Sigmund Freud

            ซิกมันด์ ฟรอยด์ เกิดที่โมเรเวีย เมื่อ 6 พฤษภาคม ค.ศ.1856 และถึงแก่กรรมในลอนดอน เมื่อ 23 กันยายน ค.ศ.1939 เขาอาศํยอยู่ในเวียนนา เกือบ 80 ปี ในวัยเด็กเขาปรารถนาจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ และได้เลือกศึกษาวิชาแพทย์ศษสตร์ในมหาวิทยาลัยเวียนนา ปี 1873 เขาจบการศึกษาใน 8 ปีต่อมา ฟรอยด์ไม่เคยตั้งใจเรียนแพทย์ แต่เนื่องจากงานวิทยาศาสตร์ได้รับค่าตอบแทนน้อย โอกาสก้าวหน้าทางวิชาการจำกัดสำหรับยิว และความจำเป็ฯทางครอบครัวบังคับให้เขาต้องทำงานส่วนตัวซึ่งกลายเป็ฯผลดีให้เขามีเวลาวิจัย ผลิตงานเขียน และได้รับชื่อเสียงโด่งดัง


           ความสนใจในประสาทวิทยา เป็นเหตุให้ฟรอยด์ฝึกฝนการรักษาอาการโรคประสาท ซึ่งอาศัยศิลปการรักษาตามแบบฉบับของสมัยนั้น ฟรอยด์ได้สมัครเป็นลูกศิษย์ของจิตแพทย์ที่มีชื่อเสียงชาวฝรั่งเศส ชื่อ ยีน ชาโค Jean Chacot เป็นเวลา 1 ปี เพื่อพัฒนาทักษะการใช้เทคนิครักษา ชาโคใช้การสะกดจิตในการรักษาอาการฮีสทีเรีย ฟรอยด์ลองใช้การสะกดจิตกับคนไข้แต่เขาไม่พอใจกับผลที่ได้นัก เมื่อเขาได้ทราบว่า โจเซฟ บรูเออร์ Joseph Breuer  ชาวเวียนนาใช้วิธีใหม่รักษาคนไข้โดยการให้พูดถึงอาการและค้นหาสาเหตุ ฟรอยด์ก็ได้เขามาร่วมงานกับบรูเออร์ และพบว่าวิธีการดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการฮีสทีเรีย
           ต่อมาฟรอยด์แยกตัวจากบรูเออร์ เนื่องจากความเห็นขัดแย้งกันเรื่องสาเหตุทางเพศของอาการฮีสทีเรีย ฟรอยด์ เชื่อว่าความขัดแย้งเรื่องเพศเป็นสาเหตุของโรคฮีสทีเรีย บรูเออร์มีความเชื่อว่าไม่ใช่เรื่องเพศ ฟรคอยอ์ได้พัฒนาความคิดของเขาต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานของทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของเขา คือ การแปลความหมายความผัน ซึ่งปลุกความสนใจของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก เขามีลูกศิษย์มากมายหลังจากนั้นไม่นานนัก อาทิ เอิร์นเนซ โจนส์ จากอังกฤษ คาร์ลจุง ชาวซูริค เอ.เอ.บริลล์จากนิวยอร์ก แซนเดอร์ เฟรนซี่ ชาวบูดาเปสท์ คาร์ล อับราฮัม ชาวเบอร์ลิน และอัลเฟรด แอดเล่อร์ ชาวเวียนนา

           ตัวขับเคลื่อนของบุคลิกภาพ
ในสมัยศตวรรษที่ 19 มนุษย์ถูกมองในฐานะระบบพลังงานที่ซับซ้อน พลังงานต่าง  ได้รับมาจากอาหารที่หล่อเลี้ยงร่างกายและถูกนำไปใช้ในวัตถุประสงค์หลายอย่างเป็นต้นว่า การหมุนเวียนของโลหิต การหายใจ การเคลื่อนไหว การับรู้ การคิดและการจำ เป็นต้น ฟรอยด์ไม่เห็นความแตกต่างระหว่างที่นำมาใช้ในการหายใจหรือย่อยอาหาร กับพลังงานในการคิดและการจำฟรอยด์เห็นว่าถ้าเป็นการทำงานทางจิตวิทยา เช่น การคิดก็น่าจะเรียว่าพลังงานจิต ตามความเชื่อเดิม