของตน เพราะคณะกรรมาธิการ เป็นองค์กรของสหภาพยุโรป จึงทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของสหภาพโดยรวมเท่นานั้นไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ของรัฐสมาชิกมีสภายุโรปเท่านั้นสามารถให้คณะกรรมาธิการออกจากำหแหน่งทั้งคณะ การออกเสียงของคณะกรรมาธิการใช้ระบบเสียงข้างมากเป็นหลัก
       
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ โดยสรุป คือ อำนาจในการเสนอร่างข้อบัญญัติ ข้อกูหมาย กล่าวคือมีอำนาจทำคำแนะนำ หรือความเห็น ดังนั้นคณะกรรมาธิการมีหน้าที่จัดทำข้อเสนอ ขอ้อบัญญัติต่างๆ ต่อสภารัฐมนตรีเพื่อขอความเห็นชอบ เมื่อสภามนตรีเห็นชอบแล้วคณะกรรมาธิการสามารถออกคำสั่ง เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ไ้ หร้าที่ประการ่อไป คือ หน้าที่ในการบริหารงานตามนโยบายและภายในงบประมาณของสหภาพยุโรป ซึ่งมี  2 ประเภท คือ อำนาจที่สนธิสัญญามอบให้โดยเฉพาะ และอำนาจที่สภารัฐมนตรีมอบให้เพื่อบริหารตามคำสั่งขอบงสภารัฐมนตรี ซึ่งมีแต่อำนาจในการออกคำสั่งเท่านั้น การบริหารคำสั่งนี้ปฏิบัติในระดับประเทศ และ ระดับท้องถ่ิน คณะกรรมาธิการดำเนินงานภายใต้การสอดส่องของคณะผุ้ตรวจสอบบัญชีแห่งยุโรปด้วยนอกจากนี้คณะกรรมาธิการยังมีหน้าที่เป็นผุ้แทนในการเจรจาความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างประเทศนอกกลุ่ม และอำนาจในกาพิทักษ์กฎหมายของสหภาพยุโรป กล่าวคือ คณะกรรมาธิการกับศาลยุติธรรมจะร่วมกันรับผิดชอบทำให้กฎหมาวยของสหภาพมีประสิทธิภาพในการนไปบังคับใช้
             รัฐมนตรีฝ่ายกิจการต่างประเทศ คณะกรรมาธิการยุโรป จะเกี่ยวพันกับรํบมนตรีฝ่ายกิจการต่างประเทศ ในส่วนทีเีก่ยข้องกับกิจการต่างประเทศ ซึ่งรัฐมนตรีฝ่ายกิจการต่างประเทศ ทำหน้าที่รอบประธานคณะกรรมาธิการยุดรป และเป็นผู้แทนของคณะมนตรียุโรปในการกำหนดนโยบายร่วมด้านต่างประเทศและความมั่นคง ของสหภาพยุโรปเท่าน้น และเป้นผู้แทนสหภายในกาเจรจาทางการเมือง รัฐผิดชอบด้านการทุตกับผุ้แทนของประเทศทั่วโลก รัฐมนตรีฝ่ายกิจการต่างประเทศนี้ได้รับการแต่างตั้งดยคณะในตรียุโรปด้วยการลงมติเสียงข้างมากพิเศษ ด้วยความเห็นชอบของประธานคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป และโดยความเห็นชอบองสภายุโรปด้วย นอกจากนี้ในแง่องค์กร สหภายพยุโรปยังได้จัดตั้ง ศูนย์บริการวิเทศน์สัมพันะ์แห่งสหภาพยุโรป เป็นศูนย์กลางช่วยเหลืองานของรัฐมนตรีฝ่ายกิจการต่างประเทศด้วย
         4.สภายุโรป The European Parliament พลเมืองของประเทศสมาชิกทั้งหมดของสหภาพยุโรปมีสิทธิในการเลือกตั้งสมาชิกสภายุโรปโดยวิธีเลือกตั้งตรง และทั่วไป ทั้งนี้ตามมาตรา 138 แห่งสนธิสัญญากรุงโรมได้บัญญํติวไว่ "สภาจะร่างข้อเสนอสำหรับการเลือกตั้งทั่วไปโดยตรงให้เป็นไปตามกระบวนการอย่งเดียวกันของประเทศสมาชิกทุกประเทศ"  การเลือกตั้งครั้งแรกกระทำขึ้นะมื่อ วันที่ 7-10 มิถุนยน ค.ศ.1979 การเลื่อกตั้งทั่วไปเป็นการเลือกตั้งโตตรงด้วยการลงคะแนนิสระและลับ พลเมืองของสหภาพยยุโรปจะเลือกผู้แทนของประเทศตนให้ดำรงตำแหน่งในวาระคราวละ 6 ปี ทั้งนี้ตามมาตรา 1-20 และมาตรา III - 330 แห่งธรรมนูญยังบัญญัติให้การดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภายุโรปสอดคล้องกับกระบวนการเลือกตั้งที่มีอยู่แล้วในแต่ละประเทศสมชิกจะมีจำนวนที่น่งในสภไม่เท่ากัน โยประเทศที่มีที่นั่งสูงสุด คือ ไม่เกิน 96 ที่นั่ง และที่นั่งต่ำสุด คือ 6 ที่นั่ง
       
