ทฤษฎีการรวมกลุ่ม
เชิงรัฐศาสตร์ แนวควาคิดของการรวกลุ่มระหว่างประเทศเร่ิมต้นตรั้งแรกในทวีปยุโรปในช่วงศตวรรษที่ 14-16 โดยมีจุดประสงค์เพื่อที่จะรวมยุโรปตะวันตกเข้าด้วยกัย การรวมตัวดังกล่าวมีลักษณะของการผสมผสานกันในทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม โดยมีนักทฤษฎีต่างๆ ให้ความหมาย ดังนี้
- "เดวิด มิทรารี้ นับเป็นผู้บุกเบิกงานค้นคว้าเกี่ยวกับทฤษฎีการรวมตัวระหว่างประเทศโดยได้อาศัยประสบการณ์จากสงครามโลกทั้งสองครั้งมาสรุปและตั้งเป็นข้อสมมุติฐานว่า ระบบรัฐชาติเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดสงครามขึ้น เนื่องจากแต่ละรัฐจำเป็นต้องแข่งขันกันเืพ่อผลประโยชน์ทางเศณาฐกิจสังคม และเพื่อการส่งเสริมสวัสดิการภายในของแต่ละรัฐ การแข่งขันระหว่างรัฐต่างๆ นี้เองที่เป้นชนวนของสงครามและความขัดแย้งระหว่างประเทศ ดังนั้นหนทางจรรโลงสันติภาพของโลกจึงอาจกระทำได้โดยการจัดตั้งองค์กรกลางเฉพาะกิจขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่แบ่งสรรผลประโยชน์และแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่นานาชาติเผชิญอยู่ร่วมกัน
และเสนว่าความร่วมมือในสาขาใดสาขาหนึ่งจะ่งเสริมให้เกิดความร่วมือในสาขาอื่นๆ ติดตามา..ทั้งนี้ แนวคิดของการรวมกลุ่มของ มิแทรนี้ สามารถนำมาอธิบายลักษณะการรวมตัวของสหภาพยุโรป
- คาร์ล ดับเบิลยู. เดียทสซ์ ได้ให้ความมาหยขงอากรรวมกลุ่มว่าหมายถึง การสร้างประชาคมที่มีความมั่นคง ดดยการทำให้ผยู้ที่อยุ่ในประชาคมมีความรุ้สึกว่าอยู่ในประชาคมเดียวกันและประชาคมประกอบด้วยสภาบันต่างๆ ที่กำหนดขึ้นอย่างเป้นทางการและไม่เป็นทางการภายในประชาคมมีประเพณีต่างๆ ที่ปฏิบัติต่อกันมานาน สภาบันและประเพณีปฏิบัติเหล่านี้จะต้องแข็งแรงและครอบคลุมขอบเขตกว้างขวางพอที่จะควบคุมให้การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆที่จะเกิดขึ้นภายในกลุ่มสมาชิกเป็นไปอย่างสันติและมีลักษรแน่นอนในช่วงที่นานพอสมควร เขาเสนอข้อสมมุติฐานของตนไว้ว่าประชาคมระหว่างประเทศ จะเกิดขึ้นเมื่อใดนั้นสามารถตัดสินใได้จากปริมาณการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างที่เป้นสมาชิกของประชาคมนั้น ๆที่จะเกิดขึ้นภายใกลุ่มสมาชิกเป็นไปอย่างสันติและมีลักษณะแน่นอนในช่วงที่นานพอสมควร เดียทสซ์ ได้เสอนข้อสมมติฐานของตนว่าประชาคมระหว่งประเทศ จะเกิดขึ้นเมื่อใดนั้นสามารถตัดสินได้จากปริมาณการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เป็นสมาชิกของประชาคมนั้นๆ นอกจากนี้ เขาเชื่อว่า เงื่อนไขที่จะทำใหหน่วยการเมืองต่างๆ รวมกลุ่มเป็นประชาคมที่มีความมั่นคงได้นั้นประกอบด้วย
การมีค่านิยมสำคัญๆ สอดคล้องกันและมีวิถีชีวิตในลักษณะดียวกัน
การตั้งความหวังร่วมแันบางประการเพื่อรวมตัวกัน และพร้อมที่จะร่วมรับภาระอันเกิดจากการรวมตัวกันนั้น
เมื่อรวมกันแล้วหน่วยที่เป็นสมาชิกอย่างน้อยบางหน่วย จะต้องมีความสามารถด้านการบริหาร และด้านการเมืองสูงขึ้น
หน่วยที่เป็นสมาชิกอย่างน้อยบางหน่วย จะต้องมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงขึ้น และจะต้องจัดตั้งแขตแกนกลางภายใน
