บทความเรื่อง "เงินสกุลยูโร 1999" ได้ทำการวิเคริาห์ถึงบทบาทของเงินยูโรในเวทีเศณาฐกิจโลก โดยเฉพาะเมื่อเที่ยวกับเงินตราสกุลเเข็งอีกสองสกุล คือ ดอลลาร์ สหรัฐฯ และ เงินเยน ญีุ่ปุ่น ซึ่งเปรียบเทียบความสำคัญจากตัวเลขเศรษฐกิจและผลกระทบที่คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นเมือเงินยูโรถูกนอมาใช้อย่างแรพ่หลาย ซึ่งผลกระทบ EMU ที่มีต่อเศณาฐกิจโลกจะขึ้นอยู่กับ "เอ็กเทอนอล สปริลโอเวอร์" ที่เกดจากสถานการณ์เศราฐกิจในยุโรปและความเป็นที่นิยมของการใช้เงินสกุลยูโรในการชำระรายการระหวางประเทศ
ฐานและขนดเสราฐกิจที่ใหญ่ขึ้นของ EU และการขนัดต้นทุนด้านธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการปริวรรตเงินตราในยุโรปจะส่งผลให้ยูโรมีบทบาทมากขึนในการเป็นเงินสกุลที่ใช้ในการต้าขายระหว่างประเทศ โดยคาดว่าจะขยายบทบาทเพ่ิมขึ้นก่อนในการทำธุรกรรมระหว่าง EMU และประเทศกำลังพัมฯารวมทั้งประเทศในค่ายสังคมนิยมในอดีต การรวมตัวกันของตลาดการเงินยุโรปด้วยการใช้เงินสกุลเดียวกันจะลดต้นทุนธุรกรมด้านการเงิน ลดส่วนต่างของอัตราอดกเบี้ยและขยายปริมาณสินทรัพย์ที่คิดมูลค่าในรูปยูโร นอกจากนี้ยูโรจะมีบทบาทมากขึ้นในการเป็นเงินสกุลหลักที่ใช้เป็นทุนสำรองระหว่งประเทศร่วมกับการใช้ดอลลารืสหรัฐ ทั้งนี้เนื่องจกาแนวโน้มของการใช้ยูโระมีมากขึ้นในตลาดการเงินและการค้าระหว่างประเทศ
การพัฒนาของ อียู จนถึง อีเอ็มยู และใช้เงินสกุลยูโรจะทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสมาชิกใน อีเอ็มยู เนื่องจาก อียู ดพเนินการเปิดเสรีระหว่างกันเองจนถึงขั้นทรัพยากรต่างๆ สามารถเคลื่อนย้ายภายใน อียู เองได้อย่างเสรี ภายใน อียู เองก็จะปรับปุลยภาพการผลิตตามความได้เปรียบ โดยเปรียบเทียบ เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดระหว่างกัน เช่น เยอรมันมัความได้เปรียบในการผลิตยานยนต์ ในขณะที่ฝรังเศสมีความสามารถในการผลิตเครื่องแต่างกาย ย่อมจะเดิกการปรับเปบียนประเภทการผลิตในแต่ละประเทศสมาชิก ซึ่งจะเป็นการเพ่ิมความสามารถในการแข่งขันมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นด้านราคมหรือคุณภาพที่เป็นปัจจัยสำคัญในการแข่งขันและค้าขายกับต่างประเทศ
การ สเปเชี่ยลไลเซชั่น ในการปลิตในกลุ่ม อียู จะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างการนำเข้าและสงออกของกลุ่มและสงผลกระทบต่อประเทศผู้ผลิตที่เป็นคู่แข่งที่สำคัยตางๆ ของ อียู ดดย อียู จะแย่งสัดส่วนทางการตลาดในตลาดการต้า ย่อมส่งผลกระทบต่อตลาดการต้าทำให้ความได้เปรีบดุลการต้าไปอยู่ี อียู อย่างไรก็ตามบทาทของเงินยูโรคงจะไม่เกิดขึ้นและบดบังความสำคัญของค่าเงนิดอลลาร์สหรัฐ หรือค่าเงินเยนในทันทีทันใด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสำเร็จของการดำเนินการของ อีเอ็มยู และ และ เคดิบิลิที้ ของ อีซีบี
สมชัย สัจจพงษ์, สุรศักดิ์ พิชิตผองกิจ และ สุภชัย ศรีสถาพร (2541)