อำนาจของสภายุโรปจะถูกบัญญัติไว้ในมาตรา 137 แห่งสธิสัญญาประชาคมยุโรป วึ่งมีอำนาจหน้าที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ อำนาจในการควบคุม อำนจทางนิติบัญญํติ อำนาจในการตรวจสอบการใช้จ่าย ดังรายละเอียดโดยสังเขปดังต่อไปนี้
         อำนาจในการควบคุมดุแลการบริหารงานของคณะกรรมาธิการ และสภายุโรปมีอำนาจในการลงมติไม่ไว้วงางใจคณะกรรมาธิการโดยต้องได้รับคะแนนเสียงสนับสนุนไม่น้อยกว่าสองในสามของสมาชิกที่มาออกเสียง ซึ่งจะมีผลให้คณะกรรมาธิการต้องละออกทั้งคณะ
         ส่วนอำนาจในทงนิติบัญญัติ คือกระบวนการตัดสินใจร่วม ระหว่างสภายุโรปและสภรัฐมนตรีในการให้ความเห็นชอบกฎข้อลบังคับต่างๆ เืพ่อนำมาใช้บังคับแก่ประเทศสมาชิก สภายุโรปมีอำนาจในการให้คำปรึกษาและเห็นชอบในการร่วงกฎหมายทั้งปวงที่คณะกรรมาะิการเสนอก่อนที่จะผ่านให้สภารัฐมนตรีอนุมัติสภายุโรปยังมีอำนาจจัดให้มีการอภิปรายและเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจขอคณะกรรมาธิการ หรือสภารัฐมนตรีในปัญหาสำคัญต่างๆ หรือในการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศและอำนาจในการตรวจสอบการใช้จ่ายนั้นสภายุโรปมีอำนาจตรวจสอบการใช้จ่ายของคณะกรรมธิการโดยมีการแต่างตั้งคณะอนุกรรมาธิการให้ทำงานใกล้ชิดกับคณะผู้ตรวจสอบบัญชี สภายุโรปมีอำนาจในการพิจารณางบประมาณทั้งหมดของสหภาพร่วมกับสภารัฐมนตรีด้วย
          5. ศาลยุติธรรมยุโรป Court of Justice of the European Union ศาลยุติธรรมยุโรปได้รับการก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1961 โดยสนธิสัญญาปารีสที่ก่อตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กล้าแห่งยุดรป ต่อมาสนธิสัญญากรุงโรม ค.ศ. 1958 ได้บัญญัติให้ประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้ายุโรป ประชาคมเศราฐกิจยุโรป และประชคมพลังงานปรมาณูแห่งยุโรปอยู่ภายใต้ศาลยุติธรรมเดียวกันศาลยุติธรรมยุโรป มีอำนาจในการพิจารณาคดีต่างๆ ระหว่งองค์กรของสหภาพยุโรปและรัฐสมาชิก ตลอดจนให้คำแนะนำปรึกาทงกฎหมายแก่รัฐสมาชิก เอกชน องค์กรต่างๆ
        องค์ประกอบของศาลยุติธรรมยุโรป คือ ศาลสูงสุดแห่งสหภาพยุโรป "ศาลยุติธรรมแห่งยุโรป" นอกจากนี้ยังมีศาลชำนัฐพิเศษ โดยถือว่าศาลชำนัญพิเศษเป็นส่วนหจ่งของศาลช้นต้น
         ศาลสูงหรือศาลยุติธรรมแห่งยุโรปประกอบด้วยองคคณะผู้พิพากษาจำนวน 27 คน ซึ่งได้รับการแต่างตั้งมาจากประเทศสมาชิกประเทศละ 1 คน มีอัยการ 8 คน ซึ่งได้รับเลือกตั้งมาจากผู้มีความรู้ ความสารมาถทางกฎหมายจากรัฐสมาชิก ทั้งผุ้พิพากษาและอัยการดำรงตำแหน่งในวาระคราวละ 6 ปีเมือครอบวาระแล้วสามารถได้รับเลือกตั้งเข้ามใหม่ได้ ผู้พิพากษาหัวหร้าคณะได้รับเลือกตั้งจากบรรดาผู้พิพากษาทั้งหมด และ ดำรงตำแหน่งในวาระได้ 3 ปี ศาลยุติธรรมมีจ่าศาล 1 คน ทำหน้าที่เลขาธิการท่วไปของศาลจ่าศษลได้รับเลือกตั้งจากผุ้พิพากษาและอัยการร่วมกันโดยดำรงตำแหน่งในวาระได้ 6 ปี
       