สมาชิกของหน่วยการเมืองมีการติดต่อกันระหว่างหน่วยอย่างต่อเนื่อง
ชนชั้นนำทางสังคม จะต้องเพิ่มจำนวนมากขึ้น อันเป็นผลของการรวมตัวกันในหมู่ชนชั้นนำทางสังคมจากแต่ละหน่วยการเมือง
การติดต่อสัมพันะ์กันระหว่างสมาชิกประชาคมจะมีหลายลักษณะด้วยกัน
มีการเคลื่อนไหวของสมาชิกในประชาคึม อยุ่เสนอ
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการรวมตัวกันเป็นกลุ่มประชาคมจะต้องรูปแบบของการรวมตัวกันที่มีลักษณะของค่านิยมวิถีชีวิตต่างๆ คล้ายคลึงกัน มีการติดต่อสื่อสารกันและมักจตะมีหน่วยงานขององค์กรกลางที่เป็นหน่วยงานหลักตั้งอยุ่ รวมทั้งมีการเคลื่อนไหวของสมาชิกระหว่างชนชั้นที่เีก่่ยวข้องโดยมีการติดตอสื่อสารเป็นตัวบ่งชีถึงการก่อตั้งประชาคม ซึ่งในกรณีของกลุ่มสหภาพยุดรป จะพบว่ามัลักษณธของการรวมกลุ่มที่ใกล้เคียงกันด้านพื้นฐานอาชีพและเป็นกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมเป้นส่วนใหญ่ถึงแม้บางประเทศจะมีความแตกต่างกันในด้านระดับการพัฒนาแต่ก็ยังมีความใกล้เคียงกันเพราะมีการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีระหว่งกัน...
- โจฮาน กาลทัง ได้อาศัยแนวทางการศึกษาตามแบบของ เดียทสซ์ โดยใช้การติดต่อสื่อสารเป็นสื่อในการรวมตัวระหว่งชาติต่างๆ และได้เสนอนแวความคิดของตนโดนแยกการรวมตัวระหว่างประเทศออกเป็น 4 ระดับได้แก่
1. การรวมตัวทางค่านิยม คือการรวมตัวของชาติต่างๆ โดยถือเอาค่านิยมเป็นหลักสำคัญในการรวมตัว เขาได้สร้างตัวแบบการรวมตัวประเภทนี้ไว้ด้วยกัน 2 ประเภทคือ
1.1 โมเดลการรวมตัวของหน่วยการเมืองที่มีความสอดคล้องกันในค่านิยมเกี่ยวกับผลประโยชน์ และ
1.2 โมเดลการรวมตัวกันซึ่อยู่บนพื้นฐานของการจัดลำดับแนวความคิดในการแห้ปัญหาโดยสันติวะฺีเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ร่วมกัน
2. โมเดลการรวมตัวของหน่วยการเมือง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
- โมเดลการรวมตัวของหน่วยการเมืองที่มีลักษณธคล้ายคลึงกัน ซึ่งมีเงื่อนไขที่จำเป็น ได้แก่ ความคล้ายคลึงกันด้านโครงสร้างของประชากรการเมือง และเศรษฐกิจ
- โมเดล กระบวนการพึ่งพาทางการเมือง เศราฐกิจและวัฒนธรรมระหว่างตัวแดงทางการเมืองต่างๆ ที่เพ่ิมขึ้นจนทำให้ตัวแสดงต่างๆ เหล่านั้นมีความผุกพันกันมากขึ้นจนกระทั่ง สาถนการณ์ที่เกิดกับตัวแสดงตัวหนึ่งมีผลกระทบกระเทือนถึงตัวแสดงอื่นๆ ด้วย
3. การรวมตัวในลักษณะของการแลกเปลี่ยนระหว่างสวยย่อยกับส่วนรวม หมายถึง การรวมตัวของหน่วยการเมืองใดก็ตามเข้าสู่โครงสร้างทางการเมืองที่ใหญ่กว่าและก้าวหน้ากว่าเช่น การรวมตัวระหว่างประเทศที่กำลังพัฒนากับประเทศอุตสาหกรรม การรวมตัวลักษะนี้สามารถแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ
3.1 โมเดลการรวมตัวของัฐต่างๆ โดยแต่ละรัฐสมาชิกเป็นผุ้จัดสรรทรัพยากรของตนป้อนให้แก่หน่วยการเมืองกลาง เพื่อให้หน่วยการเมืองนั้นดำรงอยู่ได้
3.2 โมเดล มีลักษณะในทางตรงกันข้ามกับกรณีแรก คือหน่วยการเมืองกลางที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นใหม่จะเป้นผู้จัดสรรผลประโยชน์ให้แก่องค์ประกอบย่อยเพื่อให้ระบบสามารถอยู่ได้