พลังงานอาจแรสภาพไปสู่สภาพต่างๆ แต่ไม่มีการสูญหายไป ดังนั้นพลังงานจิตก็ย่อมจะเปลี่ยนเป็นพลังงานทางกาย หรือในทางกลับกัน อิด id จะเป็นสื่อให้เกิดการถ่ายเทพลังงานจิตและพลังงานทางกายกลับไปกลับมาและเกิดบุคลิกภาพขึ้น ในการพิจารณาตัวขชับเคลื่อนของบุคลิกภาพหรือสาเหตุที่ทำให้บุคลิกภาพทำงานจึงต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติของสิ่งต่อไปนี้
      สัญชาติญาณ Instict เป็นตัวแทนทางจิตวิทยาของการตื่นตัว ภายในร่างกายที่มีมาโดยกำเนิด ตัวแทนทางจิตมีชื่อเรียกว่า wish ความปรารถนา และการตื่นตัวจะรียกว่า ความต้องการ need เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นเราอาจอธิบายว่าสัญชาติญาณ คือ ธรรมชาติของความปรารถนา คือ เกิดภาวะขาดแคลนอาหารขึ้นตามเนื้อเยื่อของร่างกาย ตัวแทนหรือคำอธิบายทางจิตในสถาพที่คนหิว คือ เกิดความปรารถนาอาหาร หรือเกิดความปรารถนาตอบสนองวามหิวโ๕ดยอคาหารคนั่นเอง ความปรารถนา อยู่ในฐานะของแรงจูงใจที่นำไปสู่พฤติกรรมดังนั้นคนหิวจะแสวงหาอาหารด้วยเหตคุนี้สัญชาตคิญาณ๕ จคึงเปรคียบเสมือนตคัวการคในการขับเคลื่อนบุคลิกภาพ ไม่เพียงแต่ผลักดันบุคลิกภาพเท่านั้น แต่ยังกำหนดทิศทางในการแสดงพฤติกรรมอีกด้วย หรือ กล่าวได้ว่าสัญชาติญาณ ควบคุมและเลือกปฏิบัติทำให้บุคคล มีความไวต่อสิ่งเร้าบางประเภทเป็นพิเศษ เช่น คนหิวจะไวต่อสิ่งเร้าที่เป็นอาหารมากกว่าอย่างอื่น คนที่เกิดความต้องการทางเพศเลือกตอบนสนองสิ่งเร้าที่เย้ายวนทางเพศมากกว่า
     ฟรอยด์เห็นว่า ความตื่นตัวซึ่งเกิดจากการได้รับสิ่งเร้าภายนอกมีบทบาทในการทำงานของบุคลิกภาพน้อยกว่าสัญชาติญาณ และมีความซับซ้อนน้อยกว่าความต้องการภายในร่างกายสิ่งเร้าภายนอกเราสามารถหลีกหนีได้ แต่เราหนีความต้องการภายในไม่ได้ แม้ว่าฟรอยด์จะให้ความสำคัญสิ่งเร้าภายนอกน้อยกว่า เขาก็มิได้ปฏิเสธความสำคัญของมันจะเห็นได้จากการอธิบายทฤษฎีวามวิตกกังวลของฟรอยด์
     การทำงานของสัญชาติญาณ เป็นไปเพื่อลดความเครียด จึงทำให้เกิดการแสดงพฤติกรรมจนกว่าความเครียดจะหมดไปหรือลอน้อยลง aim ของสัญชาติญาณมีลักษณะถอยหลัง เพราะต้องการจะกลับไปสู่สภาพก่อนเกิดความเครียดหรือก่อนเกิดสัญชาติญาณ สัญชาติญาณจึงมีัลักษณะอนุรักษ์ของเก่า การทำงานของสัญชาติญาณจึงเกิดขึ้นซ้ำๆ ตลอดเวลาเป็นวัฏจักรวนเวียนเช่นนี้ ฟรอยด์เรียกลักษณธงานซ้ำแล้วซ้่ำอีกของสัญชาติญษณว่า repetition compulsion