ศาลยุติธรรมจะนั่งพิจารณาคดีเต็มอง์คณะจำนวน 13 คน ในกรณีที่มีข้อพิพาทที่มีความซับซ็อนในคดีที่องค์กร  หรือ สถบันต่าง ๆของสหภาพยุโรปพิพาทกันด้วยเรื่องที่สำคัญและได้รับการร้องขอให้พิจารณาเต็มองค์คณะ ส่วนคดีทั่วไป อื่นๆ ต้องมีผุ้พิพากษาอย่างต่ำจำนวนองค์คณะ 3-5 คน ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในองคคณะ 5 คน จะไดรับการเลือกตั้งดำรงตำแหน่งวาระละ 3 ปี สำหรับหัวหน้าคณะในองค์คณะ 3 คน จะได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งตราวละ 1 ปี
        ศาลชั้นต้นประกอบด้วยผู้พิพากษาจำนวน 25 คน ซึ่งประเทศสมาชิกส่งมาประจำประเศละ 1 คน โดยดำรงตำแหน่งคราวละ 6 ปี และผู้พิพากษาเหล่านี้โดยความเห็นชอบของแต่ละประเทศสมาชิกจะเลือกตั้งผุ้ดำรงตำแหน่งประธานคณะผู้พิพากษา ซึ่งจะดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี ในศาลชั้นต้นจะไม่มีการแต่างตั้งอัยการประจำศาล องค์คณะของผู้พิพากษามีเพียง 3-5 คน หรือ ในบางกรณีสามารถนั่งพิจารณาคดีเพียงคนเดียวได้ศาลบชั้นต้นจะแต่างตั้งจ่าศาล และดำรงตำแหนงในวารคราวละ 6 ปี...

      - บางส่วนจาก บทความ "สหภาพยุโรปกับวิวัฒนาการในการรวมตัวทางเศรษฐกิจ" โดย ลาวัณย์ ถนัดศิลปกุล.

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...