อมิไท เอ็ทไซนิ อธิบายว่าการรวมตัวของรัฐต่างๆ เข้าด้วยกันจำเป็นต้งมีเงื่อนไขเบื้องต้นต่างๆ ดังนี้
1. มีเจตนารมณ์ของผุ้นำทางการเมืองของหน่วยการเมืองย่อย เป็นเงื่อนไขสำคัญที่สุดและนับเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการรวมตัว
2. มีการติดต่อสื่อสารและการตอบสนองต่อสภานการณ์ใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กล่าวคือ มีการผนึกำลังเพ่อตอบโต้สถานกาณ์ที่เกิดขึ้ร่วมกัน นอกจากนั้น ยังจำเป้นต้องมีการสร้างระบบผู้แทน ซึ่งจะเป็นตัวเร่งการรวมตัวให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
- เอินซ์ บี. แฮซ ได้เสนอข้อสมมุติฐานที่แตกต่างไปจากแนวความคิดของนักวิชาการต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างตน โดย แฮซ เชื่อว่ารัฐต่างๆ รวมตัวเข้าด้วยกันก็เพราะต่างหวังผลตอบแทน มิใช่การตระหนักถึงผลประโยชน์ร่วมกัน และการขยายความร่วมมือกันออกไปนั้นก็มิได้เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติแต่เกิดขึ้นเพราะการเรียกร้องและความประสงค์ ของหน่วยงการเมืองที่รวมตัวเข้าด้วยกัน แฮซ กล่าวเนาิมแนวคิดของ เดวิด มิแทนี้ ว่าการร่วมมือกันทางเศราฐกิจและสังคมนั้นจำเป็นต้องมีองค์กรคอยเสริมความร่วมมือกันทางด้านนี้และด้านอื่นๆ ให้มากขึ้นจนกลายเป็นองค์กรที่มีอำนาจทางการเมืองในที่สุดและในการรวมตัวระหว่างประเทศนั้นสามารถทได้อย่างรวดเร็วถ้าทุ่งความสนใจไปที่เรื่องสวัสดิการ โดยได้เสนอว่าประเทศที่รวมตัวกันควรจะอยู่ในภูมิภาคเดียวกันแ ะลมีสภาพแวดล้อมที่คล้ายคลึงกันขณะที่เจ้าหน้ที่และผุ้ชำนาญการเกี่ยวข้องกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งควรจะร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐด้้วยเพื่อทำหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด....
จะเห็นได้ว่าจากคำนิยามเกี่ยวกับการรวมกลุ่มข้างต้นสอดคล้องกับการรวมตัวของกลุ่มสหภาพยุโรป เนื่องจากกลุ่มประเทศใน อียู ที่รวมตัวกันจะมลัษะทางด้านสังคม การเมือง และเสณาฐกิจที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ การเป็นประเทศอุตสาหกรรม ซึ่งจะต้องมีการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีระหว่างกัน และในการรวมกลุ่มจะมีส่วนช่วยให้เกิดการแบ่งแยกกันผลิตตามความถนัดของแต่ละประเทศ ซึ่งนับเป็นการประสานผลประโยชน์ภายในกลุ่ม ขณะที่ในด้านเศราฐกิจของ อียู ถือว่ามีระดับของการพัฒนาที่ใกล้เคียงกันทำให้สามารถออกกฎระเบียบมาบังคับใช้ร่วมกันโดยไม่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไ้เรียบหรือเสียเรปียบ และภายหลังจากการรรวมกลุ่มกันแล้วก็มีการจัดตั้งองค์กรกลาง คือ คณะมนตรียุโรป ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมและประสานความร่วมมือระหว่างสมาชิกภายในกลุ่ม....
- บางส่วนจาก วิทยานิพนธ์ "ผลกระทบของการใช้เงินสกุลยูโรต่อการต้าระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป" โดย สุเทพ วันอ่อน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น