European Union Structure

           การขยายตัวของยุโรปทำให้ตลาดยุดรปเข้มแข็ง มีประชากรกว่า 500 ล้านคน ที่มีศํกยภาพกำลังซื้อที่เข้มแข็ง มีการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตอย่างเสรี มีระบอบการปกครอง และ การเมืองที่เแข็.แกร่งและมีบทบาทในเวทีโลกอย่างสำคัญยิ่ง
          โครงสร้างของสหภาพยุโรป สหภาพยุโรปมีสถาบันหลักที่สำคัญ 5 สถาบัน คือ
          1. คณะมนตรีแห่งยุโรป The European Council
          2. สภารัฐมนตรี The Council of Ministers
          3. คณะกรรมาธิการยุโรป The European Commission
          4. สภายุโรป The European Parliament
          5. ศาลยุติธรรมยุโรป The Court of Justice of the European Union
          1. คณะมนตรีแห่งยุโรป The European Council 

           คณะมนตรีแห่งยุโรป หรือ ที่ประชุมสุดยอดแห่งยุโรป เป็นที่ประชุมของประมุขของรัฐ หรือหัวหน้าคณะรัฐบาลของประเทศสมาชิกทุกประเทศของสหภาพยุโรป คณะมนตรีแห่งยุโรปมีหน้าที่ดำเนินมาตรการต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาสหภาพยุโรป และ กำหนดแนวนโยบายความัมพันะ์กบประเทศนอกกลุ่มสมาชิกโดยมีสถาบันอื่นๆ เช่นคณะกรรมาธิการยุโรป สภาพยุโรป และสภารัฐมนตรี เป้ฯสถาบัทีปฏิบัติการเพื่อให้เป้นไปตามนโยบายของคณมนตรียุโรป
         
 ธรรมนูญแห่งยุโรปได้กำหนดให้ ำสั่ง ของสหภาพยุโรปในบางเรื่องจะต้องดำเนินการโดยคณะมนตรีแห่งยุโรป นอกจากนี้คณะมนตรีแห่งยุโรป ยังมีบทบาทในการเสนอชื่อบุคคลที่เหมาะสมให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ โดยเสนอให้สภาแห่งยุโรปพิจารณา แต่คณะในตรีแห่งยุโรปไม่มีอำนาจในทางนิติบัญญัติดังนั้นกฎ ข้อบังคับต่างๆ ของสหภาพยุโรป จะถูกบัญญัติขึ้นโดยสภารัฐมนตรี ด้วยความเห็นชอบของสภายุโรปแต่คณะมนตรีแห่งยุโรปมีอำนาจในการคัดค้านบทบัญญัติบางข้อได้ เฉพาะข้อที่อนุญารไว้ในรัฐธรรมนูญ ที่เรียกว่าการระงับโดยฉุกเฉิน นอกจากนี้ ธรรมนูญเพื่อยุโรปยังบัญญัติว่ คำสั่ง ของคณะมนตรีแห่งยุโรปจะต้องได้รับความเห้นชอบโดยมติเอกฉันท์ เว้นแต่มธรรมนูญแห่งยุโรปบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
          คณะมนตรีแห่งยุโรปเป็นเวทรหลักในการประสานความร่วมมือระห่างรัฐบาลของประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์ระหว่าประเทศอย่างมประสิทธิภาพ โดยผลของการประชุมที่เมืองนี้ส คณะมนตรีแห่งยุโรปได้ลงมติจัดตั้งองค์การถาวรทางการเมือง และ การทหารภายในสภารัฐมนตรีแห่งยุโรป องค์กรดังกล่าวคือ
          - คณะกรรมการ การเมือง และความมั่นคง
          - คณะกรรมการ การทหารของสหภาพยุโรป
          - เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการทางทหารของสหภาพยุโรป
         