"ยูโร (Euro) เงินตราสกุลเดียวแห่งสหภาพยุโรป" ได้กล่าวถึงประโยชน์จากการใช้เงินยูโรที่สำำคัีญ 2 ประการ ประการแรกคอ จะทำให้ต้นทุนธุรกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ อัตราแลกเปลียนลดลง การใช้เงินยูโรเพียงสกุลเดียวเป็นการลดความเสี่ยงที่เกิดจากอัตราแลกเปลียน ทำใหบริหารความเสี่ยงได้ง่ายข้นอีกทั้งสหภาพยุโรปก็มุ่งมั่นทีจะสร้างเสถียรภาพของเงินยูโรและให้ยูโรเปนอัตราแลกเปลียยนระหว่างประเทศอีกสกุลหนึ่่ง คู่เคียงไปกับเงินเยนญี่ปุ่นและดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจะเดื้อประโยชน์โดยตรงต่อธุรกรรมภายในประเทศสมชิกสหภาพญ และธุรกรรมกระหว่างประเทศที่ใช้เงนิยูโร
ประโยชน์อีกประการหนึงคือ ยูดร จะเพิ่มความโปร่งใสภายในยุโรปตลอดเดียแวและจะเป็นแรงผลักดันให้มีการลดเลิกอุปสรรคต่างๆ ในตลาดยุโรปเดียว เพราะจะทำให้การเปรีบเทียบต้นทุนและราคาสินค้าระหว่างประเทศสมาชิกง่ายขึ้น ซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างกันได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ยุูโรจึงนับเป็นตัวเร่งให้ยูโรปตลาดเดียวมีความสมบูรณ์ขึ้น
เมทินี มีนะกนิษฐ (2541)
"ยูโร..ความเป้ฯมาและผลกระทบ" ซึ่งวิเคราะห์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการประกาศใช้เวินยูโร ออกเป็น 5 ด้านคือ
1. ผลกระทบของสกุลเงินยูโรต่อประเทฬในกลุ่มยูโร ซึ่งจะก่อให้เกิดการปฏิรูปทางการเงินครั้งสำคัญในสหาพยุโรปและต่อนโยบายทางเศณาฐกิจของภาครัฐ และต่อภาคธุรกิจอื่นๆ ดังนี้
1.1 นโยบายทางเศณฐกิจ ประเทศสมาชิกสหภาพการเงินยุโรป ท้ง 11 ประเทศต้องยอมสละอำนาจอธิปไตยสูงสุดทางเศรษฐกิจของตน นั่นคื อสิทะิในการออกเงินตราประจำชาติ โดยมีข้อตกลงให้ธนาคารกลางของยุโรปเข้ามาทำหน้าที่บริหารและนั่นย่อมหมายถึงว่า บรรดาประเทศสมาชิกได้ประกาศสละอำนาจอันทรงพลังในการปกป้องเศรษฐกิจใน 2 ประเด็นหลักคือสิทธิในการลดค่าเงินตราเมือมีความจำเป็น และสิทธิที่จะทำงบประมาณขาดดุลเมื่อภาวะการวางงานขยายตัว ประเทศสมาชิกต้องยอมรับและพร้อมทีจะปรับตัวเมื่อถูกริดรอนอธิไปตยทางเสราฐกิจไม่วาจะเป็นเรื่องของงบประมาณรายจ่ายของรัฐ หรือนโยบายทางการเงินต่างๆ ทีจะต้องขึ้นอยุ่กับธนาคารกลางยุดรปเพียงสภาบันเดียว
ผลกระทบในการปรับโครงสร้างของภาพรัฐ มิได้เกี่ยวเนื่องเฉพาะนโยบายทงเศรษฐฏิจเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างในด้นอื่นๆ ด้วย เช่น เมื่อประเทศสมชิกเปลี่ยนมาใช้เงินสกุลยูโรก็จะมีการเปรีบเทียบอัตราภาษีและการใช้จ่ายของแต่ละประเทศ ประเทศที่มอัตราภาษีเงินได้นิติบุคลสูงย่อมจะได้รับผลกระทบมากเมือมีการใช้เงินสกุลเดียวกันอย่างเต็มรูปแบบหรืออีกนัยหนึ่ง รัฐบาลของประเทศสมาชิกจะต้องตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพือเพิ่มประสิทะิภาพในการแช่งขันกับประเทศอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นนธยบายในเรื่องภาษีอัตราต่ำ การโยกยายตลาดแรงงาน และการตั้งระเบียบกฎเกณฑ์ที่น่าพึงพอใจมากขึ้นในธุรกิจประเภทต่างๆ