     soure(แหล่งผลิตสัญชาติญาณ) และ aim ของสัญชาติญาณจะคงที่ตลอดชีวิต ยกเว้น แหล่งผลิตจะเปลี่ยนหรือสิ้นสุดลงเนื่องจากวุฒิภาวะทางกาย หรือเกิดสัญชาติญาณใหม่เพิ่มขึ้นเนื่องจากร่างกายพัฒนาความต้องการใหม่ขึ้นมา ในทางตรงกันข้าม กิจกรรมในการสนองความต้องการจำแนกออกมากมายตลอดเวลา การที่กิจกรรมสนองความต้องการ แตกแยกออกไปมากเนื่องจากพลังงานจิตถูกทดแทนเมือ กิจกรรมสนองตอบบลางอย่างเกิดขึ้นไม่ได้เพราะไม่เหมาะสมขัดกับคุณงามความดีหรือถูกกีดขวาง พลังงานจิตจะหันเหไปสู่กิจกรรมใหม่จนกว่าจะค้นพบกจิกรรมที่เป็นไปได้ พฤติกรรมที่เกิดจากการทอแทน ของพลังงานจิตถือว่าเป็นสิ่งที่สัญชาติหามาได้ เช่นการตอบสนองทางเพศของเด็ก เมื่อถูกบังคับให้เลิกเด็กจะหาสิ่งทดแทน แต่ข้อสำคัญคือ เป้าหมายของสัญชาติญาณมิได้เปลี่ยนแปลง คือการกระทำดังกล่าวเป็นไปเพื่อความสุขทางเพศ
     การทดแทนของพลังงานจิต เป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญของบุคลิกภาพ ความสนใจความชอบ รสนิยม นิสัย และทัศนคติ ล้วนเกิดจากการทอแทนพลังงานจิตของกิจกรรมที่แท้จริงทั้งนั้นหรือกล่าวได้ว่าเป็นกิจกรรมที่สัญชาติญาณแสวงหาได้ในเงื่อนไขของสิ่งแวดล้อมทฤษฎีการจูงใจของทฤษฎีวางอยู่บนความเชื่อว่าสัญชาติญาณคื้อที่มาของพฤติกรรมของมนุษย์
     ฟรอยด์ ให้ความสนใจกับกับสัญชาติญาตแห่งการอยู่รอด สนองจุดมุ่งหมายในการดำรงไว้ซึ่งชีวิตและการแพร่พันธ์ ความหิว ความกระหาย และความต้องการทางเพศจัดอยู่ในสัญชาติญาณแห่งการอยู่รอด พลังงานที่ก่อตัวขึ้นเพื่อการอยู่รอดเรียกว่า ลิบิโด
     ความต้องการทางเพศ ฟรอยด์เชื่อว่าในปฐมวัยเกือบทุกอย่างที่เด็กกระทำสืบเนื่องจากสัญชาติญาณทางเพศ ซึ่งกระจายอยู่หลายแห่งตามร่างกายสัญชาติญาณทางเพศก็มากมายหลายความว่าเกิดจากบริเวณต่างๆ ของร่างกายที่เกิดวามต้องการนี้ บริเวณร่างกายที่ทำให้เกิดความต้องการทางเพศขึ้นมีชื่อเรียกว่า eroge nous zones ซึ่งหมายถึงบางส่วนของผิวหรือเยื่อบุอัวัยวะที่มีความไวต่อการตื่นตัวสูงมากและบุคคลจะมีความสุขเมื่อปัดเป่าความตื่นตัวให้หมดไป บริเวณนี้ได้แก่ริมฝีปาก และช่องปาก การตอบสนองของบริเวณนี้ได้แก่การดูดกลืน อวัยวะขับถ่ายการตอบสนองคือการขับถ่าย และอวัยวะเพศ การตอบสนองคือการนวดหรือถู ในวัยเด็กสัญชาติญาณทางเพศจะเปนอิสระจากกัน แต่เมือย่างเข้าวัยรุ่นจะปะปนและมีเป้าหมายเพ่ือการสืบพันธ์
      สัญชาติแห่งความตาย ฟรอยด์เรียกว่า สัญชาติญษณแห่งการทำลายอีกชื่อหนึ่งมีการทำงานเด่นชัดน้อยกว่าสัญชาติญาณแห่งการอยู่รอด ท้ายที่สุดคนเราต้องตาย ความจริงอันนี้ทำให้ฟรอยด์กล่าวว่า "จุดมุ่งหมายของทุกชีวิติคือวามตาย" ความปรารถนาอันนี้เป็นจิตใต้สำนึกเขาไม่ได้แจงให้เห็ฯที่มาทางกายของสัญชาติญาณแห่งความตาย และไม่ได้ให้ชื่อพลังงานแห่งความตายไว้ ความเชื่อเบ้องต้นในเรื่องความตายคของฟรอยด์สืบเนื่องจากหลักความคงที่ของเฟชเน่อร์ ซึ่งกล่าวว่าขบวนการต่าง ๆ ของชีวิตมีแนวโน้มเพื่อกลับไปสู่โลกแห่งความไม่มีชีวิต ฟรอยด์อธิบายว่าสิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการมาจากแรงกระทำของจักรวาลต่อสสารที่ไม่มีชีวิต การมีชีวิตเป็นสภาพที่ไม่ควที่และจะถอยกลับไปสู่สภาพไร้ชีวิตตามเดิม