2. สภารัฐมนตรีแห่งสหภาพยุโรป The Council of Ministers สภารัฐมนตรีแห่งสหภายยุดรประกอบด้วยผุ้แทนจากประเทศสมาชิกในระดับรัฐมนตรี ทีอำนาจในการตัดสินใจและ ทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติร่วมกับสภายุโรป ดูแลเรื่องงบประมาณ และเป็นองค์กรประสานงานการประชุมของสภารัฐมนตรีแหงสหภายยุโรป ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกที่มาประชุมในเรื่องต่างๆ ซึ่งปกติแล้วจะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ แต่ อาจจะเป็นรัฐมนตรีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่มาประชุมการออกเสียงของสภารัฐมนตรจะใช้มติเสียงข้างมากพิเศษ ประเทศสมาชิกจะมีเสียงไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรของแต่ละประเทศ นอกจากนั้นยังเป็นผู้แทนในระัดบคณะทำงาน เอกอัครราชทูตและ ระดับรัฐมนตรีค่างๆ ว฿่งมีอยู่ 9 คณะ คือ
           - คณะรัฐมนตรีว่าด้วยกิจการทั่วไป และความสัมพันธ์ภายนอก
           - คณะมนตรีว่าด้วยเศรษฐกิจและการเงิน
           - คณะมนตรีว่าด้วยงานยุติธรรมและกิจการภายในประเทศ
           - คณะมนตรีว่าดวยการจ้างงาน นโยบายสังคม สุขภาพ และผู้บริโภค
           - คณะมนตรีว่าด้วยการแข่งขันทางด้านตลาอดภายใน อุตสาหกรรมและ การวิจัย
           - คณะมนตรีว่าด้วยการขนส่ง การสื่อสารโทรคมนาคม และพลังงาน
           - คณะมนตรีว่าด้วยการเกษตรกรรม และการประมง
           - คณะมนตรีว่าด้วยสิ่งแวดล้อม
           - คณะมนตรีว่าด้วยการศึกษา เยาวชน และวัฒนธรรม
          สภารัฐมนตรีแห่งยุโรป มีหน้าที่สำคัญโดยสรุป คือ ออกกฎ ขอ้บัญญัติต่างดๆ ของสหภาพยุโรป กล่าวคือ มีอำนาจในการออกคำสั่ง ข้อบังคับ และข้อกำหนดนับว่าสภารัฐมนตรีเป็องค์กรที่ทำหน้าที่นิติบัญญัติของสหภาพยุโรป ทั้งนี้โดยความเห้ฯชอบของสภายุโรป และนำเสนอคณะกรรมาธิการ ซึ่งข้อบัญญัติเหล่านี้เมื่อประกาศใช้แบ้วจะมีผลบังคับทันที่ ดดยมีคณะกรรมาธิการทำหน้าที่ังับให้รัฐสมาชิกทั้งหลายปฏิบัติตาม หน้าที่ประการต่อมาคือการทำหน้าที่ประสานนโยบายเศราฐกิจกับประเทศสมชิก และหน้าที่ ที่สำคัญคือเป็นองค์กรที่มีอำนาจในการทำหความตกลงระหว่างประเศ หลังจากที่คณะกรรมาธิการยุโรปได้ดำเนินการเจรจา เมื่อสภาคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วว และได้ลงนามในความตกลงแล้วจะมีผลบังคับสถาบันต่างๆ ของสหภาพยุโรปและ รัฐสมาชิกทั้งหลายโดยรวมและ แต่ละรัฐด้วย นอกจากนี้ก็มีหน้าที่ในการอนุมัติงบประมารของสหภาพยุโรป มีหน้าที่พัฒนานโยบายต่างประเทศ และ หน้าที่ในด้านงานยุติธรรมและ กิจการภายใน
          3. คณะกรรมธิการยุโรป  The European Commission ซึ่งเป้นฝ่ายบริหาร และบริการทั่วไปของสหภาพยุดรป และที่สำคัญสภายุโรปเป็นสถบนเียวที่มีอำนาจในการเสนอกฎหมาย และรับผิดชอบงาน