1.2 . ภาคอุตสาหกรรม การใช้เงินสกุลยูโรจะทำให้เกิดกระแสการควบกิจการและการปิดโรงงานขึ้น กล่าวคือ เมื่อความเสี่ยงในเรื่องเงินตราหมดไปจากการเปลี่ยนมาใช้เงินสกุลเดียวกันบริษัทเอกชนก็ไม่จำเป็นต้องเปิดกิจการในหลายๆ ประเทศดังเช่นทีทำอยู่ในปัจจุบัน แต่ขณะเดียวกันกระแสการเปลี่ยนแปลงนี้ก็จะทำให้เกิดปัญหาการว่างงานมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ผลประดยชน์ที่ภาคอุตสาหกรรมจะได้รับคือ สกุลเงินยูโรจะช่วยลดค่าใช้จายที่ลริษัทจะต้องเสียไปกับการแลกเปลียนเงินตราต่างประเทศและการป้องกันความเสี่ยง และเมื่อความเสี่ยงในเรื่องเงินตราหมดไป สหภาพยุโรปก็จะกลายเป็นตลาดขนาดใหย่ที่น่าสนใจมากขึ้น
1.3 ภาคธุรกิจที่สำคัญ เช่นเดียวกับการปรับโครงสร้างด้านอื่นๆ กลุ่มธนาคารก็เป็นอีกสภาบันหนึ่งที่ต้องปรับตัวเนื่องจากได้รับผลกระทบโดยตรงจากการปฏิรูปเศรษบกิจครั้งนี้ ดดยภาคการคลังจะถือเสมือนเร่ิมจากศูนย์เมื่อเปลี่ยนมาใช้สกุลเงินยูโร
ขณะเดียวกันค่าใช้จ่ายในด้านธุรกรรมด้านอัตราแลกเปลี่ยนจะลดลงกว่า 65 พันล้านดอลลาร์ในแต่ละปี พร้อมกับช่วยกำจัดคนกลางออกจากธุตกรรมต่างๆ คิดเป็นมูลค่าหลายล้านล้านอดลลาร์ นั่นย่อมทำให้เกิดเงินทุนมหาศาลและช่วยใก้เกิดความคล่อตัวยิ่งขึ้นกว่าเดม แต่ธนาคารจำต้องสูญเสียรายได้ที่เคยได้เป็นกอบเป็นกำจาการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงนิตราต่างประเทศนับเป็นการเพิ่มความกดดันให้กับธนาคารลและสถาบันการเงินต่างๆ โดยบทบาทในฐานะเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับภาคอุตสาหกรรมจะลดลงเนื่องจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของตลาดทุน โดยเฉาพะตลาดพันะบัติและตลาดหลักทรัพย์ ในขณะที่ธนาคารต่างๆ จะมีการปรับโครงสร้างเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ และรองรับการแข่งขันจากธนาคารข้ามชาติขนาดใหญ่
1.4 ภาคแรงงาน ยุคสกุลเงนิยูโรถือเป็นยุคแห่งการสับสนของบรรดาผู้ใช้แรงงาน คนงานในโรงงานอุตสาหกรรมต้องล้มเลิกความคิดฝันในเรื่อง "ความมั่นคง" ในการมีรายได้ดีตลอดชีวิต ขณะที่อุปนิสัยของคนยุโรปไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงงานหรือไปทำงานในประเทศอื่นที่ต้องมีการปรับตัวในการดำรงชีวิตประจำวัน
มีการคาดการณ์ว่าคนงานกว่าสิบล้านคน หรือร้อยละ 5 จะตกงานภายในช่วง 18 เือน แต่เมื่อวิกฤตการณ์ด้านากรว่างงานทุเลาลง ตลาดแรงงานของยุโรปจะได้รับการแปรรูป คือ ในอีก 10 ปีข้างหน้า จะเกิดการจ้างงานใหม่ในบริษัทเอกชนขนาดเล็กและการจ้างงานทางด้านบริการเพิ่มมากขึ้นในเขตภาคพื้นทวีปยุโรป แต่สหภาพต่างๆจะมีบทบาทลดลง
โดยสรุปแล้ว การใช้เงินยูโรน่าจะอำนวยประโยชน์ให้ประเทศสมาชิกในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะการขยายตัวทางเศราฐกิจและการจ้างงาน อยางไรก็ดีผลกระทบในเชิงบวกอาจไม่เป็นไปตามที่คาด เนืองจากปัจจัยความผันผวนต่างๆ ...
- บางส่วนจาก วิทยานิพนธ์ เรื่อง "ผลกระทบของการใช้เงินยูโรต่อระบบเสณาฐกิจของสหภาพยุโรป" โดยอบลศรี สุขถาวร, 2542.
วันพุธที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น