      สิ่งที่หามาด้ของสัญชาติญาณแห่งความตาย คือ แรงขับของความก้าวร้าว ความก้าวร้าวคือ การทำลายตนเองที่เปลี่ยนออกมาเป็นสิ่งอื่นแทนเนื่องจากความปรารถนาความตายถูกขัดขวางโดยสัญชาติญาณแห่งการอยู่รอด ฟรอยด์ใช้เวลานานกว่าจะยอมรับว่าความก้าวร้าวเป็นแรงจูงใจสำคัญและมีอำนาจเช่นเดียวกับความต้องการทางเพศ
     การกระจายและการใช้พลังงานจิต The distribution and utilizaion of Phychic Engery เนื่องจากสัญชาติญษณมีผลให้เกิดการใช้พลังงานของระบบ id ego superego การขับเคลื่อนของบุคลิกภาพ จึงรวมถึงการแจกจ่ายพลังงานของระบบทั้ง 3 ซึ่งแข่งขันกันใช้พลังงานและควบคุมระบบอื่นถ้าระบบหนึ่งเข้มแข้้งขึ้น อีก 2 ระบบจะ่อนแอลง นอกจากพลังงานใหม่เพิ่มขึ้นในระบบ  การทำงานของบุคลิกภาพ ประกอบไปด้วยการทำงานของระบทั้ง 3 ซึ่งย่อมเกิดความขัดแย้งต่อต้านกันของระบบต่างๆ และส่งผลออกมาสู่บุคลิกภาพ
     ความวิตกกังวล Anxiety โลกภายนอกเป็นแหล่งผลิตสิ่งที่นำมาตอบสนองความต้องการของมนุษย์ และในขณะเดียวกันก็มีส่วนในการปรับบุคลิกภาพด้วยเนื่องจากมีทั้งอันตรายและความไม่มั่นคงเท่าๆ กับสิ่งทีพึงปรารถนา ด้วยเหตุนี้สิ่งแวดล้อมจึงสามารถเพิ่มความเครียดให้กับบุคคลได้ และมีผลให้เกิดการทำงานของบุคลิกภาพ
      ปฏิกิริยาของบุคคลเมื่อกำลังจะได้รับอันตรายจากภายนอก คือ ความกลัว ถ้าสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดความกลัวท่วมท้ันซึ่ง ego ควบคุมไม่ได้ อีโก้ จะเต็มไปด้วยความวิตกกังวล ฟรอยด์แบ่งความวิตกกังวลออกเป็น 3 ชนิดได้แก่
             ความวิตกกังวลที่เกิดจากความกลัวอันตรายจากภายนอก
             ความวิตกกังวลที่เกิดจากความกลัวว่าจะไม่สามารถควบคุมสัญชาติญาณไว้ได้ ความกลัวในลักษณะนี้เป็นเหตุให้บุคคลแสดงอาการบางอย่างเพื่อจะถูกลงโทษ ความวิตกกังวลมิได้เกิดจากความกลัวสัญชาติญาณนั้น ๆ แต่เกิดวามกลัวการถูกลงโทษ เนืองจากทำตามสัญชาติญาณดังกล่าว มีพื้นฐานมาจากความวิตกกังวลที่เกิดจากความกลัวอันตรายเพราะว่าพ่อแม่และอำนาจต่างๆ ลงโทษเด็กเมือกระทำสิ่งที่รุนแรง
             ความกลัวผิดศีลธรรม เนื่องจากระบบซูเปอร์อีโก้พัฒนาไปไกลมาก ทำให้บุคคลรู้สึกสำนึกบาป เมื่อทำหรือเพียงแต่คิดจะทำสิ่งที่ขัดต่อศีลธรรม มีพื้นฐานมาจากความกลัวอันตรายเช่นกัน
             ความวิตกกังวลที่ไม่สามารถวัดได้ อาทิ การเกิด ชีวิตใหม่ถูกคุกคามโดยไม่ได้เตรียมตัวมาก่อนและไม่สามารถจะปรับตัวได้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)