ด้านกฎหมายของสหภาพยุโรป ทั้งในรูปของ เลคกูเลชั่น, ได้เรคทีฟ และ ดีไซด์ชั่น ที่เห็นชอบโดย สภายุโรป และสภารัฐมนตรียุโรป คณะกรรมาธิการยุโรปทำหน้าที่ปกป้อง หรือทำให้สนธิสัญญามีผลบังคับใช้ นอกจากนี้ยังทำงานร่วมกับศาลยุติธรรมยุโรป ในส่วนของความร่วมมือระหว่างประเทศนอกกลุ่มสหภาพนั้น คณะกรรมะิการยุดรปทำหน้าที่เจรจความตกลง และสนธิสัญญา ทั้งหลาย
        คณะกรรมาธิการยุโรปประกอบด้วยสมชิก 25 คน โดยรัฐบาลของแต่ละประเทศสมาชิกแต่งตั้งเข้ามา ดำรงตำแหน่งวาระ 5 ปี เมื่อครบวาระแล้วสามารถได้รับการแต่งตั้งเข้ามาหใา่ได้ กรรมาธิการนี้จะต้องดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับสูง หรือ เป็นรัฐมนตรีในคณะรัฐบาล และเมื่อได้รับการแต่างตั้งเป็นกรรมาธิการแล้วจะต้องทำหน้าที่เพื่อสหภาพยุโรปโดยรวม และเป็นอิสระจากรัฐของตน เพราะคณะกรรมาธิการ เป็นองค์กรของสหภาพยุโรป จึงทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของสหภาพโดยรวมเท่นานั้นไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ของรัฐสมาชิกมีสภายุโรปเท่านั้นสามารถให้คณะกรรมาธิการออกจากำหแหน่งทั้งคณะ การออกเสียงของคณะกรรมาธิการใช้ระบบเสียงข้างมากเป็นหลัก
       
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ โดยสรุป คือ อำนาจในการเสนอร่างข้อบัญญัติ ข้อกูหมาย กล่าวคือมีอำนาจทำคำแนะนำ หรือความเห็น ดังนั้นคณะกรรมาธิการมีหน้าที่จัดทำข้อเสนอ ขอ้อบัญญัติต่างๆ ต่อสภารัฐมนตรีเพื่อขอความเห็นชอบ เมื่อสภามนตรีเห็นชอบแล้วคณะกรรมาธิการสามารถออกคำสั่ง เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ไ้ หร้าที่ประการ่อไป คือ หน้าที่ในการบริหารงานตามนโยบายและภายในงบประมาณของสหภาพยุโรป ซึ่งมี  2 ประเภท คือ อำนาจที่สนธิสัญญามอบให้โดยเฉพาะ และอำนาจที่สภารัฐมนตรีมอบให้เพื่อบริหารตามคำสั่งขอบงสภารัฐมนตรี ซึ่งมีแต่อำนาจในการออกคำสั่งเท่านั้น การบริหารคำสั่งนี้ปฏิบัติในระดับประเทศ และ ระดับท้องถ่ิน คณะกรรมาธิการดำเนินงานภายใต้การสอดส่องของคณะผุ้ตรวจสอบบัญชีแห่งยุโรปด้วยนอกจากนี้คณะกรรมาธิการยังมีหน้าที่เป็นผุ้แทนในการเจรจาความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างประเทศนอกกลุ่ม และอำนาจในกาพิทักษ์กฎหมายของสหภาพยุโรป กล่าวคือ คณะกรรมาธิการกับศาลยุติธรรมจะร่วมกันรับผิดชอบทำให้กฎหมาวยของสหภาพมีประสิทธิภาพในการนไปบังคับใช้
             รัฐมนตรีฝ่ายกิจการต่างประเทศ คณะกรรมาธิการยุโรป จะเกี่ยวพันกับรํบมนตรีฝ่ายกิจการต่างประเทศ ในส่วนทีเีก่ยข้องกับกิจการต่างประเทศ ซึ่งรัฐมนตรีฝ่ายกิจการต่างประเทศ ทำหน้าที่รอบประธานคณะกรรมาธิการยุดรป และเป็นผู้แทนของคณะมนตรียุโรปในการกำหนดนโยบายร่วมด้านต่างประเทศและความมั่นคง ของสหภาพยุโรปเท่าน้น และเป้นผู้แทนสหภายในกาเจรจาทางการเมือง รัฐผิดชอบด้านการทุตกับผุ้แทนของประเทศทั่วโลก รัฐมนตรีฝ่ายกิจการต่างประเทศนี้ได้รับการแต่างตั้งดยคณะในตรียุโรปด้วยการลงมติเสียงข้างมากพิเศษ ด้วยความเห็นชอบของประธานคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป และโดยความเห็นชอบองสภายุโรปด้วย นอกจากนี้ในแง่องค์กร สหภายพยุโรปยังได้จัดตั้ง ศูนย์บริการวิเทศน์สัมพันะ์แห่งสหภาพยุโรป เป็นศูนย์กลางช่วยเหลืองานของรัฐมนตรีฝ่ายกิจการต่างประเทศด้วย
         4.สภายุโรป The European Parliament พลเมืองของประเทศสมาชิกทั้งหมดของสหภาพยุโรปมีสิทธิในการเลือกตั้งสมาชิกสภายุโรปโดยวิธีเลือกตั้งตรง และทั่วไป ทั้งนี้ตามมาตรา 138 แห่งสนธิสัญญากรุงโรมได้บัญญํติวไว่ "สภาจะร่างข้อเสนอสำหรับการเลือกตั้งทั่วไปโดยตรงให้เป็นไปตามกระบวนการอย่งเดียวกันของประเทศสมาชิกทุกประเทศ"  การเลือกตั้งครั้งแรกกระทำขึ้นะมื่อ วันที่ 7-10 มิถุนยน ค.ศ.1979 การเลื่อกตั้งทั่วไปเป็นการเลือกตั้งโตตรงด้วยการลงคะแนนิสระและลับ พลเมืองของสหภาพยยุโรปจะเลือกผู้แทนของประเทศตนให้ดำรงตำแหน่งในวาระคราวละ 6 ปี ทั้งนี้ตามมาตรา 1-20 และมาตรา III - 330 แห่งธรรมนูญยังบัญญัติให้การดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภายุโรปสอดคล้องกับกระบวนการเลือกตั้งที่มีอยู่แล้วในแต่ละประเทศสมชิกจะมีจำนวนที่น่งในสภไม่เท่ากัน โยประเทศที่มีที่นั่งสูงสุด คือ ไม่เกิน 96 ที่นั่ง และที่นั่งต่ำสุด คือ 6 ที่นั่ง
       
อำนาจของสภายุโรปจะถูกบัญญัติไว้ในมาตรา 137 แห่งสธิสัญญาประชาคมยุโรป วึ่งมีอำนาจหน้าที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ อำนาจในการควบคุม อำนจทางนิติบัญญํติ อำนาจในการตรวจสอบการใช้จ่าย ดังรายละเอียดโดยสังเขปดังต่อไปนี้
         อำนาจในการควบคุมดุแลการบริหารงานของคณะกรรมาธิการ และสภายุโรปมีอำนาจในการลงมติไม่ไว้วงางใจคณะกรรมาธิการโดยต้องได้รับคะแนนเสียงสนับสนุนไม่น้อยกว่าสองในสามของสมาชิกที่มาออกเสียง ซึ่งจะมีผลให้คณะกรรมาธิการต้องละออกทั้งคณะ
         ส่วนอำนาจในทงนิติบัญญัติ คือกระบวนการตัดสินใจร่วม ระหว่างสภายุโรปและสภรัฐมนตรีในการให้ความเห็นชอบกฎข้อลบังคับต่างๆ เืพ่อนำมาใช้บังคับแก่ประเทศสมาชิก สภายุโรปมีอำนาจในการให้คำปรึกษาและเห็นชอบในการร่วงกฎหมายทั้งปวงที่คณะกรรมาะิการเสนอก่อนที่จะผ่านให้สภารัฐมนตรีอนุมัติสภายุโรปยังมีอำนาจจัดให้มีการอภิปรายและเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจขอคณะกรรมาธิการ หรือสภารัฐมนตรีในปัญหาสำคัญต่างๆ หรือในการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศและอำนาจในการตรวจสอบการใช้จ่ายนั้นสภายุโรปมีอำนาจตรวจสอบการใช้จ่ายของคณะกรรมธิการโดยมีการแต่างตั้งคณะอนุกรรมาธิการให้ทำงานใกล้ชิดกับคณะผู้ตรวจสอบบัญชี สภายุโรปมีอำนาจในการพิจารณางบประมาณทั้งหมดของสหภาพร่วมกับสภารัฐมนตรีด้วย
          5. ศาลยุติธรรมยุโรป Court of Justice of the European Union ศาลยุติธรรมยุโรปได้รับการก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1961 โดยสนธิสัญญาปารีสที่ก่อตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กล้าแห่งยุดรป ต่อมาสนธิสัญญากรุงโรม ค.ศ. 1958 ได้บัญญัติให้ประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้ายุโรป ประชาคมเศราฐกิจยุโรป และประชคมพลังงานปรมาณูแห่งยุโรปอยู่ภายใต้ศาลยุติธรรมเดียวกันศาลยุติธรรมยุโรป มีอำนาจในการพิจารณาคดีต่างๆ ระหว่งองค์กรของสหภาพยุโรปและรัฐสมาชิก ตลอดจนให้คำแนะนำปรึกาทงกฎหมายแก่รัฐสมาชิก เอกชน องค์กรต่างๆ
        องค์ประกอบของศาลยุติธรรมยุโรป คือ ศาลสูงสุดแห่งสหภาพยุโรป "ศาลยุติธรรมแห่งยุโรป" นอกจากนี้ยังมีศาลชำนัฐพิเศษ โดยถือว่าศาลชำนัญพิเศษเป็นส่วนหจ่งของศาลช้นต้น
         ศาลสูงหรือศาลยุติธรรมแห่งยุโรปประกอบด้วยองคคณะผู้พิพากษาจำนวน 27 คน ซึ่งได้รับการแต่างตั้งมาจากประเทศสมาชิกประเทศละ 1 คน มีอัยการ 8 คน ซึ่งได้รับเลือกตั้งมาจากผู้มีความรู้ ความสารมาถทางกฎหมายจากรัฐสมาชิก ทั้งผุ้พิพากษาและอัยการดำรงตำแหน่งในวาระคราวละ 6 ปีเมือครอบวาระแล้วสามารถได้รับเลือกตั้งเข้ามใหม่ได้ ผู้พิพากษาหัวหร้าคณะได้รับเลือกตั้งจากบรรดาผู้พิพากษาทั้งหมด และ ดำรงตำแหน่งในวาระได้ 3 ปี ศาลยุติธรรมมีจ่าศาล 1 คน ทำหน้าที่เลขาธิการท่วไปของศาลจ่าศษลได้รับเลือกตั้งจากผุ้พิพากษาและอัยการร่วมกันโดยดำรงตำแหน่งในวาระได้ 6 ปี
       
ศาลยุติธรรมจะนั่งพิจารณาคดีเต็มอง์คณะจำนวน 13 คน ในกรณีที่มีข้อพิพาทที่มีความซับซ็อนในคดีที่องค์กร  หรือ สถบันต่าง ๆของสหภาพยุโรปพิพาทกันด้วยเรื่องที่สำคัญและได้รับการร้องขอให้พิจารณาเต็มองค์คณะ ส่วนคดีทั่วไป อื่นๆ ต้องมีผุ้พิพากษาอย่างต่ำจำนวนองค์คณะ 3-5 คน ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในองคคณะ 5 คน จะไดรับการเลือกตั้งดำรงตำแหน่งวาระละ 3 ปี สำหรับหัวหน้าคณะในองค์คณะ 3 คน จะได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งตราวละ 1 ปี
        ศาลชั้นต้นประกอบด้วยผู้พิพากษาจำนวน 25 คน ซึ่งประเทศสมาชิกส่งมาประจำประเศละ 1 คน โดยดำรงตำแหน่งคราวละ 6 ปี และผู้พิพากษาเหล่านี้โดยความเห็นชอบของแต่ละประเทศสมาชิกจะเลือกตั้งผุ้ดำรงตำแหน่งประธานคณะผู้พิพากษา ซึ่งจะดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี ในศาลชั้นต้นจะไม่มีการแต่างตั้งอัยการประจำศาล องค์คณะของผู้พิพากษามีเพียง 3-5 คน หรือ ในบางกรณีสามารถนั่งพิจารณาคดีเพียงคนเดียวได้ศาลบชั้นต้นจะแต่างตั้งจ่าศาล และดำรงตำแหนงในวารคราวละ 6 ปี...

      - บางส่วนจาก บทความ "สหภาพยุโรปกับวิวัฒนาการในการรวมตัวทางเศรษฐกิจ" โดย ลาวัณย์ ถนัดศิลปกุล.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)